การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cash Fl

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
investor9000
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 19

การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cash Fl

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมได้ลงทำตามไฟล์ XLS ของคุณสุมาอี้ดู พอมาถึงตอนประมาณการรายได้กับกำไร

ไม่ทราบว่ามีวิธีการอย่างไรให้การประมาณการรายได้ และกำไร ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

เพราะขนาดผมทำประมาณการให้องค์กรบ่อยๆ แต่ก็ยังมีความแปรปรวนอยู่มากที่เดียว

ยิ่งถ้าเป็นคนนอกยิ่งยากเข้าไปอีก

นอกจากนี้ประมาณการ Capital spending ยิ่งยากกว่าอีก เพราะไม่รู้ข้อมูลจริงๆ เลยว่า

กิจการจะลงทุนอะไรเท่าไหร่ อย่างเช่น โรงพยาบาลวิภาวดี แจ้งว่าจะสร้างตึกใหม่ งบประมาณ 600 ล้าน

แต่พอสร้างจริงกลับใช้เงินมากไปกว่านั้นอีกมาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บางอย่างที่กิจการก็ไม่ได้แจ้งต่อ

สาธารณะ ทำให้ไม่รู้ข้อมูล ดังนั้นเวลาเอาไปทำประมาณการ FCF จึงไม่มีความมั่นใจเลยว่าที่เราทำนั้นมันใกล้เคียงสักกี่เปอร์เซนต์
pat4310
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 733
ผู้ติดตาม: 1

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทำเผื่อๆไว้หลายกรณีตั้งแต่ดีสุดยันแย่สุดดู มูลค่าว่าเปลี่ยนไปอย่างไร

ถ้าทำแล้วมี upside เยอะๆก็รองรับความผิดพลาดได้เยอะครับ
ลงทุนหุ้นดี มีการเติบโต ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3778
ผู้ติดตาม: 75

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมใช้ worst case ตามความคิดครับ
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
xavi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 1

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เห็นด้วยว่าการหามูลค่าด้วย Discounted Cash Flow นั้นทำได้ยากครับ เพราะ Assumption นั้นมีหลายตัวแปร และมีปัจจัยกระทบได้หลากหลาย ถ้าจะเอามาใช้ต้องทำหลาย Scenario เพื่อให้ปลอดภัยในการใช้ เพราะผมเคยทำงานด้าน Business Development มาเช่นเดียวกัน ไม่เคย Forecast ถูกต้องเป๊ะๆแม้แต่ตัวเดียวครับ :oops:

ส่วนการใช้ Worst Case อย่างเดียวก็อันตรายมาก เพราะจะทำให้เราต้องขายหุ้นออกไปหลายตัวทั้งที่ราคายังไปได้อีกไกล เพราะเวลาใช้ Worst Case สิ่งที่เรามักจะลดใน Assumption ก็คือ Growth นี่ล่ะครับ ถ้าเกิดเราคาดผิดมากๆ Growth จริงๆสูงกว่าที่คิด ก็ทำให้เราต้องขายหมูไปหลายที :wall:

ผมคิดว่าต้องใช้ปัจจัยการวิเคราะห์ทางคุณภาพเป็นหลักครับ (คล้ายๆแนวทางที่ ดร. ใช้) ส่วนเรื่อง DCF ก็มีไว้เป็น Idea ให้รู้ Range คร่าวๆของราคาหุ้นของเรา คงไม่สามารถหา Fair Value เป็นจุดๆได้แน่ๆ ไม่งั้นนักวิเคราะห์รวยกันหมดแล้ว :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3778
ผู้ติดตาม: 75

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 5

โพสต์

xavi เขียน:ส่วนการใช้ Worst Case อย่างเดียวก็อันตรายมาก เพราะจะทำให้เราต้องขายหุ้นออกไปหลายตัวทั้งที่ราคายังไปได้อีกไกล เพราะเวลาใช้ Worst Case สิ่งที่เรามักจะลดใน Assumption ก็คือ Growth นี่ล่ะครับ ถ้าเกิดเราคาดผิดมากๆ Growth จริงๆสูงกว่าที่คิด ก็ทำให้เราต้องขายหมูไปหลายที :wall:

ผมคิดว่าต้องใช้ปัจจัยการวิเคราะห์ทางคุณภาพเป็นหลักครับ (คล้ายๆแนวทางที่ ดร. ใช้) ส่วนเรื่อง DCF ก็มีไว้เป็น Idea ให้รู้ Range คร่าวๆของราคาหุ้นของเรา คงไม่สามารถหา Fair Value เป็นจุดๆได้แน่ๆ ไม่งั้นนักวิเคราะห์รวยกันหมดแล้ว :mrgreen:
การใช้ worst case ไม่อันตรายครับ
และช่วยทำให้การลงทุนของเราปลอดภัย

แต่จากประสบการณ์ที่มีธงในใจนี่แหละ
และประเมินมูลค่าแบบอนุรักษ์เกินไป
ทำให้ผมขายหุ้นคุณภาพดี ไปจับหุ้นคุณภาพด้อยกว่าเข้ามา
จะเรียกขายหมูก็ได้ ต้องกลับมานั่งทบทวน
ทำการบ้านบ่อยเกินเหตุ
สิ่งที่ตามมาคือซื้อขายหุ้นบ่อยเกินไป
โชคดีที่ผมจดบันทึกข้อมูลการลงทุนไว้
ทำให้รู้ว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย พอร์ตจะโตกว่านี้มาก

แต่ผมกลับคิดว่าผมก็โชคดีไม่ขาดทุน
และได้อะไรกลับมาเหมือนกัน
ตอนนี้เริ่มคิดว่า...
เข้าใจวิถีของบัฟเฟตมากขึ้นครับ
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขายหมูบ่อยๆก็ดีนะครับ ขายมากๆเข้าก็จะเรียนรู้เองว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ขายหมูโดยไม่ลืมกฏข้อที่ 1 (ห้ามขาดทุน)
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
dojii
Verified User
โพสต์: 339
ผู้ติดตาม: 0

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมใช้ DCF ประเมินประกอบกับภาพรวม ตัวเลขต่างๆ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการตัดสินใจครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: การหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Present Value of Future Cas

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมคิดว่าการ "พยากรณ์" อนาคต ไม่มีใครสามารถทำได้ถูกต้อง 100% ทั้งหมด
ก็อย่างที่เจ้าของกระทู้เข้าใจ ขนาดอยู่กับมันทุกวันมานานแสนนาน ยังไม่เที่ยงตรงมากเลย (อย่างที่ดร.นิเวศน์ก้บอก เป็นความเชื่อผิดๆ ที่จะไปยึดมั่นถือมั่น คำนวณค่า Intrinsic value แล้วเชื่อว่าถูกต้องทุกทศนิยม)


แต่มันจะมีประโยชน์ เหมือนกับเราวางแผนการเดินทาง เราไม่ได้คิดถึงแค่จุดหมายเท่านั้น แต่เราต้องตรวจองค์ประกอบทั้งหลาย และพยากรณ์ประมาณการจากข้อมูลและความรู้เท่าที่มีอยู่
แม้เราไม่สามารถคำนวณความแม่นยำ ในการเดินทางของเราได้ขนาดเป็นวินาที แต่ดีกว่าสะเปะสะปะ ปล่อยตามยถากรรม และไม่คำนวณเส้นทางล่วงหน้าเลย

ถ้าเราวางแผน ว่าจะเอารถส่วนตัวไปจอดตรงไหน ไปต่อรถไฟฟ้าที่ไหน แล้วรถปอ.ตรงไหน
จะช่วยให้เราไปถึงจุดหมายได้ ในระยะเวลาใกล้เคียงมากที่สุด โดยใช้ข้อมูลแผนการเดินรถสาธารณะ บวกกับประสบการณ์ที่เรารู้จักยานพาหนะและเส้นทางแต่ละประเภท ถนนไหนควรเลี่ยง ถนนไหนควรไป บางทีอาจขึ้นทางด่วน แต่บางจุดบางเวลาทางด่วน อาจเสียเวลาก็ได้เป็นต้น

ไม่ได้คิดว่าวางแผนประเมินตอนเริ่มเดินทางครั้งเดียวแล้วจบ เพราะนั่นเพิ่งเริ่มต้น
ดังนั้นเมื่อเดินทางจริงแล้ว บางทีระหว่างทางอาจเจอรถติด หรือเจออุบัติเหตุที่ไม่คาดก่อน อาจต้องปรับแก้แผนเป็นระยะ
บางจุดเดิมทีวางแผนจะไปแท็กซี่หรือปอ. แต่อาจลงเรือหรือไปแมงกะไซค์แทน
อาจไปติดฟ้าติดฝน ติดพายุ จุดไหนมีการประท้วงปิดถนน หรือไปเจอสิบล้อเมายาบ้า เจอพวกเมาแล้วขับ ทำถนนระเนระนาด
หรือไม่ก็ตรงข้ามบังเอิญ จราจรกำลังคึกปล่อยโล่งตรงถนนที่เรานั่งไป ระยะเวลาสั้นไปกว่าปกติก็ได้


แม้มีความเสี่ยง ที่จะเดินทางไม่ตรงเป้าหมายที่ประมาณการไว้ แต่การประเมินเป็นระยะระหว่างทาง ช่วยให้รู้ว่ามันเพี้ยนไปจากที่ประมาณการขนาดไหน ช่วยให้เราเปลี่ยนยานพาหนะทันถ้าไม่ตรง


สำคัญที่เราประเมินจากชนิดและสภาพพาหนะ สิ่งแวดล้อมของการขับขี่ การจราจร และประสบการณ์+วิยัยในการขับขี่คนขับ
ประเภทของยานพาหนะและรูปแบบการขับเคลื่อนก็สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ว่าขับเคลือนแล้วจอดเป็นระยะๆ หรือชะลอบ้าง แล้วเร่งสปีดเมื่อพร้อม
บางคนอาจเก่งหาจังหวะลัด เก่งดูสภาพอารมณ์ของคนบนท้องถนนประกอบว่ากำลังอยู่ในเหตุการณ์บ้านเมืองอะไรนอกเหนือไปจากการดูส่วนประกอบพื้นฐานทั่วไป


ในการลงทุน ไม่ว่าเราประเมินมูลค่าด้วย Dividend หรือ FCF หรือจาก Assets เราจะได้กรอบกว้างๆ จากการพยากรณ์ ดีกว่าเราไม่ดูอะไรเลย เมื่อเราดูข้อมูลในอดีตมาเป็น "บทเรียน" เพื่อพยากรณ์อนาคตก่อน แล้วเราก็ต้องพยายามหาข้อมูลปัจจุบัน และแผนอนาคตที่บริษัทประกาศมาเป็นการ support การพยากรณ์ของเรา


จึงสำคัญที่ว่า ที่มาตัวเลขอนาคตเราประมาณมาจากไหน?
เราอ่านตัวเลขอดีตแล้ว ได้ประเมินและ "ขุด" ทำความรู้จักกับที่มาของตัวเลขได้จริงแค่ไหน
อย่งคุณสุมาอี้ ลองเอา HMPRO และ RATCH ที่ "อ่าน" การเปลี่ยนแปลงของกิจการง่าย แต่ลองเอามาเปรียบเทียบดู ก็ไม่ได้ตรงซะทีเดียว แต่ก็ช่วยให้ "เข้าใจลักษณะการดำเนินงาน" ของตัวกิจการได้ ว่ากำลังทำอะไรอยู่
สำคัญที่ที่เรา "อ่าน" จนเข้าใจ "Business model" ล่าสุดของบริษัท และถามไปถึงว่าต่างจากอดีตหรือไม่ model ที่ว่า ถ้าเราสามารถถึงขั้นแปลง ตีประมาณการออกมาเป็นตัวเลข คืออะไรเป็นตัวทำเงินทำทองเปลี่ยนไปอย่างไรขนาดไหนก็จะมั่นใจยิ่งขึ้น
ถ้าเป็นยานพาหนะมันก็เหมือนกับเราทำความรู้จักกับประเภทรถและเชื้อเพลิง เป็นการขับเคลื่อน ที่เราต้องเจาะลงไปตรงตัวขับเคลื่อนมูลค่า หรือ value drivers ต่างๆ เป็นแบบคงที่หรือวูบวาบอย่างไร (.....ไปขอความรู้การจัดประเภทจากลุงลินช์ผมขาวดู)

แล้วถ้า "ขุด" ไปเจอตัวเร่งสปีดที่อาจถูกล็อคอยู่หรือตัวกระตุ้นที่คนจำนวนมากยังมองไม่เห็น แต่ก็มีแววว่าจะถูกปล่อยให้คันเร่งถุกเหยีบบมิด ก็เป็นสิ่งที่ VI จำนวนมากฝันถึง


และ Business model หรือการเปลี่ยนแปลง value drivers ต่างๆ ของกิจการในอนาคต บางทีก็ต้องปล่อยเลยผ่านโดยใช้ข้อมูลในอดีตเป็น model ดังเดิม แล้วมาดูเผื่อไปในลักษณะ % แบบ best case แลพะ worst case ที่ว่ากัน ถ้าค้นหาสุดๆ แล้วแน่ใจว่ามันไม่มีแผนอนาคตนั้นจริงๆ ไม่มีใครในตลาดได้เปรียบเหรือเสียเปรียบกว่าเรา
เราอาจต้องติดตามข่าวเฉพาะหน้าเองในอนาคตเพื่อเป็นโอกาสหรือฉวยโอกาส เพื่อตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะกรณีจำนวนมาก แม้แต่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเองก็มีแต่แผนเฉพาะหน้า ไม่มีแผนอนาคตระยะยาวจริงๆ!
โพสต์โพสต์