ใกล้ฟองสบู่ ?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4473
ผู้ติดตาม: 87

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 61

โพสต์

wc เขียน:และ Value ตอนนี้ ก็ควรจะมากกว่าตอนที่ set อยู่ที่ 800 อยู่ 2 เท่า
เพราะหุ้นราคาแพงขึ้น 2เท่า

แต่อาจจะมากกว่า 2 เท่า เพราะบรรยากาศมันพาไป ทำให้เทรดกัน วันละหลายรอบ
เลยทำให้ Value มันดูเยอะ ทั้งๆที่จำนวนเงินอาจจะเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นไม่มาก

ผิดถูกยังไง ช่วยแนะนำด้วยคับ :)
คิดแบบนี้ไม่น่าจะถูกนะ เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ปริมาณซื้อขายอยู่ที่เท่าไหร่เอง ที่ปริมาณโตมากๆ มันเพิ่งเริ่มตอนต้นปีนี้เองครับ
เอาไปเทียบตอน 800 จุด มันสุดโต่งเกินไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2913
ผู้ติดตาม: 10

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ผมคิดว่าหุ้นหลายตัวแพงเกินความเป็นจริงมากนะครับ แต่ก็มีหุ้นอีกหลายตัวยังพอจะถือลงทุนได้อยู่

ก็เลยไม่รู้ว่าฟองสบู่ในหุ้นบางตัวนี่เค้าเรียกว่าฟองสบู่หรือเปล่า หรือว่าต้องรอให้มันฟองสบู่ทั้งตลาดก่อน ถึงจะเรียกได้ว่าตลาดฟองสบู่
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง

----------------------------
jokerz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1738
ผู้ติดตาม: 20

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 63

โพสต์

newbie_12 เขียน:ผมคิดว่าหุ้นหลายตัวแพงเกินความเป็นจริงมากนะครับ แต่ก็มีหุ้นอีกหลายตัวยังพอจะถือลงทุนได้อยู่

ก็เลยไม่รู้ว่าฟองสบู่ในหุ้นบางตัวนี่เค้าเรียกว่าฟองสบู่หรือเปล่า หรือว่าต้องรอให้มันฟองสบู่ทั้งตลาดก่อน ถึงจะเรียกได้ว่าตลาดฟองสบู่
สงสัยเหมือนกันเลยคับ เพราะหุ้นใหญ่ๆบางตัวก็ดูพีอีไม่ได้สูงมาก
wc
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 233
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 64

โพสต์

chatchai เขียน:
leky เขียน:พอประกาศลดค่าเงินบาท ผมยังจำได้ว่าตลาดหุ้นแดงเถือก ฟลอร์ตกตลาดติดต่อกัน น่ากลัวกว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มาก ๆ ที่แสบที่สุดคือกว่ารัฐบาลจะประกาศลดค่าเงินบาทก็รออีกหลายวัน มีคนจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากการขนเงินออกไปก่อน
อยากช่วยแก้ไข และเพิ่มเติมครับ

ช่วงก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศลอยตัวค่าเงินบาท (ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดวิธีคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน คือ ธปท. ไม่ใช่รัฐบาล) ตัวเลขส่งออกของไทยแย่มาก ซ้ำเติมตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นประจำอยู่แล้ว จนตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 8%ของ GDP

นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านออกมาเตือนให้ลดค่าเงิน ที่จำได้ ก็มี อาจารย์วีรพงษ์ และอาจารย์อัมมาร สยามวารา แต่ ธปท.ก็ออกมาปฎิเสธข่าว ซึ่งก็มีการโจมตีค่าเงินบาทเป็นระยะๆ

จนถึงเช้าวันที่ 2 ก.ค. ธปท. ก็ออกมาประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งส่วนใหญ่ก็คาดการณ์กันว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงจากประมาณ 25 บาท ลงไปที่ 28 ถึง 30 บาท

วันที่ประกาศลอยตัวนั้น ดัชนีหุ้นบวกอย่างมากนะครับ ไม่ได้ติดลบ

แต่เมื่อ IMF เข้ามาตรวจสอบ เพราะไทยต้องรับความช่วยเหลือทางการเงิน ก็พบว่าไทยไม่เหลือเงินทุนสำรองต่างประเทศแล้ว เนื่องจาก ธปท.ได้นำเงินไปต่อสู้จนหมด เมื่อทุกคนรุ้ฐานะที่แท้จริงแล้ว ค่าเงินบาทก็ไหลอย่างรวดเร็วลงไปถึง 56 บาท

ส่วนที่บอกว่าบางคนได้ประโยชน์จากการลดลงของค่าเงินบาท ผมว่านักธุรกิจบางคนที่พอจะวิเคราะห์ได้ก็พอจะคาดการณ์สถานการณ์ได้ครับ ช่วงนั้นผมทำงานสินเชื่อ ก็มีลูกค้าที่เดิมกู้ยืมเงินสกุลต่างประเทศมาแปลงเป็นสกุลเงินบาทก่อนลดค่าเงิน
อยากถามคุณฉัตรชัยว่า ตอนที่หุ้นตกจาก 1780 จุดใหม่ๆ ต้นปี 2537 ตอนนั้นเศรษฐกิจไทย
เป็นอย่างไร ความหวังทุกอย่างยังดูสดใสเหมือนเดิมหรือไม่ แล้วทำไม คนถึงเข้ามาซื้อหุ้นติด
หุ้นกันมาก
Things are almost never clear on Wall Street,
or when they are, then it’s too late to profit from them.
skyearth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 491
ผู้ติดตาม: 2

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 65

โพสต์

leky เขียน:
picatos เขียน:สุดท้าย... ขอให้ทุกคนมีความสุขกับงานเลี้ยงอันสุดแสนจะมันอย่างสุดเหวี่ยงนี้นะครับ... สำหรับผม ผมยินดีที่จะอยู่เกินเที่ยงคืนนิดหน่อย ช่วยล้างจานสักใบสองใบ แต่คงจะไม่อยู่จนถึงเช้า ล้างจานไปเรื่อยๆ ด้วยความหวังว่า พรุ่งนี้เช้าจะมีงานเลี้ยงรอบใหม่
ผมว่าเวลาที่มันเกิดฟองสบู่ ในส่วนของตลาดหุ้น ปัญหามันอยู่ที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองจะออกจากงานเลี้ยงได้ก่อนคนอื่น แต่เอาเข้าจริง ๆ ก็กลายเป็นคนต้องล้างจานไปแบบไม่ทันตั้งตัว ดีไม่ดีจะแย่งกันออกจากงานจนล้มเหยียบกันนี่สิครับ

ส่วนผมเองขอคิดแบบนี้ครับ ผมขอออกจากงานก่อนเวลาบ้าง ถ้าขับรถมาก็จะได้ไม่ติดเวลาออกจากที่จอดรถ หรือถ้านั่งแท็กซี่มาก็จะได้ไม่ต้องมายืนรอแย่งรถกัน คนที่มาซื้อหุ้นต่อจากผม ๆ ก็ต้องขอขอบคุณเค้าที่อุตส่าห์มาซื้อหุ้นต่อจากผม เพราะเวลาตลาดเป็นขาลงหุ้นจะหาคนมาซื้อยาก ขายก็ไม่ได้ราคาดี ส่วนที่จะขายหมูไปบ้างก็ถือว่าให้โอกาสคนที่เค้ากล้าที่จะมาซื้อหุ้นราคาแพงต่อจากผมได้มีโอกาสกำไรบ้าง เพราะถ้าเค้าไม่มาขอซื้อหุ้นจากผม ๆ ก็คงขายหุ้นไม่ได้ ผมควรจะขอบคุณเค้ามากกว่าที่จะมากลัวว่าจะขายหมูไปบ้างครับ

ขอบคุณความเห็นและข้อแนะนำของพี่ picatos และ พี่ leky มากครับ ให้ข้อคิดดีจริงๆครับ
ขอบคุณพี่ picatos อีกครั้งด้วยครับที่อุตส่าห์สละเวลาพิมพ์ซะยืดยาวเพื่อถ่ายทอดให้ได้อ่านกัน ขอบคุณครับ
pakakal
Verified User
โพสต์: 82
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 66

โพสต์

เข้ามาอ่านครับ กระทู้นี้ดีมากเลยครับ
got it.
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 67

โพสต์

สมัยดัชนี 1700 ครั้งแรก มีหลายเหตุที่ทำให้ตลาดเกิดเก็งกำไรสูงมาก
ผลพวงหนึ่งคือจาก "วิศวกรรมทางการเงิน" ของกลุ่มเอกธนกิจ
ผสมกับขาใหญ่หลายรายทำราคาหุ้นโดยที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถดำเนินการใด ๆได้

รูปธรรมที่เห็นชัดเจนและคนจำนวนมากยังจำได้คือ หุ้น ipo เมื่อเข้าตลาดจะราคาสูงมาก ๆ ใคร ๆ ก็แย่งหุ้น ipo
จนเกิดการซื้อขายนอกตลาด มีประกาศซื้อ-ขายกันตามหน้าหนังสือพิมพ์
(สมัยนั้นหุ้นใหม่กระจายหุ้นแล้ว ใช้เวลานานหลายเดือนก่อนเข้าซื้อขาย)

อีกประเด็นคือ หุ้นที่ประกาศเพิ่มทุน สัดส่วนสวย ๆ เช่น 1 ต่อ 1 หรือ 2 ต่อ 1 ราคาพาร์
ราคาหุ้นจะพุ่งสูง บางครั้งเป็น 100% และหลัง xr แล้ว ราคาหุ้นก็จะยังพุ่งต่อเนื่องและยาวนาน
แบบว่า ทำราคากันจนเหมือนได้หุ้นเพิ่มทุนฟรี ๆ กันเลย

หุ้น ipo กลายเป็นสมือนเครื่องพิมพ์เงินสด
หุ้นเพิ่มทุน(ส่วนมาก) ก็เป็นเสมือนเครื่องพิมพ์เงินสดเช่นกัน

.....................................................................................
เมื่อคนในตลาดสนใจแต่ส่วนต่างราคา หลงลืมพื้นฐานของหุ้น เมื่อนั้นคือหายนะ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 84

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 68

โพสต์

wc เขียน:อยากถามคุณฉัตรชัยว่า ตอนที่หุ้นตกจาก 1780 จุดใหม่ๆ ต้นปี 2537 ตอนนั้นเศรษฐกิจไทย
เป็นอย่างไร ความหวังทุกอย่างยังดูสดใสเหมือนเดิมหรือไม่ แล้วทำไม คนถึงเข้ามาซื้อหุ้นติด
หุ้นกันมาก
ช่วงที่ดัชนีขึ้นไปถึง 1700 จุด ทุกอย่างดูสดใส ธุรกิจสื่อสารเป็นดาวรุ่ง ซึ่งเมื่อวันเวลาผ่านมาธุรกิจสื่อสารก็ดีจริงตามคาด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทในอุตสาหกรรมสื่อสารจะมีผลการดำเนินงานที่ดีทุกบริษัท ไม่นับราคาที่สูงมากๆทั้งๆที่บริษัทไม่มีกำไร

ปัจจุบัน ก็มีหลายอุตสาหกรรมที่มีการกล่าวถึงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นธุรกิจดาวรุ่ง ราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องก็พุ่งขึ้นล่วงหน้า วงล้อเริ่มซ้ำรอยเดิม
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 69

โพสต์

prichar s. เขียน:สมัยดัชนี 1700 ครั้งแรก มีหลายเหตุที่ทำให้ตลาดเกิดเก็งกำไรสูงมาก
ผลพวงหนึ่งคือจาก "วิศวกรรมทางการเงิน" ของกลุ่มเอกธนกิจ
ผสมกับขาใหญ่หลายรายทำราคาหุ้นโดยที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถดำเนินการใด ๆได้

รูปธรรมที่เห็นชัดเจนและคนจำนวนมากยังจำได้คือ หุ้น ipo เมื่อเข้าตลาดจะราคาสูงมาก ๆ ใคร ๆ ก็แย่งหุ้น ipo
จนเกิดการซื้อขายนอกตลาด มีประกาศซื้อ-ขายกันตามหน้าหนังสือพิมพ์
(สมัยนั้นหุ้นใหม่กระจายหุ้นแล้ว ใช้เวลานานหลายเดือนก่อนเข้าซื้อขาย)


แต่ก่อนหุ้นสื่อสาร IPO ไม่ต้องพูดครับ แย่งกันราคานอกตลาดขึ้นไปเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ ตัวหลัง ๆ ราคา IPO แพงมาก ๆ จนตอนหลังคนเริ่มไม่ยอมจ่ายแพง อย่าง JAS ที่เดิมชื่อ JASMIN IPO ประมาณ 350 บาท พาร์ 10 เข้าตลาดก็ต่ำกว่าจอง

ตอนที่ TA (TRUE เดิม) มีมาร์เก็ตแคปมากที่สุดในตลาด หุ้นราคาประมาณ 100 บาท (พาร์ 10) เวลาหุ้นขึ้นแรง ๆ นักวิเคราะห์ในห้องค้าเชียร์ TA ยังกะเชียร์บอลครับ นลท.ในห้องค้าก็มีเฮรับ ผมยังจำประโยคที่นักวิเคราะห์พูดผ่านไมค์ได้จนถึงวันนี้ "TA บวก 1 บาท ดัชนีบวก 1 จุด" :D

หุ้นกลุ่ม "เอก" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นไฟแนนซ์เป็นของชอบของนลท.ครับ เวลามีข่าวว่าจะไปเทคโอเวอร์หุ้นตัวไหนก็วิ่งแหลก เช่น ONE ที่เป็น holding company แต่อยู่กลุ่มสิ่งทอ พวกไฟแนนซ์ก็ FIN1 PRIME S-ONE (KGI ในปัจจุบัน) FAS ยังมีอีกตัวหนึ่งที่ผมว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเป็นตระกูลเอกก็คือ DCC

ผมยังเคยเห็นปรากฎการณ์ที่ไม่คิดว่าจะได้เห็นคือ การเปิดขายใบจองหุ้น บงล.กรุงไทย (KTF) เปิดขายให้ 1 ใบจองต่อคนต่อครั้ง แต่มีนลท.รายใหญ่เกณฑ์คนงานเป็นสิบคนมาวนซื้อใบจองเหมือนเล่นปาหี่ คือคนขายก็เห็นว่าวนเป็นสิบ ๆ รอบ คนซื้อที่เป็นนลท.รายใหญ่ก็ยืนแจกเงินให้คนงานที่ตัวเองเกณฑ์มาคนละ 20 บาท เป็นค่าใบจอง เรียกได้ว่าแค่ค่าใบจองก็คงได้เงินไปหลาย สุดท้ายบงล.แห่งนี้ก็หายไปกับวิกฤติเศรษฐกิจ

prichar s. เขียน:อีกประเด็นคือ หุ้นที่ประกาศเพิ่มทุน สัดส่วนสวย ๆ เช่น 1 ต่อ 1 หรือ 2 ต่อ 1 ราคาพาร์
ราคาหุ้นจะพุ่งสูง บางครั้งเป็น 100% และหลัง xr แล้ว ราคาหุ้นก็จะยังพุ่งต่อเนื่องและยาวนาน
แบบว่า ทำราคากันจนเหมือนได้หุ้นเพิ่มทุนฟรี ๆ กันเลย

หุ้น ipo กลายเป็นสมือนเครื่องพิมพ์เงินสด
หุ้นเพิ่มทุน(ส่วนมาก) ก็เป็นเสมือนเครื่องพิมพ์เงินสดเช่นกัน

.....................................................................................
เมื่อคนในตลาดสนใจแต่ส่วนต่างราคา หลงลืมพื้นฐานของหุ้น เมื่อนั้นคือหายนะ
แต่ก่อนมุมมองของตลาดคือ การเพิ่มทุนคือโอกาสของบ.ที่จะโตครับ มักจะมีรูปแบบคล้าย ๆ กันคือ เริ่มจากข่าวลือว่าบ.จะเพิ่มทุน หุ้นก็จะขึ้นมาอย่างร้อนแรง ช่วงแรกบ.ก็จะเหมือนตอบแบบแทงกั๊ก ยิ่งแทงกั๊กหุ้นก็ยิ่งขึ้น สุดท้ายก็จะตามมาด้วยข่าวจริง
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 70

โพสต์

“ฟองสบู่..ดูอย่างไร?”

โดย : ดร. วิรไท สันติประภพ

ถ้าติดตามข่าวเศรษฐกิจช่วงนี้ จะเห็นความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ เพราะราคาสินทรัพย์หลายชนิดได้เพิ่มขึ้นเร็วมาก

ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น ราคาที่ดิน การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ทำให้คนสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น แต่สนใจแบบกลัวๆ กล้าๆ เพราะถ้าเข้าไปในสภาวะฟองสบู่ อาจเจ็บตัวได้

สภาวะฟองสบู่เป็นโจทย์ยากสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ เพราะไม่สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะฟองสบู่ได้แม่นยำ โดยตอบไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นแล้วหรือยัง และส่งสัญญาณเตือนไม่ได้ว่าฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว จะแตกลงเมื่อใด หลายครั้งภาวะฟองสบู่ถูกปล่อยให้มีขนาดใหญ่มาก เมื่อแตกจึงกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ และสร้างความเสียหายแก่คนในสังคม

ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกเกิดสภาวะฟองสบู่ใหญ่ๆ ขึ้นหลายครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ตื่นดอกทิวลิป ทั่วฮอลแลนด์ในช่วงกลางทศวรรษ 1630 ฟองสบู่ราคาที่ดินในอังกฤษจากแผนขยายเส้นทางรถไฟในช่วงทศวรรษ 1840 ?ฟองสบู่ราคาที่ดินในแคลิฟอร์เนียจากเหตุการณ์ตื่นทอง ฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นและฮ่องกง ฟองสบู่ราคาหุ้นในไทยก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ฟองสบู่หุ้นกลุ่ม dot-com ฟองสบู่ราคาบ้านและ sub-prime ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรปที่ยังสร้างปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ไปจนถึงฟองสบู่จตุคามรามเทพที่สร้างความตื่นเต้นกันอยู่พักใหญ่

ภาวะฟองสบู่เกิดจากความโลภของคนหมู่มาก ที่มีเหตุทำให้เกิดอาการตื่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งคล้ายกัน จนนำไปสู่พฤติกรรมเก็งกำไร หวังผลในระยะสั้น ฟองสบู่มักเริ่มจากข่าวเกี่ยวกับโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ซึ่งข่าวเหล่านี้ไม่ได้ถูกเปิดเผย เป็นข่าวลือที่ทำให้คนไปเติมต่อ และกระพือต่อจนทำให้เกิดพฤติกรรมเก็งกำไรต่อไปเรื่อยๆ การกระพือข่าวเป็นปรากฏการณ์คู่กับภาวะฟองสบู่ เพราะคนที่เข้ามาเก็งกำไรก่อน ย่อมต้องการให้มีคนเข้ามาร่วมเก็งกำไรมากขึ้น เพื่อส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ช่วงแรกการเก็งกำไร อุปสงค์จะมากกว่าอุปทานเสมอ เมื่อมีอุปสงค์จากนักเก็งกำไรหน้าใหม่เข้ามา ราคาจะกระโดดสูงขึ้น เท่ากับตอกย้ำว่าผลประโยชน์ที่ลือกันว่าจะได้รับเป็นความจริง

ในช่วงหลังฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่มักได้รับแรงส่งจากสถาบันการเงิน สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น การพิจารณาสินเชื่อก็ง่ายขึ้น เพราะหลักประกันมีมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งในสภาวะฟองสบู่ จะเกิดปรากฏการณ์ซื้อง่ายขายคล่อง เจ้าของโครงการต่างมีหลักฐานการจองซื้อไปขอเบิกเงินจากสถาบันการเงินได้ง่าย ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้สถาบันการเงินเป็นแรงส่งสภาวะฟองสบู่ คือแรงจูงใจของผู้ถือหุ้น และผู้บริหารของสถาบันการเงิน ถ้าสถาบันการเงินไหนปล่อยสินเชื่อได้มากกว่าคู่แข่ง ราคาหุ้นจะสูงขึ้น เพราะรายได้ดอกเบี้ยรับสูงขึ้นในขณะที่สินเชื่อที่ปล่อยใหม่ไม่ค่อยมีปัญหาการชำระหนี้ ส่วนผู้บริหารสถาบันการเงินนั้น โบนัสที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับผลกำไรของสถาบันการเงินในแต่ละปี จึงไม่นิยมที่จะมองไกลๆ โดยเฉพาะผู้บริหารสถาบันการเงินรุ่นหนุ่มสาวที่ไม่เคยผ่านสภาวะฟองสบู่มาก่อน เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นแรงส่งที่สำคัญของฟองสบู่ จึงมักเกิดวิกฤตระบบสถาบันการเงินขึ้นทุกครั้งที่ฟองสบู่ขนาดใหญ่แตก ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวรุนแรง และรัฐบาลต้องนำเงินภาษีมาอุ้มสถาบันการเงินที่มีปัญหา

แรงส่งที่ทำให้เกิดสภาวะฟองสบู่จะแรงขึ้นในช่วงที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากๆ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเป็นเวลานาน เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ สถาบันการเงินก็ปล่อยสินเชื่อได้ง่าย ในขณะที่ผู้ออมได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินในระดับต่ำมาก จึงนิยมลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น บ้านหรือที่ดินโดยหวังว่าราคาสินทรัพย์เหล่านี้จะปรับสูงขึ้นเร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

ในขณะที่เราเห็นข่าวความกังวลว่าสภาวะฟองสบู่อาจจะกำลังก่อตัวขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กลับตอบไม่ได้ชัดเจนว่าควรใช้เกณฑ์ใดตัดสินว่าเกิดสภาวะฟองสบู่ขึ้นแล้วหรือยัง แต่มักพิจารณาจากสี่มิติสำคัญ มิติแรก ราคาสินทรัพย์ได้ปรับสูงขึ้นเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็นตามหลักทฤษฎีมากน้อยเพียงใด แต่ในทางปฏิบัติแล้วราคาตามหลักทฤษฎีจะขึ้นอยู่กับสมมุติฐานหลายด้าน ที่มักปรับสูงขึ้นไปพร้อมๆ กับราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ในช่วงต้นของการเกิดสภาวะฟองสบู่ เศรษฐกิจมักจะเติบโตดี ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ดีขึ้น คนจึงไม่ค่อยกังวลว่าราคาหุ้นปรับสูงขึ้นมาก แม้ว่าราคาหุ้นต่อกำไรหรือค่า P/E ratio จะกระโดดสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมาหลายเท่าตัว ในส่วนของบ้านอาจจะคำนวณราคาที่ควรเป็นตามหลักทฤษฎีได้ยาก เพราะราคาบ้านที่คนยินดีจ่ายขึ้นอยู่กับความพอใจและกำลังซื้อของแต่ละคน ในช่วงที่สถาบันการเงินแข่งกันปล่อยสินเชื่อ คิดเงินดาวน์ต่ำ อัตราดอกเบี้ยถูก และเปิดโอกาสให้ผ่อนได้นานหลายสิบปี คนที่กู้เงินซื้อบ้านก็ซื้อบ้านได้ราคาแพงขึ้น การคำนวณราคาสินทรัพย์ที่ควรจะเป็นตามหลักทฤษฎี จึงต้องมองไกลๆ และให้มีสมมุติฐานที่ครอบคลุมทั้งสภาวะฟองสบู่ และสภาวะที่เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง

มิติที่สอง ต้องติดตามการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ต่างๆ ว่ามีการใช้จริงตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด เรามักจะเห็นตึกร้างและบ้านร้างจำนวนมากก่อนที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จะแตก เพราะคนส่วนใหญ่ซื้อบ้านเพื่อให้เช่าและเก็งกำไร ในทางปฏิบัติเราอาจจะดูได้ยากว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น จะใช้อยู่จริงมากน้อยเพียงใด เพราะแต่ละโครงการใช้เวลานานกว่าที่จะสร้างเสร็จ ผู้รู้บางคนแนะนำให้สังเกตจากของแถมที่โครงการต่างๆ โฆษณา ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่โครงการต่างๆ แข่งกันให้ของแถมประเภททัวร์เที่ยวเมืองนอก ชิงโชครถยนต์ หรือของแถมที่ไม่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านแล้ว ผู้ซื้อบ้านคงไม่มีเจตนาที่จะอยู่เอง

มิติที่สามต้องติดตามความถี่ของการซื้อขายสินทรัพย์แต่ละประเภท ถ้าราคาสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับความถี่ของการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากด้วย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่ากำลังเกิดสภาวะฟองสบู่ขึ้น เวลาที่เริ่มเกิดฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์ เราจะเห็นการซื้อขายใบจองหลายรอบก่อนที่โครงการจะสร้างเสร็จ สำหรับหุ้น ถ้าเห็นการซื้อขายหุ้นบางกลุ่มเปลี่ยนมือบ่อยจนผิดปกติ ให้เชื่อได้ว่าหุ้นเหล่านั้นกำลังอยู่ในสภาวะฟองสบู่ นอกจากจะดูความถี่ของการซื้อขายสินทรัพย์แล้ว จะต้องดูคนที่เข้ามาซื้อขายด้วย ถ้ามีรายย่อยหน้าใหม่ๆ จำนวนมากเข้ามาซื้อขายเพิ่มขึ้นแล้ว ให้เชื่อได้ว่าสภาวะฟองสบู่กำลังระบาดอย่างรวดเร็ว

มิติสุดท้าย คือมิติด้านจิตวิทยา ในช่วงที่เกิดสภาวะฟองสบู่ คนส่วนใหญ่จะมองโลกในแง่ดีไปหมด รัฐบาลมักจะบอกว่าราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นมาก บริษัทอสังหาริมทรัพย์แข่งกันออกโครงการต่างๆ และมีแต่ข่าวว่าปิดการขายได้รวดเร็ว สถาบันการเงินตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนักวิเคราะห์หุ้นปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ราคาหุ้นจริงเข้าใกล้เป้าหมายเดิมที่คาดการณ์ไว้ ในช่วงที่สภาวะฟองสบู่ก่อตัวขึ้นนี้ คนส่วนใหญ่มักจะไม่รับฟังคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หลายคนเชื่อมั่นว่าถ้าฟองสบู่ใกล้จะแตกจริง ตนจะรู้ก่อน และออกได้ก่อนคนอื่น

นอกจากการตัดสินว่าเกิดฟองสบู่ขึ้นแล้วหรือยังจะเป็นเรื่องยากแล้ว การหยุดไม่ให้ฟองสบู่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า เพราะเป็นการทวนกระแสความโลภของคน และรัฐบาลส่วนใหญ่ชอบที่จะให้เกิดสภาวะฟองสบู่แบบอ่อนๆ เพราะจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเศรษฐกิจดี บางรัฐบาลเป็นผู้โฆษณาชวนเชื่อให้เกิดข่าวดีต่างๆ ขึ้น (โดยเฉพาะโครงการลงทุนใหม่ๆ) รวมทั้งสนใจแต่เรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระยะสั้น ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพ สิ่งที่เราเรียนรู้จากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกหลายครั้งที่ผ่านมาคือถ้าปล่อยไว้จนเกิดสภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่แล้ว ไม่มีรัฐบาลไหนต้องการให้ฟองสบู่แตกในความรับผิดชอบของตน ไม่กล้าดำเนินมาตรการใดๆ ที่จะชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เพราะกลัวว่าจะทำให้ฟองสบู่แตกคามือ บางรัฐบาลกลับออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเพิ่มเติม บังคับให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อ หรือกดดันให้ธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อเห็นว่าฟองสบู่เริ่มอ่อนกำลังลง

โจทย์สำคัญของการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค คือจะต้องป้องกันไม่ให้สภาวะฟองสบู่ขยายตัวจนควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะสภาวะฟองสบู่ที่จะกระทบกับคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ หรือความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน หน้าที่สำคัญของการแตะเบรกไม่ให้เกิดสภาวะฟองสบู่เป็นหน้าที่ของทั้งรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ การแตะเบรกฟองสบู่เป็นเรื่องทวนกระแสผลประโยชน์ของคน จึงไม่ค่อยมีใครอยากทำ แต่ทุกประเทศต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแตะเบรก และต้องกล้าที่จะแตะเบรกเมื่อเห็นสัญญาณการก่อตัวขึ้นของสภาวะฟองสบู่ แต่ในการแตะเบรกนั้นจะต้องรู้เท่าทันสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น มีข้อมูลที่ครบถ้วนและทันกาล รวมทั้งต้องช่วยกันทำให้ข่าวลือต่างๆ มีความชัดเจน โปร่งใส ไม่ถูกกระพือมากขึ้นเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่คนบางกลุ่ม

ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจสภาวะฟองสบู่มากขึ้น ถ้าท่านใดเห็นเค้าลางว่าฟองสบู่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว แต่เชื่อว่าจะสามารถออกได้เร็วกว่าคนอื่น เมื่อฟองสบู่เริ่มอ่อนกำลังลง ผมขอแนะนำให้ท่านบูชาองค์จตุคาม รามเทพ องค์จตุคามท่านผ่านฟองสบู่มาก่อน คงจะช่วยเตือนสตินักเก็งกำไรทั้งหลายได้เป็นอย่างดี :rofl:
"Become a risk taker, not a risk maker"
เกล้า
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1190
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 71

โพสต์

chatchai เขียน:
wc เขียน:อยากถามคุณฉัตรชัยว่า ตอนที่หุ้นตกจาก 1780 จุดใหม่ๆ ต้นปี 2537 ตอนนั้นเศรษฐกิจไทย
เป็นอย่างไร ความหวังทุกอย่างยังดูสดใสเหมือนเดิมหรือไม่ แล้วทำไม คนถึงเข้ามาซื้อหุ้นติด
หุ้นกันมาก
ช่วงที่ดัชนีขึ้นไปถึง 1700 จุด ทุกอย่างดูสดใส ธุรกิจสื่อสารเป็นดาวรุ่ง ซึ่งเมื่อวันเวลาผ่านมาธุรกิจสื่อสารก็ดีจริงตามคาด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทในอุตสาหกรรมสื่อสารจะมีผลการดำเนินงานที่ดีทุกบริษัท ไม่นับราคาที่สูงมากๆทั้งๆที่บริษัทไม่มีกำไร

ปัจจุบัน ก็มีหลายอุตสาหกรรมที่มีการกล่าวถึงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นธุรกิจดาวรุ่ง ราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องก็พุ่งขึ้นล่วงหน้า วงล้อเริ่มซ้ำรอยเดิม
พี่ฉัตรชัยครับ..แล้วมุมมองพี่..จากจุดนี้มีโอกาศมากน้อยอย่างไรครับ..ที่จะย้อนรอยกลับไปเหมือนตอนวิกฤติปี 40
ควรทุ่มเทเจริญให้มาก..ในงานที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง..
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 72

โพสต์

leky เขียน:
prichar s. เขียน:อีกประเด็นคือ หุ้นที่ประกาศเพิ่มทุน สัดส่วนสวย ๆ เช่น 1 ต่อ 1 หรือ 2 ต่อ 1 ราคาพาร์
ราคาหุ้นจะพุ่งสูง บางครั้งเป็น 100% และหลัง xr แล้ว ราคาหุ้นก็จะยังพุ่งต่อเนื่องและยาวนาน
แบบว่า ทำราคากันจนเหมือนได้หุ้นเพิ่มทุนฟรี ๆ กันเลย


หุ้น ipo กลายเป็นสมือนเครื่องพิมพ์เงินสด
หุ้นเพิ่มทุน(ส่วนมาก) ก็เป็นเสมือนเครื่องพิมพ์เงินสดเช่นกัน

.....................................................................................
เมื่อคนในตลาดสนใจแต่ส่วนต่างราคา หลงลืมพื้นฐานของหุ้น เมื่อนั้นคือหายนะ
แต่ก่อนมุมมองของตลาดคือ การเพิ่มทุนคือโอกาสของบ.ที่จะโตครับ มักจะมีรูปแบบคล้าย ๆ กันคือ เริ่มจากข่าวลือว่าบ.จะเพิ่มทุน หุ้นก็จะขึ้นมาอย่างร้อนแรง ช่วงแรกบ.ก็จะเหมือนตอบแบบแทงกั๊ก ยิ่งแทงกั๊กหุ้นก็ยิ่งขึ้น สุดท้ายก็จะตามมาด้วยข่าวจริง
โดนใจใช่เลยครับ เข้ายุคเข้าสมัยมากๆ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
cro4ymi
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 73

โพสต์

ผมไปค้นดูแล้ว รายการวอลุ่มข้างบนนั้นเป็นแค่บิ๊กล็อตธรรมดา
ผมเองที่ตกข่าว สงสัยพักนี้ขี้ระแวงเกิน ขออภัยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1977
ผู้ติดตาม: 109

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 74

โพสต์

kongkiti เขียน:
leky เขียน:
prichar s. เขียน:อีกประเด็นคือ หุ้นที่ประกาศเพิ่มทุน สัดส่วนสวย ๆ เช่น 1 ต่อ 1 หรือ 2 ต่อ 1 ราคาพาร์
ราคาหุ้นจะพุ่งสูง บางครั้งเป็น 100% และหลัง xr แล้ว ราคาหุ้นก็จะยังพุ่งต่อเนื่องและยาวนาน
แบบว่า ทำราคากันจนเหมือนได้หุ้นเพิ่มทุนฟรี ๆ กันเลย


หุ้น ipo กลายเป็นสมือนเครื่องพิมพ์เงินสด
หุ้นเพิ่มทุน(ส่วนมาก) ก็เป็นเสมือนเครื่องพิมพ์เงินสดเช่นกัน

.....................................................................................
เมื่อคนในตลาดสนใจแต่ส่วนต่างราคา หลงลืมพื้นฐานของหุ้น เมื่อนั้นคือหายนะ
แต่ก่อนมุมมองของตลาดคือ การเพิ่มทุนคือโอกาสของบ.ที่จะโตครับ มักจะมีรูปแบบคล้าย ๆ กันคือ เริ่มจากข่าวลือว่าบ.จะเพิ่มทุน หุ้นก็จะขึ้นมาอย่างร้อนแรง ช่วงแรกบ.ก็จะเหมือนตอบแบบแทงกั๊ก ยิ่งแทงกั๊กหุ้นก็ยิ่งขึ้น สุดท้ายก็จะตามมาด้วยข่าวจริง
โดนใจใช่เลยครับ เข้ายุคเข้าสมัยมากๆ
มองในแง่ ผบห. เขาก็คงมองเป็นจังหวะดีของบริษัทเขาละครับ ที่จะระดมทุนได้เยอะมากมายขนาดนี้อ่ะ

เห็นหลายวันมานี้ หุ้นบางตัว ปันผลเป็นหุ้นปุ๊บ...หรือเพิ่มทุนปั๊บ...กลับขึ้นมาเท่าเก่า หรือไม่ก็ ลิ่งโชว์เลย

คิดถึงสโลแกนพี่พอใจ... รู้อะไรไม่สู้...รู้งี้ :oops:
อย่าเชื่ออะไรผมนักเลย ผมโชว์โง่บ่อยมาก -..-

"ซื้อที่high ขายที่low Showแต่ดอย ทะยอยcut"
bennn
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 75

โพสต์

leky เขียน:
picatos เขียน:สุดท้าย... ขอให้ทุกคนมีความสุขกับงานเลี้ยงอันสุดแสนจะมันอย่างสุดเหวี่ยงนี้นะครับ... สำหรับผม ผมยินดีที่จะอยู่เกินเที่ยงคืนนิดหน่อย ช่วยล้างจานสักใบสองใบ แต่คงจะไม่อยู่จนถึงเช้า ล้างจานไปเรื่อยๆ ด้วยความหวังว่า พรุ่งนี้เช้าจะมีงานเลี้ยงรอบใหม่
ผมว่าเวลาที่มันเกิดฟองสบู่ ในส่วนของตลาดหุ้น ปัญหามันอยู่ที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองจะออกจากงานเลี้ยงได้ก่อนคนอื่น แต่เอาเข้าจริง ๆ ก็กลายเป็นคนต้องล้างจานไปแบบไม่ทันตั้งตัว ดีไม่ดีจะแย่งกันออกจากงานจนล้มเหยียบกันนี่สิครับ

ส่วนผมเองขอคิดแบบนี้ครับ ผมขอออกจากงานก่อนเวลาบ้าง ถ้าขับรถมาก็จะได้ไม่ติดเวลาออกจากที่จอดรถ หรือถ้านั่งแท็กซี่มาก็จะได้ไม่ต้องมายืนรอแย่งรถกัน คนที่มาซื้อหุ้นต่อจากผม ๆ ก็ต้องขอขอบคุณเค้าที่อุตส่าห์มาซื้อหุ้นต่อจากผม เพราะเวลาตลาดเป็นขาลงหุ้นจะหาคนมาซื้อยาก ขายก็ไม่ได้ราคาดี ส่วนที่จะขายหมูไปบ้างก็ถือว่าให้โอกาสคนที่เค้ากล้าที่จะมาซื้อหุ้นราคาแพงต่อจากผมได้มีโอกาสกำไรบ้าง เพราะถ้าเค้าไม่มาขอซื้อหุ้นจากผม ๆ ก็คงขายหุ้นไม่ได้ ผมควรจะขอบคุณเค้ามากกว่าที่จะมากลัวว่าจะขายหมูไปบ้างครับ
การออกก่อนเวลาต้องวิเคราะห์สถานการณ์ฟองสบู่ได้อย่างแม่นยำหรือเปล่าครับ
เช่น ถ้าเราวิเคราะห์ว่าที่ SET 1200 จุด อยู่ในช่วงฟองสบู่ หรือคำนวณแล้วว่าหุ้นตัวที่เราถือเกินพื้นฐานไปมาก
ถ้าเกิดงานเลี้ยงยืดยาวไปอีกเป็นปีๆ เราอาจจะออกจากตลาดเร็วเกินไปอ่ะครับ
WaayVI
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 76

โพสต์

ถ้าออกจากงานเลี้ยงก่อนเวลาเป็นปีๆ หรือ นานกว่านั้น คนที่รับกับผลของมันคือ คุณคนเดียวครับ ไม่มีใครมานั่งรับผิดชอบกับการตัดสินใจของใคร ต้องกรณีงานเลี้ยงจบจริงๆ ถึงจะมีคนมาแสดงตัวว่าทำนายถูก แต่นอกนั้น ก็จะรอมาพูดใหม่เรื่อยๆถึงฟองสบู่จนกว่ามันจะถูก

เพราะฉะนั้นต้องใช้วิจารณญาณในการรับฟังครับ คุณจะเสียหายคนเดียว ไม่มีใครที่พร่ำพูดว่าฟองสบู่จะมาเก็บเศษอาหารในงานโยนมานอกงานให้คุณถ้าคุณคัดสินใจผิด ฉันใดก็จะไม่มีใครที่จะมานั่งล้างจานกับคุณถ้าคุณอยู่ในงานตอนฟองสบู่แตก

พื้นฐานกิจการและสภาพแวดล้อมที่กระทบกิจการผมว่าสำคัญที่สุด ถ้าจะลงทุนในแนวนี้
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 77

โพสต์

bennn เขียน:
leky เขียน:
picatos เขียน:สุดท้าย... ขอให้ทุกคนมีความสุขกับงานเลี้ยงอันสุดแสนจะมันอย่างสุดเหวี่ยงนี้นะครับ... สำหรับผม ผมยินดีที่จะอยู่เกินเที่ยงคืนนิดหน่อย ช่วยล้างจานสักใบสองใบ แต่คงจะไม่อยู่จนถึงเช้า ล้างจานไปเรื่อยๆ ด้วยความหวังว่า พรุ่งนี้เช้าจะมีงานเลี้ยงรอบใหม่
ผมว่าเวลาที่มันเกิดฟองสบู่ ในส่วนของตลาดหุ้น ปัญหามันอยู่ที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองจะออกจากงานเลี้ยงได้ก่อนคนอื่น แต่เอาเข้าจริง ๆ ก็กลายเป็นคนต้องล้างจานไปแบบไม่ทันตั้งตัว ดีไม่ดีจะแย่งกันออกจากงานจนล้มเหยียบกันนี่สิครับ

ส่วนผมเองขอคิดแบบนี้ครับ ผมขอออกจากงานก่อนเวลาบ้าง ถ้าขับรถมาก็จะได้ไม่ติดเวลาออกจากที่จอดรถ หรือถ้านั่งแท็กซี่มาก็จะได้ไม่ต้องมายืนรอแย่งรถกัน คนที่มาซื้อหุ้นต่อจากผม ๆ ก็ต้องขอขอบคุณเค้าที่อุตส่าห์มาซื้อหุ้นต่อจากผม เพราะเวลาตลาดเป็นขาลงหุ้นจะหาคนมาซื้อยาก ขายก็ไม่ได้ราคาดี ส่วนที่จะขายหมูไปบ้างก็ถือว่าให้โอกาสคนที่เค้ากล้าที่จะมาซื้อหุ้นราคาแพงต่อจากผมได้มีโอกาสกำไรบ้าง เพราะถ้าเค้าไม่มาขอซื้อหุ้นจากผม ๆ ก็คงขายหุ้นไม่ได้ ผมควรจะขอบคุณเค้ามากกว่าที่จะมากลัวว่าจะขายหมูไปบ้างครับ
การออกก่อนเวลาต้องวิเคราะห์สถานการณ์ฟองสบู่ได้อย่างแม่นยำหรือเปล่าครับ
เช่น ถ้าเราวิเคราะห์ว่าที่ SET 1200 จุด อยู่ในช่วงฟองสบู่ หรือคำนวณแล้วว่าหุ้นตัวที่เราถือเกินพื้นฐานไปมาก
ถ้าเกิดงานเลี้ยงยืดยาวไปอีกเป็นปีๆ เราอาจจะออกจากตลาดเร็วเกินไปอ่ะครับ
ถ้าอ่านดูบทความหลาย ๆ อย่าง เค้าก็บอกแล้วว่า "ฟองสบู่" มัน "บอกยาก" บางครั้งนักวิชาการก็ไม่ได้ฟันธงว่าใช่หรือไม่ใช่ เพียงแต่ถ้าเราไม่แน่ใจก็ควรจะต้องระวังไว้ ผมเองก็ไม่ได้บอกว่าตอนนี้มันฟองสบู่หรือว่าฟองสบู่มันกำลังจะแตกนะครับ

ไม่ต้องอะไรมากหรอกครับเอาที่ใกล้ ๆ เลย ราคาทองคำในปีนี้ที่บูมกันชนิดที่คนไปเข้าคิวกันที่ร้านทองเพื่อที่จะซื้อหรือเก็งกำไรเทียบกับตอนนี้เป็นอย่างไร ในตอนนั้นคนก็มองว่าทองคำจะไปได้เรื่อย ๆ คนที่ไม่เคยเล่นทองก็อยากซื้อทองกับเค้าบ้าง

ความหมายของผมเรื่องการออกจากงานเลี้ยงก่อน ผมขอขยายความหน่อยนะครับว่า ผมหมายถึงสมมติว่าผมประเมินแล้วว่าราคาหุ้นตัวที่ผมถืออยู่มันควรจะเป็นเท่านี้ แต่ถ้ามันขึ้นไปมากกว่านั้นด้วยความบ้าคลั่ง ผมก็คงไม่ไปยึดติดว่าจะต้องขายให้ได้แพงที่สุด แต่ถ้ามันเกินมูลค่าของมันผมก็ยินดีที่จะขาย ถึงแม้ว่ามันจะขึ้นต่อไปบ้างถ้าผมขายออกไป แต่ถ้าหุ้นตัวไหนที่ยังสามารถที่จะถืออยู่ได้ผมก็ยังคงเลือกที่จะถือต่อถ้าหุ้นตัวนั้นมีอนาคต

บางคนอาจจะเลือกที่จะให้ภาพมันเห็นชัด โดยดูจากตัวเลขหรืออะไรหลาย ๆ อย่าง หรือถ้าเป็นคนที่ใช้สัญญาณทางเทคนิคก็อาจจะรอให้เห็นสัญญาณตรงนั้นครับ

ลงทุนแล้วขาดทุนหรือกำไรในหุ้น ผมไม่ยึดติดและเครียดกับมันมากนะครับ หุ้นมีขึ้นมีลง กำไรมากกำไรน้อย ขายหมูซื้อควาย คงเจอกันบ้างไม่มากก็น้อย ถ้าเราคิดแต่จะต้องขายให้ได้สูงที่สุดหรือซื้อให้ได้ต่ำที่สุด สุดท้ายถึงจะได้กำไรก็ยังเครียด เครียดที่กลัวขายหมู เครียดที่เห็นหุ้นที่เราขายมันวิ่งขึ้นไปต่อ เครียดที่คิดว่าซื้อหุ้นต่ำแล้วมีต่ำอีก เครียดที่ขายคัทลอสแล้วหุ้นกลับขึ้น ผมเชื่อว่าถ้าเรามัวแต่ "เพ่งเล็ง" เรื่องเหล่านี้มากเกินไป การลงทุนของเรามันก็คงมีแต่ความทุกข์มากกว่าที่จะสุขครับ ลองถามตัวเองดูครับเราเคยซื้อหุ้นได้ในช่วงต่ำที่สุดกี่ครั้งหรือขายได้ในช่วงที่สูงที่สุดกี่ครั้ง เทียบกับการตัดสินใจซื้อขายทั้งหมด

เรื่องฟองสบู่ผมว่ามันคงบอกได้แน่ ๆ ถ้ามันเกิดขึ้น แต่ตอนที่มันกำลังเกิดคงไม่มีใครบอกได้ ใครอยากเชื่อก็เชื่อใครไม่อยากเชื่อก็อย่าไปเชื่อครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
luz666
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 845
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 78

โพสต์

ปัญหาคือไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ฟองสบู่จะแตก หุ้นหลายตัวอาจจะดูเต็มหรือเกินมูลค่าก็จริง แต่ก็ไม่แน่ว่ามันต้องตกพรวดเดียวตอนฟองสบู่แตก อาจจะซึมๆ ไม่ไปไหน จนกำไรตามมาทันก็ได้ ไม่มีใครรู้ ส่วนตัวก็ทำเหมือนเดิม ขายตัวที่คิดว่าเต็มมูลค่า ซื้อ/ถือตัวที่คิดว่ายังมี upside แต่ก็ถือเงินสดเยอะหน่อย เผื่อมีของ sale :|
all i need is Zero
kudochiniji
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 199
ผู้ติดตาม: 2

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 79

โพสต์

การลงทุนในช่วงเวลาแบบนี้ผมคิดว่าเราควรเตรียมเงินสดไว้บ้าง เมื่อเกิดฟองสบู่ขึ้นจริงๆเราจะได้มีเงินไว้ซื้อบริษัทดีๆที่ราคาถูก ส่วนตัวไม่ได้ดูดัชนีเลยดูแค่บริษัทที่ตัวเองถือและบริษัทที่อยากเป็นเจ้าของ เผื่อมี On sale
บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน มีผู้บริหารที่ดีและเก่ง ราคาที่ซื้อมี MOS เพียงพอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Crested Jay
Verified User
โพสต์: 253
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ดำ เขียน:ตอนนี้ถ้าตลาดกลายเป็นขาลง ภาพน่าจะใกล้เคียงกับรอบ เแฮมเบอร์เกอร์ มากกว่า ต้มยำกุ้ง นะครับ
บรรยากาศในตลาดหุ้นตอนนี้ใกล้เคียงกับตอนก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งมากๆ แตกต่างกันตรงที่ปัจจุบันดอกเบี้ยต่ำติดดิน แต่ช่วงก่อนวิกฤติปี 40 ดอกเบี้ยสูงเสียดฟ้า ผมจำได้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงประมาณ 18-20%
เราคาดเดาอะไรไม่ได้เลยครับว่าเหตุการณ์วิกฤติครั้งต่อไปจะเป็นอย่างไร ยาวนานแค่ไหน เผื่อใจไว้เยอะๆบ้างจะดีกว้าครับ เช่นหลังเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 เศรษฐกิจประเทศไทยอาการก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว แต่ว้าในขณะที่ตลาดกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ ก็เจอเหตุร้ายๆที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นซ้ำเติมเข้าไปอีกคือ ซัดดำบุกยึดคูเวตกับ กลุ่มรสช.(จปร.5) ปฏิวัติยึดอำนาจ เวลามันผ่านมานานมากจนผมจำไม่ได้แล้วครับว่าเหตุการอันไหนมันเกิดขึ้นก่อน จำได้แต่ว่าช่วงนั้นตลาดหุ้นโดนระเบิดต่อเนื่องกันไปสามลูก หนักหนาสาหัสจริงๆ ผมก็เป็นนักลงทุนคนนึงครับที่บาดเจ็บสาหัสมาจากวิกฤติคราวนั้น....
ภาพประจำตัวสมาชิก
Crested Jay
Verified User
โพสต์: 253
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ปล.มาคิดดูอีกทีผมอาจจะเรียงลำดับเหตุการณ์ผิดครับ ที่ถูกน่าจะเป็น ซัดดำบุกยึดคูเวตตามมาด้วยการปฏิวัติและตบท้ายด้วยต้มยำกุ้ง รบกวนผู้รู้ช่วยมายืนยันด้วยครับ
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ผมไม่แน่ใจว่าคนที่คิดว่ากำลังเกิดฟองสบู่และคิดว่ามันกำลังจะแตกมองที่ระดับไหนกันนะครับ

ถ้ามองในเชิงเศรษฐกิจของประเทศกันเลย แบบปี 40 การจะเกิดและแตกคงต้องใช้เวลานานพอสมควรรอให้ปัญหาหลาย ๆ อย่างมันสะสมจนถึงขีดสุด เหมือนที่ตลาดหุ้นมันพีคตอนปี 37 กว่าจะเกิดจริงก็ราว ๆ 3 ปี แต่ระหว่างนั้นก็ขึ้น ๆ ลง ๆ

แต่ถ้ามองเฉพาะในตลาดหุ้นก็อาจจะใช้เวลาน้อยกว่า เพราะมันมักจะตอบสนองก่อน บางทีมันก็อาจจะไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดตลาดพัง แต่อาจจะเป็นแค่การปรับฐานใหญ่ ๆ ก็ได้ครับ

ตอนนี้คนรอบตัวผมที่ไม่เคยซื้อหุ้น หรือ LTF เข้ามาในตลาดหลายคนครับ

ความมั่นใจในตลาดก็น่าจะพีคกันทีเดียว บางครั้งระวังไว้บ้างก็ดีครับ ตอนปลายปี 54 ตอนนั้นบรรยากาศก็ดี อยู่ ๆ เจอเรื่อง S&P ความน่าเชื่อถือของอเมริกา เรื่องยุโรป จบด้วยน้ำท่วม มาเป็นชุด ยังไงตลาดหุ้นก็คือความไม่แน่นอนครับ ถ้าจะซื้อหุ้นเพียงคิดจะเข้าไปเก็งกำไรตามที่เห็นว่าคนอื่นเข้าไปหรือปรับความคิดในการซื้อหุ้นของเราแบบ "หย่อน" ขึ้น เช่นยอมรับหุ้นที่มีคุณสมบัติบางอย่างที่เราอาจจะไม่เคยยอมรับมาก่อน อาจจะต้องคิดให้หนักครับ ว่าถ้าพลาดจะมีวิธีรับมืออย่างไรครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 83

โพสต์

ก่อนปี 40 ผมรู้แค่ว่า คนในตลาด นอดตลาด

รู้จักคำ Value Investment น้อยมาก หรือ แทบไม่รู้จักกันเลย

มาถึงวันนี้ VI ใครๆก็รู้จัก คนในตลาดนอกตลาด มีไม่น้อยกำลังเดินสายนี้อยู่

ส่วนตัว ผมก็ยังเชื่อมั่นว่า เส้นทางของวีไอ ตลาดจะเป็นยังไง จะแตกจะบูม พวกเขาก็คงจะยังอยู่ต่อไป
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4473
ผู้ติดตาม: 87

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 84

โพสต์

ผมสงสัยอยู่อย่าง

หลายคนใช้วิธีเลือกหุ้นที่น่าสนใจโดยดูจากประเทศทีี่เจริญแล้วว่า เค้าเดินหน้ามาอย่างไร แล้วมองว่าในที่สุด ประเทศไทยก็จะพัฒนาขึ้นในแนวเดียวกัน เช่น ค้าปลีก IT ประกันชีวิต ...

แล้วทำไม การที่คนในประเทศหันมาสนใจลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นบ้างถึงมองว่าผิดปกติ อันตราย ฟองสบู่

ประเทศไทยมีสัดส่วนคนที่ลงทุนในตลาดหุ้นน้อยมากๆ ไม่รู้ถึง 1% หรือยัง แล้วทำไมจะเพิ่มแบบต่อเนื่องเป็นการถาวรเหมือนที่มองธุรกิจอื่นบ้างไม่ได้ ในเมื่อทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ที่คนทั่วไปสามารถที่จะเลือกลงทุนได้ง่ายๆ มันมีผลตอบแทนหักเงินเฟ้อแล้วแทบจะไม่เหลืออะไร

แล้วถ้าคนใหม่ๆ จะเริ่มสนใจลงทุนในช่วงที่ตลาดคึกคักมันแปลกตรงไหนครับ มันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์

หรือว่ามีธุรกิจหรือแม้แต่เทรนด์อะไรที่คนจะแห่ไปสนใจตอนที่มันไม่คึกคักด้วย? ไม่ว่าจะ ทองคำ กองทุนรวม LTF/RMF เปิดร้านหมูกะทะ ร้านสปา ร้านขายมือถือ ร้านถ่ายสติ๊กเกอร์ iPhone iPad โรตีบอย Krispy Kreme ทามาก็อต ตุ๊กตาไบรด์ กังนัมสไตล์ หรือ เฟอร์บี้ ธรรมชาติคนเรามันก็ทำตามๆ กันทั้งนั้น

ไม่แน่นะครับ เม็ดเงินใหม่รอบนี้ (ในช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำ) อาจเป็น Megatrend ไม่ใช่แค่ Fashion

อัตราการลงทุนของคนในประเทศอาจเพิ่มขึ้นอย่างถาวรก็ได้

ลองศึกษาดูพฤติกรรม หรือ ทัศนคติ ของคนรุ่นปัจจุบันดูกันครับ
harikung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2237
ผู้ติดตาม: 14

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 85

โพสต์

ประเด็นฟองสบู่คงไม่ใช่ว่ามีคนสนใจลงทุนเยอะ(ซึ่งเยอะมากจริงๆ ขนาดผมเริ่มลงทุน2010 ปีนั้นคนยังคุยเรื่องหุ้นน้อยกว่านี้เยอะมากๆ) แล้วจะบอกว่าเป็นฟองสบู่ แต่น่าจะเป็นราคาของสินทรัพย์อย่างหุ้นหลายๆตัวมากกว่าที่สูงเกินตวามเป็นจริง จะด้วยเงินนอก+นลท.หน้าใหม่เข้ามาก็ตาม สุดท้ายราคาสินทรัพย์ที่สูงเกินจริงสักวันมันก็ต้องกลับทฝมาในจุดที่เหมาะสม นี่ยังไม่นับว่าวันนึงเศรษฐกิจยุโรป หรือ อเมริกาฟื้นตัวเต็มที่แล้วเงินไหลกลับประเทศเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร ส่วนเรื่องที่ภาพที่กลัวจะเป็นเหมือน40 ผมว่าคงไม่ร้ายแรงขนาดนั้นเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจต่างกันเยอะ เคยอ่านหนังสือหรือบทความ เค้าบอกว่าวิกฤติมักจะมาในรูปแบบใหม่ๆเสมอ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4473
ผู้ติดตาม: 87

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ณ ราคาหุ้นตอนนี้ เทียบกับคุณภาพและมูลค่าหุ้นโดยรวมๆ ผมคิดว่ามันไม่ได้แพงจนเรียกได้ว่าฟองสบู่

เพราะภายใต้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค ภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงภาวะอุตสาหกรรมและตัวธุรกิจเอง มันบอกอยู่ว่าโดยรวมๆ แล้ว เราอยู่ในช่วงเติบโต เศรษฐกิจขยายตัว เป็นช่วงแห่งการลงทุน พัฒนาธุรกิจ โดยมีตลาด มีความต้องการบริโภครองรับอีกมาก คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เทียบกับประเทศในโลกแล้ว ช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้ ภูมิภาคอาเซียนจะเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ใน 1-2 ปีข้างหน้า สิ่งที่เราต้องเจอ คือ 3G การปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตให้ทันสมัยใช้เครื่องจักรมากขึ้น การก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคของรัฐมูลค่ามหาศาล ทีวีดิจิตัล การเคลื่อนย้าย เดินทาง ไปมาระหว่างกันของคนและสินค้าโดยเฉพาะในภูมิภาค การเติบโตอย่างมากของเศรษฐกิจตามจังหวัดหัวเมืองและจังหวัดชายแดนที่ติดกับเพื่อนบ้านทั่วประเทศ จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งสิ้น

ลองคิดดูว่า ทำไม บริษัทจดทะเบียนใหญ่ๆ เช่น เครือ CP กลุ่มเซ็นทรัล SCC PTT หรือนักลงทุนรายใหญ่ (เช่น เสี่ยเจริญ) ถึงเร่งขยายการลงทุนกันทั้งในประเทศ ต่างจังหวัด ในระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับโลก

ถ้าจะเกิดฟองสบู่อยู่มะรอมมะร่ออย่างที่หลายคนกลัว ทำไมคนเหล่านี้กลับไม่กลัว ทั้งยังกล้าทุ่มเงินลงทุนชนิดมากที่สุดในรอบสิบๆปีด้วยซ้ำ เค้าเหล่านี้เห็นอะไรที่คนทั่วไปอย่างเราๆยังมองไม่เห็นในตอนนี้?

เพื่อนๆครับ ลองตอบผมหน่อยว่า ตอนนี้ถือหุ้นกันอยู่หรือเปล่า?

ไม่ต้องสนใจหุ้นคนอื่น เอาแค่ที่ตัวเอง ที่บอกว่าเป็นวีไอ ถืออยู่

เพื่อนๆ คิดว่า มันยังมีอนาคตที่ดี มีกำไรเติบโตไปอีกหรือไม่?

ถ้าคำตอบคือ ใช่ แปลว่าอย่างน้อยก็ยังมีหุ้นที่ไม่ฟองสบู่อยู่ในตลาดหุ้น

ตราบใดมี่ธุรกิจยังมีกำไรเติบโต มันย่อมไม่ใช่ฟองสบู่ อย่างมากก็แค่ราคาร้อนแรงเร็วเกินไปบ้าง ถึงวันนึงที่กำไรไล่ทัน ราคามันก็กลับสู่สมดุลได้ อาจมีการปรับฐานราคาในระยะสั้นบ้างก็แค่นั้น

ในความเห็นผม ฟองสบู่ในตลาดหุ้นที่แท้จริงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อกิจการส่วนใหญ่ในตลาดมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถสร้างกำไรเติบโตกว่านี้ได้อีกต่อไปในอนาคต และกำลังจะเริ่มเข้าสู่วงจรขาลงของเศรษฐกิจ ไม่เช่นนั้น อย่างมากก็เป็นเพียงแค่การปรับฐานเพื่อลดความร้อนแรงของราคาตามกระแสเงินของนักลงทุนในระยะสั้นๆ เท่านั้น

"ซื้อหุ้นที่ดี มีผู้บริหารที่เชื่อถือได้ มีกำไรต่อเนื่องสม่ำเสมอ และถือไว้ตราบเท่าที่ยังเป็นกิจการที่ดี" แค่นี้คงเแทนคำตอบทั้งหมดได้สำหรับชาววีไอครับ
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 87

โพสต์

March 16, 2013 1:00 am

Supachai

Unctad chief urges officials to monitor property prices and bank lending

Former deputy premier Supachai Panitchpakdi warned yesterday that there were signs of a "bubble" in the Thai economy, with massive fund inflows heading mostly to the property sector.
Supachai, secretary-general of the UN Conference on Trade and Development (Unctad), expressed concern over a bubble in Thailand's property sector, which he said could expand and create problems for the economy in the future.
He called on the responsible agencies to pay attention to property prices, such as for condominiums, and to closely monitor bank lending. Expressing concern over overheated lending by banks, he said asset prices in some sectors are likely to exceed reasonable levels.
Supachai was speaking on the sidelines of a seminar entitled "Looking Towards 2015 Through the World and Thailand", which was organised by the Thailand-China Business Council. He served as deputy prime minister in charge of economic affairs in the Chuan Leekpai government from 1997 to 2000, and as director-general of the World Trade Organisation from 2002 to 2005.
He said yesterday that economic growth in Asean countries is 5-6 per cent, while Thailand's economy this year is expected to expand by 6 per cent.
Supachai was upbeat about Thai economic growth due to the bright outlook for exports. He said domestic consumption and public investment continue to support the economy.
He did not think the strong baht would have any serious negative impact on exports, because of decreased import costs. However, he suggested that the central bank should intervene in the baht to ease the massive fund flows, which pressure asset prices but do not benefit the country.
Thailand-China Business Council chairman Thanakorn Seriburi yesterday said the strong baht had not yet harmed the Thai economy. He did not expect the currency's appreciation to have much impact on exports, as exporters have made good preparations.
However, he added, if the baht reaches Bt28 against the US dollar, it could hurt Thai export growth and the Thai economy in the long run, due to its dependence on export growth.
In a related development, Narongchai Akrasanee, a member of the Bank of Thailand's Monetary Policy Committee (MPC), yesterday said Thai and global financial markets would be subject to further high volatility because investors holding large amounts of capital are searching for higher yields.
Asked whether the MPC would consider a cut in the policy rate from 2.75 per cent at its April meeting, Narongchai said there are other measures besides the interest rate tool that the central bank could use to prevent economic bubbles or a stronger baht.
He said fund flows worth an estimated US$65 trillion (about Bt1,920 trillion) worldwide have pushed financial markets, including Thailand's, to record highs recently.
The quantitative easing (QE) implemented by the US Federal Reserve and other central banks had not contributed much to large inflows into Asia as those actions had not greatly increased the money supply in the global economic system, he said.
"For example, the Fed has injected about $7.6 trillion into the US economy so far, but a large amount of funds returned to the Fed and only $3 trillion actually ended up in the market," he said.
However, investors holding large amounts of funds have tried to seek higher returns. Therefore, these funds have flowed into countries that have higher interest rates compared with very low rates close to zero in developed countries.
The baht yesterday saw its biggest weekly advance since January, touching a 19-month high of 29.55 against the greenback. It has strengthened 3.5 per cent this year, making it the best performer among Asia's 11 most active currencies, according to Bloomberg.

http://www.nationmultimedia.com/busines ... 02065.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4473
ผู้ติดตาม: 87

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 88

โพสต์

ต่ออีกหน่อยครับ

สำหรับ หุ้นประเภทที่สร้างราคาขายความฝัน มันไม่ใช่สาเหตุหลักของฟองสบู่ ตราบเท่าที่ขนาดของมันรวมกันแล้วไม่ได้มีนัยสำคัญกับขนาดของตลาดโดยรวม

หุ้นประเภทนี้ ลองนึกๆดูให้ดีครับ มันมีอยู่ตลอดทุกช่วงเวลาของตลาดหุ้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะในภาวะกระทิงหรือหมี ก็ยังมีเจ้าของกิจการช่างฝัน และนักลงทุนช่างฝัน อยู่เสมอๆ

เพียงแต่ในช่วงภาวะกระทิงก็อาจเห็นมากหน่อย หรือร้อนแรงเป็นพิเศษหน่อย ก็เท่านั้นเอง ตอนจบก็ยังเป็นเหมือนเดิมทุกครั้ง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4473
ผู้ติดตาม: 87

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 89

โพสต์

leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 90

โพสต์

ผมว่าอ.นิเวศน์คงเข้ามาอ่านกระทู้นี้เหมือนกันครับ :D
Thai VI Article เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

โลกในมุมมองของ Value Investor        17 มีนาคม 56

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

VI กับฟองสบู่

	สถานการณ์ตลาดหุ้นที่ร้อนแรงมากในช่วงนี้ทำให้ VI รุ่นเก่าๆ อย่างผมและอาจจะอีกหลายคนที่เคยผ่านสภาวะตลาดหุ้นตกต่ำและ “อับเฉา” มานานรู้สึกกังวลว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่ซึ่งอาจจะรวมถึงหุ้นที่ตนเองถืออยู่อาจจะมีราคาแพงเกิน “พื้นฐาน” และในไม่ช้าก็อาจจะตกลงมาได้มากมายเมื่อ “ฟองสบู่แตก” แน่นอนว่าจะต้องมีข้อถกเถียงว่าภาวะตลาดหุ้นตอนนี้เป็นฟองสบู่จริงหรือ? ราคาหุ้นที่ขึ้นมามากนั้นดูแล้วก็ยังมีเหตุผลรองรับได้ ว่าที่จริงค่า PE ในปีหน้าที่วัดความถูก-แพงของหุ้นไทยก็ยังแค่ 13-14 เท่า พอๆ กับตลาดหุ้นอื่นในเอเชียและในโลก แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยในปีหน้านั้นจะเติบโตสูงกว่า ดังนั้น ในสายตาของนักวิเคราะห์จำนวนมาก หุ้นไทยยังน่าสนใจยิ่งกว่าอีกหลายๆตลาด ดังนั้น “ฟองสบู่” จึงยังไม่มี ถ้าจะมีบริษัทที่แพงจัดก็คงเป็นบริษัทเล็กๆ ที่มีการเก็งกำไรกันสูงและราคาขึ้นไปมากจนทำให้ PE สูงลิ่วเกิน 40 เท่า หรือบางบริษัทเป็นร้อยเท่า ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เรายังหาหุ้นที่ไม่แพงและน่าสนใจลงทุนเป็นหุ้นแบบ VI ได้อีกไม่น้อย ดังนั้น เราก็จะยังลงทุนต่อไป เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือ “เกินร้อย” โดยการใช้มาร์จิน สำหรับนักลงทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น VI หรือไม่ นี่เป็น “โอกาสทอง” ที่จะรวยได้อย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ “กลัวอะไร?”

	สิ่งที่ผมกลัวก็คือ กลัวว่ามันจะเป็น “ฟองสบู่” จริงอยู่ ราคาหุ้นอาจจะดูไม่แพงเมื่อมอง PE ในปีหน้า แต่ถ้าดูค่า PE ย้อนหลังหนึ่งปีซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่การคาดการณ์ ค่า PE ตอนนี้ก็น่าจะเกือบ 20 เท่าซึ่งก็ต้องถือว่าแพง แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าเหตุการณ์หรือสภาวะแวดล้อมและสัญญาณต่างๆ โดยเฉพาะปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันที่สูงจนบางวันกว่า 8 หมื่นล้านบาทนั้น มันบอกว่าฟองสบู่อาจจะกำลังเกิดขึ้นแล้วและมันอาจจะแตกเมื่อไรก็ได้ ว่าที่จริงในตลาดหุ้นที่เป็นฟองสบู่เกือบทุกครั้งนั้น เราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นฟองสบู่ จนถึงวันที่มันแตกนั่นแหละที่เราถึงรู้ว่ามันคือฟองสบู่ และทุกครั้งที่หุ้นขึ้นไปแรงมากมันก็มี “เหตุผล” เสมอ และมันไม่ใช่เหตุผลของคนธรรมดา แต่เป็นเหตุผลของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังและ “เซียนหุ้น” ทั้งหลาย ดังนั้น สำหรับผมแล้ว นี่เป็นเวลาที่ผม “กังวล” ความกังวลของผมนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการศึกษาประวัติศาสตร์ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือประวัติของ เบน เกรแฮม กับ วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่อาจจะคล้ายๆ แบบนี้เหมือนกัน

	ในปี 1969 นั้น ตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในช่วงที่ “บูมจัด” มันเป็นการปรับตัวขึ้นที่ติดต่อกันมายาวนานเกือบ 20 ปี หลังจากประมาณปี 1950 ที่ตลาดหุ้นเริ่มวิ่งขึ้นอย่างแรงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลงและเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มบูม วอเร็น บัฟเฟตต์ เองนั้น เข้าตลาดหุ้นเต็มที่ในปี 1957 เขาเข้ามาลงทุนในยามที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างค่อนข้าง “มีเสถียรภาพ” มาตลอดจนถึง 1969 ที่ตลาดขึ้นไปอยู่ที่ “ดอย” ในความรู้สึกของเขา เขาตัดสินใจขายหุ้นทิ้งเกือบหมดเพื่อคืนเงินให้กับคนที่เอาเงินมาให้เขาบริหารในห้างหุ้นส่วนที่เขาจัดตั้งขึ้น เขาบอกว่าเขาไม่สามารถหาหุ้นที่ถูกพอที่เขาจะลงทุนได้ ดังนั้น เขาจึงคืนเงินให้กับคนที่มาลงทุนกับเขา หลังจากนั้น เขาก็ “อยู่เฉยๆ” และคงรอว่าเมื่อไรหุ้นจะตกลงมาจนมีราคาถูกพอที่จะให้เขากลับไปซื้อได้ อย่าลืมว่าในช่วงต้นของชีวิตการลงทุนของบัฟเฟตต์ซึ่งก็คงประมาณ 12 ปีเศษๆ นั้น เขาเน้นการซื้อหุ้นราคาถูกแบบ เบน เกรแฮม

	หลังจากบัฟเฟตต์ขายหุ้นทิ้ง ดัชนีดาวโจนส์ก็เริ่มปรับตัวลงมาบ้างแต่ก็ยังกระเด้งกลับเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคาหุ้นคงจะไม่มากพอที่บัฟเฟตต์จะกลับเข้าไปซื้อเขาจึงยังนิ่งอยู่ เขาเล่าว่ามันเป็นเวลาการรอคอยที่ “ยาวนาน” และคงจะน่าเบื่อและ “ทรมาน” มากสำหรับเขา เขาบอกว่าเขาต้อง “นั่งทับมือตัวเอง” ไว้ในขณะที่มองดูเพื่อนฝูงและนักลงทุนคนอื่นรวยเอาๆ เป็นเวลา 3 ปีจนถึงปี 1973 ซึ่ง “ฟองสบู่แตก” อันเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปสูงลิ่ว อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 5 เป็น 10% สงครามเวียตนามกำลังร้อนแรงและเงินเฟ้อขึ้นสูงลิ่ว ดัชนีดาวโจนส์ตกลงมาถึง 45% ภายในเวลาปีครึ่ง ชาร์ลี มังเกอร์ ซึ่งบริหารกองทุนของเขาเองนั้นขาดทุนไปกว่า 50% แต่บัฟเฟตต์เองมีเงินสด “เต็มมือ” เขาเข้าไปซื้อหุ้นในยามที่ตลาดหุ้นตกต่ำสุดขีดและเต็มไปด้วยความ “โลภ” เขาเล่าว่า “ผมรู้สึกเหมือนชายที่อดอยากขาดเซ็กส์มานานที่ตกเข้าไปในฮาร์เร็ม” พอถึงสิ้นปี 1974 เงินทั้งหมดของเขาก็กลับเข้าไปอยู่ในตลาดหุ้น แต่ในตอนนี้เขากลับไม่ซื้อหุ้น “ถูก ๆ” แบบเกรแฮมที่เคยทำ เขาเริ่มซื้อหุ้นของกิจการ “สุดยอด” ในราคาที่ต่ำมากเช่น วอชิงตันโพสต์ ในปริมาณที่มากจนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เขาทำได้เพราะหุ้นคงจะถูกมาก

	ผมไม่แน่ใจว่าบัฟเฟตต์ขายหุ้นทิ้งและหลีกเลี่ยง “หายนะ” ในปี 1973-74 ได้เพราะเขามีบทเรียนจาก เบน เกรแฮม หรือไม่ แต่ประวัติศาสตร์บอกว่า เกรแฮมนั้น “เจ๊งหุ้น” ในช่วงวิกฤติครั้งใหญ่ในปี 1929 ที่ตลาดหุ้นร่วงลงมาเกือบ 90% ในเวลาประมาณ 3 ปีจนถึงปี 1932-33 เพราะเขาไม่ได้ขายหุ้นทิ้งในยามที่ตลาดหุ้นบูมแบบ “บ้าคลั่ง” แต่ “ผู้เชี่ยวชาญ” นักวิเคราะห์ และแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ระดับโนเบลไพรซ์ บอกว่าตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น “อย่างมีเหตุผล” หลังจากที่มัน “หักปากกา” คนที่พร่ำพูดว่าหุ้นแพงเกินไปมาตลอดครั้งแล้วครั้งเล่า “หายนะ” ครั้งนั้นทำให้หุ้นตกลงมามโหฬารและทำให้หุ้นจำนวนมากมีราคาต่ำจนไม่น่าเชื่อซึ่งทำให้เกรแฮมกลับเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นที่ราคาต่ำแบบ “แบกับดิน” ซึ่งมีอยู่มากมาย ในระหว่างนั้นเขาได้เริ่มสอนวิชาการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและได้รวบรวมคำสอนเขียนเป็นหนังสือชื่อ Securities Analysis ซึ่งกลายเป็น “ไบเบิล” ของการลงทุนแบบ Value Investments ในเวลาต่อมา

	เบน เกรแฮม นั้น ในที่สุดก็สามารถ “ชดใช้” คือทำผลตอบแทนคืนให้คนที่นำเงินมาให้เขาลงทุนและขาดทุนในปี 1929 ได้ด้วยหลักการการลงทุนแบบ VI ที่เขาคิดขึ้น ส่วนตัวเขาเองนั้น เขาก็ลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยวัยที่สูง เขาเกษียณอายุไปด้วยเงินไม่มาก แค่เพียงพอใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสบายในฝรั่งเศสและเสียชีวิตไปนานแล้วและกลายเป็นตำนานที่คนเรียกว่า “บิดาแห่ง VI” ส่วน วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น ตั้งแต่กลับมาลงทุนหลังวิกฤติปี 1973-74 เขาก็ปรับตัวไม่เน้นการลงทุนแบบ VI ดั้งเดิมที่เน้นซื้อหุ้นถูก แต่ชอบที่จะลงทุนหุ้นแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” และถือหุ้นยาวแบบแทบจะไม่ขายเลยไม่ว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปมากน้อยแค่ไหน เขาอาจจะค้นพบว่าถ้าเป็นหุ้นที่ดีเยี่ยมจริงๆ แล้ว ความจำเป็นต้องขายแทบจะไม่มี ดังนั้น หลังจากวิกฤติปี 1973 แล้ว เขาก็ไม่เคย “ออกจากตลาดหุ้น” อีกเลย อาจจะมีบ้างในบางช่วงที่หุ้นอาจจะแพงจนหาหุ้นที่จะลงทุนไม่ใคร่ได้ สิ่งที่เขาจะทำก็คือการ “สะสมเงินสด” ที่อาจจะได้จากปันผลหรืออื่นๆ ให้มากเพื่อรอว่าจะได้มีโอกาสซื้อหุ้นที่อาจจะตกลงมามากๆ ในยามที่เกิดวิกฤติ ซึ่งเขาก็เพิ่งได้ทำเมื่อเร็วๆ นี้หลังจาก “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ในปี 2008 ที่เขาได้เข้าซื้อหุ้นของกิจการดีๆ จำนวนมากในราคาที่ถูกสุดๆ และนี่ก็คือคนที่กลายเป็นตำนานที่ยังมีชีวิตในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในโลก

	ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ผมเองก็ไม่ได้แนะนำว่า VI ของไทยในช่วงนี้ควรที่จะทำตามสิ่งที่บัฟเฟตต์ทำในปี 1969 แม้ว่าจะมีอะไรหรือมีสถานการณ์บางอย่างเหมือนกัน นอกจากนั้น การที่บัฟเฟตต์ขายหุ้นทิ้งในปี 1969 นั้น แม้ว่าจะดูเหมือนว่าตัดสินใจถูกต้อง แต่ที่จริงถ้าเขาตัดสินใจถือไปอีก 1-2 ปี เขาก็อาจจะได้ผลตอบแทนดีขึ้นไปอีก ดังนั้น สิ่งที่ VI จะทำจึงควรต้องคิดคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เฉพาะตัวของตนเองประกอบด้วย ประวัติศาสตร์นั้น ไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องทำตาม มันเป็นเพียงสิ่งที่เราต้องตระหนักและคิดตามเท่านั้น  
[/size]
"Become a risk taker, not a risk maker"