"พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไทย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

"พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไทย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เพิ่มความแกร่ง แห่งเกราะศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติ ไปข้างหน้า

โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย (Thailand High Speed Rail)
อีกหนึ่งแนวคิดสำคัญ ที่ไทยพร้อมผลักดันให้เป็นจริง


ชื่อผลงาน: VDO Presentation ทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง PPPs
จัดโดยกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม (VDO Master Tape)
ดำเนินการโดย: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
ผลิตโดย: บริษัทดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

'ญี่ปุ่น-จีน'ชิงไฮสปีดเทรน เร่งศึกษาสองเส้นทางเชียงใหม่-ระยอง
วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2012 เวลา 23:12 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - Big Stories
101.jpg
2 ชาติมหาอำนาจออกตัวชิงเค้กโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย เล็ง 2 เส้นทางหลัก กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ระยอง ญี่ปุ่นมาแรงหอบข้อมูลพบรมว.คมนาคม เผยใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านเส้นตะวันออก ส่วนสายเหนือสูงถึง 4 แสนล้าน ฝ่ายจีนถามความชัดเจนแนวทางการดำเนินโครงการในเส้นทางต่างๆ ระบุปี 56พร้อมเปิดประมูลก่อนได้ใช้งานใน 10 ปี

นับจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งระดับรัฐบาล เอกชนและประชาชนในลักษณะทวิภาคี ครั้งนั้นบริษัทของจีนมีความสนใจลงทุนในไทยรวมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงด้วย โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างสองรัฐบาล ซึ่งมีเนื้อหาให้ทั้งสองฝ่ายจัดตั้งคณะกรรมการระดับรัฐมนตรี เพื่อประสานงานขยายผลการศึกษาด้านการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง อย่างไรก็ตามโครงการนี้ยังได้รับความสนใจอย่างสูงจากรัฐบาลญี่ปุ่นและมีความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนรุดหน้าฝ่ายจีน


-สองชาติสำรวจเส้นทาง
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเส้นทางที่จะเร่งผลักดันในเบื้องต้นมี 2 เส้นทางคือ เส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งล่าสุดหน่วยงานด้านการรถไฟฝ่ายจีนและญี่ปุ่นได้เข้ามาสำรวจแนวเส้นทางพร้อมเก็บรายละเอียดในการนำไปออกแบบความเหมาะสมเพื่อนำเสนอรัฐบาลไทยให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมารับผิดชอบโครงการนี้รับไปดำเนินโครงการต่อไป

ส่วนแนวการดำเนินโครงการ ในเบื้องต้นแนวคิดหลายฝ่ายล้วนเห็นว่าแนวทางที่ 1 รัฐบาลลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แล้วให้เอกชนเช่าพร้อมกับร่วมบริหารจัดการเดินรถในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) หรือการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่วนแนวทางที่ 2 สามารถตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาดำเนินการโดยอาจประเมินราคาที่ดินเป็นหุ้น แต่เอกชนต้องเป็นฝ่ายลงเงิน หรือบริษัทร่วมทุนนำไปยื่นกู้เงิน สำหรับแนวทางที่ 2 นี้ เป็นแนวทางที่ดำเนินการได้เร็วกว่า

ช่วงที่ผ่านมาการช่วงชิงระหว่างญี่ปุ่นกับจีนเป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งพบว่าฝ่ายจีนมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามเรื่องนี้โดยมีนาย เชี่ยง หมิงลี่(zheng mingli ) เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อร่วมทำงานกับฝ่ายไทยที่มีดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยยังไม่ได้เริ่มต้นดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นขณะนี้ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทJapan Railway Technical Service (JARTS)


-ญี่ปุ่นมาแรง
แหล่งข่าวเปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ ตัวแทนของฝ่ายญี่ปุ่นและจีนนัดหมายเข้าพบนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันเดียวกันแต่คนละเวลา โดยตัวแทนฝ่ายญี่ปุ่นเข้าพบนายจารุพงศ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมขอให้ญี่ปุ่นช่วยด้านการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นใน 2 เส้นทางคือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่และกรุงเทพฯ-ระยอง ขณะนี้ได้ส่งผลการศึกษาให้นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับทราบแล้วแต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกได้เพราะเกรงว่าจะมีการลอกเลียนแบบเนื่องจากคาดว่าจะมีอีกหลายประเทศสนใจเข้ามาดำเนินการศึกษาให้ตามแบบฉบับของแต่ละประเทศ

โดยข้อมูลเบื้องต้นของญี่ปุ่นใช้เงินลงทุนต่อกิโลเมตรประมาณ 600 ล้านบาท ความเร็ว 160 และ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วงกรุงเทพฯ-ระยองใช้แนวแอร์พอร์ตลิงค์ได้ทันที โดยจุดศูนย์กลางอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งแนวไฮสปีดยังจัดอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ โดยจะใช้สถานีพลูตาหลวงหรือสถานีบขส.ใหม่ที่ระยองเป็นสถานีเดโป มีจำนวน 6 สถานี คือ สถานีบางซื่อ มักกะสัน ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา และระยองคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565 มีผู้โดยสารใช้บริการกว่า 9,000 คนต่อวัน ใช้งบลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร วงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 214,791 ล้านบาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 15นาที

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดว่าใช้งบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาทต่อกิโลเมตรรวมวงเงินทั้งสิ้น 402,270 ล้านบาทแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือกรุงเทพฯ-พิษณุโลก(จะก่อสร้างให้เปิดใช้ก่อนในเฟสแรก)ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 55 นาที และพิษณุโลก-เชียงใหม่(ใช้เวลาประมาณ 1ชั่วโมง 30 นาที) มีจำนวน 12 สถานีคือบางซื่อ อยุธยา ลพบุรี บ้านตาคลี นครสวรรค์ ตะพานหิน พิษณุโลก บ้านดารา อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง และเชียงใหม่ โดยใช้สถานีเชียงใหม่และพิษณุโลกเป็นเดโป ความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการประมาณ 19,000 คนต่อวัน โดยช่วงเฟสแรกคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการประมาณ 12,745 คนต่อวัน


-จีนสำรวจกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
ขณะที่ฝ่ายจีนนั้น คณะทำงานฝ่ายจีนเดินทางไปสำรวจเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมาพบว่าฝ่ายจีนนำเสนอให้ก่อสร้างเป็นรางเดี่ยวก่อนในระยะแรก โดยมีขนาดอุโมงค์กว้างประมาณ 42 ตารางเมตรเพื่อรองรับความเร็วประมาณ 160 กิโลเมตร หรือ 33 ตารางเมตร เพื่อรองรับความเร็ว 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยพบว่าช่วงระหว่างสถานีหัวลำโพง บางซื่อ อยุธยา มีจุดตัดหลายแห่ง มีโค้งมาก จึงเสนอให้สร้างทางยกระดับ ส่วนสถานีเพื่อขนส่งสินค้าฝ่ายจีนขอทราบความชัดเจนว่าจะใช้ประโยชน์สถานีใดบ้าง

"เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็นทางราบโดยส่วนใหญ่ แต่ช่วงอุตรดิตถ์-เชียงใหม่ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวบ้างเนื่องจากผ่านย่านชุมชนจึงสร้างทางยกระดับกว่า 87% โดยขอรับการสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลประชากรในแต่ละพื้นที่จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)เพื่อสำรวจออกแบบต่อไป อีกทั้งฝ่ายไทยต้องศึกษาเองในเรื่องเวนคืนและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-หนองคายคณะกรรมการทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งหารือในเร็ว ๆ นี้โดยจะทำการศึกษาด้วยความเร็วที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งฝ่ายจีนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้ส่วนฝ่ายไทยรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมด"


-คมนาคมเนื้อหอม
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมาคณะผู้บริหารบริษัทไชน่าเรลเวย์กรุ๊ปจากประเทศจีนได้เข้าพบเพื่อแนะนำบริษัทและขอทราบแนวทางการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟ-รถไฟฟ้าในเส้นทางต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคมเพื่อเตรียมตัวในการเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างต่อไป

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ล่าสุด นายมาซาโตะ โอตากะ อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมคณะได้เข้าพบเพื่อติดตามความคืบหน้าโดยนำเสนอให้มีการก่อตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคร่วมกัน พร้อมกับติดตามโครงการต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่พบว่าไม่มีการจัดซื้อหัวรถจักรของประเทศญี่ปุ่นมาใช้ในประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งในเรื่องนี้ในอนาคตรัฐบาลอาจจัดซื้อรถเองเพราะหากซื้อจำนวนมากจะได้ต่อรองราคา พร้อมการแชร์อะไหล่ต่าง ๆ ได้ ซึ่งแตกต่างกับปัจจุบันที่รัฐไม่มีสิทธิ์คอนโทรลในเรื่องนี้ ได้แต่จ่ายผ่านเอกชนเช่นกรณีที่บีทีเอสดำเนินการอยู่ในขณะนี้


-เปิดประมูลปี 56
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการหารือในเรื่องรถไฟความเร็วสูงโดยได้กล่าวถึงความพร้อมของฝ่ายไทยในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้เรียบร้อยแล้ว

"จากผลการหารือทั้งสองฝ่ายเห็นว่าฝ่ายจีนจะมีการตั้งคณะกรรมการจำนวน 30 คนขึ้นมาดำเนินการศึกษารายละเอียดร่วมกับฝ่ายไทยเพื่อทำการสำรวจเส้นทาง กำหนดระยะเวลา 150 วันจะแล้วเสร็จ สำหรับการศึกษาในเบื้องต้นที่ควบคุมถึงรายละเอียดความเป็นไปได้ การลงทุน ซึ่งจะมีการนำเรื่องGDP มาพิจารณาเพื่อกำหนดเรื่องราคาค่าโดยสารให้เหมาะสมในครั้งนี้ด้วย นอกจากนั้นยังจะมีการออกแบบรายละเอียดเพื่อคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสม ส่วนฝ่ายไทยเร่งเตรียมศึกษาการเวนคืนควบคู่กันไปหากได้ข้อมูลเบื้องต้นจากจีนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหมดต้องแล้วเสร็จ เพื่อนำไปสู่การร่างทีโออาร์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในปี 2556 นี้"

ส่วนนายศิลปชัย จารุเกษมรัตน รองปลัดกระทรวงคมนาคมและในฐานะรักษาการปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวเสริมว่าในเร็ว ๆ นี้จะมีการเชิญคณะทำงานทั้ง 2 ประเทศมาประชุมเพื่อสรุปรายละเอียดในเบื้องต้นจากการสำรวจและการลงพื้นที่ทั้งในช่วงกรุงเทพฯ-ระยองและช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เพื่อนำรายงานผู้บริหารระดับสูงพิจารณาและนำไปสู่การดำเนินงานในขั้นตอนอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรต่อไป


-อีก 10 ปีได้ใช้ไฮสปีด
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า คาดว่าภายใน 10 ปีนี้จะได้ใช้บริการไฮสปีดเทรนเนื่องจากกระบวนการต้องใช้ระยะเวลานานไม่ว่าจะเป็นการศึกษาออกแบบรายละเอียด การประมูล การร่างทีโออาร์คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ก่อสร้างอีก 3-4 ปี การตรวจสอบและทดสอบอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือน อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้กระบวนการการเปิดประมูลยังไม่เริ่ม อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลและการก่อตั้งหน่วยงานขึ้นมาดำเนินการในเรื่องนี้ซึ่งความชัดเจนจากรัฐบาลยังไม่แน่นอนแต่อย่างใด

"ปัจจัยสำคัญหลักๆ ยังต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีคนฟันธง ต่อมาเป็นการพิจารณาข้อเสนอเพราะข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นต่อการตัดสินใจยังไม่สรุปชัดเจน นอกจากนั้นยังไม่ควรมองข้ามด้านเทคโนโลยีที่อาจเป็นการผูกขาดและไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน"


โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย
โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ในการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน โดยเริ่มมีการศึกษา ตั้งแต่ปี 2537 มีเป้าหมายในการก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้

ในปี 2547 รัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ ในสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ถือได้ว่าเป็นเมกะโปรเจ็กต์ แต่เนื่องจากเกิดการรัฐประหาร ทำให้โครงการสะดุดลง

ต่อมาปี 2551 พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาล โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศที่จะสานต่อโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วประเทศอีกครั้ง แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่ปกติ จากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้โครงการมีความคืบหน้าน้อยมาก

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 การเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรค และพรรคประชาธิปัตย์ สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ก็ได้สานต่อโครงการ ซึ่งก็มีความคืบหน้าไปอย่างมาก ในส่วนของแหล่งเงินทุน เส้นทาง โดยมีสองประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน คือ จีน และ ญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นสนใจที่จะลงทุนในเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ส่วนจีน มีความสนใจในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งขณะนั้น จีนก็ได้กำลังเจรจากับรัฐบาลลาว เพื่อสร้างทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งในอนาคตนั้นสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายได้เลย เนื่องจากจีนมีแผนวางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไปถึงสิงคโปร์ แต่ภายหลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลจีนและลาวมีปัญหา เนื่องจากรัฐบาลลาวเห็นว่า เงื่อนไขที่รัฐบาลจีนได้เสนอมานั้นเกินกว่าที่ลาวจะสามารถยอมรับได้ และเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ส่งผลให้โครงการรถไฟความเร็วสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยต้องสะดุดลง

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน กรอบการเจรจาดังกล่าว มีสาระสำคัญในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทย-จีน 5 ด้าน คือ 1.เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 2.เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 3. เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 4.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ 5.เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี

ปัจจุบัน เมื่อพรรคเพื่อไทยหรือพรรคพลังประชาชนเดิมกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ กับรัฐบาลจีน หนึ่งในนั้นคือโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลจีนมีความประสงค์ที่จะร่วมทุนกับรัฐบาลไทยในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางนี้

พ.ศ. 2555 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ 1 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 14-15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณส่วนหนึ่งให้สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย

กระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ภายหลังจากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางศึกษาดูงานระบบรถไฟความเร็วสูงจีน กระทรวงคมนาคมก็ได้ปรับลดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดใน 2 สาย ได้แก่สายเหนือและตะวันออก เพื่อความรวดเร็วในการก่อสร้างและการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับในสายเหนือ ที่ลดงบประมาณลงไปได้นับแสนล้านบาท


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,741 20-23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Siemens engineers venture in Khon Kaen
Published: 23/05/2012 at 09:36 AM Newspaper section: Business 25


Siemens AG has entered into a partnership with a Khon Kaen company to assemble passenger coaches in Thailand, marking the German train giant's first foray into local manufacturing.
390582.jpg

Grundmaan: B4.9bn bid for trains likely

This year or next, they will tender a bid of 4.9 billion baht or around 100 million to the State Railway of Thailand (SRT) to build 115 passenger trains, said Hans-Jorg Grundmann, the chief executive of Siemens' rail systems division.

He was speaking during a trip to Bangkok yesterday.

Siemens has agreed to set up a 50:50 joint venture with Cho Thavee Dollasien Ltd (CTV-Doll), which has its own factory in Khon Kaen.

Siemens' Thai partner has supplied dining cars in Thailand for many years and has a contract to refurbish SRT trains.

A memorandum of understanding for the partnership will be signed in Thailand this month, said Dr Grundmann.

CTV-Doll will be responsible for manufacturing, assembling and maintenance of the coaches; detailed engineering and assembling of the interiors using local materials whenever possible; and manufacturing complete car body shells including painting.

Siemens will complete the coach designs, provide technical assistance and supply complete bogies and other major components from Vienna.

"We've been in partnership talks with CTV-Doll for five or six years until the SRT came up with this project," said Dr Grundmann.

"This project is expected to draw stiff competition from Chinese, South Korean and Japanese train manufacturers. But Siemens is ready to be a pioneer in manufacturing rail vehicles in Thailand and hopes this collaboration will support the Thai government's vision of bringing international expertise to Thailand."

He met yesterday with Deputy Transport Minister Chatchart Sithipan, who invited Siemens to bid for the 200-kilometre Bangkok-Rayong high-speed train project.

The government is considering four high-speed train routes linking the capital including Chiang Mai, Hua Hin and Nakhon Ratchasima, but Mr Chatchart said the Rayong route is the most feasible.

Dr Grundmann said with 15 million residents in Greater Bangkok, the city can expect tremendous increases in its population. Half of Thais will live in urban areas by 2015, up from 20% now.

The Bangkok Mass Transit Development Plan calls for a construction of 12 mass transit lines covering a combine 545 kilometres of new track by 2019.

"With 500 people working in Thailand for Siemens, we're here to stay," he said.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

มาเร็วๆก็ดี ไม่ชอบนั่งเครื่องบิน ไม่ชอบนั่งรถทัวร์ ไม่ชอบขับรถเอง
jinyong
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมกลับมองว่าประโยชน์น้อยมาก
แล้วประเทศที่มีๆ อยู่ทั้งหลาย ส่วนมากก็ขาดทุน

เหมาะที่สุดสำหรับคนมีตังค์ แต่กลัวเครื่องบิน
อาจจะได้ลูกค้านักท่องเที่ยว ซึ่งก็คงเป็นบางฤดูกาล

เพราะราคาค่าโดยสารแพงกว่า เครื่องบิน low cost (ถ้ารัฐไม่อุ้ม)
ชาวบ้านทั่วๆ ไป คงไม่ได้ใช้บริการ + ระบบการขนส่งสินค้า ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์

งบประมาณมากขนาดนี้ ปรับปรุงรถไฟธรรมดาให้ดีขึ้น ทำให้เป็นรางคู่ ปรับเปลี่ยนรถโดยสาร (รุ่นใหม่ๆ ความเร็วก็ไม่น้อยแล้ว) จะเป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่า
เด็กฝึกงาน...
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ชอบโครงการนี้นะครับ
คิดว่าจะเปลี่ยนภาพประเทศไปได้มากโขเชียวๆ

แต่อย่าหลุดไปให้รถไฟไทยบริหารเด็ดขาด ไม่งั้น เรือ(ภาษาอังกฤษ=Ship)หาย แน่นอน
กลัวจะเป็นแบบ airport link ที่รถไฟไทยได้บริหารไป...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Frioniel
Verified User
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ถ้าสามารถพัฒนารถไฟไทยปัจจุบันได้ บ้างเราคงไม่ล้าหลังเรื่องระบบรางขนาดนี้ ทั้งๆ ที่เริ่มกิจการนี้ก่อนประเทศอื่นๆ เยอะมาก

ผมสนับสนุนให้มีโครงการนี้อย่างเต็มที่ เพราะจะได้ประโยชน์หลายอย่างมาก
คิดดูว่าถ้ามีจริงๆ ผมสามารถย้ายบ้านไปอยู่แถวๆ อยุธยา นครสวรรค์ แล้วนั่งรถนี้มาทำงานกรุงเทพได้ภายใน 1 ชั่วโมง
จะเกิดการกระจายถิ่นฐานการอยู่อาศัยไปได้อีกมาก พัฒนาประเทศได้อีกเยอะเลย

อย่าไปหวังกับรถไฟไทยปัจจุบันอีกเลย
It Always Seems Impossible Until It Is DONE!!!
Manitt
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

jinyong เขียน:ผมกลับมองว่าประโยชน์น้อยมาก
แล้วประเทศที่มีๆ อยู่ทั้งหลาย ส่วนมากก็ขาดทุน

เหมาะที่สุดสำหรับคนมีตังค์ แต่กลัวเครื่องบิน
อาจจะได้ลูกค้านักท่องเที่ยว ซึ่งก็คงเป็นบางฤดูกาล

เพราะราคาค่าโดยสารแพงกว่า เครื่องบิน low cost (ถ้ารัฐไม่อุ้ม)
ชาวบ้านทั่วๆ ไป คงไม่ได้ใช้บริการ + ระบบการขนส่งสินค้า ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์

งบประมาณมากขนาดนี้ ปรับปรุงรถไฟธรรมดาให้ดีขึ้น ทำให้เป็นรางคู่ ปรับเปลี่ยนรถโดยสาร (รุ่นใหม่ๆ ความเร็วก็ไม่น้อยแล้ว) จะเป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่า
ลองคำนวณตัวเลขที่ให้มาก็ไม่คุ้ม
ค่าโดยสารแำพงมาก แพงกว่าเครืื่ื่องบิน อย่างในต่างประเทศ

ถ้าใช้ขนส่งสินค้าได้ ก็ไม่รู้ว่าจะคุ้มไหม
panwasit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 430
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ประเด็นหลักๆ ของรถไฟ ที่ผมมอง คือ สภาพรถไฟ มันใหญ่เกินไป ทำให้รถไฟไม่เจริญ

ผมมองว่า ถ้าอยากให้รถไฟที่สร้างใหม่ ไม่ว่าจะเร็วแค่ไหนก็ตามดี

มันต้องเป็นของเอกชน ไม่ใช่ของรัฐ นะ ไม่งั้นเดียวเป็นเหมือนรถดีเซลอีก

ส่วนเรื่องทีว่า ทำแล้วดีไม ตอนนี้ดูไม่มีอะไรดี (เพราะคนชอบมองแต่เรื่องไม่ดี เช่น โกงกิน )

แต่ผมเชื่อว่า อนาคต ดีแน่ๆ ราคาก็น่าจะถูกกว่า "ใครๆก็บินได้" :mrgreen:

แล้วสุดท้าย ผมว่า รถไฟ ทั่วบ้านทั่วเมือง จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ของการแก้ไขปัญหารถติดในกทมนะ

ปล ความเห็นส่วนตัว
ปล ความเห็นส่วนตัว
ซากทัพ
Verified User
โพสต์: 393
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อยากให้คิดรอบคอบกว่านี้ เพราะจะใช้หนี้ตั้งแต่ยุคเราไปจนถึงลูกหลาน
หาเงินมาเท่าไหร่ก็คงถมไม่เต็ม ขุดทรัพยากรมาหมดก้อไม่พอค่าดอกเบี้ยบาน
ทำไมถึงอยากจะซื้อความเร็วด้วยราคาแพงขนาดนั้นหรือครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2913
ผู้ติดตาม: 10

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

โครงการนี้อย่ามองเฉพาะในประเทศครับ ตามแผนรถไฟความเร็วสูงนี้ มันเชื่อมโยงตั้งแต่เมืองจีน ยันใต้สุดคือสิงค์โปรและมาเลเซียเลยครับ ลองคิดดูว่าในเมื่อการเดินทางมันสะดวกสบาย การขนส่ง + การท่องเที่ยวจะเติบโตดีแค่ไหน เจ้าสัวธนินท์บอกว่า ถ้าจีนรวยขึ้นมา แล้วคนแค่ 10% เข้ามาเที่ยวเมืองไทย แค่นี้ก็ไม่มีโรงแรมพอให้เค้าอยู่แล้วครับ

อีกประการหนึ่ง เงินแค่ไม่กี่แสนล้าน เงินจำนวนนี้ ลดงบประมาณในการซื้ออาวุธแพงๆ ไม่กี่ปีก็ได้แล้วครับ รถไฟสายหนึ่ง ดังนั้นมันเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

ที่สำคัญกว่านั้น โครงการรถไฟนี้ รัฐเค้าไม่ได้อยากลงทุนเองนะครับ ก็เลยพยายามไปเจรจากับจีน และญี่ปุ่น ให้มาลงทุน โดยเป็นลักษณะของสัญญาสัมปทาน เราก็อยากได้ผลตอบแทนมาก ต่างชาติผู้มาลงทุนก็อยากได้ผมตอบแทนมากเหมือนกัน ดังนั้นต้องเจรจากันให้ดีครับ

แต่ยังไงผมยืนยันว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ ของแบบนี้ไม่มีก็ได้ครับ ไม่มีใครตาย เราจะอยู่แบบเดิมๆก็ได้ ก็นั่งรถไฟปุเลงๆ ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง เดินทางแค่จากกทม ไปเชียงใหม่ วันซวยๆอาจจะเจอนั่งยาว 24 ชั่วโมงกว่าจะถึงก็ได้ครับ แบบนี้ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องพัฒนา อยู่กันแบบเดิมๆ อนุรักษ์นิยม

แต่ผมว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศ เค้าไม่ได้ต้องการแบบนั้นครับ
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง

----------------------------
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 1

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ถ้านัการเมืองมันไม่โกง เช่น กรณีสุวรรณภูมิ ความขี้โกงของนักการเมือง
ทำให้มันทำในที่ที่ไม่ควร เอาหนองมาทำสนามบิน โกงทุกขั้นตอน
คลองด่าน ก็เป็นโครงการณ์ที่ปัญญาอ่อนเอามากๆ
สนามบิน ที่ประเทศไทยมีเต็มไปหมด สร้างทำซากอะไรนอกจากคิดแต่จะโกง
สิ่งปลูกสร้าง ถนน อีกหลายอย่างที่พวกมันคิดโกงอย่างเดียว
นักการเมืองไทย ประกอบด้วยพวกขี้ฉ้อ นักเลงอันธพาล
พวกโกหกตลบแตลง พอพวกมันคิดจะทำอะไรผมไม่ไม่เคยไว้ใจพวกมันเลย
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
tn143
Verified User
โพสต์: 229
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เป็นสิ่งที่อยากให้มี
เอาแค่มีความเร็วเชื่อถือได้ ก็บุญโข
คนไม่ต้องแออัดกันอยู่แต่ กทม.
ส่งของไม่พึ่งแต่รถบรรทุก แค่นี้ประเทศก็เปลี่ยนมโหราฬ

แต่คงไม่สำเร็จง่ายๆ ประเทศไทยมีแต่คนขัดขากันเอง
อย่างสนามบินเห็นๆว่า ความต้องการล้นหลาม
แต่จะขยายเฟส2-3 ไม่ใช่เรื่องง่าย

รัฐวิสาหกิจ ถ้าผูกติดกับระบบราชการ ก็ขยับตัวไม่ได้
ประสิทธิภาพก็ต่ำ ใครทำอะไรก็โกงหมดเลวหมด เลยเหลือแต่คนนั่งเฉยๆ

แต่ถ้าจะแปรรูปออกมา ก็โดนข้อหา็ขายชาติอีก (ส่วนที่แปรรูปแล้วเจ๊งไม่นับ)
อย่างรถไฟ แปรรูปตอนนี้ก็ไม่ได้ ขายไม่ได้ราคา
จะเพิ่มทุน ลงทุนใหม่ๆองค์กรก็เละเทะ
หรือถ้าจะตั้ง บ.ใหม่มาแย่งงานทำ รถไฟเดิมก็คงไม่ยอมอีก

คงวนกันอีกนาน
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 1

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ถ้าไม่รู้ต้องหาความรู้เพิ่ม
การคอรัปชั่นมีผลเสียมากกว่าที่คุณคิด
ประเทศไทยเมื่อ 20 ปีเจริญกว่ามาเลย์
เมื่อเราสร้าง infrastructure แพงกว่าประเทศอื่น
เราจะสร้างได้น้อยกว่า ต้นทุนในการใช้ก็จะสูงกว่า
ต้นทุนรวมของประเทสก็จะสูงกว่า
เพราะเงินทุกบาทที่นักการเมืองโกง
ก็ต้องมาจากภาษี ไม่ก็ทรัพยากรที่เราเอาไปแลกมา
รวมทั้งขาย รัฐวิสาหกิจถูกๆทิ้ง
ลูกหลานคนไทยจะลำบาก เพราะพ่อแม่ปล่อยให้นักการเมืองคอรัปชั่น
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
poppo
Verified User
โพสต์: 1356
ผู้ติดตาม: 0

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมว่ามีดีกว่าไม่มีแน่นอน เหมือนเมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมก็เคยคิดว่าทำไมต้องมีมือถือด้วยฟระ

ความสะดวกพอมันมาแล้วมันดีแน่ และช่วยเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตด้วย

สำคัญอย่าให้รถไฟไทยบริหารเด็ดขาด

ปล สงสัยเราต้องย้ายไปอยู่ประเทศที่ไม่มีนักการเมืองแล้วล่ะ จะได้ไม่โดนพวกแ_่งโกง 55555

ว่าแต่มีประเทศที่ไม่มีนักการเมืองด้วยป่าวหว่า
จงทนอด และอดทน
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สำรวจโครงการ อีสท์ - เวธส์ คอริดอร์ ที่จุดผ่านแดนแม่สอด จ.ตาก
Posted by ณดาว , ผู้อ่าน : 1280 , 18:33:26 น.

สืบเนื่องมาจากตอนรู้จักชุมชนมอเกอ ที่ทิ้งท้ายไว้ว่า จะเล่ารายละเอียดโครงการ อีสท์ เวธส์ คอริดอร์ ให้ฟัง ก็เลยมาตามสัญญา…
ewecmap02.jpg
อีสท์ เวธส์ คอริดอร์ หรือชื่อจริงว่า โครงการเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมพม่า ไทย ลาว เวียตนาม เส้นทางในแนว R9 ที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การสหประชาชาติ องค์การอาเซียน ตลอดจนกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยมีเส้นแนวสำคัญๆได้แก่

- โครงข่ายถนนจากย่างกุ้ง หรือ มะละแหม่งในพม่า ผ่าน แม่สอดของไทย พิษณุโลก ขอนแก่น มุกดาหาร เมืองสะหวันนาเขตของลาว เมืองลาวบาว ของเวียตนาม เมืองเว้ และดานัง ซึ่งมีท่าเรือน้ำลึกอยู่ที่นั่น

- โครงข่ายถนนย่างกุ้ง หรือ มะละแหม่งในพม่า ผ่าแม่สอด มาเปลี่ยนถ่ายเป็นระบบรางที่พิษณุโลก เพื่อมาลงเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง

-โครงข่ายถนนจากท่าเรือระนอง หรือท่าเรือปากบาราในอนาคต ผ่านวงแหวนรอบนอกของ กทม. นครราชสีมา ไปบรรจบกับโครงข่ายเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ที่จังหวัดขอนแก่น

- โครงข่ายถนนเชื่อมจาก ขอนแก่น ผ่าน นครราชสีมา อำเภออรัญประเทศ ปราจีนบุรี พนมเปญ และท่าเรือเมืองโฮจิมินห์...

อีสท์ เวธส์ คอริดอร์ เป็นโครงการสนับสนุนแผนงานหลักในการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นกรอบข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียตนาม และจังหวัดยูนานของจีน จะเป็นการเชื่อมต่อทางคมนาคมทางบกแห่งเดียวที่มีการเชื่อมเส้นทางบกระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเริ่มจาก พม่า ผ่านพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า ที่แม่สอด จังหวัดตาก ผ่านพิษณุโลก ขอนแก่น ไปยังเขตชายแดน ไทย-ลาว ที่จังหวัดมุกดาหาร และสวันนาเขตในเขตของลาว ยาวกว่า 200 กิโลเมตร จากชายแดนลาว เชื่อมต่อไปยังเวียตนามที่ดานัง

ด่านศุลการกรแม่สอด จังหวัดตาก ถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของโครงการนี้ มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองเมียววดี ซึ่งเป็นเมืองที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระเหรียงคริสต์ หรือ KNU ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางการเมืองกับรัฐบาลพม่า ทำให้รัฐบาลพม่าไม่ส่งเสริมให้มีการค้าชายแดนในบริเวณนี้ แต่เส้นทางการไหลเวียนสินค้าจากไทยไปสู่เมืองที่มีประชากรหนาแน่น อย่าง ย่างกุ้ง ผาอัน เมียวดี และ มะละแหม่ง ยังคงมีอยู่ ซึ่งนอกจากความสำคัญในการนำเข้า และส่งออกสินค้าแล้ว จุดการค้าชายแดนแม่สอด ยังมีความสำคัญในแง่การคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาคอินโดจีน

ซึ่งไม่เพียงเส้นทางขนส่งทางถนนเท่านั้น แต่โครงการยังรวมถึงโครงข่ายขนส่งทางราง และทางน้ำที่เชื่อมโยงจากฝั่งตะวันตกของพม่า ผ่านไทย ลาว กัมพูชา และเวียตนาม โดยโครงข่ายนี้จะเชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดีย กับมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งปัจจุบันการขนส่งส่วนใหญ่จะต้องอ้อมแหลมมลายู ดังนั้นหากโครงการเสร็จสมบูรณ์...(เขาว่า)จะมีประโยชน์อย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ

แต่โครงการก็มีข้อด้อย เพราะโครงข่ายต้องพึ่งการขนส่งทางถนนเป็นหลัก เพราะการพัฒนาของรูปแบบการขนส่งทางอื่นยังมีน้อย อีกทั้งโครงการ R9 ต้องพาดผ่านพม่า ซึ่งมีศักยภาพต่ำในการพัฒนาโครงข่าย ทำให้เส้นทางขาดความสมบูรณ์ อีกทั้งเส้นทางในช่วงที่ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ต้องผ่านพื้นที่ภูเขา ที่ค่อนข้างคดเคี้ยว ลาดชัน เช่นเดียวกับทางในช่วงจากลาวบาวถึงดานังในเวียดนาม ทำให้ขนส่งล่าช้า ส่วนเส้นทางที่ผ่านกัมพูชาโครงข่ายทางถนนและทางรถไฟก็มีสภาพทรุดโทรม

แต่เส้นทางนี้ก็มีจุดเด่นที่โครงข่ายถนนที่มีมาตรฐานสูงในไทย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายถนนในลาว และเวียดนามได้ โดยขณะนี้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร ได้เปิดใช้งานทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างสะดวก และโครงข่ายมีโอกาสในการพัฒนาให้สามารถเพิ่มมูลค่าแก่ไทยในการเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีนที่เด่นชัด

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีโอกาสที่ดีอย่างมากในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดจีน จากการพัฒนาโครงข่ายนี้


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/petpetpe/2 ... 13/entry-1
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เนรมิตที่พันไร่คลองเตย คมานาคนเปิดทาง
วันอังคารที่ 07 สิงหาคม 2012 เวลา 14:53 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate - คอลัมน์ : อสังหาฯ Real Estate
2501.jpg
คมนาคมปิ๊งไอเดียพัฒนาที่ดินเกือบ 1,000 ไร่ ย่านท่าเรือคลองเตย ผุดเมกะโปรเจ็กต์ 2 โครงการ เฟสแรกสร้าง "คอนเทนเนอร์เทอร์มินัล" ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางเรือขนาดเล็ก-กลางเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย เฟส 2

ขึ้นวอเตอร์ฟรอนต์ ศูนย์การประชุม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่และสถานที่พักผ่อนครบครัน สร้างจุดขายใหม่ประเทศไทย ผู้ว่าการ กทท.เผยเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาตุลาคมนี้ คาดตอกเสาเข็มปี 57

ร.ต.วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้พัฒนาพื้นที่ภายในการท่าเรือคลองเตยให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ เนื่องจากไทยมีศักยภาพด้านการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ดังนั้นจึงต้องใช้ความได้เปรียบนี้ให้เกิดประโยชน์โดยมองว่าโอกาสนี้ควรจะใช้การท่าเรือแห่งประเทศไทยที่คลองเตยให้มีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียงด้วยเรือขนาดเล็กและขนาดกลางให้เกิดศักยภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าจะปล่อยให้ท่าเรือไว้เฉยๆโดยไม่ใช้ประโยชน์เพราะภาวการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว

ทั้งนี้ กทท.มีแผนพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงโกดังที่ 1-9 มาสร้างประโยชน์ โดยเฟสแรกเตรียมพัฒนาพื้นที่ประมาณ 350-400 ไร่ ให้เป็นคอนเทนเนอร์เทอร์มินัล เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่ปัจจุบันยังมีความจำเป็นให้บริการที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งในแต่ละปีพบว่ามีปริมาณการให้บริการสูงกว่า 1 ล้านทีอียู หากพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพก็น่าจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นได้อีกซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้นตามไปด้วยโดยคาดว่าจะเพิ่มประมาณการขนส่งได้มากกว่าปีละ 1.5 ล้านทีอียูในระยะ 5 ปีแรกนี้

ผอ.กทท.กล่าวอีกว่าในระยะต่อไปยังมีแผนการพัฒนาพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ช่วงตั้งแต่โกดังที่ 1-6 รูปแบบ "วอเตอร์ฟรอนต์" จุดขายใหม่ของประเทศไทยตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นพื้นที่โกดังเก่า พัฒนาให้เป็นศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ที่ครบครันไปด้วยศูนย์การค้า มุมเพื่อการพักผ่อนบนพื้นที่ประมาณ 1 หมื่นตารางเมตร โดยเตรียมดึงหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตลอดจนกระทรวงหลัก ๆ เช่นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถานทูตประเทศต่างๆ ตลอดหน่วยงาน องค์การ มูลนิธิต่างๆ ตลอดจนสถาบันการศึกษาชั้นนำในแต่ละประเทศมาเปิดการแสดงนิทรรศการ การออกร้านจำหน่ายสินค้าของแต่ละประเทศในพื้นที่แห่งนี้ตลอดทั้งปี

โดยกทท.ได้ร่างแบบคร่าวๆ นำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)กทท.เห็นชอบแล้ว รูปแบบผสมผสานระหว่างศูนย์ประชุม-ศูนย์การค้า ที่แวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว มีมุมสวยๆ เพื่อการพักผ่อนพร้อมสถานที่เลือกซื้อ-ขายสินค้าหลากหลายประเภทที่มาจากแหล่งผลิตสำคัญๆทั่วประเทศและทั่วโลก โดยจุดขายอีกด้านหนึ่งคือการท่าเรือฯพร้อมให้บริการนำเข้า-ส่งออกจุดเดียวเบ็ดเสร็จในโครงการดังกล่าวเพื่ออำนวยความสะดวกด้านส่งออกไปต่างประเทศทางเรือเพื่อให้เชื่อมโยงกับแหล่งผลิตประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ สิ่งสำคัญยังเปิดให้บริการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การเข้าถึงพื้นที่ได้ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเตรียมทาบทามเรือด่วนให้บริการลูกค้ารองรับเอาไว้ด้วย แต่สิ่งที่กทท.คาดหวังไว้คือต้องการให้มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่คลองเตยและใกล้เคียงดีขึ้นตามไปด้วย

"กทท.เตรียมเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการในงานครบรอบ 100 ปีกระทรวงคมนาคมเร็วๆ นี้ หลังจากนั้นจะขออนุมัติพัฒนาให้เป็นจุดขายใหม่ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยต่อไป โดยในเบื้องต้นกทท.พร้อมจะลงทุนเอง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณในโครงการนี้ไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท เพราะเน้นไปที่การให้ใช้พื้นที่เป็นหลักแต่ต้องดูแนวทางของกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลอีกครั้งว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร เพราะดำเนินการพัฒนาทีละเฟส เฟสละไม่เกิน 1,000 ล้านบาทจึงไม่เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนและกทท.ต้องการลงทุนเองมากกว่า" ร.ต.วิโรจน์ กล่าวและว่า

โครงการตามแผนพัฒนาดังกล่าวจัดเป็นส่วนหนึ่งในผลการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริเวณท่าเรือกรุงเทพที่ได้มีการศึกษาแล้วเสร็จเมื่อปี 2553 ดังนั้นกทท.จึงเตรียมเซ็นสัญญากับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและออกแบบรายละเอียดพร้อมจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป

"กทท.ต้องการยกระดับตนเองให้เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากกว่าจะปล่อยพื้นที่ให้เช่าแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์ทั้ง 2 โครงการจึงถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรที่มีอยู่ มากกว่าจะทำให้มูลค่าเพิ่มสินทรัพย์ด้อยค่าลงไปเรื่อยๆพร้อมกับการเร่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรกทท.ขึ้นมารองรับการพัฒนาในรูปแบบบริษัทลูกเพื่อให้การบริหารจัดการด้านสินทรัพย์เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็ว เช่นเดียวกับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการ โดยเตรียมหารือกับผู้เชี่ยวชาญหลายๆฝ่ายเพื่อร่วมผลักดันโครงการนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการด้านทีโออาร์อีกทั้งยังได้รับงบแล้วประมาณ 80 ล้านบาทเพื่อเซ็นสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาได้ในเดือนตุลาคมปีนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีโดยต้องการที่จะตอกเข็มอย่างเป็นทางการในปี 2557"


ที่มา : http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=478
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

สถานีรถไฟหัวหินโฉมใหม่ : โครงการรถไฟทางคู่ นครปฐม-หัวหิน 27 สถานี 165 กิโลเมตร
huahin-station-1024x723.jpg
สถานีรถไฟและที่หยุดรถทั้งหมด ในปัจจุบันช่วงนครปฐม – หัวหิน ในระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 27 สถานี มีที่หยุดรถไฟและป้ายหยุดรถไฟ 4 แห่ง โดยสถานีส่วนใหญ่เป็นสถานีชั้น 4 มีจำนวนถึง 18 สถานี เป็นสถานีชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 จำนวนชั้นละ 2-3 สถานี ในการกำหนดจำนวนสถานีรถไฟ ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับผลการทบทวนแผนการเดินรถ การให้บริการและสภาพพื้นที่ปัจจุบัน โดยมีแนวทางหลักการเบื้องต้นอย่างน้อยดังนี้

1. จำนวนสถานีมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการเดินรถ
2. จำนวนสถานีที่มีการใช้งานอยู่เดิมต้องคงไว้ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติรวมถึงมีการออกแบบปรับปรุงสถานีเดิมหรือสร้างอาคารสถานีใหม่ให้สามารถรองรับระบบรถไฟรางคู่ได้
3. สถานีที่จะเพิ่มหรือสร้างใหม่ให้อยู่ในเขตทางของการรถไฟหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินหรือการทำให้เกิดผลกระทบต่อโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด


ที่มา : http://www.nakornpathom-huahin.com/%E0% ... %E0%B8%9F/
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

'ปู'ไฟเขียวไฮสปีดเทรน [ ข่าวสด, 17 ส.ค. 55 ]

นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานโยบายนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ
นี้ ได้นำเสนอข้อมูล และความจำเป็นในการลงทุนรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ของประเทศ
ไทยให้กับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้ว โดยนายกฯ เห็นด้วยในการเดินหน้า
โครงการ โดยภายในปีนี้กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เพื่อให้สามารถดำเนินการเปิดประมูลนานาชาติ (International Bidding) โดยให้บริษัทจาก
ประเทศต่างๆ เสนอเงื่อนไขเข้ามาในต้นปี 2556 โดยขณะนี้มี 4 ประเทศที่แสดงความสนใจใน
การเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างโครงการได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

"พันศักดิ์ วิญญรัตน์" ชู Magic Number ชงรถไฟไฮสปีดทะลุยุโรป
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555


"ตอนอายุ 10 ขวบผมเรียนอยู่วชิราวุธวิทยาลัย อ่านหนังสือพิมพ์ว่า เมืองไทยจะมีสายการบินแห่งชาติ จะมีนักบินของตัวเอง...ผมแทบช็อก แต่ตอนนี้เราก็มีการบินไทยมา 52 ปีแล้ว"

นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 3 คน 3 ยุค กล่าวเกริ่นก่อนที่จะขึ้นเค้าโครงนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย ในนามโครงการ "Value Creation From Thailand"s High Speed Train"

เขาบอกว่า ภายใน 6 ปี ทุกอย่างเกิดขึ้นในเฟดแรกแน่นอน "เพราะนายกฯคุยกับทุกฝ่ายตกลงกันหมดแล้ว" นั่นหมายถึงคู่ค้าอย่างญี่ปุ่น-จีน ต่างร่วมรับรู้โครงการรถไฟไทย-จีนอย่างลึกซึ้งด้วย

รถไฟความเร็วสูง ในฐานะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 23 สิงหาคม 2554 ในข้อ 3.4 ตั้งใจให้เกิด 4 สาย อาทิ กรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-พัทยา ระยอง และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

รวม 4 เส้นทาง 1,447 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 481,066 ล้านบาท เดินทางเฉลี่ยเร็วที่สุด 1 ชั่วโมง นานที่สุด 3 ชั่วโมงกว่า

พันศักดิ์บอกว่า ตัวเลขเป้าหมายการเกิดขึ้นของ 2 อภิมหาโปรเจ็กต์ อย่างรถไฟความเร็วสูง กับทวายโปรเจ็กต์ เป็นตัวเลข 6 ซึ่งเป็น "magic number"

โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า รถไฟความเร็วสูงมีเป้าหมาย 6 เส้นทาง เสร็จเฟดแรกใน 6 ปี สอดคล้องกับทวายโปรเจ็กต์ ที่จะแล้วเสร็จเฟดแรกสมบูรณ์ภายใน 6 ปี ทั้ง 2 โครงการจะเกิดขึ้นและสำเร็จพร้อมกันภายในเลข 6-magic number

"ต้องทำให้ได้ และทำให้เกิดขึ้นก่อนที่เศรษฐกิจของโลกจะโงหัวฟื้นขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ...ผมไม่เชื่อว่าภายใน 6-7 ปี ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปจะฟื้นตัว"

"ถ้ารถไฟความเร็วสูงเกิด รายได้ประชาชาติและฐานภาษีจะเพิ่มขึ้น สามารถใช้หนี้ในการลงทุนได้ มีเงินลงทุนใหม่ ๆ ให้กับประเทศ"

เขาเชื่อว่าภายใน 10 ปี จะได้เห็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมงถึงเมืองจีน จากนั้นสามารถเชื่อมการเดินทางต่อไปถึงยุโรปได้ภายใน 4 วัน

แผนการที่ "พันศักดิ์" วาดไว้คือ จากนี้ไปอีก 5 เดือน จะมีการจัดงาน Exhibition แสดงตัวอย่างรถที่จะนำมาเดินใน 4 เส้นทาง พร้อม ๆ กับการเปิด international bidding-เปิดประมูลระดับนานาชาติ ในช่วงต้นปี 2556 คาดว่าจะมีนักลงทุน ทั้งจีน-เกาเหลี-ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เข้าร่วมคับคั่ง

"ความจำเป็นที่โครงการนี้ต้องเกิดขึ้น ไม่ได้เป็นความฝันของผม หรือของรัฐบาล แต่เป็นความจำเป็นระดับการเปลี่ยนโครงสร้างรายได้ และเศรษฐกิจของประเทศ" พันศักดิ์กล่าว

หากโครงการไม่ถูกขัดขวางจากความไร้เสถียรภาพของการเมือง การขาดหลักนิติรัฐ ประเทศไทยจะเป็น hub ของเอเชีย

พันศักดิ์เปรียบเทียบว่า โครงการหลายอย่างที่เคยเป็นไปไม่ได้ ก็เป็นไปได้มาแล้ว ซึ่งเป็นไปตามคำสอนของพระเจ้าที่ว่า Nothing is permanent in this wicked world not even our troubles.

"เมืองไทยพึ่งพาการส่งออกสินค้าอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะได้ทำหน้าที่ขนส่งความสด-ใหม่ ไปถึงมือนักบริโภคทั่วโลก ด้วยรถไฟความเร็วสูง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 1

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

Magic Number ตัวแรก คือ 6 ปี
Magic Number อีกตัวคือ 2 ... รัฐบาลครับ (สมัยละ 4 ปี)

เอาใจช่วยนะครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป

-จีรนุช เปรมชัยพร
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

โลจิสติกส์สยายปีกคุมอาเซียน 'เอสซีจี' แนะรัฐเร่งระบบราง ทริพเพิลไอเร่งขยายบุกเอเชีย [ โพสต์ทูเดย์, 21 ส.ค. 55 ]

เอสซีจีแนะรัฐเร่งแก้ขนส่งระบบราง ลดต้นทุนขนส่งสู้ศึกโลจิสติกส์ อาเซียน ด้านทริพเพิลไอ
เร่งขยายเส้นทางเอเชีย

นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี เปิดเผยว่า
รัฐบาลควรเร่งปรับปรุงระบบขนส่งแบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยควรเชื่อมต่อระบบรางกับการขนส่ง
ทางบกและทางเรือเข้ากันให้ได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านระบบโลจิสติกส์ของไทย ให้มีขีดความสามารถเทียบ
ชั้นรายใหญ่ในประเทศใกล้เคียง รองรับการเปิดเสรีอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

แหลมฉบังเฟส 3 เจอตอจ่อหาที่ใหม่ [ ไทยรัฐ, 22 ส.ค. 55 ]

รต.วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่
ปรึกษาอยู่ระหว่างขอขยายเวลาการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ออกไปอีก เพราะ
เกิดปัญหาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กทท.จึงเตรียมแผนสำรองเพื่อจัดหาพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก
แห่งใหม่ หรืออาจขอใช้พื้นที่ของกองทัพเรือที่เกาะเสม็ด ซึ่งเคยเป็นท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และกทท.เคย
บริหารมาก่อนจะมีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เร่งสร้างระบบขนส่งรับเออีซี [ เดลินิวส์, 28 ส.ค. 55 ]

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหารือเพื่อวางแผนการจัดเส้นทาง
คมนาคมรองรับประชาคมอาเซียนว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดทำแผนเส้นทางคมนาคมเชื่อมประเทศ
เพื่อนบ้าน เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยเน้นเส้นทางเชื่อมระหว่างประตูการค้าชายแดนหลัก 8 แห่ง
ไปยังประตูการค้าหลักของประเทศ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง และสนามบินสุวรรณภูมิ เบื้องต้นคาดว่า จะต้อง
ดำเนินโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนน รถไฟ รวม 75 โครงการ วงเงิน 1.1 ล้านล้านบาท
ระยะเวลาโครงการปี 56- 63 คาดแผนจะสรุปแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ทุ่ม1.1ล้านล.เชื่อมระบบคมนาคม [ ข่าวสด, 28 ส.ค. 55 ]

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดทำ
แผนการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางฐานการผลิตการเกษตร อุตสาหกรรมและ
ท่องเที่ยว คาดว่าจะใช้งบประมาณดำเนินการระหว่างปี 2556-2563 จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท
ใน 75 โครงการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

เดินเครื่องรถไฟความเร็วสูง2เส้นทาง [ มติชน, 28 ส.ค. 55 ]

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
(สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ารถไฟฟ้าความเร็วสูงว่า ในเดือนตุลาคมนี้ จะสามารถลงนามกับ
บริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษา ออกแบบโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-
พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-หัวหิน หลังจากนั้นจะใช้ระยะเวลาศึกษาพร้อมเข้าสู่กระบวนการพิจารณา
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ประมาณ 14 เดือน คาดว่าจะประกวดราคาได้ในปี 2557
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

หนุนปรับโฉมราชดำเนินถึงวัดพระแก้วดึงต่างชาติ [ เดลินิวส์, 4 ก.ย. 55 ]

นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า
เอกชนสนันสนุนแนวคิดของภาครัฐที่ต้องการปรับปรุงถนนราชดำเนินเป็นถนนท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ โดย
ย้ายหน่วยงานราชการบางหน่วยงานไปอยู่พื้นที่อื่นแทน และหากเป็นไปได้เอกชนอยากเห็นรัฐบาลขยาย
โครงการปรับปรุงอาคารสถานบริเวณถนนราชดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่
เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพฯ รวมทั้งขยายการปรับปรุงไปจนถึงบริเวณโครงการก่อสร้างสถานี
รถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้สึกถึงความต่อเนื่องของบรรยากาศแหล่งท่องเที่ยว
ตั้งแต่ทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินไปถึงทั่วถนนราชดำเนิน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ผุดนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก 4 แห่ง [ ไทยรัฐ, 6 ก.ย. 55 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อ
เตรียมจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในภาคตะวันอก 1 แห่ง และมีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมยื่นขอตั้ง
นิคมใหม่อีก 3 แห่ง รวมเป็น 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.นิคมอุตสาหกรรมพลาสติก ที่ กนอ.ศึกษาร่วมกับ
สถาบันพลาสติก เพื่อสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมพลาสติกตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ โดยใน
จังหวัดระยองเป็นแหล่งผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นต้นน้ำ ก็จะได้เชื่อมกับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งอาจตั้งนิคม
อุตสาหกรรมพลาสติกที่ จ.ระยอง เพื่อให้ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ และจะจัดตั้งได้ภายใน 1-2 ปี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ทวงสัญญาศูนย์กลางโลจิกสติกส์ เอกชนโวย"ยิ่งลักษณ์" มีแต่แผนไร้การปฏิบัติจริง [ ไทยรัฐ, 6 ก.ย. 55 ]

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยภาย
หลังการสัมมนาเรื่อง"หัวใจการบริหารจัดการโลจิสติกส์กับการรับมือ AEC" จัดโดยกรมส่งเสริมการส่งออก
ว่า การพัฒนาโลจิสติกส์ทั้งด้านการลดต้นทุนการจัดการและการสร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนจะ
ประสบความสำเร็จได้ต้องบูรณาการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานและให้ทำงานอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญต้อง
ยกระดับโลจิสติกส์ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งได้รับการตอบรับจากรัฐบาลชุดที่ผ่านๆมา เช่นเดียวกับรัฐบาล
ปัจจุบันที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยรับปากกับภาคเอกชนนานแล้วที่จะผลักดันเรื่องนี้ แต่จน
ถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: "พระรามทรงกลด" กับ "ปักษาวายุภักษ์...รถไฟความเร็วสูงของไ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

จีนส่งผลศึกษารถไฟความเร็วสูง2สายแรก"หนองคาย-เชียงใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ : 30 ต.ค. 2555 เวลา 09:37:44 น.


แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้รับมอบผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย จากประเทศจีนที่ศึกษาให้ โดยทางจีนให้ทางกระทรวงคมนาคมพิจารณาว่า ข้อมูลจากผลการศึกษานั้นมีอะไรที่ผิดพลาดและต้องเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่

ในข้อสรุปของผลการศึกษา ทางจีนเสนอให้รัฐบาลไทยลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 679 กิโลเมตร เงินลงทุนก่อสร้าง 229,809 ล้านบาท เป็นลำดับแรก โดยมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 13%

แต่ให้เริ่มดำเนินการนำร่องก่อนช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทางประมาณ 81.8 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้างประมาณ 440 ล้านบาทต่อกิโลเมตร หรือมูลค่าก่อสร้างรวมอยู่ที่ 35,992 ล้านบาท เพื่อเป็นรางทดสอบ

จากนั้นถึงจะดำเนินการก่อสร้างเฟสต่อไปจนถึงจังหวัดพิษณุโลก ระยะทาง 328 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 121,014 ล้านบาท และสายอีสาน เส้นทางจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร เงินลงทุนก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท ให้สร้างถึงแค่โคราชก่อน ระยะทาง 256 กิโลเมตร เงินลงทุน 96,826 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับแนวเส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีนั้น เนื่องจากสถานีอยุธยาเป็นสถานีเก่าและเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ทางจีนได้เสนอการสร้างสถานีรถไฟความเร็งสูงที่สถานีอยุธยา โดยแนะเส้นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยง 3 เส้นทางคือ 1.ตั้งสถานีไว้จุดเดิม 2.เลื่อนสถานีลงมาทางด้านใต้สถานีเดิมอีกประมาณ 2.3 กิโลเมตร และ 3.เบี่ยงมาทางด้านตะวันออกของสถานีเดิมอีกประมาณ 4.7 กิโลเมตร

ทั้งนี้ประเมินจากทั้ง 3 ทางเลือก มีแนวโน้มสูงจะเป็นแนวทางที่ 2 คือสร้างลงมาด้านใต้สถานีเดิมอีก 2.3 กิโลเมตร ส่วนรูปแบบโครงสร้างออกแบบเป็นทางยกระดับตั้งแต่สถานีบางซื่อ-รังสิต จากนั้นลดระดับอยู่บนดินจนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา

"การลงทุนยังไม่ชัดเจน เนื่องจากทางกระทรวงการคลังไม่ต้องการใช้เงินกู้จากรัฐบาลจีนที่จะให้กู้ แต่จะใช้เงินกู้ในประเทศแทน รูปแบบการลงทุนไม่น่าจะแตกต่างจากเดิม ๆ คือให้เอกชนมาร่วมลงทุนรูปแบบ PPP โดยรัฐจ่ายค่าก่อสร้างงานโยธา และให้เอกชนมาลงทุนระบบอาณัติสัญญาณ ส่วนใครจะมาบริหารโครงการนั้น ตอนนี้ทางรัฐบาลเองยังไม่ชัดเจนเช่นกันว่าจะตั้งบริษัทลูกหรือองค์กรขึ้นมาต่างหากหรือไม่" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับประเด็นเรื่องการลงทุนหรือแหล่งเงินนั้นยังพอมีเวลาบริหารจัดการ เนื่องจากปัจจุบันยังเป็นแค่การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ตามกรอบของแผนยังต้องศึกษารายละเอียดอีกในปี 2556 เพื่อเปิดประมูลก่อสร้าง และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
โพสต์โพสต์