ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
nu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 446
ผู้ติดตาม: 15

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 31

โพสต์

1. ลดดอกเบี้ย เห็นใจคนที่เขาฝากเงินกินดอกเบี้ยกันบ้างนะครับ อย่ามัวแต่มองมุมคนเล่่นหุ้น

2. ถ้าคิดว่าลดดอกเบี้ยแล้วหยุดเงินไหลเข้าได้ คำถามคือเราต้องลดดอกเบี้ยเหลือเท่าไหร่ครับ?
- ดอกเบี้ย 3M Libor อยู่ที่ 0.3% ตราปเท่าที่ดอกเบี้ยไทยสูงกว่านี้ ก็จะเกิด Positive Carry อยู่ดี
แปลว่าเราต้องลดดอกเบี้ยลงไปขนาดนั้นหรือเปล่า?

3. เศรษฐกิจกำลังร้อนแรง การลดดอกเบี้ยไม่ยิ่งไปกระตุ้นการเก็งกำไรหรือครับ

4. ลองดูเรื่องนี้ครับ Impossible trinity http://en.wikipedia.org/wiki/Impossible_trinity
ก่อนปี 40 BOT และรัฐบาลไทยผยองเกินไป คิดว่าจะฝืนสิ่งนี้ได้

- ถ้าเราจะกลับมาฝืนให้ FX ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดสิ่งที่ BOT ทำได้คือ
1.ต้องควบคุมเงินทุนเข้าออก (Capital Control/ Tobin Tax/....) เอาไหมครับ?
หรือ 2. ยอมสูญเสียอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน (เช่นที่ HK จะ Fix ค่าเงิน และดำเนินนโยบายการเงินตาม US
แต่ด้วยอยู่คนละ Economics Cycle ทำให้ HK เจอฟองสบู่อสังหาฯแทน) เอาไหมครับ?

คิดว่าแบบไหนเหมาะกับประเทศไทยครับ?

5. ความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ลอง Google หางานวิจัยของ World Bank หรือ IMF ได้ครับ
ก่อน 40 เป็นยังไงไม่รู้ แต่หลังจากนั้นมา BOT ทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจได้ดีเลยทีเดียว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ผมเห็นว่าการลดดอกเบี้ยนโยบาย ไม่สามารถหยุดการไหลเข้าของเงินทุนได้ และจะทำให้เกิดไปกระตุ้นการใช้จ่ายลงทุนทำให้เศรษฐกิจเพิ่มความร้อนจากที่ค่อนข้างร้อนอยู่แล้วขึ้นไปอีก ด้วยกระแสเงินไหลเข้าจำนวนมากแบบนี้ ลดซัก 0.25 คงไม่ช่วยอะไรแถมยังสร้างผลเสียมากกว่าผลดีนะผมว่า

ผมว่ามันออกจะไม่แฟร์กับคนของแบงก์ชาติถ้าเอาอดีตตอนต้มยำกุ้ง (ซึ่งในขณะนั้นมีการเมืองเข้าแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติพอสมควร) มาใช้ตราหน้าว่าคนของแบงก์ชาติไม่ฉลาด ไม่มีความสามารถ ขาดคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ เหมือนคนเคยตกท่อ พอเค้าเดินมาทีไร อีก 10 ปีให้หลังแล้วคุณก็ยังทำหน้าเหมือนกับว่าเค้าเหม็นซะเต็มประดา

ตอนนั้นที่หม่อมอุ๋ยสกัดค่าเงิน ก็โดนด่า คิดว่าเค้าขาดความสามารถ ขาดคุณธรรมจริยธรรมในการทำครั้งนั้นจริงๆ หรือเปล่า ตอนนั้นเราต้องการป้องกันการไหลเข้าแบบไม่มีการควบคุม เราต้องการสร้างกลไกในการควบคุม ถ้าเรามีกลไกควบคุมตั้งแต่ตอนนั้น ปัญหาที่เงินไหลเข้าและทำให้ค่าเงินเราแข็งอยู่ทุกวันนี้จะมีทางแก้ไข แต่ฝรั่งซึ่งกำหนดชะตาชีวิตของพวกเล่นหุ้นในตลาด ถอนเงินออก เพื่อสร้างแรงกดดันกับ bot ท้ายสุดก็ทนกระแสไม่ไหวก็ต้องยกเลิก สรุปว่าเราแพ้เงินของฝรั่งใช่มั้ยครับเนี่ย ตกลงว่าเราเองที่ไร้จริยธรรม เห็นกับประโยชน์ของตัวเองในตลาดหรือ BOT กันแน่

ความเห็นส่วนตัวเหมือนกัน แค่มองมุมต่าง ไม่ได้หาเรื่องใครนะจ๊ะ :P
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ทำไมผมจึงตำหนิ และ รังเกียจวิธีการกระทำของ BOT
1.ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ประมาณ 2%-3%เงินกู้ประมาณ 8%
มีพ่อค้าคนไหน ที่ซื้อของ 2-3บาท ขาย 8-9บาท มีแต่ ธนาคารพาณิชย์ไทย
โดยความเห็นชอบของ BOT ที่ให้มีการค้ากำไรบ้าเลือดขนาดนี้
2.สมัยก่อนปี 2540 ดอกเบี้ยที่ ตปท ปล่อยให้กับคนไทยที่มีปัญญากู้
ธนาคาร ตปท ประมาณ 3%-5% แต่ธนาคารพาณิชย์ประเทศไทยมันเก็บ 15%
โดยเฉลี่ย BOT ก็เห็นดีไปด้วยหลายคนรวยเพราะผลต่างของอัตราดอกเบี้ยนี้
ต้มยำกุ้งเกิดจาก เงินมหาศาลไหลเข้าไทย สาเหตุเพราะ อัตราดอกเบี้ย ตปท
มันต่างกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศมากเกินไป
3.เงินจำนวณมหาศาลก็เลยไหลเข้าไทย เงินที่เข้ามาก็เลยซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า
ที่ดิน หุ้น(เน่าๆ) ทรัพย์สินต่าง ราคาก็ขึ้นตลอด คนก็ยิ่งฮึกเหิมซื้อแหลก
ฟองสบู่ก็เลยเกิดขึ้น
4.ทรัพย์สินที่ซื้อนั้นส่วนมากไม่ก่อให้เกิดรายได้ พอราคาทรัพย์สินไม่ขึ้นพวกเก็งกำไร
ก็เจ้ง ตปท ก็เรียกคืนเงินกู้เงิน ดอลล่า ก็เริ่มไหลออก
5.BOT ไม่รู้อะไรทั้งนั้นยัง ใช้ fix rate ที่ 26บาท
พอเงินดอลล่าทำท่าไม่พอก็ปขาย US$ ล่วงหน้าอีก(BOTพนันค่าเงิน)
มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเตือนให้ลดค่าเงิน (ดร.อัมมาร์) แต่ BOT
เฉยจนดอลล่าหมดคลังเลยจำเป็นต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
การลอยตัวขณะที่แทบไม่มีดอลล่าเหลือเงินบาทเลยตกแบบไม่มีแนวรับ
ผมจำได้ว่า ลงไปถึง 55บาทต่อดอลล่า
ก่อนจะลอยค่าเงินมีคนรู้ล่วงหน้าเยอะ กลุ่มคนกลุ่มนี้ ก็เลยรวยไปรวม
3-5หมื่นล้านบาท
จริงอยู่ เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ นักการเมืองขณะนั้นมีส่วนในบาปครั้งนั้น
แต่ถ้า พวก BOT เป็นคนดีจริง คนไทยคงไม่หมดเนื้อหมดตัวขนาดนี้
ผมแปลกใจสังคมไทย คนที่มีอำนาจหน้าที่ทำความเสียหายมากขนาดนี้
สังคมนอกจากไม่ลงโทษแล้วยังลืมและยกย่องคนพวกนี้อีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 23

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 34

โพสต์

เรื่องสมัยก่อนผมว่ามันก็นานแล้วนะครับ BOT สมัยนั้นก็เสียเดรดิตไปเยอะ แต่ BOT ในสมัยนี้ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันในสมัยก่อนแล้ว โดยความเห็นของผม การเอาเรื่องสมัยนั้นมาว่าคนกลุ่มใหม่นั้น ทำให้เนื้อหาจะไม่มีน้ำหนักเท่าไหร่ครับ
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ข้อ 2 เป็นต้นไปเห็นด้วยทั้งสิ้นเพราะมันเป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ในส่วนที่ยังต้องว่าแบงก์ชาติและคนไทยลืมนั้นผมว่าไม่ใช่ จำได้ว่าได้มีการนำเอาผู้ว่าแบงก์ชาติสมัยนั้นมาฟ้องและขึ้นศาลด้วย ส่วนคนของแบงก์ชาติที่เหลือจะให้เอามาขึ้นศาลให้หมดเลยมั้ยครับ?

ในส่วนประเด็นแรกผมเห็นด้วยนะครับ แต่การแก้ไขไม่ใช่ลดดอกเบี้ยนโยบายแน่นอนแต่เป็นการปฏิรูประบบธนาคารไทยให้มีการแข่งขันมากขึ้น ถ้าจะตำหนิแบงก์ชาติก็คงได้เพราะทำเรื่องนี้ช้ามากๆครับ (มีแผนแม่บทอยู่แต่ผมไม่รู้ความคืบหน้า)

ปัจจุบันแบงก์ไทยยังฟันกำไรนิ่มๆ ต่อไปด้วย spread เกือบ 7%. หลังจากเปิดเสรีธนาคารเมื่อไรใครไม่ปรับตัว เป็นเรื่องแน่ๆคร้าบ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 36

โพสต์

อีกนิดการแก้ไขของ BOT หลังจากเกิดวิกฤติแล้ว
BOT ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และให้ธนาคาพาริชย์ขึ้นดอกเบี้ยทุกชนิด
ผมจำได้ว่าหลังวิกฤติ ผมต้องเสียดอกเบี้ยถึง 19%
BOT ออกมาตราการทุกชนิดเพื่อลดปริมาณเงินในประเทศ
ธุรกิจที่ไม่เคยกู้นอกก็เลยเจ้งไปด้วย รวมทั้งรัฐบาลก็เชื่อฝรั่ง
พยายามเร่งขบวนการให้หนี้ที่เริ่มมีปัญหาให้เป็นหนี้เน่าให้เร็วที่สุด
แล้วรวบหนี้ที่มีปัญหาเอามาให้ฝรั่งจัดเป็นกองๆแล้วไอ้คนจัดมันก็ประมูล
มันรู้ว่ากองไหนดี เฉพาะกองที่มันประมูลได้ มันกำไรไป 3-4หมื่นล้าน
โดยไม่ต้องเอาเงินเข้ามาเลย เป็นการทำร้ายคนไทยเอาผลประโยชน์
ไปให้ฝรั่งด้วยความร่วมมือของ BOT
ใครไม่เจอกะตัวเองก็ไม่รู้สึกหรอกว่ามันเจ็บขนาดไหน
ทรัพย์ที่สะสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ละลายไปในเวลาไม่กี่เดือน
สมัยธาริษา+หม่อมอุ๋ย ทำให้หุ้นตกไปร้อยกว่าจุดแล้วไง ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
นักการเมือง ผู้รับผิดชอบในเรื่องใหญ่ของประเทศนี้
ทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะทำให้ประเทศเสียหายมากแค่ไหน แม้แต่เสียอธิปไตย
ก็ไม่ต้องรับผิดชอบ สังคมก็ยังยกย่องเหมือนเดือน
ถ้าเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น เค้าเอาชีวิตเข้าแรก อย่าง ประธานาธิบดีเกาหลี
กระโดดเขาฆ่าตัวตาย วิศวกรญี่ปุ่นหลายสิบคนเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อแก้ปัญหาโรงไฟฟ้า
ดังนั้น ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติอีกหลายเรื่อง และคนไทยจะต้องรับกรรมไปตลอด
เพราะคนที่ทำงานไม่ต้องรับผิดชอบ เอาบาปทั้งหมดให้คนไทยทั้งประเทศแบ่งๆ
กันรับไป
nu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 446
ผู้ติดตาม: 15

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 37

โพสต์

สมัยก่อน BOT จะทำอะไรมันก็เรื่องในอดีต (BOT ขึ้นดอกเบี้ยเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งที่ทางรัฐบาลไปทำไว้กับ IMF นะครับ)


คำุถามมันอยู่ที่ว่าปัจจุบัน BOT สามารถทำอะไรได้บ้าง และควรทำอะไรมากกว่าครับ
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 38

โพสต์

nu เขียน:
คำุถามมันอยู่ที่ว่าปัจจุบัน BOT สามารถทำอะไรได้บ้าง และควรทำอะไรมากกว่าครับ
เห็นด้วย ครับ
กลับสู่ประเด็นหลัก ที่ผมอยากเห็น จะได้มาร่วมติดตามต่อ

ผมขออนุญาติ เสนอให้วางเรื่อง จะลด จะไม่ลด หรือจะขึ้นดอกเบี้ย ไว้สักพักก่อน
เหตุผล. มันง่ายหรือรีบเกินไปที่จะสรุปให้คนส่วนมากเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับข้อมูลที่แสดงความเห็นกันมา เพราะข้อมูลที่รับรู้และภาพที่เห็นไม่ตรงหรือคล้ายกันนักในปัจจุบัน

ผมขอกลับไปสู่ที่ผมเคยเขียน ที่ผมไม่รู้จะสื่ออย่างไรให้เห็นภาพที่ผมเห็น
pakhakorn เขียน:ขออนุญาติ เสนอภาพเปรียบเทียบที่ค้างคาใจ และสงสัย
หากเปรียบเทียบกับกรณีน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554

1. ฝนที่ตกหนัก พายุที่เข้ามาต่อเนื่อง ระดับน้ำสะสมในเขื่อนจนเต็มพิกัด มันจะใช้เปรียบเทียบได้กับ พายุ QE ที่ EU และ USA กำลังเป็นอยู่ได้ไหม และพายุใหญ่อีกลูกกำลังประกาศแสดงกำลังจาก Japan

2. กรมชลประทานดูแลเรื่องน้ำ. เทียบกับ ธปท. กับนโยบายการเงิน

3. ครั้งน้ำท่วมใหญ่ มีคนบอกว่า ระบบชลประทานของเรา ออกแบบมาเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ ลดความผันผวนของน้ำท่วม น้ำแล้งและมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี. ผมเข้าใจว่า ธปท.กับเรื่องนโยบายการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายกันมาก

4. ครั้งน้ำท่วมใหญ่ น้ำมาในปริมาณและรูปแบบที่ไม่ที่อยู่ในรูปแบบหลักที่การชลประทานบ้านเราออกแบบไว้ ต้องปรับเปลี่ยนและบริหารจัดการใหม่ในภาวะบังคับและกระชั้นชิด มีการสั่งชะลอปล่อยน้ำจากเขื่อน(ส่วนQEของคนอื่น เราคงไปสั่งเขาหยุดไม่ได้) แล้วเบี่ยงทางน้ำและอื่นๆอีกมากมาย เพื่อให้น้ำมีทางลงสู่ทะเลที่เร็วขึ้น ภายหลังจบเหตุการณ์มีการเรียกร้องหาแนวทาง flood way และเห็นความสำคัญที่ละเลยในอดีต
ผมขอเริ่มใหม่ 4 ข้อนี้ก่อน ถาพที่ผมเสนอ เพียงพอ หรือมีคำแนะนำเพิ่ม หรือไม่ ครับ
อยากจะขอเชิญแสดงความเห็น หรือ เสนอภาพมุมมองอื่นๆ เพิ่ม ครับ

เพื่อที่จะได้ประเมินภาพต่อไปว่า สถานะการณ์ปัจจุบันและที่คิดว่ากำลังจะเป็น น่าจะเป็น สถานะการณ์ปกติ หรือสถานะการณ์ที่ไม่ปกติ ก่อน
เพราะทั้งสองสถานะการณ์ ย่อมมีขบวนการจัดการที่ต่างกันได้ ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน ครับ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 39

โพสต์

น้ำท่วมนี่ก็อีกเรื่อง ถ้าเป็นประเทศอื่นคงไม่เสียหายมากเหมือนไทย
1.จำนวณน้ำฝนในปี 2554 ไม่มากว่า ปี 2538 ปี 2538 น้ำก็ท่วมต่างจังหวัด แต่ กทมไม่ท่วม นนทบุรีก็ท่วมน้อยกว่า ปี 2554
2.เขื่อนกักน้ำไว้มากกว่าทุกปีแทนที่จะเริ่มปล่อยออกแต่เนิ่นๆทั้งๆที่น้ำเต็มเขื่อน
มีบางคนบอกว่า ผู้มีอำนาจต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในหน้าแล้งของพื้นที่ภาคกลางอีกมาก จึงต้องการน้ำมากๆ
3.เมื่อเขื่อนรับไม่ไหวก็ต้องปล่อยทิ้งถ้าไม่ปล่อยเขื่อนก็แตก ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับภายุเข้ามาอีก
หายนะเริ่มเกิด น้ำท่วมนครสวรรค์มากกว่าทุกปี
4.น้ำมากขึ้นเรื่อยๆแทนที่จะปล่อยน้ำบางส่วนไปทางสุพรรณออกทะเลทางแม่น้ำท่าจีน แต่ก็ไม่ทำเพราะจะทำให้นาที่สุพรรณ์เสียหาย
ระดับหลายพันล้าน แต่กับปล่อยตรงไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรักษานาที่สุพรรณ รักษาเงินหลายพันล้านเพื่อมาเสียหลายหมื่นล้าน
ทำให้น้ำท่วมอยุธยา รวมทั้งโรงงานในอยุธยาด้วย
5.แค่นั้นยังไม่พอ แทนที่จะผันน้ำจากอยุธยาไปทางตะวันออกบางส่วน กับไม่ทำปล่อยตรงลงใต้ต่อ
6.น้ำก็เลยท่วม กทม บางบัวทอง ฝั่งธนเละเทะไป ความเสียหายก็เลยพรุ่งไปหลายแสนล้าน ไม่นับความลำบากของคนหลายล้านคน
ถ้าปล่อยให้ท่วมนาสุพรรณแต่แรก น่าจะลดปริมาณน้ำไป 30%-40% ปริมาณคนที่ถุกน้ำท่วมกก็จะไม่มาก เพราะ พื้นที่สุพรรณใหญ่มาก
ความหนาแน่นของคนต่ำ นี่แหละการบริหารของผู้มีอำนาจประเทศไทย หลังจากนั้นดูๆแล้วไม่มีคนผิดเลยคนไทยหลายล้านคนก็รับกรรมไป
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 40

โพสต์

CARPENTER เขียน:น้ำท่วมนี่ก็อีกเรื่อง ถ้าเป็นประเทศอื่นคงไม่เสียหายมากเหมือนไทย
1.จำนวณน้ำฝนในปี 2554 ไม่มากว่า ปี 2538 ปี 2538 น้ำก็ท่วมต่างจังหวัด แต่ กทมไม่ท่วม นนทบุรีก็ท่วมน้อยกว่า ปี 2554
2.เขื่อนกักน้ำไว้มากกว่าทุกปีแทนที่จะเริ่มปล่อยออกแต่เนิ่นๆทั้งๆที่น้ำเต็มเขื่อน
มีบางคนบอกว่า ผู้มีอำนาจต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในหน้าแล้งของพื้นที่ภาคกลางอีกมาก จึงต้องการน้ำมากๆ
3.เมื่อเขื่อนรับไม่ไหวก็ต้องปล่อยทิ้งถ้าไม่ปล่อยเขื่อนก็แตก ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับภายุเข้ามาอีก
หายนะเริ่มเกิด น้ำท่วมนครสวรรค์มากกว่าทุกปี
4.น้ำมากขึ้นเรื่อยๆแทนที่จะปล่อยน้ำบางส่วนไปทางสุพรรณออกทะเลทางแม่น้ำท่าจีน แต่ก็ไม่ทำเพราะจะทำให้นาที่สุพรรณ์เสียหาย
ระดับหลายพันล้าน แต่กับปล่อยตรงไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรักษานาที่สุพรรณ รักษาเงินหลายพันล้านเพื่อมาเสียหลายหมื่นล้าน
ทำให้น้ำท่วมอยุธยา รวมทั้งโรงงานในอยุธยาด้วย
5.แค่นั้นยังไม่พอ แทนที่จะผันน้ำจากอยุธยาไปทางตะวันออกบางส่วน กับไม่ทำปล่อยตรงลงใต้ต่อ
6.น้ำก็เลยท่วม กทม บางบัวทอง ฝั่งธนเละเทะไป ความเสียหายก็เลยพรุ่งไปหลายแสนล้าน ไม่นับความลำบากของคนหลายล้านคน
ถ้าปล่อยให้ท่วมนาสุพรรณแต่แรก น่าจะลดปริมาณน้ำไป 30%-40% ปริมาณคนที่ถุกน้ำท่วมกก็จะไม่มาก เพราะ พื้นที่สุพรรณใหญ่มาก
ความหนาแน่นของคนต่ำ นี่แหละการบริหารของผู้มีอำนาจประเทศไทย หลังจากนั้นดูๆแล้วไม่มีคนผิดเลยคนไทยหลายล้านคนก็รับกรรมไป
พี่ CARPENTER ขอปรึกษา หน่อย ครับ
ขอเรื่องน้ำท่วมใหญ่เก่า กับ ธปท.เมื่ออดีต แค่หอมปากหอมคอ แค่นี้พอก่อน นะครับ
ผมยกประเด็นเทียบภาพ เพื่อดูกระบวนการแก้ไข ขอเว้นปลีกย่อยผิดพลาดอดีตไว้ก่อน ครับ
เดี๋ยวเลยเทิด ประเด็นจะเปลี่ยนไป ไม่เข้าเรื่องปัจจุบันสักที

ปล.คิดว่าพอจะเข้าใจพี่CARPENTER ครับ ผมก็หนึ่งในพวกเจ็บปวดกับ ปี 40 ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 41

โพสต์

จริงๆ มันเริ่มที่ดอกเบี้ยนโยบาย คุยไปคุยมากลายเป็นเรื่อง สปิริตของนักการเมืองกะน้ำท่วมซะเนี่ย :mrgreen:

จริงๆ หลายๆ จุดผมก็เห็นด้วยกับคุณ carpenter นะ เรื่องสปิริตของนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง แต่ทำไงดีละ

ผมเห็นว่าประเทศไทยตอนนี้มีแรงฉุดอยู่ 3 แรงทำให้เราเติบโตไม่ได้ คือการศึกษา คอร์รัปชั่นและการผูกขาด เกี่ยวไงกันหรือครับ ไอ้การศึกษาของเราที่เน้นให้ท่อง ให้จำ แต่ไม่ให้เข้าใจ ให้รู้ ให้ฝึก แต่ไม่รู้จะเอาไปใช้เพื่ออะไร ให้เก่ง แต่ไม่ให้ดี ให้ฉลาดแต่ไม่สอนให้ไม่โกง อันนี้มันทำให้ คนส่วนใหญ่ของประเทศยังเลือกนักการเมืองแบบไม่วิเคราะห์ เลือกตามกระแส เลือกตามอารมณ์และความรู้สึก นักการเมืองที่ได้มาบริหารประเทศจึงไม่จำเป็นต้องมีสปิริต เพราะยังไงเค้าก็ได้รับเลือกตั้ง (สโลแกนของบางพรรค เอาเสาไฟฟ้าลงยังชนะ!!!!)

คุยต่อได้อีกหลายฉาก แต่เอ มันนอกเรื่องจากประเด็นของกระทู้ไปเยอะแล้ว ไม่เอาดีกว่า

กลับมาที่บทบาทของธนาคารกลาง ผมว่าเราคาดหวังกับแบงก์ชาติมากไปหรือเปล่า แน่นอนว่าถ้ามีปัญหาเศรษฐกิจ ใครๆ ก็นึกถึงแบงก์ชาติ แต่อย่าลืมว่า แบงก์ชาติ รับผิดชอบเฉพาะนโยบายด้านการเงิน รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการคลัง กลายเป็นว่ารัฐบาลผลักภาระทั้งหมดมาให้แบงก์ชาติ ซึ่งสิ่งที่แบงก์ชาติทำได้อยู่สองอย่างเท่านั้นคือลดดอกเบี้ยนโยบายซึ่งมีผลกับเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ (อย่าลืมว่าเงินเฟ้อล่าสุดเดือนม.ค. สูงอยู่ที่ 3.4) กับตั้งเงินสำรองเงินทุนไหลเข้าอย่างที่หม่อมอุ๋ยทำ (ซึ่งธปท ต้องแหยงแน่ๆ) แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน (อย่านะ!!!!) ในขณะที่รัฐบาลเองก็สามารถสร้างกลไกของการคลังในการควบคุมการไหลเข้าได้เช่นการเก็บภาษี (ซึ่งรองนายกโต้งบอกแล้ว ว่าน้องโต้งชิ่งเคอะ รัฐบาลไม่ทำเคอะ) ซึ่งปัจจุบัน อินโด มาเลย์ ก็เริ่มทำแล้วครับ

สรุปเรื่องนี้ ยังอีกยาวครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
พ่อน้องเพชร
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ทุกท่านที่อภิปราย เก่งมากๆ ขอแสดงความนับถือครับ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 43

โพสต์

แปะไว้ เป็น ข้อมูล ประกอบ
source:
http://www.worldinterestrates.info/asiapacific.php
รูปภาพ

ประเทศ ใน เอเซีย แปซิฟิก
ปัจจุบัน
ที่มี อัตรา ดบ เท่ากับ หรือสูง กว่า เรา มี 7 ประเทศ ตามรูป
เช่น aus3 จีน6 india8 อินโด5.75 เกาหลี2.75 มาเลย3 ฟิลลิปปิน3.5
เทียน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 2

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 44

โพสต์

เห็นด้วยกับส่วนต่างๆดอกเบี้ยของธนาคารครับ

อย่างที่ปรมาจารย์บอก ธุรกิจแบบนี้ ได้ผู้จัดการห่วยๆ มาบริหาร กิจการก็ไปได้
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 45

โพสต์

น้ำท่วม ตลาดเงินโลก...?
สงครามอัตราแลกเป,ี่ยน?
ฟองสบู่ ตลาดหุ้น?..

วิดิโอ ที่เกียวข้อง
เรื่องนี้ เขา ถกกันอยู่
ทั่วโลก
Jan. 25 (Bloomberg) -- Deutsche Bank AG Co-Chief Executive Officer Anshu Jain, Bank of America Corp. CEO Brian Moynihan, Bridgewater Associates LP founder Ray Dalio, French Finance Minister Pierre Moscovici, Bank of Italy Governor Ignazio Visco and Jin Liqun, chairman of China Investment Corp.'s supervisory board, participate in a panel discussion at the World Economic Forum's annual meeting in Davos, Switzerland. Bloomberg Television's Francine Lacqua moderates the discussion, entitled "No Growth, Easy Money - The New Normal?" (Source: Bloomberg)
http://bloom.bg/Wr70le
(Ray Dalio)
Transcript of Ray Dalio’s Comments at Davos
January 27, 2013

https://www.santangelsreview.com/2013/0 ... -at-davos/
I think the shift of the cash, that massive amount of cash will be what will be a game changer
..
http://www.safehaven.com/article/28555/liquidity-bubble
Dalio is calling 2013 a "transition year" and a "game changer." I'm sticking with my "Bubble Year." From Dalio: "There's a lot of money in a place that's getting a very bad return and in this particular year there's going to be, in my opinion, a shift. The complexion of the world will change as that money goes from cash into other things. The landscape will change particularly later in the year and beyond."
:juju:
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 46

โพสต์

คุณ imerlotครับนอกจากดอกเบี้ยนโยบาของเอเซียแปรซิฟิคแล้ว
ขอข้อมูลของเอเซียแปรซิฟิคเพิ่มอีกดังนี้
1.อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ เทียบกับอัตราดอกเบี้ย MLR,MOR จะได้รู้ว่าธนาคารประเทศไหนเอาเปรียบ
2.ปริมาณเงินไหลเข้าเพื่อไปเก็งกำไรในตราสารหนี้เทียบกับ GDP เพราะถ้ามากอัตราดอกเบี้ยน่าจะลดลงได้
3.การแข็งค่าของค่าเงินในประเทศนั้นๆในช่วงหนึ่งปี ถ้าแข็งเร็วมากอัตราดอกเบี้ยก็น่าจะลดลง
4.ผลงานในอดีตรของธนาชาติในประเทศต่างๆ ที่ป้องกัน แก้ปัญ บรรเทา วิกฤติต่างๆของประเทศตัวเอง
ถ้าผลงานดีคนในประเทศนั้นจะได้ไว้วางใจในความสามารถธนาคารชาติของตน
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 47

โพสต์

Reuters
The world’s central bankers will end up behind the market equivalent of the woodshed after flooding the world with cheap money, veteran investor Marc Faber told CNBC on Thursday.

“When you print money, the money doesn’t flow evenly into an economy. It flows to some people or to sectors first, and in this case, it flowed into equities, and until about five months ago, bonds,” Faber said. “I believe that markets will punish central banks at some stage through an accident.”
http://blogs.marketwatch.com/thetell/20 ... ket-crash/
กูรู ที่สื่อต่างชาติ ติดตามอีกท่าน
Marc Faber


:D
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 48

โพสต์

แก้ไข เป็น cnbc
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 49

โพสต์

มุมมอง
ล่าสุด ของ Singapore Monetary Authority
Warning on Fund Flows In Singapore
* January 30, 2013, 12:49 p.m. ET
By MARTIN VAUGHAN (WSJ)

http://online.wsj.com/article/SB1000142 ... 17110.html
SINGAPORE—Singapore's top central banker warned Wednesday that Asian economies remain vulnerable to a "wall of money," saying authorities in the region must be prepared to use prudential measures to manage rising capital inflows from other parts of the world.

The comments came as a senior South Korean finance official revealed more details of previously flagged measures to temper so-called hot money flows, saying the authorities there were considering taxing some foreign-exchange and bond transactions.

The moves highlight concern in Asian capitals of a fresh wave of fund flows into emerging markets as central banks in the U.S., Europe and Japan keep their monetary policies ultra loose, driving investors to seek higher returns in parts of Asia where stronger economic growth has kept interest rates higher. While foreign capital can help spur growth, some fear it can be disruptive if it distorts local markets or is pulled out too quickly.

The comments also indicate Asian countries—many of which have already put in place regulatory buffers to dampen the impact of swift capital flows—are continuing to look for ways to bolster their defenses, without spooking foreign investors.

Ravi Menon, managing director of the Monetary Authority of Singapore, said Asian central banks should continue to allow their currencies to appreciate in order to blunt inflationary effects from increased money coming into their economies.

"But exchange rates alone cannot shoulder the burden of adjustment to low global interest rates and large capital inflows," Mr. Menon said in a speech in Singapore. "In fact, strong and sustained exchange-rate appreciation may well attract even more capital inflows."

Mr. Menon said central banks in Asia should adopt additional measures to ward off asset bubbles, such as tightening access to credit or imposing taxes to discourage speculation.


...
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ผมขออนุญาติ เอาตามแบบ พี่ imerot เงินท่วมโลก ๆ ๆ ครับ
แล้วเงินท่วมโลกกำลังไหลมาหาที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
อาจคล้ายครั้งน้ำท่วมใหญ่ที่ไหลลงสู่ที่ต่ำ มาท่วมนิคม และบ้านเรือน

อาจถือว่า อยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ อย่างมากๆ ด้วย
การแก้หรือป้องกัน หากเทียบกับกรณีน้ำท่วมใหญ่ ที่เราไม่ปล่อยให้กรมชลประทานทำงานคนเดียว
กรณีนี้ก็คงไม่น่าที่จะให้ ธปท. ทำงานอยู่ฝ่ายเดียว ควรมีทั้งรัฐบาลและเอกชนร่วมด้วย

ฝ่ายอื่น ขอเว้นไว้ก่อน เริ่ม ธปท. ก่อน

สิ่งที่ผมคาดจาก การใช้ดอกเบี้ยนโยบาย อย่างเดียว
1. ลดลงดอกเบี้ยเล็กน้อย ก็ไม่ช่วยให้ลดเงินร้อนได้ไม่มาก(แต่เป็นการส่งสัญญานแบบหนึ่ง) เงินเฟ้อก็คงเพิ่มได้อีก
2. เพิ่ดอกเบี้ยขึ้นเล็กน้อย เร่งเงินร้อนเพิ่มมากๆเข้ามาอีก เงินเฟ้อก็คงเพิ่มได้อีกตามเงินร้อน
3. ยืนยัน ยืนนิ่งๆ เงินร้อนก็คงเพิ่มต่อไป เงินเฟ้อก็เพิ่มตามแนวโน้มเดิม

ผมมองว่าทั้ง 3 แบบ ก็คงสกัดเงินเฟ้อ จากเงินท่วมโลกไม่ได้
หากมองจากการใช้ดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียว

ท้ายที่สุด ไทยและอาเซี่ยนเราทั้งหมด ก็อาจจะถูกยัดเยียดเงินให้(ขอโทษ ภาษาอาจแรงไปหน่อย) ทำให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะต้องการหรือไม่ มันก็จะไหลตามกันมา


วิธีรับมือ อาจจะ

1. อยู่เฉยๆ ทำแบบแผนของเดิมๆ ต่อไป (คงไม่ต่างอะไรกับ การยอมจำนน เขาอยากได้อะไรก็ให้เขาไป ขอเพียงชีวิตไว้ แต่ทรัพย์สมบัติอาจถูกค่อยๆสูบ จนแห้งได้ )

2. ต่อสู้ หรือ ต่อต้าน (ไม่ยอมรับ สิ่งที่เราไม่ต้องการ ตั้งกำแพง หรืออื่นๆตามแต่ที่คิดได้)

3. หาทางใช้ประโยชน์จากมันแทน (อยู่เฉยๆ ก็ทนไม่ได้ , ต่อสู้ ต่อต้าน ก็อาจไม่ไหว , ก็หาประโยชน์จากแทนเลย) เช่น
- อยากให้โต เราก็โตตามที่เขาอยากให้โต โตให้สมใจไปเลย เฉพาะในสิ่งที่เราต้องการ
- เปิดทางให้ ไหลผ่าน หรือหาทางส่งผ่าน ข้ามเราไป ไปเอาผลตอบแทนต่อ

ที่สงสัย 1. ธปท. , 2. รัฐบาล ได้เลือกวิธีหรือยัง
ถ้าเลือกวิธีเดียวกัน ภาษาสื่อสารและการดำเนินงานก็อาจจะง่ายขึ้น
ถ้าเลือกต่างกัน โอกาสเสียหายก็น่าจะยิ่งสูงขึ้น

ความเห็นส่วนตัว อาจผิดพลาดก็ได้ ครับ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 51

โพสต์

เดี๋ยวอ่านและแชร์ความคิดละ
อาจจะออกอากาศไม่ได้
:)
:)
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 52

โพสต์

เจอ ตามที่ คุณ carpenter ขอมา
ข้อ
3.การแข็งค่าของค่าเงินในประเทศนั้นๆในช่วงหนึ่งปี


เอาเป็น ytd % ของแต่ ละ ประเทศ rank จัดไป


http://www.tradingeconomics.com/country-list/currency

รูปภาพ

:roll:
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ตามหลักเศรษฐศาสตร์มหภาค
ในเรื่องของ IRP กล่าวไว้ว่า
เงินจะไหลจากที่ที่มีดอกเบี้ยต่ำไปหาดอกเบี้ยสูง
อันนี้คือ ทั้ง กระทรวงการคลัง ผู้ส่งออก กดดันในเรื่องนี้

แต่จริงๆ เอาลืมมองในด้านภายในประเทศ
ในด้านนี้ดอกเบี้ย คือ ต้นทุนทางการเงินเราลดลง โครงสร้างของบริษัทของไทย
ใช้เงินทุนจากด้านการกู้จากธนาคารพาณิชย์มากมาย (ไม่กล่าวถึงตอนนี้ที่มี MAI ได้ความนิยม
บางบริษัทที่เข้าถึงตลาดทุนก็ระดมทุนแทน) ดังนั้นหากดอกเบี้ยลดลงก็ทำให้กิจการเติบโตได้ดี

ยิ่งตอนต้มยำกุ้งนั้น เราออก พรก ตอนปี 2545 ไว้ออกพันธบัตรช่วยชาติ
ซึ่งปีที่แล้วพันธบัตรชาติครบอายุ ปีนี้และปีหน้าก็มี แต่มีใครถามว่ารัฐมีปัญญาในการใช้คืนเงินต้นก้อนนี้หรือเปล่า
หรือ refinnance แทน ถ้าดอกเบี้นสูง ก็ทำให้รัฐเกิดภาระมากในอนาคตจากดอกเบี้ยของ refinance หนี้กองหนี้

หากมองในด้าน 2ล้านล้่าน บอกได้เลยว่าโครงการที่เมื่อก่อนทำแล้วผลตอบแทนไม่คุ้มค่าลงทุนเมื่อดอกเบี้ยลดลง
โครงการข้างต้นอาจจะสามารถดำเนินการได้ ดังนั้นจริงต้นกดดอกเยี้ยลดลง

ดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ออกนโยบายได้ทันทีแต่ผลเกอดอีกหลายไตรมาส เนื่องจากเงินต้องหมุนไปตามวงรอบถึงเห็นผล
ประมาณ 3-4 ไตรมาสถึงเห็นผล

อีกอย่างมาตราการลดดอกเบี้ย ทำให้ดอกเบี้ยบัญชีมาร์จิ้นอาจจะลดลง ตามอัตราดอกเบี้ยท้องตลาด
ดังนั้นเข้าหลักการเงินจะหมุนไปจะหมุนไป เลยละ

แต่การลดดอกเบี้ยต้องระวังว่า เกิดเงินเฟ้อได้. เพราะเงินหมุนติ้วๆๆ
:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 54

โพสต์

อย่ายืมว่า
การกู้ยืมวันนี้ คือการเอาเครดิตในปัจจุบัน ต้ำประกันว่า
เรามีปัญญาหาคืนเงินต้นแบะดอกเบี้ยคืนให้เจ้าหนี้ในอนาคต
อต่หาคืนไม่ได้จนหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ล้มละลายปรับโครงสร้างหนี้
ลเมบนฟูก ให้สถาบันการเงินรับเคราะห์แทน โดยลดดอกเบี้ยจ่ายลง
ยืดอายุการจ่ายเพราะลูกหนี้ไม่มีปัญญาหาเงินจ่าย

อีกอย่างหากดอกเบี้ยเป็นขาลง. หุ้นกู้ก็ออกมามากๆ
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าเลือกออกหุ้นสามัญกับหุ้นกู้. ออกกุ้นกู้ดีกว่า
เพราะขั้นตอนน้อยกว่า และ รวดเร็วกว่า แต่ยังน้อยกว่า OD อยู่ดี
:)
:)
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 55

โพสต์

เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่ยากมาก
มันไม่วิทยาศาสตร์ เพราะเป็นวิชา
ที่เกิดตามหลังเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว

ด้วยความซับซ้อนทางเศรษฐกิจมากขึ้น
เรื่อยๆ. มันพันกันไปหมด ทั่วโลก วิชา
เศรษฐศาสตร์ที่ใช้แก้ปัญหากันอยู่ทุกวันนี้
หลังเหตุการณ์ hamburger crisis
จึงยังไม่ได้ผล.

สาเหตุหลักๆ ก็คือ เงินเดี่ยวนี้ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว
เท่าความเร็วที่คุณพิมพ์คำสั่ง ไหลไปไหลมาได้จาก
ประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่ง

สาเหตุหลักๆ ของ hamburger crisis ก็คือ การดำรง
อัตราดอกเบี้ยต่ำมากเป็นเวลาที่ยาวนาน ทั้งที่เศรษฐกิจ
ของอเมริกาฟื้นตัวมาแล้วายปี. เป็นสิ่งเลวร้ายที่ ทำลาย
ความดีของ อลัน กรีนสแปน ทั้งชีวิต ทำให้ผมเลิกนับถือ
แกไปเลย

ส่วนกระแสเงินที่ไหลเข้ามาจากการพิมพ์แบงค์ หรือเรียกเท่ๆ ว่า
QE จาก US และตอนนี้ JP เข้าร่วมแจมด้วย จึงไหลเข้ามา
ในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตสูงและมีความคล่องตัวในการเข้าออก
ของเงินสูง อย่าง ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น พวกนี้ไม่ใช่
เงินลงทุนจริงๆ อย่างที่เข้ามาสร้างโรงงาน นะครับ เป็นเงิน
ที่เข้ามาทำกำไรในช่วงสั้นๆ มาเร็วไปเร็ว

มาเลเซีย ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดเงิน จึง
ไม่เก็บภาษีดอกเบี้ยจากพันธบัตร ส่วนไทยใจดีกว่านั้นอีก
เพราะไม่มีภาษี Capital Gain Tax ที่ๆ อื่นๆ มี ต่างชาติ
จึงนิยมซื้อหุ้นในตลาดไทย .... ดังนั้นในส่วนของไทย
ผมว่าอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของ Capital Control
แต่ Capital Gain Tax สำหรับ ต่างชาติ ซึ่งควรจะมีมานานแล้ว
เพราะเงินเหล่านี้. หามีประโยชน์กับประเทศชาติไม่ เพราะน้อยมากที่ลงทุน
ระยะยาว. ภาษีธุรกิจเฉพาะที่ดิน ยังต้องถือครองเกิน 5 ปี จึงได้รับการยกเว้น
หุ้นก็ควรถือครองไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เพื่อยกเว้น Capital Gain Tax

ผมเป็นนักลงทุน แน่นอนว่า ผมต้องเสียประโยชน์จากการมี Capital
Gain Tax แต่ประโยชน์ของส่วนรวมโดยเฉพาะประเทศชาติต้องมาก่อนส่วนตน
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
neong
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับ คุณ syj. ว่าประเทศไทยควรจะมีการเก็บภาษีจากกำไรจากการขายหุ้นได้แล้ว และถ้าขายหุ้นขาดทุนก็สามารถเครมภาษีได้ด้วยครับ
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 57

โพสต์

ผมมีคำถาม อยากถามผู้รู้ เราจะได้เข้าใจอะไรดีขึ้น
1.ใครเป็นคนได้รับดอกเบี้ยนโยบาย
2.ใครเป็นคนจ่ายดอกเบี้ยนโยบาย
3.อัตราดอกเบี้ยที่ ธุรกิจไทยและคนไทยจ่ายนั้น เราจ่ายในอัตราเท่าไหร่
4.อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ เราได้อัตราเท่าไหร่
(ข้อ 3.ข้อ4.เกี่ยวข้องอะไรกับดอกเบี้ยนโยบาย)
5.ถ้ากลัวเงินเฟ้อทำไม BOT ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองของธนาคารพาณิชย์
(การเพิ่มสำรองทำให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารเพิ่มขึ้น นโยบายนี้ธนาคารไม่ชอบ)
มีคนชอบพูดกันนักอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่แฟคเตอร์ตัวเดียวที่ทำให้เงินไหลเข้า
หรือไหลออก ก็บอกมาดิมีกี่ตัว อะไรบ้าง(แปลกใจคนไทยดันเชื่อคำอธิบายนี้)
ผมขอแยกเป็นสองเรื่องแล้วกันคือ เหตุที่ทำให้เงินไหลเข้า กับเหตุที่ทำให้เงิน
ไหลออก
ต้องเข้าใจก่อนว่า 3กลุ่มประเทศนี้มีเงินมหาศาล(พิมพ์เงินมากะมือ)USA EU Japan
ดังนั้นเงินจำนวณมหาศาลนั้นพร้อมที่จะเข้าทุกประเทศที่ดีๆ
เหตุที่ทำให้เงินไหลเข้า เพราะ เป็นประเทศที่ ศก กำลังเติบโต อัตราเงินเฟ้อต่ำ มีความ
สามารถในการแข่งขัน ใครๆก็อยากอยู่ ไม่มีสงคราม ค่าเงินไม่มีความเสี่ยงในการด้อยค่า
สรุปประเทศนั้นดี ยิ่งดีมากเงินยิ่งไหลเข้ามาก
เหตุที่ทำให้เงินไหลออก เงินเฟ้อสูง ประเทศมีการเติบโตต่ำ มีความเสี่ยงในการด้อยค่า
ของค่าเงิน ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ไม่น่าอยู่ มีสงคราม มีความเสี่ยงในชีวิต
แล้วงัย เราจะแก้ไขการไหลเข้าของเงินโดยการทำให้ประเทศมันแย่ๆใช่ไม๊ BOT
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 58

โพสต์

นักลงทุนสถาบันปรับพอร์ตลงทุนครั้งใหญ่ โยกเงินเข้าลงทุนตลาดหุ้น หลังธนาคารกลางทั่วโลกงัดมาตรการQE เตือนระวังอันตรายช่วงปรับฐาน

นายสุรศักดิ์ ธรรมโม คณะกรรมการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า กลยุทธ์การลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั่วโลก ได้มีการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ลงทุนครั้งใหญ่ (Great Rotation) หลังจากที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ลงทุนอยู่ในตราสารหนี้ หรือพันธบัตรของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพันบัตรรัฐบาลสหรัฐ ยุโรป หันมาลงทุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง อย่างตลาดหุ้นมากขึ้น

"สาเหตุที่ก่อนหน้านี้เงินส่วนใหญ่อยู่ในพันธบัตรสหรัฐ หรือยุโรป เนื่องจากนักลงทุนสถาบันหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลัวเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารกลางทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ หรือยุโรป ออกมาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่านการซื้อพันธบัตร (QE) ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายมาลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงแทน"

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรป มีปัญหา ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ และค่าเงินยูโร มีความผันผวน ทำให้มีการเข้าไปเก็งกำไรตลาดทองคำมากขึ้น และส่วนหนึ่งโยกเงินเข้าไปลงทุนในเยนญี่ปุ่น แม้จะให้ผลตอบแทนเพียง 0.1% แต่ก็ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับลงทุนในยูโร

ล่าสุด หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ เข้าบริหารประเทศ และประกาศนโยบายชัดเจนในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบในปี 2557 และปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อมาอยู่ที่ 2% เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดที่เป็นปัญหาเรื้อรังของญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีนโยบายกดค่าเงินเยนให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เพื่อผลักดันการส่งออกของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการไหลบ่าของเงินเข้าสู่ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย

นายสุรศักดิ์ ให้ความเห็นว่า มาตรการ QE ที่ธนาคารกลางทั่วโลกนำออกมาใช้ และล่าสุดญี่ปุ่นก็ประกาศออกมาใช้เช่นเดียวกัน ทำให้มีการเข้าเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากขึ้น เห็นได้จากดัชนีดาวโจนส์ที่ทะยานตัวขึ้นใกล้ทดสอบระดับจุดสูงสุดเดิมที่ 14,200 จุด โดยล่าสุดอยู่ที่ 14,000 จุด แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะมีปัญหา ขณะที่ตลาดหุ้นไทยก็เช่นเดียวกัน ดัชนีทะยานตัวแตะระดับ 1,500 จุด เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ โดยตลาดหุ้นไทยสถิติสูงสุดเดิมอยู่ที่ 1,700 จุด

“ถามว่าหุ้นพุ่งเกินปัจจัยพื้นฐานไหม คงต้องตอบว่า มาจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกออกมาตรการ QE และอัตราเร่งที่เกิดขึ้นจากธนาคารกลางญี่ปุ่น กดค่าเงินเยนให้อ่อนค่าลงแตะ 100 เยนต่อดอลลาร์ และเกิดขึ้นจากความกังวลว่า เงินเฟ้อกำลังจะมา ทำให้เงินที่เคยอยู่ในตลาดตราสารหนี้ หรือพันธบัตร โยกเข้ามาลงทุนตลาดหุ้น”

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า การที่มุมมองของผู้จัดกองทุนทุน หรือบรรดากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั่วโลก เปลี่ยนมุมมอง ส่วนหนึ่งมาจาก บางส่วนที่ปรับมุมมอง และกล้าเสี่ยงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมาถูกทาง และทำให้ฟันด์เมเนเจอร์มีการเพิ่มน้ำหนักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งเห็นได้จากเงินทุนเคลื่อนย้ายตั้งแต่ต้นปี

“ภาวะฟองสบู่ตลาดหุ้นที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับไทย ผมมองว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตลาดหุ้นไทย มันเกิดขึ้นทั้งในจีน ในญี่ปุ่น เกิดขึ้นจากญี่ปุ่นพิมพ์เงินเพิ่ม สร้างสร้างแรงใจให้มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง การที่ธนาคารกลางทั่วโลกตัดสินใจพิมพ์เงินเพิ่ม เป็นการรับประกันความเสี่ยง”

ส่วนมุมมองการลงทุนการลงทุนของฟินันซ่า ตั้งแต่ต้นปีมองแนวโน้มดัชนีปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1,471 จุด ส่วนเป้าภายในที่มองอยู่ที่ 1,500 จุด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับเป้าหมายใหม่ หลังจากที่มีเงินไหลเข้าจำนวนมาก ผลักดันให้ดัชนีทะยานเหนือ 1,500 จุด

"เราอยากดูว่าพื้นฐานสามารถซัพพอร์ตได้มากน้อยแค่ไหน แต่แนวโน้มการที่รัฐบาลมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (เมกะโปรเจค) จะเป็นส่วนสำคัญให้พื้นฐานราคาหุ้นบางกลุ่มสามารถไปได้ต่อ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคฃ"

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา และสามารถทะยานเหนือ 1,500 จุด ได้อย่างรวดเร็ว เช่าอว่าน่าจะมีการปรับฐาน แต่ตลาดหุ้นไทยจะปรับลงแรงหรือไม่นั้น บลจ.ฟินันซ่ามองว่า ยังมีพื้นฐานซัพพอร์ต

"ฟินันซ่าได้ตั้งทีมมอนิเตอร์ เพื่อเกาะติดเงินทุนเคลื่อนย้าย และดูว่าธนาคารกลางแต่ละประเทศจะมีการยกเลิกการอัดเงินเข้าสู่ระบบในช่วงไหน แน่นอนว่า ถ้าสหรัฐยกเลิก QE ในปี 2558 อาจส่งผลกระทบเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วงปี 2557”

คณะกรรมการการลงทุน บลจ.ฟินันซ่า แนะนำนักลงทุนว่า การลงทุนตลาดหุ้นในช่วงนี้นักลงทุนต้องให้ความระมัดระวัง เพราะมีความผันผวนมาก เห็นได้จากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในวันพฤหัสบดีดัชนีปรับตัวลดลงกว่า 20 จุด แต่ในวันศุกร์ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 25 จุด

"ใครที่ใช้เงินมาร์จิ้น หรือลงทุนในตลาดฟิวเจอร์ คงต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะการที่หุ้นขึ้นเร็ว ลงเร็ว โอกาสขาดทุนย่อมมีสูงตามมา"

ขณะเดียวกันยังจำเป็นต้องระมัดระวังว่า การที่เงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งจากการรายงานของสมาคมตราสารหนี้ไทยพบว่า มีการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น อายุต่ำกว่า 1 ปี มากกว่า 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้ามีการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นประมาณ 60% เท่านั้น หากต่างชาติโยกเงินเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้อายุเพียง 14 วัน และมีการโยกเงินขายเพื่อทำกำไร อาจทำให้ตลาดมีความผันผวน หากมีการโยกเงินเข้าตลาดหุ้น แล้วโยกออกพักเข้าตลาดตราสารหนี้ ทำกำไรทั้งจากตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น รวมถึงค่าเงินบาท

คณะกรรมการการลงทุนบลจ.ฟินันซ่า ให้ความเห็นว่า ต่างชาติที่กู้เงินเยนญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผานมา อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 0.1% โยกเข้ามาลงทุนพันธบัตรระยะสั้น จะได้รับผลตอบแทนประมาณ 2.75-3.00% และถ้ารวมกำไรที่เกิดขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2.8% มีกำไรแล้วกว่า 5%

ที่ผ่านมามีเงินเข้าตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจำนวนมาก โดยไทยถือว่า ครองแชมป์เงินทุนไหลเข้าสูงสุด ระหว่างวันที่ 1-23 ม.ค. มีเงินไหลเข้าตลาดหุ้นทย 770 ล้านดอลลาร์ ฟิลลิปปินส์ 609 ล้านดอลลาร์ อินโดนีเซีย 505 ล้านดอลลาร์ และมาเลเซีย 60 ล้านดอลลาร์

นายวีระ วุฒิคงศิริกูล รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทย ให้ความเห็นการประกาศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบของสหรัฐ ยุโรป เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็ประกาศมาตรการ QE และปรับเป้ามหายเงินเฟ้อ ทำให้เกิดกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น

"ตอนนี้คนเริ่มกังวลฟองสบู่ตลาดตราสารหนี้ เพราะมีการเข้าไปลงทุนในบอนด์สหรัฐมากขึ้น ยิลด์ปรับตัวลดลงมาเหลือเพียง 1.6% จากเดิมอยู่ที่ 1.8%"

นายวีระ มองว่า กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายขณะนี้ เริ่มโยกมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ที่ปัจจัยพื้นฐานถือว่าแข็งแกร่ง

"เรามองเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้อยู่ที่ 1,575 จุด แต่ตอนนี้มันเร็วมาก อาจต้องระวัง และที่สำคัญพี/อีตลาดหุ้นไทยก็ไม่ได้ถูกเมื่อเทียบกับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม มองแนวโน้มระยะยาวก็ยังพอไปได้ เพราะเชื่อว่าดอกเบี้ยยังต่ำไปอีก 2 ปี"

รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานจัดการลงทุน บลจ.กรุงไทย แนะนำว่า นักลงทุนควรระมัดระวังการลงทุน เพราะความอันตรายคือความร้อนแรงของตลาดหุ้น ถ้าทุกอย่างเร็ว หรือร้อนแรง ย่อมมีความอันตราย ซึ่งอาจเห็นตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐานบาท อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่มีกองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ ออกมาในช่วงก่อนหน้า จะช่วยพยุงดัชนีไม่ให้ปรับตัวลดลงมากจนเกินไป!!!!

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ดหุ้น.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 59

โพสต์

CARPENTER เขียน:...
.....
ต้องเข้าใจก่อนว่า 3กลุ่มประเทศนี้มีเงินมหาศาล(พิมพ์เงินมากะมือ)USA EU Japan
ดังนั้นเงินจำนวณมหาศาลนั้นพร้อมที่จะเข้าทุกประเทศที่ดีๆ
เหตุที่ทำให้เงินไหลเข้า เพราะ เป็นประเทศที่ ศก กำลังเติบโต อัตราเงินเฟ้อต่ำ มีความ
สามารถในการแข่งขัน ใครๆก็อยากอยู่ ไม่มีสงคราม ค่าเงินไม่มีความเสี่ยงในการด้อยค่า
สรุปประเทศนั้นดี ยิ่งดีมากเงินยิ่งไหลเข้ามาก
เหตุที่ทำให้เงินไหลออก เงินเฟ้อสูง ประเทศมีการเติบโตต่ำ มีความเสี่ยงในการด้อยค่า
ของค่าเงิน ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ไม่น่าอยู่ มีสงคราม มีความเสี่ยงในชีวิต
แล้วงัย เราจะแก้ไขการไหลเข้าของเงินโดยการทำให้ประเทศมันแย่ๆใช่ไม๊ BOT

ในภาวะที่ไม่ปกติอย่างนี้ ถ้าเลือกคล้ายกับข้างบน(สีแดง)
ก็คงบ่นไม่ได้ว่า ไทย ทำไมถูกเขาแซงไปทีละประเทศเรื่อยๆ

จากที่คาดไว้ว่า ดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่ไม่ปกติอย่างยิ่งนี้ จะไม่สามารถใช้สกัดเงินเฟ้อได้
(จากที่เคยสร้างผลงานมามากกว่า 10 ปี จนทำให้คนส่วนใหญ่ยอมเชื่อตาม) หากยังใช้ด้วยเหตุผลเดิม ก็คงเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก ครับ

ซึ่งหากยังใช้ด้วยเหตุเดิม คงไม่ต่างอะไรกับกรมชลประทาน ในช่วงแรกๆ ที่ยังบริหารจัดการน้ำท่วมใหญ่แบบเดิมๆ จนน้ำสะสมตัวรวมอย่างมากเป็นจุดๆ จนเกินความสามารถในการรองรับ จึงมีกำลังพอที่จะกวาดนิคมหายไปได้ จนต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนการบริหารใหม่ ด้วยเหตุผลใหม่ ต้องยอมรับการท่วมของน้ำ แต่จะควบคุมให้อยู่ในระดับการท่วมที่ประชาชนพอยอมรับได้ แล้วบริหารจัดการจนจบ

ระดับเงินเฟ้อ ขวางไม่อยู่ด้วยนโยบายดอกเบี้ย ก็ไม่ควรใช้มันด้วยเหตุผลนี้
แต่ควรใช้ด้วยเหตุผลใหม่ ตามกลวิธีรับมือใหม่ๆ กับเงินร้อนที่เข้ามา

ว่าแต่ จะยอมรับเงินเฟ้อได้สูงขึ้นระดับไหน ?
ระดับที่สูงสุด ที่ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้เท่าไร ?
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 60

โพสต์

CARPENTER เขียน:ผมมีคำถาม อยากถามผู้รู้ เราจะได้เข้าใจอะไรดีขึ้น
1.ใครเป็นคนได้รับดอกเบี้ยนโยบาย
2.ใครเป็นคนจ่ายดอกเบี้ยนโยบาย
3.อัตราดอกเบี้ยที่ ธุรกิจไทยและคนไทยจ่ายนั้น เราจ่ายในอัตราเท่าไหร่
4.อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ เราได้อัตราเท่าไหร่
(ข้อ 3.ข้อ4.เกี่ยวข้องอะไรกับดอกเบี้ยนโยบาย)
5.ถ้ากลัวเงินเฟ้อทำไม BOT ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองของธนาคารพาณิชย์
(การเพิ่มสำรองทำให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารเพิ่มขึ้น นโยบายนี้ธนาคารไม่ชอบ)
มีคนชอบพูดกันนักอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่แฟคเตอร์ตัวเดียวที่ทำให้เงินไหลเข้า
หรือไหลออก ก็บอกมาดิมีกี่ตัว อะไรบ้าง(แปลกใจคนไทยดันเชื่อคำอธิบายนี้)
ผมขอแยกเป็นสองเรื่องแล้วกันคือ เหตุที่ทำให้เงินไหลเข้า กับเหตุที่ทำให้เงิน
ไหลออก
ต้องเข้าใจก่อนว่า 3กลุ่มประเทศนี้มีเงินมหาศาล(พิมพ์เงินมากะมือ)USA EU Japan
ดังนั้นเงินจำนวณมหาศาลนั้นพร้อมที่จะเข้าทุกประเทศที่ดีๆ
เหตุที่ทำให้เงินไหลเข้า เพราะ เป็นประเทศที่ ศก กำลังเติบโต อัตราเงินเฟ้อต่ำ มีความ
สามารถในการแข่งขัน ใครๆก็อยากอยู่ ไม่มีสงคราม ค่าเงินไม่มีความเสี่ยงในการด้อยค่า
สรุปประเทศนั้นดี ยิ่งดีมากเงินยิ่งไหลเข้ามาก
เหตุที่ทำให้เงินไหลออก เงินเฟ้อสูง ประเทศมีการเติบโตต่ำ มีความเสี่ยงในการด้อยค่า
ของค่าเงิน ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ไม่น่าอยู่ มีสงคราม มีความเสี่ยงในชีวิต
แล้วงัย เราจะแก้ไขการไหลเข้าของเงินโดยการทำให้ประเทศมันแย่ๆใช่ไม๊ BOT
คำถาม 3-4 อันข้างต้น
จากความรู้อันน้อยนิดของผมและความเข้าใจคือ
1 ดอกเบี้ยนโยบาย ไม่มีอยู่จริง แต่มีอยู่จริงเป็น ดอกเบี้ยตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารด้วยกัน
ที่เป็นตลาดที่พวกเรานักลงทุนไม่ค่อยสนใจ แต่ธนาคารสนใตเพราะว่า ถ้าธนาคารขาดเงินสดในมือ
จะกู้ที่ตลาดนี้ หรือ ธนาคารมีปัญหาอะไรก็ตาม ธนาคารกลางจะใช้ดอกเบี้ยตลาดนี้
2 ใครจ่าย ลองคิดตามว่า ถ้าธนาคารกู้เงินในตลาดที่บอก ก็ธนาคารจ่าย
แต่ถ้าธนาคารกลางช่วย กู้ ธนาคารอีกเช่นกัน
แต่ถ้าหาพันธบัตรอายุ 1 วัน ในประเทศไทยไม่มีขายครับ
3 ดอกเบี้ยที่ภาคธุรกิจเสีย รวมต้นทุนเงินทุนของธนาคารทั้งหมด และ กำไรของธนาคารไปด้วย ค่าoperation ของธนาคาร
4 ดอกเบี้ยออมทรัพย์ อันนี้เป็นตัวเทียบได้ว่าเกือบเท่าเงินสด เพราะไถ่ถอนได้ทุกวัน ทุกเวลา
ดังนั้น ธนาคารต้องการเงินฝากระบะเวลายาว มีเวลาไถ่ถอนมากกว่า ออมทรัพย์. เลยให้ดอกเบี้ยแค่นั้นเอง

น่าจะอ่านเข้าใจ
:)