สถานการณ์รถยนต์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
lb
Verified User
โพสต์: 440
ผู้ติดตาม: 0

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ยอดขายรถยนต์โตโยต้าในไทยช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ 1,034,287 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นยอดขายรถยนต์นั่ง 497,852 คัน เพิ่มขึ้น 10.3% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 536,435 คัน ลดลง 2.3% ทั้งนี้ อัตราการเติบโตของยอดขายสะสมยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะการขายในระดับปกติ อย่างไรก็ดี คาดว่าการเปิดตัวของรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมีส่วนทำให้ตลาดรถยนต์โดยรวมไม่ลดลงมากนัก
Try to find a  good company.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 62

โพสต์

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การส่งออกรถยนต์ที่ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จะสามารถนำมาชดเชยยอดการจำหน่ายตลาดรถยนต์ในประเทศที่ชะลอลงหลังจบโครงการรถยนต์คันแรก ซึ่งหากตลาดโลกยังคงทยอยสั่งซื้อรถยนต์ที่ผลิตได้จากประเทศไทยในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้ เชื่อว่ายอดผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2557 อาจจะสูงกว่าปีนี้ที่ ส.อ.ท.ประมาณการไว้ที่ 2.55 ล้านคัน ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องขณะนี้คือตลาดอาเซียน ที่ขยายตัวเกือบทุกประเทศ รองลงมาคือตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ ที่มีคำสั่งซื้อรถกระบะเข้ามาจำนวนมาก คาดว่าเป็นผลจากคำสั่งซื้อที่ค้างมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ผู้ผลิตของไทยไม่สามารถผลิตส่งได้เนื่องจากต้องผลิตรถป้อนความต้องการในประเทศที่มีอยู่สูง ผลมาจากโครงการรถยนต์คันแรก

“ในปีหน้า ส.อ.ท.ยังมั่นใจว่าค่ายรถยนต์จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ได้ 2.55 ล้านคันอย่างแน่นอน แต่จะขยับเป็น 2.6-2.7 ล้านคันได้หรือไม่ ต้องติดตามปัจจัยหลายด้านในปีนี้ประกอบกัน ได้แก่ สถานการณ์การเมืองอยู่ในภาวะปกติ ราคาพลังงานไม่อยู่ในระดับที่สูงจนเกินไป ราคาพืชผลเกษตรได้รับการดูแลไม่ให้ต่ำจนเกินไป ทั้งข้าว ยางพารา โดยเฉพาะข้าว ภาครัฐต้องหาทางขายข้าวออกให้ได้ จะทำให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น มาช่วยกระตุ้นยอดการผลิตอีกทางหนึ่ง”

สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่จะมีผลต่อการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทย คือขณะนี้เศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นต่างมีสัญญาณที่ดีขึ้น ทำให้ยอดส่งออกของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศไทยสามารถผลิตรถยนต์ทุกประเภทอยู่ที่ 1.93 ล้านคัน.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ

http://www.thairath.co.th/content/eco/378211
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ยอดรับรถคันแรกล่าสุดยังนิ่งที่ 1.32 แสนคัน ดีลเลอร์เร่งติดต่อลูกค้าเคลียร์รถหวั่นเป็นภาระ ขณะที่การผลิตรถ ยอดขายในประเทศและส่งออก ต.ค.ลดลงยกแผง คาดทั้งปีนี้การผลิตรถยนต์ของไทยจะอยู่ที่ 2.51 ล้านคัน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.55 ล้านคัน

นายสุรพงษ์​ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ภายใต้นโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่มียอดสั่งจองทั้งสิ้น 1,250,000 คัน ล่าสุดยังมีรถค้างการส่งมอบทั้งสิ้น 132,000 คัน ซึ่งผู้ที่ยังไม่ได้บอกยกเลิกใบจองกรมสรรพสามิตจะยังให้ถือว่ามีสิทธิ์อยู่ ดังนั้นทางตัวแทนจำหน่ายรถยนต์หรือดีลเลอร์ต้องพยายามติดต่อลูกค้าที่จองรถเพื่อให้ชัดเจนว่าจะไม่รับรถแล้ว ซึ่งประเมินว่าที่สุดโครงการรถคันแรกน่าจะมีการทิ้งใบจองประมาณ 100,000 คัน

“ดีลเลอร์มีการเร่งติดต่อลูกค้าอยู่เพื่อที่จะปิดการขายซึ่งก็พบว่าบางส่วนติดต่อไม่ได้ แต่บางรายติดต่อได้แล้วยกเลิกก็มี ซึ่งดีลเลอร์ก็คงต้องพยายามติดต่อเพื่อให้ชัดเจนเพราะไม่เช่นนั้นรถที่ค้างอยู่ก็จะเป็นภาระ โดยสาเหตที่ลูกค้าไม่มารับรถสาเหตุมาจากไม่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์หรือไฟแนนซ์ ประเมินรายจ่ายแล้วมองว่าเป็นภาระ การซื้อรถปกติขณะนี้ก็ได้ราคาถูกไม่ต่างจากรถคันแรก” นายสุรพงษ์กล่าว

สำหรับจำนวนการผลิตรถยนต์ ยอดขายในประเทศและยอดส่งออกในเดือนตุลาคมลดลงทั้งหมด โดยมีการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 185,117 คัน ต่ำกว่า 2 แสนคันเป็นเดือนที่สาม โดยลดลงจากเดือน ก.ย. 4.94% แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 98,680 คัน คิดเป็น 53.31% ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 86,437 คัน คิดเป็น 46.69% ของยอดการผลิตทั้งหมด

“รถยนต์ที่เริ่มมีการผลิต และยอดขายในประเทศที่ลดต่ำขณะนี้ก็ถือว่าเป็นการปรับสู่เข้าภาวะปกติหลังจากหมดโครงการรถคันแรก ซึ่งหากพิจารณาจากตัวเลขการผลิตล่าสุด 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) อยู่ที่ 2,115,375 คัน คาดว่าถึงสิ้นปีการผลิตคงจะได้ระดับ 2,510,000 คัน แต่คงไม่ถึงเป้าหมายที่ 2,55 0,000 คัน” นายสุรพงษ์กล่าว

ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค.มีทั้งสิ้น 88,989 คัน ลดลงจากเดือน ก.ย. 6.26% และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 37.7% เนื่องจากการส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าโครงการรถยนต์คันแรกเกือบหมดแล้ว ประกอบกับลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อรอซื้อรถยนต์ในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 30 ช่วงปลาย พ.ย.นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งเสริมการขายที่มากกว่า และตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค. 56 รถยนต์มียอดขาย 1,123,263 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.8%

ส่วนการส่งออกรถยนต์ ต.ค.ได้ 96,864 คัน ลดลงจาก ก.ย. 56 จำนวน 18.09% และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.44% มีมูลค่าการส่งออก 43,333.77 ล้านบาท รวมการส่งออกรถยนต์ ม.ค.-ต.ค. 56 จำนวน 944,205 คัน คิดเป็น 99.7% ของยอดการผลิตเพื่อการส่งออก โดยคิดเป็นมูลค่า 427,004.39 ล้านบาท

http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrvie ... 0000145209
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ค่ายรถรับปี 2557 ตลาดรถหดตัวต่อเนื่อง คาดติดลบ 10% ปรับแผนผลิต การขายรองรับ เชื่อแผนกระตุ้นผ่านแคมเปญลดความรุนแรง หวั่นเข้าเนื้อ

งานมหกรรมยานยนต์ งานแสดงรถยนต์ใหญ่ส่งท้ายปลายปี เปิดให้เข้าชมรอบสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการวานนี้ (28 พ.ย.) ท่ามกลางความร้อนแรงทางการเมือง โดยมีผู้ผลิตรถยนต์ 38 รายเข้าร่วมงาน โดยปีนี้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สะท้อนแนวทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดอนาคตค่อนข้างชัดเจน

นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ 2013 เปิดเผยว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีผลกับงานอย่างไรบ้าง แต่จะเฝ้าระวังอยู่ว่าจะมีผลกระทบอย่างไร เชื่อว่างานมหกรรมยานยนต์ เป็นงานที่สร้างความสุขให้ผู้คน ซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐบาลจึงไม่น่าจะเป็นเป้าหมายของการเมือง ในส่วนของยอดจองรถใหม่ ในงานยังคงมั่นใจว่าจะมียอดอย่างน้อย 5 หมื่นคันตามเป้าที่วางไว้ เพราะคนไทยแม้บรรยากาศจะเป็นอย่างไร ก็ยังคงซื้อรถ

นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าตลาดรถยนต์ในปีนี้ คาดว่าจะทำได้ในระดับ 1.2-1.25 ล้านคัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ทำได้ 1.45 ล้านคัน ส่วนปีหน้า เชื่อว่าสถานการณ์ตลาดจะลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้าสถานะจะคล้ายกับครึ่งหลังของปีนี้ ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า โดยตลาดที่คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบคือ รถตลาดล่าง หรือ กลุ่มเอนทรี เนื่องจากมีการแข่งขันที่สูง และมีปริมาณรถในตลาดมาก

"ส่วนการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายที่รุนแรงมากในปีนี้ เชื่อว่าครึ่งปีหลัง 2557 จะลดลง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ทำให้ไม่สามารถใช้ในระยะยาวได้ เพราะจะส่งผลกระทบกับผลประกอบการของบริษัท ส่วนปีนี้ที่รุนแรงเพราะตลาดหดตัว และมีสต็อกล้น"

รับตลาดรถปี 2557 หดตัวต่อเนื่อง

นางสาวสุรีทิพย์ ยังกล่าวว่า แนวทางการบริหารจัดการของค่ายรถในปีหน้า จะเห็นการสร้างฐานตลาดใหม่ๆ ด้วยสินค้า หรือว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น มาสด้าที่นำเทคโนโลยีสกายแอคทีฟมาใช้ใน ซีเอ็กซ์-5 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ถึงขณะนี้มียอดจองแล้วประมาณ 2,000 คัน และที่สำคัญส่วนใหญ่มาจากรุ่นท็อป เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นการบ่งบอกได้ชัดเจนว่าลูกค้าซื้อเทคโนโลยี ไม่ได้ซื้อที่ราคา และปีหน้าจะเปิดตัวเทคโนโลยี สกาย แอคทีฟ ในรถยนต์อีก 2 รุ่นด้วยกัน

ส่วนสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และเชื่อว่าหากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นเสียเลือดเนื้อ ก็จะไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากประชาชนยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจจะมีปัญหาจราจรติดขัดบ้างในบางพื้นที่เท่านั้น

นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดในปีหน้าจะชะลอตัวลง 10% จากยอดที่คาดว่าจะปิดในปีนี้ 1.3 ล้านคัน ทั้งนี้ตลาดรถยนต์เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจหากว่ามีปัจจัยการเมืองทำให้เศรษฐกิจไม่เติบโต ตลาดรถก็รับปัจจัยลบนั้นไปด้วยเช่นกัน ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ถือว่ายังไม่มีผลกระทบจากการเมือง อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูดัชนี คนเข้างานและคนซื้อรถในระหว่างงาน ซึ่งพอจะชี้วัดกำลังซื้อได้

"เรายังมองไม่เห็นปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจในปีหน้า ทำให้ประมาณการตลาดลดลง ที่สำคัญคือสิ่งที่กังวลในปีหน้าคือเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้หรือไม่แค่ไหน"นายพิทักษ์ กล่าว

สำหรับ ฮอนด้า ตั้งเป้าหมายขายในงานมหกรรมยานยนต์ไว้ 6,000 คัน และเชื่อว่า ภายในสิ้นปีนี้ ฮอนด้า จะสามารถทำยอดขายรวมทั้งปีได้ 2 แสนคันตามเป้าหมาย

นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ มีผลกระทบบ้าง แต่ก็ยังมั่นใจว่าตลาดรถปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมาย 1.3 ล้านคัน อย่างแน่นอน ส่วนปีหน้าตลาดจะลดลง แต่มั่นใจว่าจะยังทำได้สูงกว่า 1 ล้านคัน อย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นระดับยอดขายที่น่าพอใจ

"ปกติของตลาดยอดขายเฉลี่ยต่อเดือนน่าจะอยู่ระดับ 9 หมื่นคัน ซึ่งจะต้องยอมรับให้ได้ แต่ว่าที่ผ่านตลาดโตผิดปกติ ทำให้คนติดกับตัวเลขเกินกว่า 1 แสนคันต่อเดือน รวมทั้งเราด้วย แต่จากนี้ไปต้องปรับตัวรับกับตลาดที่แท้จริงให้ได้"

ขัดแย้งการเมือง เรื่องปกติของโลก

นายกุสตาโว โคลอซซี รองประธานฝ่ายขาย การตลาด และการบริการหลังการขาย บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในปีนี้มั่นใจว่าจะสามารถทำได้ 1.3 ล้านคัน แต่ปีหน้าจะลดลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของตลาดที่เริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปีนี้ที่พบว่าหดตัวลง 30% ดังนั้นการทำธุรกิจก็จำเป็นจะต้องปรับตัวตามเพื่อให้เกิดความเหมาะสมทั้งระบบ ทั้งการผลิต การขาย รวมไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วน

"เราจะต้องมองภาพทั้งปีให้ชัด จากนั้นก็จะสามารถที่บริหารงานได้ว่า จะสั่งชิ้นส่วนเท่าไร ผลิตเท่าไร และขายอย่างไร เป็นการปรับทั้งกระบวนการ"

ส่วนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ และจีเอ็มก็ผ่านมาได้ ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ จีน หรือออสเตรเลีย สิ่งสำคัญที่สุดคือไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามจะต้องมองไปที่ลูกค้าเป็นหลัก เพราะหากมุ่งเป้าที่ลูกค้าก็จะสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ เพราะการเมืองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ซูซูกิ เลือกไทยเปิดตัวครั้งแรกในโลก

นายโทชิโร ซูซูกิ รองประธานบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ซูซูกิได้เปิดตัวรถยนต์ต้นแบบ เอ-วินด์ (A : WIND) เป็นครั้งแรกในโลกที่งานมหกรรมยานยนต์ โดยรถดังกล่าวเป็นรถขนาด เอ เซ็กเมนท์ หรือ รถขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นรถต้นแบบสำหรับการผลิตรถรุ่นใหม่ของซูซูกิในประเทศไทย โดยจะเริ่มผลิตเดือนเม.ย. ในปีหน้าและพร้อมส่งออกทั่วโลก

สำหรับการเปิดตัว “เอ-วินด์ คอนเซปต์” ครั้งนี้ถือว่า ซูซูกิมอเตอร์ เลือกใช้เวทีในไทยเป็นการ เปิดตัวแทนแผนเดิมที่จะ เผยโฉมในงานโตเกียว มอเตอร์ โชว์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ซูซูกิ จะนำรถขนาดเล็กรุ่นใหม่นี้ เสนอเข้าโครงการ อีโค คาร์ เฟส 2 ซึ่งรัฐบาลไทยเปิดให้มีการส่งเสริมการลงทุน

นายซูซูกิ กล่าวว่า การเปิดตัวรถคอนเซปต์คาร์ใน เอ เซ็กเมนท์ แบบ 5 ประตูรุ่นใหม่ เป็นครั้งแรกของโลกในไทย ปีหน้า ซูซูกิ จะเริ่มการผลิตทันที สำหรับ เอ-วินด์ พัฒนาภายใต้แนวคิดเป็นรถนำสายลมที่สดชื่นเข้ามาสู่แวดวงของรถขนาดเล็ก โดย ซูซูกิ ได้สร้างสรรค์ เอ-วินด์ ขึ้นมา จากไม่ยึดติดกับมาตรฐานเดิมๆ ของรถในขนาดเล็กและใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตรถขนาดเล็ก (compact cars) ของ ซูซูกิ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในการพัฒนา ทั้งรูปลักษณ์ที่โอ่อ่าทั้งภายนอกและภายในห้องโดยสารที่กว้างขวาง การออกแบบเพื่อการใช้งานอย่างได้อย่างง่ายดาย และความประหยัดน้ำมันอันเป็นเลิศ ล้วนเป็นสิ่งที่รถรุ่นใหม่นี้มีอยู่อย่างครบถ้วน


สำหรับงานมหกรรมยานยนต์ครั้งนี้ มีรถยนต์ในเซ็กเมนท์ใหม่นำมาเสนอขาย หลายรุ่น เช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ จีแอลเอ รถยนต์ ครอสโอเวอร์ขนาดเล็ก มาสด้า ซีเอ็กซ์ 5 รถเอสยูวี และ รถเอสยูวี ขนาดเล็ก ของ 2 ค่าย คือ ฟอร์ด แอคโคสปอร์ต และ นิสสัน จู๊ค

ทั้งนี้ ในปีหน้า ฮอนด้า มีแผนจะทำตลาดรถในกลุ่มเดียวกัน ภายใต้ชื่อรุ่น วีเซล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแสวงหารถรูปแบบใหม่ๆ ของผู้ผลิตเพื่อมากระตุ้นตลาดรถแบบซีดานและแฮทช์แบ็คเดิมๆ ที่ค่อนข้างอิ่มตัว นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าค่ายรถยนต์หันมาเน้นรถขนาดเล็กหรือการดาวน์ไซส์รถลง เพื่อทำตลาดในอนาคต เช่น ซูซูกิ นิสสัน ฮอนด้า

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... รผลิต.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 65

โพสต์

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

รถยนต์ ปี 56 คาดปิดตลาดราว 1.3 ล้านคัน ส่วนปี 57 หดตัวต่อ จากหลากปัจจัยลบ ...

http://portal.settrade.com/brokerpage/I ... -pedit.pdf

(มีพิมพ์ผิด บรรทัดที่สองของ ประเด็นสำคัญแรก
"รถจักรยานยนต์" ... ต้องเป็น "รถยนต์" นะครับ)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 66

โพสต์

ยอดขายรถยนต์ในประเทศหดตัวต่อเนื่อง 37% ฉุดยอดผลิต พ.ย.ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ด้านส่งออกรวมจักรยานยนต์ยังแรง 11 เดือน เติบโต 8%

ยอดขายรถยนต์ในประเทศเริ่มหดตัวตั้งแต่ พ.ค. ซึ่งเป็นผลกระทบจากการหมดโครงการรถคันแรก และกำลังซื้อถูกดึงไปใช้ล่วงหน้า รวมกับภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนัก ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์ยังได้แรงบวกจากการส่งออกที่ยังเติบโตได้ดี

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การผลิตรถยนต์เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ทำได้ 182,818 คัน ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ลดลงจากเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว 28.75% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากตลาดในประเทศชะลอตัว โดยพบว่าการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ลดลง 44.45% ขณะที่การผลิตเพื่อการส่งออก พ.ย.ลดลงไม่มากนัก 1.96% ด้วยยอดรวม 92,953 คัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมการผลิต 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ยังคงมีอัตราการเติบโต 2.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยทำได้ทั้งสิ้น 2,298,193 คัน

หากจำแนกประเภทรถ พบว่า ม.ค.-พ.ย. รถยนต์นั่ง ผลิตได้รวม 1,006,359 คัน เท่ากับ 43.79% ของการผลิตทั้งหมด มากกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 17.03% รถยนต์โดยสาร ผลิต 702 คัน เพิ่มขึ้น 33.71%

รถปิกอัพ 1 ตัน ผลิตได้รวม 1,241,176 คัน คิดเป็นสัดส่วน 54.01% ของการผลิตทั้งหมด แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.88%

รถปิกอัพที่มีการผลิตสูงสุด คือ ดับเบิลแค็บ หรือปิกอัพ 4 ประตู 679,916 คัน ลดลง 7.42% ตามมาด้วยปิกอัพบรรทุกทั้งแบบตอนเดียว และมีแค็บ 456,976 คัน เพิ่มขึ้น 0.99% ส่วนรถปิกอัพดัดแปลง หรือ พีพีวี ทำได้ 104,284 คัน ลดลง 28.59%

รถบรรทุกใหญ่ รวม 11 เดือน ยังเติบโต 28.11% ด้วยยอด ด้วยยอด 49,956 คัน อย่างไรก็ตามรถบรรทุกซึ่งเคยเติบโตติดต่อกันมาหลายเดือน เริ่มส่งสัญIาณถดถอย เมื่อยอดผลิต เดือน พ.ย.ลงลง 28.53%

ด้านรถจักรยานยนต์ พ.ย. ผลิตรวม 223,189 คัน ลดลง 12.18% รวม 11 เดือน 2,615,621 คัน ลดลง 10%

ส่วนเดือน ธ.ค.ค่ายรถประมาณการผลิตร่วมกันทั้งสิ้น 181,779 คัน น้อยกว่า ธ.ค .ปีที่แล้ว 1,605 คัน

ยอดขาย พ.ย.ร่วงต่อ 37%

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ยอดขายในประเทศ พ.ย. ทำได้ 93,123 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 37.2% เนื่องจากการส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าในโครงการรถยนต์คันแรกส่งได้เกือบหมดแล้ว ตลาดกลับคืนสู่ภาวะปกติ เมื่อรวม 11 เดือน มียอด 1,216,391 คัน ลดลง 5.8%

ค่ายรถยนต์ประเมินตลาดรถยนต์ปีนี้ไว้ในระดับ 1,280,000 -1,300,000 คัน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นไปตามเป้า เพราะเหลืออีกไม่กี่หมื่นคันเท่านั้น อีกทั้งช่วงเดือน ธ.ค. ถือว่าเป็นฤดูการขายที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมียอดจองจากงานมหกรรมยานยนต์กว่า 41,000 คัน รวมไปถึงการที่บริษัทรถยนต์หลายๆค่าย ขยายแคมเปญออกไปจนถึงสิ้นปี

ส่วนรถจักรยานยนต์มียอดขาย 138,750 คัน ลดลง16.3% และลดลงจากต.ค. ปีเดียวกัน 6.82% รวม 11 เดือน 1,877,746 คัน ลดลง 5.03%

ส่งออก 11 เดือน โต 8%

เดือน พ.ย.มีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 96,006 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 4.21% คิดเป็นมูลค่าการ 44,719 ล้านบาท ลดลง 4% ส่งออกเครื่องยนต์ มูลค่า 2,604 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.02% ชิ้นส่วน 15,875 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.92% และอะไหล่ 1,719 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.04% รวมมูลค่าส่งออกสินค้ารถยนต์ เดือน พ.ย. 64,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.56%

การส่งออก 11 เดือน รถสำเร็จรูป 1,040,191 คัน เพิ่มขึ้น 10% มูลค่า 471,723 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.97% เครื่องยนต์ 25,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% ชิ้นส่วน 176,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% อะไหล่ 17,866 ล้านบาท ลดลง 3.28% รวมมูลค่าส่งออกสินค้ารถยนต์ 11 เดือน 691,733 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2%

ด้านรถจักรยานยนต์ พ.ย.ส่งออก 88,054 คัน เพิ่มขึ้นจากพ.ย.ปีที่แล้ว 7.92% มูลค่า 4,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.4% เนื่องจากไทยเริ่มส่งออกรถขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่าต่อคันสูงกว่ารถในตลาดทั่วๆไป ชิ้นส่วน 461 ล้านบาท ลดลง 53.91% อะไหล่ 70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.44% รวมมูลค่าทั้งสิ้น 5,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44.77%

ส่วนช่วง 11 เดือน ส่งออกจักรยานยนต์ 846,348 คันเพิ่มขึ้น 9.78% มูลค่า 45,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 69.4% ชิ้นส่วน 6,252 ล้านบาท ลดลง 37.19% อะไหล่ 929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.84%

รวมมูลค่าการส่งออกสินค้าจักรยานยนต์ 11 เดือน 52,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.39% และเมื่อรวมการส่งออกทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์มีมูลค่าทั้งสิ้น 744,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.06%

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เดือน.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 67

โพสต์

ปัจจุบันรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1200 ซีซี หรือที่เรียกว่า อีโคคาร์ ที่มีอัตราการใช้น้ำมันเพียง 22 กิโลเมตรต่อลิตร ออกสู่ตลาดรถยนต์อย่างแพร่หลาย ทำให้ปี 2556 อีโคคาร์กลายเป็นพาหนะครองใจผู้บริโภคไปอย่างต่อเนื่องด้วย ราคาที่ไม่แพงเกินไป ประหยัดพลังงาน และการแข่งของค่ายรถยนต์ที่โหมโปรโมชั่นอย่างคึกคัก ทำให้ทิศทางของรถยนต์ปี 2557 ยังไม่พ้นกระแสของอีโคคาร์และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก...

นายวัชระ ธรรมศรี นายกสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย ระบุว่า รถอีโคคาร์น่าจะเป็นรถที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นรถที่ประหยัดน้ำมัน ค่อนข้างคุ้มค่า ราคาไม่แพงมาก เพราะมีการแข่งขันเรื่องราคาที่สูงมากในส่วนของตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก


นอกจากนี้ ช่วงเดือนตุลาคม 2556 อีโคคาร์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นรุ่นที่ 2 จึงจะเป็นอีกแรงกระตุ้นตลาดรถยนต์ปีหน้า ให้หลายค่ายเตรียมเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1500 ซีซี พร้อมกับคลอดโปรโมชั่นแรงๆ กระตุ้นกำลังซื้อด้วย

ปัจจุบัน อีโคคาร์ มีสัดส่วน 13-15% และกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดรถยนต์ เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก แต่นี่ไม่ใช่รถยนต์เพียงกลุ่มเดียวที่มีแนวโน้มเติบโตสูง เพราะรถยนต์นั่งระดับกลาง รถบรรทุก และรถระบะ จะเติบโตขึ้นเช่นกัน ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2557 และกำลังการจับจ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้น

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (ส.อ.ท.) มองว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ยังจะมีการเติบโต รวมทั้งรถบรรทุก แม้ว่าในเดือนที่ผ่านมา จะชะลอตัวตัว แต่ก็มองว่าถ้าผู้ลงทุนที่จะมีการดำเนินการในโครงการของรัฐแล้ว รถบรรทุกก็จะกลับมาเติบโตได้ดีมากขึ้น

ตลอดทั้งปี 2556 ยอดขายรถยนต์เริ่มหดตัวต่อเนื่องถึงเดือนพฤศจิกายน ถึง 37% เนื่องจากสิ้นสุดโครงการรถคันแรก ทำให้กำลังซื้อถูกดึงไปใช้ล่วงหน้า และภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดี งานมหกรรมรถยนต์ที่จัดทั้งปี มีจึงยอดจองน้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้

ตัวเลขจากสภาอุตสาหกรรมประเทศไทย ยอดการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน แต่ภาพรวมผลิตได้มากกว่าปี 2555 ถึง 2.95%

ตลาดรถยนต์ได้กลับคืนสู่ภาวะปกติ เนื่องจากได้ส่งมอบรถยนต์คันแรกเป็นที่เรียบร้อยเกือบหมดแล้ว และคาดการณ์ว่า ยอดผลิตรถยนต์รวมภายในประเทศปี 2556 และปี 2557 น่าจะอยู่ที่ปีละ 1.3 ล้านคัน.
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 68

โพสต์

// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ปี 2556 ที่ผ่านมาถือเป็นอีกปีที่เรียกว่าหืดขึ้นคอสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผู้ผลิตรถยนต์หรือชิ้นส่วนยานยนต์เหมือนเช่นเมื่อครั้งวิกฤตสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นปี2553 และน้ำท่วมครั้งใหญ่เมืองไทยปี 2554 เท่านั้นแต่ลุกลามไปหลายธุรกิจเลยทีเดียว


ย้อนหลังไปเมื่อสิ้นปี 2555 หมาด ๆ คนในแวดวงยานยนต์ไชโยโห่ร้อง บอกเป็นเสียงเดียวกันว่านี่แหละ "ปีทองของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย"

ตัวเลขการผลิตกระโดดขึ้นไปแตะระดับ 2.5 ล้านคัน ส่วนยอดขายในประเทศพุ่งพรวดเกินกว่าล้านคัน และเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่ยอดขายไปจบที่1.45 ล้านคัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ยอดขายรถยนต์ในปี 2555 ที่ผ่านมา

เติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นผลพวงจากนโยบายประชานิยมในโครงการ "รถยนต์คันแรก"ที่จูงใจด้วยการมอบเงินคืนภาษีให้กับผู้ได้สิทธิ์สูงสุดถึง 1 แสนบาท แถมยังมีเงื่อนไขเปิดกว้าง จะรับรถเมื่อไหร่ไม่ใช่ปัญหา ขอเพียงจองรถภายในวันที่ 31 ธ.ค. ปี"55 เป็นพอเงื่อนไขตัวนี้เองที่ทำให้ตัวเลขคนใช้สิทธิ์รถคันแรกพุ่งไปถึง 1.2 ล้านราย

แต่สิ่งที่เห็นในวันนั้นปรากฏชัดในวันนี้แล้วว่าทำตลาดบิดเบือน ตัวเลขคนซื้อรถที่มากกว่าปกติทำให้ทั้งค่ายรถ ผู้แทนจำหน่าย คาดคะเนตลาดผิด หลายค่ายสั่งเพิ่มกำลังการผลิตกันแบบลืมตัว โดยคิดไม่ถึงว่านั้นหมายรวมถึงการดึงเอาความต้องการตลาดใน2556 มาใช้ "ล่วงหน้า"

2 เดือนแรกของปี 2556 ตัวเลขขายรถใหม่แทบไม่กระดิก ตัวเลขขายประจำแต่ละเดือน ล้วนแต่เป็นออร์เดอร์เก่าของรถคันแรกที่รอส่งมอบ

ฟากโรงงานก็ปั๊มรถใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาวะการขายรถใหม่กลับไม่เดิน เผลอแพล็บเดียวสต๊อกดีลเลอร์เริ่มขยับสูงขึ้น จนถึงขั้นบวม

ปรากฏการณ์รถยนต์ล้นสต๊อกอุบัติขึ้นเกือบทุกโชว์รูม จึงไม่แปลกที่เปิดศักราชใหม่2556 ได้เพียงแค่ 3-4 เดือนเริ่มเห็นกลยุทธ์ระบายสต๊อกกันแล้ว

เวลาทอดยาวมาถึงครึ่งปี เรายังได้เห็นแคมเปญส่งเสริมการขาย แบบลืมตาย ขอเพียงให้ขายรถได้เป็นพอ ยิ่งช่วงท้ายปีปรากฏอย่างว่ามีให้เห็นถี่ยิบ ชนิดที่เรียกว่า 2556 ปีทองของผู้ซื้อรถยนต์จริง ๆ

เพราะปี 2555 รัฐบาลเป็นผู้คืนกำไรจากภาษี แต่ปี 2556 นี้ค่ายรถยนต์กลายเป็นผู้คืนกำไรจากแคมเปญต่าง ๆ โดยผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดยังเป็น "ลูกค้า"

ส่วนค่ายที่ปั่นป่วนและกระเทือนหนักสุดไม่ใช่ใครที่ไหน ยักษ์ใหญ่ "โตโยต้า" ถึงขนาดบอสใหญ่ "เคียวอิจิ ทานาดะ" ออกว่า ว่าปีนี้เป็นอีกปีที่ยากลำบาก

แผนการเปิดตัวรถยนต์นั่ง ถูกเลื่อนออกมากว่ากำหนดส่งผลให้การบริหารจัดการสต๊อกช่วงเวลาเปลี่ยนถ่ายระหว่างรถรุ่นเก่า-รุ่นใหม่มีปัญหาเกิด "สุญญากาศ" ไม่มีรถขาย

นอกจากนี้ตลาดยังมีสิ่งผิดปกติที่หลายคนคาดไม่ถึง คือ รายการทิ้งรถคันแรก ซึ่งกรมสรรพสามิตประเมินตัวเลขออกมาแล้วประมาณ 1 แสนคัน

สาเหตุที่ทิ้งมีทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อ รถใหม่มีแคมเปญและข้อเสนอที่ดีไม่แพ้เงินคืนภาษี ไม่ต้องรอและไม่มีเงื่อนไขใช้รถยาว5 ปี และมีอีกจำนวนไม่น้อยที่จองหลายแบรนด์ แต่ท้ายที่สุดได้ยี่ห้อไหนก่อน เลือกยี่ห้อนั้นโดยไม่แจ้งให้แบรนด์อื่น ๆ ที่จองไว้รู้

แต่ด้วยการร่วมมือระหว่างผู้ผลิตค่ายรถและบรรดาไฟแนนซ์ ปี 2556 ตลาดรถยนต์สามารถปิดตัวเลขทั้งปีได้ราว ๆ 1.2-1.25 ล้านคันลดลงจากปี 2555 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หลายคนบอกว่าแค่นี้ก็ดีแล้ว เพราะหากเทียบกับเมื่อ 2-3 ปีก่อนหน้าที่ประเทศไทยมียอดขายรถยนต์แค่ 8-9 แสนคันเท่านั้น

ส่วนตลาดปี 2557 แม้ผู้ประกอบการหลายรายจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า"วันนี้" อาจจะมองภาพได้ไม่ชัดเจนมากนัก

แต่แนวโน้มตลาด เชื่อว่ายอดขายจะลดลงจากปี 2556 อย่างน้อย 8-10%หรือมียอดขายราว 1.2-1.25 ล้านคันเท่านั้น

เหตุผลและปัจจัยที่กระทบคงมีเยอะแต่ที่แน่ ๆ ทั้งม็อบ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงเม็ดเงินลงทุนภาครัฐที่สะดุดลงจากการยุบสภาของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องจับตามองตลาดอย่างใกล้ชิด

รวมถึงต้องรีบเร่งส่งรถยนต์รุ่นใหม่ๆ และเซ็กเมนต์แปลก ๆ เข้ามาทำตลาดเพื่อผลักดันให้ตลาดรถยนต์ไทยเดินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ให้ได้

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ผ่ามุมมอง 2 กูรูค่ายรถมองแนวโน้มตลาดปี"57 มั่นใจยอดขายเกินล้านคัน

อุตสาหกรรมยานยนต์ปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายด้าน โดยเฉพาะผลพวงจากโครงการรถคันแรกที่ดึงกำลังซื้อไปใช้ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2555 ส่งผลให้ยอดจำหน่ายปรับตัวลดลง สิ่งที่เกิดขึ้นค่ายรถรับได้มากน้อยแค่ไหน และมีผลต่อเนื่องถึงปีนี้อย่างไร รายการ "Business Talk" กรุงเทพธุรกิจทีวี สัมภาษณ์ สุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และจิรพล รุจิวิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท นิสสัน มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด

สุรีทิพย์กล่าวว่า แม้ปี 2556 ตลาดจะได้รับผลกระทบ แต่ก็ถือว่ายอดขายอยู่ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ตลาดอยู่ในภาวะปกติ คือ ปี 2553 ที่มียอดขายประมาณ 8 แสนคัน เท่านั้น และเห็นว่ากำลังซื้อของลูกค้าโดยเฉพาะในช่วงปลายปีอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากมีปัจจัยบวกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในช่วงฤดูการขาย มีงานแสดงรถยนต์งานใหญ่ อย่างมหกรรมยานยนต์ ผู้บริโภคได้รับเงินตอบแทนพิเศษหรือโบนัส ค่ายรถเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆเป็นการเพิ่มทางเลือกหลายรุ่น แคมเปญส่งเสริมการขายมีรายละเอียดที่จูงใจ ดอกเบี้ยอยู่ในอัตราต่ำ และสถาบันการเงินให้ความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อที่ดี ซึ่งทำให้ช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีพบว่ามียอดขายคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของยอดขายทั้งปี

ส่วนสถานการณ์การเมือง เห็นว่าไม่กระทบนัก เห็นได้จากช่วงปลายปีกำลังซื้ออยู่ในเกณฑ์ที่ดี อีกทั้งช่วงจัดงานมหกรรมยานยนต์ ซึ่งตรงกับช่วงชุมนุมก็พบว่ามีผู้ชมงานเต็มพื้นที่

"เราไม่ได้มองเรื่องของการเมืองเป็นตัวหลักว่าจะมีผลกระทบกับตลาดหรือไม่ การเมืองไม่ใช่สิ่งบ่งชี้ แต่เป็นเรื่องของจีดีพี อัตราดอกเบี้ย และการสนับสนุนของไฟแนนซ์มากกว่า ซึ่งที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่ายังปกติ ไฟแนนซ์ไม่ได้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นมากนัก ไม่มีเพิ่มคนค้ำประกัน เป็นต้น"

ด้านจิรพลกล่าวว่า คนไทยปรับตัวรับการการเมืองได้ดี เห็นได้จากช่วงมีการชุมนุมพบว่าลูกค้าบางส่วนระบุว่ามาดูรถยนต์ ก่อนที่จะไปร่วมการชุมนุม

56 แคมเปญแรงเหตุระบายรถเก่า

ส่วนปีที่ผ่านมาซึ่งพบว่ามีการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายที่ค่อนข้างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด ของแถม ฟรีดอกเบี้ย หรือ ผ่อนชำระระยะยาว เป็นต้น เป็นผลมาจาก การที่ในตลาดมีรถที่มีอายุหลายปีทำตลาด ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเพื่อระบายออกไป เนื่องจากการขายทำได้ช้า อีกทั้งผู้บริโภครอซื้อรถรุ่นใหม่แทน ดังนั้นจึงต้องใช้แคมเปญในการจูงใจ

ขณะที่รถรุ่นใหม่ๆ ไม่มีการจัดแคมเปญรุนแรงมากนัก เช่น มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 หรือนิสสัน เทียน่า นิสสัน จู๊ค ที่เปิดตัวช่วงปลายปีมีเพียงการแถมประกันภัย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของตลาดในปัจจุบัน แต่ก็สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่าที่คาดหมาย

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ในปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องระมัดระวังในเรื่องของการสร้างสมดุลระหว่าง ดีมานด์กับซัพพลาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องสต็อก และป้องกันความไม่พึงพอใจของลูกค้าหากต้องรอรับรถนาน

จิรพลกล่าวว่า การที่รถรุ่นใหม่ๆได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ค่ายรถพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปจากเดม โดยเฉพาะเรื่องของความสามารถในการใช้สอย และเทคโนโลยี รวมถึงการบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่าง ตัวอย่างเช่น นิสสัน จู๊ค ที่เป็นรถสปอร์ต ครอสโอเวอร์ ที่นิสสันไม่เคยทำตลาดมาก่อน พบว่ามียอดขายที่ดี และยังเป็นรถที่มียอดจองสูงสุดภายในงานมหกรรมยานยนต์อีกด้วย

หมดรถคันแรกตลาดช็อก

สุรีทิพย์กล่าวว่า ส่วนการที่ตลาดในปีที่ผ่านมาชะลอตัวลงไป โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการหมดแรงกระตุ้นจากโครงการรถคันแรกนั้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับการตลาดไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไรก็ตาม เมื่อหมดแคมเปญตลาดจะช็อกไประยะหนึ่ง แต่รถคันแรกเป็นแคมเปญที่มีส่วนลดสูง คือสูงสุด 1 แสนบาท ทำให้การช็อกของตลาดนานกว่าสินค้าอื่นๆ

นอกจากนี้ยังเห็นว่าช่วงต้นปี 2556 หลังหมดโครงการรถคันแรก 31 ธ.ค.2555 ไม่มีรถใหม่เข้ามาช่วยกระตุ้นตลาด ส่งผลให้ยอดจองรถใหม่หายไปจำนวนมาก

จิรพลกล่าวว่า ยอดจองรถคันแรกที่มีจำนวนมาก ทำให้ค่ายรถต้องเร่งการผลิตทั้งในปี 2555 และครึ่งปีแรก 2556 เพื่อเร่งการส่งมอบให้เร็วที่สุด แต่เมื่อความต้องการลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ค่ายรถต้องจัดแคมเปญเพื่อเร่งการขาย

"ปี 2556 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีของผู้บริโภคจริงๆ แคมเปญแรง และมีช่วงระยะเวลาการจัดที่ยาวนาน ทำให้ผู้บริโภคได้เปรียบมาก"

สำหรับปี 2557 เชื่อว่าตลาดรถยนต์จะมียอดขายที่สูงกว่า 1 ล้านคัน เนื่องจากมีรถรุ่นใหม่เปิดตัวจำนวนมาก ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากขึ้น

นอกจากนี้ยังเห็นว่า องค์ประกอบอื่นๆ ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมามากนัก ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข จีดีพี หรืออัตราการว่างงาน ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะมีผลดีต่อตลาด และกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

อย่างไรก็ตามปัจจัยลบที่กังวลคือ ทิศทางราคาน้ำมัน หากปรับเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และกำลังซื้อทั่วโลก

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... นล้าน.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 71

โพสต์

สรรพสามิตฟันธงประชาชนทิ้งสิทธิ์โครงการรถคันแรกแน่ 1 แสนราย แจงช่วยลดภาระงบประมาณราว 1 หมื่นล้านบาท พร้อมดำเนินคดีผู้กระทำผิดเงื่อนไข 4-5 ราย ธุรกิจรถเช่าซึมหนัก
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดผู้จองสิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรกที่ยังค้างอีก 1.2 แสนราย จากจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ 1.247 ล้านราย หรือคิดเป็นเงิน 9.13 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าประมาณ 1 แสนราย ได้ทิ้งใบจองแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาค่ายรถยนต์ขนาดใหญ่ได้ทำการปิดบัญชี รวมทั้งผู้จองสิทธิ์บางรายเปลี่ยนใจไปซื้อรถใหม่ที่มีโปรโมชั่นที่น่าสนใจกว่า หรือบางรายจองไว้หลายยี่ห้อและรับรถไปแล้วโดยไม่ได้ยกเลิกอีกยี่ห้อหนึ่ง
“ที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้หารือกับผู้ประกอบการและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ (ดีลเลอร์) ที่ไม่ได้กำหนดเวลารับรถไว้ในเอกสาร จึงให้ทำจดหมายไปสอบถามผู้จองว่ายังยืนยันจะรับรถหรือไม่ หากผู้จองไม่มารับรถยนต์ตามกำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์ รวมถึงกรมก็ได้ส่งข้อความไปถึงผู้ขอใช้สิทธิ์เช่นเดียวกัน แม้ปัจจุบันจะมีตัวเลขรับรถยนต์ยังเคลื่อนไหวอยู่เดือนละ 4-5 พันราย แต่เชื่อว่าประมาณ 1 แสนราย ได้ตัดสินใจทิ้งใบจองแล้ว ซึ่งคาดว่าในสิ้นเดือน ม.ค.ปีนี้ น่าจะได้ข้อสรุปของโครงการทั้งหมด” นายสมชายกล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าผู้สละสิทธิ์รถยนต์คันแรกประมาณ 1 แสนรายนั้น ถือเป็นไปตามการคาดการณ์ที่คาดว่าจะมีผู้จองสิทธิ์ยกเลิกใช้สิทธิ์ในโครงการดังกล่าว อยู่ที่ 10% ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายในโครงการดังกล่าวกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยปีงบประมาณ 2558 กรมสรรพสามิตคาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณจ่ายคืนอีก 1 หมื่นล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ตั้งงบประมาณปี 2555-2556 อยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท และงบประมาณปี 2557 อยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2557 มีผู้ได้รับเงินคืนจากโครงการไปแล้ว 7 แสนราย คิดเป็นเงิน 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ กรณีผู้รับรถไปแล้วและยังถือครองสิทธิ์ไม่ครบ 1 ปี ยังไม่ได้รับเงินคืนไม่เกิน 100,000 แสนบาท จากกรมสรรพสามิตนั้น หากกระทำผิดเงื่อนไข หรือรถถูกยึด จะไม่ส่งผลกระทบกับกรมสรรพสามิต แต่หากเป็นกรณีที่ถือครองรถยนต์ครบ 1 ปี และได้รับเงินคืนจากกรมสรรพสามิตไปแล้ว ผู้ซื้อจึงจะต้องนำเงินมาคืนกรมสรรพสามิต โดยขณะนี้มีผู้ที่ได้รับเงินจากกรมสรรพสามิตไปแล้ว แต่ทำผิดเงื่อนไข ซึ่งมีทั้งหมด 500-600 ราย ซึ่งได้นำเงินส่งเงินคืนให้กรมแล้ว ส่วนการกรณีฟ้องร้องอยู่ที่ 4-5 ราย ซึ่งได้ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการแล้ว
นายนที วรรธนะโกวินท์ อุปนายกสมาคมรถเช่าไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แจแปนเร้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดรถเช่าในปี 2556 ที่ผ่านมาหดตัวลงประมาณ 10-15% โดยมีผลมาจากปัจจัยด้านการเมืองที่ผันผวน ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง และนักลงทุนบางส่วนมีการชะลอแผนงานที่จะลงทุนในประเทศไทย นอกจากนั้นแล้วยังมีปัจจัยเรื่องรถคันแรก ที่ผู้บริโภคหันไปใช้รถส่วนตัวแทนที่จะเช่ารถท่องเที่ยว
"ตามปกติธุรกิจรถเช่าจะเติบโตประมาณปีละ 7-12% แต่ในปีที่ผ่านมามีปัจจัยกระทบหลายประการ และเราก็มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการในธุรกิจรถเช่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พบว่าหลายรายมีการปรับลดเป้าหมายลงเล็กน้อย รวมไปถึงมีการทำธุรกิจกันอย่างระมัดระวัง และมีผู้ประกอบการรายย่อยหลายๆ รายที่ต้องปิดตัวลงไป เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้"
ขณะที่ภาพรวมตลาดรถเช่าในปี 2557 ยังคงประเมินสถานการณ์ไม่ได้ เนื่องจากต้องรอดูปัจจัยด้านการเมืองว่าจะยืดเยื้อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าตลาดยังคงชะลอตัว.


http://www.thaipost.net/news/090114/84380
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 72

โพสต์

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... อบ6ปี.html

ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐในปี"56 พุ่งสูงสุดในรอบ 6 ปี หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐผ่านปี 2556 ซึ่งถือเป็นปีที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2551 ไปอย่างไม่ราบรื่นนัก หลังยอดขายในเดือนธันวาคมย่้ำแย่ เหตุจากวันหยุดเทศกาลขอบคุณพระเจ้าที่ล่าช้า ขโมยยอดขายในเดือนธันวาคมไป ประกอบกับผลกระทบจากหิมะและพายุน้ำแข็ง ที่ทำให้ลูกค้าไม่สามารถมาเลือกซื้อรถยนต์ที่โชว์รูมได้

ยอดขายรถยนต์ของสหรัฐสิ้นสุดปี 2556 ด้วยจำนวน 15.6 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 7.6% จากปี 2555 ขณะที่ยอดขายในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% อัตรายอดขายรายปีในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 15.4 ล้านคัน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์สำรวจโดยรอยเตอร์ที่ 16 ล้านคัน

เมื่อพิจารณาตลอดทั้งปี 2556 ยอดขายรถยนต์สูงขึ้น 50% จากปี 2552 ที่ยอดขายลดลงเหลือ 10.4 ล้านคันในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก และเป็นปีที่ผลประกอบการตลอดทั้งปีดีที่สุดตั้งแต่ปี 2550 ที่ยอดขายรถยนต์สูงถึง 16.1 ล้านคัน

โดยทั่วไปเทศกาลวันหยุดช่วงปลายเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์สหรัฐทำยอดขายได้มากที่สุด แต่ทั้งจีเอ็ม, ฟอร์ด มอเตอร์ โค และโฟล์คสวาเกน เอจี ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในปีนี้สภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลกระทบทางลบน้อยกว่าเทศกาลขอบคุณพระเจ้า

อย่างไรก็ตามยอดขายที่ไม่สดใสในเดือนธันวาคมไม่ได้หมายความว่าปี 2557 จะซบเซาลงไปด้วย ผู้บริหารและนักวิเคราะห์หลายคนคาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตต่อเนื่องแซงหน้าเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวม นับตั้งแต่เศรษฐกิจถดถอย บรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ปี 2557 ยอดขายรถยนต์สหรัฐจะเพิ่มเป็น 16-16.5 ล้านคัน ทวีความกังวลว่าการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้น ทำให้บริษัทรถยนต์ต้องแข่งขันกันเอาใจลูกค้าจนผลกำไรของบริษัทลดลง
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 73

โพสต์

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ันแรก.html

ตลาดรถปี 57 ฝ่าภาพลวงรถคันแรก

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ตลาดรถยนต์ปี 2556 ที่ผ่านมา มียอดขายประมาณ 1.3 ล้านคัน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ทำได้กว่า 1.4 ล้านคัน อย่างไรก็ตามตัวเลข 1.3 ล้านคัน

ส่วนหนึ่งมาจากการส่งมอบยอดค้างจองจากโครงการรถคันแรกในช่วงต้นปี ทำให้ตลาดช่วงม.ค.-เม.ย. ยังคงเติบโตแต่ แต่ตั้งแต่ พ.ค.เป็นต้นมา ตลาดมีทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน ส่วนปีนี้ค่ายรถส่วนใหญ่ประเมินว่าจะยังคงมีทิศทางขาลง

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของหลายๆส่วน เช่น การรายงานยอดจำหน่ายของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ช่วง ม.ค.-พ.ย.2556 ที่พบว่าตลาดรวมหดตัว 5.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 และหดตัวลง 36.9% ในเดือน พ.ย.เทียบกับเดือน พ.ย.ปีก่อนหน้า แต่พบว่ากำลังซื้อในตลาดรถหรูยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มียอดขายที่เติบโต ไม่ว่าจะเป็นเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่เพิ่มขึ้น 51% ช่วง 11 เดือน และ 37% ในเดือน พ.ย. หรือ บีเอ็มดับเบิลยูที่เติบโต 30% ในเดือน พ.ย.และ 33% ในรอบ 11 เดือน

ขณะที่ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ เปิดเผยผลสำรวจการจองรถในงานล่าสุดพบว่า ค่าเฉลี่ยราคารถอยู่ที่ 1.1 ล้านบาท สูงกว่าปี 2555 ทีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 8 แสนบาท สะท้อนภาพว่ากำลังซื้อในตลาดรถเล็กซึ่งเป็นตลาดใหญ่ยังมีปัญหา

อย่างไรก็ตามในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาถือว่ารถเล็กมีบทบาทสำคัญในตลาดยานยนต์ แต่ก็ดูเหมือนว่าผลพวงจากรถคันแรกที่ส่งผลมากว่า 1 ปีนั้น ฝุ่นควันยังไม่จางหาย ทำให้ยังมองภาพปีนี้ได้ไม่ชัด

นายฮิโรชิ นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด รถเล็ก รวมถึงอีโค คาร์ ที่มีบทบาทสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ยังมองภาพได้ไม่ชัดเจนว่าปีนี้ กำลังซื้อลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร เนื่องจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถระบุได้ว่ากำลังซื้อของลูกค้ามาจากตลาดที่แท้จริง หรือว่าเป็นเพราะแรงจูงใจจากโครงการรถคันแรก

แต่รถที่เชื่อว่าจะยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องก็คือ รถปิกอัพที่ยังคงมีบทบาทสำคัญ ด้วยสัดส่วนการขาย 45-50% เนื่องจากยังตอบสนองการใช้งานตรงตามที่ลูกค้าต้องการ และผู้ผลิตนำเสนอสินค้าใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

ความคิดนี้อาจจะสอดคล้องกับสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เชื่อว่า ตลาดรถเล็กทั้ง บี และซี เซ็กเมนต์ ยังคงได้รับผลกระทบจากการที่กำลังซื้อถูกดึงไปใช้ล่วงหน้าจากโครงการรถคันแรก ทำให้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการต้องหามาตรการกระตุ้นการขาย ผ่านแคมเปญต่างๆ เพื่อดึงกำลังซื้อกลับมา และจะยังมีต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ดังนั้นตลาดรถเล็กปีนี้จึงเชื่อว่าไม่ดีนัก

แต่มุมมองของวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เห็นแตกต่างออกไป โดยเชื่อว่าปี 2557 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องจากมีปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งทิศทางเศรษฐกิจโลก การเมือง และการส่งออกของไทยที่ลดลงอย่างมาก และทำให้กำลังซื้อ โดยรวมลดลง

สถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่าความต้องการใช้รถยังมีเนื่องจากมีความจำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจ จะผลักดันให้คนหันมาซื้อรถเล็กมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีราคาต่ำกว่า นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากขึ้น จากการที่ค่ายรถต่างเปิดตัวรถในกลุ่มนี้มากขึ้น

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มุมมองนักการตลาดจะเห็นแตกต่างกันไป และไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งทุกครั้งที่แสดงความคิดเห็น ผู้บริหารของค่ายรถจะออกตัวทุกครั้งว่าขอเวลาให้เห็นภาพที่ชัดเจน ตั้งแต่ต้นปี 2556 เลื่อนมาเป็นกลางปี ปลายปี และในที่สุดก็ลามมาถึงปีนี้ก็ยังเห็นภาพไม่ชัดเจน

เป็นการยืนยันได้ว่าเรื่องของธุรกิจ เรื่องของตลาดที่มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องจนบิดเบี้ยว ก็เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิม
:)
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 74

โพสต์

Toyota upbeat despite rallies

Tue, 21 Jan 2014 01:05:00 +0700


Despite the ongoing political stand-off, Toyota Motor Corporation remains committed to expanding production capacity in Thailand to 1 million units a year over the next 3-4 years.

Kyoichi Tanada, president of Toyota Motor Thailand (TMT), said yesterday that the company has bought a plot of land near existing plants in Chachoengsao province but the expansion timetable is still up in the air.

Toyota runs four factories here, including a 12-billion-baht facility at Gateway 2 in Chachoengsao that became fully operational at the end of 2013 with a yearly production of 300,000 cars.

TMT aims to increase annual capacity by 100,000-200,000 cars at a cost of 15-20 billion baht a year.

Mr Tanada acknowledged that political risk is a factor that normally influences foreign investment decisions.

Toyota's Thailand plants are now running at their maximum annual capacity of 850,000 vehicles.

In 2013, Toyota sold 445,464 cars in the Thai market, down 13.7% from a year earlier, while exports totalled 430,929 units, up 6% over 2012.

The company had a 33.5% share of the Thai market, down from 35.9% in 2012. This year, TMT projects local sales of 400,000 cars, down 10.2% year-on-year. But market share is forecast to rise to 34.8%. Exports would reach 445,000 units.

"Domestic car sales are expected to stand above 1 million cars for the third straight year, but demand has decreased gradually after the first-time car buyer scheme expired in 2012," said Mr Tanada.

He said Thai car sales are likely to fall by 13.6% to 1.15 million vehicles in 2014, mainly on weaker consumption and slow economic growth. In 2013, sales fell by 7.4% to 1.33 million vehicles.

"If Thailand's political unrest is prolonged, hitting overall economic growth accordingly, industry sales may miss their target," he said.

http://www.bangkokpost.com/breakingnews ... te-rallies
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 75

โพสต์

โตโยต้า คือผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในไทย โดยมีกำลังผลิต 800,000 คันต่อปี อย่างไรก็ตามนายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย แถลงกับผู้สื่อข่าวในวันจันทร์(20) ว่าเวลานี้แผนเพิ่มกำลังผลิตรถยนต์ให้ได้ 200,000 คันต่อวันในช่วง 3 หรือ 4 ปีข้างหน้า อยู่บนความไม่แน่นอนเสียแล้ว

"การลงทุนใหม่ในไทยของเราอาจไม่เกิดขึ้น หากวิกฤตทางการเมืองในปัจจุบันยังยืดเยื้อต่อไป" นายทานาดะกล่าว "สำหรับนักลงทุนต่างชาติหน้าใหม่ สถานการณ์ทางการเมืองอาจบีบให้พวกเขามองหาโอกาสในที่อื่นๆ แต่พวกที่ลงทุนไปเรียบร้อยแล้ว อย่างเช่นโตโยต้า เราคงไม่ไปไหน แต่เราจะลงทุนเพิ่มเติมหรือไม่ เราไม่แน่ใจ"

ประเทศไทยคือตลาดรถรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งยังเป็นฐานการผลิตและส่งออกระดับภูมิภาคของเหล่าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก อย่างฮอนด้า มอเตอร์และฟอร์ด มอเตอร์ ด้วย

รายงานข่าวของรอยเตอร์ระบุว่า เหล่าผู้ประท้วงพยายามโค่นล้มรัฐบาลมานานเกือบ 2 เดือน ขณะที่มาตรการชัตดาวน์กรุงเทพฯ กดดันจนต้องปิดกระทรวงต่างๆและนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงขั้นต้องย้ายสถานที่ทำงานชั่วคราว

เรื่องนี้นายทานาดะ บอกว่าหากประเมินสถานการณ์แล้วว่า เหตุความไม่สงบส่งผลกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทางโตโยต้าก็อาจลดกำลังผลิตในไทยลง "ตามหลังการชัตดาวน์ เรามีลูกค้าเดินทางมาโชว์รูมน้อยลง ดังนั้นเราจึงพร้อมลดกำลังผลิตรถยนต์ หากว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง"

ในปี 2013 โตโยต้า ผลิตรถยนต์ในปีราว 850,000 คัน แบ่งเป็นขายแก่ผู้บริโภคภายในประเทศ 445,000 คันและส่งออก 430,000 คัน ขณะที่ในปี 2014 นายทานาดะบอกว่าทางโตโยต้าตั้งเป้าไว้ว่าจะมียอดขายที่ 400,000 คันและส่งออก 445,000 คัน

ขณะเดียวกันข้อมูลของโตโยต้าประจำประเทศไทย ประมาณการณ์ว่ายอดจำหน่ายในอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวมของไทย น่าจะลดลงราว 13.6 เปอร์เซนต์ เหลือ 1.15 ล้านคันในปี 2014 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบริโภคที่อ่อนแอและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

รายงานข่าวของรอยเตอร์ส ระบุว่าจากความคาดหมายดังกล่าว นั่นเท่ากับว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในภาพรวมจะลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ตามหลังทะยานขึ้นถึงร้อยละ 80 ในปี 2012 จากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามหลังวิกฤตอุทกภัยช่วงปลายปี 2011 ด้วยที่ปี 2013 ที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศลดลงร้อยละ 7.7 เหลือ 1.33 ล้านคัน

http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrvie ... 0000007553
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 76

โพสต์

เคียวอิจิ ทานาดะ "โตโยต้าไทยจะผลิตรถปีละล้านคัน"
updated: 23 ม.ค. 2557 เวลา 14:33:37 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ปี 2556 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ อันเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากนโยบายรถยนต์คันแรก ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ต้องปรับตัวกันอุตลุด โดยเฉพาะปัญหารถยนต์ล้นสต๊อก

วันนี้แม้จะก้าวข้ามขึ้นเดือนใหม่ของปี 2557 แต่ผลกระทบนั้นก็คงความต่อเนื่อง สำหรับเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเรา "เคียวอิจิ ทานาดะ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ฉายภาพและประเมินทิศทางพร้อมการปรับตัวของตลาดรถยนต์ ปี 2557 ไว้อย่างน่าสนใจ

- ยอดขายปี 2556

ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 1,330,668 คัน สำหรับในปี 2555-2556 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ โดยมียอดขายรวมในประเทศมากกว่า 1 ล้านคัน เป็นผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นจากหลาย ๆ ค่าย

สำหรับยอดขายที่ 1,330,668 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 7.4% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 631,221 คัน ลดลง 6.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 699,447 คัน ลดลง 8.4%

โตโยต้ามียอดขายทั้งสิ้น 445,464 คัน ลดลง 13.7% มีส่วนแบ่งทางการตลาด 33.5% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 190,101 คัน ลดลง 15.4% มีส่วนแบ่งทางการตลาด 30.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 255,363 คัน ลดลง 12.3% ส่วนแบ่งทางการตลาด 36.5%

ส่วนปริมาณการส่งออกนั้น โตโยต้ามียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป จำนวน 430,929 คัน เพิ่มขึ้น 6.0% คิดเป็นมูลค่า 188,445 ล้านบาท ส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 63,008 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทย เป็นเงินทั้งสิ้น 251,453 ล้านบาท

- คาดการณ์ตลาดและเป้าหมายปีนี้

สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยในปีนี้มีแนวโน้มหดตัวลงจากปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการที่ภาพรวมของเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว การสิ้นสุดโครงการคืนภาษีสำหรับรถยนต์คันแรก คาดการณ์ว่าตลาดจะมียอดขายอยู่ที่ระดับ 1,150,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 13.6% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 527,000 คัน ลดลง 16.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 623,000 คัน ลดลง 10.9% ทั้งนี้

ตัวเลขดังกล่าวนั้นเป็นการประเมินตัวเลขยอดขายที่ไม่ได้เป็นการนับรวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ซึ่งยังต้องรอดูสถานการณ์และความชัดเจนดังกล่าวอีกระยะว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด แต่หากสถานการณ์

ทางการเมืองยืดเยื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายรถยนต์ให้หดตัวมากขึ้นและอาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนโตโยต้าเองพร้อมที่จะลดกำลังผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์ของตลาดรถยนต์โดยรวม

สำหรับโตโยต้าเองคาดว่าจะมียอดขายอยู่ที่ 400,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 34.8% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 184,000 คัน ลดลง 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.9% รถเพื่อการพาณิชย์ 216,000 คัน ลดลง 15.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.7% ซึ่งจะมีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 445,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 198,000 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 65,600 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 263,600 ล้านบาท


- ภาพการแข่งขันของตลาด

หลังจากสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรกไปแล้วในปี 2555 และค่ายรถเริ่มทยอยส่งมอบหมดไปเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเห็นภาพการแข่งขันของตลาดด้วยความพยายามส่งแคมเปญส่งเสริมการขาย แต่สำหรับปีนี้เชื่อว่าสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น การกระตุ้นยอดขายด้วยแคมเปญต่าง ๆ จะลดลง

สำหรับโตโยต้าในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่กับการผลิตรถไม่สอดคล้องกัน ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เรามียอดขายแพ้คู่แข่งประมาณ 18,000 คัน แต่เมื่อเข้าสู่ 3 เดือนสุดท้าย เรามีอีโคคาร์ ยาริส ทำให้ยอดขายเรากลับมาชนะคู่แข่งถึง 15,000 คัน แต่นั่นก็ไม่เพียงพอ ทำให้เราเสียแชมป์ตลาดรถยนต์นั่งไปในรอบ 10 กว่าปีโดยแผนงานปีนี้ ส่วนของตลาดรถยนต์นั่ง โตโยต้าพร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยรถยนต์รุ่นใหม่ และการเน้นการเข้าถึงลูกค้าผ่านกิจกรรมที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ในด้านต่าง ๆ ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จะเน้นเรื่องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านกิจกรรมการตลาดในพื้นที่

- แผนการลงทุนเพิ่มเติม

การลงทุนของโตโยต้านั้น แม้ว่าเราจะมีการลงทุนของแต่ละประเทศจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งเรามองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ใหญ่ที่สุด แต่หากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบในเรื่องนี้ได้ ประเทศไทยยังเป็นหลัก เนื่องจากมองว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง ประกอบกับรัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอย่างดี

จะเห็นว่าโตโยต้ามีการลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งยังมองประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากในภูมิภาคอาเซียน

และจากเป้าหมายที่เราต้องการผลิตรถยนต์โตโยต้าในประเทศไทยให้ได้ 1 ล้านคัน จากปัจจุบันมีอยู่ 850,000 คัน โดยอนาคตโตโยต้าคงจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะการสร้างโรงงานแห่งใหม่ เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 15,000-20,000 ล้านบาท ส่วนพื้นที่ตั้งนั้น ที่โรงงานบ้านโพธิ์ยังมีพื้นที่เพียงพอในการขยายเพื่อรองรับ โดยส่วนตัวหวังว่าภายใน 3-4 ปีน่าจะได้เห็น

แต่การลงทุนดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนและนิ่ง เพื่อทำให้บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นมีความมั่นใจ ตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทยต่อเนื่อง

- ความคืบหน้าอีโคคาร์เฟส 2

อีโคคาร์เฟส 2 นั้นยังต้องศึกษารายละเอียดถึงหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอได้กำหนดไว้ ซึ่งยังพอมีเวลา และความชัดเจนของโตโยต้าต่อโครงการดังกล่าวที่จะออกมาให้เห็นราวเดือนมีนาคมที่จะถึงเนื่องจากโตโยต้าถือเป็นผู้ผลิตรายสุดท้ายสำหรับอีโคคาร์โครงการ 1 ที่เพิ่งจะเปิดตัวรถออกสู่ตลาดไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งโตโยต้า ยาริส ก็ได้การตอบรับจากลูกค้า

ชาวไทยเป็นอย่างดี มียอดขายเฉลี่ย 5,500 ต่อเดือน และเชื่อว่าการทำตลาดของอีโคคาร์รุ่นนี้น่าจะส่งต่อไปสำหรับอีโคคาร์โครงการ 2 ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตด้วย

- การขยายเครือข่าย

เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ปีนี้โตโยต้ามีแผนเพิ่มจำนวนโชว์รูมจากปัจจุบัน 390 แห่ง เป็น 450 แห่ง รวมถึงโตโยต้า ชัวร์ จาก 100 แห่ง เป็น 120 แห่ง พร้อมกันนี้โตโยต้ายังคงมุ่งมั่นส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการอยู่ร่วมกับสังคมไทยอย่างมีความสุข ด้วยแผนงานทั้งหมดนี้ เรามั่นใจว่าปีนี้โตโยต้าจะกลับมาเป็นที่ 1 ในทุกตลาดได้อย่างแน่นอน

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1390404923
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 77

โพสต์

การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงเวลาที่ต้องตั้งคำถามกันอีกครั้งว่า ไทยยังเหมาะสมที่จะรั้งตำแหน่งผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของภูมิภาคอยู่หรือไม่ หลังจากที่มาเลเซียเริ่มขยับออกนโยบายใหม่ในการเร่งการผลิตและส่งออกรถยนต์มากขึ้น

ล่าสุด มาเลเซียผ่อนกฎให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติ โดยการอนุญาตให้บริษัทผลิตรถยนต์ที่ใช้ระบบไฮบริดและระบบไฟฟ้า รวมไปถึงรถยนต์ขนาดเล็กเข้ามาผลิตในประเทศได้ โดยมาเลเซียรั้งอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านส่งออกรถยนต์ และยังพยายามแข่งขันกับไทยในฐานะผู้ส่งออกอันดับหนึ่งอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงนโยบายรถยนต์แห่งชาติ (National Automotive Policy : NAP) ของมาเลเซียมีขึ้นเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลมาเลเซียตั้งเป้าให้ประเทศเป็นศูนย์กลางของรถยนต์ประหยัดพลังงานของภูมิภาค โดยจะมีการออกใบอนุญาตแบบใหม่ให้กับผู้ผลิต พร้อมทั้งให้เงินทุนช่วยเหลือและยกเว้นภาษีให้กับบริษัทผลิตรถยนต์ต่างชาติ ที่นำเอาเทคโนโลยีไฮบริดและเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาอีกด้วย ก่อนหน้านี้มาเลเซียอนุญาตให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติผลิตเพียงแค่รถยนต์ที่มี สมรรถภาพเกินกว่า 1,800 ซีซีเท่านั้น

ขณะที่ไทยและอินโดนีเซียต่างมีแผนการผลิตรถยนต์ในทิศทางเดียวกันที่จะให้สิทธิพิเศษกับบริษัทรถยนต์ที่ผลิตรถขนาดเล็กและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีพละกำลังไม่เกิน 1,500 ซีซี

เดอะ สเตรท ไทมส์ อ้างคำพูดแหล่งข่าวจากรัฐบาลว่า นโยบายส่งเสริมการลงทุนสำหรับการผลิตรถยนต์มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระดับของการประหยัดพลังงานและเทคโนโลยีที่จะนำเข้ามาผลิต ซึ่งความเคลื่อนไหวจากรัฐบาลมาเลเซียมีขึ้นเพื่อต้องการสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ ในการแย่งส่วนแบ่งตลาดรถยนต์อาเซียน ซึ่งปัจจุบันไทยที่สถานการณ์การเมืองยังไม่มีวี่แววที่ยุติ ครองแชมป์การส่งออกรถยนต์

และหากสถานการณ์การเมืองไทยยังไม่ลงตัวภายในเร็วๆ นี้ มีแนวโน้มอย่างมากที่จะทำให้มาเลเซีย กลายเป็นประเทศที่น่าสนใจอย่างมากแห่งหนึ่งสำหรับการย้ายฐานการผลิตในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหากมีการเปิดเสรีด้านการผลิตรถยนต์มากกว่านี้ ไทยอาจจะต้องเสียแชมป์ส่งออกให้กับมาเลเซีย และอินโดนีเซียอย่างแน่นอน

ประกอบกับยอดการขายรถยนต์ในไทย เมื่อปีที่ผ่านมานี้ ลดลง 10% อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเมือง และคาดว่าในปีนี้ ยอดการขายรถยนต์ในไทยน่าจะตกลงอีก 10% นับได้ว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับไทย แต่อาจเป็นข่าวดีสำหรับมาเลเซีย ที่จะเร่งทำยอดขายรถยนต์แซงหน้าอินโดนีเซียและไทย

ด้านนายมุสตาฟา โมฮาเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายใหม่นี้พุ่งเป้าที่จะส่งเสริมให้มาเลเซียมีจำนวนการผลิตรถยนต์เพิ่ม ขึ้น 1.25 ล้านคันภายในปี 2563 และตั้งเป้าว่าในปีเดียวกันจะส่งออกรถยนต์ให้ได้ 250,000 คัน

ปัจจุบัน มาเลเซียผลิตรถยนต์ได้ 650,000 คันในจำนวนดังกล่าวมียอดส่งออก 20,000 คัน ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยกว่าเพื่อนบ้านอย่างไทยและอินโดนีเซียที่มียอดส่งออกใน ปีที่ผ่านมาที่ 1.2 ล้านคัน นายมุสตาฟากล่าว

ถึงนโยบาย NAP ว่า "รัฐบาลค่อนข้างมองในมุมบวกที่จะกลับมาทวงคืนตำแหน่งศูนย์กลางผู้ผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้อีกครั้ง"

ทั้งนี้ มาเลเซียประสบปัญหามาตลอดในด้านห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมรถยนต์ อันเนื่องมาจากการส่งออกที่ตกต่ำ รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล่าช้า ซึ่งหลายฝ่ายได้กล่าวหาว่าเป็นเพราะนโยบายของรัฐที่มุ่งปกป้องรถยนต์แห่ง ชาติ อย่าง "โปรตอน" โดยการกีดกันบริษัทรถยนต์ต่างชาติ

ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษีที่รัฐบาลปรับขึ้นสูงถึง 300% สำหรับรถยนต์ที่นำเข้าและผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้รถยนต์จากต่างประเทศมีราคาสูงกว่าโปรตอนมาก แม้ว่าจะเป็นรถยนต์ในเซ็กเมนต์เดียวกันก็ตาม

แต่นักวิเคราะห์หลายคน กล่าวว่า รายได้ของโปรตอนลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากขาดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) เพราะไม่ได้มีการผลิตจำนวนมากเพื่อส่งขายรอบโลกอย่างฮุนได หรือโตโยต้า และนวัตกรรมที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งไม่สามารถสู้ค่ายรถยนต์ที่มาจากญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ได้ ซึ่งนโยบายใหม่ฉบับนี้ นายมุสตาฟากล่าวว่า ราคารถยนต์ในมาเลเซียจะลดลงถึง 30% ภายในปี 2561 เป็นผลมาจากการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันระหว่างค่ายรถยนต์ และการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ที่จะประกาศใช้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า จะเป็นโอกาสทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซียเอง ที่จะได้มีโอกาสพัฒนารถยนต์ประหยัดพลังงานทั้งในขนาดกลางและระดับไฮเอนด์

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ยังต้องช่วยอุ้มโปรตอนต่อไป

ทั้งนี้ ในช่วงปี 2533 มาเลเซียเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมรถยนต์ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ แต่ต้องเสียตำแหน่งดังกล่าวให้กับไทยในช่วงต้นปี 2543 และอินโดนีเซียหลังจากที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีการเปิดเสรีในภาคอุตสาหกรรมรถ ยนต์มากขึ้น

แต่ศักยภาพการผลิตรถยนต์ในมาเลเซีย ตกต่ำมาโดยตลอด อันเนื่องมาจากการขาดการแข่งขันทางการตลาด และการปกป้องรถยนต์ของประเทศ ทำให้มาเลเซียเริ่มตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี โดยนำการแข่งขันเข้ามากระตุ้น ซึ่งผลตอบรับก็จะเป็นผลดีต่อประเทศ ทั้งด้านการจ้างงานและรายรับของประเทศที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤตค่าครองชีพที่สูงขึ้นในมาเลเซียอยู่ตลอดเวลานี้

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0400
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 78

โพสต์

มรสุมการเมืองกดดันยอดขายรถบรรทุกขนาดใหญ่ลดลง รถค้างสต็อกเพียบ ผู้ผลิตลดการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์จากผู้ผลิตถึง 70%

นายประสาทศิลป์ อ่อนอรรถ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในประเทศส่งผลกระทบลูกโซ่ ทำให้ยอดขายรถบรรทุกขนาดใหญ่ลดลง มีรถค้างสต็อกจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ลดการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์จากผู้ผลิตถึง 70% ทำให้ผู้ผลิตชะงักตามไปด้วย

ขณะที่ยอดขายรถยนต์ขนาดเล็กยังขายได้ แต่ต่ำกว่าประมาณการที่จัดทำไว้ช่วงปลายปี 2556 ไว้ไปบ้าง ซึ่งเดิมคาดว่าทั้งปี 2557 น่าจะมียอดประกอบรถรวม 2.7 ล้านคัน แต่ปัจจุบันคาดว่ายอดผลิตรถยนต์ในภาพรวมของประเทศไทยจะมียอดผลิตรวมไม่เกิน 2.55 ล้านคัน เท่ากับปี 2556

"ขณะนี้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปรับตัวรับสถานการณ์และยังประคองธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ในระดับที่น่าพอใจ แต่รายเล็กยังประสบปัญหาอยู่บ้าง"

ด้านการใช้กำลังการผลิตขณะนี้ลดลงไปบ้าง โดยมีการให้พนักงานทำงานล่วงเวลาแต่ลดลงไปครึ่งหนึ่ง

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์คาดว่าน่าจะดีขึ้นประมาณไตรมาส 3 และไตรมาส 4 โดยมูลค่าอุตสาหกรรมนี้ในภาพรวมจะมีมูลค่ารวมประมาณ 700,000 ล้านบาท

สำหรับปัญหาที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยในขณะนี้คือ ปัญหาขาคแคลนแรงงาน ต้องใช้แรงงานต่างชาติเข้ามาเสริม โดยเฉพาะเอสเอ็มอี

ส่วนการเข้ามาลงทุนของเอสเอ็มอีญี่ปุ่นนั้นถือว่าส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีไทย เพราะนักลงทุนญี่ปุ่นจะเลือกสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทญี่ปุ่นด้วยกัน


นอกจากนี้ การเข้ามาของบางบริษัทญี่ปุ่นที่ย้ายฐานการผลิตออกมาจากจีนจะขอเข้ามาร่วมทุน โดยต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้เอสเอ็มอีไทยลำบาก และคาดว่า ในอนาคตจะยิ่งลำบากมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ประเทศไทยไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย ทุกอย่างถูกกำหนดตั้งแต่การวิจัยและพัฒนามาจากญี่ปุ่น

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประมาณ 3,000 ราย ขณะที่รายใหญ่ซึ่งเป็นสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีสมาชิกประมาณ 600 ราย

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... นต์70.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ทุนญี่ปุ่นผวาการเมืองไทยยืดเยื้อทุบความเชื่อมั่นชะลอลงทุนเพิ่ม "หอการค้าญี่ปุ่น" ยอมรับผู้ประกอบการทบทวนแผนการลงทุนใหม่ จากปัจจัยรอบด้านอย่างละเอียด จับตากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนหันซบ "อินโดฯ-มาเลย์" แทน ฟากนิคมอุตฯชี้ต่างชาติหน้าใหม่เบรกลงทุนไปกว่า 30-40% "บีโอไอ" ดิ้นหาช่องตั้งบอร์ดใหม่อนุมัติโครงการค้าง

จาก สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ ที่ยืดเยื้อมากว่า 3 เดือน และยังไม่เห็นทางออกว่าจะจบอย่างไร จนทำให้เป็นที่กังวลของนักลงทุนไทยและต่างชาติ ว่าประเทศไทยต้องอยู่ในภาวะสุญญากาศไม่มีรัฐบาลบริหารประเทศไปอีกอย่างน้อย 5-6 เดือน ทำให้การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพ จนอาจกระทบต่อแผนการลงทุนและขยายธุรกิจต่าง ๆ

หอการค้าญี่ปุ่นชี้ลงทุนใหม่กระทบ


นาย เซ็ทซึโอะ อิอูจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) และประธานคณะวิจัยเศรษฐกิจหอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลกระทบต่อธุรกิจญี่ปุ่นในไทยไม่มากนัก แต่การลงทุนใหม่ต้องพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยคาดหวังว่าปัญหาการเมืองจะยุติโดยเร็ว แต่ถ้ายืดเยื้อจะกระทบต่อความเชื่อมั่นรวมถึงการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ต้องการให้รัฐบาลไทยเร่ง ปรับปรุง นอกจากนี้ ปัญหาทางการเมืองในไทยไม่มีผลต่อการตัดสินใจย้ายการลงทุน แต่การเข้าไปทำธุรกิจในประเทศอื่นของอาเซียนเป็นไปตามแผน "Thailand Plus One" ที่ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยนักลงทุนญี่ปุ่นจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาคนี้
พร้อมกันนี้ยังชี้ด้วยว่า มาตรการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ไม่ส่งผลกระทบต่อสายการผลิต แต่อาจส่งผลเชิงจิตวิทยาต่อการบริโภค ต่างกับน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่สร้างความเสียหายให้กับซัพพลายเชนทั้งระบบ

สำหรับผลสำรวจแนวโน้ม เศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นของหอการค้าญี่ปุ่นในไทย ชี้ว่า นักลงทุนญี่ปุ่นในไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศตะวันตกซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยฟื้น ตัว

ค่ายรถญี่ปุ่นเล็งซบอินโดนีเซีย

นายสันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรตติ้ง จำกัด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสพูดคุยกับที่ปรึกษาการเงินกับนักลงทุนญี่ปุ่น พบว่าผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นบางรายเริ่มทบทวนการตัดสินใจการขยายฐาน การผลิตในประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาได้รับความเสี่ยงจากปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่องจนส่งผล กระทบต่อธุรกิจ

"ในจำนวนค่ายรถยนต์ขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น ทั้งโตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน อีซูซุ พบว่ามีบางรายเริ่มทบทวนการตัดสินใจแล้วว่า จะยังขยายฐานการผลิตในประเทศไทยต่อไปหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเรามีปัญหามาโดยตลอด ซึ่งตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านอาจจะเป็นตัวเลือกถัดไปได้" นายสันติกล่าว

ทั้งนี้ประเทศที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจจะไปขยายกำลังการผลิตคืออินโดนีเซีย ซึ่งถือว่ามีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ได้ใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากังวล เพราะสะท้อนให้เห็นว่าไทยกำลังจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านศูนย์ กลางการผลิตรถยนต์

นายสันติกล่าวว่า ตัวแปรสำคัญที่จะฉุดรั้งค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นไว้ที่ประเทศไทยคือ การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ซึ่งควรจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปีนี้

"ถ้าเราแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยภายในช่วงกลางปี 2557 ได้ ประเด็นที่นักลงทุนญี่ปุ่นจะขยายฐานการผลิตไปที่อื่นก็ยังพอจะแก้ไขได้ แต่ถ้าใช้ระยะเวลาเกินกว่าที่ขีดเส้นไว้ โอกาสการย้ายฐานการลงทุนก็จะเกิดขึ้นสูง" นายสันติกล่าว

การเมืองเขย่าขวัญนักลงทุนยุ่น

นาย สุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศจำกัด (ดีลอยท์ ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการพบปะนักลงทุนชาวญี่ปุ่นใน 2 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญคือ กลุ่มการเงินและการผลิต นักลงทุนญี่ปุ่นมองว่าไทยยังเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายด้าน อีกทั้งญี่ปุ่นลงทุนในประเทศไทยมายาวนาน แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าสถานการณ์การเมืองของไทยที่ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ และมีแนวโน้มยืดเยื้อในขณะนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ฉุดความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนเพิ่มของนักลงทุน ญี่ปุ่น

สำหรับภาคการเงิน นอกจากนักลงทุนจะกังวลในเรื่องความไม่สงบทางการเมืองแล้ว ยังเป็นห่วงเรื่องการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในประเทศจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผลกระทบในเชิงลบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ และโครงสร้างผู้บริหาร กระบวนการทางราชการ รวมถึงบทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบ ขณะที่จุดแข็งของภาคการเงินไทยคือ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยธนาคาร แห่งประเทศไทย

ยืดเยื้อกระทบลงทุนใหม่

แหล่งข่าวจาก สภาอุตสาหกรรมยานยนต์กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หากภายในไตรมาสแรกสถานการณ์ยังไม่จบก็อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของค่าย รถยนต์และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนในอนาคตได้
โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ที่มี การลงทุนอยู่ในประเทศไทย และต้องมีการลงทุนเพิ่มอาจจะต้องคิดให้หนักขึ้น ส่วนกลุ่มที่สนใจเข้ามาลงทุนใหม่ ก็อาจจะต้องมองหาแหล่งลงทุนในประเทศข้างเคียงแทน โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย

"ไม่ได้หมายความว่าค่ายรถยนต์หรือ ชิ้นส่วนที่ลงทุนอยู่แล้วจะย้ายฐานผลิตไปที่อื่น แต่ถ้าการเมืองไม่ชัดเจนก็อาจมีผลทำให้ผู้ลงทุนเหล่านี้มองหาแหล่งลงทุน ใหม่"

โดยก่อนหน้านี้นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และในฐานะรองประธานสภาหอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ใหญ่ที่สุด แต่หากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนได้

โตโยต้ามีเป้าหมายที่จะผลิตรถยนต์ในประเทศไทยให้ได้ 1 ล้านคันในอนาคต จากปัจจุบันที่มีอยู่ 850,000 คัน ซึ่งจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 15,000-20,000 ล้านบาท แต่การลงทุนดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเมืองนิ่ง เพื่อทำให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นมีความมั่นใจ และตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทยต่อเนื่อง

ฮอนด้าเดินหน้าลงทุนตามแผน

ขณะ ที่นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทแม่ยังมีความมั่นใจในประเทศไทย การลงทุนต่าง ๆ ยังเป็นไปตามแผน แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะรุนแรงยิ่งขึ้น ส่วนแผนลงทุนโรงงานแห่งใหม่มูลค่า 17,150 ล้านบาท ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.ปราจีนบุรี บนพื้นที่กว่า 1,600 ไร่นั้น ยังคงเป็นไปตามกำหนดการที่จะเริ่มไลน์ผลิตได้ในปี 2558 ไม่ได้มีการชะลอการลงทุนแต่อย่างใด

บีโอไอหาช่องตั้งบอร์ดใหม่

นาย อุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ส่วนของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนมาที่ BOI ทั้งหมด ยังไม่มีนักลงทุนรายใดถอนการลงทุนทั้งสิ้น และโครงการทั้งหมดที่ค้างพิจารณาอยู่ระหว่างการถามความเห็นไปยังคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะสามารถตั้งคณะกรรมการหรือบอร์ดบีโอไอใหม่ได้หรือไม่ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาโครงการที่ค้างอยู่

"หวังว่าการชุมนุมจะไม่ยืดเยื้อมากไปกว่า 3-4 เดือน เพราะหากยืดเยื้อไปถึง 7-8 เดือนกระทบความเชื่อมั่นลงทุนแน่ ๆ"

ต่างชาติหน้าใหม่ชะลอลงทุน

นาย นิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า นักลงทุนต่างชาติรายเก่ายังคงลงทุนในพื้นที่ แต่สำหรับนักลงทุนต่างชาติรายใหม่ประมาณร้อยละ 80 บางส่วนขาดความเชื่อมั่น และตัดสินใจชะลอการลงทุนออกไปก่อน รวมกับในช่วงที่ผ่านมา BOI มีการปรับแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ ที่ยกเลิกการส่งเสริมในบางประเภทกิจการ ทำให้บางโครงการชะลอลงทุนอย่างไม่มีกำหนด

ขณะที่นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย อินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) เปิดเผยว่า สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติรายเก่าในนิคมอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะไม่กระทบธุรกิจ เพราะลงทุนในประเทศไทยมานาน เข้าใจการเมืองของไทยดี จึงไม่มีความคิดย้ายฐานการลงทุน แต่ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติรายใหม่ที่กำลังจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ที่ยังไม่เข้าใจสถานการณ์ในประเทศ ก็มีการชะลอการลงทุนออกไปร้อยละ 30-40 นอกจากนี้แล้วยังมีผลกระทบไปถึงผู้ประกอบการโลจิสติกส์บางส่วนที่ต้องวางแผน การส่งสินค้าในเส้นทางใหม่ หลีกเลี่ยงเส้นทางที่ไม่มีการชุมนุม ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

ด้านนางธีรนาฎ โชควัฒนา ผู้อำนวยการบริษัท สหรัตนนคร จำกัด เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการรายใหม่มีการชะลอการลงทุนบ้าง แต่อยู่ในกรอบที่ไม่น่าตกใจ โดยเฉพาะภายหลังการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยิ่งส่งผลให้ภาพการชุมนุมมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในสายตาชาวต่างชาติ เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้มีการหารือกับนักวิชาการต่างชาติว่าจะมีการเข้ามาทำเจรจาเรื่องการพัฒนา ด้านต่าง ๆ ในนิคมเพิ่มเติม แต่กลับตัดสินใจเลื่อนการเจรจาออกไป

สศอ.กังวลจีดีพีอุตฯหาย 1%

นาย สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าปี 2557 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวช่วงร้อยละ 3-4 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ขยายตัวช่วงร้อยละ 1.5-2.5 จากการประเมินเบื้องต้นมีโอกาสที่จีดีพีอุตสาหกรรมจะลดลงร้อยละ 1.1 และเอ็มพีไอลดลงร้อยละ 0.5-1 และคิดว่าจีดีพีทั้งปีจะอยู่ที่ 2-3% และภาคการลงทุนของภาคเอกชนตลอดทั้งปีจะหายไป 5% หรือมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1901
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 80

โพสต์

เอกชนวอนไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลอย่าทำอีก!

สรรพสามิตเล็งปิดโครงการรถยนต์คันแรก คาดว่ายอดจองค้างไม่ใช้สิทธิ์ 100,000 คัน จากจำนวนรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1.25 ล้านคัน วอนบริษัทรถยนต์เร่งรัดผู้ซื้อที่ร่วมโครงการมารับรถยนต์ หากไม่มารับรถ จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากโครงการทันที ด้าน ส.อ.ท.วอนรัฐบาลไม่ว่าชุดใดอย่าใช้โครงการนี้หาเสียงอีก เหตุทำให้ตลาดรถยนต์ในไทยเพี้ยน

นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรกกว่า 120,000 คัน จากจำนวนทั้งหมด 1,259,082 คัน ที่เป็นยอดจองรถยนต์และมีเอกสารครบถ้วนแล้ว โดยผู้มีสิทธิ์ได้ยื่นความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการรถยนต์คันแรก แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มารับรถยนต์อาจจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากโครงการ แม้ว่ารายละเอียดของโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะไม่ได้กำหนดวันหมดอายุของการรับรถยนต์ก็ตาม “ปัจจุบันมีประชาชนที่เข้าร่วมโครงการรถยนต์คันแรกและได้ใช้สิทธิ์ โดยแบ่งออกเป็นได้รับรถยนต์ไปแล้ว 1,125,627 คัน ยังคงเหลือผู้ที่ยังไม่มารับรถยนต์ 120,622 คัน ทำให้เกิดยอดคงค้างที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีคนมาใช้สิทธิ์หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ กรมสรรพสามิตได้หารือกับผู้ประกอบการรถยนต์ โดยจะเปิดโอกาสให้บริษัทรถยนต์ติดต่อสอบถามกับลูกค้าที่ถือใบจองเข้าร่วมโครงการว่า ยังมีความต้องการเข้าร่วมโครงการอีกหรือไม่ หากไม่เข้าร่วมโครงการก็จะตัดสิทธิ์ทันที”

ส่วนกรณีที่มีความประสงค์จะร่วมโครงการต่อไป แต่ไม่ยอมมารับรถยนต์จะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ตนได้หารือกับผู้ประกอบการว่า ควรผ่อนผันเรื่องระยะเวลา แต่ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะรับรถยนต์ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งประเด็นนี้ในใบจองของรถยนต์บางยี่ห้อบางรุ่น ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะรับรถได้ภายในกี่เดือน นับจากวันที่จองรถยนต์ แต่ก็ยอมรับว่ามีใบจองอยู่จำนวนหนึ่งไม่ได้ระบุระยะเวลารับรถยนต์ที่ชัดเจน ซึ่งประเด็นนี้ บริษัทรถยนต์ได้รับปากจะไปหารือกับลูกค้าเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตมีความต้องการที่จะปิดโครงการดังกล่าว หลังจากได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่เดือน ต.ค.54 และได้ขยายระยะเวลาเข้าร่วมโครงการจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.55 เนื่องจากในช่วงปลายปี 54 ประเทศไทยประสบกับภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้ประชาชนชะลอเข้าร่วมโครงการ ขณะที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนหลายรายประสบปัญหาน้ำท่วมโรงงานจนไม่สามารถเปิดไลน์การผลิตได้

นายสมชายยังกล่าวว่า หากประเมินจากตัวเลขยอดรถยนต์คงค้าง 120,622 คัน มั่นใจว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิเพิ่มอีกประมาณ 20,000 คัน ทำให้ยอดคงค้างที่จองรถยนต์ไว้แต่ไม่มารับรถยนต์มีเหลืออยู่ประมาณ 100,000 คัน หรือไม่ถึง 10% จากยอดจองรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจึงไม่น่ามีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

สำหรับการคืนเงินภาษีสรรพสามิตจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการนั้น ล่าสุดมีผู้ได้รับเงินไปแล้ว 845,983 ราย คิดเป็นเงิน 60,377 ล้านบาท โดยได้เบิกจ่ายเงินไปทั้งหมด 28 ครั้ง ทุกๆวันที่ 9 ของเดือน ส่วนเงื่อนไขที่สำคัญของโครงการรถยนต์คันแรกคือ ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกต้องมีอายุ 21 ปีขึ้นไป โดยเป็นรถยนต์ใหม่อัตรากำลังไม่เกิน 1,500 ซีซี ส่วนรถกระบะไม่กำหนดซีซี มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ห้ามเปลี่ยนมือภายใน 5 ปี และกำหนดระยะเวลาของมาตรการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.54 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.55

ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒน์พงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จำนวนของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการรถยนต์คันแรก ที่ล่าสุดมาขอรับรถยนต์จากผู้ผลิตรถยนต์ไปแล้วรวม 1.13 ล้านคัน และมียอดตกค้างราว 100,000 คัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ค่ายรถยนต์ได้แจ้งให้ทราบว่า ขอยุติการเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐแล้ว รวมทั้งผู้ที่ถือใบจอง บางรายแจ้งยืนยันว่า ขอทิ้งใบจองและทิ้งเงินมัดจำ และบางรายแจ้งว่าได้ซื้อรถยนต์รุ่นอื่นและยี่ห้อใหม่แล้ว เพราะมีแคมเปญตอบแทนผลประโยชน์มากกว่าโครงการรถคันแรก ทำให้ไม่มีปัญหาการฟ้องร้องของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ภาคเอกชนขอวิงวอนว่า ไม่ว่ารัฐบาลใหม่จะเป็นพรรคการเมืองใด หรือในการหาเสียงเลือกตั้งในอนาคต ขออย่าให้พรรคการเมืองนำโครงการดังกล่าว มาใช้หาเสียงอีกเพื่อหวังคะแนนเสียงจากประชาชน เพราะผลที่เกิดขึ้นแม้กระทรวงการคลังจะสามารถจัดสรรงบประมาณมาจ่ายคืนภาษีรถยนต์ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการได้ แต่ในข้อเท็จ จริงปรากฏว่า โครงการนี้ทำให้แผนการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยผิดเพี้ยนไปจากปกติ เพราะก่อนหน้านี้ค่ายรถยนต์ก็เร่งกำลังการผลิตรถยนต์คนแรกเพื่อส่งมอบให้เอเย่นต์หรือผู้แทนจำหน่าย แต่เมื่อมีการทิ้งใบจอง ได้ทำให้รถยนต์ในโครงการ 130,000 คัน ไปตกค้างในสต๊อกที่โชว์รูมรถยนต์ และบางโชว์รูมต้องเสียค่าเช่าที่จอดรถยนต์เพิ่มขึ้น และเสียดอกเบี้ยให้ไฟแนนซ์ ทำให้ค่ายรถยนต์ต้องเปลี่ยนแผนเพื่อหันไปผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ค่ายรถยนต์ในประเทศได้เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ สามารถผลิตรถยนต์เพื่อส่งมอบให้โชว์รูมทั่วประเทศได้รวม 100,000 คัน โดยในจำนวนนี้มาจากยอดใบจองจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โปในช่วงเวลาดังกล่าว 41,000 คัน.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ

http://www.thairath.co.th/content/eco/402742
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 81

โพสต์

Excess Supply จากโครงการรถยนต์คันแรก 120,000 คันโดยประมาณ
คิดเป็นประมาณ 10% ของยอดใบจองทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ
แล้ว 120,000 คันดังกล่าวไปอยู่ที่ไหน
1. ยังไม่ผลิต
2. ผลิตแล้วแต่ยังจอดค้างคาไว้ที่ใดที่หนึ่ง
3. ขายไปแล้ว
4. ส่งออกไปแล้ว

ดังนั้น ต้องคิดตามว่า Excess Supply จำนวนนี้ ระยะเวลาที่ให้ตลาดกลับไปสู่ภาวะปกติ
ตอนแรกที่โครงการนี้มีปัญหาคือประมาณ 2-3 ปี
และตลาดรถยนต์กว่าจะ boom ได้อีกก็อีก 5-7 ปี หลังจากที่เจ้าของรถยนต์ออกจากโครงการรถยนต์คันแรก ที่บอกว่าห้ามเปลี่ยนมือภายในระยะเวลา 5 ปี

ผลที่ตามมาอีกคือ สินเชื่อที่โตก้าวกระโดดในช่วงปี 2554-2556(สามเดือนแรก) ในส่วนของรถยนต์ ในปี 2557 จะโดยดิสเบรกหัวทิ่มเลย เพราะรถยนต์ใน Sector ที่ไม่เกิน 1500 cc จะลดลงอย่างชัดเจน
ซึ่งในปี 2557 เป็นปีที่ค่ายรถยนต์จะ เปลี่ยน model หลายรุ่นเลย เช่น CITY ,VIOS,ALMERA พวกนี้เปลี่ยน Major หรือ minor กันเป็นทิวแถวเลย
ดังนั้น ต้องรอดูตัวเลขอีกรอบว่า การขายรถยนต์นั้น จะเข้าสู่ภาวะปกติหรือยัง
:)
:)
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ตลาดรถส่ออาการสาหัส! ม.ค.ขาย 6 หมื่นคันในรอบ4ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กุมภาพันธ์ 2557 11:29 น.

ข่าวในประเทศ - เปิดตลาดรถยนต์ปีม้าคะนองศึก ส่งสัญญาณอาการสาหัส เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ยอดขายรถของค่ายญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม ดิ่งเหวเหลือระดับกว่า 6 หมื่นคัน หรือเทียบกับปีที่แล้วลดลง 46% เก๋งขนาดเล็กร่วงมากสุดเกือบ 60% จากผลพวงรถคันแรก เศรษฐกิจชะลอตัว และการเมือง

ตลาดรถส่ออาการสาหัส! ม.ค.ขาย 6 หมื่นคันในรอบ4ปี
รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ญี่ปุ่น(JCC) และสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของกลุ่มฯ ในเดือนมกราคมของปี 2557 ค่อนข้างลดลงมากกว่าที่คาดไว้มาก โดยมียอดขายเพียง 67,395 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ขายได้มากกว่า 124,000 คัน หรือลดลงถึง 45.9% แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากฐานตัวเลขยอดขายช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เติบโตแบบผิดปกติจากการส่งมอบรถในโครงการรถคันแรก แต่หากเทียบกับแต่ละเดือนในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ซึ่งตลาดเริ่มปรับตัวลดลงจากผลกระทบของนโยบายดังกล่าว ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดด้วย

“นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่ยอดขายเดือนมกราคม ลดลงอยู่ในระดับกว่า 60,000 คัน นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา นั่นทำให้ต้องจับตาตลาดรถยนต์ในปีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยกระทบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นว่ามีคนเดินเข้าโชว์รูมน้อยลงชัดเจน นอกจากนี้ยังมีกำลังซื้อล่วงหน้าที่ถูกดึงไป จากโครงการรถคันแรกอยู่อีกส่วน”

ทั้งนี้กลุ่มรถยนต์ที่ยอดขายลดลงมากสุด ยังเป็นกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กและคอมแพ็กต์ เพราะค่อนข้างอ่อนไหวต่อปัญหาต่างๆ รวมถึงจากผลของการแข่งขันจัดแคมเปญดุเดือดในปีที่ผ่านมา เป็นอีกตัวที่ดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบ้างเช่นกัน โดยรถยนต์นั่งหรือเก๋งขนาดเล็ก กลุ่มรถซับคอมแพ็กต์(บี-คาร์) และอีโคคาร์ มียอดขายเพียง 18,655 คัน ลดลง 58.8% จากช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มียอดขายมากถึงกว่า 45,000 คัน เช่นเดียวกับตลาดรถเก๋งคอมแพ็กต์(ซี-คาร์) หรือขนาด 1,600-2,000 ซีซี ซึ่งมียอดขาย 5,083 คัน ลดลง 51.5%


ในส่วนปิกอัพตลาดหลักของไทย มียอดขายลดลงเกือบหมื่นคัน ด้วยจำนวนที่ขายไปทั้งหมด 30,082 คัน หรือลดลง 38.8% โดยกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์แบบเอ็มพีวี เป็นตลาดที่ลดลงน้อยสุด 1.1% เพราะเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก เดือนมกราคมมีเพียงกว่า 700 คันเท่านั้น ขณะที่ตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีและพีพีวีลดลง 21.3% ซึ่งเทียบกับตลาดหลักอื่นๆ ถือว่าน้อยกว่า เพราะมีรถรุ่นใหม่ๆ เปิดตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นมาสด้า ซีเอ็กซ์-5, นิสสัน จู๊ค และอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เป็นต้น

สำหรับกลุ่มรถหรูหรา หรือรถจากยุโรป ไม่ได้ร่วมแจ้งการขายกับกลุ่มเจซีซีและสหรัฐอเมริกา แต่จะไม่ทำให้ตลาดรถยนต์เปลี่ยนแปลงชัดเจนนัก เพราะมียอดขายเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 คันเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรถในไทยเริ่มกังวล หากปัญหาการเมืองไม่คลี่คลายโดยเร็ว จะส่งผลซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ชะลอตัวยาว และกระทบต่อตลาดรถยนต์ไทยแน่นอน เพราะเบื้องต้นค่ายรถประเมินไว้ ปีนี้ยอดขายรถน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,200,000 คัน หรือเฉลี่ยเดือน 100,000 คัน แม้ปกติยอดขายมกราคมจะน้อยกว่าทุกๆ เดือนของแต่ละปี ถึงอย่างนั้นไม่น่าจะลงมาต่ำกว่า 80,000 คัน อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลาย ในช่วงไตรมาสสองเป็นต้นไป

http://manager.co.th/lite/ViewNews.aspx ... 0000016221
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
waz
Verified User
โพสต์: 751
ผู้ติดตาม: 0

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 83

โพสต์

สงสัยผมมองโลกในแง่ดี ยังขายได้ตั้ง 6 หมื่นกว่าคันนะนี่
นึกว่าคนจะซื้อรถคันแรกกันไปหมดแล้ว หรือว่ามันเหลือยอดค้างมาจากปีที่แล้วกันครับ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 84

โพสต์

waz เขียน:สงสัยผมมองโลกในแง่ดี ยังขายได้ตั้ง 6 หมื่นกว่าคันนะนี่
นึกว่าคนจะซื้อรถคันแรกกันไปหมดแล้ว หรือว่ามันเหลือยอดค้างมาจากปีที่แล้วกันครับ
ยอดขาย 67 พันคัน
มันตำกว่ายอดขายเดือน ม.ค. 2554 ซึ่งเดือน ม.ค.2554 ยอดขายอยู่ที่ 68 พันคัน เป็นยอดขายรถยนต์ก่อนน้ำท่วมใหญ่เสียด้วยละครับ
ข้อมูลจาก www.toyota.co.th ครับ
:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 85

โพสต์

เดี๋ยวหาว่าไม่มีที่อ้างอิง เอารูปไปดูละกันว่า
นั้นคือตลาดยังชะลอตัวอยู่ ต้องรออีก 1 ปีคือ 2557 คือกลับไปยังปี 2554 อีกรอบ
แล้วค่อยรู้ว่า ตลาดรถยนต์อยู่ในภาวะสิ้นสุดการถดถอยหรือยัง
หากไม่เกิดอะไรแทรกซ้อนอีก
รูปภาพ
:)
jokerz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1739
ผู้ติดตาม: 21

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ผู้จัดงานมอเตอร์โชว์ 2014 ยอมรับการเมืองกระทบอารมณ์ผู้ซื้อรถ เชื่อปีนี้มียอดขายสูง 37,000-38,000 คัน

นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะรองประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 35 หรือมอเตอร์โชว์ 2014 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Beauty in the Drive” ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2557 อิมแพค เมืองทองธานี กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมายอมรับว่ามีผลกระทบต่ออารมณ์การจับจ่ายของประชาชน

อย่างไรก็ตาม จะยังคงมียอดขายภายในงานรวม 37,000-38,000 คัน ในจำนวนนี้เกินกว่าครึ่งจะเป็นการจำหน่ายรถยนต์ระดับกลางถึงไฮเอ็น ขณะที่ปีที่ผ่านมา มียอดขาย 48,023 คัน ซึ่งไม่มีปัจจัยด้านโครงการอีโคคาร์ อีกทั้งเป็นแรงกระตุ้นจากการออกรถยนต์รุ่นใหม่ ขณะที่ตลาดรถอีโคคาร์ที่มีราคาจำหน่าย 300,000-600,000 บาท ถือว่าอิ่มตัวแล้ว แต่เชื่อว่าจะมียอดจองและสั่งซื้อตามสภาพเศรษฐกิจ สำหรับยอดจำหน่ายรถระดับนี้ถือเป็นการเติบโตกลับคืนสู่ภาวะปกติของตลาดรถยนต์ไทย ส่วนช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ยอดจองรถยนต์ในงานสูงถึง 50,000 คัน เพราะนโยบายรถยนต์คันแรกของอีโคคาร์

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตลาดรถยนต์ประเทศไทยปีนี้จะได้รับแรงกระตุ้นจากการจัดงานโชว์รถยนต์และส่งเสริมการขายทุกค่ายอย่างไม่เคยมีการก่อน ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด จึงเชื่อว่าตลอดปีนี้ยอดขายรถยนต์ในประเทศภาพรวมจะอยู่ที่ 1.2 ล้านคัน จากยอดผลิตรวมที่คาดว่าจะผลิตได้ 2.5 ล้านคัน สอดคล้องกับความเห็นของกลุ่มยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) สำหรับสิ่งที่หวั่นเกรงคือ หากมีกระแสความไม่เชื่อมั่นต่าง ๆ ต่อเศรษฐกิจไทยที่จะแพร่ออกไปจากสื่อมวลชน อาจเกิดขึ้นได้ก็จะกระทบยอดขายรถยนต์

สำหรับผลการวิจัยพฤติกรรมผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ในการตัดสินใจซื้อสินค้ารถยนต์และที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2540-2557 หรือย้อนหลัง 17 ปี พบว่าผู้สำเร็จการศึกษาใหม่และมีงานทำมากถึงร้อยละ 95 มีความต้องการซื้อรถยนต์มากกว่าบ้าน สาเหตุหลัก คือ ระบบขนส่งมวลชนในไทยยังแย่ ประกอบกับอากาศประเทศไทยร้อน

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ่นคัน.html
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 87

โพสต์

ปัญหาเรื่อง Stock รถยนต์บวม จากโครงการรถยนต์คันแรกมันจบหรือยังครับ
เพราะ เห็น อัดโปรโมทชั่น 0% แถมประกันภัยชั้น 1 อยู่เลย

:)
:)
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 88

โพสต์

รายงานข่าวจากสมาคมหอการค้าญี่ปุ่น หรือเจโท เปิดเผยถึงยอดขายรถยนต์เฉพาะแบรนด์ญี่ปุ่นประจำเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า มียอดขายทั้งสิ้น 71,421 คัน แบ่งเป็นรายยี่ห้อพบว่า โตโยต้า มียอดขายสูงสุด 27,323 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 38.3%

อันดับ 2 ได้แก่ อีซูซุ 13,416 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 18.8% อันดับ 3 ฮอนด้า 7,469 คันมีส่วนแบ่งตลาด 10.5% อันดับ 4 มิตซูบิชิจำนวน 5,602 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 7.8% อันดับ 5 นิสสัน 5,111 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 7.2%

อันดับ 6 ฟอร์ด 3,100 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 4.3% อันดับ 7 มาสด้า 2,418 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 3.4% อันดับ 8 เชฟโรเลต 2,200 คันมีส่วนแบ่งรตลาดที่ 3.1% อันดับ 9 ซูซูกิ 1,782 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 2.5% และอื่น ๆ 3,000 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 4.2%

เป็นที่น่าสังเกตว่ารถยนต์กลุ่มที่ขายดีสุด กลับเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ แทนที่จะเป็นเก๋งเล็ก หรืออีโคคาร์เหมือนที่ผ่านมา

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0800
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 89

โพสต์

“สรรพสามิต” จ่ายคืนรถยนต์คันแรกแล้ว 885,557 ราย คิดเป็นวงเงิน 63,359 ล้านบาท
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มีนาคม 2557 09:26 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
“สรรพสามิต” จ่ายคืนรถยนต์คันแรกแล้ว 885,557 ราย คิดเป็นวงเงิน 63,359 ล้านบาท


“สรรพสามิต” เผยได้จ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิในโครงการรถยนต์คันแรกแล้ว 885,557 ราย คิดเป็นวงเงิน 63,359 ล้านบาท จากยอดผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1.25 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 92,178 ล้านบาท ส่งผลให้ยังมีผู้ที่ได้สิทธิเหลือ อยู่ที่ 360,190 ราย คิดเป็นวงเงิน 27,897 ล้านบาท และมี 1.2 แสนราย ที่ไม่มาใช้สิทธิ ย้ำสาเหตุที่จ่ายเงินคืนล่าช้า เพราะได้รับผลกระทบทางการเมือง ลั่นได้รับครบทุกราย

นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงกรณีผู้ที่ได้รับสิทธิในโครงการรถคันแรกแต่ได้รับเงินคืนล่าช้าหลังถือครองครบ 1 ปี โดยระบุว่า ขณะนี้กรมสรรพสามิต ได้ดำเนินการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิในโครงการตามขั้นตอนปกติ โดยยอมรับว่าอาจจะล่าช้าไปบ้างในบางพื้นที่ เนื่องจากกรมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองจากการปิดสถานที่ทำงาน ส่งผลให้ข้อมูลที่อยู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้รับปัญหาพอสมควร แต่ยืนยันว่าผู้ที่ได้รับสิทธิทุกรายจะได้รับเงินคืนอย่างแน่นอน

นายสมชาย ระบุว่า กรมได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น เนื่องจากถูกปิดสถานที่ทำงาน ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลของผู้ที่ได้รับสิทธิในโครงการรถคันแรกอาจตกหล่น หรือล่าช้าไปบ้าง โดยอยากขอโทษผู้ที่ได้รับสิทธิ และยังไม่ได้รับเงินในโครงการนี้ แต่ยืนยันว่าโครงการนี้มีมติ ครม.มารองรับ และงบประมาณเพียงพอที่สามารถจะจ่ายเงินให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้ทุกราย

โดยเบื้องต้นยอดรวมจากข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต ได้จ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิในโครงการรถยนต์คันแรกแล้ว อยู่ที่ 885,557 ราย คิดเป็นวงเงิน 63,359 ล้านบาท จากยอดผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1.25 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 92,178 ล้านบาท ส่งผลให้ยังมีผู้ที่ได้สิทธิเหลือ อยู่ที่ 360,190 ราย คิดเป็นวงเงิน 27,897 ล้านบาท

“การจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิ ในปี 2558 คาดว่าจะเป็นปีสุดท้าย แม้ว่าเดิมมาตรการนี้ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเวลารับรถภายในเมื่อไรก็ตาม เพราะตอนนี้มีผู้ที่ยังไม่มาใช้สิทธิรถคันแรก 120,000 ราย และคาดว่าจะเป็นผู้สละสิทธิเกือบทั้งหมด จึงได้ประสานกับผู้ประกอบการรถยนต์ให้ดำเนินการเร่งผู้ซื้อรถมารับรถยนต์ภายในเวลาที่กำหนด หากไม่มาก็ถือว่าสละสิทธิ ซึ่งกรมเตรียมเสนอขอเงินจากงบประมาณปี 2558 ที่อยู่ระหว่างการจัดทำอีก 25,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ที่ใช้สิทธิรถคันแรก”

ทั้งนี้ การที่กรมฯ ของบประมาณปี 2558 ได้รวมยอดของรถที่ไม่มาใช้สิทธิ 120,000 รายไว้ด้วย หากผู้ที่ได้สิทธิกลุ่มนี้สละสิทธิทั้งหมด ก็จะทำให้ประหยัดเงินงบประมาณไป 10,000 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ใช้สิทธิโครงการรถคันแรก มีผู้ได้เงิน และถือครองรถยนต์ไม่ถึง 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ประมาณ 400-500 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ได้คืนเงินที่ได้รับไปให้แก่กรม แต่มีอยู่ 4-5 รายเท่านั้น ที่กระทรวงการคลัง ต้องดำเนินการฟ้องเรียกเงินคืน


http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNe ... 0000028113
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: สถานการณ์รถยนต์

โพสต์ที่ 90

โพสต์

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติตลาดรถยนต์เดือนก.พ.ขาย 71,680ลดลง 44.8%

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนก.พ. 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 71,680 คัน ลดลง 44.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,066 คัน ลดลง 54.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 42,614 คัน ลดลง 35.9% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 35,142 คัน ลดลง 35.6%

ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์เดือนก.พ.2557 มีปริมาณการขาย 71,680 คัน ลดลง 44.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 54.2% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 35.9% ส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังจากในช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาตลาดรถยนต์มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก ประกอบกับการชะลอตัวของภาคการบริโภค และการลงทุน

ตลาดรถยนต์สะสม 2 เดือน มีปริมาณการขาย 140,188 คัน ลดลง 45.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 55.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 36.0% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

ตลาดรถยนต์ในเดือนมี.ค. แนวโน้มเติบโต จากดัชนีการขายตามฤดูกาลชี้ว่าตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมจะมียอดขายสูงสุดในไตรมาสแรก ประกอบกับการส่งมอบรถยนต์รุ่นใหม่ๆที่เปิดตัวตั้งแต่ช่วงต้นปี ตลอดจนการจัดงานมอเตอร์โชว์ในช่วงปลายเดือน จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเมืองยังคงส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่อาจมีผลต่อตลาดรถยนต์

ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนก.พ. 2557 ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 71,680 คัน ลดลง 44.8%

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... -44.8.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.