ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 772
ผู้ติดตาม: 39

ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากสอบถามเกี่ยวกับ ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยหน่อยครับ

หากว่า ในปิดงบของปี 2554 มีค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย 100 ล้าน

พอมางบ
Q1 55 มีค่าเสื่อม 5 ล้าน
Q2 55 มีค่าเสื่อม 20 ล้าน
Q3 55 มีค่าเสื่อม 2 ล้าน
Q4 55 มีค่าเสื่อม 3 ล้าน

อยากทราบว่า ปิดงบ 55 จะมีการบวกกลับรายการ 70 ล้านหรือป่าวครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

Re: ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย เป็นการตั้งสำรองสินค้าหรือวัตถุดิบคงคลังมีมูลค่าลดต่ำกว่าต้นทุนครับ

ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นการทะยอยคิดค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาวร เช่น อาคาร เครื่องจักร

ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยจะกลับรายการได้ ก็ต่อเมื่อ มูลค่าของวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังที่เคยตั้งสำรองไว้เพิ่มสูงขึ้น
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 772
ผู้ติดตาม: 39

Re: ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

chatchai เขียน:ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย เป็นการตั้งสำรองสินค้าหรือวัตถุดิบคงคลังมีมูลค่าลดต่ำกว่าต้นทุนครับ

ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นการทะยอยคิดค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาวร เช่น อาคาร เครื่องจักร

ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยจะกลับรายการได้ ก็ต่อเมื่อ มูลค่าของวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังที่เคยตั้งสำรองไว้เพิ่มสูงขึ้น

ขอบคุณมากครับ โทษทีครับ พอดีที่เขียน Q1 - Q4 พิมพ์ผิดครับ กะจะพิมพ์ ค่าเผื่อ ครับ ไม่ใช่ค่าเสื่อม จากที่พี่ฉัตรชัย ตอบข้างต้น หมายถึงว่า ถ้าขายของได้ในราคาเดิม หรือราคา ที่ไม่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่บันทึกค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยไว้ ก็สามารถ กลับรายการได้ใช่หรือไม่ครับ ซึ่งต้องดูใน หมดงบปี (สิ้นปี) ใช่ไหมครับ ไม่สามารถดูได้จากงบ รายไตรมาสใช่ไหมครับ ขอรบกวนอีกทีครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

Re: ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าสินค้าที่เราตั้งค่าเผื่อไว้ถูกขายไป ก็คงไม่ต้องมีการกลับรายการแล้วละครับ เพราะต้นทุนก็จะไปอยู่ในงบกำไรขาดทุนในส่วนต้นทุนขาย

ไตรมาสแรก สินค้าคงเหลือมีต้นทุน 100 ล้านบาท แต่มูลค่าตลาดอาจจะเหลือที่ 95 ล้านบาทตอนสิ้นไตรมาสแรก ดังนั้นเราก็จะต้องตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลงจำนวน 5 ล้านบาท รับรู้ในงบกำไรขาดทุนในส่วนต้นทุนขาย

ในไตรมาสสอง บริษัทได้ขายสินค้า Lot นี้ ในราคา 120 ล้านบาท งบกำไรขาดทุนในไตรมาสนี้ จะบันทึกรายได้ขาย 120 ล้านบาท ต้นทุนขาย 95 ล้านบาท


จะเห็นว่า รายการตั้งสำรองค่าเผื่อนี้ จะทำให้ไตรมาสแรก ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ส่วนไตรมาสสอง ต้นทุนขายจะลดลง 5 ล้านบาท
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 772
ผู้ติดตาม: 39

Re: ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

chatchai เขียน:ถ้าสินค้าที่เราตั้งค่าเผื่อไว้ถูกขายไป ก็คงไม่ต้องมีการกลับรายการแล้วละครับ เพราะต้นทุนก็จะไปอยู่ในงบกำไรขาดทุนในส่วนต้นทุนขาย

ไตรมาสแรก สินค้าคงเหลือมีต้นทุน 100 ล้านบาท แต่มูลค่าตลาดอาจจะเหลือที่ 95 ล้านบาทตอนสิ้นไตรมาสแรก ดังนั้นเราก็จะต้องตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลงจำนวน 5 ล้านบาท รับรู้ในงบกำไรขาดทุนในส่วนต้นทุนขาย

ในไตรมาสสอง บริษัทได้ขายสินค้า Lot นี้ ในราคา 120 ล้านบาท งบกำไรขาดทุนในไตรมาสนี้ จะบันทึกรายได้ขาย 120 ล้านบาท ต้นทุนขาย 95 ล้านบาท


จะเห็นว่า รายการตั้งสำรองค่าเผื่อนี้ จะทำให้ไตรมาสแรก ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ส่วนไตรมาสสอง ต้นทุนขายจะลดลง 5 ล้านบาท

^_^ ขอบคุณอย่างมากครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
โพสต์โพสต์