ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมฟัง BOT อธิบายแล้วห่อเหี่ยว
BOT ทำให้ประเทสเจ้งหลายแสนล้านในปี 2538-2540
BOT ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของธนาคารพาณิชย์
ถ้าเงินแข็งเกินไปก็ลดดอกเบี้ยซะ ไม่มีใครเสียอะไร
ไม่ใช่ให้ต่างชาติเอาเงินเข้ามาได้ดอกเบี้ยเยอะๆ
ถ้าเงินอ่อนเกินไปก็เพิ่มดอกเบี้ยวซะ
ทำอะไรง่ายๆตรงไปตรงมาแต่ไม่ยอมทำ
แล้วมาอธิบายอะไรยืดยาว ลึกๆแล้วกลัวว่าธนาคารพาณิชย์ต้องลดดอกเบี้ยให้คนกู้
ดอกเบี้ยลดลงไป .5% - 1% หนี้ครัวเรือนไม่เพิ่มหรอก
คนที่ไม่มีตังยังงัยก็ต้องกู้ คนมีตังยังงัยก็ไม่กู้
BLSH
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1096
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอแชร์ไอเดียเกี่ยวกับเรื่องการลดดอกเบี้ยนโยบายครับ

ก่อนอื่นต้องบอกว่า "ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ"

การลดดอกเบี้ยนโยบายนั้นเป็นการเพิ่ม money supply ของเงินบาทในระบบเศรษฐกิจ operation นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ก็จะส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า

ถามง่ายๆว่าทำไม ธปท.ไม่ทำ?

เนื่องจากการเพิ่ม money supply นั้นมี potential downside ต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะกลาง-ยาวนั่นคือ"เงินเฟ้อนั่นเอง"

ขอบบนของเงินเฟ้อที่เหมาะสมอาจอยู่ที่ 3-4% ส่งผลดีต่อทุกคนในภาพรวม แต่ถ้าการลดดอกเบี้ยเพราะมองแต่มุมมองเรื่อง FX อย่างเดียว ทำให้เงินเฟ้อพุ่งไปแตะ 5-7% ไม่เป็นผลดีต่อระบบโดยรวมแน่นอนเพราะจะส่งผลลบต่อความสามารถในการแข่งขันเพราะค่าแรงต้องปรับขึ้นอีกมากเพื่อ compensate เงินเฟ้อ นอกจากนั้นการที่มี easy money ในระบบจะเป็นตัวเร่งในเกิดการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆเช่นอสังหาฯ

ถ้าเกิด bubble กับอสังหาเมื่อไหร่ก็พังทั้งระบบอย่างไม่ต้องสงสัย

ดังนั้นการลดดอกเบี้ยโดยหวังเพียงค่าเงินอ่อนนั้นเป็นการมองเพียงชั้นเดียวเท่านั้นครับ สิ่งที่ธปท.ให้ความสนใจคือ stability ในระยะกลาง-ยาวต่างหาก และเราก็ควรเข้าใจและให้กำลังใจธปท.นะครับ

บางท่านอาจบอกว่า advanced economies ไม่ fair ที่ทำ QE เพื่อให้ค่าเงินตัวเองอ่อน

แต่จริงๆแล้ว QE มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มเงินเฟ้อให้ถึงเป้าเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น FED สิ่งที่ Bernanke กลัวที่สุดคือ deflation ดังนั้นเขาต้องทำทุกทางเพื่อ boost เงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัว

แต่แน่นอนผลข้างเคียงของ money supply จำนวนมหาศาลของเงิน dollar ย่อมส่งผลให้ dollar อ่อนค่าอย่างไม่ต้องสงสัยและสถานการณ์คงยังไม่ดีขึ้นจนกว่าสัญญาณการฟื้นตัวของ advanced economies จะชัดเจนขึ้น และ FED เร่มจะต้อง exit จาก large scale money easing ในครั้งนี้โดยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกซึ่งคงอีกหลายปีพอดู

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าประเทศไทยซึ่งมีเศรษฐกิจแข็งแรงกว่า ไม่สามารถที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายได้เพราะมีความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้ออย่างหนักซึ่งอาจนำไปสู่ bubble ดังนั้นในฐานะ VI เราควรต้องเข้าใจภาพเหล่านี้และเดาได้เลยว่าเงินบาทจะต้องแข็งค่าขึ้นอย่างแน่นอนจะมากหรือน้อยก็อยู่ที่ว่าเงินทุนไหลออกจะมากขนาดไหนเพราะตอนนี้ธปท.ก็พยายาม encourage ให้บริษัทไทยออกไปลงทุนตปท.มากขึ้น

สำหรับ investment theme นั้นแน่นอนลงทุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการแข็งค่าคือกลยุทธ์เด่น การฝืนไปยืนอีกฝั่งน่าจะเหนื่อยเกินไปอย่างแน่นอน

สำหรับผู้ประกอบการ จะเอาเรื่องเงินบาทอ่อนค่ามาเป็น competitive advantage เหมือนในอดีตนั้นต้องบอกได้เลยว่าไม่ได้อีกต่อไป คนที่ฉลาดจะต้องปรับตัว ใครที่ไม่ปรับตัวก็คงลำบากแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้

ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวครับ ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยล่วงหน้า
You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets. - Peter Lynch
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ช่วงปี 2535-2540 ผมไม่รู้ว่าดอกเบี้ยนโยบายเท่าไหร่
แต่ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านประมาณ 15%
เงินบาทอยู่ที่ 26บาท/US$
ถ้าใครกู้เงิน US$ จาก ตปท ได้ จะเสียดอกเบี้ยประมาณ 4%
ถ้าเป็น ธนาคารกู้น่าจะเสียดอกเบี้ยต่ำกว่า 4%
คนกลุ่มหนึ่งก้เลยกู้จาก ตปท กันใหญ่ แล้วมาปล่อยหรือลงทุนในประเทศ
เงินจึงไหลเข้ามหาศาล
ธนาคารในประเทศกู้ ตปท ดอกเบี้ย 4% มาปล่อย 15% กำไร >10% แบบง่ายๆ
พอธนาคาร บริษัทขนาดใหญ่ เศรษฐีเมืองไทย กู้เงิน ตปท มากๆ
สิ่งที่ BOT ทำคือ รักษาอัตราแลกเปลี่ยน ที่ 26bht/US$ให้ได้
โดยคงอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้สูงเข้าไว้ ให้คนไทยส่วนมากไม่รู้เรื่องรับไป
และ BOT ก็ยังกู้เงิน US$จำนวนมหาศาลเพื่อมารักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่ 26บาท
เหตุผลที่ BOT บอกกับคนไทยตลอดมาก็คือเหตุผลยาวๆแบบที่กระทู้ข้างบนนี้
แต่สุดท้ายด้วยความฉลาดของ BOT ที่คิดอะไรซับซ้อน
ก็ทำให้คนไทยเจ้งไปหลายแสนล้านบาท
ขณะที่มาเลเซียทำอะไรแบบบ้านๆ เสียหายไม่ถึง 10%ของประเทศไทย
แต่ฝรั่งมันชมประเทศไทยมากเลยและด่ามาเลเซีบเละเทะ
นักวิชาการเมืองไทย คิดแต่ละเรื่องห่วยแตกมาก
แม้บางเรื่องเรื่องจะดีเมื่อเริ่มทำแต่ก็ควรเปลี่ยน
เรื่องที่ไม่ควรทำ มีหลายเรื่อง เช่น
BOI LTF RMF ร้านปลอดภาษีที่มีสาขานอกสนามบิน
เฉพาะ BOI อย่างเดียวภาษีที่ลดให้ก็มากกว่าภาษีทางตรงของคนทั้งประเทศแล้ว
ระบบทั้งหมดในประเทศไทยมีแต่ทำให้บางคนได้เปรียบ
และคนส่วนมากเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 24

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อย่างที่คุณ BLSH กล่าวไว้นะครับ ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยชี้นำให้ต่ำลงนั้นก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อหลุดไปจากกรอบที่วางไว้ได้

แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง เงินเฟ้อในไทยปัจจุบันก็ไม่ได้อิงกับอัตราดอกเบี้ยชี้นำเพียงอย่างเดียว ด้วยมูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยนั้นค่อนข้างสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยก็จะขึ้นอยู่กับต่างประเทศในระดับที่สูงมากตาม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาอ่อนแอ สินค้าเกษตรไทยและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ไทยที่ส่งไปขายก็จะขายได้น้อยลงตามไปด้วย

ดังนั้นการที่วางเป้าค่าเงินบาทโดยกำหนดเงินเฟ้อภายในประเทศ นั้นจึงไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะค่าเงินบาทที่เปลี่ยนก็จะไปกระทบกับการส่งออก และสุดท้ายก็จะมากระทบกับเงินเฟ้อภายในอีกทีหนึ่ง ทำให้เงินเฟ้อที่ออกมาก็จะไม่ตรงตามกรอบที่กำหนดไว้ตอนต้นได้อยู่ดี ดังนั้นการกำหนดค่าเงินโดยอิงเป้าอัตราเงินเฟ้อภายในนั้นจึงเป็นที่ถกเถียงว่าอาจไม่เหมาะสมสำหรับลักษณะประเทศเรา การกำหนดเป้าอิงค่าเงินต่างประเทศอาจจะเหมาะสมกว่า ส่วนเงินเฟ้อภายในก็จะขยับไปตามเงินเฟ้อโลกจากการส่งออก

แต่อีกมุมหนึ่ง ประเทศไทยเองเริ่มมีการบริโภคภายในเป็นอัตราส่วนที่สูงมากขึ้น ในอนาคตนั้นการส่งออกก็ลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ การจะเปลี่ยนมาใช้เป้าค่าเงินก็ไม่น่าจะใช่ทางออกระยะยาวที่ดี

บางท่านก็ว่าเปลี่ยนไปก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนกลับก็ได้นี่ บางท่านก็ว่าก็ผสมๆกันไปก็ได้นี่ บางท่านก็ว่าปัจจุบันมันมั่วมากไม่รู้ว่าตอนนี้เราไปอิงกับอะไรกันแน่ อันนี้ก็แล้วแต่คนมอง

การส่งเสริมให้บริษัทไทยไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ผมเองคิดว่ามันอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก เพราะกระแสเงินที่ไหลเข้ามาในไทยนั้นมีทั้งการลงทุนระยะยาว และการลงทุนเพียงระยะสั้น เช่นไหลเข้าพันธบัตรระยะสั้น ปัญหาที่จะเกิดได้ในอนาคตคือเมื่อเงินลงทุนระยะสั้นเหล่านี้ไหลออกจากประเทศพร้อมๆกันเมื่อเศรษฐกิจต่างประเทศฟื้นตัว

การส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศนั้นช่วงถ่วงดุลกับเงินทุนระยะยาวที่ไหลเข้ามาในไทย แต่เงินลงทุนระยะสั้นของต่างชาติก็ยังเป็นปัญหาได้อยู่ดี และ BOT ยังไม่มีมาตรการใดที่แก้ปัญหาตรงนี้ได้เด็ดขาดเลย ในความเข้าใจของผม ช่วงนี้ BOT ทำอะไรไม่ค่อยเด็ดขาดชัดเจน พูดอย่างหนึ่งทำอีกอย่างหนึ่งเป็นบางครั้ง

ในมุมมองของผมนะครับ ผิดถูกได้โปรดชี้แนะด้วย
Vi IMrovised
BLSH
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1096
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนมีภาพเดียวกัน

การลดหรือเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายโดยธนาคารกลางหมายถึงการที่ธนาคารกลางต้องเข้าไปทำ operation ผ่านตลาดพันธบัตรโดยซื้อหรือขาย ขาใดขาหนึ่งเพื่อเป็นการลดหรือเพิ่มดอกเบี้ยตามนโยบายนั่นเอง

ยกตัวอย่าง การจะลดดอกเบี้ย ธปท. ต้องเข้าไปซื้อพันธบัตร ส่งผลให้ money supply เพิ่มขึ้น

ลองจินตนาการต่อดูครับ เมื่อ money supply มากขึ้น ของที่มีมากก็ย่อมต้องเฟ้อ เป็นไปตามหลัก demand & supply แต่ในขณะที่ดอกเบี้ยต่ำลง

ณ จุดนี้ "real interest จะติดลบอย่างมาก" ใครถือเงินสดก็เหมือนคนโง่เพราะเงินลดค่าอย่างรวดเร็ว

ทำอย่างไรดี ก็ต้องเอาเงินไปซื้อสินทรัพย์แทนเช่นอสังหาฯ developer ก็จะยิ่งแข่งกันผลิตอสังหาฯออกมาสู่ตลาดอย่างน่ามืดตามัว เพราะเราคงทราบดีว่าปัจจุบันขนาดดอกเบี้ยไม่ได้ต่ำลงมากนัก โครงการต่างๆก็แข่งกันเปิดตัวถี่ยิบ

ถ้าใครเคยอ่านประวัติศาสตร์คงทราบดีว่าการเกิด bubble ในอสังหาฯนั้นส่งผลร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมขนาดไหน

Bank ต้อง write off doubtful account ในขณะที่ bank มี leveraging ที่สูงอยู่แล้ว การ write off แค่ 4-5% ของ asset ก็เพียงพอที่ bank จะ insolvent ได้ และนั่นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

บางท่านอาจจะยกตัวอย่างประเทศจีนว่าสามารถ manipulate เงินหยวนได้เป็นเวลาอันนาน

แต่อย่างว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ การที่จีนพยายาม manipulate เงินหยวนในอดีต เราสามารถดูได้จาก foreign reserve ที่พุ่งขึ้นมหาศาลเพราะจีนต้องซื้อ dollar และขายหยวนอย่างบ้าคลั่ง

downside ก็คือ inflation ในระดับที่สูงมากของจีนในอดีต ส่งผลให้ค่าแรงต้องปรับเพิ่มมาก บางปีในระดับเลข 2 หลัก ส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวและยังเป็นตัวเร่งให้แนวโน้มการเก็งกำไรในภาคอสังหาฯอีกด้วย

จะเห็นว่าจีนไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ตลอดกาลเพราะสุดท้ายแล้วจะมีเงินเฟ้อเป็นกลไกในการสร้าง "สมดุล" นั่นเอง

ที่ผ่านมาจีนจึงต้องลดการ manipulate ลงและ "ยอมให้หยวนแข็งค่าขึ้น" อย่างต่อเนื่อง ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาหยวนแข็งค่าขึ้นไปแล้วมากกว่า 10% แต่น้อยคนนักที่ใคร่จะพูดถึง

การ "peg" อัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่ใช่ทางออกเพราะจะพาเรากลับไปจุดเดิมเหมือนสมัยต้มยำกุ้ง

โดยสรุปคือในระยะสั้นบาทแข็งอย่างแน่นอนโดยมีข้อแม้ว่าธปท.ยังเป็นอิสระอยู่

ผมเชื่อมั่นในตัวดร.ประสานอย่างมาก ท่านนี้สามารถเป็น CEO ที่ Kbank สบายๆ แต่ท่านกลับอยากกลับมาทำงานให้ประเทศที่ธปท. credit ของท่านสูงมาก เราควรจะช่วยกัน support ให้คนดีๆมีกำลังใจและไม่ยอมให้ใครมาแทรกแซง

แต่ถ้าใครแทรกแซงธปท.ได้สำเร็จและทำอย่างที่ภาคธุรกิจและรัฐต้องการคือ manipulate ให้เงินบาทอ่อนค่า เราก็ควรจะทราบว่าอาจจะเป็นเวลาที่ต้องระมัดระวังและเตรียม exit จากตลาดก่อนที่จะเกิด crash ครั้งใหญ่

คหสตนะครับ ลองร่วมด้วยช่วยแชร์นะครับ
You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets. - Peter Lynch
mavencom
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 12
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ความเห็นส่วนตัวเช่นเดียวกันครับ

สิ่งที่ท่านๆและธปทอธิบาย ขาดอยู่ภาพเดียวก็คือ มิติต่างประเทศครับ
การค้าการลงทุนในปัจจุบันมีการติดต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆจนเราไม่สามารถ
ที่จะเพิกเฉยต่อมิติต่างประเทศได้แล้ว

อะไรคือมิติต่างประเทศ?
มิติทางต่างประเทศก็คือ การไหลของเงิน ทั้งเงินลงทุน เงินค้าเก็งกำไร หรือแม้กระทั่งเงินที่สร้างออกมาฟรี เช่นพวก QE
ถ้าประเทศไหนมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินควร (เมื่อเทียบกับความเสี่ยง) ก็จะมีเงินไหลเข้าประเทศนั้นๆครับ
และก็อย่างที่ทราบกันดีว่าเงินไหลเข้าไทยมาเรื่อยๆ ซึ่งทางธปท. ก็เพิกเฉยต่อมิติทางด้านนี้
และก็พยายามเข้าไปแทรกแซง อ้างแต่ว่าจะช่วยผู้ส่งออก จนขาดทุนปีละเป็นแสนล้าน (ขาดทุนตามบัญชี)
ซึ่งเกิดจากการถือดอลล่าร์ที่มูลค่าเสื่อมลงเรื่อยๆ ท้ายที่สุด ในปัจจุบัน ธปท. ถังแตก (งบดุลส่วนของทุนติดลบ)
จนไม่มีหน้าไปแทรกแซงอีกต่อไปจึงทำให้ค่าเงินแข็งอย่างที่เห็น

หากปล่อยเอาไว้เฉยๆ เงินก็จะไหลเข้าไทยเรื่อยๆ เพื่อกินดอกฟรี และลดปัญหาหนี้ในประเทศ
เปรียบเสมือนผมพิมพ์เงินได้ ผมก็เอาไปฝากที่ๆให้ดอกดีที่สุด ก็จะได้ผลตอบแทนฟรีๆมา

นอกจากนี้ มีหลายท่านที่บอกว่าเราต้องคุมเงินเฟ้อ
ต้องเข้าใจก่อนว่า การคิดเงินเฟ้อของไทย โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีปัญหา
หากท่านสังเกตดีๆจะพบว่าราคาสินค้า โดยเฉพาะราคาอาหารมีราคาที่สูงขึ้นมากๆ
และมากกว่าที่ระบุโดยธปท. อย่างแน่นอน นั่นก็คือ เงินเฟ้อเข้าไทยแล้วแน่นอนครับ

ประเด็นที่สองก็คือ เงินเฟ้ออย่างไรก็หนีไม่พ้นครับ เพราะว่าต่างประเทศนำเงิน(ที่พิมพ์ฟรี)
เข้ามาในประเทศ ก็เป็นแรงผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อแน่ๆ ถ้าเข้าใจเรื่องมิติจากต่างประเทศจะพบว่า
การไหลของเงินเป็นกลไกที่ผูกเศรษฐกิจโลกเข้าด้วยกัน ถ้าประเทศหนึ่งแย่ เงินจะไหลเข้าไปประเทศอื่นๆ
ทำให้ประเทศอื่นๆเกิดเงินเฟ้อ เกิด overheat economy เช่นเดียวกัน

ท้ายที่สุด สิ่งที่อยากให้คิด และเข้าใจมากกว่านี้ก็คือ
เงินเข้ามาก็มีออกไปครับ ท่านดึงเอาไว้ไม่ได้ตลอด เมื่อเศรษฐกิจเขาฟื้นตัว หรือมีที่อื่นดีกว่า เงินก็จะไปครับ
และตอนนั้นและที่เศรษฐกิจเราจะแย่

(อีกครั้งว่าเป็น คสตน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ROGER
Verified User
โพสต์: 609
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ในปัจจุบัน ธปท มีคนมีความรู้ความสามารถดีกว่าสมัยปี 2540 เยอะ

ไม่สมควรนำเหตุการณ์สมัยก่อนมาเป็นข้ออ้างว่า ธปท

ระบบการเงินก็ใช้คนละระบบ ระบบในปัจจุบัน มันเป็นระบบที่dynamic ในขณะที่ระบบเก่ามัน static ในสมัยนั้นการfixค่าเงิน ทำให้คุณมีเครื่องมือแต่ทางด้านดอกเบี้ย ส่วนในปัจจุบันเครื่องมือมันมีหลากหลายขึ้น ช่วงที่ดอกเบี้ยสูง 15-16% เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระบบ ตอนที่ 58 ไฟแนนซ์ล้ม ดอกเบี้ย fix 1 ปี ประมาณ 11-12% เพราะการประกันค่าเงินบาท จึงทำให้พวกเศรษฐีย่ามใจกู้เงินเข้ามาโดยลืมถึงปัจจัยค่าเงิน อย่าโทษแต่ ธปท ครับ แต่สามารถกล่าวได้ว่า สมัยนั้นคนเก่งของธปท เป็นคนเก่งหลงยุคคือเก่งเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ไม่พัฒนาความรู้ตามโลกการเงินสมัยใหม่
เบี้ยว
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 403
ผู้ติดตาม: 2

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เข้ามาอ่านครับ ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมคิดว่าการแก้บาทแข็งสามารถใช้นโยบายการเงินย่อยๆหลายนโยบายได้ครับ
แม้ว่าการลดดอกเบี้ยจะเป็นการไปเพิ่มmoney supplyซึ่งส่งผลถึงเงินเฟ้อ
แต่ขณะเดียวกัน ธปท.สามารถออกนโยบายเพื่อสะกดเงินเฟ้อได้เช่น
หากกังวลเรื่องอสังหา ก็ออกนโยบายLTVเพิ่มจาก10%คอนโด เป็น20%ทุกกลุ่ม
(เป็นนโยบายที่ผมสนับสนุนอย่างยิ่งเพราะเราควรเก็บก่อนใช้)
กังวลสินเชื่อส่วนบุคคล ก็สั่งแบงค์ตั้งสำรองเพิ่ม
ในขณะเดียวกันก็สามารถออกมาตราการเก็บภาษีกำไร10-15%จากการลงทุนในหุ้น
หรือตราสารหนี้ของไทยจากกองทุนต่างชาติด้วย
ซึ่งมาตราการนี้น่าจะใช้เป็นมาตราการระยะยาว
เนื่องจากผมไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องเก็บเงินร้อนของต่างชาติไว้
ยกเว้นจะเปลี่ยนเงินร้อนนี้เป็นเงินลงทุนระยะยาว
ในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน2ล้านๆและการจัดการน้ำ3.5แสนล้าน
และเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของบริษัทไทยที่ลงทุนในตราสารหนี้

เรื่องการลดดอกเบี้ยโดยการoperationผ่านตลาดตราสารหนี้
ผมคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องไล่ซื้อตราสารหนี้ในตลาดเลยครับ
ธปท.สามารถออกตราสารหนี้ใหม่ได้เลย
เนื่องจากกองทุนเหล่านี้ไ่ม่มีทางเลือกในการลงทุนมากนัก
หากกองทุนเหล่านี้ไม่ลงทุนต่อ และนำเงินออกนอกประเทศ
ก็เข้าทางเลยเพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการเห็นอยู่แล้ว

ส่วนตัวผมเชื่อถือในคุณประสานนะครับ แต่ผมไม่เชื่อถือธปท.
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
BLSH
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1096
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

การออกมาตรการ LTV โดยการเพิ่มสัดส่วนเงิน down payment สามารถคิดได้ครับ แต่ยากมากในทางปฏิบัติ

พวก developer คงร้องกันระงมเพราะจะทำให้อสังหาฯ cool down อย่างมาก สุ่มเสี่ยงต่อการเกิด "hard landing" และอย่างที่ทราบกันอสังหาฯกระทบต่อการจ้างงานในวงกว้างรวมทั้งเพิ่มภาระและลดการทำกำไรของแบงค์พาณิชย์ลงด้วย

ลองร่วมด้วยช่วยแชร์ดูครับ
You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets. - Peter Lynch
Zolaa
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

anubist เขียน:ผมคิดว่าการแก้บาทแข็งสามารถใช้นโยบายการเงินย่อยๆหลายนโยบายได้ครับ
แม้ว่าการลดดอกเบี้ยจะเป็นการไปเพิ่มmoney supplyซึ่งส่งผลถึงเงินเฟ้อ
แต่ขณะเดียวกัน ธปท.สามารถออกนโยบายเพื่อสะกดเงินเฟ้อได้เช่น
หากกังวลเรื่องอสังหา ก็ออกนโยบายLTVเพิ่มจาก10%คอนโด เป็น20%ทุกกลุ่ม
(เป็นนโยบายที่ผมสนับสนุนอย่างยิ่งเพราะเราควรเก็บก่อนใช้)
กังวลสินเชื่อส่วนบุคคล ก็สั่งแบงค์ตั้งสำรองเพิ่ม
ในขณะเดียวกันก็สามารถออกมาตราการเก็บภาษีกำไร10-15%จากการลงทุนในหุ้น
หรือตราสารหนี้ของไทยจากกองทุนต่างชาติด้วย
ซึ่งมาตราการนี้น่าจะใช้เป็นมาตราการระยะยาว
เนื่องจากผมไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องเก็บเงินร้อนของต่างชาติไว้
ยกเว้นจะเปลี่ยนเงินร้อนนี้เป็นเงินลงทุนระยะยาว
ในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน2ล้านๆและการจัดการน้ำ3.5แสนล้าน
และเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของบริษัทไทยที่ลงทุนในตราสารหนี้

เรื่องการลดดอกเบี้ยโดยการoperationผ่านตลาดตราสารหนี้
ผมคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องไล่ซื้อตราสารหนี้ในตลาดเลยครับ
ธปท.สามารถออกตราสารหนี้ใหม่ได้เลย
เนื่องจากกองทุนเหล่านี้ไ่ม่มีทางเลือกในการลงทุนมากนัก
หากกองทุนเหล่านี้ไม่ลงทุนต่อ และนำเงินออกนอกประเทศ
ก็เข้าทางเลยเพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการเห็นอยู่แล้ว

ส่วนตัวผมเชื่อถือในคุณประสานนะครับ แต่ผมไม่เชื่อถือธปท.
เห็นด้วยอย่างยิ่งเก็บค่าต๋งเยอะขึ้นกับพวกเข้ามาระยะสั้นในเมื่อเราก็รู้ว่ามันมาเก็งกำไรเราก็เก็งกำไรกับมันด้วย อย่าให้มันเอาไปอย่างเดียว :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

LTV20%อาจดูเยอะไป แต่ตอนนี้ก็ไม่มีแบงค์ไหนให้กู้100%อยู่แล้ว
ตอนแรกอาจจะออกLTV10%ทุกกลุ่มก่อน จะเพิ่มอีกหรือไม่ค่อยว่ากัน
ช่วงที่ออกLTV10%สำหรับคอนโดก็เห็นdeveloperร้องระงม
แต่สุดท้ายกำไรดีเกือบทุกบริษัท เปิดโครงการกันมากมายโดยเฉพาะปีนี้ที่ดูแล้วผมกลัวมาก
หรืออาจออกเป็นมาตราการLTV20%หรือมากว่าสำหรับบ้านหลังที่สองก็ได้
จะcool downขนาดไหนผมว่าดีกว่าbubbleนะครับ
ที่จริงผมว่าตอนนี้อสังหาเริ่มมีbubbleแล้วนะครับ
มีการเก็งกำไรคอนโดเป็นล่ำเป็นสัน บางคนเหมาทั้งชั้นก็มี
จากการที่delveloperหลายรายปล่อย/ส่งเสริม ที่จริงควรลงโทษdeveloperแย่ๆเหล่านี้บ้าง
ลองย้อนกลับไปเมื่อ2ปีที่แล้วดูครับ คอนโดแถวตากสินตรม.ละ3-4หมื่นบาท
ตอนนี้จะเหยียบแสนเข้าไปแล้ว ทั้งยังมีข่าวต่างชาติจะมาลงทุนอสังหาในไทยอีก
คนที่จะซื้ออยู่จริงๆแทบไม่มีโอกาสอยู่แล้ว
ซึ่งถ้าธปท.จะcool downควรจะเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้

เรื่องจ้างงานคงไม่กระทบหรอกครับ BOIกันเต็มที่เห็นว่ามีงานใหม่อีก2แสนอัตรา
อีกทั้งตอนนี้ก็ขาดแรงงานก่อสร้างอยู่แล้ว มันก็ช่วยให้ตลาดก่อสร้าง
ลดความตรึงเครียดด้านแรงงานไปได้ไม่ใช่เหรอครับ

ที่จริงมันมีช่องมีทางครับ แต่ธปท.ก็เหมือนเรา ไม่ได้เอาข้อมูลมาประกอบกันทั้งภาพรวม
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

anubist เขียน: ที่จริงมันมีช่องมีทางครับ แต่ธปท.ก็เหมือนเรา ไม่ได้เอาข้อมูลมาประกอบกันทั้งภาพรวม
ขอแก้เป็น
ดูแต่ภาพรวม ไม่ได้ดูข้อมูลปลีกย่อย
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เป็นกระทู้ที่ชอบมาก อีกกระทู้
ที่มีการแสดงความคิด ความเห็น และเหตุผล
มุมมองที่ผมคิดว่า อาจจะมีผลต่อการบริหารจัดการการเงินการคลังของประเทศในอนาคต

รวมทั้งกระทู้ที่ตามอ่านมาก่อน แบบที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนัก แต่ชอบ
" ความคิด " http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=54970
" เงินบาทผันผวน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ " http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=54955

หวังว่า คงจะไม่จำกัดเฉพาะคนที่อยู่ในสายการเงินเท่านั้น เพื่อจะได้มีมุมมองที่หลากหลาย
เหมือนเรื่อง " บ้าน " เจ้าของบ้านอาจไม่ใช่คนออกแบบหรือสร้างบ้านเอง แต่บอกความต้องการต่างๆ พร้อมกำลัง(ทรัพย์)ที่มีอยู่
แล้วให้ท่านสถาปนิกและวิศวะกร ช่วยเสนอหรือออกแบบการก่อสร้างในหลายรูปแบบ มาให้เจ้าของบ้านเลือก
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมกลัววิธีคิดและวิธีการทำงานของพวก BOT มาก
สมัยหม่อมอุ๋ย เป็น รมว คลัง และมี ธาริษาเป็น ผวก
แก้ปัญหาเงินไหลเข้ามากๆ โดยมาตราการ X
หุ้นตกทันทีร้อยกว่าจุด หายนะทันทีจากหลักคิดของพวก BOT
จริงๆแล้วเงินไหลเข้าประเทศมากๆ เป็นสิ่งที่ดีมาก
ดอกเบี้ยนโยบายคือผลประโยชน์แรกที่คนเอาเงินเข้าจะได้รับ
ถ้าลดดอกเบี้ยนโยบายลง ผลประโยชน์นักลงทุน ต่างชาติก็ลดลง
ปริมาณเงินเข้าประเทสก็จะลดลง
คนไทยทั้งที่เป็นหนี้ ก็เสียดอกเบี้ยน้อยลง
มีอะไรที่ไม่ดี บ้าง ส่วนเรื่องเงินเฟ้อก็คิดไปเอง
ถ้ามันเริ่มเฟ้อก็ขึ้นดอกเบี้ย ง่ายๆแค่นั้น ทำไมไม่ทำ
และเงินมหาศาลนี้ สามารถนำไปลงทุนใน infrastructure เช่น การ ชลประทาน logistic
ที่เป็นจุดอ่อนของประเทศไทยได้อีกมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4481
ผู้ติดตาม: 88

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

บางครั้งเราไม่รู้ข้อมูลมากเท่าที่คุณประสาร หรือ ธปท. รู้ ก็ไม่ควรไปวิจารณ์รุนแรงไปนะครับ เท่าที่ผมเคยสัมผัสผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. และมีเพื่อนทำงานที่นั่นบ้าง เชื่อว่าคนเหล่านั้นมีความสามารถและเป็นคนดีครับ

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง มักจะมีผลข้างเคียงเสมอ คนที่เดือดร้อนจะออกมาเรียกร้อง คนที่ได้ประโยชน์จะนิ่งเผ็นทองไม่รู้ร้อน เวลาวิจารณ์ควรมองให้รอบด้านก่อน

หน่วยงานสำคัญอย่าง ธปท.จะออกมาตรการอะไร นโยบายอะไร ต้องรอบคอบ เพราะมันมีส่วนชี้นำระบบเศรษฐกิจทั้งในะต่างประเทศ แล้วจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้ภาคธุรกิจวางแผนระยะยาวไม่ได้

สมมติลดดอกเบี้ย แล้วเงินยังไหลเข้าต่อ แต่ดันไปทำเงินเฟ้อ หนี้เน่าพุ่ง แล้วไงต่อดี

สมมติไปออกมาตรการกันเงินไหลเข้า แล้วต่างชาติขนเงินออก หุ้นตกเละ กลายเป็นเงินบาทอ่อนรุนแรง ราคาน้ำมันในประเทศขึ้นสูง ราคาก๊าซนำเข้ากระฉูด จะมายกเลิกมาตรการทีหลังก็กลายเป็นเสียสุนัขเช่นในอดีต

แถมยุคนี้ พวกขี้ฟ้องเยอะกว่าอดีต พอหาช่องเจออะไรหน่อยพ่อฟ้องศาลดะอีกต่างหาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ผมก็กลัวBOTเหมือนกันครับ
คิดได้ไงว่าเงินเฟ้อต้องขึ้นดอกเบี้ย
มันต้องดูก่อนว่าเงินเฟ้อจากสาเหตุอะไร
ถ้าcost pushก็ต้องลดดอกเบี้ย เนื่องจากเป็นเงินเฟ้อปกติ
ถ้าdemand pullต้องขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากความต้องการเพิ่มแย่งทรัพยากรกัน
แต่ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อที่ไร ธปท.ก็ขึ้นดอกเบี้ยตลอด
ไม่ถงไม่ถามสุขภาพ ซ๊ากคำ
จนมันฝังหัวคนทั่วไปแล้วว่าเงินเฟ้อต้องขึ้นดอกเบี้ย
ไม่รู้ว่าในหลายสิบปีที่ผ่านมา มีบ. ห้างร้าน SMEกี่รายปิดตัวไปเพราะความงี่เง่าของธปท.

เราคงไม่สามารถดูแลเศรษฐกิจได้โดยออกมาตราการใดมาตราการหนึ่ง
เนื่องจากเศรษฐกิจเป็นพลวัตรที่เกี่ยวเนื่องกัน เหมือนรถยนต์คันหนึ่ง
เมื่อมีการส่งกำลังของเครื่อยนต์ไปยังส่วนอื่น ส่วนที่ตามมาอาจมีปัญหา
เราจึงต้องแก้กันไปเฉพาะจุด แต่ไม่ใช่ไปบอกให้ส่วนอื่นชะลอ
หรือบางส่วนเร่งจนover heat มันต้องมีการจูนทุกๆจุด
เพื่อให้เครื่องยนต์เดินได้เต็มประสิทธิภาพ

ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีมากๆที่จะลดดอกเบี้ย และให้รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
โดยมีมาตราการย่อยๆมาซัพพอร์ตการลดดอกเบี้ยครั้งนี้
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ดำ เขียน:บางครั้งเราไม่รู้ข้อมูลมากเท่าที่คุณประสาร หรือ ธปท. รู้ ก็ไม่ควรไปวิจารณ์รุนแรงไปนะครับ เท่าที่ผมเคยสัมผัสผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. และมีเพื่อนทำงานที่นั่นบ้าง เชื่อว่าคนเหล่านั้นมีความสามารถและเป็นคนดีครับ

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง มักจะมีผลข้างเคียงเสมอ คนที่เดือดร้อนจะออกมาเรียกร้อง คนที่ได้ประโยชน์จะนิ่งเผ็นทองไม่รู้ร้อน เวลาวิจารณ์ควรมองให้รอบด้านก่อน

หน่วยงานสำคัญอย่าง ธปท.จะออกมาตรการอะไร นโยบายอะไร ต้องรอบคอบ เพราะมันมีส่วนชี้นำระบบเศรษฐกิจทั้งในะต่างประเทศ แล้วจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้ภาคธุรกิจวางแผนระยะยาวไม่ได้
ฉนั้นธปท.ควรจะออกมาอธิบายอย่างละเอียดครับ ว่าทำไมถึงทำหรือไม่ทำสิ่งนั้น
ไม่ใช่ทำแบบที่เป็นอยู่ พูดว่าเงินเฟ้อ ขึ้นดอกเบี้ย จบ...
คนสมัยนี้ไม่ได้โง่จนไม่มีทางเข้าใจคำอธิบายของธปท.
ในภาคเอกชนมีคนเก่งๆหลายคนที่สามารถอธิบายคำพูดของธปท.ได้
ข้อมูลที่ธปท.มี ก็ควรนำเสนอสู่สาธารณะชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการของธปท.

ผมพร้อมเสียเวลาฟังของมูลจากธปท.เป็นวันๆเพื่อจะเข้าใจว่าทำไมถึงทำหรือไม่ทำสิ่งใด
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมวิจารณา และตำหนิ BOT เพราะที่ผ่านมานั้นทำความเสียหายให้ประเทศมหาศาล
ทำไมธนาคารชาติมาเลเซียจึงไม่ทำความเสียเท่ากับธนาคารชาติไทย(สมัยต้มยำกุ้งไคซิส)
ความเสียหายต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2535-2540 นั้นทำให้คนหมดเนื้อหมดตัวไปเยอะ
สมัยหม่อมอุ๋ย+ธาริษา อยู่ดีๆ ก็ทำให้หุ้นตกไปร้อยกว่าจุด
ผมเห็นคนเรียนสูงๆภาษาดี ความรู้ท่วมหัว แต่ สามัญสำนึกแย่มาก
นโยบายที่ดีที่สุด ต้องมีสามัญสำนึกที่ดี ความคิดที่มีเหตุผล ที่อธิบายให้คนไอคิว 100-120 เข้าใจได้ ภายใน 15นาที
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4481
ผู้ติดตาม: 88

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 20

โพสต์

อ่านแล้วผมรู้สึกว่าพวกเราหลายคนเหมือนจะเชื่อว่าตัวเองเก่งกว่า ธปท.นะ หรือไม่ก็เชื่อว่า ธปท.เก่งแต่ทำงานห่วย

แม้แต่การออกมาพูดหรือไม่พูดอะไรก็ถูกตีความไปต่างๆนาๆ แล้ว พวกนักวิจารณ์อย่างเราๆ พูดผิดบ้่างถูกบ้างมันไม่เป็นไร แต่ ธปท.ทำแบบนั้นไม่ได้นะครับ คงจะให้ถูกใจทุกคนไม่ได้

ขนาด เบอร์นาเก้ ยังโดนอ่วมเหมือนกันโดยนักวิจารณ์ทั่วโลก

คนทำงานกับคนวิจารณ์ ต้นทุนมันต่างกันครับ อยากเข้าใจถ่องแท้ให้ลองสมัครเข้าไปทำงานดูถึงจะรู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4481
ผู้ติดตาม: 88

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ด้วยคุณวุฒิของพวกเราหลายท่าน เชื่อว่าทำงาน ธปท.ได้อยู่แล้ว

เวลาวิจารณ์ใครอยากให้ลองสมมติว่าถ้าเค้าเหล่านั้นเป็นญาติผู้ใหญ่ของเรา เราจะใช้คำพูดแบบเดียวกัน มองแบบเดียวกันมั้ย ถ้าคำตอบคือไม่ใช่ แปลว่าเรามีส่วนใช้อคติ ใช้อารมณ์วิจารณ์นะครับ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์
ตั้งแต่ปี 2535 ถึงปัจจุบัน ทำความเสียหายให้ประเทศ หลายแสนล้าน
ยังไม่เพียงพออีกเหรอ ที่จะบอกว่า คน BOT เป็นคนอย่างไร
คงต้องให้ เกิดเหตุการณ์แบบต้มยำกุ้งอีกซักครั้งเราจึงมั่นใจว่า BOT คิดไม่เป็น
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ดำ เขียน:อ่านแล้วผมรู้สึกว่าพวกเราหลายคนเหมือนจะเชื่อว่าตัวเองเก่งกว่า ธปท.นะ หรือไม่ก็เชื่อว่า ธปท.เก่งแต่ทำงานห่วย

แม้แต่การออกมาพูดหรือไม่พูดอะไรก็ถูกตีความไปต่างๆนาๆ แล้ว พวกนักวิจารณ์อย่างเราๆ พูดผิดบ้่างถูกบ้างมันไม่เป็นไร แต่ ธปท.ทำแบบนั้นไม่ได้นะครับ คงจะให้ถูกใจทุกคนไม่ได้

ขนาด เบอร์นาเก้ ยังโดนอ่วมเหมือนกันโดยนักวิจารณ์ทั่วโลก

คนทำงานกับคนวิจารณ์ ต้นทุนมันต่างกันครับ อยากเข้าใจถ่องแท้ให้ลองสมัครเข้าไปทำงานดูถึงจะรู้
ผมพยามอภิปรายแบบปลายเปิดเพื่อให้ทุกท่านได้แชร์มุมอง
เพื่อตอบข้อสงสัยของเรา ถ้าคุณรู้อะไรที่ลึกกว่าถูกต้องมากว่า ลองแชร์มาสิครับ

แต่ถ้าตอบมาแบบนี้ หัวข้ออภิปรายครั้งนี้คงจบสำหรับผมแล้ว
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ดำ เขียน:อ่านแล้วผมรู้สึกว่าพวกเราหลายคนเหมือนจะเชื่อว่าตัวเองเก่งกว่า ธปท.นะ หรือไม่ก็เชื่อว่า ธปท.เก่งแต่ทำงานห่วย

แม้แต่การออกมาพูดหรือไม่พูดอะไรก็ถูกตีความไปต่างๆนาๆ แล้ว พวกนักวิจารณ์อย่างเราๆ พูดผิดบ้่างถูกบ้างมันไม่เป็นไร แต่ ธปท.ทำแบบนั้นไม่ได้นะครับ คงจะให้ถูกใจทุกคนไม่ได้

ขนาด เบอร์นาเก้ ยังโดนอ่วมเหมือนกันโดยนักวิจารณ์ทั่วโลก

คนทำงานกับคนวิจารณ์ ต้นทุนมันต่างกันครับ อยากเข้าใจถ่องแท้ให้ลองสมัครเข้าไปทำงานดูถึงจะรู้
ดำ เขียน:ด้วยคุณวุฒิของพวกเราหลายท่าน เชื่อว่าทำงาน ธปท.ได้อยู่แล้ว

เวลาวิจารณ์ใครอยากให้ลองสมมติว่าถ้าเค้าเหล่านั้นเป็นญาติผู้ใหญ่ของเรา เราจะใช้คำพูดแบบเดียวกัน มองแบบเดียวกันมั้ย ถ้าคำตอบคือไม่ใช่ แปลว่าเรามีส่วนใช้อคติ ใช้อารมณ์วิจารณ์นะครับ
ขออนุญาติ เสนอความเห็นบ้าง

ตามกระทู้ข้างบน ผมยังเห็นว่าเป็นแค่การแสดงความคิด ความเห็น มุมมองและเหตุผล
ก็ยังไม่เห็นใครที่อวดตัวว่าเก่งกว่า หรือกล่าวหาว่าคนใน ธปท. ไม่เก่ง
เพียงแต่อาจสงสัยว่า ในสิ่งที่ทำอยู่หรือมีอยู่ จะเพียงพอแก่ปัจจุบันและอนาคต หรือไม่

นิทานเรื่อง หนู กับ ราชสีห์ คงไม่มีใครไปสรุปว่า ใครเก่งกว่าใคร ครับ
บทเรียนเรื่อง น้ำท่วมใหญ่ปลายปี2554 ก็คงบอกไม่ได้ว่า กรมชลประทานไม่เก่ง

แต่ถ้ากรมชลประทานมีอำนาจและต้องทำงานอยู่คนเดียว
ไม่มีรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนเอกชนร่วมแรงและร่วมลงมือด้วย
ผมก็นึกภาพไม่ออกว่า จะจบลงดีกว่าที่เป็น หรือจะแย่กว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
เพราะต้องมาแก้ตอนที่ปลายเหตุแล้ว

กระทู้นี้ผมว่า เรากำลังถกหรือเสนอ ทางเลือกหลายๆแบบในอนาคตอยู่ ครับ
ในภาวะที่ไม่ปกติ ทางแก้หรือการป้องกัน อาจไม่ใช่หน้าที่ ธปท. แต่ผู้เดียวก็ได้ อาจต้องมีกลไกอื่นมาช่วยเสริม
ยกเว้นเห็นว่าขณะนี้ ภาวะการค้าโลกและการเงินโลก มันอยู่ในช่วงปกติ (ไม่คล้ายกรณีน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา)
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ลองอ่านดู
ลุงเบน อธิบาย ของยากให้ง่าย...

source:
Speech
Chairman Ben S. Bernanke
At the Economic Club of Indiana, Indianapolis, Indiana
October 1, 2012

Five Questions about the Federal Reserve and Monetary Policy

http://www.federalreserve.gov/newsevent ... 21001a.htm
In normal circumstances,
the Federal Reserve implements monetary policy through its influence on short-term interest rates, which in turn affect other interest rates and asset prices.1

Generally, if economic weakness is the primary concern, the Fed acts to reduce interest rates, which supports the economy by inducing businesses to invest more in new capital goods and by leading households to spend more on houses, autos, and other goods and services.


Likewise, if the economy is overheating, the Fed can raise interest rates to help cool total demand and constrain inflationary pressures.



แปลไทย..
1. ถ้า เศรษฐกิจมันแย่ ถึงจะลด ดบ. เพื่อกระตุ้น
2. ถ้า เศรษฐกิจ มัน ร้อน แรงไป ก็ จะขึ้น ดบ.

ตอนนี้ set index 1499.22 แล้ว ไม่ใช่ ตอน sub prime 2008 ที่ ที่ set index ลงไป 400กว่าๆ
ไม่เรียกว่าร้อนแรง ไม่รู้ว่า เรียกอะไร
ถ้า หาก ลดดอกอีก จะกลายเป็น ที่เรียกว่า ว่า เติมน้ำมันให้กับ กองไฟ..หรือเปล่าก็ไม่รู้.
Following this standard approach, the Fed cut short-term interest rates rapidly during the financial crisis, reducing them to nearly zero by the end of 2008--a time when the economy was contracting sharply. At that point, however, we faced a real challenge: Once at zero, the short-term interest rate could not be cut further, so our traditional policy tool for dealing with economic weakness was no longer available.


ลุงเบน บอกว่า
Now, as I have said many times, monetary policy is no panacea
panacea

N. ยารักษาสารพัดโรค
relate:{ยาครอบจักรวาล}
syn:{miracle drug}{universal cure}
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 26

โพสต์

แปะอีกครั้ง
related: reading

http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolic ... _12556.pdf

Quote:
รายงานการประชมคณะกรรมการนโยบายการเงน (ฉบบยอ)
ครงท 1/2556 วนท 9 มกราคม 2556 ธนาคารแหงประเทศไทย
เผยแพร ณ วนท 23 มกราคม 2556
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 27

โพสต์

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=40851
ต่างชาติแห่เก็งกำไรตราสารหนี้7.8แสนล. จาก stock2morrow
ที่ต่างชาติทำด้วยความมั่นใจ เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูง
แล้วทำไมเราจึงต้องคงอัตราดอกเบี้ยสูงไว้ให้ต่างชาติได้ประโยชน์
ผู้มีอำนาจในประเทศไทย มีนโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศเยอะมาก
BOI ให้จนบริษัทคนไทย ต้องไปจดบริษัทที่สิงคโปรแล้วมาขอ BOI ในประเทศไทย
ส่วนบริษัทคนไทยเล็กๆก็เสียเปรียบ ต่างชาติไป
ต่างชาติมันซื้อ ตราสารหนี้ สิ่งที่ได้คืออัตราดอกเบี้ย
เงินของ ต่างประเทศมีมหาศาล USA EU Japan มันเพิ่มปริมาณเงินมหาศาลแนวโน้มทุกประเทศค่าเงินลดลง
BOT ยังบริหารเงินแบบสมัย ดร.ป๋วย คนไทยในประเทศต้องรับกรรม เพราะ ผู้มีอำนาจหน้าที่ทำทุกอย่างแบบไม่มีเหตุผล
การที่เงินบาทแข็งค่าเพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงและค่าเงินของประเทศรวยๆมันลดลง
ผมชักไม่มั่นใจว่า นโยบาย BOT ทำเพื่อต่างชาติหรือทำเพื่อคนไทย
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขออนุญาติ เสนอภาพเปรียบเทียบที่ค้างคาใจ และสงสัย
หากเปรียบเทียบกับกรณีน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554

1. ฝนที่ตกหนัก พายุที่เข้ามาต่อเนื่อง ระดับน้ำสะสมในเขื่อนจนเต็มพิกัด มันจะใช้เปรียบเทียบได้กับ พายุ QE ที่ EU และ USA กำลังเป็นอยู่ได้ไหม และพายุใหญ่อีกลูกกำลังประกาศแสดงกำลังจาก Japan

2. กรมชลประทานดูแลเรื่องน้ำ. เทียบกับ ธปท. กับนโยบายการเงิน

3. ครั้งน้ำท่วมใหญ่ มีคนบอกว่า ระบบชลประทานของเรา ออกแบบมาเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ ลดความผันผวนของน้ำท่วม น้ำแล้งและมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี. ผมเข้าใจว่า ธปท.กับเรื่องนโยบายการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายกันมาก

4. ครั้งน้ำท่วมใหญ่ น้ำมาในปริมาณและรูปแบบที่ไม่ที่อยู่ในรูปแบบหลักที่การชลประทานบ้านเราออกแบบไว้ ต้องปรับเปลี่ยนและบริหารจัดการใหม่ในภาวะบังคับและกระชั้นชิด มีการสั่งชะลอปล่อยน้ำจากเขื่อน(ส่วนQEของคนอื่น เราคงไปสั่งเขาหยุดไม่ได้) แล้วเบี่ยงทางน้ำและอื่นๆอีกมากมาย เพื่อให้น้ำมีทางลงสู่ทะเลที่เร็วขึ้น ภายหลังจบเหตุการณ์มีการเรียกร้องหาแนวทาง flood way และเห็นความสำคัญที่ละเลยในอดีต

5. ธปท. มองกระแสQE แล้วหากพบแบบกรมชลประทานเจอน้ำท่วมใหญ่ ผมสงสัยว่า มีภาพตัวอย่างไว้รับมือหรือยัง อย่างไร? อยากรู้ ครับ และจะสื่อสารให้ประชาชนเตรียมตัวรับมืออย่างไร หรือต้องเตรียมการคล้ายแบบflood way หรือไม่?

6. หากเทียบกับน้ำท่วมใหญ่ แล้วให้กลุ่มอาเซียนหรือAEC เหมือนอยู่ในภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก ที่เป็นทางน้ำท่วมใหญ่จะไหลผ่านลงสู่ทะเล. ผมสงสัยว่า ประเทศไทยเรากำลังอยู่ในส่วนไหน. หวังว่าจะไม่ใช่อยู่ในตำแหน่ง 7 นิคม ที่ถูกน้ำกวาดไปหมด ในขณะที่ยังได้รับข่าวสารปลอดภัย มีการป้องกันไว้อย่างดีแล้ว

7. สุดท้าย จะต้องทำอย่างไร ที่จะใช้กระแสQE ให้เป็นโอกาสที่ดี กับประเทศ หรือจะอยู่ร่วมกับกระแสQEอย่างไร

เป็นความเห็น และความสงสัยส่วนตัว ที่มียังขาดความรู้ ความเข้าใจ
มาขอความรู้ความเข้าใจ จากทุกๆท่าน ขอช่วยแนะนำด้วย
RAM
Verified User
โพสต์: 9
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 29

โพสต์

กระทู้อย่างนี้ชอบครับ ได้ความรู้ดีครับ
:P
pat4310
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 733
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 30

โพสต์

การวิเคราะหนโยบายการเงินอยากรู้ว่าจะกระทบอะไรบ้างให้ดูกลที่กลไกส่งผ่านครับว่ากระทบช่องใหนบ้าง รายละเอียดตามอ่านที่บทความของ BOT นะครับ

http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolic ... anism.aspx
การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี นับตั้งแต่คณะกรรมการฯ ประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะส่งผลกระทบผ่านระบบการเงินในช่องทางต่าง ๆ 5 ช่องทาง ได้แก่

1. ช่องทางอัตราดอกเบี้ย (Interest rate channel)
2. ช่องทางสินเชื่อ (Credit channel)
3. ช่องทางราคาสินทรัพย์ (Asset price channel)
4. ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate channel)
5. ช่องทางการคาดการณ์ (Expectations channel)
โดยการส่งผ่านภายใต้ช่องทางเหล่านี้จะขยายวงกว้างไปสู่การเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจและจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตและอัตราเงินเฟ้อในที่สุด
ที่ถกเถียงกันเพราะเครื่องมือมีอันเีดียว แต่ว่าทุกคนมีเป้าหมายต่างกันครับ bot ก็มุ่งรักษาเงินเฟ้อเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ส่งออกก็มุ่งอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้ขายของได้ นักลงทุนก็เน้นช่องทางราคาสินทรัพย์เพื่อให้หุ้นตัวเองขึ้น ฯลฯ

เชิญถกกันต่อครับ
ลงทุนหุ้นดี มีการเติบโต ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย