เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
hatehate
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตอนนี้ผมกำลังจะจบปริญญาตรีครับ ซึ่งเป็นคณะที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แม้แต่น้อย
แต่กะว่าหลังจากจบแล้วจะไปลงเรียนต่อที่รามคำแหงครับ อยากได้คำแนะนำครับผม
kumchai
Verified User
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

economics
ภาพประจำตัวสมาชิก
อ่อนซ่อนศิลป์
Verified User
โพสต์: 274
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

บัญชี ไม่ก็การเงิน ผมว่ามันใกล้ชิดกว่าECON อีกนะครับ
เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาคือของจริง
Albino
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เรียน หลักสูตร การลงทุนเน้นคุณค่า รุ่นที่ 2 ..

รุ่น แรก ระดับ เซียน มาสอนเอง เลย เสียดาย ไม่ทัน .. :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คณะที่เรียนไม่หนัก เวลาว่างเยอะๆครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
luz666
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 845
ผู้ติดตาม: 1

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

บัญชี, การเงิน, ไม่ก็บริหารธุรกิจครับ

ถ้าเรียนบัญชี ก็จะรู้เรื่องบัญชีเน้นๆ เข้าใจความหมายของแต่ละรายการในงบ อ่านศัพท์บัญชีในหมายเหตุประกอบงบ, หน้ารายงานผู้ตรวจไม่งง แต่อาจจะไม่ได้พวกมุมมองแผนธุรกิจ มองงบแบบนักบัญชีคือมองย้อนหลัง ไม่ได้มองแบบผู้บริหาร

ถ้าเรียนการเงิน จะเกี่ยวพวกหุ้น อนุพันธ์ การลงทุน เรียนบัญชีแบบพอเข้าใจ เพื่อเอาไปวิเคราะห์ ไม่ได้เรียนไปเพื่อทำบัญชีเองเป็น แต่ต้องเรียนพวกคำนวณทางการเงินยากๆมากกว่าคณะอื่น

บริหารธุรกิจ ก็เน้นการเป็นเจ้าของธุรกิจ แผนการตลาด ครับ

ส่วนตัวคิดว่าเรียนอะไรก็ได้ แล้วอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มครับ เซียนหลายคนมากๆก็ไม่ได้จบคณะที่กล่าวมาครับ
all i need is Zero
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 577
ผู้ติดตาม: 17

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมว่าเรียนบัญชีเอกการเงิน ปริญญาตรี ต่อโท เศรษฐศาสตร์ธุรกิจครับ
dr1
Verified User
โพสต์: 880
ผู้ติดตาม: 30

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เป็นผม
จะเรียนกะคณะอาจารย์ไทยวีไอ
มหาลัยไทยวีไอ
วิทยาเขตบ้านนอกแถวบ้านได้ยิ่งดี

รอสมัครรุ่น2-3-4หรือต่อๆไปจนกว่าจะสมัครได้
ภาวนาให้คณาจารย์ท่าน
อย่าเพิ่งหมดไฟสอนไปก่อนเท่านั้นแหละ

แต่สังเกตว่า
บรรดานักลงทุนระดับโลก
มักจะเลือก"อาจารย์" นะครับ
ไม่ได้เลือก"คณะ"
หรือมักจบจากคณะที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆ
เช่นพวกปรัชญาๆลๆ

ในไทยมักจบวิศวะ?
ถ้ามีใครทำโพลน่าจะดีครับ
samatah
เสือนอนกิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 42
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Albino เขียน:เรียน หลักสูตร การลงทุนเน้นคุณค่า รุ่นที่ 2 ..

รุ่น แรก ระดับ เซียน มาสอนเอง เลย เสียดาย ไม่ทัน .. :P
ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลหลักสูตรนี้จากไหนได้ครับ จะเปิดอีกทีเมื่อไหร่ สนใจมากเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Guiman
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมก็กะลังจะจบ ตอนนี้เรียนเศรษฐศาสตร์
ผมว่าได้หมดอะ ทั้งบริหารธุรกิจ หรือ เศรษฐศาสตร์ 2คณะนี้

เพราะแต่ละคณะมันจะมีวิชาพื้นฐาน
คณะเศรษฐศาสตร์ ก็ต้องเรียนบัญชีเบื้องต้น การจัดการ เสรษฐศาสตร์มหภาค จุลภาค
คณะบริหาร ก็ต้องเรียนเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น แต่ไปเยอะพวกบริหาร หรือแล้วแต่วิชาเอก

ถ้าบริหารการเงิน ก็หนักไปทางการเงิน อนุพันธ์ จบไปก็สมัครเป็นโบรกเกอร์ได้
หรือบริหารบัญชี ก็หนักบัญชี จบไปเป็นนักบัญชีได้ (แต่เหนื่อย)
http://guimanstock.blogspot.com/
บันทึกการลงทุน & รีวิวหนังสือ
mood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 151
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมจบเศรษฐศาสตร์ ที่เรียนไม่เห็นได้เอามาใช้เลย ของจริงมันอยู่ข้างนอก
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 1

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เรียนจบ ม.6 ก็พอแล้ว เรียนปริญญาตรีทำให้เสียเวลา
เมื่อจบ ม6. ก็มุ่งเรียนวิชาที่สนใจเลยใน กลุ่ม ของบัญชี เศรษฐศาสตร์ การเงิน
ภาษาอังกฤษ คณิตรศาสตร์ กฎหมายเบื้องต้น excell access
ใช้ computerให้คล่อง ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณปีกว่าๆแค่นั้นเอง
แล้วเอาหนังสือการลงทุนมาอ่าน ถ้าไม่เข้าใจเรื่องไหน ก็หาความรู้เจาะเป็นเรื่องๆไป
สิ่งที่สำคัญคือเรียนโดยไม่ต้องสนใจปริญญาบัตร ความรู้สำคัญกว่าใบประกาศ
yakjabon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 2

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ถ้าถามคณะ ผมคิดว่าบริหารธุรกิจ เพราะการลงทุนคือการซื้อธุรกิจหรือทำธุรกิจเอง ต้องใช้ศาสตร์เกือบทุกด้านในการบริหาร (ถ้าเป็นนักลงทุนในหุ้นก็ต้องใช้ศาสตร์บริหาร ไปวิเคราะห์ Strategy และตัวผู้บริหารบริษัทเช่นกัน) .. ถ้าถามว่าจำเป็นมั้ย จริงๆแล้วถ้าขยันก็ซื้อหนังสือมาอ่านเองได้ครับ หรือถ้ามีเพื่อนสนิทที่เป็นนักลงทุนอยู่แล้วก็สอนให้ได้ หรือเปิด MoneyTalk ดูย้อนหลังเยอะๆก็ได้ .. หรือไปเรียนมหาลัยที่มีนักลงทุนอาชีพเป็นอาจารย์อยู่ก็ได้ :mrgreen:
Invincible MOS is knowing what you're doing
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2913
ผู้ติดตาม: 10

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เรียนอะไรก็ได้ที่ต้องใช้ความเชียวชาญเฉพาะทางครับ เช่นวิศวกรสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม หมอเฉพาะทางต่างๆ วิศวคอมพิวเตอร์เน้นทางด้าน SAP หรืออะไรก็ได้ที่ได้เงินเดือนเยอะๆตั้งแต่แรกเลยครับ

การลงทุน ขั้นแรกสุดคือต้องมีทุนครับ พอได้ทุนแล้วมาอ่านหนังสือทางการลงทุนแบบ vi แค่ไม่กี่เล่ม ก็เข้าไปเปรี้ยวในตลาดได้แล้ว เน้นซื้อกิจการที่ดี ราคาเหมาะสม ไม่เก็งตลาด ได้เงินจากเงินเดือนมาก็เอามาสะสมในธุรกิจเทพๆ ง่ายๆแค่นี้ครับ อาจจะทำให้ท่านเกษียณเร็วขึ้น 10-20 ปี

ผมไม่เห็นด้วยที่จะไปเรียนทางด้านบัญชีหรือเศรษฐศาสตร์ เพราะการลงทุนแบบเน้นคุณค่ามันไม่ได้เรียนอะไรลึกขนาดนั้น และผมคิดว่าเงินเดือนของอาชีพที่กล่าวมาข้างต้นไม่น่าเยอะด้วยครับ
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง

----------------------------
iruma
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

วิชาลงทุน - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ถ้าถามว่า จะเป็นนักลงทุนที่เยี่ยมยอดจะต้องเรียนอะไร? คำตอบของคนจำนวนมากจะบอกว่า ต้องจบปริญญาบริหารธุรกิจโดยเฉพาะสาขาการเงิน เพราะหลักสูตรนี้ประกอบไปด้วยวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนที่จำเป็นทุกด้าน ไล่ตั้งแต่การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การบริหารพอร์ตโฟลิโอ นอกจากนั้นยังสอนพื้นฐานของการทำธุรกิจอื่นๆทุกด้าน ตั้งแต่การตลาด การผลิต การบริหารงานบุคคล และกลยุทธ์อื่นๆของธุรกิจ

ถ้าการลงทุนเป็นศาสตร์แบบเดียวกับวิศวกรรมหรือการแพทย์แล้วละก็ คำตอบก็น่าจะถูกต้อง เพราะคงเป็นเรื่องยากที่คนจบวิชาตบแต่งภายในจะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบโครงสร้างตึก หรือคนจบนิเทศศาสตร์จะกลายเป็นหมอชื่อดัง แต่การลงทุนนั้นเป็นเรื่องของศาสตร์ไม่ถึงครึ่ง และศาสตร์ที่ใช้ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร ว่าที่จริง ผมคิดว่าคนที่เรียนจบระดับมัธยมถ้าตั้งใจจริง ก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่วนที่สำคัญกว่าและยากกว่าในเรื่องของการลงทุนนั้นเป็นศิลปะ และนี่คือส่วนที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างเซียนหุ้นกับนักลงทุนธรรมดา

ปีเตอร์ ลินช์ เรียนจบปริญญาตรี ดูเหมือนจะทางด้านภาษา เช่นเดียวกับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ เขาบอกว่า วิชาที่มีประโยชน์จริงๆต่อการลงทุนเป็นวิชาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปรัชญา ส่วนวิชาการเงินและการลงทุนที่เขาเรียนมาในระดับปริญญาโท นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว เขารู้สึกว่าทำให้เขาหลงทาง เข้าใจผิด ถึงขนาดบอกว่าคนที่เรียนวิชาเหล่านี้จะมีปัญหาที่จะต้องลบล้างสิ่งที่เรียนมา ถ้าต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน

บิล มิลเลอร์ เซียนหุ้นระดับเดียวกับ ปีเตอร์ ลินช์ แม้จะดังน้อยกว่า เรียนจบมาทางด้านปรัชญา ซึ่งดูไปแล้วห่างจากเรื่องของการเงินและการลงทุนที่จะต้องพิจารณาถึงตัวเลข การคาดการณ์อนาคต การวิเคราะห์ในเรื่องของการแข่งขัน และการบริหารจัดการของบริษัทธุรกิจต่างๆ แต่ มิลเลอร์ กลับเป็นคนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ล้วนๆ

ชาร์ลี มังเจอร์ รองประธานของเบิร์กไชร์ และเพื่อนคู่หูของ บัฟเฟตต์ เรียนจบทางด้านกฎหมาย และเป็นนักกฎหมายมานานก่อนที่จะเข้ามาเป็นนักลงทุนเต็มตัว แต่เบื้องหลังจริงๆของเขานั้น เขาเป็น “นักศึกษา” ตัวยง เขาเรียนรู้วิชาต่างๆมากมาย ซึ่งน่าจะรวมไปถึงฟิสิกส์และปรัชญา เช่นเดียวกับสถิติและจิตวิทยา เขาบอกว่าการลงทุนที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยการสอดประสานของวิชาต่างๆ เช่นนำความคิดของฟิสิกส์มาประยุกต์รวมกับปรัชญา หรือ นำวิชาสถิติมาเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา พูดโดยสรุปก็คือ ยิ่งคุณมีความรู้กว้างในศาสตร์และศิลป์ที่แตกต่างกันคนละเรื่องเลยมากเท่าไร คุณก็จะได้เปรียบในการลงทุนมากขึ้นเท่านั้น

วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นเรียนจบสายตรงมาทางด้านของธุรกิจและการลงทุน แต่อาจารย์ของเขาคือ เบน เกรแฮม ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งการลงทุนแบบ Value Investment นั้น เป็นพหูสูตรในหลายๆเรื่อง เขาเป็นเซียนด้านคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษากรีก ละติน และดนตรี เรียนจบระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และถ้าจำไม่ผิด เขาเขียนบทละครเป็นงานอดิเรก

สิ่งที่เซียนหุ้นดูเหมือนจะมีเหมือนๆกันหมดก็คือ คนเหล่านั้นมักเป็นนักอ่านตัวยง เป็นนักคิด หลายๆคนสนใจและเรียนเกี่ยวกับปรัชญา บางคนก็ชอบศึกษาประวัติศาสตร์ ทั้งหมดมีความรู้กว้างขวางในหลายๆสาขาวิชา ซึ่งส่วนหนึ่งก็คงจะมาจากนิสัยรักการอ่าน และดูเหมือนว่า “ความลึก” จะเป็นเรื่องรอง เห็นได้จากการที่เซียนหุ้นส่วนใหญ่มักจะมีมุมมองที่ “กว้าง” และมักจะหลีกเลี่ยงประเด็นที่ลึกและเข้าใจยาก วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยบอกว่า คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอัจฉริยะที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน และการลงทุนนั้น คุณไม่ต้องเรียนรู้ตัวอักษรกรีกในคณิตศาสตร์ประเภท เบตา ซิกมา ที่นักวิชาการใช้กัน

ในความเห็นของผม วิชาพื้นฐานการลงทุนที่จะต้องเรียนรู้คงจะต้องมีเพื่อให้สามารถ “อ่าน” ธุรกิจออก ก็คือ วิชาบัญชีพื้นฐานและการวิเคราะห์การเงินพื้นฐาน ซึ่งหาหนังสือที่จะอ่านเองได้ไม่ยาก นอกจากนั้น คุณควรรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดหรือกลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งมีหนังสือที่เขียนให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก จากนั้น คุณก็สามารถอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน โดยเฉพาะหนังสือคลาสสิคหลายๆเล่มทางด้าน Value Investment เหล่านี้คือพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการลงทุน แต่จะทำได้ดีแค่ไหนผมคิดว่า ความ “กว้าง” ของความรู้ น่าจะมีส่วนมากกว่า

การเรียน MBA ทางด้านการเงินนั้น แน่นอนว่ามันเป็นการปูพื้นฐานที่ครบครันในที่เดียว หรือเรียกว่า One Stop Service แต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการที่จะประสบความสำเร็จจากการลงทุน นอกจากนั้น คุณจะต้องระวังว่า สิ่งที่สอนบางอย่างอาจจะทำให้คุณไขว้เขว และอาจทำให้คุณล้มเหลวจากการลงทุนได้ โดยเฉพาะถ้าคุณเชื่อตามที่นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพสูงสุด คุณไม่มีโอกาสชนะในการลงทุน ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องคิด

วิชาลงทุน

โลกในมุมมอง Value Investor

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Source : http://www.sarut-homesite.net/2009/11/% ... %E0%B8%A1/

นักลงทุนขาโจ๋ - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


ในช่วงนี้เรามักได้ยินหรือพบเห็นนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุนที่มีอายุน้อยแต่มีพอร์ตหุ้นใหญ่โต เป็นนักลงทุนที่ Aggressive หรือ “ดุดัน” “กล้าได้กล้าเสีย” บางคนอาจจะใกล้เป็น “ขาใหญ่” หรือ “นักปั่น” ส่วนใหญ่ที่เป็นข่าวก็ดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จสูงมาก และบางคนร่ำรวยอย่างไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญ เขาเหล่านั้นมักไม่ได้ทำงานประจำที่เป็นลูกจ้างแต่ยึดอาชีพการลงทุนเป็นหลักตั้งแต่อายุอาจจะไม่ถึง 30 ปี ในแวดวงของนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุน คนเหล่านี้อาจจะเป็นฮีโร่หรือเป็นแบบอย่างที่คนอยากเป็น อยากเลียนแบบ และมักเป็นที่อิจฉาของนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุนอื่นที่ยัง “ไม่ประสบความสำเร็จ” คำถามก็คือ การลงทุนซื้อขายหุ้นนั้นเป็นศาสตร์หรือศิลป์ที่เราควรเริ่มต้นทำตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยหรือไม่? และ เราควรเป็นนักลงทุน “มืออาชีพ” คือลงทุนเป็นหลักตั้งแต่เรียนจบหรืออายุยังไม่ถึง 30 ปีหรือไม่? การลงทุนจะเหมือนกับการเล่นกีฬาหรือการเป็นศิลปินอื่นหรือเปล่าที่คนที่จะประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มตั้งแต่อายุน้อย ยิ่งน้อยเท่าไรก็ยิ่งดีหรือเปล่า?

คำตอบของผมก็คือ ประการแรก คนที่จะสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นนักลงทุนอาชีพตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัยหรือตั้งแต่อายุไม่ครบ 30 ปีนั้น ผมคิดว่าทางบ้านจะต้องค่อนข้างมีฐานะดีและพร้อมที่จะเอาเงินมาให้เราลงทุนอย่างน้อยต้องเป็นหลักล้านหรือหลายล้านบาทได้ ความเห็นของผมก็คือ ทางบ้านจะต้อง “รวย” คือน่าจะมีเงินเป็นหลัก 20-30 ล้านบาทขึ้นไปอยู่แล้วก่อนที่เราจะได้สิทธิที่จะลงทุนเป็นอาชีพตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะผมคิดว่า ถ้าคุณมีเงินลงทุนไม่พอในตอนแรก ผลตอบแทนการลงทุนที่ได้นั้น แม้ว่าจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงมาก แต่โอกาสที่เม็ดเงินจะมากพอให้คุณอยู่ได้และร่ำรวยเพิ่มขึ้นนั้นค่อนข้างจะยากมาก ดังนั้น การทำงานกินเงินเดือนน่าจะได้เงินมากกว่าการที่จะให้เงินที่มีอยู่น้อยไป “ทำงาน” แทนเรา ดังนั้น กลยุทธ์ที่จะเป็นนักลงทุนอาชีพตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น น่าจะเป็นเรื่องของคนที่มีพ่อแม่ค่อนข้างรวยหรือรวยมาก ไม่ใช่เรื่องของคนที่มีพ่อแม่เป็นคนจนหรือคนชั้นกลางที่มีเงินแค่พอกินพอใช้

เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือไม่เพื่อที่จะเก่งและประสบความสำเร็จ? ข้อนี้เราต้องมาดูว่าการลงทุนนั้นต้องอาศัยทักษะอะไรและมันคล้าย ๆ กับกีฬาหรือดนตรีหรืองานศิลป์อย่างอื่นที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือไม่? คำตอบของผมก็คือ การลงทุนนั้น มันอาจจะเป็นศิลปะสัก 70% และอาจจะเป็นวิทยาศาสตร์สัก 30% แต่คำว่าศิลปะนั้นไม่ใช่ศิลปะของการใช้ร่างกายที่จะต้องฝึกฝนตั้งแต่อายุยังน้อยมาก แต่มันเป็นเรื่องของศิลปะในการใช้ศาสตร์ต่าง ๆ เกือบทั้งหมดในโลกนี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคนและเศรษฐกิจมาประกอบกัน ดังนั้น ศิลปะของการลงทุนเองจริง ๆ นั้นไม่มีหรือมีน้อยมาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผมเชื่อว่า ถ้าเราเข้าห้องค้าหุ้นตั้งแต่อายุน้อยมากและวัน ๆ เอาแต่ “ศึกษา” จากการซื้อขายหุ้น เราจะไม่มีหรือไม่ได้ “ศิลปะในการลงทุน” ซึ่งอันนี้จะแตกต่างจากเด็กที่เข้าห้องและซ้อมเปียโนทั้งวันหรืออยู่ในสนามกอล์ฟมาแทบจะชั่วชีวิตในวัยเด็ก

ผมคิดว่า การเรียนรู้เรื่องการลงทุนนั้น แน่นอน ยิ่งเรียนรู้เร็วก็ยิ่งมีทักษะมากขึ้น แต่ทักษะการลงทุนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราก็เรียนในห้องเรียนอยู่แล้ว มันคือวิชาการที่เรียกว่า Liberal Arts ซึ่งก็คือวิชาที่เรารู้สึก “น่าเบื่อ” ทั้งหลาย เช่น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์ อะไรเหล่านี้ ประเด็นของผมก็คือ การเรียนรู้เรื่องของการลงทุนนั้น เราควรเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยด้วยเหตุผลสำคัญที่ไม่ใช่เรื่องของผลตอบแทนทางการเงิน แต่เป็นเรื่องของการที่เราจะได้มี “แกน” ที่จะทำให้เราศึกษาวิชาการต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมายและทิศทางชัดเจน นั่นก็คือ ถ้าเราไม่ลงทุนเลย เราก็อาจจะไม่รู้ว่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ไปทำไม หรือเศรษฐศาสตร์มันเกี่ยวข้องอะไรกับหุ้น การที่เราลงทุน มีการได้เสียอยู่จะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เราอ่าน คิด และศึกษา เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และนี่จะเป็นประโยชน์และสร้างทักษะการลงทุนโดยที่เราไม่รู้ตัว

ด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงสนับสนุนให้เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อย สำหรับคนที่ทางบ้านไม่รวย ผมคิดว่าควรเริ่มการลงทุนเมื่อเรียนจบและมีงานทำมีรายได้ของตนเองแล้ว การใช้เงินของทางบ้านเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะถ้าเกิดความเสียหายจะทำให้ภาพของการเป็นนักลงทุนเสียหายตั้งแต่แรก สำหรับคนที่ทางบ้านร่ำรวย ผมเองคิดว่าการลงทุนตั้งแต่ยังเรียนก็น่าจะทำได้ แต่ไม่ควรเริ่มก่อนประมาณปีสามหรือปีสี่ในมหาวิทยาลัยและเป็นการใช้เงินจำนวนน้อยเป็นหลักแสนบาทเท่านั้นเพื่อเรียนรู้กระบวนการในการซื้อขายและตลาดหุ้น การลงทุนเป็นเรื่องเป็นราวควรจะเป็นหลังจากเรียนจบแล้ว

ประเด็นสำคัญก็คือ ถ้าที่บ้านรวยพอ เราควรเป็น “นักลงทุนอาชีพ” ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือไม่? นี่เป็นคำถามที่ค่อนข้างยากที่จะตอบ คนที่ทางบ้านรวยมากบางคนอาจจะคิดว่าการทำงานเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนเดือนละหมื่นสองหมื่นบาทนั้น ดูไปแล้วแทบไม่มีความหมายเลยเมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้นที่เขาอาจจะได้เป็นแสนเป็นล้านบาทในเวลาอันสั้นจากเม็ดเงินที่ทางบ้านให้มาและเขาพร้อมที่จะเล่นอย่าง “ดุดัน” เพราะสำหรับเขาแล้ว เขาเสี่ยงได้ ถ้าพลาดก็ขอใหม่ หรือในกรณีเลวร้ายที่สุด เขาก็ไปหางานอะไรก็ได้ทำแม้ว่างานนั้นจะไม่ท้าทายหรือสนุกเหมือนกับการลงทุนหรือเล่นหุ้น ในกรณีแบบนี้ ผมเองไม่เห็นด้วย เพราะดูเหมือนว่าการลงทุนจะกลายเป็นข้ออ้างของคนที่ขี้เกียจทำงาน และโอกาสที่เขาจะประสบความสำเร็จก็มักจะน้อย

คนที่จะเป็นนักลงทุนอาชีพเต็มตัวตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น ผมคิดว่าเขาควรพิสูจน์ว่าตนเองมีความสามารถในการลงทุนเพียงพอและมีเม็ดเงินที่มากพอทำให้เขามีอิสระทางการเงินแล้ว คำว่ามีความสามารถเพียงพอนั้น หมายความว่าผลตอบแทนในการลงทุนของเขาสูงพอ อย่างน้อยปีละ15% ทบต้นอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไปโดยที่เม็ดเงินที่ใช้ลงทุนมากพอ อย่างน้อยอาจจะต้องเป็น 10 ล้านขึ้นไป และการลงทุนของเขามีการป้องกันความเสี่ยง เช่นมีการกระจายการลงทุนเพียงพอ นอกจากนั้น ผลตอบแทนการลงทุนปีต่อปีก็ควรจะไม่ผันผวนเกินไป ประเภทกำไรบางปีเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่บางปีขาดทุน 40-50% แบบนี้ก็แสดงว่าผลตอบแทนอาจจะเกิดจากความบังเอิญมากกว่าฝีมือ ถ้าทำได้แบบนี้ ผมคิดว่า การเป็นนักลงทุนอาชีพก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม

โดยสรุปแล้ว นอกเหนือจากเงื่อนไขเฉพาะสำหรับบางคน ผมคิดว่า เราไม่ควรเป็นนักลงทุนอาชีพตั้งแต่อายุน้อย ความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาเพื่อศึกษาวิชาการลงทุนนั้นมีน้อย นั่นคือ เราศึกษาการลงทุนได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุนอาชีพ วิธีที่ดีกว่าสำหรับคนทั่วไปก็คือ เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อยและศึกษาการลงทุนพร้อม ๆ กับการทำงานประจำอื่น ๆ จนถึงวันที่เรามีเงินมากพอและเรามั่นใจในความสามารถของเราแล้ว ถึงวันนั้นเราอาจจะอยากเป็นนักลงทุนอาชีพที่ชีวิตมีอิสรเสรีและมีความสุขกว่าการทำงานประจำที่เราไม่ชอบ การเป็นนักลงทุนอาชีพ “ขาโจ๋” ไม่ได้รับประกันว่าจะทำให้เราเก่งกว่าคนอื่นที่เริ่มอาชีพการลงทุนทีหลังหลังจากเป็นนักลงทุน “สมัครเล่น” มานาน
Source : http://portal.settrade.com/blog/nivate/2008/05/21/272
melbourne
Verified User
โพสต์: 75
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ผมเรียนบริหารธุรกิจเอกการเงินอยู่ครับ ถ้าจขกทใช้คำว่า"ใกล้ชิด"คงต้องเรียนการเงินน่าจะใกล้ชิดที่สุดครับ รองมาก็คงเศรษฐศาสตร์

แต่ผมบอกเลยนะความเห็นส่วนตัว เรียนการเงินมันช่วยเปิดมุมมองอีกด้านนึงคือผมว่ามันต่างจากไทยวีไอเอามากๆ

เวลาวิเคราะห์อะไรก็ต้องใช้สมมุติฐานในการศึกษาสร้างmodelมาศึกษา ถ้าอยากเปิดเปิดมุมมองก็แนะนำให้เรียนถ้าจะเอามาประยุกต์ผมก็ว่าคงทำได้ไม่ดีเท่าไหรนักหรอกเพราะมันยากที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น(ในที่นี้ผมว่า1+1=1เท่าเดิมถ้าเอามาผสมกัน)แต่ถ้าอยากประสบความสำเร็จในการลงทุงผมว่าไม่จำเป็นเท่าไหรนักแต่รับประกันว่าถ้าเรียนจะรู้สึกใกล้ชิดมากขึ้นครับ
yakjabon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 2

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

newbie_12 เขียน:เรียนอะไรก็ได้ที่ต้องใช้ความเชียวชาญเฉพาะทางครับ เช่นวิศวกรสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม หมอเฉพาะทางต่างๆ วิศวคอมพิวเตอร์เน้นทางด้าน SAP หรืออะไรก็ได้ที่ได้เงินเดือนเยอะๆตั้งแต่แรกเลยครับ

การลงทุน ขั้นแรกสุดคือต้องมีทุนครับ พอได้ทุนแล้วมาอ่านหนังสือทางการลงทุนแบบ vi แค่ไม่กี่เล่ม ก็เข้าไปเปรี้ยวในตลาดได้แล้ว เน้นซื้อกิจการที่ดี ราคาเหมาะสม ไม่เก็งตลาด ได้เงินจากเงินเดือนมาก็เอามาสะสมในธุรกิจเทพๆ ง่ายๆแค่นี้ครับ อาจจะทำให้ท่านเกษียณเร็วขึ้น 10-20 ปี

ผมไม่เห็นด้วยที่จะไปเรียนทางด้านบัญชีหรือเศรษฐศาสตร์ เพราะการลงทุนแบบเน้นคุณค่ามันไม่ได้เรียนอะไรลึกขนาดนั้น และผมคิดว่าเงินเดือนของอาชีพที่กล่าวมาข้างต้นไม่น่าเยอะด้วยครับ
พูดถูกครับ สำหรับคนไม่มีทุน เรียนอะไรก็ได้ที่สามารถหาทุนได้เยอะๆเป็นบันไดก้าวแรกครับ ความรู้ด้านบริหารธุรกิจคือก้าวที่สอง ยกเว้นก้าวแรกมีทุนจากพ่อแม่อยู่แล้วก็อีกเรื่องนึงครับ
Invincible MOS is knowing what you're doing
yakjabon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 2

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขยายความนิดนึงครับ เรียนในเรื่องที่เสริมสิ่งมหัศจรรย์ของโลก 3 ข้อนี้

1) ต้นทุน -- ถ้าไม่มีใครให้มาแต่เกิด ก็ต้องดูเทรนด์ตลาดแรงงานว่า แรงงานฝีมือประเภทใดขาดแคลนและได้ค่าตอบแทนเยอะ ก็อันนั้นละครับ (ถ้าไม่คิดเรื่องปัจจัยความชอบและขีดความสามารถนะ)
2) อัตราผลตอบแทนทบต้น -- อันนี้แนะบริหารธุรกิจหรืออ่านหนังสือเยอะๆ ฟังผู้มีประสบการณ์เยอะๆ จะได้เสริมแนวคิดตัวเองได้
3) ระยะเวลา -- อันนี้เรียกคืนกลับไม่ได้ เริ่มก่อนได้เปรียบครับ เพราะสุดท้ายเรามักจะจากโลกนีไปในเวลาใกล้เคียงกันอยู่ดี
Invincible MOS is knowing what you're doing
Chaoyang
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 1

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ถ้าต้องการเป็น นักลงทุนอาชีพอิสระ ก็แบบที่ ดร แนะนำ แต่ถ้าต้องการเป็นทำงานเกี่ยวกับการลงทุน แบบ hedge fund / private equity fund / investment banker ส่วนใหญ่ชื่นชอบ ประวัติศาสตร์ และมี analytical skill สูงมาก คณะที่เรียนก็หลากหลาย มีตั้งแต่ หมอ วิศวะ การเงินการบัญชี กฏหมาย ปรัชญา สรุปคือหลากหลาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่ว่าเรียนอะไร ต้องมีนิสัยรักการอ่านมากๆๆ และมี analytical skill สูงสุดๆ หรือ ถ้ามีปานกลางก็ต้องเก่งเรื่องคนซึ่งจะเหมาะกับ deal maker มาก แต่ถ้าสำรวจตัวเองแล้วไม่ใช่ ให้หลีกเลี่ยงอาชีพทางนี้
Plant
Verified User
โพสต์: 667
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

hatehate เขียน:ตอนนี้ผมกำลังจะจบปริญญาตรีครับ ซึ่งเป็นคณะที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แม้แต่น้อย
แต่กะว่าหลังจากจบแล้วจะไปลงเรียนต่อที่รามคำแหงครับ อยากได้คำแนะนำครับผม
คำถามที่ 1 ทำไมต้องเรียนต่อครับ?
คำถามต่อมา แล้วเรียนต่อทำไมต้องเกี่ยวกับเงินๆทองๆครับ?

สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ "เรียนรู้จากของจริงดีที่สุดครับ"
ถ้าอยากเล่นหุ้นศึกษาพื้นฐาน หาคอร์สอบรม แล้วเรียนรู้ไป
กับการลงทุนจริงๆในตลาดครับ

ถ้าอยากลงทุนเรื่องอื่น ก็ศึกษาว่าของจริงเขาทำกันยังไงครับ
อย่ามัวเสียเวลาเรียนในสิ่งที่เราไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิต
จริงๆได้ครับ เพราะ "เวลา" คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ
ครับ....^^)
hatehate
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณทุกคำตอบครับผม ได้ข้อคิดอะไรดี ๆ เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ :D
chitadisai
Verified User
โพสต์: 483
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เรียนในสิ่งที่ชอบจริงๆ vi คือความสามรถพิเศษ หานอกห้องเรียนได้ แต่ถ้าอยากเรียน บริิหารธุรกิจ ก็น่าสนใจ เค้าจะสอนว่าธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เวลาว่างเยอะด้วยก็เข้าห้องสมุด ผมก็เด็กบริหารธุรกิจ
โพสต์โพสต์