UPDATE ศก ไทย Q2

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
multipleceilings
Verified User
โพสต์: 2141
ผู้ติดตาม: 2

UPDATE ศก ไทย Q2

โพสต์ที่ 1

โพสต์

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03
“เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ยังคงขยายตัวได้จากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน แต่ภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณชะลอลงโดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2555 ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดี”




นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ดี โดยมีแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศจากการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนมิถุนายน 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.3 สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมิถุนายน 2555 ที่ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 84.2 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 77.0 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.4




สำหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่องเช่นกัน สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 38.9 ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 22.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.0 เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 68.3 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 62.3 ในขณะที่ภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณชะลอลง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนมิถุนายน 2555 หดตัวร้อยละ -4.2 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 หดตัวร้อยละ -0.04 โดยเป็นการหดตัวของการส่งออกไปยังประเทศ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และฮ่องกง เป็นสำคัญ”




นายสมชัย กล่าวต่อไปว่า ในระยะต่อจากนี้ไป ประเด็นทางเศรษฐกิจที่ต้องจับตามองมี 2 ประเด็น คือ (1) ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดยังคงสะท้อนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มสหภาพยุโรปล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2555 ที่หดตัวร้อยละ -2.8 และอัตราการว่างงานของกลุ่มสหภาพยุโรปที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 11.1 และ




(2) ทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย ที่สะท้อนได้จากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากการชะลอตัวของการส่งออกและการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจอินเดียที่กำลังประสบปัญหาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.3 อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทย และเสถียรภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2555 สามารถขยายตัวได้ตามคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.7




นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกที่หดตัวในเดือนมิถุนายน 2555 โดยเฉพาะการส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปที่หดตัวในระดับสูงกว่าร้อยละ -17.6 ซึ่งการส่งออกที่ชะลอตัวนี้ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของไทย สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2555 ที่หดตัวร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน




“เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ยังคงขยายตัวได้จากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน แต่ภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณชะลอลงโดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2555 ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดี”





1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนมิถุนายน 2555 กลับมาขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.3 สอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.9 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.1





ขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนได้จากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 84.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 137.5 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 77.0 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.4 เนื่องจากกำลังการผลิตที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติและความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น




ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2555 หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 ตามการลดลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาคและยอดขายรถจักรยานยนต์ใน กทม. ที่หดตัวร้อยละ -4.5 และร้อยละ -2.8 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.3 และร้อยละ 20.9 ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยฐานสูงปีก่อนที่รถจักรยานยนต์ขยายตัวในระดับสูง ในขณะที่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.6 สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของประชาชนในระดับฐานรากฟื้นตัวดี





นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ระดับ 68.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 67.1 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง เป็นสำคัญ




2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 38.9 ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 22.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.0





ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 68.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 85.8 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 62.3 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.5 เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงกำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ




สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 39.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.8 ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 23.7 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้ซื้อมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย และการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.4


3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 พบว่า รายได้รัฐบาลจัดเก็บได้สูงขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน 2555 ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหัก การจัดสรรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) เท่ากับ 133.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.8 ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) เท่ากับ 620.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.8 สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2555 มีจำนวน 157.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 150.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -17.0 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 127.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -20.9 และ (2) รายจ่ายลงทุน 22.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 สำหรับรายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้ 7.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้การเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 เบิกจ่ายได้ 459.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -14.6 สำหรับฐานะการคลัง พบว่า ดุลเงินงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2555 เกินดุลจำนวน 157.3 พันล้านบาท จากรายได้นำส่งคลังที่สูงจากผลการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลงบประมาณในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 เกินดุล 169.1 พันล้านบาท


4. การส่งออกในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 มีสัญญาณชะลอลงตามสัญญาณแผ่วลงของเศรษฐกิจคู่ค้า โดยพบว่า การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน 2555 มีมูลค่า 19.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรป ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นใน การผลิตและจำหน่ายสินค้าในหลายประเทศ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย อาทิ ฮ่องกง สหภาพยุโรป มาเลเซีย แอฟริกา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น ทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ปรับตัวลดลงมากเป็นสินค้าในหมวดสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ลดลงร้อยละ -20.4 โดยเฉพาะข้าวหดตัวร้อยละ-50.1 ยางพาราหดตัวร้อยละ -32.6 กุ้งแช่แข็งและแปรรูปหดตัวร้อยละ -13.8 ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 57.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -0.04 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.9


สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน 2555 พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 20.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 18.2 โดยเป็นการนำเข้าในหมวดสินค้าเชื้อเพลิง และหมวดสินค้าทุน ที่เพิ่มขึ้น จากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้าสินค้า 62.8 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 9.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.4 ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐทำให้ดุลการค้าในเดือนมิถุนายน 2555 ขาดดุลอยู่ที่ -0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ขาดดุลการค้าที่ -5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ



5. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 พบว่า ดัชนีผลผลิตภาคการเกษตรและภาคบริการมีสัญญาณการฟื้นตัวได้ดี ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง โดยพบว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2555 ส่งสัญญาณการชะลอลง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2555 กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.1





โดยอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงมากจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ การปั่นการทอ และเครื่องแต่งกาย เนื่องจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีการเร่งผลิตหลังเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่น ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.5 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.8 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 102.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 106.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ภัยธรรมชาติ และวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม


อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่ในระดับที่เกิน 100 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่เครื่องชี้ภาคการเกษตรวัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.7 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น หลังจากได้รับจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ในขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตสุกร ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ตามสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของสัตว์เลี้ยง ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.0




ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 หดตัวร้อยละ -11.9 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.1 ทำให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ -9.1 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -10.8 สำหรับเครื่องชี้ภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.62 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ยุโรป และอาเซียน ที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 13.1 และ 3.4 ตามลำดับ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 4.81 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน





6. เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า (ค่า ft) เป็นสำคัญ ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มค่อนข้างคงที่จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวร้อยละ 2.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.0





สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคิดเป็นจำนวนคนว่างงานเท่ากับ 2.7 แสนคน ทำให้อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากไตรมาสแรกที่อยู่ที่ตัวร้อยละ 0.7 สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนเมษายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 42.4 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ในระดับสูงที่ 174.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
multipleceilings
Verified User
โพสต์: 2141
ผู้ติดตาม: 2

Re: UPDATE ศก ไทย Q2

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ม.หอการค้าไทยเผยผลวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดการค้าระหว่าง ปท. พบปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปรุนแรงขึ้นกระทบส่งออกไทย พร้อมคาดแนวโน้มทั้งปี 55 เติบโตได้แค่ 5.8% ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปี

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ดัชนีชี้นำการส่งออกเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการส่งออกจากวิกฤตยุโรป พบว่าการส่งออกของไทยส่งสัญญาณชะลอตัวจากปัจจัยต่างประเทศ ส่วนปัจจัยในประเทศยังดี คาดว่าการส่งออกไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง โดยภาพรวมการส่งออกปี 2555 ชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปีตั้งแต่ปี 2553 คาดว่าการขยายตัวตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 13

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปและการชะลอตัวของจีน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปกระทบต่อการส่งออกของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรงลดลงร้อยละ 1.6 จากยอดรวมการส่งออก หรือคิดเป็นมูลค่า 136,048 ล้านบาท ส่งผลกระทบทางอ้อมจากการที่ไทยส่งออกไปยัง 5 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน และอาเซียน ลดลงร้อยละ 1.9 ของการส่งออก หรือคิดเป็นมูลค่า 162,828 ล้านบาท หากรวมมูลค่าการส่งออกของไทยไปยุโรปต้องลดลงจากวิกฤตในครั้งนี้ 298,876 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 ส่วนแบ่งการตลาดในการส่งออกไปตลาดยุโรปลดลงร้อยละ 1.0

สำหรับสินค้าส่งออกที่ได้รับผลกระทบทางตรงถึง 10 รายการ มากสุดคือเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปีหากไทยต้องการส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายร้อยละ 5.8 แต่ละเดือนไทยต้องส่งออกให้ได้ 21,653 ล้านบาท
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
โพสต์โพสต์