ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี ตัวเลขผลิตซ้ำรูด10เดือน
updated: 29 มี.ค. 2556 เวลา 12:25:17 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1900

ส่งออก ก.พ.ไม่สวย กลับมาติดลบในรอบ 6 เดือน มีมูลค่าต่ำสุดรอบ 1 ปี ไม่ใช่ผลพวงบาทแข็ง แต่ตลาดหลักทั่วโลกชะลอตัว นายกฯห่วงสั่งพาณิชย์งัดมาตรการเชิงรุก คณะทำงานฯถกเอกชนประชุมนัดแรก 9 เมษาฯ สศอ.เผยเอ็มพีไอ ก.พ.รูดสุดรอบ 10 เดือน ออเดอร์หดทำการใช้กำลังผลิตดิ่งด้วย ส่งสัญญาณร้าย เล็งทบทวนจีดีพีอุตสาหกรรมใหม่

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยนางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงว่า มีมูลค่า 17,928 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.83% เทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2555 คิดเป็นเงินบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 29.53 บาท/เหรียญสหรัฐ) มีมูลค่า 529,529.6 ล้านบาท หรือลดลง 11.32% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 19,485.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.27% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 582,877 ล้านบาท ลดลง 0.78% ทำให้ขาดดุลการค้า 1,557.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 53,347.5 ล้านบาท เมื่อเฉลี่ย 2 เดือนของปี 2556 มีการส่งออกรวม 36,196.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.09% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท ลดลง 0.13% นำเข้า 2 เดือนรวม 19,485 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.24% คิดเป็นเงินบาท 1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.53% ทำให้ 2 เดือนแรกปีนี้ขาดดุลการค้ารวม 7.044 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาท 2.29 แสนล้านบาท

ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบมูลค่าวูบ

นางวัชรีกล่าวว่า เหตุที่ทำให้การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์กลับมาลบอีกครั้งรอบ 6 เดือน นับจากเดือนกันยายน 2555 และมีมูลค่าต่ำสุดในรอบ 12 เดือนนับจากเดือนมกราคม 2555 เพราะสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมติดลบรวม 13.5% และ 2.6% ตามลำดับ สินค้าสำคัญที่ติดลบ อาทิ ข้าว ยางพารา กุ้งแช่แข็ง ผักผลไม้ ไก่สดแช่แข็ง น้ำตาล สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ตลาดส่งออกติดลบเป็นส่วนใหญ่ ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน และสวิตเซอร์แลนด์

นางวัชรีกล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าและผันผวนมีผลกระทบต่อกำลังซื้อเฉพาะหน้าชะลอตัว แต่คำสั่งซื้อล่วงหน้ายังไม่ได้รับผลกระทบ เดือนมีนาคมมีโอกาสกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง เพราะบาทไม่น่าจะแข็งค่าและผันผวนกว่านี้จึงเร็วเกินไปที่จะปรับลดตัวเลขเป้าหมายการส่งออก 8-9% หรือมูลค่า 2.47-2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 30 บาท/เหรียญสหรัฐ) แต่หากอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่านี้หรือบาทแข็งค่าขึ้นอาจมีผลต่อตัวเลขเป้าหมายส่งออกลดลง

"ยิ่งลักษณ์"กำชับพณ.ออกมาตรการ

"นายกรัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ทำมาตรการส่งออกเชิงรุกและรายงานต่อเนื่องถึงแผนงานที่จัดทำเพื่อผลักดันการส่งออกให้ได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้วันที่ 9 เมษายนนี้ คณะทำงานเพื่อติดตามสถานการณ์การส่งออกและผลกระทบปี 2556 ที่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพาณิชย์ แต่งตั้งขึ้นจะประชุมนัดแรกร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.เพื่อกำหนดแนวทางขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยจะนำเสนอนายกฯ พิจารณาต่อไป" นางวัชรีกล่าว

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวยืนยันว่า กรมฯยังคงเป้าการส่งออกปีนี้ขยายตัว 8-9% เพราะตลาดเป้าหมายและตลาดหลักในภาพรวมยังเพิ่มขึ้นแม้อัตราขยายตัวยังต่ำก็ตาม "ตัวเลขที่ติดลบในเดือนกุมภาพันธ์ไม่ได้ตกใจ และจะมีการประเมินตัวเลขการส่งออกอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้" นางศรีรัตน์กล่าว

รถยนต์เจ็บสุดพิษบาทแข็ง

นายหทัย อู่ไทย รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีแข็งค่าขึ้น 3.76% สศอ.ประเมินเงินบาทแข็งค่าเฉลี่ย 29.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกปีนี้ โดยมูลค่าช่วง 2 เดือนแรกหายไป 35,733 ล้านบาท และทั้งปีหายไป 232,489 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมจะลดลง 2.72% จากคาดการณ์ทั้งปี 5-6% ดังนั้น จึงต้องติดตามสถานการณ์และผลกระทบอย่างใกล้ชิด ล่าสุดได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ชี้แจงว่าอยู่ระหว่างดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมเงินบาทให้อ่อนค่าลง

"อุตสาหกรรมที่มูลค่าหายไปมากที่สุดจากเงินบาทแข็งค่าคือ รถยนต์ คาดว่าหายไป 4,758 ล้านบาท เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกคิดเป็นมูลค่าสูงสุด" นายหทัยกล่าว

พบสัญญาณร้ายสศอ.ปรับตัวเลข

นายหทัยกล่าวถึงดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่าอยู่ที่ 169.96 ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน (พฤษภาคม 2555-กุมภาพันธ์ 2556) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง 1.2% เนื่องจากสถานการณ์การส่งออกของเดือนกุมภาพันธ์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่า 60% อย่าง ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้า หดตัวลงเฉลี่ย 8.18% จากสภาพเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าที่หดตัวเช่นกัน อาทิ จีน สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) คำสั่งซื้อสินค้า (ออเดอร์) ที่ลดลงยังส่งผลต่ออัตราการใช้กำลังการผลิตให้ลดลงอยู่ที่ 62.87% ต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเช่นกัน

นายหทัยกล่าวว่า จากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าและแนวโน้มการส่งออกที่เอ็มพีไอปรับลดลง รวมทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ไม่ดีนัก สศอ.จะทบทวนตัวเลขคาดการณ์ทั้งจีดีพีอุตสาหกรรม เอ็มพีไอตลอดทั้งปีอีกครั้งหลังไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกล่าสุดทั้งอียูและสหรัฐยังมีสัญญาณถดถอย ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องติดตาม

ที่มานสพ.มติชน

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดูเหมือน หลายท่านพยายามบอกว่า
ค่าเงินบาทแข็งไม่ใช่สาเหตุหลัก
ก็อาจจะพอฟังได้ตามที่อ้าง
แต่จะเชื่อหรือให้น้ำหนักเท่าไร ก็เป็นดุลยพินิจแต่ละท่านเอง

ลองดูภาพค่าเงินบาทที่แข็ง จนหลุดออกจากกลุ่มพวกๆ ชัดเจนมาก ตั้งแต่ต้นปี 2013 นี้
จากที่ผม post ไว้ที่กระทู้ BOT เมื่อประมาณ 14-3-2013 ช่วงนั้นค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.63 bath/usd



ภาพแรก เทียบบาทไทย กับ ไต้หวัน และ สิงค์โปร์ จุดเปลี่ยนแนวโ้น้ม ม.ค. ต้นปีนี้

รูปภาพ



ภาพที่สอง เทียบบาทไทย กับ ญี่ปุ่น จุดเปลี่ยนแนวโ้น้ม พ.ย. ปลายปีก่อน

กรณีนี้ก็น่าคิดอยู่ เขาออกลงมาลงทุนนอกประเทศ สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะค่าเงิน
ถ้าหากการแข็งค่าของบาทเรา หลุดจากกลุ่มแล้วต่อเนื่องยาวนาน เขาจะให้น้ำหนักลงทุนไปทางไหนต่อ?

รูปภาพ


ภาพที่สาม เทียบบาทไทย กับ มาเลเซีย จุดเปลี่ยนแนวโ้น้ม ม.ค. ต้นปีนี้

รูปภาพ



ผลที่รายงานการส่งออกในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ก็คงเป็นไปตามนั้น
ตามความเห็นส่วนตัว ยังมีอีกหนึ่งมุมมอง ที่น่าคิด และน่าติดตามดู ครับ

" นโยบายการคลังและนโยบายการเงินของไทย/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ "
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=55404
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ใช่ครับ บาทแข็งยังไงก็กระทบอยู่แล้ว
ไม่เข้าใจเหมือนกันหาเหตุผลต่างๆนาๆมาบอกว่าไม่เป็นไร
ผมจำไม่ได้อ่านที่ไหนแต่มี เจ้าหน้าที่ทางการบอกว่า ค่าเงินเราต้องมองย้อนหลังนานๆ คนอื่นแข็งค่ามากกว่าเรามาก่อน เราเพิ่งมาเริ่มแข็งมาก ดังนั้นเป็นเรื่องปรกติ
เฮ้อ ผมหละอยากจะบอกว่ามันไม่เกี่ยวหรอก มันเกี่ยวกับค่าเงินปัจจุบันในเชิง absolute นั้นกระทบรายได้และขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการที่มีฐานในไทยอย่างไร
ประเด็นไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้คนอื่นแข็งมากกว่าเรา แล้วเรามาแข็งมากตอนนี้
หลงประเด็นกันไปไหน
และอีกอย่างคืออัตราการเร่งตัวของการเปลี่ยนแปลงในค่าเงินก็ควรเป็นประเด็นเพราะในระยะสั้น ไม่มีทางที่ผู้ประกอบการจะปรับตัวทัน ต้องรับภาระไปก่อนเต็มๆ และ ไหนจะเรื่องบริหาร forward contract ที่ถ้าทำได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก
เจ้าหน้าที่ทางการอีกคนบอกว่าส่งออกลดเป็นเรื่องปกติเพราะมีโรคกุ้งแล้ววันทำงานน้อยกว่าปกติ
นะ ส่วนอื่นๆก็เห็นอยู่ว่าลดลง

ตัวเลขส่งออกกุมภา นั้นอิงช่วงที่ค่าเงินยังไม่ได้เริ่มแข็งมากๆ แถวๆ 29.8
มาเริ่มมีนา ร่วงมา 29-29.3
ตังเลขส่งออกมีนา เมษา มีโอกาสโดนหนักกว่าเดิมไหมเนี่ย
แนบไฟล์
usdthb.png

value trap
รูปภาพ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าไม่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งง่ายมากๆ
ก็ทำให้คนไม่ลงทุนในประเทศไทย
เพราะตอนนี้เงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดสารหนี้ของไทย
ประการที่สองคือ เปลี่ยนจากการการค้าขายแบบเน้นขายลดต้นทุน เป็นการขายเน้นเทคโนโลยี่
เพราะว่าในระยะยาว สังคมไทยเป็นสังคมของผู้สูงอายุ เหมือนที่ญี่ปุ่นที่ส่งออกผู้สูงอายุ หรือประเทศที่เจริญแล้วอื่นที่ส่งออกมาให้เมืองไทยเพราะค่าครองชีพต่ำกว่า นั้นคือ ถ้าทำศูนย์การแพทย์ก็ต้องแลกกับค่าเงินบาทแข็ง คนอยู่ยาวกว่า
ประการที่สาม การเติบโตของ GDP ซึ่งเติบโตโดยเน้นไปที่ภายในประเทศ แทนการส่งออก

:)
:)
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอเก็บสถิติ ไว้ดู ต่อไป

http://www.bloomberg.com/markets/curren ... a-pacific/
ค่าเงิน 10-4-2013.JPG
ที่น่าคิดอยู่
วันที่ 1.รัฐบาล 2.ธปท. และ 3.เอกชน ทั้ง สาม ส่วนนี้
สามารถคุย ภาษา ความเห็น และมุมมอง ที่สอดคล้องกันได้มากกว่านี้
จะมีการเปลี่ยนแปลง ออกแนวทางใด
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เมื่อครู่ดูรายการHard topic
ผมว่ารบกับเอกชนมองในทิศทางเดียวกัน
คงเหลือแต่ธ?


:(
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 7

โพสต์

yoko เขียน:เมื่อครู่ดูรายการHard topic
ผมว่ารบกับเอกชนมองในทิศทางเดียวกัน
คงเหลือแต่ธ?


:(
คงเป็นตาม link ข้างล่างนี้ ที่คุณ yoko พูดถึง
(อีกหนึ่ง มุมมอง และความคิด ของเอกชน)

Hard Topic
ช่วงเวลา 11/04/2013 เวลา 13:00 น.
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5




หลายๆท่าน บอก ว่า
ทุกๆทางเลือก ก็มีสิ่งที่ ต้องจ่าย

การเลือกแบบที่ทำอยู่ ตลอด 3-4 เดือนที่ผ่านมา
ขณะนี้ เราก็ คงกำลังจ่าย ตามการเลือกนั้น ที่กำลังเห็นผลชัดมากขึ้น ทุกที
ตามเวลาที่เราผู้เลือกรอดู ผลจากการเลือกของตนเอง

ผมสงสัยว่า อาจจะใกล้เวลามากๆ แล้ว
ที่ทั้ง สาม ส่วน จะได้คุยกันอีกครั้ง จะเอาอย่างต่อ ? หรือจะปล่อยตามเดิมต่อไป ?
tanatat
Verified User
โพสต์: 348
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 8

โพสต์

pakhakorn เขียน:
yoko เขียน:เมื่อครู่ดูรายการHard topic
ผมว่ารบกับเอกชนมองในทิศทางเดียวกัน
คงเหลือแต่ธ?


:(
คงเป็นตาม link ข้างล่างนี้ ที่คุณ yoko พูดถึง
(อีกหนึ่ง มุมมอง และความคิด ของเอกชน)

Hard Topic
ช่วงเวลา 11/04/2013 เวลา 13:00 น.
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5



หลายๆท่าน บอก ว่า
ทุกๆทางเลือก ก็มีสิ่งที่ ต้องจ่าย

การเลือกแบบที่ทำอยู่ ตลอด 3-4 เดือนที่ผ่านมา
ขณะนี้ เราก็ คงกำลังจ่าย ตามการเลือกนั้น ที่กำลังเห็นผลชัดมากขึ้น ทุกที
ตามเวลาที่เราผู้เลือกรอดู ผลจากการเลือกของตนเอง

ผมสงสัยว่า อาจจะใกล้เวลามากๆ แล้ว
ที่ทั้ง สาม ส่วน จะได้คุยกันอีกครั้ง จะเอาอย่างต่อ ? หรือจะปล่อยตามเดิมต่อไป ?
ผมว่าการจะโทษว่าการส่งออกแย่เพราะค่าเงินที่แข็งขึ้นมาจากการที่ ธ.ชาติทำ คงเป็นการโยนความผิดที่ดูจะไม่เป็นธรรมมาก การส่งออกเดือนกพ.น่าจะมาจากคำสั่งซื้อในช่วงเดือนธค.ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครออกมาบ่นค่าเงิน ความจริงการส่งออกเราก็แย่มาหลายเดือนแล้วครับ แต่ไม่มีใครสนใจจริงๆจังๆ ทั้งที่ตอนนั้นค่าเงินก็ไม่ได้ต่างจากตรงนี้มากและเมื่อหลายเดือนก่อนผมก็ไม่เห็นมีใครมาบอกว่าเป็นเพราะค่าเงินแข็ง บ้างก็ว่า เศรษฐกิจโลกไม่ดี(อเมริกา ยุโรป) บ้างก็ว่าราคาผลผลิตเกษตรกรตก บ้างก็ว่า ค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ที่แน่ๆคือการส่งออกสินค้าหลักอย่าง ข้าว คงไม่ใช่เรื่องค่าเงินหรอกครับที่แย่ ผมว่าโทษเรื่องอื่นไม่ดีหรือครับ ถ้าค่าเงินเราอ่อนลงไป จะต้องให้ธ.ชาติขึ้นดอกเบี้ยทุกวันตามค่าเงินที่แข็งหรือครับ ผมเชื่อว่าทุกคนอยากหาเหตุให้กับผลที่เราส่งออกลดลง แต่มีกี่คนที่รู้จริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 9

โพสต์

miracle เขียน:ถ้าไม่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งง่ายมากๆ
ก็ทำให้คนไม่ลงทุนในประเทศไทย
เพราะตอนนี้เงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดสารหนี้ของไทย
ประการที่สองคือ เปลี่ยนจากการการค้าขายแบบเน้นขายลดต้นทุน เป็นการขายเน้นเทคโนโลยี่
เพราะว่าในระยะยาว สังคมไทยเป็นสังคมของผู้สูงอายุ เหมือนที่ญี่ปุ่นที่ส่งออกผู้สูงอายุ หรือประเทศที่เจริญแล้วอื่นที่ส่งออกมาให้เมืองไทยเพราะค่าครองชีพต่ำกว่า นั้นคือ ถ้าทำศูนย์การแพทย์ก็ต้องแลกกับค่าเงินบาทแข็ง คนอยู่ยาวกว่า
ประการที่สาม การเติบโตของ GDP ซึ่งเติบโตโดยเน้นไปที่ภายในประเทศ แทนการส่งออก

:)
คุณมิกล่าวได้ตรงประเด็นดีคับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เหรียญ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 709
ผู้ติดตาม: 204

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เศรษฐกิจไทยจากข้อมูลล่าสุด

ช่วงปลายเดือนที่แล้ว กระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติ ได้ประกาศข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อหลายคนได้เห็นตัวเลข ก็เริ่มตั้งคำถามกันว่า “เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทย” “ทำไมการส่งออกจึงทรุดลง” “แล้วที่ทรุดลงเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปีหรือไม่” ท้ายสุด “แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจะเป็นอย่างไร”

ก่อนจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในข้อมูลว่า มาจากปัจจัยอะไร ผมขอสรุปสั้น ๆ ให้เห็นภาพก่อนว่ามีข่าวร้าย ข่าวดีอะไรบ้าง

ในด้านลบ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ ได้ชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้า จากเดิมที่เคยขยายตัว 6.7% และ 22.2% ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปรับลดลงเหลือเพียง 3.3% และ 9.5% ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการส่งออกเองก็ปรับลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน จาก 15.6% เป็น -4.6% สอดคล้องกับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงจาก 10.2% เป็น -1.2% ส่วนข่าวดีนั้น ก็มีภาคท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้อย่างดียิ่งโดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยถึง 2.3 ล้านคน ขยายตัวจากปีก่อนหน้าประมาณ 26.2%

ไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อหลายคนเห็นตัวเลขเช่นนี้ ที่ทุกภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การส่งออก และการผลิต ประเภทข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ความกังวลใจจึงก่อตัวขึ้น

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ และเราควรต้องกังวลใจหรือไม่

คิดว่าตอนนี้ เราคงต้องจับตามองข้อมูลเหล่านี้อย่างใกล้ชิดไปก่อนสัก 1-2 เดือน โดยยังไม่ต้องกังวลใจมากไป เนื่องจากเรารู้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย

ประเด็นแรก จากการที่ข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน 2555- มกราคม 2556 มีอัตราการขยายตัวที่ดีเกินจริง เพราะเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้า เรามีปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้นิคมอุตสาหกรรมสำคัญของไทยจมน้ำ ผลิตไม่ได้ ทำให้ไม่มีอะไรส่งออกในช่วงดังกล่าว อีกทั้งยังทำให้หลายคนก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย หรือลงทุน เนื่องจากฐานต่ำอัตราการขยายตัวเทียบกับปีก่อนหน้าจึงดูดีเป็นพิเศษ

แต่ครั้นถึงเดือนกุมภาพันธ์เมื่อปีที่แล้ว ทุกอย่างเริ่มเป็นปกติมากขึ้น ทั้งด้านการผลิต และส่งออก ทุกคนก็ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ดังนั้น เมื่อเทียบกับฐานที่เป็นปกติมากขึ้น ตัวเลขเดือนล่าสุดจึงดูลดลงมาก (เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) จนเราต้องตกใจ พูดอีกนัยหนึ่ง เป็นผลมาจากภาพที่สวยเกินจริงไปในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ที่ทำให้ทุกคนคุ้นเคยกับตัวเลขอัตราการขยายตัวของการส่งออกที่สูงถึง 25.8% 13.6% และ 15.6% ตามลำดับ และพอมาเห็น -4.6% จึงรู้สึกว่าส่งออก “ทรุด”

ถ้าเราไปเทียบดูกับประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาน้ำท่วม (เพื่อให้ประเมินได้ว่า -4.6% ต่ำเกินไปเปล่า) เราก็จะสบายใจขึ้น เพราะในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มาเลเซียมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกในระดับต่ำที่ 3.5% อินโดนีเซียขยายตัวอยู่ที่ -1.2% ส่วนเกาหลี ในเดือนกุมภาพันธ์ อัตราการขยายตัวของการส่งออกก็อยู่ที่ประมาณ 0.2% ทั้งหมดนี้สะท้อนความจริงที่ว่า เศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอ ยังฟื้นไม่ดี ตัวเลขการส่งออกที่ -4.6% ของไทยจึงเป็นการกลับมาสู่โลกความเป็นจริงที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

ประเด็นที่สอง จากการสิ้นสุดลงของโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถคันแรก ซึ่งสิ้นสุดลงช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้ หากเราย้อนไปดูข้อมูลรายละเอียดจะพบว่า เมื่อโครงการรถคันแรกจบลง ตัวเลขการซื้อขายของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์นั่งเพื่อการพาณิชย์ได้ลดลงมาก จากที่ขยายตัวถึง 275% ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว เหลือเพียง 92% และจากที่ขยายตัว 227% เหลือเพียง 14% ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากยอดการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นส่วนสำคัญของดัชนีการบริโภคภาคเอกชน ส่วนยอดการซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เป็นองค์ประกอบสำคัญของดัชนีการลงทุนภาคเอกชน จึงทำให้ภาพรวมของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนดูชะลอลงไป

ประเด็นที่สาม เป็นผลมาจากการที่เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้มีวันหยุดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน เมื่อปีก่อนหน้า เนื่องจากตรุษจีนปีนี้ตกอยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ปีที่แล้ว ตกที่เดือนมกราคม ด้วยวันทำงานที่น้อยลง จากการที่คนหยุดกันช่วงวันตรุษจีน ตัวเลขการผลิต การส่งออก ต่าง ๆ จึงได้รับผลกระทบไปอีกบางส่วน

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น และจากแรงส่งของภาคเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไปได้ดี ตลอดจนโครงการภาครัฐต่าง ๆ ที่กำลังจะผ่านสภาอีก 2 ล้านล้านบาท ขณะนี้ ส่วนตัวแล้วคิดว่า เรายังไม่ต้องกังวลใจให้มากไปกับข้อมูลเดือนล่าสุดที่ออกมา เพียงแต่ต้องติดตามสถานการณ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้น แล้วอีก 2-3 เดือน เมื่อภาพต่าง ๆ ชัดขึ้น เราค่อยมาสรุปว่าควรจะกังวลใจ และจะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาเพิ่มเติมหรือไม่ ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 4 เมษายน 56
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ
''I didn't come this far to only come this far''
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ตั้งแต่ผมอ่านความเห็นของคุณกอบ
ท่านไม่เคยเห็นแย้งกับธเลย
amornd
Verified User
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมทำ web เปรียบเทียบค่าเงินเอาไว้ เผื่อใครสนใจ
โดย graph จะเรียงระยะตั้งแต่ 1 วัน - 5 ปี (เอา mouse ชี้ดูที่ graph ได้ครับ)

กลุ่มสกุลเงินหลัก เทียบกับ THB
https://sites.google.com/site/favcur/compare-major

กลุ่มสกุลเงินแถบ ASIA เทียบกับ THB
https://sites.google.com/site/favcur/compare-asean

ปล. source จาก yahoo finance
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ยอดขายรถในไทย มี.ค.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แถมส่งออกทำสถิติสูงสุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 เมษายน 2556 11:40 น.
http://www.manager.co.th/iBizChannel/Vi ... 0000046499

เร่งส่งมอบรถคันแรกดันยอดขายในประเทศ มีนาคมทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่156,951 คัน ขณะที่ส่งออกทำลายสถิติสูงสุดเกิน 1 แสนคันนับตั้งแต่ส่งออกปี 2531

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนมีนาคม56 มีจำนวน 156,951 คัน ถือเป็นยอดขายรถทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกันเดือนนี้ยังส่งออกได้ 102,742 คันทำลายสถิติสูงสุดเกินกว่า 1 แสนคันนับตั้งแต่มีการส่งออกเมื่อปี 2531

“เดือนมีนาคมเราเร่งส่งมอบรถโดยเฉพาะรถคันแรกรวมถึงการส่งออก เพราะเดือนเมษายนจะมีวันหยุดมาก ดังนั้นการผลิตช่วงเมษายนจะชะลอตัวลง” นายสุรพงษ์กล่าว

สำหรับจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมีนาคมมีทั้งสิ้น 256,231 คัน ขณะที่การผลิต ม.ค.-มี.ค. 56 ผลิตได้ 325,888 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 132.07% ขณะที่การส่งออกรวม ม.ค.-มี.ค. เครื่องยนต์ อะไหล่ ชิ้นส่วนรถและอะไหล่มีมูลค่า 180,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.22%

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
pokshisha
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 290
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 14

โพสต์

tanatat เขียน:
pakhakorn เขียน:
yoko เขียน:เมื่อครู่ดูรายการHard topic
ผมว่ารบกับเอกชนมองในทิศทางเดียวกัน
คงเหลือแต่ธ?


:(
คงเป็นตาม link ข้างล่างนี้ ที่คุณ yoko พูดถึง
(อีกหนึ่ง มุมมอง และความคิด ของเอกชน)

Hard Topic
ช่วงเวลา 11/04/2013 เวลา 13:00 น.
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5



หลายๆท่าน บอก ว่า
ทุกๆทางเลือก ก็มีสิ่งที่ ต้องจ่าย

การเลือกแบบที่ทำอยู่ ตลอด 3-4 เดือนที่ผ่านมา
ขณะนี้ เราก็ คงกำลังจ่าย ตามการเลือกนั้น ที่กำลังเห็นผลชัดมากขึ้น ทุกที
ตามเวลาที่เราผู้เลือกรอดู ผลจากการเลือกของตนเอง

ผมสงสัยว่า อาจจะใกล้เวลามากๆ แล้ว
ที่ทั้ง สาม ส่วน จะได้คุยกันอีกครั้ง จะเอาอย่างต่อ ? หรือจะปล่อยตามเดิมต่อไป ?
ผมว่าการจะโทษว่าการส่งออกแย่เพราะค่าเงินที่แข็งขึ้นมาจากการที่ ธ.ชาติทำ คงเป็นการโยนความผิดที่ดูจะไม่เป็นธรรมมาก การส่งออกเดือนกพ.น่าจะมาจากคำสั่งซื้อในช่วงเดือนธค.ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครออกมาบ่นค่าเงิน ความจริงการส่งออกเราก็แย่มาหลายเดือนแล้วครับ แต่ไม่มีใครสนใจจริงๆจังๆ ทั้งที่ตอนนั้นค่าเงินก็ไม่ได้ต่างจากตรงนี้มากและเมื่อหลายเดือนก่อนผมก็ไม่เห็นมีใครมาบอกว่าเป็นเพราะค่าเงินแข็ง บ้างก็ว่า เศรษฐกิจโลกไม่ดี(อเมริกา ยุโรป) บ้างก็ว่าราคาผลผลิตเกษตรกรตก บ้างก็ว่า ค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ที่แน่ๆคือการส่งออกสินค้าหลักอย่าง ข้าว คงไม่ใช่เรื่องค่าเงินหรอกครับที่แย่ ผมว่าโทษเรื่องอื่นไม่ดีหรือครับ ถ้าค่าเงินเราอ่อนลงไป จะต้องให้ธ.ชาติขึ้นดอกเบี้ยทุกวันตามค่าเงินที่แข็งหรือครับ ผมเชื่อว่าทุกคนอยากหาเหตุให้กับผลที่เราส่งออกลดลง แต่มีกี่คนที่รู้จริง
เห็นด้วยว่าไม่ควรโทษ ธปท แต่เพียงผู้เดียว เอาจริงๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าเป้าหมายหลักของนโยบายการเงินของเราคือ รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ โดยผ่านเครื่องมือสำคัญๆ คือ อัตราดอกเบี้ย และการแทรกแซงในตลาดพันธบัตร ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง โดยมีเป้าหมายอันดับหนึ่งคือการรักษาระดับเงินเฟ้อ หรือที่พูดติดปากว่า inflation targeting และที่เรารู้กันคือ ดอกเบี้ยลด อาจก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ

ในส่วนค่าเงินนั้น ปกติตัวที่จะเป็น driver ของค่าเงิน มันมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ current account และ capital account ซึ่งในแต่ละบัญชีก็แยกย่อยออกไปอีกคือ

current account จะมี trade account คือดุลการค้า, service account คือดุลบริการ เช่น เงินเสียไปจากการที่คนไทยไปเที่ยวเมืองนอก และเงินรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และพวกเงินโอนบริจาคต่างๆ

Capital account ก็จะมีพวก fdi และ portfolio investment

ซึ่งการลดดอกเบี้ย ในระยะสั้นคนก็จะหวังผลว่าจะลดกระแสเงินทุนพวก hot money หรือ portfolio investment ซึ่งถามว่าช่วยมั๊ย อันนี้ต้องลองไปดูสัดส่วนผลกระทบกันดูเพราะวัดยาก แต่ที่ ธปท กลัวแน่ๆ คือ จากตัวเลขการบริโภคและลงทุนที่ผ่านมา เราเติบโตแบบร้อนแรง อัตราการขยายตัวสินเชื่อเป็นไปด้วยดี การลดดอกเบี้ยปกติจะไว้ใช้เพื่อกระตุ้นสิ่งเหล่านี้ ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ยให้ต่ำเกินไปอาจเป็นการเร่งให้เกิดเงินเฟ้อ และการคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ก็คือเชื้อไฟที่บ่มให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในอนาคต

ผมเชื่อว่าผู้บริหาร ธปท ทุกท่านในปัจจุบันเคยผ่านตอนปี 40 มาแล้วทั้งสิ้น มันเลยไม่แปลกที่ ธปท มีการดำเนินนโยบายที่ค่อนข้าง conservative ซักหน่อย คงมองว่าไม่ลดดอกเบี้ยเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่ ลดแล้วก็ไม่รู้ว่าจะทำให้เงินแข็งขึ้นได้จริงหรือป่าว หรือเป็นเพียงแค่ช่วงสั้น ถ้าลดแล้วค่าเงินอ่อนชั่วคราวแล้วแข็งใหม่ ทำไงหละ

จริงๆ แล้วข่าวลดดอกบี้ยช่วงนี้แหละที่ทำให้เงินไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรมากขึ้น โดยเฉพาะตัวยาวทำให้ค่าเงินแข็งผิดปกติ ซึ่งโดยความเป็นจริงหากค่าเงินแข็ง คนในประเทศบริโภคมากขึ้น ก็ import มากขึ้น current acc ก็แย่ลง ค่าเงินมันก็ปรับตัวอ่อนค่าลงได้ มันมี mechanism ของมันอยู่ครับ
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 15

โพสต์

pokshisha เขียน:
เห็นด้วยว่าไม่ควรโทษ ธปท แต่เพียงผู้เดียว เอาจริงๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าเป้าหมายหลักของนโยบายการเงินของเราคือ รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ โดยผ่านเครื่องมือสำคัญๆ คือ อัตราดอกเบี้ย และการแทรกแซงในตลาดพันธบัตร ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง โดยมีเป้าหมายอันดับหนึ่งคือการรักษาระดับเงินเฟ้อ หรือที่พูดติดปากว่า inflation targeting และที่เรารู้กันคือ ดอกเบี้ยลด อาจก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ

ในส่วนค่าเงินนั้น ปกติตัวที่จะเป็น driver ของค่าเงิน มันมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ current account และ capital account ซึ่งในแต่ละบัญชีก็แยกย่อยออกไปอีกคือ

current account จะมี trade account คือดุลการค้า, service account คือดุลบริการ เช่น เงินเสียไปจากการที่คนไทยไปเที่ยวเมืองนอก และเงินรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และพวกเงินโอนบริจาคต่างๆ

Capital account ก็จะมีพวก fdi และ portfolio investment

ซึ่งการลดดอกเบี้ย ในระยะสั้นคนก็จะหวังผลว่าจะลดกระแสเงินทุนพวก hot money หรือ portfolio investment ซึ่งถามว่าช่วยมั๊ย อันนี้ต้องลองไปดูสัดส่วนผลกระทบกันดูเพราะวัดยาก แต่ที่ ธปท กลัวแน่ๆ คือ จากตัวเลขการบริโภคและลงทุนที่ผ่านมา เราเติบโตแบบร้อนแรง อัตราการขยายตัวสินเชื่อเป็นไปด้วยดี การลดดอกเบี้ยปกติจะไว้ใช้เพื่อกระตุ้นสิ่งเหล่านี้ ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ยให้ต่ำเกินไปอาจเป็นการเร่งให้เกิดเงินเฟ้อ และการคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ก็คือเชื้อไฟที่บ่มให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในอนาคต

ผมเชื่อว่าผู้บริหาร ธปท ทุกท่านในปัจจุบันเคยผ่านตอนปี 40 มาแล้วทั้งสิ้น มันเลยไม่แปลกที่ ธปท มีการดำเนินนโยบายที่ค่อนข้าง conservative ซักหน่อย คงมองว่าไม่ลดดอกเบี้ยเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่ ลดแล้วก็ไม่รู้ว่าจะทำให้เงินแข็งขึ้นได้จริงหรือป่าว หรือเป็นเพียงแค่ช่วงสั้น ถ้าลดแล้วค่าเงินอ่อนชั่วคราวแล้วแข็งใหม่ ทำไงหละ

จริงๆ แล้วข่าวลดดอกบี้ยช่วงนี้แหละที่ทำให้เงินไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรมากขึ้น โดยเฉพาะตัวยาวทำให้ค่าเงินแข็งผิดปกติ ซึ่งโดยความเป็นจริงหากค่าเงินแข็ง คนในประเทศบริโภคมากขึ้น ก็ import มากขึ้น current acc ก็แย่ลง ค่าเงินมันก็ปรับตัวอ่อนค่าลงได้ มันมี mechanism ของมันอยู่ครับ
ขอบคุณ ครับ

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น อีกหลายๆ เรื่อง :D
ขอสนทนาต่อ แลกเปลี่ยนมุมมองต่อนะ ครับ

ที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตั้งแต่กระทู้ BOTที่ถูกล็อคแล้ว
ผมบอกแล้วว่า มันต้องร่วมกันทั้งสามส่วน ทั้ง 1. รัฐบาล 2. ธปท และ 3. เอกชน
ต้องสอดคล้องกัน (ผมยังว่าไว้ มันเป็นเรื่องยากและหิน ที่จะสำเร็จ)

กระทู้ BOT http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=55015
หรือกระทู้หลังสุด อ่านข่าวเพลิน http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=55575
อาจให้ความชัดเจน ความคิดและมุมมองของผม
สบายใจได้ ผมไม่มีวาระซ่อนพิเศษ (เหมือนที่หลายๆท่านเป็นห่วง กำลังพยายาม ปกป้องกัน)

คำถาม ประเด็นที่สงสัยและค้างคาใจ 7 ข้อ ใน หน้าแรก ของกระทู้ BOT ที่ผมตั้งไว้
ผมก็ยังติดตามประเด็นพวกนั้นอยู่ และวันนี้ผ่านมาสองเดือนกว่าแล้ว
ภาพมันเหมือนหรือคล้ายที่ว่าแค่ไหน?

ข้อเสนอผมเรื่อง ลดต้นทุนทางการเงินของประเทศ
ก็ไม่มีใครสนใจ เรื่องเฉพาะหน้าและเรื่องอื่นๆ มันมาแรงกว่า
จังหวะมีมาแล้ว จะเอาไหม?
หากเรากลับเหรียญอีกด้าน อาจจะมีอะไรที่น่าสนใจมากๆ นะ ครับ

การกระทำหรือแสดงออกภายนอก แม้อาจจะเหมือนกัน
แต่เป้าหมายและเหตุผลอาจแตกต่างกัน ดำเนินการขั้นต่อๆไป ก็ต่างกัน ผลที่ได้ก็จะต่างกัน
เราอยู่ในตลาดหุ้น คงเข้าใจได้ง่ายๆ เพราะ ในตลาดมีการกระทำแสดงออกได้แค่ ซื้อ ขาย และไม่ซื้อไม่ขาย รวม 3 แบบ ที่แสดงให้เห็น

ดังนั้นเรื่อง ดอกเบี้ยนโยบาย ก็เช่นกัน ภายนอกอาจเห็นแสดงเหมือนกัน ด้วยให้เหตุผลและเป้าหมายต่างกันได้ อยู่คนใช้ต้องการอะไร แล้วดำเนินการต่อด้วยอะไร ต่างหาก (หุ้นมันง่าย เพราะเป็นของส่วนตัวเรา แต่เรื่องส่วนรวม ก็ควรว่ากันไป ตามส่วนรวม ผมพร้อมยอมรับได้ ทุกแบบ ครับ)
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ถ้าเรามองเรื่องเงินบาท คงไม่มีใครทนายอนาคตได้แม่นยำว่าจะอ่อนหรือแข็ง

สำหรับ VI ข้อสำคัญคือ

เราจะหา โอกาศ ในวิกฤติได้หรือไม่

วันนี้ทุกคนรู้เงินบาทแข็ง และส่งออกกระทบ ภาพรวมก้ดูไม่ดี แต่

บาทจะแข็งตลอดไหม อันนี้ไม่มีใครคอนเฟริม

ส่วนตัว ผมจะมองหาบริษัทที่แข็งแกร่งที่ โชวสวย และลดราคา เพราะคงเป็นช่วงที่ดี

ที่เราจะได้เป็นเจ้าของบริษัทที่ดีในราคาที่ยังถูก


สำหรับปัญหาเงินบาท ก้คงมีประโยคนี้ที่จะเขียน คือ IT SHALL PASS

แล้วเงินบาทแข็งก้จะผ่านไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: ส่งออกก.พ.กลับมาติดลบ มูลค่าหดตัวต่ำสุดรอบ1ปี

โพสต์ที่ 17

โพสต์

บุญทรงเสียงอ่อยลดเป้าส่งออก บาทแข็งทำเงินหาย 5 แสนล้าน คำสั่งซื้อไตรมาส 2 วูบกว่าครึ่ง
updated: 26 เม.ย 2556 เวลา 13:15:38 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1900

กระทรวงพาณิชย์เริ่มเสียงอ่อย ยอมลดเป้าส่งออกปีนี้จาก 8-9% มีสิทธิเหลือแค่ 5.3% พิษบาทแข็งทำมูลค่าส่งออกหายแล้ว 5 แสนล้าน ออเดอร์ไตรมาส 2 ลดลงแล้วกว่าครึ่ง แถมผู้ผลิตหันนำเข้าวัตถุดิบแทนซื้อในประเทศ ห่วงเอสเอ็มอีลูกค้าหาย

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชน วันที่ 26 เมษายนนี้ จะเป็นการรับฟังสถานการณ์ ปัญหาและผลกระทบจากค่าบาทแข็ง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและผลักดันตามเป้าหมายการส่งออก หากเป็นข้อเสนอที่กระทรวงพาณิชย์สามารถออกมาตรการดูแลได้ก็จะเร่งดำเนินการทันที แต่หากเป็นมาตรการดูแลค่าบาท จะทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ดำเนินการต่อ

นายบุญทรงกล่าวยอมรับว่า ค่าบาทแข็งกำลังเป็นปัญหาหนักของเอกชนและการส่งออก เพราะไม่สามารถแข่งขันด้านราคาส่งออกได้ จากค่าบาทแข็งค่าขึ้นแล้ว 6% นับจากปลายปี 2555 สูงกว่าค่าเงินสกุลอื่นที่แข็งค่าแค่ 1% ส่งผลให้ผู้ซื้อหันนำเข้าจากประเทศอื่นแทนแล้ว อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมที่เคยใช้วัตถุดิบในประเทศหันมานำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศแทนเช่นกันเพราะต้นทุนต่ำกว่า ยิ่งกระทบต่อผู้ผลิตต่อเนื่องด้วย โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี (ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) อาจได้รับผลกระทบในอนาคต

"หากค่าบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องและแข็งค่ากว่าปัจจุบัน รวมถึงหน่วยงานดูแลค่าเงินยังใช้มาตรการที่ไม่อาจทำให้ค่าบาทอ่อนตัวลง ตัวเลขคาดการณ์ส่งออกเดิมคงต้องลดลง และมีโอกาสที่จะต่ำกว่า 5% ซึ่งเดิมกำหนดตัวเลขไว้ 8-9% คิดคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากค่าเงินยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลให้แง่มูลค่าการส่งออกรวมทั้งปีเป็นติดลบได้ ยอมรับว่าหนักใจต่อปัญหาค่าบาทที่แข็งค่าเร็ว และจะกระทบต่อการส่งออกในไตรมาส 2 ซึ่งเอกชนส่งสัญญาณแล้วว่าคำสั่งซื้อล่วงหน้าลดลงแล้วกว่าครึ่ง" นายบุญทรงกล่าว

นายบุญทรงกล่าวว่า ทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าไทยหายไป 2.5 แสนล้านบาท จากเป้าเดิม 30 บาท ตอนนี้เหลือ 28 บาท หายไป 2 บาท ก็จะกระทบต่อมูลค่าส่งออกเกือบ 5 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลขทบทวนเป้าหมายการส่งออกอย่างเป็นทางการจะได้ข้อสรุปหลังประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากระทรวงพาณิชย์ วางกรอบเป้าหมายส่งออกปีนี้ 8-9% หรือมูลค่า 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นฐานอัตราแลกเปลี่ยน 30-31 บาท/ดอลลาร์ โดยกำหนดเป้าหมายที่มีโอกาสมากสุดคือ 7.3% แต่ปัจจุบันค่าเฉลี่ยบาท 28-29 บาท/ดอลลาร์ ทำให้กระทรวงพาณิชย์เห็นว่าโอกาสส่งออกปีนี้อยู่ที่ 5.3%

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
โพสต์โพสต์