Eco Car II

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Eco Car II

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน ถกเงื่อนไขอีโคคาร์ ระยะที่ 2 กำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร 5 สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า วันนี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่านายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุนวันนี้ (23ส.ค.) เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายสนับสนุนการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ระยะที่ 2 โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้วกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน พิจารณาวันที่ 28 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน

แหล่งข่าว กล่าวว่า เมื่อบีโอไอประกาศนโยบายออกมาแล้ว ก็จะเชิญชวนให้ผู้ผลิตรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2556 และเริ่มลงทุนได้ในปี 2557 ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการ ให้ผู้ผลิตรถยนต์เดินหน้าผลิตรถอีโคคาร์ต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ไทยผลิตรถยนต์ปีละ 3 ล้านคัน ได้ภายในปี 2560 การพิจารณาจะต้องดำเนินการให้รอบคอบและเป็นธรรมกับผู้ผลิตรถยนต์ 5 ราย ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิตอีโคคาร์ระยะที่ 1 คือ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ นิสสัน และซูซูกิ

ทั้งนี้ การส่งเสริมการลงทุนผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 2 จะเปิดกว้างให้ผู้ผลิตรถยนต์ ที่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุน และยังไม่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นเข้ามาได้ โดยสิทธิประโยชน์สิทธิประโยชน์จะใกล้เคียงกันทำให้ผู้ผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 1 ไม่เสียผลประโยชน์แต่อย่างใด

แหล่งข่าว กล่าวว่า มาตรฐานด้านมลพิษของรถอีโคคาร์ระยะที่ 2 จะเข้มงวดมากขึ้นโดยจะปรับเปลี่ยนทางเทคนิค เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยจะกำหนดให้การปล่อยมลพิษต้องอยู่ในมาตรฐานยูโร 5 จากเดิมระยะ1 ที่กำหนดที่มาตรฐานยูโร 4 ทำให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องน้อยกว่า 120 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร จะมีผลต่ออัตราภาษีสรรพสามิตที่จะลดต่ำกว่ารถอีโคคาร์ระยะ 1 ที่เสียภาษีสรรพสามิต 17% ส่วนขนาดของเครื่องยนต์ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องต่ำกว่า 1,000 ซีซี แต่จะไปเน้นที่อัตราการปล่อยมลพิษแทน

ทั้งนี้ การกำหนดสิทธิประโยชน์อีโคคาร์ระยะที่ 2 ในส่วนของภาษีสรรพสามิตต้องพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง ที่มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ของกระทรวงการคลังเป็นกรอบใหญ่ ที่ใช้กับรถยนต์ทุกประเภท แต่สิทธิประโยชน์ของอีโคคาร์จะแยกออกมาเพราะภาครัฐต้องการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประเภทนี้ให้เป็นโปรดักแชมเปี้ยน
ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท.ยังไม่มีการหารือเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว เพราะยังไม่ทราบรายละเอียดว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไร หากมีประกาศเงื่อนไขออกมาแล้วไม่กระทบกับผู้ลงทุนระยะที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย แต่ถ้าประกาศนโยบายออกมาขณะนี้เลย อาจมีผลต่อเงื่อนไขการผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 1 ที่กำหนดให้ผลิตให้ได้ปีละ 100,000 คัน ภายใน 5ปี ต้องการให้กระทรวงอุตสาหกรรมยืดระยะเวลาในการบังคับใช้ออกไปเพื่อให้ผู้ลงทุนระยะที่ 1 ที่มีความเสี่ยง ทางธุรกิจมากกว่าได้รับผลตอบแทนการลงทุนตามที่วางแผนไว้ โดยผู้ลงทุนระยะที่ 1 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ประหยัดพลังงานจนพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นที่นิยม

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... รุ่น2.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอชุดเล็ก ) เพื่อสรุปแนวทางสนับสนุนการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 หรือ อีโคคาร์ 2 และคาดว่าจะมีการเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดบีโอไอชุดใหญ่ ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธาน ในวันที่ 28 ส.ค.นี้ เพื่อให้พิจารณาเห็นชอบ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่สนใจยื่นขอรับสิทธิสนับสนุนการลงทุนภายในปีนี้ เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดความต่อเนื่อง

สำหรับมาตรการสนับสนุนรถยนต์อีโคคาร์ 2 บีโอไอได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ดำเนินการอย่างรอบคอบที่สุด และต้องเป็นธรรมต่อผู้ที่ได้รับสิทธิในรอบแรกทั้ง 5 รายไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ นิสสัน และซูซูกิ ดังนั้น การส่งเสริมอีโคคาร์ 2 ก็จะเปิดโอกาสให้ผู้รับสิทธิรายเดิมสามารถขอสนับสนุนลงทุนเพิ่มเติมได้ และจะได้รับสิทธิไม่ต่างจากผู้ที่ขอสนับสนุนรอบใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ทั้ง 5 ราย ไม่ได้รับผลกระทบกับสิทธิประโยชน์การลงทุนที่มีอยู่เดิม

ทั้งนี้ การให้สิทธิประโยชน์การลงทุนรอบใหม่ของอีโคคาร์ 2 กับของเดิมจะมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในส่วนของมาตรฐานบังคับ เช่น มาตรฐานด้านความประหยัดน้ำมัน มาตรฐานมลพิษปลอดภัยระดับยูโร 4 สำหรับเงื่อนไขในส่วนของการปรับขนาดเครื่องยนต์ว่าจะสนับสนุนรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1000 ซีซี หรือไม่  ล่าสุดคณะอนุกรรมการได้ยืนยันว่าไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขรายละเอียดดังกล่าวไว้ แต่จะเน้นการสนับสนุนขนาดเครื่องยนต์เท่ากับการสนับสนุนอีโคคาร์ในรอบแรก และจะกำหนดปริมาณผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 คัน ในระยะเวลา 5 ปีตามเดิม แต่หากค่ายรถยนต์ที่ขอเข้ารับส่งเสริมการลงทุนต้องการจะลงทุนรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1000 ซีซี ก็สามารถขอดำเนินการลงทุนได้เช่นกัน.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ

http://www.thairath.co.th/content/eco/365203
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คำถามที่น่าจะโยนถามดังนี้
1. ค่ายแรกทั้ง 5 ค่ายคือ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ นิสสัน และ ซูซูกิ
ทำต่อไหมในรอบที่ 2 และผลประโยชน์รอบ 2 คืออะไร
2. พี่โตโยต้ายังไม่เปิดตัวรอบแรก เลย รอบ 2 แล้วมีการปรับหรือเปล่า
แค่นี้แหละ
:)
:)
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 4

โพสต์

syj เขียน:อนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน ถกเงื่อนไขอีโคคาร์ ระยะที่ 2 กำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร 5 สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า วันนี้

....

กระทรวงอุตสาหกรรมยืดระยะเวลาในการบังคับใช้ออกไปเพื่อให้ผู้ลงทุนระยะที่ 1 ที่มีความเสี่ยง ทางธุรกิจมากกว่าได้รับผลตอบแทนการลงทุนตามที่วางแผนไว้ โดยผู้ลงทุนระยะที่ 1 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ประหยัดพลังงานจนพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นที่นิยม

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... รุ่น2.html
อืม... อ่าน แล้วงง ไม่เป็นที่นิยม. ตอนแรก
คิดว่าพิมพ์ผิด. แต่อ่านอีกฉบับก็เหมือนกัน ...

ไม่เป็นที่นิยม แต่ วิ่งกันเต็มเมืองเลย !!!
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ยานยนต์
วันที่ 24 สิงหาคม 2556 09:09
บีโอไอคลอดเกณฑ์ลงทุนอีโคคาร์รุ่น 2

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อนุบีโอไอ คลอดเกณฑ์ลงทุนอีโคคาร์ รุ่น 2 เงื่อนไขการลงทุนสูงขึ้น
กำหนดเครื่องยนต์ยูโร 5 เบนซิน 1,300 ซีซี ดีเซล 1,500 ซีซี ภาษีสรรพสามิต 12-14 % ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ลงทุนขั้นต่ำ 6,000 ล้านบาท รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี เผย "มิตซูบิชิ- ซูซูกิ" ยื่นขอเพิ่มกำลังผลิต


นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวหลังประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุน วานนี้ (23 ส.ค.) ว่าที่ประชุมเห็นชอบนโยบายส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโค คาร์) รุ่นที่ 2 โดยกำหนดเงื่อนไขการผลิตต้องมีมาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร 5 ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต้องน้อยกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงจากเดิม ที่กำหนดไว้น้อยกว่า 120 กรัม ต่อกิโลเมตร

ส่วนเงื่อนไขการลงทุนต้องผลิตให้ได้ไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป ต่างจากรุ่น 1 ที่กำหนดให้ผลิตไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ส่วนมูลค่าการลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านบาท ต้องเป็นการลงทุนผลิตแบบครบวงจรทั้งเครื่องยนต์และการประกอบรถยนต์

สำหรับสิทธิประโยชน์จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6 ปี ถ้าลงทุนพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่ม แต่ถ้ามีการลงทุนหรือใช้จ่ายพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ภายใน 5 ปี จะยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี ถ้าลงทุนไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้รวม 8 ปี ต่างจากรุ่น 1 ที่ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ทุกกรณี

นายประเสริฐ กล่าวว่าจะลดหย่อนภาษีนำเข้าชิ้นส่วน 90 % และยกเว้นภาษีเครื่องจักรทุกเขตส่งเสริมการลงทุน กำหนดให้ขนาดเครื่องยนต์เบนซินเท่ากับ 1,300 ซีซี และเครื่องยนต์ดีเซล 1,500 ซีซี เพิ่มขนาดเครื่องยนต์ดีเซลขึ้นจากรุ่นที่ 1 ที่กำหนดไว้ 1,400 ซี.ซี.เพราะขนาดเครื่องยนต์เล็กทำให้ไม่มีผู้สนใจลงทุนผลิตรถอีโคคาร์เครื่องยนต์ดีเซล รวมทั้งได้เพิ่มเครื่องยนต์ประเภทดี 10 หรือเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้เอทานอลได้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วย

ทั้งนี้จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาภาษีสรรพสามิตอีโคคาร์รุ่น 2 ให้ได้อัตราภาษีตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ สำหรับอีโคคาร์กำหนดให้เครื่องยนต์เบนซินขนาดไม่เกิน 1,300 ซีซี เสียภาษี 14% และเครื่องยนต์ดีเซลขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี เสียภาษี 12 % แต่ช่วงที่โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้เดือน ม.ค.2559 ก็ให้รับสิทธิภาษี 17% ไปก่อน

โดยจะเสนอผลต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน วันที่ 28 ส.ค.นี้ หากเห็นชอบจะออกประกาศ เปิดให้ผู้สนใจยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 31 มี.ค.2557 โดยเปิดให้ผู้ผลิตรายเดิม 5 ราย และผู้ผลิตรายใหม่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนได้

นอกจากนี้ ในปี 2553 มีผู้ผลิตรถอีโคคาร์ 1 ราย รวม 59,411 คัน ปี 2554 มีผู้ผลิต 2 ราย รวม 97,725 คัน ปี 2555 มีผู้ผลิต 4 ราย รวม 258,969 คัน และช่วง 6 เดือน แรกของปีนี้มีผู้ผลิต 4 ราย รวม 108,473 คัน และมีผู้ผลิต 2 ราย ยื่นขอเพิ่มกำลังการผลิต คือ1.มิตซูบิชิ เพิ่มกำลังการผลิตอีก 272,000 คัน รวมเป็น 379,000 คัน ลงทุนเพิ่มอีก 11,174 ล้านบาท 2.ซูซูกิ เพิ่มกำลังการผลิตอีก 23,000 คัน รวมเป็น 161,000 คัน จะลงทุนเพิ่มอีก 5,616 ล้านบาท


http://bit.ly/18PUza9
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ยานยนต์
วันที่ 24 สิงหาคม 2556 07:39
'โฟล์คสวาเกน'บุกลงทุนอินโดฯ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผู้บริหารโฟล์คสวาเกนสนใจขยายลงทุนอาเซียน เข้าพบ "ยิ่งลักษณ์" ระบุไทยมีนโยบายสนับสนุนและมีโครงสร้างพื้นฐานเหมาะเป็นแหล่งผลิตรถยนต์

วานนี้ (23 ส.ค.) นายคริสเตียน คลินเกอร์ กรรมการบริหาร บริษัท โฟล์คสวาเกน เอจี (Volkswagen AG) ประเทศเยอรมนี เข้าพบนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยทั้งสองฝ่ายมีการหารือถึงปัญหาและอุปสรรคในการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ (Eco Car) ในประเทศไทย

นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการเชื่อมโยงในภูมิภาคและการลงทุนทางด้านคมนาคม ซึ่งจะทำให้การขนส่งของภาคเอกชนสะดวกมากขึ้น สามารถขนส่งเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือภูมิภาคอื่นได้รวดเร็วมากขึ้น ทั้งช่วยส่งเสริมให้ไทยมีความเหมาะสมต่อการเป็นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์

นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีนโยบายสนับสนุนการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ ซึ่งหาก บริษัท โฟล์คสวาเกน เอจี สนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวรัฐบาลก็มีความยินดี และพร้อมสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัทฯ โดยจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ดำเนินการหารือร่วมกับบริษัทฯ เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งร่วมกันแก้ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ต่อไป ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริษัทฯ จะเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย เช่นเดียวกับความสำเร็จของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำรายอื่นๆ ในไทย

นายคลินเกอร์ กล่าวว่า บริษัทมีความสนใจที่จะขยายการลงทุนมายังประเทศไทยรวมทั้งมีความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งการขยายการลงทุนมายังประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของการขยายการลงทุนมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต

ด้านนายโมฮัมเหม็ด ฮิดายัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย กล่าวว่า บริษัท โฟล์คสวาเกน เอจีของเยอรมนีจะประกาศในปีนี้เกี่ยวกับการลงทุนเบื้องต้นในวงเงิน 200 ล้านยูโร หรือราว 8,600 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานรถยนต์ในอินโดนีเซีย

"โฟล์คสวาเกนจะสร้างโรงงานรถยนต์ในเมือง Cikampek ในชวาตะวันตก แต่เขาไม่ได้เปิดเผยว่าโรงงานแห่งนี้จะผลิตรถยนต์กี่คัน ซึ่งพวกเขาจะประกาศแผนในเดือน พ.ย.หรือ ธ.ค.นี้" นายฮิดายัตกล่าวหลังการประชุมกับเจ้าหน้าที่บริษัทที่กรุงจาการ์ตา โดยเสริมว่างบลงทุน 200 ล้านดอลลาร์ เป็นการคาดการณ์ส่วนตัวและไม่ใช่ตัวเลขอย่างเป็นทางการจากทางบริษัท

Tags : โฟล์คส

http://bit.ly/15ipRX7
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 7

โพสต์

5 ค่ายรถยนต์ประสานเสียงวอนรัฐพิจารณาเงื่อนไขอีโคคาร์เฟส 2 เท่าเทียม-แฟร์กับทุกฝ่าย โอดตอนชวนเฟสแรกเงื่อนไข-กรอบเวลาร่วมลงทุนชัดเจนแล้ว กลุ่มแรกยอมแบกรับความเสี่ยงหนุนอีโคคาร์แจ้งเกิดสำเร็จเฉียดล้านคัน ชี้เปิดเฟส 2 อาจกระทบเชื่อมั่นลงทุนในอนาคต ด้าน "มิตซูบิชิ" รอความชัดเจนเรื่องรายละเอียดเข้าร่วมเฟส 2

แหล่งข่าวจากบริษัทตัวแทนรถยนต์ 5 ค่ายที่เข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมกิจการการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์เฟส 2 ว่าท้ายที่สุดเมื่อเป็นการตัดสินใจของภาครัฐ เชื่อว่าค่ายรถยนต์ 5 ค่ายแรกที่เคยเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟสแรก (นิสสัน ฮอนด้า ซูซูกิ มิตซูบิชิ และโตโยต้า) ก็ยินดีและพร้อมจะยอมรับตามเงื่อนไข

โวยรัฐบลไทยโลเล

เพียงแต่สิ่งที่ 5 ค่ายต้องการสะท้อนกลับไปยังภาครัฐ คือ นโยบายที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่ชัดเจน อาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในอนาคตได้ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมลงทุนสำหรับอีโคคาร์เฟสแรกนั้น ภาครัฐได้กำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาให้กับค่ายรถยนต์ที่สนใจเข้าร่วมสมัครไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าวันนี้ภาครัฐได้ตัดสินใจเปิดโครงการอีโคคาร์เฟส 2 เพื่อเปิดโอกาสให้ค่ายรถยนต์ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการในเฟสแรกได้มีโอกาสเข้าร่วม จากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ขีดเส้นตายเพื่อให้ค่ายรถยนต์ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเฟสแรกไปแล้ว 

แหล่งข่าวรายนี้ย้ำว่า ขณะนั้นถือเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ต้องแบกรับความเสี่ยง เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีตลาดที่ชัดเจน แต่ทั้ง 5 ค่ายต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก และค่อย ๆ สร้างตลาดขึ้นมาจนรถอีโคคาร์ได้รับความนิยม 

ขณะเดียวกันก็ยังมีค่ายรถยนต์บางค่ายที่เข้าร่วมโครงการในเฟสแรก ยังไม่ได้ส่งรถอีโคคาร์ออกสู่ตลาด แต่รัฐบาลก็มีนโยบายจะให้การสนับสนุนอีโคคาร์เฟส 2 เพื่อให้ค่ายรถยนต์ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ

"รัฐบาลควรต้องดูแลทั้งผู้ลงทุนรายเก่าและรายใหม่ โดยเฉพาะรายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนว่าจะต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับคนที่เข้าร่วมเดิม แม้ว่าเงื่อนไขใหม่อาจจะยากขึ้น แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้รายเก่าได้เข้าร่วมได้ ซึ่งตรงนี้จะต้องระวังมาก ๆ เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ" 

ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เรียกผู้ประกอบการเข้าไปหารือ และสอบถามความคิดเห็น ซึ่งผู้ประกอบการก็ได้สะท้อนเรื่องการเปลี่ยนขนาดของเครื่องยนต์โดยเฉพาะหากมีการส่งเสริมให้เป็นเครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตร ซึ่งอาจจะกระทบต่อรถยนต์นั่งขนาดกลาง ซีคาร์ บีคาร์ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากการประชุมของคณะอนุกรรมการที่ออกมาก็ดูเหมือนภาครัฐจะรับฟังตรงนี้ โดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ขนาดของเครื่องยนต์ลง 

ไม่เกิน 1.5 ลิตร ส่วนประกาศเรื่องภาษี สรรพสามิตหรือรายละเอียดปลีกย่อยคงจะต้องรอดูความชัดเจนที่จะออกมาอีกครั้งหนึ่ง

มิตซูบิชิ โน คอมเมนต์ 

ด้านนายโนบุยูกิ มูราอาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้มิตซูบิชิกำลังพิจารณาในรายละเอียดเงื่อนไข เนื่องจากเนื้อหาที่เผยแพร่ออกมาขณะนี้ มีเฉพาะเงื่อนไขของโครงการเฟส 2 แต่ยังไม่มีการให้ข้อมูลว่าผู้ประกอบการ 5 รายแรกที่อยู่ในโครงการเฟส 1 จะต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถเข้าร่วมในรอบ 2 ได้

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เห็นความตั้งใจของรัฐบาลแล้วว่า ได้เพิ่มความเข้มงวดในเงื่อนไขการผลิตและการลงทุนของโครงการอีโคคาร์เฟส 2 แล้วประมาณหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบสำหรับผู้ที่อยู่ในโครงการรอบแรก สะท้อนว่ารัฐบาลคำนึงถึงผู้ที่อยู่ในรอบแรกซึ่งลงทุนไปบนความเสี่ยงของตลาดเมื่อ 5 ปีก่อน และมิตซูบิชิต้องยอมรับในสิ่งที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ รวมถึงต้องพัฒนาสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ที่เข้าร่วมในโครงการเฟส 2 ให้ได้ 

ส่วนกำลังการผลิตที่มีการออกเป็นข่าวไปก่อนหน้านี้นั้น บริษัทขอชี้แจงว่าเราได้เพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานประกอบรถยนต์อีโคคาร์จาก 150,000 คันต่อปี เป็น 200,000 คันต่อปี ด้วยงบประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยปีที่ผ่านมา มิตซูบิชิมีการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ 81,600 คัน และปีนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม มีการผลิตไปแล้วกว่า 81,700 คัน 

"การจัดทำโครงการในรอบ 2 นี้ เกิดจากความต้องการของผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการในรอบแรก ซึ่งเชื่อว่ามีความพร้อมอยู่แล้วที่จะผลิตรถยนต์ตามที่รัฐบาลกำหนด ดังนั้น ระยะเวลาคงจะต้องเป็นไปตามนั้น จะเหมาะสมหรือไม่ก็คงจะแสดงความเห็นได้ยาก เชื่อว่ารัฐบาลคงจะต้องพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม และเราก็ต้องยอมรับในสิ่งที่รัฐบาลกำหนด"

สำหรับมีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโครงการแรกนั้นแน่นอน เพราะการแข่งขันจะสูงขึ้น จากการมีคู่แข่งเข้ามาร่วมตลาดนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ประโยชน์คือผู้บริโภค ซึ่งจะมีทางเลือกในการซื้อรถยนต์ที่ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และตลาดรถยนต์อีโคคาร์ก็จะขยายตัว 

ด้านนายซานเจย์ มิชรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทอยู่ระหว่างการจับตาเรื่องเงื่อนไขอีโคคาร์เฟส 2 อย่างใกล้ชิด เพราะก่อนหน้านี้ ทาทาฯก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการแรกมาแล้วครั้งหนึ่ง

อนึ่ง ก่อนหน้านี้มีการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนของ 5 ค่ายแรกนั้น มีการใช้เงินลงทุนสูงถึง 31,123 ล้านบาท แบ่งเป็น นิสสัน 5,550 ล้านบาท ฮอนด้า 6,700 ล้านบาท ซูซูกิ 9,500 ล้านบาท มิตซูบิชิ 7,731 ล้านบาท โตโยต้า 6,642 ล้านบาท โดยขณะนี้มีรถยนต์อีโคคาร์ออกสู่ตลาด 7 รุ่น มีจำนวนเกือบจะครบ 1 ล้านคันไปแล้ว โดยยังไม่นับรวมการผลิตของค่ายโตโยต้าที่จะส่งรถออกสู่ตลาดราวปลายไตรมาส 3 นี้

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 8

โพสต์

"ฟอร์ด-มาสด้า-เชฟฯ"ร่วมวงอีโคคาร์2
updated: 01 ก.ย. 2556 เวลา 21:26:41 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"ฟอร์ด-มาสด้า-เชฟโรเลต" จ้องเสียบอีโคคาร์เฟส 2 สมาคมอุตฯยานยนต์ชี้กระตุ้นเศรษฐกิจผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็ม ๆ ฟาก 5 ผู้ผลิตเฟสแรกบอกตรงกันสนใจ แต่ไม่เคลียร์เม็ดเงินลงทุน หวั่นตลาดอีโคคาร์ล้นทะลัก

นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอาเซียน และในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเปิดให้การส่งเสริมผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์เฟส 2 ขณะนี้ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมยังมีเวลาทบทวนรายละเอียดไปจนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2557 ซึ่งเชื่อว่าจะมีค่ายรถหลายยี่ห้อที่เอาจริงเอาจัง

อย่างไรก็ตามถือเป็นเรื่องดี เพราะโครงการแบบนี้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนได้อย่างมาก แต่อยากฝากไปยังภาครัฐ คือ ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ 5 ค่ายแรกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเรียกหารือจริง แต่ก็ยังมีคำถามและข้อสงสัยอีกหลายข้อ ซึ่งยังไม่ชัดเจนเพราะแต่ละค่ายรถยนต์ก็มีความพร้อมและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการลงทุน ว่าจะนับรวมเม็ดเงินลงทุนที่ลงกันไปแล้ว หรือเม็ดเงินใหม่ 

นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้ยังเร็วไปที่ให้คำตอบว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ ทั้งนี้การส่งเสริมของบีโอไอยังไม่ชัดเจน ถ้าพูดกันที่สเป็กรถ เพียงแค่ปรับปรุงเครื่องยนต์ให้ปล่อยมลพิษตามเงื่อนไขอีโคคาร์เฟส 2 คือ 100 กรัมต่อ กม. และกินน้ำมัน 4.3 ลิตรต่อ 100 กม. เชื่อว่าทุกค่ายทำได้อยู่แล้ว และทุกค่ายก็พร้อมจะพัฒนาไปตรงนั้น

"เรามองว่าตลาดอีโคคาร์ 2-3 ปีจากนี้จะมีความสนุกและน่าตื่นเต้น เนื่องจากจะมีรถยนต์จากหลากหลายค่ายหลากหลายแบรนด์เข้ามาทำตลาดและเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค และมิตซูบิชิมั่นใจว่า รถของเราจะสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน" 

ขณะที่นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ทีมงานนิสสันกำลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดของโครงการในเฟสที่ 2 เนื่องจากยังมีเงื่อนไขบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ 5 ค่ายในเฟสแรกจะเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 นั้น จะมีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติม ต้องใช้เวลารอดูความชัดเจนอีกระยะ 

"กรอบเงื่อนไขใหม่และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดีขึ้น อาจจะยังมีความได้เปรียบเสียเปรียบกับ 5 ค่ายแรกที่ได้ภาษีแค่ 17% ขณะที่เฟสใหม่ได้ 14% ซึ่งคงจะต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียด และรอให้ทุกอย่างชัดเจน และคงต้องหารือกับบริษัทแม่อีกครั้ง เนื่องจากอาจจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นจำนวนค่อนข้างสูงอยู่"

นอกจากนี้ในส่วนของจำนวนการผลิตอีโคคาร์ของทั้ง 2 โครงการนั้น ขณะนี้ยังไม่แน่นอนว่าความต้องการของตลาดรถยนต์ประเทศนี้ทั้งในประเทศ และตลาดส่งออกจะมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะมีตลาดรองรับหรือไม่ ส่วนเทคโนโลยีความประหยัดน้ำมันที่ 4.3 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือ 23.2 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร การปล่อยค่าไอเสียไม่เกิน 100 กรัมต่อ 1 กิโลเมตรนั้น เชื่อว่าหลาย ๆ ค่ายมีเทคโนโลยีและอยู่ในวิสัยที่จะทำได้แน่นอน

"ตอนนี้ตลาดรถอีโคคาร์มีความต้องการในประเทศอยู่ 2.3 แสนคันต่อปี ซึ่งจากข้อกำหนดของ 5 ค่ายแรก จะต้องผลิตค่ายละ 1 แสนคัน รวม เป็น 5 แสนคันต่อปี และเมื่อรวมกับค่ายรถใหม่ที่เข้าร่วมผลิต ก็ทำให้มีกำลังผลิตรถอีโคคาร์เพิ่มขึ้น คำถามคือเราจะหาตลาดที่ไหนมารองรับตรงนี้ การลงทุนจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ โดยเฉพาะส่วนต่างเพียง 3% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,000 บาท ยังไม่ดึงดูดให้ลงทุน"

ด้านนางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดบริษัท มาสด้าเซลส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า มาสด้ามีความสนใจ สำหรับโครงการอีโคคาร์เฟส 2 เนื่องจากมาสด้าอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งการเปิดโอกาสครั้งนี้ถือเป็นการขยับครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ทั้งนี้บริษัทจำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากวันนี้รายละเอียดต่าง ๆ ยังไม่นิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทได้รายงานไปยังบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ว่ารัฐบาลไทยได้ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ แต่มาสด้าจะตัดสินใจลงทุนหรือไม่ คงต้องรอดูความชัดเจน

ทั้งนี้จะเห็นว่าเงื่อนไขของโครงการเฟส 2 จะมีความเข้มข้นกว่าเฟสแรก ทั้งมูลค่าการลงทุน และความเข้มข้นของเงื่อนไข ซึ่งการส่งเสริมของรัฐบาลครั้งนี้ถือเป็นการมองภาพอุตสาหกรรมในระยะยาวโดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 100% นั้นถือเป็นเรื่องดี ที่ช่วยกระตุ้นและปกป้องผู้ผลิตชิ้นส่วนชาวไทย ให้เรียนรู้โนว์ฮาวและสามารถต่อยอดธุรกิจไปได้

"ตอนนี้เชื่อว่าบริษัทรถยนต์ทุกค่ายต่างอยากได้คำตอบสุดท้ายจากภาครัฐโดยเร็ว เนื่องจากการลงทุนต่าง ๆ จะต้องใช้ระยะเวลา และต้องปรับปรุงพัฒนารถยนต์ ชิ้นส่วน เครื่องยนต์อีกค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้ค่า Co2 และอัตราสิ้นเปลืองตามข้อกำหนด แม้ว่ามาสด้าจะมีเทคโนโลยีสกายแอคทีฟที่ช่วยให้รถมีน้ำหนักเบาลง แต่เราก็ต้องมีการลงทุนและใช้เวลา"

ทั้งนี้มาสด้ามองว่า อีโคคาร์เฟส 2 นั้นจะต้องเป็นรถยนต์ที่มีราคาจำหน่ายสมเหตุสมผล เนื่องจากค่ายรถต้องลงทุนในการพัฒนาตรงนี้ วันนี้หากมองจากเงื่อนไขเชื่อว่า ผู้ผลิตเฟสแรกมีแต้มต่อที่เหนือกว่า เนื่องจากมีการทำตลาดและมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ก่อนแล้ว

ส่วนกำลังการผลิตที่หลายคนกังวลว่าจะมีรถอีโคคาร์เกินความต้องการนั้น ต้องไม่ลืมว่ารถประเภทนี้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศแล้วยังมีการส่งออกด้วย และเชื่อว่าการลงทุนของค่ายรถยนต์เองก็จะต้องมีการต่อยอดไปเรื่อย ๆ ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ

เช่นเดียวกับ นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายรัฐกิจ ประจำประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเช่นเดียวกันว่า เชฟโรเลตมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ในเฟสที่ 2 หากเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้บริษัทต้องเร่งศึกษาความพร้อมและโอกาสความเป็นไปได้ และมีระยะเวลาอีก 6 เดือนจากนี้

นางสาวยุคนธร วิเศษโกสิน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่าขณะนี้ ฟอร์ดกำลังศึกษาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ อีโคคาร 2 เพื่อนำมาใช้ในการประเมินผลอย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งบริษัทจะตัดสินใจเข้าร่วมหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับการประเมินรายละเอียดต่างๆ โดยฟอร์ดมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันมากขึ้นและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการมอบตัวเลือกที่หลากหลายและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค

ขณะที่แหล่งข่าวจากบีโอไอที่ระบุว่า โครงการอีโคคาร์เฟส 2 ส่วนหนึ่งมาจากแรงผลักดันจากค่ายฟอร์ด

ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังผู้บริหารของค่ายโตโยต้า ฮอนด้า และซูซูกิ ถึงความสนใจและความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการเฟส 2 หรือไม่ ต่างได้รับคำตอบไปในทางเดียวกันว่าขอศึกษารายละเอียดและโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ก่อน เนื่องจากมีข้อกำหนดหลายด้านที่ยังไม่ชัดเจน

ขณะที่แหล่งข่าวระดับบริหารในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ตั้งข้อสังเกตว่า การเปิดส่งเสริมการลงทุนครั้งนี้หากมีค่ายรถยนต์จากยุโรปให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุนนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี แต่คำถามคือค่ายรถยนต์ยุโรปเหล่านี้จะยินยอมใช้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยหรือไม่

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378045698
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 9

โพสต์

กระทรวงอุตสาหกรรมทำหนังสือเชื้อเชิญค่ายรถร่วมอีโคคาร์ 2 คาดเงินลงทุนรวมกว่า 4 หมื่นล้านบาท ดันยอดผลิตปี 2561 ทะลุ 9.3 แสนคัน

โครงการอีโค คาร์ เกิดขึ้น เนื่องจากภาครัฐต้องการสร้างโปรดักท์แชมเปี้ยนตัวใหม่ เสริมตลาดปิกอัพ โดยมีการอนุมัติอย่างเป็นทางการในปี 2550 มีผู้เข้าร่วมโครงการ 5 ค่าย โดยทำแล้ว 4 ค่าย คือ นิสสัน ฮอนด้า ซูซูกิ และ มิตซูบิชิ ส่วนโตโยต้าเตรียมเปิดตัวเป็นค่ายสุดท้ายเดือนหน้า ส่วนการผลิตล่าสุดเดือนม.ค.-ส.ค. มีจำนวน 2.37 แสนคัน คาดว่าสิ้นปีนี้จะไม่ต่ำกว่า 3 แสนคัน สูงกว่าปีที่แล้วที่ผลิต 2.58 แสนคัน

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้รายงานถึงการออกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้การส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 2 (อีโคคาร์ 2) อย่างเป็นทางการแล้ว โดยผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่สนใจทุกราย สามารถยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตามโครงการดังกล่าวได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มี.ค. 2557

โดย บีโอไอ ได้ส่งหนังสือเชิญให้เข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ 2 ไปยังบริษัทรถยนต์ต่างๆ แล้ว 10 ราย คาดจะมีผู้สนใจเข้าร่วม 5-6 ราย มีทั้งรายเก่าที่ได้รับสิทธิอีโคคาร์ 1 ไปแล้ว และรายใหม่ ซึ่งคาดว่ารถยนต์อีโคคาร์ 2 จะออกสู่ตลาดได้ภายในต้นปี 2558 เนื่องจากผู้ผลิตอีโคคาร์ 1 ลงทุนไลน์ผลิตไม่มาก ก็พร้อมที่จะเดินหน้าโครงการอีโคคาร์ 2 ได้ทันที

เมื่อรวมยอดการผลิตรถยนต์ในโครงการอีโคคาร์ 1 และ 2 ในปี 2561 จะมียอดการผลิตรถอีโคคาร์ประมาณ 9.3 แสนคันต่อปี และถ้ารวมกับรถยนต์ชนิดอื่นๆ จะมีกำลังการผลิตรถยนต์สูงกว่า 3 ล้านคัน โดยจะเป็นการส่งออก 70% และขายในประเทศ 30% ซึ่งสูงกว่าปัจจุบันที่มีการส่งออก 50% และขายในประเทศ 50%

เปิดเงื่อนไขลงทุน

นายประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯจะต้องยื่นคำขอส่งเสริมโครงการภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ ได้แก่ มีมูลค่าเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการจะต้องลงทุนผลิตแบบครบวงจร ทั้งการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ มีปริมาณการผลิตไม่น้อยกว่า 1 แสนคันต่อปี นับตั้งแต่การผลิตปีที่ 4 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะมีเงินลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท สูงกว่าโครงการอีโคคาร์ 1 ที่มีการลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

เครื่องยนต์กำหนดให้ใช้มาตรฐานยูโร 5 ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร มีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่เกิน 4.3 ลิตรต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร โดยกำหนดให้ใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาดไม่เกิน 1,300 ซีซี และเครื่องยนต์ดีเซลขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี

สำหรับผู้ค่ายรถยนต์เดิมที่เข้าร่วมโครงการอีโคคาร์รุ่น ที่ 1 สามารถเลือกขยายการลงทุนได้ 3 ทาง คือ 1. สามารถยื่นขอรับส่งเสริมลงทุนผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขใหม่ แต่มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำลดจากเงื่อนไข 6,500 ล้านบาท เหลือ 5,000 ล้านบาท 2. ยื่นขอขยายการลงทุนผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 1 ภายใต้เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์การลงทุนเดิม โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่ากับจำนวนปีที่เหลืออยู่ และ 3. ผู้ผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 1 สามารถยื่นขอขยายการผลิตทั้งอีโคคาร์รุ่นที่ 1 และเพิ่มการผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 2 ได้ด้วย โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่ากับจำนวนปีที่เหลืออยู่

"โครงการอีโคคาร์รุ่นที่ 2 จะเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการทุกรายที่มีความพร้อม และมีความสนใจเข้าร่วมโครงการได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันของตลาดรถยนต์อย่างเป็นธรรม เป็นไปตามเป้าหมายของการกระตุ้น อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของประเทศไทย ทั้งนี้ค่ายรถยนต์รายใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์รุ่นที่ 1 สามารถยื่นขอส่งเสริมการลงทุนได้ทันที ซึ่งตามกรอบเวลาของแผนกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะต้องเริ่มดำเนินการผลิตอย่างช้าในปี 2562 นี้" นายประเสริฐกล่าว

เตรียมเชิญค่ายรถรับฟังเงื่อนไข

ด้านนายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้มากขึ้น บีโอไอจะเชิญผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ทุกรายเข้าร่วมรับฟังคำชี้แจงรายละเอียดและเงื่อนไขการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนอย่างเป็นทางการภายในช่วง 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนถึงแนวทางและรูปแบบของโครงการยิ่งขึ้น

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการอีโคคาร์รุ่นที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นเวลา 6 ปี แต่หากผู้ผลิตรายใดมีการลงทุนหรือใช้จ่าย เพื่อพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ภายใน 5 ปี จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี รวมเป็น 7 ปี และหากมีการลงทุนหรือใช้จ่ายเพื่อพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท ภายใน 5 ปี จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี รวมเป็น 8 ปี นอกจากนี้ ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรเช่นเดียวกับอีโคคาร์รุ่นที่ 1

เชื่อรุ่น 1 พร้อมปรับเข้าเกณฑ์ใหม่

ด้าน นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวว่า โครงการอีโค คาร์ รุ่น 2 จะเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากมีการลงทุนมากขึ้น ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นแรกทั้ง 5 ค่ายอย่างไรหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาประเมินผล ซึ่งในส่วนของโตโยต้า ก็กำลังรวบรวมข้อมูลเช่นกัน

ส่วนเงื่อนไขที่กำหนดออกมาในส่วนของสเปครถเห็นว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะเรื่องของปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เตรียมปรับโครงสร้างสรรพสามิตใหม่ในปี 2559 ซึ่งจะทำให้รถอีโค คาร์ รุ่น 2 เสียภาษีสรรพสามิต 14% และหากเครื่องยนต์สามารถรองรับเชื้อเพลิงอี 85 ได้ จะเสียภาษีต่ำลงเหลือ 12% ขณะที่อีโค คาร์รุ่นแรกเสียภาษี 17% แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ผู้ที่ร่วมโครงการรุ่น 1 ก็จะมีการปรับเปลี่ยนสเปค เพื่อให้ได้สิทธิในโครงสร้างภาษีใหม่เช่นกัน

"เงื่อนไขทางเทคนิคก็ถือว่ายากพอสมควร แต่ก็ไม่ยากกว่าที่จะทำ ซึ่งก็ต้องที่การพิจารณาของแต่ละบริษัทว่าจะดำเนินการอย่างไร" นายศุภรัตน์ กล่าว

ด้าน นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันในอาเซียนต้องการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไทยกับอินโดนีเซียที่ต้องการสร้างเสริมการผลิตรถเล็ก โดยอินโดนีเซียใช้ชื่อโครงการกรีนคาร์ และตั้งเป้าว่าทำราคาให้ต่ำกว่าของไทย แต่ยังมั่นใจว่าโครงการอีโคคาร์ 2 ของไทยมีศักยภาพดึงดูดนักลงทุนมากกว่า เนื่องจากมีฐานการผลิตชิ้นส่วนที่เข้มแข็ง มีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เข้มแข็ง เช่น อุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ ปิโตรเคมี และกระจก เป็นต้น รวมทั้งไทยยังมีกำลังซื้อรถยนต์ภายในประเทศสูงกว่า และยังมีแผนที่ชัดเจนในการผลิตรถยนต์ให้ได้ 3 ล้านคันในปี 2560 ทำให้มีความได้เปรียบในการใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น โดยขณะนี้ทุกค่ายรถยนต์ต่างมีความสนใจในโครงการอีโคคาร์ 2 และอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของโครงการ

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... นล้าน.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 10

โพสต์

"บีโอไอ" อ้าแขนรับค่ายรถร่วม "อีโคคาร์ เฟส 2" แย้ม 5 ค่ายเดิมสนใจขยายลงทุนต่อ 2 ค่ายใหม่คุยรายละเอียดแล้ว คาดเม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 4 หมื่นล้าน ดันกำลังผลิตอีโคคาร์เพิ่ม 9.35 แสนคันในปี 61 ปลื้มโครงการของไทยดึงดูดใจนักลงทุนกว่าอินโดฯ ด้าน "มิตซูบิชิ-ซูซูกิ-ฮอนด้า" วอนขอความชัดเจน เชื่อแข่งขันยาก

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้รายงานถึงการออกประกาศเพื่อส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 2โดยผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่สนใจทุกรายสามารถยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตามโครงการดังกล่าวได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่31 มีนาคม

สำหรับ 5 ค่ายที่เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 1 ได้มีการรับทราบถึงเงื่อนไขและและให้ความสนใจที่จะลงทุนในเฟสที่ 2 โดยมีค่ายใหม่อีก 2 รายที่สนใจเข้าร่วม และได้เริ่มเข้ามาพูดคุยรายละเอียดแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปในกลางปี 2557 และมีการลงทุนนับจากวันอนุมัติราว 1 ปี

เฟส 2 คาดว่ามีผู้สนใจลงทุนราว 5-6 ค่าย มูลค่าการลงทุน 30,000-40,000 ล้านบาท การลงทุนการผลิตชิ้นส่วนอีกราว 10,000 ล้านบาท

ด้านนายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า บีโอไอจะเชิญผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯเข้าร่วมรับฟังคำชี้แจงรายละเอียดและเงื่อนไขการยื่นขอรับส่งเสริมฯภายในช่วง2 สัปดาห์นี้

ส่วน 5 ค่ายเดิม สามารถเลือกขยายการลงทุนได้ 3 ทาง คือ 1.สามารถยื่นขอรับส่งเสริมลงทุนผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขใหม่ แต่มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำลดจากเงื่อนไข 6,500 ล้านบาท เหลือ 5,000 ล้านบาท

2.ยื่นขอขยายการลงทุนผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 1 ภายใต้เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์การลงทุนเดิม โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่ากับจำนวนปีที่เหลืออยู่

และ 3.ผู้ผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 1 สามารถยื่นขอขยายการผลิตทั้งอีโคคาร์รุ่นที่ 1 และเพิ่มการผลิตอีโคคาร์รุ่นที่ 2 ได้ด้วย โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่ากับจำนวนปีที่เหลืออยู่

ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 6 ปี แต่หากผู้ผลิตรายใดมีการลงทุนเพื่อพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทภายใน 5 ปี จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี รวมเป็น 7 ปี และหากมีการลงทุนหรือใช้จ่ายเพื่อพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาทภายใน 5 ปี จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี รวมเป็น 8 ปี นอกจากนี้ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรเช่นเดียวกับอีโคคาร์รุ่นที่ 1 ด้วย

สำหรับผลการดำเนินงานของ 5 ค่ายแรกมีการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 30,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมียอดผลิตอีโคคาร์กว่า 300,000 คัน แบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 50% และการส่งออก 50%

แต่หากมีเฟส 2 เพิ่มเข้ามาสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 70%และทำให้ในปี 2559 น่าจะมียอดผลิตอีโคคาร์จากทั้ง 2 เฟสที่ 745,000 คัน ปี 2560 ยอดผลิต 835,000 คัน และปี 2561 ยอดผลิต 935,000 คัน ทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายยอดผลิตที่ 3 ล้านคันต่อปีในปี 2560 ได้

ทั้งนี้เชื่อว่าอีโคคาร์เฟส 2 จะดึงดูดการลงทุนได้มากกว่าโครงการที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศนโยบายผลิตรถยนต์ ราคาถูกที่มีความใกล้เคียงกับอีโคคาร์ของไทยที่มีความได้เปรียบอยู่มาก

นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หากมองในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี

แต่ในแง่ของธุรกิจแล้วนั้น ถือเป็นการทำให้ค่ายรถยนต์ 5 ค่ายในเฟสแรกเสียเปรียบและเสียโอกาสทางธุรกิจ และต้องปรับแผนธุรกิจกลางคัน และจะต้องมีการวางใหม่ทั้งหมด เนื่องจากจะมีรถเซ็กเมนต์เดียวกันเข้ามาทำตลาดเพิ่มเติมส่งผลให้การลงทุนของ 5 ค่ายแรกเกิดความเสียหายและเสียเปรียบ การลงทุนผิดเพี้ยนไปจากหลักการและเงื่อนไขเดิมที่รัฐบาลได้ประกาศชักชวนค่ายรถทำให้เกรงว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อการตัดสินใจลงทุนในอนาคตกับประเทศไทยเพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด

"ถามว่า 5 ค่ายแรกจะแฮปปี้กับการลงทุนรอบใหม่หรือไม่นั้น คงตอบลำบาก เพราะแผนการผลิต โปรดักชั่นจะต้องผิดเพี้ยนไปจากแผนงานเดิมทั้งหมด ซึ่งความพร้อมของแต่ละค่ายในการปรับเปลี่ยนโปรดักต์หากจะเข้าร่วมโครงการ 2 นั้นก็แตกต่างกัน และแผนงานของแต่ละค่ายอาจจะไม่ตรงตามจังหวะที่รัฐบาลว่าไว้ในปี 2559 เกิดภาวะสุญญากาศ ในนามของสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น เราอาจจะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเข้าไปเจรจากับรัฐบาลอีกรอบ การครั้งก่อนที่มีการเรียกค่ายรถเข้าไปนั้น ยังไม่มีกรอบที่ชัดเจนใด ๆ ออกมา"

ด้านนายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เป็นเรื่องดี โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในส่วนของรายละเอียดระหว่างอีโคคาร์เฟส 1 กับ เฟส 2 ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก

ด้านนายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับโครงการอีโคคาร์เฟสแรกที่บริษัทส่งสวิฟท์ถือว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าเกินความคาดหมาย

แต่สำหรับความสนใจในการลงทุนเฟสที่ 2 บริษัทยังต้องใช้เวลาอีกระยะในการศึกษารายละเอียดและความเหมาะสมก่อน
เช่นเดียวกับแหล่งข่าวจากบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจว่าสมควรจะลงทุนต่อหรือไม่ หรือลงทุนในรูปแบบใด เนื่องจากต้องพิจารณาถึงผลดีผลเสียของโครงการในเฟสที่ 2 ก่อน บริษัทได้ลงทุนไปค่อนข้างสูงเเล้ว

ด้านแหล่งข่าวจากฟอร์ด ประเทศไทย ก็เปิดเผยเพียงว่า บริษัทยินดีที่จะนำเรื่องโครงการอีโคคาร์เฟส 2 มาอยู่ในการพิจารณาแล้ว ซึ่งในด้านเทคโนโลยีของบริษัทนั้นเพียงพอเป็นไปตามเงื่อนไขอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้

ด้านแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์เปิดเผยว่าหากมีผู้เล่นเพิ่มเข้ามาเป็น7-8 ราย แต่ละรายมีกำลังการผลิตเพียงแค่ปีละ 50,000 คัน เท่ากับกำลังผลิตกว่า 400,000 คัน ซึ่งหมายถึงตลาดอีโคคาร์จะต้องเติบโตมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดรถยนต์ในประเทศ ทำให้การแข่งขันในตลาดจะรุนแรงเพิ่มขึ้นและภายในระยะเวลา 3 ปี ผู้ผลิตแทบทุกรายก็ต้องพัฒนาทั้งด้านเครื่องยนต์ อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษที่ดีขึ้นอยู่แล้ว

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 11

โพสต์

รัฐเรียกค่ายรถยนต์รับฟังเงื่อนไขอีโค คาร์ เฟส 2 ครั้งแรก 28 ต.ค. เอกชนติงเงื่อนไขยังไม่ตกผลึก-ลักลั่น โตโยต้าผู้เล่นรายใหญ่ห่วงอีโคล้นตลาด

โครงการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ ในเฟส 2 กำลังเป็นประเด็นที่ค่ายรถยนต์กังวล โดยเฉพาะกติกาลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับเฟสแรก ซึ่งมีผลต่อความสามารถการแข่งขัน

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการรถยนต์ กล่าวถึงท่าทีของผู้ประกอบการรถยนต์ 5 ค่ายที่ลงทุนโครงการอีโค คาร์ เฟส 1 อาทิ นิสสัน ฮอนด้า ซูซูกิ ฟอร์ด และ มิตซูบิชิ ระบุว่าค่ายรถยนต์เหล่านี้ต่างกำลังดูเงื่อนไขโครงการอีโค คาร์ เฟส 2 หลังจากที่รัฐบาลอนุมัติเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตรถขนาดเล็กประหยัดพลังงาน เฟส 2 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ และเริ่มประกาศรับผู้สนใจเข้ารับการส่งเสริมการลงทุน

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอีโค คาร์ เฟส 1 ตั้งข้อสังเกตต่อโครงการอีโค คาร์ เฟส 2 ไว้โดยเฉพาะความกังวลว่าโครงการนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนเดิมที่วางไว้ เนื่องจากค่ายรถบางรายที่ลงทุนอีโค คาร์ เฟส1 ไปแล้วไม่คิดมาก่อนว่า รัฐบาลจะรีบดำเนิน เฟส 2

"ภาครัฐจะเชิญค่ายรถไปหารือเงื่อนไขอีโค คาร์ เฟส 2 วันนี้(28 ต.ค.) เงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนที่ออกมา รายใหม่จะได้เปรียบค่อนข้างมาก ส่วนรายเก่าที่ลงทุนไปแล้ว หากจะทำตามเงื่อนไข เฟส 2 ต้องลงทุนเพิ่มไม่ สามารถอัพเกรดจากเฟส 1 ได้" แหล่งข่าว ระบุ

หวั่นเสียเปรียบแจงเงื่อนไขเฟส 2

แหล่งข่าว กล่าวว่าการที่ผู้ประกอบการเฟส 1 ไม่ได้รับรู้มาก่อนว่ารัฐบาลจะมีโครงการ เฟส 2 ทำให้มีการลงทุนใหญ่ในเฟส 1 โดยไม่ได้สำรองงบสำหรับเฟส 2 การลงทุนไม่ได้หมายถึงการใช้เงินของค่ายรถอย่างเดียว แต่เป็นการขยายการลงทุนของซัพพลายเออร์ทั้งซัพพลายเชน บางรายยังไม่สามารถลงทุนเพิ่มได้อีก ทำให้เสียเปรียบรายใหม่ที่จะเข้าโครงการค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่ค่ายรถที่ลงทุนเฟส 1 ไปแล้ว จะเรียกร้องให้ภาครัฐออกบทเฉพาะกาลของโครงการออกมา เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจ ลดข้อได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ลงทุน ต้องรอฟังคำชี้แจงจากกระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอวันนี้(28 ต.ค.)ก่อน" แหล่งข่าวระบุ

นิสสันชี้กติกาเปลี่ยนระหว่างแข่ง

นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ค่ายรถที่เปิดจำหน่ายรถยนต์อีโค คาร์ เฟส 1 เป็นค่ายแรก กล่าวว่าการที่มีเฟส 2 ออกมาเหมือนนักกีฬากำลังเล่นกีฬาอยู่แล้วกติกาเปลี่ยน การลงทุนก็เปลี่ยนไป นิสสันยังคงต้องให้สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปหารือกับรัฐในรายละเอียดการลงทุนให้ยืนบนกติกาเดียวกันระหว่างรายเก่ากับรายใหม่

"นิสสันไม่ได้ค้าน แต่อยากให้เงื่อนไขเป็นธรรม คนลงทุนไปแล้ว 5,000 ล้านบาท ในเฟส 1 แต่ถ้าจะทำเฟส 2 ต่อต้องลงอีก 5,000 ล้านบาท แต่คนใหม่มาลงแค่ 6,500 ล้านบาท หากมีผู้เล่น 8-9 ราย ตลาดคงไม่พอรองรับ ต้องหาทางส่งออกเป็นหลัก"

โตโยต้าฟันธงเฟส 2 ไตรมาสแรกปีหน้า

ขณะที่ค่ายรถยนต์โตโยต้า ที่เพิ่งเปิดตัวรถอีโค คาร์ เฟส 1 เป็นค่ายสุดท้าย นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย โตโยต้า กล่าวว่า โตโยต้าสนใจทำอีโคคาร์ เฟส 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาเงื่อนไข จะตัดสินใจเรื่องนี้ในเดือนมี.ค.2557

"เราตามใจนโยบายรัฐบาลสนับสนุนเป็นอย่างดี ส่วนอีโคคาร์ เฟส 2 เราไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน หรือมองว่าเงื่อนไขจะไม่เสมอภาค ไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุนว่าต้องลงทุนใหม่ 5,000 หรือ 6,000 ล้านบาท เพียงแต่ปัญหาสำคัญคือโตโยต้าจะมีรถที่พร้อมเข้าโครงการนี้หรือไม่ ซึ่งกำลังวางแผนอยู่"

โฟล์ค -ฟอร์ด -มาสด้า ผู้เล่นหน้าใหม่

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับผู้เล่นรายใหม่ที่สนใจรับการส่งเสริมการลงทุนอีโค คาร์ เฟส 2 มีหลายราย เช่น ค่าย โฟล์คสวาเก้น เนื่องจากสเปครถเข้าเงื่อนไขใหม่มากที่สุด โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายแมทเทียส กรูเบอ Head of Conformity of Production จากบริษัท โฟล์คสวาเก้น เยอรมนี พร้อมทีมงานเข้ามาพบรัฐบาล เพื่อศึกษากระบวนการและขั้นตอนการทดสอบให้ผ่านการยอมรับ เพื่อให้มีมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ และโรงงานในไทย

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ฟอร์ดและมาสด้า มีโรงงานร่วมทุนในไทย และยังมีการผลิตรถยนต์ในไทย สนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนโครงการอีโค คาร์เฟส 2

สำหรับเงื่อนไขส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 2 (Eco car) เฟส 2 สามารถยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2557 กำหนดมูลค่าเงินลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านบาท ต้องลงทุนผลิตแบบครบวงจร ทั้งการประกอบรถยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนและเครื่องยนต์มีปริมาณการผลิตไม่น้อยกว่า 1 แสนคันต่อปี นับตั้งแต่การผลิตปีที่ 4 เป็นต้นไป

กำหนดสเปคของเครื่องยนต์ตามมาตรฐานยูโร 5 ที่ให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร มีอัตราการใช้น้ำมันไม่เกิน 4.3 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หากเป็นเครื่องยนต์เบนซินมีขนาดไม่เกิน 1,300 ซีซี ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลมีขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... กลั่น.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Automakers are reluctant to join the eco-car project's second phase because some criteria are quite rigid, a seminar was told yesterday.


A model poses with the A:Wind by Suzuki, one of the eco-car manufacturers at the Motor Expo. PATTARACHAI PREECHAPANICH

The areas they find inflexible involve capital and production conditions.

"Convincing the five existing eco-car makers to join the new phase is not easy, as they have to launch products that not only meet the new specifications but also the new excise tax which is due to become effective in January 2016," said Piengjai Kaewsuwan, president of the Thai Automobile Industry Association and chairwoman of the Asean Automotive Federation.

The seminar was held on the sidelines of the Thailand International Motor Expo 2013 at Impact Muang Thong Thani, which ends next Tuesday.

The Board of Investment scheduled a March 31, 2014 deadline for applicants to submit eco-car investment plans.

To be eligible for investment privileges, they must invest at least 6.5 billion baht to build a new plant with an annual production capacity of 100,000 units within four years of operation.

Eligible cars for the second phase must emit less than 100 grammes of carbon dioxide per kilometre.

The government will waive corporate taxes and import duties for machinery for the first eight years of operation.

Participating car makers will also enjoy an excise tax as low as 14%, while E85-compatible eco-cars will be taxed at 12%.

The Industry Ministry expects annual eco-car production to surge by nearly 60% to 935,000 units within five years as the second phase attracts investment for the small vehicle.

The first phase, which was launched in 2007, attracted investment of 28.8 billion baht. Mitsubishi, Honda, Toyota, Nissan and Suzuki joined the first phase.

Accumulated production of eco-cars between 2010 and 2013 from the five car makers amounted to 712,292 cars, with Nissan making up 53.8%.

Accumulated domestic sales totalled 369,509 units, 54.1% of which were controlled by Nissan.

Over the first 10 months of this year, eco-car output stood at 296,187 units, 43.3% of which belonged to Mitsubishi and 32.6% to Nissan.

Domestic sales of the segment totalled at 146,985 units for the period.

Ms Piengjai, also the vice-president for government relations of Nissan Motor (Thailand), said the minimum investment should be 5 billion baht instead of 6.5 billion.

Suparat Sirisuwannangkura, chairman of the auto industry club of the Federation of Thai Industries (FTI) noted it is a bit too early for the government to kick off the new phase, saying eco-car makers themselves are still busy meeting the criteria in the first phase.

He added most car makers are also worried about the continuity of the government's energy policy.

"Whenever an automaker makes an investment decision on long-term production of 20 years, it has to come up with a production plan and product designs which are compatible with local energy types," he said.

According to Udom Wongviwatchai, the BoI's secretary-general, at least four automakers are expected to apply soon for the second phase, drawing the combined investment value of around 23-26 billion baht.

http://www.bangkokpost.com/auto/autosco ... ar-project
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 13

โพสต์

"บีโอไอ" ใจกว้างเปิดรับฟังเงื่อนไขทุกค่ายรถยนต์ที่เข้าร่วมอีโคคาร์เฟส 2 ย้ำนับชิ้นส่วนเป็นรถหนึ่งคันได้ ชี้ไม่ได้ทอดทิ้งผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่ ส.ยานยนต์วอนพิจารณาให้ถี่ถ้วน ปลื้มเฟสแรกฟันยอดผลิตไปแล้ว 7.1 แสนคัน


นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวในงานสัมมนา "อีโคคาร์เฟส 2 สานฝันยานยนต์ไทยสู่ 3 ล้านคัน" ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย หรือ TAJA ว่า ขณะนี้มีค่ายรถยนต์รายใหม่สนใจจะเข้าร่วมลงทุนในโครงการอีโคคาร์เฟส 2 แล้วอย่างน้อย 2-3 ราย ซึ่งมีทั้งค่ายญี่ปุ่นและยุโรป ส่วนกลุ่มผู้ผลิตอีโคคาร์ 5 รายเดิมนั้นอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557 นั้น จะมีค่ายรถแสดงความสนใจออกมาเป็นจำนวนมาก

นายอุดมกล่าวว่า ความสำเร็จอีโคคาร์เฟส 1 ยิ่งใหญ่มากมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่าจะมียอดผลิตอีโคคาร์อย่างน้อย 437,000 คัน แบ่งเป็นขายในประเทศ 248,000 คัน ส่งออก 189,000 คัน

สำหรับหลักเกณฑ์ของนโยบายดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศออกไปแล้วนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้ ทั้งนี้ในส่วนของวิธีการปฏิบัติ ค่ายรถที่สนใจเข้าร่วมอาจจะเข้ามาร่วมหารือถึงวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ให้เข้ากับเงื่อนไข เช่น จำนวนการผลิตที่อาจจะนับไปถึงการผลิตเป็นจำนวนคัน ชิ้นส่วนซีเคดี รวมทั้งมูลค่าการผลิตชิ้นส่วนที่สามารถนำมานับเป็นรถยนต์หนึ่งคันได้ เพื่อปรับสภาพการทำงาน และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน แต่ทั้งนี้ภาคเอกชนหรือค่ายรถยนต์ จะต้องรวมกลุ่มกันเข้ามาเพื่อหารือเจรจาถึงเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติ

"ตอนนี้เราพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อหาวิธีปฏิบัติร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการให้สามารถรวมกลุ่มกันเข้ามาหารือรายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งวิธีปฏิบัติเพื่อให้ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ทำงานร่วมกันโดยบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง"

นายศุภรัตน์ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงความสำเร็จโครงการ

อีโคคาร์ว่า ในเฟสแรกถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เห็นได้จากกำลังการผลิต ในปีแรกคือปี 2553 ที่มีกำลังการผลิต 59,000 คัน แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 18,740 คัน ส่งออก 40,710 คัน และเพิ่มเป็น 157,000 คันในปี 2554 แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 59,000 คัน ส่งออกราว 100,000 คัน

จนถึงปีที่ผ่านมามีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 258,969 คัน แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 162,600 คัน และส่งเกือบ 96,369 คัน ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมียอดผลิตกว่า 437,000 คัน แบ่งเป็นตลาดการจำหน่ายในประเทศ 248,000 คัน ส่งออก 189,000 คัน ส่วนยอดขายในประเทศปีนี้ 10 เดือนแรกมียอดขายราว 140,000 คัน จากปีที่ผ่านมาทั้งปีมียอดขาย 160,000 คัน ซึ่งต้องพิจารณายอดขายจากช่วงเวลาที่เหลือของปีว่าจะทำให้มียอดขายเท่ากับปีที่ผ่านมาหรือไม่

ส่วนยอดผลิตตั้งแต่มีการผลิตอีโคคาร์ในปี2553 จนถึงเดือนตุลาคมปีนี้นั้น มียอดการผลิตอีโคคาร์กว่า 712,000 คัน แบ่งเป็นยอดขายในประเทศกว่า 369,000 คัน และส่งออกราว 400,000 คัน ทำให้อีโคคาร์มีสัดส่วนยอดขายในตลาดรถยนต์นั่งกว่า 24% โดยค่ายที่มีกำลังการผลิตสูงสุดคือ มิตซูบิชิ ที่มีสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออก 43% ของตลาด ส่วนค่ายที่มียอดขายสูงสุดในประเทศคือ นิสสัน ที่มีมาร์เก็ตแชร์ถึง 53% ของตลาดรวมซึ่งจากกำลังการผลิตอีโคคาร์ที่เพิ่มขึ้น คาดว่าการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยในปีนี้กำลังการผลิตรวมของบริษัทรถยนต์ทุกรายอยู่ที่ 2.81 ล้านคัน และคาดว่าหากสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่ในความสงบไปอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยน่าจะมียอดผลิตสูงถึง 3 ล้านคันภายใน 5 ปีนับจากนี้ทั้งนี้สิ่งที่ต้องจับตามองคือ ประเทศที่หันมาสนับสนุนโครงการการผลิตรถยนต์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอีโคคาร์คือ อินโดนีเซียที่สนับสนุนการผลิตรถยนต์ โลว์คอสต์กรีนคาร์ (แอลซีจีซี) ที่มีราคาถูกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อม

ส่งออกจำหน่ายในประเทศสมาชิกอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย แต่ประเทศไทยก็มีความได้เปรียบเนื่องจากให้การสนับสนุนการผลิตอีโคคาร์ก่อน ประกอบกับในโครงการอีโคคาร์เฟส 2 นั้น ก็ได้กำหนดคุณสมบัติของตัวรถในด้านความประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอาเซียน กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศส่งเสริมการลงทุนโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ถือเป็นนโยบายที่ดี ในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มีความแข็งแกร่ง

เพียงแต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากไปยังภาครัฐ ถึงความพร้อมของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ 5 ค่ายแรกที่เข้าร่วมโครงการในเฟส 1 นั้นอาจจะมีความพร้อมต่อเงื่อนไขการลงทุนที่ต่างกันโดยเฉพาะนโยบายของแต่ละค่าย ทั้งเงินลงทุน, จำนวนการผลิต, สินค้า ให้รัฐพิจารณารายละเอียดตรงนี้ด้วย บางค่ายอาจจะมีสินค้าและความพร้อมเพื่อสอดรับกับโครงสร้างภาษีใหม่ในวันที่ 1 ม.ค. 2559 ทันทีหากเข้าร่วมโครงการ

สำหรับรายละเอียดของอีโคคาร์เฟส 2 ถือว่าค่อนข้างสาหัส โดยเฉพาะเงื่อนไข จำนวนการผลิต เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงระยะเวลาที่เหลื่อมล้ำกันระหว่างเฟส 1 และเฟส 2 ที่ถือว่าค่อนข้างน่าหนักใจสำหรับ 5 ค่ายแรก

สิ่งสำคัญรัฐบาลควรจะต้องมองอุปสรรค และต้องไม่ลืมว่า การออกนโยบายใด ๆ ออกมา จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุน

นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่ามิตซูบิชิ ยังไม่ได้ตัดสินใจกับอีโคคาร์เฟส 2 แต่อย่างใด กำลังพิจารณารายละเอียด

ทั้งนี้บริษัทได้ลงทุนเฟสแรกไปแล้วถึง 40,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงพอสมควร หากจะต้องมีการลงทุนใหม่ คงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน และมิตซูบิชิยังมีเวลาพอสมควรที่จะตัดสินใจเรื่องนี้

นางปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อีซูซุยังคงเชื่อว่าแม้ว่าจะมีอีโคคาร์เฟส 2 ออกมานั้นก็จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถปิกอัพอย่างแน่นอน เพราะเป็นลูกค้าคนละกลุ่ม และยังคงมีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยอีซูซุเชื่อว่าสัดส่วนการจำหน่ายรถในปีนี้ 50% ยังคงเป็นรถปิกอัพ

ด้านนายหวู่ ฮวน ประธานบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด กล่าวถึงความสนใจและความพร้อมของบริษัทต่อโครงการอีโคคาร์ ว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิเคราะห์ความพร้อมของสินค้าเพื่อเปรียบเทียบโอกาสและความเป็นไปได้ภายในวันที่่31 มี.ค.จะมีความชัดเจนออกมาจากเอ็มจี อย่างแน่นอน

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 14

โพสต์

มาซะฮิโกะ อูเอะกิ "มิตซูบิชิยังรักประเทศไทย เทงบฯลงทุนต่อเนื่อง"
updated: 14 ก.พ. 2557 เวลา 13:49:55 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

สัมภาษณ์พิเศษ

ค่ายมิตซูบิชิประกาศเปลี่ยนซีอีโอหรือกรรมการผู้จัดการใหญ่แบบสายฟ้าแลบเมื่อช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมา หลายคนอาจจะมองว่าเป็นการ "เปลี่ยนม้ากลางศึก" แต่สำหรับคนมิตซูบิชิทราบดีว่าซีอีโอใหม่คนนี้เป็นลูกหม้อเก่าของมิตซูบิชิโดยตรง เคยรั้งตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ประจำสำนักงานเอเชียและอาเซียน ซึ่งครอบคลุมถึงประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ "มาซะฮิโกะ อูเอะกิ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่เข้ามาสานงานต่อพร้อมรับหน้าที่นำพานาวามิตซูบิชิก้าวไปข้างหน้า เพื่อเป็นกำลังหลักในการสนับสนุนแผนงาน 3 ปีของมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ภายใต้แผน "New Stage 2016" ที่บริษัทแม่กำหนดชัดเจนและต้องการผลักดันให้มิตซูบิชิประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดของโลก

- นโยบายหลักหลังรับตำแหน่ง

สิ่งสำคัญหลังจากที่ผมเข้ามารับตำแหน่ง คือ การเดินหน้าสานต่อนโยบายต่าง ๆ ของคุณโนบุยูกิ มูราฮาชิ (กรรมการผู้จัดการใหญ่คนก่อน) ให้ต่อเนื่องและมองไปที่อนาคต โดยเฉพาะการเดินหน้าไปตามแผนงาน New Stage 2016 ซึ่งในแผนงานดังกล่าวมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ที่เราต้องสานต่อและดำเนินการให้สอดคล้องกับทิศทางที่บริษัทแม่ได้วางไว้ เนื่องจากตลาดอาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตและเป็นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตหลักในการดำเนินธุรกิจของมิตซูบิชิในอาเซียน เป็นหัวใจสำคัญของภูมิภาคนี้ หากมองกันจริง ๆ ในภูมิภาคนี้ทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนของมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่นหลัก ๆจะเป็นการลงทุนในประเทศไทย โดยจากสถิติข้อมูลต่าง ๆ พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงสุด ที่ผ่านมาเราได้ลงทุนมูลค่า 16,000 ล้านบาท เพื่อผลิตรถยนต์โกลบอลสมอล หรืออีโคคาร์ขึ้นในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ประเทศไทยก็เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกเช่นเดียวกัน และขณะนี้แม้ว่าประเทศไทยได้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดของมิตซูบิชิไปแล้ว แต่จากแผนงาน New Stage 2016 จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่ง ผลักดันให้ประเทศไทยเป็น "ฮับ" การผลิตใหญ่ที่สุดในโลกของมิตซูบิชิ

- พร้อมลงทุนอีโคคาร์เฟส 2

ใช่ เรามีความสนใจโครงการอีโคคาร์ 2 อยู่ เพราะเชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยให้บรรยากาศการสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับตลาดรถยนต์ได้ แต่วันนี้ในส่วนของผู้ร่วมโครงการใหม่นั้นค่อนข้างชัดเจนแล้ว ขณะที่ผู้ประกอบการ 5 ค่ายรายแรกที่ดำเนินการในอีโคคาร์เฟสแรกยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน อย่างไรก็ตามเราต้องรีบเข้าไปเจรจาหารือถึงรายละเอียดต่าง ๆรวมกับทางบีโอไอว่าเงื่อนไขจะเป็นอย่างไร เพราะขณะนี้เราบรรลุข้อกำหนดเรื่องจำนวนการผลิตแล้ว มิตซูบิชิมียอดการผลิตอีโคคาร์ทั้งมิราจและแอททราจรวมกันเกินกว่า 200,000 คันไปแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมา ตอนนี้สำหรับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ 2 คือ รอความชัดเจนในรายละเอียด

- มองตลาดอีโคคาร์ยังเติบโต

แน่นอนอย่างไรก็ตามตลาดของอีโคคาร์ในอนาคตจะต้องเติบโตเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เรามีการส่งรถประเภทนี้ไปทั่วโลกทั้งออสเตรเลีย อาเซียน ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ ฯลฯ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาดส่งออกอย่างแน่นอน


- บรรยากาศช่วงนี้ไม่น่าลงทุน

มิตซูบิชิมองว่าความขัดแย้งทางการเมืองน่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ผมก็ได้เข้าไปสำรวจการชุมนุมหลายจุด ทั้งที่ราชประสงค์ ปทุมวัน เข้าใจถึงเหตุผลของผู้ชุมนุม ซึ่งก็หวังว่าทุกอย่างจะจบโดยเร็ว อย่างไรก็ตามหลังจากเราตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่มูลค่า 16,000 ล้าน เพื่อก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 สำหรับผลิตรถโกลบอลสมอลไปก่อนหน้านี้แล้ว แผนงานทุกอย่างต้องดำเนินไปตามตารางการลงทุน หรือพูดง่าย ๆ เรายังรักประเทศไทย และพร้อมที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แผนการส่งโปรดักต์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ทั้งรถปิกอัพรุ่นใหม่ รถยนต์นั่ง และอื่น ๆ แน่นอนที่สุดมิตซูบิชิจะต้องลงทุนต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ทั้งโรงงาน การผลิตชิ้นส่วนเพื่อรองรับ ตรงนี้ถือว่าผมยืนยันเป็นการลงทุนต่อเนื่องแน่นอน

- นโยบายเร่งด่วน

หลัก ๆ ก็คงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากประธานคนเก่าผมอยากทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเพิ่มตัวเลขการขาย และพัฒนาบริการหลังการขาย หรือเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย การทำธุรกิจจะต้องมีเป้าหมายชัดเจน ซึ่งถ้าเราจะไปถึงจุดนั้นก็ต้องมีการพัฒนาในหลาย ๆ ส่วน สินค้าและการขายต้องไปด้วยกัน สิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้น คือ เน้นการ "สื่อสาร" ระหว่างกันมากขึ้น รวมถึงการ "มอนิเตอร์" สถานการณ์รวมกัน

- ประเมินเทรนด์การแข่งขันในปีนี้

ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการแข่งขันโดยการใช้แคมเปญส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องและดุเดือดมาก ปีนี้หากสถานการณ์ทางการตลาดดีขึ้นการแข่งขันด้านการใช้แคมเปญอาจจะไม่รุนแรงเท่าปีก่อน เพราะปีที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันว่า กำลังการผลิตของแต่ละค่ายเกินกว่าความต้องการ แต่ปีนี้ทุกค่ายเคลียร์สถานการณ์ได้ลงตัว ซึ่งวันนี้ค่ายรถยนต์รวมทั้งมิตซูบิชิเองกำลังพยายามเดินไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ แม้ว่าสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ในช่วงครึ่งปีแรกจะดูไม่ค่อยสดใส แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังทุกอย่างจะคลี่คลายอย่างแน่นอน

- โปรดักต์ไลน์ครบทุกความต้องการหรือยัง

วันนี้มิตซูบิชิมีสินค้าตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ และรถพีพีวี แน่นอนสิ่งที่บริษัทแม่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ อีโคคาร์ ที่บริษัทมั่นใจว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเซ็กเมนต์อื่น ๆจะไม่โต แต่ตลาดอีโคคาร์จะเป็นตลาดที่น่าจับตาและมีความโดดเด่นเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนทิศทางมองไปที่กลุ่มรถยนต์ประหยัดน้ำมัน ขับง่าย และเราเชื่อว่าเทรนด์ของตลาดจะเป็นไปในทิศทางนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดรถปิกอัพจะลดลงแต่อย่างใด พฤติกรรมของคนจะใช้รถในระยะหลังซื้อรถตรงกับประเภทการใช้งานมากขึ้น รถปิกอัพก็จะถูกนำไปใช้ในรูปแบบของการใช้งานจริง ประกอบกับรัฐบาลไทยยังคงให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง รถปิกอัพขนาด 1 ตันยังถือเป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนที่สำคัญของประเทศไทย และอีโคคาร์เองก็เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 2 ที่ค่อย ๆ มีการเติบโตและได้รับการยอมรับมากขึ้น

- แผนงาน 3 ปีสำหรับประเทศไทย

สำหรับบทบาทของประเทศไทยที่บริษัทแม่ได้วางไว้ภายใต้แผนธุรกิจ New Stage 2016 ตลาดอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญและมีการเติบโต ซึ่งเวลานั้นประเทศไทยจะต้องเป็นฐานการผลิตที่สำคัญภายในปีงบประมาณ 2016 มิตซูบิชิจะมียอดการจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียนเป็น 390,000 คัน หรือ 45% ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 270,000 คัน โดยประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในฐานการผลิตที่สำคัญของมิตซูบิชิ

ส่วนปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 100,000-104,000 คัน มีส่วนแบ่งทางการตลาด 9% จากปีที่แล้วที่มียอดขาย 104,687 คัน มีส่วนแบ่งทางการตลาด 8.3% โดยบริษัทตั้งเป้าว่ารถปิกอัพรุ่นใหม่จะเป็นปัจจัยสำคัญและช่วยขับเคลื่อนให้มิตซูบิชิไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

วันนี้เรามีรถปิกอัพและรถอีโคคาร์ผลิตอยู่ในประเทศไทยแล้ว ซึ่งประเทศถือเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของมิตซูบิชิ ประเทศไทย เป็น "ฮับ" การผลิตที่สำคัญของมิตซูบิชิต่อเนื่องอย่างแน่นอน ที่สำคัญมิตซูบิชิจะต้องเดินหน้าขยายการลงทุนภายในประเทศไทยเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1392360698
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 15

โพสต์

การเมือง-เศรษฐกิจป่วนตลาดเก๋ง ยอดทิ้งจองปีที่แล้วทะลุแสน ยอดขายเดือนแรกปีนี้ร่วงเกือบ 50% หวั่นอีโคคาร์ 2 สะดุด ด้านบีโอไอยืนกรานไม่เลื่อน ผู้ผลิตหน้าใหม่สนใจ 2-3 ราย ค่ายรถชี้เทรนด์เก๋งเล็กยังวิ่งฉิว

แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรม ยานยนต์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ทรุดตัวต่อเนื่องมาตลอดปี 2556 กระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์เป็นระยะ แม้ปีที่แล้วภาวะการขายรถยนต์จะปิดตัวเลขที่ 1,327,703 คัน แต่ก็มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่ต้องจับตา ตั้งแต่การทิ้งจองรถยนต์คันแรกซึ่งมีตัวเลขสูงถึงแสนคัน ถัดมาในเดือนมกราคม 2557 ก็ทำยอดขายได้เพียง 69,154 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 50% ซึ่งปกติภาวะการขายต่อเดือนเฉลี่ยแสนคัน และในจำนวนนั้นตลาดที่กระทบหนักสุดคือกลุ่มเก๋งเล็กและอีโคคาร์

แหล่ง ข่าวกล่าวอีกว่า ประเด็นนี้ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าแนวโน้มการเติบโตของรถยนต์ในกลุ่มที่ได้ รับผลกระทบ โดยเฉพาะอีโคคาร์ถึงเวลาอิ่มตัวแล้วหรือไม่ และยังกังวลว่าโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ซึ่งมีกำหนดระยะเวลายื่นขอส่งเสริมภายในเดือนมีนาคม 2557 อาจจะต้องเลื่อนยาวออกไปก่อน

เกี่ยวกับประเด็นนี้ นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า โครงการอีโคคาร์เฟส 2 ที่เปิดให้ผู้ประกอบการยื่นเอกสารเพื่อขอสนับสนุนการลงทุนจากบีโอไอภายในวัน ที่ 31 มีนาคม 2557 แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่สงบ และอาจจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนได้นั้น แต่ในเบื้องต้นบีโอ ไอยังคงยืนยันว่า ไม่มีการเลื่อนกำหนดการออกไปอย่างแน่นอน เนื่องจากไม่พบรายงานว่าผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวขอยืด ระยะเวลายื่นขอส่งเสริมออกไป

นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตรถยนต์รายเก่าที่เคยเข้าร่วมในโครงการอีโคคาร์เฟส 1 และผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่เข้ามาหารือถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการลง ทุนแล้ว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะมีผู้ผลิตรถยนต์เข้าร่วมประมาณ 4-5 รายตามที่บีโอไอวางเป้าหมายไว้ และคาดว่าอาจจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่เข้าร่วมอีก 2-3 ราย แต่ยังไม่มีการแจ้งเข้ามาอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้มั่นใจว่าจะทยอยยื่นเอกสารช่วงเดือนมีนาคมนี้

"แนวโน้มของรถ ยนต์ในอนาคตจะต้องเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงาน และอีโคคาร์ก็ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างดี ดังนั้นโครงการนี้ก็จะต้องดำเนินการตามระยะเวลาเดิมที่กำหนด เพราะฉะนั้นยืนยันว่าโครงการนี้จะดำเนินไปตามกรอบเวลาเดิม และจะส่งผลให้เป้าหมายการขอส่งเสริมการลงทุนในปีนี้เป็นไปตามแผน"

ด้าน นายมาซะฮิโกะ อูเอะกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เคยกล่าวว่า มิตซูบิชิสนใจเข้าร่วมอีโคคาร์เฟส 2 แน่นอน เพราะมิตซูบิชิประสบความสำเร็จจากอีโคคาร์โครงการ 1 ด้วยยอดผลิตมากกว่า 200,000 คันไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา คาดว่าภายในเดือนเศษ ๆ นี้คงได้คำตอบ ซึ่งยังมีรายละเอียดที่ต้องหารือร่วมกับบีโอไอ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทเชื่อว่าอนาคตการเติบโตของรถยนต์ประเภทนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เช่น เดียวกับนายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้นิสสันมีอีโคคาร์ออกสู่ตลาด 2 รุ่น คือมาร์ชและอัลเมร่า รวมกันมากกว่า 200,000 คัน ทะลุเกณฑ์ตามข้อกำหนดของบีโอไอเรียบร้อย

ส่วน จะพร้อมลงทุนโครงการ 2 หรือไม่ยังมีเวลาในการตัดสินใจ แต่ก็ต้องพิจารณาให้ดี เพราะสิทธิประโยชน์อีโคคาร์เฟส 2 มีการเปลี่ยนแปลง อาจจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่เชื่อว่ารัฐบาลเองได้คิดมาเป็นอย่างดี และจะเกิดประโยชน์กับคนไทย ทั้งในเรื่องมาตรฐานยูโร 5 การปล่อยค่ามลพิษ

ขณะ ที่เงื่อนไขเงินลงทุนมูลค่า 6,500 ล้านบาทนั้น อาจจะทำให้ 5 ค่ายแรกที่เข้าร่วมอีโคคาร์เฟสแรกต้องคิดหนัก และต้องตอบคำถามบริษัทแม่ให้ได้ในแง่ธุรกิจ รวมถึงการแข่งขัน จำนวนรถที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

"เงื่อนไขที่ได้เปรียบโดยเฉพาะฐาน ภาษีที่ขยับจาก 17% เหลือ 12% อาจจะทำให้ผู้ผลิตอีโคคาร์เฟสแรกต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อให้สามารถแข่งขัน ได้อย่างแน่นอน"


http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ซีอีโอมาสด้าเปิดไลน์ผลิต มาสด้า 3 สกายเเอ็กทีฟ ดันไทย ฮับผลิตของภูมิภาค

updated: 14 มี.ค. 2557 เวลา 13:17:49 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายมาซามิชิ โคไก ประธานเเละซีอีโอ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า มาสด้าได้เปิดสายการผลิตรถยต์นั่งมาสด้า 3 ใหม่ เจเนอเรชั่นที่ 2 เครื่องยนต์สกายเเอ็กทีฟอย่างเป็นทางการที่โรงงานผลิตรถยนต์ออโตอัลลายเเอนซ์ หรือเอเอที จ.ระยอง อย่างเป็นทางการ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดภายในประเทศไทยและตลาดภูมิภาค

เบื้องต้นคาดว่าจะมียอดขายรถยนต์มาสด้า 3 สกายแอ็กทีฟ สำหรับตลาดอาเซียนราว 15,000 คันต่อปี

"ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของมาสด้า และผมมั่นใจว่ามาสด้า 3 สกายเเอ็กทีฟรุ่นนี้จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างแบรนด์รถยนต์มาสด้าให้มีความเเข็งเเกร่งพร้อมที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของมาสด้าในภูมิภาคนี้ต่อไป"

ปัจจุบันมาสด้า3 มีการจำหน่ายไปยัง 120 ประเทศทั่วโลก มียอดจำหน่ายสะสมไม่น้อยกว่า 4 ล้านคัน หรือคิดเป็นยอดขาย 30% ของยอดขายรถยนต์มาสด้าทั่วโลก

ส่วนความคืบหน้าด้านความสนใจของการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทยภายใต้โครงการอีโคคาร์เฟส 2 นั้น มาสด้ายังอยู่ระหว่างการหารืออย่างจริงจังกับรัฐบาลไทย และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้อย่างเเน่นอน

สำหรับโรงงานเอเอทีเเห่งนี้ ผลิตรถยนต์นั่งเเละรถเพื่อการพาณิชย์ทั้งหมด 6 รุ่น มีกำลังผลิตสูงสุด 240,000 คันต่อปี โดยกำลังผลิตเเบ่งเป็นรถยนต์มาสด้า และฟอร์ดอย่างละ 50/50

ขณะที่กำลังผลิตของมาสด้าในภูมิภาคอาเซียนมีทั้งสิ้น 150,000 คัน เเบ่งเป็นจากประเทศไทย 120,000 คัน เวียดนาม และมาเลเซียรวมกันที่ 30,000 คัน

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1394777498
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 17

โพสต์

สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเชื่อค่ายรถยนต์แห่ขอรับสิทธิ์เข้าร่วมอีโคคาร์เฟส 2 พรึ่บ แต่จะทำจริงหรือไม่ยังต้องพิจารณาหลายปัจจัย โดยเฉพาะ 5 ค่ายแรกที่เทหน้าตักลงทุนไปก่อนหน้านี้

นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และในฐานะประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอาเซียน เปิดเผยว่า แนวโน้มการเข้าร่วมขอรับสิทธิ์ในโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ซึ่งกำหนดปิดรับในวันที่ 31 มีนาคม 2557 นี้ น่าจะมีค่ายรถยนต์ขอรับสิทธิ์จากบีโอไอจำนวนมาก แต่ท้ายที่สุดจะมีกี่รายที่พร้อมประกาศลงทุนยังต้องติดตามกันต่อ

โดยเฉพาะ 5 ค่ายแรก โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ และซูซูกิ ที่เข้าร่วมอีโคคาร์เฟสแรก เนื่องจากบางรายไม่คาดคิดว่ารัฐบาลจะประกาศส่งเสริมอีโคคาร์เฟส 2 เร็วแบบนี้ ซึ่งบางค่ายได้ใช้งบประมาณในการลงทุนไปกับเฟส 1 ไปแล้วจำนวนมหาศาล ดังนั้นการจะตัดสินใจเข้าร่วมโครงการในเฟส 2 อาจจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน รวมถึงการมองโอกาสทางธุรกิจอุตสาหกรรมว่าจะมีการเติบโตไปทิศทางใด และสามารถแข่งขันได้มากน้อยเพียงใดด้วย

นางเพียงใจกล่าวว่า จากคาดการณ์ยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าอยู่ที่ 2.4 ล้านคัน และเชื่อว่ายอดขายรถยนต์ภายในประเทศปีนี้จะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นที่มียอดขาย ครบ 1 ล้านคัน ในปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเกิดวิกฤตต่าง ๆ

ปีนี้ปัจจัยลบต่าง ๆ ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงภาวะความไม่ชัดเจนทางการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในการจับจ่าย

"ตัวเลขยอดผลิต 2.4 ล้านคันน่าจะยังทรง ๆ ตัวอยู่ประมาณนี้ ส่วนยอดขายในประเทศก็น่าจะแค่ 1 ล้านคัน ทุกคนก็หวังว่าตลาดจะฟื้นตัวเร็ว งานมอเตอร์โชว์เที่ยวนี้คงจะเป็นตัววัดอะไรบางอย่างได้พอสมควร"

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 18

โพสต์

March 25, 2014 3:02 pm
General Motors Thailand announced today it will submit an application to the Thailand Board of Investment's Eco Car Phase 2 programme.

"GM's intent to develop a new Chevrolet car for production in Thailand is well aligned with the objective of the Eco Car programme," said Marcos Purty, the new managing director of GM Thailand. "By submitting this application, GM reaffirms its commitment to invest in Thailand and make Rayong a strategic hub for global exports. Additionally, this investment will bolster our long-term commitment to the excellent regional supplier network."
The programme calls for automakers in Thailand to build an all-new vehicle that is fuel-efficient, environmentally friendly, safe, and low cost, for sale throughout the region by the end of the decade. Eco cars are expected to use many locally produced components, including powertrain parts.

The Nation

http://www.nationmultimedia.com/breakin ... 30035.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมคิดว่าEco carจะไม่workเพราะคนไทยไม่ชอบรถเล็กครับ คนไทยชอบรถ
ใหญ่ แรง แข๊ง ทน ตรับ555
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 20

โพสต์

8ค่ายรถเดินหน้ายื่นขอรับการส่งเสริมอีโคคาร์ รุ่น2 รายเดิมประกาศร่วมครบทุกยี่ห้อ หวังเพิ่มศักยภาพแข่งขัน เชฟโรเลต ยกระดับ"โกลบอลโปรเจค"

ปลายปี 2556 รัฐบาลประกาศส่งเสริมการผลิตรถประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล หรือ อีโค คาร์ รุ่น 2 เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นในประเทศ โดยกำหนดให้ยื่นขอรับการส่งเสริมต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ภายใน 31 มี.ค.นี้ ซึ่งล่าสุดพบว่ามี 7 ค่ายที่แสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการ

นายมาร์คอส เพอร์ตี กรรมการผู้จัดการ จีเอ็ม ประเทศไทย และ บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เชฟโรเลตได้ยื่นขอรับการส่งเสริม อีโค รุ่น 2 แล้ว โดยกำหนดให้เป็นสินค้าสำคัญสำหรับแผนธุรกิจระยะกลางและระยะยาวในภูมิภาคอาเซียนและไทย สำหรับเม็ดเงินลงทุน จำนวนการผลิตขั้นต้นและเงื่อนไขอื่นๆ เชฟโรเลตจะดำเนินการตามที่บีโอไอประกาศหลักเกณฑ์เบื้องต้นเอาไว้

“แผนการลงทุนใหม่ของเรา เป็นกลยุทธ์จะช่วยกระตุ้นยอดขายของเชฟโรเลต ในเซ็กเมนท์ใหม่ๆ ที่มีการเติบโตสูง และการตัดสินใจร่วมโครงการอีโค รุ่น 2 ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจที่จีเอ็มให้ความสำคัญในภูมิภาคนี้โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง”

นายเพอร์ตี กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้ยังจะช่วยยกระดับเป้าหมายในระยะยาวในการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วน ระดับภูมิภาคอีกด้วย

แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์เปิดเผยว่า การลงทุนของเชฟโรเลต จะมีมูลค่าสูงกว่าข้อกำหนดของรัฐ เนื่องจากเชฟโรเลตมีแผนทำให้เป็นโครงการระดับโลก

นางสาวยุคนธร วิเศษโกสิน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า ฟอร์ดได้ยื่นเอกสารเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนอีโค คาร์ รุ่น 2 เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่จะส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของฟอร์ด โดยได้ศึกษาและทำความเข้าใจและเห็นว่าฟอร์ดมีความพร้อมที่จะดำเนินการ และการลงทุนครั้งนี้สะท้อนการให้ความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางของไทยที่ปัจจุบันมีโรงงานผลิตถึง 2 แห่งด้วยกัน

ฮอนด้าศึกษาผลกระทบรุ่น 1

นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ (COO - Chief Operating Officer) บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ฮอนด้า จะยื่นขอรับการส่งเสริมไปก่อน ขณะเดียวกันก็จะพิจารณาผลกระทบต่อโครงการ รุ่น 1 ที่บริษัทเข้าร่วมอยู่แล้ว รวมถึงความเป็นไปได้ในการต่อยอด ก่อนจะมาสรุปอีกครั้ง

ด้าน นายวิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า โตโยต้าได้ตัดสินใจว่าจะส่งเอกสารเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนเช่นเดียวกัน

“หากมองในเรื่องของตลาดและการเติบโตแล้วถือว่าตัวรถยนต์อีโคคาร์เองมีความน่าสนใจ และมองว่ายังเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ”

นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่าซูซูกิสนใจที่จะลงทุน และเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายก็พร้อมที่จะจองสิทธิ์เช่นกัน เนื่องจากหากถึงเวลาแล้วไม่ต้องการลงทุนก็สามารถทำได้ โดยไม่มีบทลงโทษใดๆ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีโคคาร์จะทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนแปลง โดยตลาดที่ได้รับผลกระทบน่าจะเป็นรถยนต์นั่งขนาด 1.5-1.8 ลิตร ขณะเดียวกัน กลุ่มลูกค้าจากรถยนต์มือสองก็จะหันมาซื้อรถยนต์ใหม่ได้ง่ายขึ้น

“แน่นอนว่าข้อกำหนดการผลิต 1 แสนคัน ภายในปีที่ 4 อาจจะยังมีข้อสงสัยอยู่ แต่ผมเชื่อว่าตลาดรถยนต์ในไทยจะเปลี่ยนไป การซื้อรถคันเดียวเพื่อใช้งานทุกอย่างคงน้อยลง หันมาใช้รถยนต์ตามความต้องการที่แท้จริงมากขึ้น ทำให้ตลาดอีโคคาร์ รุ่น 2 น่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

มิตซูบิชิหวังลงทุนรุ่น 1 ครอบคลุมโครงการใหม่

นายมาซะฮิโกะ อูเอะกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บริษัทได้เจรจากับ บีโอไอ ถึงเงื่อนไขที่เป็นไปได้ เนื่องจากเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องลงทุนใหม่เพราะโครงการของมิตซูบิชิ ในเฟส 1 ใช้เงินลงทุน 1.6 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเงื่อนไขลงทุน ขั้นต่ำของโครงการรุ่น 1 ที่กำหนด 5,000 ล้านบาท และศักยภาพจากเม็ดเงินดังกล่าว ก็ถือว่าเพียงพอที่จะผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ตาม เงื่อนไขของบีโอไอ

“เราลงทุนไปแล้ว 1.6 หมื่นล้านบาทแล้ว แต่เงื่อนไขรุ่น 2 ต้องลงทุนอีก 5,000 บาท เราจึงเจรจาเพื่อยกยอด โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มใหม่อีก ซึ่งท่าทีของบีโอไอ ยังไม่ตอบรับแต่ก็มีท่าทีที่เข้าใจ และคาดว่า ภายในสัปดาห์นี้จะมีคำตอบ" นายอูเอะกิกล่าว

นายหวู ฮวน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด (เอ็มจี) เปิดเผยว่าแม้จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดไทยในปีที่ผ่านมา แต่ก็มองว่าโครงการอีโคคาร์เป็นโครงการสำคัญที่จะผลักดันอุตสาหกรรมในอนาคต และบริษัทก็มีความต้องการที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวในอนาคต

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงความเหมาะสมของรถยนต์ในเครืออีกครั้งว่าจะนำรุ่นใดมาเข้าโครงการ

นายโชอิชิ ยูกิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทจะยื่นเพื่อขอเข้ารับการส่งเสริมในโครงการอีโคคาร์ รุ่น 2 เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องของความต้องการของตลาดรถยนต์ และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดของโครงการได้ เนื่องจากยังต้องปรึกษาในรายละเอียดของโครงการทั้งหมด และเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายที่เสนอตัวเข้าในโครงการก็มองเห็นศักยภาพของตลาด และเชื่อว่าไม่มีใครที่เสนอโครงการเข้ามาโดยไม่ได้ทำการศึกษาอย่างชัดเจน

"สิ่งที่สำคัญตอนนี้ก็คือทั้งบีโอไอและรัฐบาลเองไม่สามารถอนุมัติโครงการนี้ได้ เนื่องจากบอร์ดบีโอไอหมดอายุไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและรัฐบาลรักษาการแต่งตั้งบอร์ดใหม่ได้ ทำให้บีโอไอไม่สามารถอนุมัติโครงการที่มูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาทได้ ซึ่งจะทำให้ข้อจำกัดในเรื่องการผลิตที่ 1 แสนคัน ภายในปี 2562 ก็จะถูกบีบเวลามากขึ้น

นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโส ฝ่ายตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นิสสันยังคงศึกษาในรายละเอียดของโครงการอีโค คาร์ เฟส 2 ซึ่งเท่าที่พิจารณาก็มีแนวโน้มว่าจะยื่นขอรับการส่งเสริม เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลเปิดกว้างไว้ และเชื่อว่า 5 บริษัทเดิมที่ดำเนินการในอีโค คาร์ เฟสแรกจะยื่นทั้งหมด

เครื่องจักรและชิ้นส่วน ติดเงื่อนไขบอร์ด

ด้านแหล่งข่าวจากวงการรถยนต์เปิดเผยว่า ขณะนี้บรรดานักลงทุนญี่ปุ่นเริ่มกังวล จากปัญหาการไม่มีบอร์ด บีไอไอ ในการอนุมัติการนำเข้าเครื่องจักรและชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งขณะนี้มีการยื่นเรื่องของอนุมัตินำเข้า นับหมื่นล้านแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ อันเนื่องมาจากประธานบอร์ด บีโอไอ ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งในขณะที่แผนการผลิตของค่ายรถยนต์ที่ต้องดำเนินการนำเข้าเครื่องจักรตามแผนยังต้องดำเนินการและเชื่อว่าหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขจะกระทบต่อการประกอบรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในอนาคตอย่างมาก

“ขณะนี้ทางออก ยังไม่มีจนกว่าจะมีการดำเนินการแก้ไข เรื่องขั้นตอนการอนุมัติ นักลงทุน เริ่มวิตกว่าหากไม่มีการแก้ไข จะกระทบการผลิต ในทางตรงกันข้าม หากสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เร็ว จะมีส่วนช่วยให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นและ จะส่งผลดีต่อจีดีพี ที่น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น” แหล่งข่าวระบุ

มอเตอร์โชว์คึกคัก รถใหม่เต็มเวที

สำหรับภาพรวมตลาดรถยนต์ช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา มียอดขายลดลง 45% อย่างไรก็ตาม ค่ายรถหวังว่าเดือนนี้ซึ่งมีงานมอเตอร์โชว์ ซึ่งเปิดงานวานนี้ (25 มี.ค.) จะช่วยกระตุ้นยอดขาย

งานปีนี้มีรถใหม่เปิดตัวหลายรุ่น ทั้ง นิสสัน ลิวิน่า ใหม่, พัลซาร์ เทอร์โบ และ จู๊ค จ๊อยท์ รุ่นลิมิเต็ด มาสด้า 3 ใหม่ สกายแอคทีฟ และ ฟอร์ด เอคโค่ สปอร์ต ขณะเดียวกันก็มีแรงส่งจากรถที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ เช่น โตโยต้า อัลติส ฮอนด้า ซิตี้ ซีวิค ไมเนอร์เชนจ์

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ปรเจค.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ค่ายรถรุมทึ้งอีโคคาร์เฟส 2 "ฟอร์ด" ปืนไว ยื่นเอกสารขอส่งเสริมเรียบร้อย 5 ค่ายเดิม "นิสสัน-ฮอนด้า-ซูซูกิ-มิตซูฯ-โตโยต้า" ไม่ทิ้งโอกาสก่อนเส้นตาย 31 มีนาคมนี้ มั่นใจเก๋งเล็กประหยัดน้ำมันรักษ์โลกอนาคตสดใส

นาง สาวยุคนธร วิเศษโกสิน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ว่า บริษัทได้ยื่นเอกสารไปเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ถือว่าเป็นผู้ผลิตรายแรก ๆ ที่ยื่นเอกสาร แต่รายละเอียดของการเข้าร่วมนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ขณะนี้ ซึ่งบริษัทเองมองว่าแม้จะไม่มีโครงการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างโครงการรถคัน แรกที่ผลักดันให้ตลาดเติบโตอย่างก้าวกระโดดเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ฟอร์ด-เชฟโรเลตสนลงทุน

ใน ปีที่ผ่านมารถยนต์กลุ่มอีโคคาร์และบีคาร์ก็มีสัดส่วนถึง 30% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ปีนี้อาจมียอดขายลดลงตามภาพรวมตลาดรถยนต์ แต่ก็น่าจะคงสัดส่วนยอดขายเช่นเดิม และในอนาคตความต้องการก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มองว่าตลาดอีโคคาร์มีความน่าสนใจ

แม้ว่าจะมีปัญหาความไม่สงบทาง การเมืองในปัจจุบันที่อาจจะทำให้นโยบายต่าง ๆ สะดุดลง แต่ค่ายรถยนต์หลายรายสนใจโครงการดังกล่าว ทำให้หากมีปัจจัยบวกหรือลบใด ๆ ผู้ผลิตทุกรายก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน จึงยังไม่มีความกังวลใด ๆ

เช่น เดียวกับนายมาร์คอส เพอร์ตี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวยืนยันชัดเจนว่า เชฟโรเลตสนใจ และพร้อมจะเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ของรัฐบาลไทยอย่างแน่นอน และถือเป็นการตอกย้ำของบริษัทแม่ที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยจะยังไม่มีความชัดเจน แต่บริษัทก็พร้อมจะเดินหน้าลงทุนในโครงการดังกล่าว

"เรามองเห็น โอกาส ยิ่งสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เราเชื่อว่าจะยิ่งสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับเรา แถมยังเป็นการแสดงถึงความมั่นใจที่จะเดินหน้าลงทุนต่อเนื่องของเชฟโรเลตใน ประเทศไทย"

และเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของจีเอ็ม ในการพัฒนาและผลิตรถเชฟโรเลตรุ่นใหม่ในประเทศไทยให้สอด คล้องกับเป้าหมายของโครงการอีโคคาร์ การลงทุนดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของจีเอ็มในการลงทุนในประเทศไทย และทำให้ศูนย์การผลิตในจังหวัดระยองเป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์เพื่อการส่ง ออกระดับโลก ช่วยยกระดับเป้าหมายในระยะยาวในการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วน (ซัพพลายเออร์) ระดับภูมิภาคด้วย

นิสสัน-ฮอนด้าไม่พลาด

นาย ประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความพร้อมและความสนใจของนิสสันต่อโครงการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ไทย กับโครงการอีโคคาร์เฟส 2 โดยเชื่อว่า ค่ายรถยนต์ต่างให้ความสนใจต่อโครงการดังกล่าว เนื่องจากถือเป็นการเปิดโอกาสการลงทุน โดยเฉพาะค่ายรถรายใหม่ ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมในโครงการเฟสแรก ขอรับสิทธิ์มาไว้ก่อนการเข้าร่วมโครงการจะเป็นอย่างไรนั้น คงจะต้องมีการพิจารณาและหารือกันอย่างรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับนิ สสันเบื้องต้นคาดว่าจะยื่นขอรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับค่ายรถ 5 ค่ายในเฟสแรก เพื่อแสดงความจำนงถึงความสนใจ ส่วนรายละเอียดยังไม่สามารถเปิดเผยได้ขณะนี้

"ที่ผ่านมาเรามียอด จำหน่ายรถยนต์อีโคคาร์ไปแล้วกว่า 2 แสนคัน ซึ่งการจะเข้าร่วมโครงการเฟส 2 หรือไม่นั้น โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าค่ายรถ 5 ค่ายแรก รวมทั้งค่ายใหม่จะสนใจเข้าร่วมอย่างแน่นอน อย่าง 5 ค่ายแรกอาจจะมีความได้เปรียบด้านการทำตลาด ซึ่งมีตลาดอยู่ในมือบ้างแล้ว แต่ค่ายใหม่คงต้องมาสร้างตลาดใหม่ ซึ่งตรงนี้ต้องรอดูกันอีกครั้งหนึ่ง และนิสสันเองยื่นขอรับสิทธิ์ แต่รายละเอียดการลงทุนคงต้องดูอีกครั้งหนึ่ง"

ด้าน นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด และกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด กล่าวถึงความพร้อมของฮอนด้าต่อโครงการดังกล่าวว่า คงจะต้องยื่นขอรับสิทธิ์เพื่อเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ก่อน รายละเอียดต่าง ๆ คงจะต้องกลับมาพิจารณากันอีกครั้ง

ที่ผ่านมาบริษัท ได้หารือร่วมกับภาครัฐมาโดยตลอด รวมถึงได้สะท้อนความคิดเห็นที่จำเป็นในการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ซึ่งฮอนด้าจะยื่นรับสิทธิ์โดยหลักการก่อน

"ตลาดอีโคคาร์ถือเป็นตลาด ที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง มีผู้เล่นในตลาดค่อนข้างเยอะ และตลาดเองจะเป็นตัวกำหนดความต้องการโดยรวมของตลาด ไม่ใช่ค่ายรถยนต์ สำหรับฮอนด้าเองที่ผ่านมาเราอาจจะยังไม่ค่อยพอใจกับตัวเลขของอีโคคาร์ของเรา มากนัก แต่แน่นอนที่สุดเราจะต้องพยายามรักษาตลาดและทำยอดขายให้ดีที่สุด" นายพิทักษ์กล่าว

มิตซูบิชิ...ลังเล

นายมาซะฮิโกะ อูเอะกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มิตซูบิชิอยู่ระหว่างการหารือร่วมกันกับบริษัทแม่ว่าจะเข้าร่วมโครงการดัง กล่าวหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนมูลค่าสูงถึง 16,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีกำลังผลิตอีโคคาร์สูงถึง 180,000 คันต่อปี ถือเป็นการลงทุนที่เยอะแล้ว ถ้าจะต้องลงอีก 5,500 ล้านบาท จะคุ้มค่าหรือไม่
เช่น เดียวกับนายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่กล่าวว่า ซูซูกิพร้อมเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 อย่างแน่นอน เนื่องจากถือเป็นโครงการที่มีโอกาส และรัฐบาลมองเห็นทิศทางรถยนต์ และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทพร้อมเข้าร่วม

ก่อนที่ซูซูกิจะตัดสินใจเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทย มองเห็นโอกาสและมีความมั่นใจอย่างยิ่งสำหรับโครงการอีโคคาร์เฟสแรก เช่นเดียวกับเฟส 2 เราก็มีความมั่นใจ

มาสด้าเกี่ยงมาตรฐาน Co2

ขณะ ที่นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า อยู่ระหว่างหารือร่วมกับภาครัฐ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นการตัดสินใจของบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น ถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วม โดยคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและความชัดเจนภายในเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด คือวันที่ 31 มีนาคมนี้อย่างแน่นอน

สำหรับเงื่อนไขของเฟส 2 มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ซึ่งบริษัทจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทั้งเงื่อนไขการปล่อยค่ามลพิษ Co2 การใช้พลังงานทางเลือก รวมถึงการแข่งขันในตลาด และส่วนลดทางภาษีด้วย

"สิ่งสำคัญที่เรามอง คือการมีตลาดรองรับ เพราะการลงทุนนั้นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก รวมทั้งการแข่งขันซึ่งเราต้องมองการแข่งขันไม่เฉพาะแต่ตลาดประเทศไทยเท่า นั้น แต่เราต้องมองถึงโอกาสการแข่งขันในตลาดโลกให้ได้ด้วย"

ด้านนาย หวู่ ฮวน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์แบรนด์ "เอ็มจี"เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าจะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม จากเดิมที่ได้ลงทุน 9,000 ล้านบาท เพื่อผลิตรถเอ็มจีที่นิคมเหมราช ซึ่งทั้งบริษัทในไทยและในเซี่ยงไฮ้อยู่ในระหว่างการพิจารณา

ขณะที่ นายวิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า โตโยต้าสนใจและคาดว่าจะยื่นขอรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการดังกล่าวภายในวันที่ 31 มี.ค.นี้อย่างแน่นอน ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ยังไม่สามารถเปิดเผยได้

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ปิดฉากมอเตอร์โชว์ ยอดจองเฉียด 4 หมื่นคัน "โตโยต้า"โกยมากสุด 9.5 พันคัน เบนซ์กวาด 2 พันคัน

วันที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 09:48:17 น.matichon online

รายงานข่าวจากผู้จัดงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 35 เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ตลอดระยะเวลาการจัดงานระหว่างวันที่ 26 มี.ค.- 6 เม.ย. รวม 12 วัน พบว่ามียอดจองทั้งสิ้น 39,415 คัน โดยค่ายรถยนต์ที่มียอดจองสูงสุด ได้แก่ โตโยต้า 9,514 คัน ฮอนด้า 5,617 คัน อีซูซู 4,602 คัน มาสด้า 3,482 คัน

นิสสัน 2,723 คัน ฟอร์ด 2,572 คัน เชฟโรเล็ต 1,716 คัน ซูซูกิ 875 คัน, ฮุนได 727 คัน, ซูบารุ 240 คัน, เจมส์คาร์ 118 คัน, วอลโว่ 187 คัน, เลกซัส 111 คัน, มินิ 109 คัน, แลนด์โลเวอร์ 46 คัน, ซันยอง 44 คัน, คาร์ลสัน 30 คัน, จี๊ป 30 คัน

เมอร์เซเดส-เบนซ์ 2,060 คัน, บีเอ็มดับเบิลยู 1,383 คัน, โฟล์กสวาเก้น 80 คัน, จาร์กัวร์ 14 คัน, ปอร์เช่ 13 คัน, โรลสลอย์ 10 คัน, แอสตันมาร์ติน 7 คัน, วิช ออโต้ 6 คัน, เบนท์ลีย์ 3 คัน, ฮาร์เก้ 3 คัน

จากยอดจองข้างต้น ถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายที่นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ รองประธานจัดงานได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ว่าปีนี้จะมียอดจองอยู่ที่ระดับ 4 หมื่นคัน (ที่มา:ประชาชาติฯออนไลน์)
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ยุโรปขานรับตั้งบอร์ดใหม่บีโอไอ ช้นส่วนจ่อลงทุนเพิ่มรับอีโคคาร์2
ีupdated: 08 เม.ย 2557 เวลา 11:27:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"รอล์ฟ ดาเนียล" ประธานสมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยุโรป-อาเซียน ขานรับ รัฐผ่าทางตันตั้งบอร์ด BOI ชุดใหม่ ชี้ทุนยุโรปยังสนใจลงทุนในไทย ยกเคส "โฟล์คสวาเกน" ยื่นขอรับการส่งเสริมอีโคคาร์ 2 ผลพลอยได้อุตฯชิ้นส่วน-ยานยนต์โต

จากที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5)ได้ให้ความเห็นถึงวิธีการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จะแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) ชุดใหม่ แทนคณะกรรมการชุดเก่าที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งไป ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ด้วยการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เสนอ ครม.เพื่อพิจารณา "ยกเว้น" การปฏิบัติของ ครม.รักษาการในช่วงยุบสภาเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมาย

ตาม มติ ครม.วันที่ 10 ธันวาคม 2556 กับ มติ ครม.วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อให้การแต่งตั้งบอร์ด BOI ชุดใหม่ ไม่ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(1)(3) การกระทำอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้ง/โยกย้ายข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และการกระทำอันเป็นผลการสร้างความผูกพันต่อ ครม.ชุดต่อไป ส่งผลให้รัฐบาลรักษาการมี "ทางออก" ในการแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายในช่วงยุบสภาได้

จากปัจจุบันที่มี โครงการมูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาท ค้างการพิจารณาส่งเสริมการลงทุนในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นเงินลงทุนถึง 660,000 ล้านบาท ที่รอการอนุมัติจากบอร์ดชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ อาทิ การลงทุนผลิตรถยนต์, ชิ้นส่วนรถยนต์ และโรงไฟฟ้า

นายรอล์ฟ ดีเตอร์ ดาเนียล ประธานสมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน-อาเซียน (EABC) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นักลงทุนจากสหภาพยุโรปจำนวนมากยังสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ที่ผ่านมาการเข้ามาลงทุนอาจหยุดชะงัก เนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ชุดใหม่ แทนชุดเดิมที่หมดวาระลง

มีผลทำให้นักลงทุนที่ต้องการยื่นขอ ส่งเสริมการลงทุนต้องชะลอแผนลงทุนออกไป ดังนั้นการเร่งแต่งตั้งบอร์ด BOI ชุดใหม่ "จึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก" และจะทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติสามารถขับเคลื่อนต่อได้โดยไม่หยุดชะงัก หากรัฐบาลไทยเร่งดำเนินการได้เร็วเท่าใดก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมมาก ขึ้นเท่านั้น เพราะจะช่วยให้กระบวนการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยมีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มเข้ามาบริหาร

ส่วน การส่งเสริมการลงทุนมีความสำคัญต่อนักลงทุนต่างชาติอย่างไรนั้น นายรอล์ฟกล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนจากกรณีโฟล์คสวาเกนประสงค์จะเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ในไทย เพื่อก้าวสู่เป้าหมายที่การเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในระยะกลาง จนถึงระยะยาว "แต่ต้องชะลอแผนทั้งหมดออกไปก่อน" จากสถานการณ์ทางการเมืองและการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่สะดุดลงก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะผู้ผลิตรถยนต์รายนี้แทบไม่ได้ดำเนินกิจการในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ การเข้ามายื่นใบสมัครเข้าร่วมลงทุนโครงการอีโคคาร์ระยะที่ 2 ครั้งนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากโฟล์คสวาเกนต้องการเข้ามาแข่งขันในตลาดที่กำลังเติบโต

"ใน ความเห็นของ EABC เราสนับสนุนให้บริษัทยุโรปขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนในไทย และทำงานร่วมกับ BOI เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะสร้างประโยชน์ให้ทั้งประเทศไทยและภาคธุรกิจจากยุโรป ดังนั้นการเจรจาเขตการเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (FTA ไทย-อียู) ที่กำลังดำเนินการอยู่จึงเป็นส่วนสำคัญมาก จะช่วยเพิ่มข้อได้เปรียบให้กับไทยเหนือคู่แข่งในภูมิภาคนี้ ถ้าการเจรจา FTA สามารถหาข้อสรุปได้โดยเร็ว โดยเราร่วมกับผู้แทนสหภาพยุโรปจะผลักดันการเจรจา FTA กับรัฐบาลไทยต่อไป"

ด้าน นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า การส่งเสริมการลงทุนที่มีต่อโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ถือเป็นเรื่องที่ดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพราะจะก่อให้เกิดมูลค่าลงทุนต่อเนื่อง รวมทั้งการต่อยอดพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และมั่นใจว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยสามารถผลิตชิ้นส่วนและจัดส่ง ให้ได้ตามมาตรฐานการบริหารต้นทุนการผลิต CQD หรือ Cost-Quality-Deliveryตามมาตรฐานที่ค่ายรถยนต์กำหนด จากการสำรวจตัว เลขพบว่า ปีนี้จะมีกลุ่มผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะรายใหญ่จากญี่ปุ่นสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่ม 2,000-3,000 รายเป็นอย่างน้อย

ขณะที่ นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาปิโก ไฮเทค ผู้ผลิตชิ้นส่วนยาน ยนต์รายใหญ่ กล่าวถึงโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยภายใต้อีโคคาร์เฟส 2 ว่า จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งระบบ บริษัทก็ผลิตชิ้นส่วนให้ค่ายรถยนต์จากประเทศจีนอย่าง MG ด้วยในส่วนของถังน้ำมัน ส่วนโฟล์คฯได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการนี้กับ BOI แล้ว แต่ยังต้องรอดูความชัดเจนว่า "จะเข้ามาหรือไม่"เช่นเดียวกับที่นายอภิชาต ลี้อิสสระนุกูล กรรมการ บมจ.ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า

ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อีกรายมองว่า หากจะประเมินถึงโอกาสทางธุรกิจหลัง 10 ค่ายรถยนต์สนใจเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 พบว่า มีเพียง 2 ค่ายรถยนต์รายใหม่เท่านั้นที่เข้ามาทำตลาดคือ ค่าย MG จากจีน ส่วนอีกค่ายจะเป็นโฟล์คสวาเกน จากเยอรมนี แต่ต้องดูว่ารถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 จริง ๆ แล้วจะเป็นรถยนต์ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ หรือเป็นรถเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาด

ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์ประเภทนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 2555 สัดส่วนยอดขายอีโคคาร์ 21% ของกลุ่มรถยนต์นั่ง และปี 2556 เพิ่มเป็น 28% ปีนี้สัดส่วนน่าจะเพิ่มขึ้นอีกบวกกับการปรับอัตราภาษีรถยนต์ใหม่ในปี 2559 ซึ่งทำให้อัตราภาษีรถยนต์นั่งประเภทบีคาร์ เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี และ 1,600 ซีซี มีอัตราสูงกว่าอีโคคาร์อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เทรนด์รถยนต์นั่งเปลี่ยนมาสู่ตลาดอีโคคาร์มากขึ้น

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1396931303
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: Eco Car II

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ได้คำตอบกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับค่ายรถยนต์ทั้ง 10 ยี่ห้อ ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เรียกได้ว่าโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ที่หลายคนมองว่าตลาดมันน่าจะอิ่มตัวแล้วนะ มีค่ายรถยนต์ให้ความสนใจเข้าร่วมกันคึกคัก


แบ่งเป็นค่ายรถยนต์เก่าที่เคยเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 1 ตบเท้ากันพร้อมเพรียงทั้ง "นิสสัน, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, ซูซูกิ และโตโยต้า" ไม่มีใครยอมตกขบวนแม้ว่าบางค่ายจะเพิ่งเริ่มส่งรถอีโคคาร์เฟสแรกออกสู่ตลาดได้ไม่ถึงครึ่งปี

หรือบางค่ายเองที่ทั้งยอดผลิตและยอดขายอาจจะยังต้อง "ลุ้น" แบบหืดขึ้นคอ เพื่อให้ได้เป้าหมายการผลิตตรงตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดของเฟสแรก

รวมถึงอีก 2 ยี่ห้อที่ลอยลำทั้งยอดผลิตและยอดขาย ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ตามข้อกำหนดของภาครัฐทุกเงื่อนไขแบบแบเบอร์ คำถามที่ยังคาใจ ทั้งปริมาณ จำนวนการผลิต จะสอดคล้องกับทิศทางและความต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด เมื่อผลิตออกมาแล้วจะมีตลาดให้ไว้รองรับมากน้อยแค่ไหน

แต่นั่นก็เป็นเพียงการโยนหินถามทาง เพราะในเมื่อท้ายที่สุดการตอบตกลงและแสดงความสนใจยื่นขอรับสิทธิ์อีโคคาร์เฟส 2 นั้นหมายความว่า พื้นที่ตรงนี้ยังมีโอกาส

กลุ่มที่ 2 เป็น 5 ค่ายรายใหม่ แต่ล้วนเป็นค่ายรถยนต์หน้าเดิม ๆ ที่ทั้งเคยแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการเฟสแรกอย่างเชฟโรเลต, ฟอร์ด, มาสด้า รวมทั้งโฟล์คสวาเกน ขณะที่ค่ายรถยนต์หน้าใหม่แกะกล่องกับตลาดบ้านเราอย่าง "เอ็มจี" เองก็ยังไม่พลาดโอกาสสำคัญ

ย้อนกลับไปดูค่ายรถยนต์เหล่านี้ต่างได้รับคำตอบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่า ตลาดรถอีโคคาร์ถือเป็นตลาดที่มีความสำคัญ และถือเป็นตลาดที่มีโอกาสทางธุรกิจค่อนข้างสูง

เห็นได้จากการประกาศของค่ายจีเอ็ม หรือเชฟโรเลต ว่า บริษัทต้องการกำหนดให้รถยนต์ภายใต้โครงการนี้ กลายเป็นสินค้าหลักในการขับเคลื่อนแผนธุรกิจระยะกลางและระยะยาวของบริษัท ภายใต้แผนงาน "โกลบอลโปรเจ็กต์"

ค่ายมาสด้าประกาศชัดว่า ไม่ต้องการละทิ้งโอกาสและพื้นที่ทางธุรกิจ แม้ว่าจะมีคู่แข่งที่เข้าร่วมถึง 10 ราย เชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีแนวทางการสร้างโอกาสของตัวเอง โดยใช้สินค้าเป็นตัวขับเคลื่อน

เช่นเดียวกับค่ายฟอร์ดและจีเอ็ม ก็ไม่ยอมที่จะเสียพื้นที่ทางธุรกิจตรงนี้อย่างแน่นอน

ขณะที่ค่ายรถยนต์สัญชาติเยอรมันอย่างโฟล์คสวาเกน ที่จด ๆ จ้อง ๆ จะเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ตั้งแต่เฟสแรก แต่ท้ายที่สุดต้องถอดใจ ขณะที่อีโคคาร์เฟส 2 โฟล์คกลับมาแสดงความสนใจจะเข้าร่วมโครงการอย่างเอาจริงเอาจังคงต้องติดตามกันดูว่า ทั้ง 10 ค่ายจะสร้างโอกาสให้ตัวเองกันมากน้อยแต่ไหน

แต่จากการเปิดเผยของ "อุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย" เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ถึงยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 หรืออีโคคาร์ 2 มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 10 ราย รวมมูลค่าเงินลงทุน 138,889 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 1,581,000 คัน

แบ่งเป็นผู้ผลิตรายใหม่จำนวน 5 ราย เงินลงทุนรวม 86,810 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 753,000 คัน และผู้ผลิตรายเดิมจำนวน 5 ราย เงินลงทุนรวม 52,079 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 828,000 คัน

ซึ่งทิศทางตลาดอีโคคาร์พิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของความต้องการอีโคคาร์ได้พิสูจน์แล้วว่ายังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเลย ตอนนี้ขยับขึ้นมาเป็น 28% ของยอดขายรถยนต์ในปี 2556 และยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่เช่นนั้นยักษ์ใหญ่อย่างโฟล์คสวาเกนและจีเอ็ม คงไม่ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

แต่ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ว่า เมื่อโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ออกมาจริง ๆ แล้ว คนไทยจะได้ใช้รถรุ่นใหม่ (จริง ๆ) จากค่ายรถยนต์เหล่านี้สักกี่รุ่น เพราะเมื่อไล่เรียงเวลา นั่งนับนิ้วกันให้ดี

วันที่ 1 มกราคม 2559 ประเทศไทยจะมีการบังคับใช้ภาษีรถยนต์รูปแบบใหม่ที่ยึดหลักการปล่อยค่ามลพิษเป็นเกณฑ์ ซึ่งตอนนั้นค่ายรถยนต์ก็สามารถทำรถให้เข้าเงื่อนไขเพื่อทำให้ต้นทุนภาษีต่ำลงอีโคคาร์เฟส 2 ก็จะใช้ประโยชน์จากต้นทุนด้านภาษีในการแข่งขันได้น้อยลง

ทำให้ผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมรถยนต์มองข้ามชอตถึงน้องใหม่ที่เข้าร่วมอีโคคาร์เฟส 2 จะใช้เทคนิคนำรถในกลุ่มบี-คาร์ ซึ่งแต่ละค่ายทำตลาดอยู่แล้ว ที่เรียกว่านำแพลตฟอร์มเดิมมาพัฒนาให้เข้ากับเงื่อนไขดังกล่าวหรือไม่ เหมือนที่บางค่ายรถยนต์ใช้กับอีโคคาร์เฟส 1

ไม่ว่าจะเป็นฟอร์ดที่อาจจะจับเฟียสต้ามาปรับปรุงโฉม เช่นเดียวกับมาสด้า 2 และเชฟโรเลต โซนิค ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่ค่ายรถยนต์เหล่านี้จะจับรถบี-คาร์มาลงสู่ตลาดอีโคคาร์

กลายเป็นคำถามที่ยังรอคำตอบว่า ท้ายที่สุดคนไทยจะมีโอกาสได้ใช้รถโมเดลใหม่จากโครงการอีโคคาร์กันสักกี่รุ่น ?

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
โพสต์โพสต์