ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1373596808

updated: 12 ก.ค. 2556 เวลา 09:44:01 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หลายคนมีความสงสัยว่า บ้านเราที่เดือดร้อนเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจาก 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแข็งสุดสุด เมื่อปลายเดือนเมษายนอยู่ที่ 27.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สร้างความตระหนกและความเสียหายกับผู้ส่งออก จนเป็นเหตุให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทุกตัวของเรา เช่น การส่งออก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ พลาดหมดทุกตัว จนเป็นเหตุให้ทางการยอมรับและลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25

หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็อ่อนตัว ดัชนีราคาหุ้นก็ตกลงเรื่อยๆ จากกว่า 1,620 จุด ลงมาต่ำกว่า 1,400 จุด ราคาพันธบัตรในตลาดลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์

สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เกิดจากนโยบายลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ของเรา แต่เป็นเพราะการคาดการณ์ในตลาดการเงินของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ถ้าหากจำได้ สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนนโยบายจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลแล้วออกพันธบัตรกู้ยืมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ธนาคารกลางของสหรัฐเปลี่ยนนโยบายโดยการเพิ่มปริมาณ อย่างที่ภาษาเศรษฐกิจเรียกว่า open market operationŽ แต่ ดร.เบอร์นันเก้ เรียกเสียใหม่อย่างโก้ว่า คิวอีŽ หรือ quantitative easingŽ แปลว่านโยบายผ่อนคลายทางปริมาณ (เงิน) กล่าวคือพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด ปริมาณเงินในตลาดก็เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเงินที่นำออกมาซื้อพันธบัตร

เมื่อปริมาณเงินมากขึ้น ดอกเบี้ยระยะยาวก็ลดลง เพราะราคาพันธบัตร ราคาหุ้นและสินทรัพย์ทางการเงินต่างทยอยกันขึ้นราคา เพราะมีเงินมากขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนต่างก็พากันกู้เงินดอลลาร์ เข้ามาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ายุโรป

การที่เงินดอลลาร์หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดทุนในประเทศเอเชีย จึงทำให้ตลาดทุนในเอเชียต่างคึกคัก ดัชนีตลาดทุนก็ดี ราคาพันธบัตรก็ดี รวมทั้งค่าเงินก็ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่นานค่าเงินและราคาสินทรัพย์เหล่านี้ก็มีราคาเกินความจริงของพื้นฐานไป จนกระทบต่อการส่งออก การลงทุน

เมื่อ ดร.เบอร์นันเก้ทำท่าว่าจะหยุดหรือลดการเพิ่มประมาณเงินตามโครงการคิวอี นักลงทุนเก็งกำไรก็คาดว่าดอกเบี้ยในอเมริกาคงจะขึ้น ราคาของพันธบัตร ราคาหุ้นในอเมริกาน่าจะลดลง

เมื่อมีการคาดการณ์อย่างนั้น ประกอบกับราคาสินทรัพย์ทางการเงินในเอเชียมีราคาสูงกว่าความเป็นจริงไปแล้วหรือไม่ก็กำไรพอแล้ว ก็ทำการขายสินทรัพย์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรีบเอาเงินดอลลาร์กลับคืนไปใช้หนี้ ก่อนที่ดอกเบี้ยในสหรัฐจะถีบตัวสูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ในภูมิภาคเอเชียจึงดำดิ่งลง ประกอบกับข่าวที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว การว่างงานจะเริ่มลดลง ค่าเงินดอลลาร์ในภูมิภาคเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งเงินบาทจึงอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ราคาหุ้น ราคาพันธบัตรตลาดกลางต่างๆ จึงลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาทรัพย์สินทางการเงินจะเหมือนจังหวะการบรรเลงดนตรีไทย ที่เวลาขึ้นขึ้นช้าเหมือนขึ้นบันไดเลื่อน แต่เวลาลงจะลงเร็วเหมือนลงลิฟต์ เราจึงเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์นี้ทั้งภูมิภาค

เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นอีก เมื่อนายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศหยุดคิวอีที่ญี่ปุ่น เงินญี่ปุ่นที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทะยานแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่อยากให้เงินเยนอ่อนเกินเป้าหมายที่ 100 เยนต่อดอลลาร์ เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเกิน 2 เปอร์เซ็นต์

คงต้องคอยดูว่า คิวอียุโรป และอังกฤษจะเอาอย่างไร เมื่อธนาคารกลางสหรัฐใช้ลมปากหยุดหรือชะลอคิวอีเพื่อทดสอบตลาด

เหตุการณ์ที่อเมริกาเขย่าการเงินของโลก ทำให้นึกถึงวันที่ 4 มกราคม 2537 ตอนนั้น ดร.อลัน กรีนสแปน ประกาศทยอยขึ้นดอกเบี้ยเท่าตัวภายในเวลา 12 เดือน เกิดความปั่นป่วนไปทั่วโลก เพราะเงินดอลลาร์ไหลกลับอเมริกา กองทุนต่างๆ ทยอยขายหุ้นทั่วโลก รวมทั้งเอเชียและประเทศไทยด้วย ดัชนีราคาหุ้นอยู่ที่ 1,750 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เหมือนๆ กับเที่ยวนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,620 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเหมือนกัน ฝรั่งก็เทขายพันธบัตรและหุ้นในตลาดเหมือนกัน

หลังจากเดือนมกราคม 2537 ดอลลาร์ก็ทยอยไหลออกจากประเทศไทย แต่ประเทศไทยขณะนั้นตรึงค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน ไม่ยอมลดค่าเงินลงหรือไม่ยอมให้ดอลลาร์แพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท ประกอบกับประเทศไทยยังขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ จนถูกโจมตีครั้งแรกตอนวันคริสต์มาสปลายปี 2539 ต่อมาวันวาเลนไทน์และวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 แล้วก็เกิดต้มยำกุ้ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างที่ทราบกัน

แต่คราวนี้คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราได้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตรึงค่า มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงทันทีเมื่อเงินไหลออก สัดส่วนของเงินกู้ระยะสั้นเมื่อเทียบกับทุนสำรองยังอยู่ในอัตราต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศของเราก็เป็นของเราจริงๆ ไม่ใช่กู้มาเป็นทุนสำรอง ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังพอควบคุมได้

สัดส่วนหนี้สินต่อทุนหรือ debt:equity ratio ก็ยังต่ำ เท่าที่ทราบมีเพียง 0.6 กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องในบริษัทจดทะเบียนก็ยังสูง กล่าวคือ 1 ใน 3 ของเงินหมุนเวียน ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขณะนี้ยังดีอยู่ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาพันธบัตรตกลงมาสู่ระดับที่เหมาะสมกับพื้นฐาน ค่าเงินบาทอ่อนลง การส่งออกและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมคงจะดำรงอยู่ได้

ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นทันที ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้นตัวอย่างที่บริษัทเอส แอนด์ พี และมูดี้ส์ ปรับระดับความน่าเชื่อถือให้อเมริกา อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าถ้าสามารถพบและเจาะก๊าซ เจาะน้ำมัน จากใต้ชั้นหินระดับลึกขึ้นมาได้

หาก ดร.เบอร์นันเก้ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 เหตุการณ์ก็คงค่อยๆ ปรับเข้าสู่ดุลยภาพหรือภาวะปกติ แต่ถ้าธนาคารกลางสหรัฐไม่ชะลอหรือหยุดคิวอี 3 สถานการณ์คงจะปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 ตามที่ได้โยนหินถามทางไว้

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินของเราจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดและต้องเตรียมการกัน อย่าให้ผิดพลาดอย่างปี 2540 อีก

เวลายักษ์ใหญ่พลิกตัว เราก็เดือดร้อนกันทุกที
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

dollar carry trade แค่ น้ำจิ้ม ครับ Hard landing สิครับ ของจริง

GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

consumption=การบริโภคภายในประเทศ เครื่องยนต์ตัวที่1

Investment=การลงทุนในภาคเอกชน เครื่องยนต์ตัวที่2

goverment spending=การลงทุนของภาครัฐบาล เครื่องยนต์ตัวที่3

export-import=การส่งออก-การนำเข้า เครื่องยนต์ตัวที่4


ตอนนี้เครื่องยนต์ที่1 ดับ เครื่องที่2 กำลังจะเริ่มดับ ภาคเอกชนชะลอการลงทุน

เครื่องตัวที่4 ดับไปแล้วแต่ก้ไม่รู้จะฟื้นไหม

้เครื่องตัวที่3 กำลังฟ้องร้องกันอยู่ ซึ่งเงินตรงนี้ ก้ไหลเข้าสู่ระบบไม่ทันปีนี้อยู่แล้ว

เกาะแน่นๆ นะครับ เรากำลังจะโหม่งโลกจากระดับความสูงที่ 40000 ฟุต

ขอพระเจ้าคุ้มครอง เอเมน
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอให้พระเจ้าคุ้มครองทุกท่านครับ ก้ได้แต่หวังว่า เครื่องจะลงนิ่มๆ

เครื่องตัวที่1 ดับ การบริโภคในประเทศจะเริ่มน้อยลง การกินใช้จะน้อยลง

เครื่องตัวที่2 ชลอ การลงทุนภาคเอกชนลดลง การจ้างงานใหม่จะน้อยลง คนจบใหม่จะเริ่ม

เข้าสู่ภาวะ คนตกงาน ถ้าชลอมาก ก้จะเริ่มปลดคนงานที่มีอยู่เก่าด้วย

เครื่องตัวที่3 ความหวังสุดท้าย ของประชาชนคนไทย

เครื่องตัวที่4 export ถ้าฟื้นก้มีลุ้น การผลิตก้ยังผลิตได้ คนก้ีมีงานทำ มีเงินมาผ่อนจ่ายหนี้

ถ้าเครื่องตัว3 และ4 ยังไม่ดับ

เราก้ยังบินเหนือระดับ 40000ฟุต แต่ถ้าดับคู่ เราจะโหม่งโลกด้วยความเร็ว 250Km/Hr

และเข้าสู่ DBD แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
แนบไฟล์
2673622vw7.jpg

ภาพประจำตัวสมาชิก
BEN 10
Verified User
โพสต์: 518
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

dome@perth เขียน:ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1373596808

updated: 12 ก.ค. 2556 เวลา 09:44:01 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หลายคนมีความสงสัยว่า บ้านเราที่เดือดร้อนเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจาก 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแข็งสุดสุด เมื่อปลายเดือนเมษายนอยู่ที่ 27.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สร้างความตระหนกและความเสียหายกับผู้ส่งออก จนเป็นเหตุให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทุกตัวของเรา เช่น การส่งออก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ พลาดหมดทุกตัว จนเป็นเหตุให้ทางการยอมรับและลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25

หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็อ่อนตัว ดัชนีราคาหุ้นก็ตกลงเรื่อยๆ จากกว่า 1,620 จุด ลงมาต่ำกว่า 1,400 จุด ราคาพันธบัตรในตลาดลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์

สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เกิดจากนโยบายลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ของเรา แต่เป็นเพราะการคาดการณ์ในตลาดการเงินของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ถ้าหากจำได้ สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนนโยบายจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลแล้วออกพันธบัตรกู้ยืมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ธนาคารกลางของสหรัฐเปลี่ยนนโยบายโดยการเพิ่มปริมาณ อย่างที่ภาษาเศรษฐกิจเรียกว่า open market operationŽ แต่ ดร.เบอร์นันเก้ เรียกเสียใหม่อย่างโก้ว่า คิวอีŽ หรือ quantitative easingŽ แปลว่านโยบายผ่อนคลายทางปริมาณ (เงิน) กล่าวคือพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด ปริมาณเงินในตลาดก็เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเงินที่นำออกมาซื้อพันธบัตร

เมื่อปริมาณเงินมากขึ้น ดอกเบี้ยระยะยาวก็ลดลง เพราะราคาพันธบัตร ราคาหุ้นและสินทรัพย์ทางการเงินต่างทยอยกันขึ้นราคา เพราะมีเงินมากขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนต่างก็พากันกู้เงินดอลลาร์ เข้ามาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ายุโรป

การที่เงินดอลลาร์หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดทุนในประเทศเอเชีย จึงทำให้ตลาดทุนในเอเชียต่างคึกคัก ดัชนีตลาดทุนก็ดี ราคาพันธบัตรก็ดี รวมทั้งค่าเงินก็ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่นานค่าเงินและราคาสินทรัพย์เหล่านี้ก็มีราคาเกินความจริงของพื้นฐานไป จนกระทบต่อการส่งออก การลงทุน

เมื่อ ดร.เบอร์นันเก้ทำท่าว่าจะหยุดหรือลดการเพิ่มประมาณเงินตามโครงการคิวอี นักลงทุนเก็งกำไรก็คาดว่าดอกเบี้ยในอเมริกาคงจะขึ้น ราคาของพันธบัตร ราคาหุ้นในอเมริกาน่าจะลดลง

เมื่อมีการคาดการณ์อย่างนั้น ประกอบกับราคาสินทรัพย์ทางการเงินในเอเชียมีราคาสูงกว่าความเป็นจริงไปแล้วหรือไม่ก็กำไรพอแล้ว ก็ทำการขายสินทรัพย์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรีบเอาเงินดอลลาร์กลับคืนไปใช้หนี้ ก่อนที่ดอกเบี้ยในสหรัฐจะถีบตัวสูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ในภูมิภาคเอเชียจึงดำดิ่งลง ประกอบกับข่าวที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว การว่างงานจะเริ่มลดลง ค่าเงินดอลลาร์ในภูมิภาคเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งเงินบาทจึงอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ราคาหุ้น ราคาพันธบัตรตลาดกลางต่างๆ จึงลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาทรัพย์สินทางการเงินจะเหมือนจังหวะการบรรเลงดนตรีไทย ที่เวลาขึ้นขึ้นช้าเหมือนขึ้นบันไดเลื่อน แต่เวลาลงจะลงเร็วเหมือนลงลิฟต์ เราจึงเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์นี้ทั้งภูมิภาค

เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นอีก เมื่อนายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศหยุดคิวอีที่ญี่ปุ่น เงินญี่ปุ่นที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทะยานแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่อยากให้เงินเยนอ่อนเกินเป้าหมายที่ 100 เยนต่อดอลลาร์ เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเกิน 2 เปอร์เซ็นต์

คงต้องคอยดูว่า คิวอียุโรป และอังกฤษจะเอาอย่างไร เมื่อธนาคารกลางสหรัฐใช้ลมปากหยุดหรือชะลอคิวอีเพื่อทดสอบตลาด

เหตุการณ์ที่อเมริกาเขย่าการเงินของโลก ทำให้นึกถึงวันที่ 4 มกราคม 2537 ตอนนั้น ดร.อลัน กรีนสแปน ประกาศทยอยขึ้นดอกเบี้ยเท่าตัวภายในเวลา 12 เดือน เกิดความปั่นป่วนไปทั่วโลก เพราะเงินดอลลาร์ไหลกลับอเมริกา กองทุนต่างๆ ทยอยขายหุ้นทั่วโลก รวมทั้งเอเชียและประเทศไทยด้วย ดัชนีราคาหุ้นอยู่ที่ 1,750 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เหมือนๆ กับเที่ยวนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,620 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเหมือนกัน ฝรั่งก็เทขายพันธบัตรและหุ้นในตลาดเหมือนกัน

หลังจากเดือนมกราคม 2537 ดอลลาร์ก็ทยอยไหลออกจากประเทศไทย แต่ประเทศไทยขณะนั้นตรึงค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน ไม่ยอมลดค่าเงินลงหรือไม่ยอมให้ดอลลาร์แพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท ประกอบกับประเทศไทยยังขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ จนถูกโจมตีครั้งแรกตอนวันคริสต์มาสปลายปี 2539 ต่อมาวันวาเลนไทน์และวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 แล้วก็เกิดต้มยำกุ้ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างที่ทราบกัน

แต่คราวนี้คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราได้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตรึงค่า มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงทันทีเมื่อเงินไหลออก สัดส่วนของเงินกู้ระยะสั้นเมื่อเทียบกับทุนสำรองยังอยู่ในอัตราต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศของเราก็เป็นของเราจริงๆ ไม่ใช่กู้มาเป็นทุนสำรอง ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังพอควบคุมได้

สัดส่วนหนี้สินต่อทุนหรือ debt:equity ratio ก็ยังต่ำ เท่าที่ทราบมีเพียง 0.6 กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องในบริษัทจดทะเบียนก็ยังสูง กล่าวคือ 1 ใน 3 ของเงินหมุนเวียน ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขณะนี้ยังดีอยู่ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาพันธบัตรตกลงมาสู่ระดับที่เหมาะสมกับพื้นฐาน ค่าเงินบาทอ่อนลง การส่งออกและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมคงจะดำรงอยู่ได้

ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นทันที ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้นตัวอย่างที่บริษัทเอส แอนด์ พี และมูดี้ส์ ปรับระดับความน่าเชื่อถือให้อเมริกา อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าถ้าสามารถพบและเจาะก๊าซ เจาะน้ำมัน จากใต้ชั้นหินระดับลึกขึ้นมาได้

หาก ดร.เบอร์นันเก้ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 เหตุการณ์ก็คงค่อยๆ ปรับเข้าสู่ดุลยภาพหรือภาวะปกติ แต่ถ้าธนาคารกลางสหรัฐไม่ชะลอหรือหยุดคิวอี 3 สถานการณ์คงจะปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 ตามที่ได้โยนหินถามทางไว้

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินของเราจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดและต้องเตรียมการกัน อย่าให้ผิดพลาดอย่างปี 2540 อีก

เวลายักษ์ใหญ่พลิกตัว เราก็เดือดร้อนกันทุกที
ก่อนหน้านั้นเห็น ดร. โกร่ง ในฐานนะประธาน ธปท. (ถ้าจำไม่ผิด) และรัฐมนตรีคลัง บีบ ธปท. ให้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตั้งหลายเดือน ถึงกระทั่งเคยให้สัมภาษณ์ว่าคิดจะปลดท่านผู้ว่าวันละหลายเวลา เพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ตอนนี้สรุปคล้ายกะว่าอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไม่เกี่ยวกะค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง มันเป็นผลจาก Fund flow จากต่างประเทศ แล้วก่อนหน้านี้ ไปบีบ ธปท เขาทำไมครับ
CANSLIM APPRENTICE
crt2000th
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 5

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

BEN 10 เขียน:
dome@perth เขียน:ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1373596808

updated: 12 ก.ค. 2556 เวลา 09:44:01 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หลายคนมีความสงสัยว่า บ้านเราที่เดือดร้อนเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจาก 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแข็งสุดสุด เมื่อปลายเดือนเมษายนอยู่ที่ 27.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สร้างความตระหนกและความเสียหายกับผู้ส่งออก จนเป็นเหตุให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทุกตัวของเรา เช่น การส่งออก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ พลาดหมดทุกตัว จนเป็นเหตุให้ทางการยอมรับและลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25

หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็อ่อนตัว ดัชนีราคาหุ้นก็ตกลงเรื่อยๆ จากกว่า 1,620 จุด ลงมาต่ำกว่า 1,400 จุด ราคาพันธบัตรในตลาดลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์

สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เกิดจากนโยบายลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ของเรา แต่เป็นเพราะการคาดการณ์ในตลาดการเงินของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ถ้าหากจำได้ สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนนโยบายจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลแล้วออกพันธบัตรกู้ยืมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ธนาคารกลางของสหรัฐเปลี่ยนนโยบายโดยการเพิ่มปริมาณ อย่างที่ภาษาเศรษฐกิจเรียกว่า open market operationŽ แต่ ดร.เบอร์นันเก้ เรียกเสียใหม่อย่างโก้ว่า คิวอีŽ หรือ quantitative easingŽ แปลว่านโยบายผ่อนคลายทางปริมาณ (เงิน) กล่าวคือพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด ปริมาณเงินในตลาดก็เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเงินที่นำออกมาซื้อพันธบัตร

เมื่อปริมาณเงินมากขึ้น ดอกเบี้ยระยะยาวก็ลดลง เพราะราคาพันธบัตร ราคาหุ้นและสินทรัพย์ทางการเงินต่างทยอยกันขึ้นราคา เพราะมีเงินมากขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนต่างก็พากันกู้เงินดอลลาร์ เข้ามาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ายุโรป

การที่เงินดอลลาร์หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดทุนในประเทศเอเชีย จึงทำให้ตลาดทุนในเอเชียต่างคึกคัก ดัชนีตลาดทุนก็ดี ราคาพันธบัตรก็ดี รวมทั้งค่าเงินก็ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่นานค่าเงินและราคาสินทรัพย์เหล่านี้ก็มีราคาเกินความจริงของพื้นฐานไป จนกระทบต่อการส่งออก การลงทุน

เมื่อ ดร.เบอร์นันเก้ทำท่าว่าจะหยุดหรือลดการเพิ่มประมาณเงินตามโครงการคิวอี นักลงทุนเก็งกำไรก็คาดว่าดอกเบี้ยในอเมริกาคงจะขึ้น ราคาของพันธบัตร ราคาหุ้นในอเมริกาน่าจะลดลง

เมื่อมีการคาดการณ์อย่างนั้น ประกอบกับราคาสินทรัพย์ทางการเงินในเอเชียมีราคาสูงกว่าความเป็นจริงไปแล้วหรือไม่ก็กำไรพอแล้ว ก็ทำการขายสินทรัพย์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรีบเอาเงินดอลลาร์กลับคืนไปใช้หนี้ ก่อนที่ดอกเบี้ยในสหรัฐจะถีบตัวสูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ในภูมิภาคเอเชียจึงดำดิ่งลง ประกอบกับข่าวที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว การว่างงานจะเริ่มลดลง ค่าเงินดอลลาร์ในภูมิภาคเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งเงินบาทจึงอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ราคาหุ้น ราคาพันธบัตรตลาดกลางต่างๆ จึงลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาทรัพย์สินทางการเงินจะเหมือนจังหวะการบรรเลงดนตรีไทย ที่เวลาขึ้นขึ้นช้าเหมือนขึ้นบันไดเลื่อน แต่เวลาลงจะลงเร็วเหมือนลงลิฟต์ เราจึงเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์นี้ทั้งภูมิภาค

เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นอีก เมื่อนายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศหยุดคิวอีที่ญี่ปุ่น เงินญี่ปุ่นที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทะยานแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่อยากให้เงินเยนอ่อนเกินเป้าหมายที่ 100 เยนต่อดอลลาร์ เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเกิน 2 เปอร์เซ็นต์

คงต้องคอยดูว่า คิวอียุโรป และอังกฤษจะเอาอย่างไร เมื่อธนาคารกลางสหรัฐใช้ลมปากหยุดหรือชะลอคิวอีเพื่อทดสอบตลาด

เหตุการณ์ที่อเมริกาเขย่าการเงินของโลก ทำให้นึกถึงวันที่ 4 มกราคม 2537 ตอนนั้น ดร.อลัน กรีนสแปน ประกาศทยอยขึ้นดอกเบี้ยเท่าตัวภายในเวลา 12 เดือน เกิดความปั่นป่วนไปทั่วโลก เพราะเงินดอลลาร์ไหลกลับอเมริกา กองทุนต่างๆ ทยอยขายหุ้นทั่วโลก รวมทั้งเอเชียและประเทศไทยด้วย ดัชนีราคาหุ้นอยู่ที่ 1,750 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เหมือนๆ กับเที่ยวนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,620 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเหมือนกัน ฝรั่งก็เทขายพันธบัตรและหุ้นในตลาดเหมือนกัน

หลังจากเดือนมกราคม 2537 ดอลลาร์ก็ทยอยไหลออกจากประเทศไทย แต่ประเทศไทยขณะนั้นตรึงค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน ไม่ยอมลดค่าเงินลงหรือไม่ยอมให้ดอลลาร์แพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท ประกอบกับประเทศไทยยังขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ จนถูกโจมตีครั้งแรกตอนวันคริสต์มาสปลายปี 2539 ต่อมาวันวาเลนไทน์และวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 แล้วก็เกิดต้มยำกุ้ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างที่ทราบกัน

แต่คราวนี้คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราได้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตรึงค่า มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงทันทีเมื่อเงินไหลออก สัดส่วนของเงินกู้ระยะสั้นเมื่อเทียบกับทุนสำรองยังอยู่ในอัตราต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศของเราก็เป็นของเราจริงๆ ไม่ใช่กู้มาเป็นทุนสำรอง ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังพอควบคุมได้

สัดส่วนหนี้สินต่อทุนหรือ debt:equity ratio ก็ยังต่ำ เท่าที่ทราบมีเพียง 0.6 กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องในบริษัทจดทะเบียนก็ยังสูง กล่าวคือ 1 ใน 3 ของเงินหมุนเวียน ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขณะนี้ยังดีอยู่ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาพันธบัตรตกลงมาสู่ระดับที่เหมาะสมกับพื้นฐาน ค่าเงินบาทอ่อนลง การส่งออกและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมคงจะดำรงอยู่ได้

ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นทันที ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้นตัวอย่างที่บริษัทเอส แอนด์ พี และมูดี้ส์ ปรับระดับความน่าเชื่อถือให้อเมริกา อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าถ้าสามารถพบและเจาะก๊าซ เจาะน้ำมัน จากใต้ชั้นหินระดับลึกขึ้นมาได้

หาก ดร.เบอร์นันเก้ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 เหตุการณ์ก็คงค่อยๆ ปรับเข้าสู่ดุลยภาพหรือภาวะปกติ แต่ถ้าธนาคารกลางสหรัฐไม่ชะลอหรือหยุดคิวอี 3 สถานการณ์คงจะปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 ตามที่ได้โยนหินถามทางไว้

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินของเราจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดและต้องเตรียมการกัน อย่าให้ผิดพลาดอย่างปี 2540 อีก

เวลายักษ์ใหญ่พลิกตัว เราก็เดือดร้อนกันทุกที
ก่อนหน้านั้นเห็น ดร. โกร่ง ในฐานนะประธาน ธปท. (ถ้าจำไม่ผิด) และรัฐมนตรีคลัง บีบ ธปท. ให้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตั้งหลายเดือน ถึงกระทั่งเคยให้สัมภาษณ์ว่าคิดจะปลดท่านผู้ว่าวันละหลายเวลา เพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ตอนนี้สรุปคล้ายกะว่าอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไม่เกี่ยวกะค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง มันเป็นผลจาก Fund flow จากต่างประเทศ แล้วก่อนหน้านี้ ไปบีบ ธปท เขาทำไมครับ
สงสัยโดนบีบมาอีกที
chowbe76
Verified User
โพสต์: 1980
ผู้ติดตาม: 1

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ดร.โกร่งมีความน่าเชื่อถือขนาดเราเอาบทความมาอ่านกันเลยหรือ...
นึกว่าท่านทำงานอยู่ นสพ.ทันหุ้นซะอีก
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
FefeBig
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อูย ไม่ถึงขนาดนั้นมั้งครับ มุมมองดีๆของท่านก็ยังมี แม้หลังๆจะเพี้ยนจากพิษการเมืองไปบ้าง ผมว่าเลือกพิจารณาด้วยเหตุและผลกันดีกว่าครับ
I love Fefe
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

chowbe76 เขียน:ดร.โกร่งมีความน่าเชื่อถือขนาดเราเอาบทความมาอ่านกันเลยหรือ...
นึกว่าท่านทำงานอยู่ นสพ.ทันหุ้นซะอีก
อย่าไปคิดอย่างนั้นเลยครับ ที่ผมเอามาให้อ่าน ก็นอีกหนึ่งบทความหนึ่งความเห็น ความหน้าเชื่อมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับเราจะให้ท่านครับ

อ่านๆเอาความรู้ ความคิดเห็น ของหลายๆคน เพื่อเปิด bias ของเราครับ
หากใครไม่เห็นด้วย ก็คิดซะว่าอ่านข่าวครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
dr1
Verified User
โพสต์: 880
ผู้ติดตาม: 30

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมว่าคน"วงใน"ตั้งแต่สมัยค่าเงินบาทผันผวนตอนป๋าเปรม มาถึงพ่อใหญ่จิ๋ว มาถึงปัจจุบัน
ก็มีดร.โกร่ง เนี่ยแหละครับ
คนอื่นที่อยู่ในเหตุการณ์หลายครั้งอาจจะมี
แต่ก็อาจจะไม่ได้ออกมาเล่า มาให้ความเห็น หรือกลายเป็นจำเลยจำเป็น
อยากฟังจากท่านอื่นอยู่เหมือนกัน
samatah
ภาพประจำตัวสมาชิก
thipong
Verified User
โพสต์: 178
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

micky1115 เขียน:dollar carry trade แค่ น้ำจิ้ม ครับ Hard landing สิครับ ของจริง

GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

consumption=การบริโภคภายในประเทศ เครื่องยนต์ตัวที่1

Investment=การลงทุนในภาคเอกชน เครื่องยนต์ตัวที่2

goverment spending=การลงทุนของภาครัฐบาล เครื่องยนต์ตัวที่3

export-import=การส่งออก-การนำเข้า เครื่องยนต์ตัวที่4


ตอนนี้เครื่องยนต์ที่1 ดับ เครื่องที่2 กำลังจะเริ่มดับ ภาคเอกชนชะลอการลงทุน

เครื่องตัวที่4 ดับไปแล้วแต่ก้ไม่รู้จะฟื้นไหม

้เครื่องตัวที่3 กำลังฟ้องร้องกันอยู่ ซึ่งเงินตรงนี้ ก้ไหลเข้าสู่ระบบไม่ทันปีนี้อยู่แล้ว

เกาะแน่นๆ นะครับ เรากำลังจะโหม่งโลกจากระดับความสูงที่ 40000 ฟุต

ขอพระเจ้าคุ้มครอง เอเมน

อย่าเพิ่งคร๊าฟฟ ขอปั่นเงินสดเก็บไว้เยอะๆก่อน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

chowbe76 เขียน:ดร.โกร่งมีความน่าเชื่อถือขนาดเราเอาบทความมาอ่านกันเลยหรือ...
นึกว่าท่านทำงานอยู่ นสพ.ทันหุ้นซะอีก
เอ ก่อนจะวิจารณ์ท่าน ได้ติดตามแนวคิด การทำงาน หรือหนังสือของท่านเยอะพอสมควรหรือเปล่าคับ?
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

thipong เขียน:
micky1115 เขียน:dollar carry trade แค่ น้ำจิ้ม ครับ Hard landing สิครับ ของจริง

GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

consumption=การบริโภคภายในประเทศ เครื่องยนต์ตัวที่1

Investment=การลงทุนในภาคเอกชน เครื่องยนต์ตัวที่2

goverment spending=การลงทุนของภาครัฐบาล เครื่องยนต์ตัวที่3

export-import=การส่งออก-การนำเข้า เครื่องยนต์ตัวที่4


ตอนนี้เครื่องยนต์ที่1 ดับ เครื่องที่2 กำลังจะเริ่มดับ ภาคเอกชนชะลอการลงทุน

เครื่องตัวที่4 ดับไปแล้วแต่ก้ไม่รู้จะฟื้นไหม

้เครื่องตัวที่3 กำลังฟ้องร้องกันอยู่ ซึ่งเงินตรงนี้ ก้ไหลเข้าสู่ระบบไม่ทันปีนี้อยู่แล้ว

เกาะแน่นๆ นะครับ เรากำลังจะโหม่งโลกจากระดับความสูงที่ 40000 ฟุต

ขอพระเจ้าคุ้มครอง เอเมน

อย่าเพิ่งคร๊าฟฟ ขอปั่นเงินสดเก็บไว้เยอะๆก่อน
เตรียมชูชีพไว้ด้วยนะครับ 17ปีจะมีสักหนที่ เราโหม่งโลก
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

วันนี้ (16 ก.ค.) นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย และกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทยระบุว่าหากร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านสภาอาจนำไปสู่การยุบสภา ว่า ความจริงแล้วไม่มีอะไร แต่เป็นการพูดในหลักการ เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับร่างกฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อใช้ในโครงการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นพิจารณาของกรรมาธิการ ก่อนนำกลับเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3 หากไม่ผ่านความเห็นของสภา ก็เหมือนกฎหมายงบประมาณทั่วไป ที่เป็นสิทธิของรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาได้ และเหตุที่ต้องยุบสภาเพราะเป็นกฎหมายสำคัญ เมื่อสภาไม่ไว้วางใจ รัฐบาลในฐานะผู้ริเริ่มก็ต้องแสดงความรับผิดชอบยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อถามความเห็นผ่านการลงคะแนนเลือกตั้ง ถ้าประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยเป็นเสียงส่วนใหญ่ ก็เท่ากับพรรคทำถูกต้อง เราก็ผลักดันโครงการต่อ นี่เป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย


เมื่อถามถึงกรณีที่ว่าหากร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านถูกคว่ำโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ นายสามารถ กล่าวว่า ตามขั้นตอนเมื่อร่างพ.ร.บ.ผ่านความเห็นของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ก่อนประกาศบังคับใช้ ยกเว้นกรณีที่มีผู้เข้าชื่อร้องคัดค้านต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายค้านประกาศมาตลอดว่าเรื่องนี้ต้องจบที่ศาลรัฐธรรมนูญแน่ ดังนั้นแม้ร่างพ.ร.บ.กู้เงินนี้จะผ่านรัฐสภา ฝ่ายค้านก็จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไปก็อยู่ที่ศาลแล้วว่าจะวินิจฉัยอย่างไร เมื่อยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็เคยออกพ.ร.ก.กู้เงิน ในโครงการไทยเข้มแข็ง ขณะที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กรและเป็นบรรทัดฐาน ถ้าศาลวินิจฉัยให้ร่างกฎหมายตกไป นายกรัฐมนตรีก็นำขึ้นทูลเกล้าฯไม่ได้ เช่นเดียวกันรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบ โดยนายกรัฐมนตรีลาออก หรือประกาศยุบสภา


“สิ่งที่ผมพูดทั้งหมดเป็นหลักการ แต่ยอมรับว่าพรรคเพื่อไทยต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ เมื่อดูจากกรณีคำร้องคัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 จนถึงขณะนี้ศาลก็ยังไม่มีคำวินิจฉัย ก็ยังไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย เมื่อรัฐธรรมนูญให้อำนาจอีกฝ่าย เราก็ต้องเตรียมพร้อม” นายสามารถ กล่าว.

ไม่ผ่านร่างก้ยุบสภา ยุบสภาก้ไม่มีเงินอัดฉีดจากภาครัฐ เครื่องยนต์เครื่องสุดท้าย ระเบิด

พบกันที่ปูซาน
chowbe76
Verified User
โพสต์: 1980
ผู้ติดตาม: 1

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Tibular เขียน:
chowbe76 เขียน:ดร.โกร่งมีความน่าเชื่อถือขนาดเราเอาบทความมาอ่านกันเลยหรือ...
นึกว่าท่านทำงานอยู่ นสพ.ทันหุ้นซะอีก
เอ ก่อนจะวิจารณ์ท่าน ได้ติดตามแนวคิด การทำงาน หรือหนังสือของท่านเยอะพอสมควรหรือเปล่าคับ?
ประมาณห้าหกปีครับ ตั้งแต่คิดจะเป็นนักลงทุน
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
WaayVI
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

micky1115 เขียน:
thipong เขียน:
micky1115 เขียน:dollar carry trade แค่ น้ำจิ้ม ครับ Hard landing สิครับ ของจริง

GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

consumption=การบริโภคภายในประเทศ เครื่องยนต์ตัวที่1

Investment=การลงทุนในภาคเอกชน เครื่องยนต์ตัวที่2

goverment spending=การลงทุนของภาครัฐบาล เครื่องยนต์ตัวที่3

export-import=การส่งออก-การนำเข้า เครื่องยนต์ตัวที่4


ตอนนี้เครื่องยนต์ที่1 ดับ เครื่องที่2 กำลังจะเริ่มดับ ภาคเอกชนชะลอการลงทุน

เครื่องตัวที่4 ดับไปแล้วแต่ก้ไม่รู้จะฟื้นไหม

้เครื่องตัวที่3 กำลังฟ้องร้องกันอยู่ ซึ่งเงินตรงนี้ ก้ไหลเข้าสู่ระบบไม่ทันปีนี้อยู่แล้ว

เกาะแน่นๆ นะครับ เรากำลังจะโหม่งโลกจากระดับความสูงที่ 40000 ฟุต

ขอพระเจ้าคุ้มครอง เอเมน

อย่าเพิ่งคร๊าฟฟ ขอปั่นเงินสดเก็บไว้เยอะๆก่อน
เตรียมชูชีพไว้ด้วยนะครับ 17ปีจะมีสักหนที่ เราโหม่งโลก
มันทำนายกันได้ขนาดนั้นเลยเหรอครับ :shock:
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ไม่ผิดที่เราจะตั้งคำถามถึงการกระทำที่ลักลั่นของดร.โกร่งครับ แต่ในฐานะของคนที่กำลังศึกษาความรู้จากข่าวและบทความ ผมคิดว่าเราควรวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข้อคิดเห็นมากกว่าตัวบุคคลนะครับ ถ้าเราลองมองในจุดที่ดร.โกร่งยืนอยู่ ท่านอาจต้องสวมหมวกหลายใบ ในสนามการเมืองใบหนึ่ง ในงานเขียนอีกใบหนึ่ง (และอาจมีใบอื่นที่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย) ใครจะรู้ว่าที่ขู่ว่าจะปลดคุณประสานตามหน้าข่าว แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างทั้งสองท่านอาจไม่เป็นอย่างที่เห็นออกมาให้ข่าวก็ได้

ผมคงไม่อาจหาญวิเคราะห์เหตุผลของการกระทำในกรณีที่ว่านะครับ แต่โดยส่วนตัวแล้วทั้งความลักลั่นในการกระทำของดร.โกร่ง และข้อคิดเห็นของท่านในบทความฉบับนี้ ต่างก็น่าสนใจ และน่านำมาขบคิดต่อครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BEN 10
Verified User
โพสต์: 518
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

นายมานะ เขียน:ไม่ผิดที่เราจะตั้งคำถามถึงการกระทำที่ลักลั่นของดร.โกร่งครับ แต่ในฐานะของคนที่กำลังศึกษาความรู้จากข่าวและบทความ ผมคิดว่าเราควรวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข้อคิดเห็นมากกว่าตัวบุคคลนะครับ ถ้าเราลองมองในจุดที่ดร.โกร่งยืนอยู่ ท่านอาจต้องสวมหมวกหลายใบ ในสนามการเมืองใบหนึ่ง ในงานเขียนอีกใบหนึ่ง (และอาจมีใบอื่นที่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย) ใครจะรู้ว่าที่ขู่ว่าจะปลดคุณประสานตามหน้าข่าว แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างทั้งสองท่านอาจไม่เป็นอย่างที่เห็นออกมาให้ข่าวก็ได้

ผมคงไม่อาจหาญวิเคราะห์เหตุผลของการกระทำในกรณีที่ว่านะครับ แต่โดยส่วนตัวแล้วทั้งความลักลั่นในการกระทำของดร.โกร่ง และข้อคิดเห็นของท่านในบทความฉบับนี้ ต่างก็น่าสนใจ และน่านำมาขบคิดต่อครับ
คิดต่างกันคับ นักเศรษฐศาสตร์ ที่อิงการเมือง ไม่เป็นกลาง ผมว่สพูดอะไรออกมาก็ไม่น่าฟัง ไม่น่าเชื่อถือ เอาเวลาไปฟัง คนที่เป็นกลางดีกว่าคับ ผมเชื่อว่ายังมีนักเศรษฐศาสตร์ไทย เก่งและดี อีกหลายท่าน
CANSLIM APPRENTICE
โพสต์โพสต์