นำข่าว CPALL มาฝาก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
taakechi40
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 178
ผู้ติดตาม: 8

นำข่าว CPALL มาฝาก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

CPALL : แสตมป์รักเมืองไทย ดันยอดขาย Q3 กระจาย
เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดเอาไว้ โดยคาดว่าบริษัทจะเปิดสาขาเพิ่มปีละ 520 สาขาในระหว่างปี 2556-60 มากกว่าเป้าหมายเดิมของสำนักวิจัยทิสโก้ที่ 500 สาขาต่อปี โดยจะทำให้ CPALL มีสาขาเพิ่มแตะ 1 หมื่นสาขาภายใน 7 ปี เร็วกว่าเดิมที่มากกว่า 10 ปี นอกจากนี้ บริษัทยังเริ่มเปิดสาขาขนาดใหญ่ เพื่อที่จะแข่งกับดิสเคาท์สโตร์อีกด้วย

๐ แนวโน้มการเติบโตในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายังคงแข็งแกร่ง - สำนักวิจัยทิสโก้คาดว่า CPALL จะยังคงครองตลาดค้าปลีกและต่างจากคู่แข่งตรงที่ CPALL มีเครือข่ายร้านและโครงสร้างต่าง ๆ เช่น ศูนย์กระจายสินค้าอยู่ทั่วทั้งประเทศ สำนักวิจัยทิสโก้คาดว่า CPALL จะเพิ่มการขยายตัวในเชิงรุกเพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาด และสร้างอุปสรรคสำหรับผู้ที่จะเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้เพิ่มขึ้น นอกจากการเติบโตจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อแล้ว CPALL ยังได้ประโยชน์จากอัตราภาษีจ่ายที่ลดลงจาก 30% เป็น 23% และ 20% ในปี 55 และ 56 ตามลำดับ สำนักวิจัยทิสโก้คาดว่าผลประกอบการของ CPALL จะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 20.9% ต่อปีสำหรับปี 2555-2557

๐ จับมือ LPN เปิดสาขาในโครงการคอนโด – การเปิดสาขาใน LPN เป็นแผนธุรกิจที่ดีของ CPALL สำหรับการขยายสาขาและเป็นการตัดสินใจในเชิงรุก ซึ่งแสดงถึงความพร้อมที่จะแข่งขันในอุตสาหกรรมของบริษัท โดย LPN เป็นผู้พัฒนาคอนโดรายใหญ่ของประเทศไทย โดยบางโครงการมีขนาด 1,000 ห้องสำหรับครอบครัวขนาด 2 คน โดย LPN มีคอนโด 60 โครงการในกรุงเทพฯ และตั้งเป้าขยายโครงการใหม่ประมาณ 10 โครงการต่อปี จึงเป็นโอกาสการขยายธุรกิจที่ดีของ CPALL

๐ มูลค่าที่เหมาะสมหุ้น CPALL 44 บาท (DCF) - มูลค่าที่เหมาะสมสำหรับ 12 เดือนข้างหน้าจากการประเมินมูลค่าด้วยวิธี DCF ของหุ้น CPALL อยู่ที่ 44 บาท โดยสำนักวิจัยทิสโก้ประเมิน WACC ไว้ที่ 9.6% ซึ่งมีผลตอบแทนไร้ความเสี่ยง 2.5% (ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี) ส่วนชดเชยความเสี่ยงของตลาดที่ 6.8% และไม่มีหนี้สิน, Beta 1.1 เท่า และอัตราการเติบโตงวดสุดท้าย 2% ตามแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวมูลค่าที่เหมาะสมใหม่คิดเป็น PER 30.7 เท่า และ EV/EBITDA ที่ 22.7 เท่าสำหรับปี 2556F ความเสี่ยง คือ 1) การขยายตัวสาขาที่น้อยกว่าคาด และ 2) การขยายตัวที่ชะลอลงของยอดขายต่อสาขาเดิม (SSSG) [/color]
โพสต์โพสต์