ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 211

โพสต์

CARPENTER เขียน:ผมหมายถึงค่าดอกเบี้ยในปัจจุบันนี้
ที่ bot ยินดีจ่ายสูงๆให้ คนที่เอาเงินตรา ตปท เข้า มา
สิ่งที่ bot ทำคือ ให้คนเอา เงิน us$ เงินยูโร หรือ เยน เข้ามาแลก เป็นเงินบาท ใน อัตราดอกเบี้ยสูง
เมื่อเงิน ตปท มากขึ้น เงิน บาทก็แข็งขึ้น bot ก็ เอาเงินตรา ตปท ออก โดยไปซื้อ สินทรัพย์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำๆ
แล้วยังมาอ้างบุญคุณ ว่า ทำเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งเกินไป
จ่ายดอกเบี้ยสูง เอาไปฝากดอกเบี้ยต่ำๆ ปีนึงเสียหายหลายหมื่นล้าน
bot ทำแบบนี้ทุกวัน ไม่รู้ฉลาดหรือโง่
ประเทศไทยนอกจากเสียหาย เพราะนักการเมืองขี้โกงแล้ว
เรายังเสียหาย เพราะ คณะกรรมการต่างๆ ที่ออกนโยบาย ไม่รู้จักคิดมาอีกเยอะแยะ
ถามกลับ ว่าเวลาเขาแลกคืน เอาเงินที่ไหนแลกเปลี่ยนคืน
ถ้าไม่เอาเงินที่เข้ามาแลกคืน
แล้วตอนเข้ามา ธปท จำเป็นตัองเสกกระดาษเป็นเงินเพิ่มหรือเปล่าล่ะ
ถ้าเสกเพิ่มกำไรก็เพิ่ม
ต่อมาคือ เงินมันเข้ามาที่บัญชีทุน ซึ่งมาเร็วไปเร็วกว่าบัญชีการค้า
ทึ่กว่าตะสั่งกว่าจะผลิตกว่าจะลงออกใช้เวลา
เงินมันกดแค่คลิ๊กเดียวกันก็ไหลเข้่าไหลออกแบบน้ำแล้ว

แถม ลดดอกเบี้ย ณ วันนี้กว่าที่เงินมันวนรอบทบไปทบมา มันนานกว่าลดภาษี
ออกมาตราการวันนี้อาจจะมีผลอย่าฃน้อย 3-6 ไตรมาสข้างหน้า
แต่ลดภาษีทีเดียว หรือขึ้นเงินเดือนมันเห็นผลเลย แถมผลมันน้อนหลังด้วย
อะไรมันเร็วกว่ากันละ

:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 212

โพสต์

ถามต่อไป
ดอกเบี้ยที่จ่าย มันเป็นการลดภาษี โดยที่จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร คูณด้วย (1-อัตราภาษี)
อันนี้ตำราการเงินสอนไว้ใช่หรือเปล่า

ถ้าเมื่อลดดอกเบี้ย การลดภาษีก็ลดลงไปด้วยซิ
ทำให้กระทบต่อบริษัทที่เอาหนี้มาใช้พัฒนาธุรกิจหรือเปล่า

ตามมาด้วยหนี้สินกู้มากไป ก็ทำให้ DE สูงขึ้น จนกระทั่งกิจการเผชิญหน้ากับภาระล้มละลายมากขึ้นใช่ไหม แล้วแบบนี้กิจการจะจ่ายดอกเบี้ยลดลงได้หรือเปล่า

ต่อมา เมื่อลดดอกเบี้ยลง ก่อหนี้มากขึ้น ทำให้สภาพคล่องตรึงหรือเปล่า ธนาคารบางแห่งเลยต้องออกผลิตภัณฑ์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงมาเป็นช่วงๆหรือเปล่า ลองสังเกตดีๆ

คำถาม 1 คำถามดีกว่าคำตอบ 100 คำตอบ
:)
:)
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 213

โพสต์

จากที่ให้ดู สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น แล้ว
มาดูเพิ่ม อีกคู่ ไทย กับ มาเลเซีย
ซึ่งปกติจะเกาะติดใกล้กันมากสุด
มาวันนี้ เราก็หลุดกลุ่ม โดด ออกมาอีก เช่นกัน

http://www.bloomberg.com/quote/USDTHB:CUR
THB-MYR.JPG
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 214

โพสต์

คำถามดูผลตอบแทนของ
FTSE Bursa Malaysia KLCI Index
เทียบกับ
Stock Exchange of Thailand SET Index
หรือยังว่า ใครชนะหรือแพ้อย่างไง

http://www.bloomberg.com/quote/FBMKLCI:IND
Snapshot for FTSE Bursa Malaysia KLCI Index (FBMKLCI)
Open: 1,645.83 Day Range: 1,635.87 - 1,645.83 Year To Date: -2.85%
Previous Close: 1,646.22 52-Week Range: 1,526.60 - 1,699.68 1-Year: +4.13%

http://www.bloomberg.com/quote/SET:IND
Snapshot for Stock Exchange of Thailand SET Index (SET)
Open: 1,577.68 Day Range: 1,574.48 - 1,587.22 Year To Date: +14.00%
Previous Close: 1,578.70 52-Week Range: 1,099.15 - 1,587.22 1-Year: +36.28%

คำถามต่อว่า เงินต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยใช่หรือเปล่า
ไม่เพียงแต่ตลาดตราสารทุนเท่านั้น ตราสารหนี้ด้วยหรือเปล่าครับ

ดังนั้น การแข็งค่าของค่าเงินบาทไม่ใช่ผลของการลดหรือไม่ลดอัตราดอกเบี้ยครับ
มันคือผลตอบแทนของตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ ด้วยเป็นเหตุผลหนึ่ง
ไม่ใช่จำเลยแต่ตราสารหนี้เท่านั้นครับ

ซึ่งที่ตั้งคำถามไปว่า การไหลเข้าของเงินนั้นมาจากบัญชีการลงทุนไม่ใช่มาจากการค้าขาย(บัญชีการค้า)
เนี่ยคือภาพที่ต้องแก้ไขจากผู้ที่มีอำนาจไม่ใช่หรือครับ

ภาพต่อมาคือ การบิดเบือนเรื่อง GDP ที่ตอนนี้ ค่าจ้างแรงงานขึ้นแล้ว แ่ต่ราคาของสินค้าไม่ขึ้น
ใช้มาตราการหรือความร่วมมือกับผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าไว้ มันบิดเบือนเรื่องต้นทุนของสินค้าอยู่ไม่ใช่หรือครับ
ค่าจ้างแรงงานเป็นตัวหนึ่งที่ถ้าเพิ่มขึ้นแล้ว มีผลต่อราคาสินค้าให้ปรับเพิ่มขึ้น
ล่าสุดมีข่าวเรื่องนมผงปรับขึ้นราคาไปแล้วเมื่อสองสามวันที่แล้วนิครับ

ภาพลวงตาคือ GDP นั้นเทียบกับปีก่อนหน้า ดังนั้นต้องระวังว่า ปีที่แล้ว ยังฐานต่ำอยู่ในช่วงนี้
ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้สะท้อนภาพจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
มีตัวเดียวที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนคือราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันก็โดยบิดเบือนจากกองทุนน้ำมันอีกต่างหาก
ดังนั้น การลดดอกเบี้ยลง อย่างเดียวทำให้เงินมันอ่อนค่าได้หรือครับ มันไม่ใช่ปัจจัยเดียวซักหน่อย

ปล. มันมีกฏของ PPP อยู่ด้วย ไม่ใช่แค่ IRP เท่านั้น
ดังนั้นเปิดตำราคนละหน้าแล้ว มันก็คือการแก้ไขปัญหาโดยการอ้างอิงทฤษฏีคนละตัวกัน
:)
:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 215

โพสต์

ข้อมูลจาก www.thaibma.or.th ในวันที่ลดอัตราดอกเบี้ย

Date 1M 3M 6M 1Y 2Y 3Y 4Y 5Y 6 7 8 9 10Y 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29
12/10/2012 2.973084 3.038302 3.070064 3.059455 3.159467 3.168072 3.23 3.300326 3.379422 3.419911 3.449219 3.464372 3.503391 3.554417 3.618824 3.678335 3.725802 3.737743 3.834463 3.87965 3.930699 3.976876 4.006031 4.020818 4.035604 4.05039 4.065177 4.079963 4.102835 4.135551 4.178984 4.215196 4.220236 4.225276 4.230316 4.235356 4.240396 4.245436 4.250476 4.255516 4.260556 4.265596 4.270636 4.275675 4.280715 4.285755 4.290795 4.295835 4.300875 4.305915 4.310955
15/10/2012 2.974004 3.036012 3.070519 3.05856 3.161724 3.173052 3.235463 3.3157 3.384561 3.43815 3.469121 3.490177 3.528628 3.586873 3.643625 3.706244 3.757181 3.784205 3.863242 3.904693 3.953007 3.994947 4.019206 4.035105 4.051005 4.066904 4.082804 4.098703 4.119241 4.148042 4.188656 4.220851 4.226391 4.23193 4.23747 4.243009 4.248548 4.254088 4.259627 4.265166 4.270706 4.276245 4.281785 4.287324 4.292863 4.298403 4.303942 4.309482 4.315021 4.32056 4.3261
16/10/2012 2.986892 3.048378 3.080065 3.06841 3.17185 3.178793 3.244928 3.330534 3.404974 3.448409 3.480699 3.501248 3.542074 3.596699 3.654909 3.706746 3.770048 3.793929 3.871452 3.912797 3.957465 3.9974 4.02251 4.037137 4.051765 4.066392 4.081019 4.095646 4.118608 4.150298 4.187466 4.21459 4.220402 4.226214 4.232025 4.237837 4.243649 4.249461 4.255273 4.261085 4.266896 4.272708 4.27852 4.284332 4.290144 4.295956 4.301767 4.307579 4.313391 4.319203 4.325015
17/10/2012 2.788315 2.826947 2.862056 2.864598 2.978906 2.995854 3.070684 3.148311 3.239285 3.310143 3.336269 3.33525 3.384656 3.455077 3.529278 3.597431 3.644813 3.666242 3.750502 3.789107 3.828214 3.867709 3.899917 3.913034 3.926151 3.939268 3.952385 3.965502 3.992803 4.02888 4.067714 4.104146 4.107693 4.111239 4.114785 4.118331 4.121877 4.125423 4.128969 4.132515 4.136061 4.139608 4.143154 4.1467 4.150246 4.153792 4.157338 4.160884 4.16443 4.167976 4.171523
18/10/2012 2.79181 2.821728 2.846419 2.845326 2.956256 2.977701 3.055231 3.147383 3.243332 3.310495 3.346514 3.36 3.400557 3.457047 3.539754 3.616832 3.675365 3.704902 3.773418 3.814345 3.854455 3.890061 3.912159 3.925355 3.938552 3.951748 3.964944 3.978141 4.005245 4.043493 4.086234 4.119455 4.12336 4.127265 4.13117 4.135074 4.138979 4.142884 4.146789 4.150694 4.154598 4.158503 4.162408 4.166313 4.170218 4.174123 4.178027 4.181932 4.185837 4.189742 4.193647
19/10/2012 2.783532 2.816235 2.84051 2.839051 2.945266 2.96249 3.054059 3.146216 3.245924 3.321834 3.352448 3.365981 3.409721 3.468301 3.548592 3.623843 3.684109 3.718674 3.783465 3.824359 3.861279 3.894105 3.914922 3.928119 3.941315 3.954512 3.967708 3.980905 4.008074 4.046628 4.09 4.123117 4.127067 4.131017 4.134967 4.138918 4.142868 4.146818 4.150768 4.154718 4.158669 4.162619 4.166569 4.170519 4.17447 4.17842 4.18237 4.18632 4.19027 4.194221 4.198171
22/10/2012 2.765045 2.791198 2.836055 2.845864 2.932696 2.952565 3.052775 3.165166 3.247625 3.308263 3.349624 3.369379 3.406116 3.474948 3.558139 3.642942 3.697342 3.723108 3.789588 3.83476 3.877605 3.913127 3.931345 3.944382 3.95742 3.970457 3.983494 3.996532 4.021243 4.05606 4.098687 4.133597 4.137524 4.141452 4.145379 4.149306 4.153234 4.157161 4.161089 4.165016 4.168944 4.172871 4.176799 4.180726 4.184654 4.188581 4.192509 4.196436 4.200364 4.204291 4.208219

ลองไปดูกันละกัน
ข้อมูลสามารถโหลดได้ฟรีจาก web ดังกล่าวที่บอกไว้
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลงทันที ในวันที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเลย

คำถามต่อ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ใครได้ประโยชน์ เร็วที่สุด ลองไปหาคำตอบและกัน
เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ต้นทุนลดลงทันหรือเปล่า
เป็นประชาชนทั่วไปที่ได้ประโยชน์
หรือนักลงทุนที่ได้ประโยชน์ทันที ทันตาเห็นเลยหรือเปล่า
บริษัทประกันใช่หรือเปล่าที่ได้ประโยชน์
ลองไปหาคำตอบดูละกัน แต่ข้างบนน่าจะเฉลยในตัวของมันอยู่ในระดับหนึ่งว่าใครได้ประโยชน์เร็วที่สุด
:)
:)
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 216

โพสต์

คุณ miracle
คุณนี่ความรู้เยอะ แต่ไม่รู้ว่าอะไรคือประเด็นอะไรไม่ใช่ประเด็น
เหมือนกับคนกำลังพูดถึงมะม่วงแต่คุณไปพูดถึงขนุนสำประลอ
สิ่งที่คุณพูดไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ผมพูดเลย
การพูดไม่ตรงประเด็น การใส่ข้อมูลมากๆ มันไร้สาระ
เป็นสิ่งที่นักการเมืองเมืองไทยใช้กันเวลาที่ต้องการปกปิด ซ่อนเล้นและบิดเบือน
ผมพูดว่า bot ทำไมต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆให้กับเงิน ตปท ที่มันเยอะมาก
ทั้งๆที่เราไม่ต้องการมากขนาดนี้
ดอกเบี้ยคือค่าของเงิน ถ้าเราไม่ต้องการเงินตรา ตปท มากๆ เราก็จ่ายน้อยๆ
มันเหมือนกับนักการเมืองขี้โกงทั้งหลายที่ซื้อของแพงกว่าราคาตลาดมากๆ
bot ก็เหมือนกัน
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 217

โพสต์

CARPENTER เขียน:คุณ miracle
คุณนี่ความรู้เยอะ แต่ไม่รู้ว่าอะไรคือประเด็นอะไรไม่ใช่ประเด็น
เหมือนกับคนกำลังพูดถึงมะม่วงแต่คุณไปพูดถึงขนุนสำประลอ
สิ่งที่คุณพูดไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ผมพูดเลย
การพูดไม่ตรงประเด็น การใส่ข้อมูลมากๆ มันไร้สาระ
เป็นสิ่งที่นักการเมืองเมืองไทยใช้กันเวลาที่ต้องการปกปิด ซ่อนเล้นและบิดเบือน
ผมพูดว่า bot ทำไมต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆให้กับเงิน ตปท ที่มันเยอะมาก
ทั้งๆที่เราไม่ต้องการมากขนาดนี้
ดอกเบี้ยคือค่าของเงิน ถ้าเราไม่ต้องการเงินตรา ตปท มากๆ เราก็จ่ายน้อยๆ
มันเหมือนกับนักการเมืองขี้โกงทั้งหลายที่ซื้อของแพงกว่าราคาตลาดมากๆ
bot ก็เหมือนกัน
คำถามหนี้ของ bot คือ พันธบัตรหรือbond ใช่ไหม ที่มีดอกเบี้ยใช่ไหม
เปิดงบดุลของธนาคารแห่งประเทศไทยดู
เพราะหนี้ส่วนใหญ่ที่ก่ออยู่ในรูปนี้ใช่ไหม

ถามต่อประเทศไทยเป็นประเทศใหญ่ไหม มีอำนาจทางการเงินที่กำหนดการเงินโลกได้ไหม จากการปรับขึ้นหรือลงอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง การปรับเพิ่มงบประมาณประจำปี การเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐ มีผลต่อประเทศอื่นไหม

คำถามต่ออีกคือ กองทัพของไทย เป็นมหาอำนาจ หรือกองทัพเพื่อปกป้องประชาชน ปกป้องประเทศ และปกป้องสถาบัน ไม่ได้มีไว้ให้รุกรานใคร หรือสร้างความตรึงเครียดให้ประเทศอื่นหรือเปล่า

เรื่องนี้ไม่ได้ลากเกี่ยวกับการเมือง กระทบกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง
การลดหรือขึ้นดอกเบี้ย มันไม่ได้ดูด้านเดียว ดูหลายๆด้านให้มากที่สุด
อดีตปี 2540 ถ้าไป อ่านหนังสือ ทางเศรษฐศาสตร์ ก็ขะพบประเด็นหลักๆคิอ เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจากดุลการค้า การทุจริตในวงการธนาคาร เป็นต้น
มันไม่ใช้มิติเดียว มันหลายมิติ

ผมก็ยกมาให้ครบ ว่า เงินแข็งกว่าประเทศอื่นเพราะอะไร
เงินมันไหลเข้าออกเร็วแค่คลิ๊ก ไม่ใช่มากินส่วนแบ่งเรื่องอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น
อาจจะเรื่องการลงทุนจริง การเกร็งกำไร การซื้อขายสินค้า มาเกี่ยวข้องด้วย
บางครั้งเงินก็ทำตัวเหมือนสมัยหนึ่งที่ล่าอาณานิคมด้วยฝิ่นด้วยซ้ำไป

อีกเรื่อง เรื่องมะม่วงหรือสัปปะรด นั้น
ก็บอกแล้ว ตำราเดียวกันทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ออกสื่อ
เปิดตำราเล่มเดียวกัน แต่เปิดคนละหน้าในการที่จะเปิดเผย
เอาแต่ส่วนที่ตนเป็นประโยชน์มาบอกเท่านั้น
แต่ถ้าอ่านรายงาน กนง ดีๆ มันบอกปัจจัยที่พิจารณาไว้ ครบถ้วนนิการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ยมันพิจารณาปัจจัย 1,2,3,... อะไรบ้าง

ครั้งหนึ่งเจอการขึ้นราคาน้ำมันแล้วเกิดเงินเฟ้อทำอย่างไง
บางตำราบอกว่าลดอัตราดอกเบี้ยสู้ บางตำราบอกก็เอาเงินออกจากระบบซิ
ที่บอกสองแบบเพราะมันไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กำหนดอัตราดอกเบี้ย ยังมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย
ลองใช้ www.google.co.th ค้นหาดูละกัน
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 218

โพสต์

ผมว่าเราเอาความรู้สึกมาใช้แทนข้อเท็จจริงมากเกินไปหรือเปล่าครับ

เอา fact มากางดูดีกว่าครับว่าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่คุณ carpenter ว่ามันเท่าไร ลดดอกเบี้ยแล้วจะทำให้คชจ. ของ BOT ลดลงเท่าไร จะได้เป็นตัวเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียได้ชัดเจน

ไม่อยากกลายเป็นแก๊งค์ ปอตอทวย ตาม social อะครับ ขอบคุณครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 219

โพสต์

http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Fina ... 554_TH.pdf
ผมไปค้นมาให้เพื่อจะได้ถกกันอย่างรู้ข้อมูลมากขึ้น

ในงบปี 54 (งบปี 55 ยังไม่ออก)

รายได้
ดอกเบี้ยรับ 52,122 ล้าน
ค่าธรรมเนียม 544 ล้าน
อื่น 15,992 ล้าน

รวม 68,658 ล้าน

ค่าใช้จ่าย
ดอกเบี้ยจ่าย 126,807 ล้าน
ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 66,549 ล้าน
พนักงาน 4,208 ล้าน
อื่นๆ 1,464 ล้าน

รวม 199,030 ล้าน
ขาดทุนสุทธิ 130,317 ล้าน

มีพันธบัตรของ BOT ค้างอยู่ 3ล้านบาทครับ ดอกเบี้ยตามหน้าตั๋วซึ่งคงที่ไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายรวมเป็นเงิน 99,138 ล้านบาท

ดูในรายสัปดาห์ในส่วนของหนี้สินของ ธปท เพิ่มขึ้นจากปี 54 ไม่มากอย่างที่คิดนะครับ (http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Fina ... y2013.aspx
)

เกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร? การลดดอกเบี้ยนโยบายไม่มีผลกับดอกเบี้ยจ่ายในพันธบัตร ที่หน้าตั๋วกำหนดไว้แล้ว

การลดดอกเบี้ยนโยบายมีผลต่อส่วนของเงินฝากของสถาบันการเงิน (พวกดอกเบี้ย RP) และการออกพันธบัตรเพิ่มเติมในอนาคต

การออกดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตผมมองว่าตอนนี้ BOT ยังไม่น่าจะออก เพราะออกไปก็ไม่สามารถช่วยอัตราแลกเปลี่ยนอะไรได้มาก เงินมันล้นจริงๆ

ลองถกกันต่อครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 220

โพสต์

แก้ไขนะครับ

มูลค่าตราสารหนี้และพันธบัตรเป็นเงิน 3.2 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินที่อายุต่ำกว่า 1 ปี กว่า 70%

ยังหาข้อมูลไม่ได้ว่าปี 55 มีหนี้สินที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เท่าไร แต่น่าจะประมาณเดิมครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 221

โพสต์

ดอกเบี้ยรับ 52,122 ล้าน
ดอกเบี้ยจ่าย 126,807 ล้าน
ขาดทุนดอกเบี้ย 74,685 ล้านบาท
การขาดทุน ร่วมแสนล้านบาทต่อปี
แต่ ผวก bot ก็ยังรู้สึกเฉยๆ
ถ้าปีนี้ยังบริหารแบบเดิม ดอกเบี้ยจ่ายสูงๆ ดอกเบี้ยรับต่ำๆ ก็คงขาดทุนร่วมแสนล้านบาทต่อไป
คนโพสต์บางคนตลกมาก ถามว่าลดดอกเบี้ยแล้วได้อะไร
จริงๆแล้ว การที่ bot จ่ายดอกเบี้ยสูงควรเป็นคนตอบว่า จ่ายดอกเบี้ยสูงๆทำไม
ทั้งๆที่เงิน มันล้นโลก bot ก็ไม่อยากให้เงินไหลเข้า แต่ก็ตั้งดอกเบี้ยสูงๆ เงินมันก็ไหลเข้า
ทำไม bot ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองของธนาคารพาณิชย์ ถ้าไม่อยากให้คนกู้เงินมากเกินไป
ที่ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองเพราะ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้นทุนเพิ่ม
bot ทำเฉพาะในสิ่งที่ธนาคารพาณิชได้เปรียบ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 222

โพสต์

CARPENTER เขียน:ดอกเบี้ยรับ 52,122 ล้าน
ดอกเบี้ยจ่าย 126,807 ล้าน
ขาดทุนดอกเบี้ย 74,685 ล้านบาท
การขาดทุน ร่วมแสนล้านบาทต่อปี
แต่ ผวก bot ก็ยังรู้สึกเฉยๆ
ถ้าปีนี้ยังบริหารแบบเดิม ดอกเบี้ยจ่ายสูงๆ ดอกเบี้ยรับต่ำๆ ก็คงขาดทุนร่วมแสนล้านบาทต่อไป
คนโพสต์บางคนตลกมาก ถามว่าลดดอกเบี้ยแล้วได้อะไร
จริงๆแล้ว การที่ bot จ่ายดอกเบี้ยสูงควรเป็นคนตอบว่า จ่ายดอกเบี้ยสูงๆทำไม
ทั้งๆที่เงิน มันล้นโลก bot ก็ไม่อยากให้เงินไหลเข้า แต่ก็ตั้งดอกเบี้ยสูงๆ เงินมันก็ไหลเข้า
ทำไม bot ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองของธนาคารพาณิชย์ ถ้าไม่อยากให้คนกู้เงินมากเกินไป
ที่ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองเพราะ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้นทุนเพิ่ม
bot ทำเฉพาะในสิ่งที่ธนาคารพาณิชได้เปรียบ
ที่ยกมาคือ งบกำไรขาดทุนในปี 2554 ใช่ไหมครับ ที่บอกว่า
ดอกเบี้ยรับ52,122,482,501 บาท
ดอกเบี้ยจ่าย 126,807,054,427 บาท

แต่เมื่อไปดูที่งบกระแสเงินสด
เงินสดรับดอกเบี้ย 55,994,553,388 บาท
เงินสดจ่ายดอกเบี้ย 82,531,563,374 บาท
ปัญหาคือ เงินสดรับดอกเบี้ย มันใกล้เคียงกันทั้งสองงบคืองบกำไรขาดทุน กับงบกระแสเงินสด
แต่ทำไมดอกเบี้ยจ่าย ของทั้งสองงบไม่เท่ากันละครับ

ประเด็นนี้ซิ น่าสงสัยว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า
ถ้าหากเป็นบริษัท ก็ถือว่ามีการ Cap ดอกเบี้ยไปที่อื่นๆ จึงไม่เห็นในงบกระแสเงินสด
จ่ายในรูปของสินทรัพย์

ไปอ่านต่อที่หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 2
2.1 การรับรู้รายได้
รายได้ดอกเบี้ยรับรู้ตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลา โดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทบที่แท้จริง เว้นแต่จะเปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชีเฉพาะเรื่อง ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง
2.2 การรับรู้ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง
2.6 สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ (Foregin Exchange Swap Contracts)
สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ใช้บริหารสภาพคล่อง โดยถือเป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 2 สกุล และมีสัญญาแลกเปลี่ยนเงินสกุลเดียวกันกลับคืนในอนาคต แสดงด้วยมูลค่าสุทธิของภาระคงค้างที่แปลงค่าเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นปีที่รายงาน กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการแปลงค่าภาระคงค้างแสดงเป็นเงินสำรองอันที่เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สินในส่วนของทุน และทยอยรับรู้ส่วนต่างอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนเป็นดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจ่ายตามระยะเวลาของสัญญา

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เงินสดและเงินฝาก (อันนี้ทำให้เกิดดอกเบี้ยรับ แต่ถ้าอยู่ในรูปเงินฝากต่างประเทศมีเรื่องการแปลงค่าเงินให้เป็นเงินบาทด้วย)
แต่ อ่านข้อความนี้ดีๆ "ธปท.ถือเงินฝากต่างประเทศ(ประเภทเงินฝากประจำ) เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ มิได้ถือไว้เพื่อการชำระภาระผูกพันระยะสั้น"

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 สินทรัพย์อื่น ประกอบด้วย
...... (ตัวที่ให้ดู)
ปี 2554 มีสินทรัพย์สุทธิจากสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ 9,303.7 ล้านบาท
ปี 2553 ไม่มี
รายการนี้ก่อให้เกิดดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (ตามนโยบายที่ได้บอกไว้ในหมายเหตุประกอบงบข้อที่ 2)

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 10 เงินรับฝาก (สิ่งที่ให้ดู)
เงินรับฝากแบบมีดอกเบี้ย
ปี 2554 มีจำนวน 33,508.0 ล้านบาท
ปี 2553 มีจำนวน 140,067.0 ล้านบาท (จะเห็นได้ลดลง 116,441 ล้านบาท ถ้าดูในปี 2554 มีการลดดอกเบี้ย)
"เงินรับฝากแบบมีดอกเบี้ย เป็นเงินรับฝากที่ ธปท. รับฝากจากสมาชิกสถาบันการเงินโดยจ่ายดอกเบี้ยเพื่อเป็นช่องทางให้สถาบันการเงินใช้ปรับสภาพคล่องสิ้นวัน และ ธปท.ใช้ควบคุมดูและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินให้เหมาะสมในการส่งผ่านนโยบายการเงิน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาตลาดการเงิน"

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13 ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย
"ตราสารหนี้ที่ ธปท.เป็นผู้ออกประกอบด้วยพันธบัตร ธปท. และตราสารหนี้ ธปท.เื่พื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินของธปท. รวมทั้งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ของไทย โดยในปี 2554 ธปท.มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท จำนวน 67,768.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตราสารหนี้ ธปท. จำนวน 31,370.6 ล้านบาท แสดงรายการเป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยจ่าย

หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 21
21.2 สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ธปท.มีภาระผูกพันสุทธิที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศโดยต้องซื้อเงินดอลล่าร์ สรอ.จำนวน 20,539.4 ล้านดอลล่าร์ เงินปอนด์สเตอร์ลิง 436.0 ล้านปอนด์ และเงินยูโร 14,860.9 ล้านยูโร ขายคืนเงินดอลล่าร์ออสเลีย 416.7 ล้านดอลล่าร์ เงินดอลล่าร์แคนาดา 1,708.0 ล้านดอลล่าร์ เงินเยนญี่ปุ่น 553,798.4 ล้านเยน และเงินวอนเกาหลี 863,700.0 ล้านวอน ซึ่งจะครบกำหนดในปี 2555
ทั้งนี้ ธปท. ได้แสดงมูลค่าสุทธิจากภาระคงค้างของสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศเป็นสินทรัพย์อื่นตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 หรือหนี้สินอื่นตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 14

ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข
สรุปคือ ขาดทุนเพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนเดินไปข้างหน้าแบบลอยตัวโดยมีการบริหารจัดการ
มิใช่แบบตะกร้าเงิน

ส่วนในตลาดการเงินและตลาดตราสารหนี้ก็ดำรงเรื่องสภาพคล่อง และการส่งผ่านนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายที่ออก

ดังนั้น ที่ขาดทุนนั้นไม่ใช่ขาดทุนแบบไม่ได้อะไรตอบแทน แต่เป็นการขาดทุนที่ได้สิ่งอื่นที่มองไม่เห็นตอบแทนกลับคืนมา (หากไปเข้าใจ เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ลองกลับไปค้นหาดู ซึ่งยกตัวอย่างในด้านที่อัตราแลกเปลี่ยน คือบาทอ่อนค่า และเงินดอลล่าร์แข็งค่ามาก โดยยกในช่วงที่เกิดต้มยำกุ้งอธิบาย)

คงเข้าใจในสิ่งที่บอกกล่าวแล้ว ไม่มากก็น้อยกว่าขาดทุนเพราะอะไร จะได้หายสงสัย
:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 223

โพสต์

อีกเรื่องที่คุณ CARPENTER
เข้าใจผิดอยู่คือ หน่วยงานที่กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยคือ กนง.
แต่หน่วยงานที่ควบคุมให้เกิดการส่งผ่านของนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดย กนง.
คือ BOT หรือ ธปท โดยส่งต่อในรูปของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน และ ตลาดตราสารหนี้
ทำไมดำเนินการทั้งสองตลาด เนื่องจากตลาดสารหนี้บางตัวเป็นตัวที่ธนาคารพาณิชย์ถือไว้เพื่อดำรงสภาพคล่อง
ส่วนตลาดการเงินคือเมื่อพิมพ์เงินออกมาหรือสร้างเงินขึ้นมา ก็เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยเลย ตามเส้น LM ซึ่งมีเรื่องของ Money Supply และ Money Demand โดยตรงนั้นเอง

ดังนั้น เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องของการดิสเครดิต ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศจากฝ่ายการเมืองโดยตรง
ซึ่งไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงครั้งนี้เท่านั้น แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดขึ้นในหลายครั้งหลายครามาด้วยกัน
ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงต้องอธิบายกันมากมาย ว่ามาอย่างไงไปอย่างไง จึงทำให้กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ดีกระทู้หนึ่งในการที่ตอบเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งเป็นกระทู้ที่คนรุ่นต่อไปๆ ของ TVI นั้นได้อ่าน ได้ศึกษากันต่อไปในภายภาคหน้า
:)
:)
sorawitch
Verified User
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 224

โพสต์

:oops: :oops: :oops:

ยอมรับว่าอ่านไม่เข้าใจ สงสัยเกินสติปัญญาผม

ท่าน miracle พอจะสรุปสั้นๆได้มั้ยครับ ว่าตกลงแล้วที่ได้มาคืออะไร

เพราะผมก็อยากเข้าใจเรื่องนี้ (แต่ผมไม่มาม่านะ)
เราจะรวยแร้วววววววววว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Highway_Star
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 453
ผู้ติดตาม: 2

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 225

โพสต์

มายกมือว่าตามอ่านมาตั้งแต่ต้น แต่ก็ยัง งงๆ อยู่อีกคนครับ :oops:
คงใช้เวลานานหน่อยกว่าผมจะเข้าใจ แต่เดี๋ยวผมจะลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูอีกที

ไม่เคยคิดเลยว่าเรื่องแบบนี้อ่านๆไปแล้วมันส์ได้
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 226

โพสต์

ayethebing เขียน:ผมว่าเราเอาความรู้สึกมาใช้แทนข้อเท็จจริงมากเกินไปหรือเปล่าครับ

เอา fact มากางดูดีกว่าครับว่าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่คุณ carpenter ว่ามันเท่าไร ลดดอกเบี้ยแล้วจะทำให้คชจ. ของ BOT ลดลงเท่าไร จะได้เป็นตัวเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียได้ชัดเจน

ไม่อยากกลายเป็นแก๊งค์ ปอตอทวย ตาม social อะครับ ขอบคุณครับ
คุณ ayethebing ผมไม่เข้าใจที่คุณพูด ผม สนใจเรื่อง ปอตอทวยมาก
เก่งจริง ปตท มาดีเบต กับ พวก ปอตอ ทวย สิ เค้าท้า ปตท อยู่ทุกวัน
Thai VI Mod
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 235
ผู้ติดตาม: 4

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 227

โพสต์

จากกฏข้อ 1. ห้ามโพสต์เรื่องผิดกฎหมาย เรื่องการเมืองหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทุกกรณี

และกระทู้มีข้อมูลดิบไว้ให้สมาชิกพิจารณาด้วยตัวเองมากเพียงพอแล้ว ขออนุญาต lock กระทู้ครับ