เกี่ยวกับ Working Capital

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
rafflesia
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ working capital ครับผม
ผมเข้าใจว่าถ้าค่านี้ยิ่งน้อย หรือยิ่งติดลบ ยิ่งดีใช่ไหมครับ
เพราะว่ามีเจ้าหนี้การค้ามากกว่าลูกหนี้ ทำให้ใช้เงินหมุนเวียนน้อย
ส่งผลทำให้กระแสเงินสดเยอะขึ้น แสดงว่าบริษัทมีกระแสเงินสดที่ดี
ผมเข้าใจถูกต้องรึเปล่าครับผม
vrVI ระบบข้อมูลเพื่อนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน เครื่องมือคำนวณต่างๆ
https://www.facebook.com/VRVIclub
ภาพประจำตัวสมาชิก
xavi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมไม่รู้แบบลึกซึ้งเท่าไรนะครับ แต่ขอช่วยตอบ :mrgreen:

ค่า Working Capital เป็นบวกดีกว่าเป็นลบครับ เพราะใช้เป็นตัวดูความสามารถของกิจการแบบเร็วๆครับ

เพราะ WC คิดจาก Current Assets - Current Liabilities ครับ
Current Assets ไม่ได้มีแค่ลูกหนี้การค้า แต่ยังมีพวก Cash, Short term investment, Inventory ด้วยครับ ถ้ามีมากกว่า Current Liabilities ซึ่งเป็นหนี้ที่ต้องจ่ายภายในปีนั้นๆ ก็แปลว่าธุรกิจนี้ดำเนินต่อไปได้ครับ

และหากกิจการของเราเติบโตต่อเนื่อง มี Growth เยอะ โดยส่วนใหญ่ WC ก็จะโตขึ้นเรื่อยๆด้วยครับ เพราะเราจะมีลูกหนี้เยอะขึ้น มีเงินสดเยอะขึ้น Inventory เยอะขึ้นด้วยครับ

ส่วนละเอียดๆต้องรอเซียนบัญชีมาแนะนำนะครับ :D
LA-Z-BOY
Verified User
โพสต์: 571
ผู้ติดตาม: 3

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมพอรู้snakeๆfishๆนะ , ผมเข้าใจเหมือนคุณ xavi ครับ

Working Capital ยิ่งน้อยยิ่งดี concept คล้ายๆ cash conversion cycle
แต่ต่างกันที่ Working Capital ไม่ควรติดลบ เพราะถ้าติดลบจะเสี่ยงต่อการshortเงิน เมื่อถึงกำหนดจ่าย current liability (ยกเว้น ติดลบได้เป็นครั้งคราว ถ้าชัวร์ป้าปว่าเดี๋ยวเงินจะเข้าทันเวลาจ่ายหนี้ หรือชัวร์ว่าสามารถกู้สั้นๆจากธนาคารได้ พวกติดลบเป็นครั้งคราวมักเป็นกิจการที่ยอดขายคาดการณ์ได้แม่น และเก็บหนี้ได้แน่นอน เช่น working capital ของ CPALL เคยติดลบหนักๆตอนปี 2007 จากนั้นก็ดีขึ้นมาตลอด ปล.ไม่มีหุ้นแต่เห็นว่าเป็นตัวอย่างของการมี working cap ติดลบได้ดี)
http://www.investopedia.com/terms/w/wor ... z1yZcgfXBo

การ interpretation Working Capital ที่มีความหมายมากกว่าดูตัวมันเองเดี่ยวๆคือ เอาไปเทียบกับ Revenue ครับ เพราะ Working Capital มีไว้เพื่อ generate revenue
http://www.investopedia.com/terms/w/wor ... z1yZcgfXBo

Financial Ratios มีหลายกลุ่ม เวลาตีความควรดู cross check กัน
เช่น ROE สูง ควรเหลือบไปดู D/E ด้วย ถ้า D/E ต่ำ อันนี้แปลว่า ROE ที่สูงนั้นมีคุณภาพ นักลงทุนและผู้ให้กู้มักให้ premium กับกิจการแบบนี้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
rafflesia
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขออนุญาตนำบางส่วนที่ได้คุยกับคุณพรชัย และ คุณnut776 มาแปะนะครับผม

คุณพรชัย บอกว่า
" จริงๆน่าจะบอกว่าธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะในการสร้างยอดขายจะดี
แบบค้าปลีกที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เพราะขายเงินสด แต่ซื้อเชื่อ เหมือน supplier ช่วยลงทุนให้ส่วนนึง หรือธุรกิจที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรอยู่เรื่อยๆ แต่ในกรณีเงินทุนหมุนเวียน คือมันเป็น current asset – current liabilities อย่างค้าปลีก เรารู้ว่ามันขายของหมุนเวียนได้เร็วเลยไม่ได้มี inventory เยอะและขายสดเลยไม่ได้มีลูกหนี้ และ current liabilities ก็เป็นเจ้าหนี้การค้า ยิ่งเครดิตเทอมนานก็ยิ่งตัวเลขเยอะ ตัวเลขติดลบก็เลยดี แต่ถ้าเราดูธุรกิจทั่วไป เงินสดก็มาจากการเอาสินค้าคงเหลือไปขายและเก็บเงินสดจากลูกหนี้ และหนี้สินหมุนเวียนหลายๆครั้งก็เป็นหนี้ธนาคารด้วย ด้วยเหตุผลเรื่องสภาพคล่อง การมีตัวเลขเป็นบวกจะดีกว่า แต่ถึงเป็นบวก มันก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะยังไงมันก็ไม่ใช่เงินสด ลูกหนี้อาจเบี้ยว สินค้าอาจด้อยค่า แต่ยังไงถ้าเราดูเฉพาะตัวเลขนี้ พูดโดยทั่วไป เป็นบวกจะดีกว่าครับ คือถ้าพูดถึงเงินลงทุน ที่บอกว่ายิ่งใช้น้อยในการสร้างยอดขายยิ่งดี เราจะไม่นับเจ้าหนี้การค้า เพราะส่วนนี้ เป็นส่วนที่เราไม่ต้องใช้เงิน supplier ออกให้ไปก่อน"

คุณnut776 บอกว่า
"นิยามของ wc ไม่เหมือนกันในแต่ละที่ ลองหาข้อมูลดูคับ
บางที่ไม่นับ เงินสด บางที่ไม่รวม short term inerest bearing debt
การมอง wc นอกจากในมิติของ fcf หรือ cash cycle
มิติที่พี่ วิบุลย์ มองคงมองในแง่ current ratio มากกว่า
และต้องการจะให้ศึกษา nature ของธุรกิจ ให้สอดคล้ งด้วยคับ
ถ้า wc ติดลบ current ratio จะต่ำกว่า1
ถ้าต่ำมากจะสะท้อนความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีคิด wc อย่างที่บอกด้วยคับ"
vrVI ระบบข้อมูลเพื่อนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน เครื่องมือคำนวณต่างๆ
https://www.facebook.com/VRVIclub
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 3

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เข้าใจให้ตรงกันก่อนนะครับว่า เราให้คำจำกัดความว่า Working Capital = Current Assets - Current Liabilities ซึ่งถือว่าเป็นการวัดสภาพคล่องของบริษัท อีกตัวหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักการเงินและนักลงทุน คือ current ratio = Current Assets / Current Liabilities

ทางทฤษฎี ค่ายิ่งสูงเท่าไรก็ตีความหยาบ ๆ ได้ว่า บริษัทมีโอกาสที่จะขาดสภาพคล่องทางการเงินน้อยกว่าเท่านั้น

แต่ในทางปฏิบัติ หากเราต้องการดูสภาพคล่องจริง ๆ เราจำเป็นต้องดูลงไปในรายละเอียด ซึ่งยากกว่านะครับ ว่า..........
ประมาณการยอดขายสินค้าหรือบริการในอนาคคตเป็นอย่างไร
คุณภาพลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร เก็บหนี้ได้ไหม มีลูกหนี้เน่าไหม
คุณภาพสินค้าคงคลังเป็นอย่างไร มีสินค้าเน่าเสีย ล้าสมัยหรือไม่
ประมาณการค่าใช้จ่ายในอนาคตของบริษัทเป็นอย่างไร มีการลงทุนหรือรายจ่ายใหญ่ ๆ ที่ผิดปกติไหม
เจ้าหนี้ต่าง ๆ มีโอกาสยกเลิกวงเงินที่เคยให้เครดิต หรือไม่

สรุป คือ บริษัทจะมีการแผนบริหารเงินสด ครับ คือจะมีการทำประมาณการ cash flow ล่วงหน้า ซึ่งสำคัญกว่า และที่ว่าสำคัญกว่า ก็เพราะบริษัทจำเป็นต้องมีเงินสดไว้เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการตลอดเวลา ขาดเงินเมื่อไร บริษัทจะมีปัญหาทันที ดังคำกล่าวที่ว่า ขาดทุนอยู่ได้ ขาดเงินอยู่ไม่ได้ ครับ
chansaiw
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 710
ผู้ติดตาม: 3

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 6

โพสต์

สำคัญคือ change in working cap ถ้าไม่ต้องใช้เงินตัวเองเข้าไปเพิ่มเลยจะดีที่สุด บางที wc ติดลบแต่บริษัทสามารถหมุนเวียนเงินได้ก็ไม่ได้ดูแย่ ทีนี้ธุรกิจก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจและโมเดล
"Failure is the only way to start again intelligently"
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 7

โพสต์

Working Capital ผมว่ายิ่งน้อยยิ่งดี ***แต่ต้องเพียงพอสำหรับการดำเนินงาน พอสำหรับจ่ายหนี้ในแต่ะงวด อย่าลืมว่าWorking Capมักจะกองอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่ดอกเบี้ยต่ำมาก(~0.25%) ซึ่งเป็นการไม่ฉลาดที่จะรับผลตอบแทนต่ำแบบนั้น ผบห.จึงมักเปลี่ยนWorking Capส่วนเกินเป็น"หลักทรัพย์ที่อยู่ในควมต้องการของตลาด"ส่วนมากคือตราสารหนี้ เมื่อถึงเวลาต้องใช้เงินจึงเปลี่ยนหลักทรัพย์นั้นเป็นเงิน และWorking Capสัมพันธ์กับลักษณะธุรกิจที่ทำ ลักษณะการดำเนินงาน โดยทั่วไปมักเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
investor9000
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 19

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมเคยทำงานเป็น CFO ให้กับบริษัทในไทย แต่ถือหุ้น 100% โดยบริษัทที่อยู่ใน NYSE

เขาบีบคอให้ทำให้ WC ใกล้เคียง 1 มากที่สุด กรณีนี้หมายความรวมถึง เงินสดด้วยครับ

เพราะนักลงทุนไม่ Happy ที่ผู้บริหารจะมีเงินสดเหลือให้มือเยอะโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

และ AR + IC ก็ยิ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย ดังนั้นพวกผมก็ต้องทำยังไงก็ได้ที่จะให้ AP มากที่สุด

เพราะ AP คือแหล่งทุนที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: เกี่ยวกับ Working Capital

โพสต์ที่ 9

โพสต์

investor9000 เขียน:ผมเคยทำงานเป็น CFO ให้กับบริษัทในไทย แต่ถือหุ้น 100% โดยบริษัทที่อยู่ใน NYSE

เขาบีบคอให้ทำให้ WC ใกล้เคียง 1 มากที่สุด กรณีนี้หมายความรวมถึง เงินสดด้วยครับ

เพราะนักลงทุนไม่ Happy ที่ผู้บริหารจะมีเงินสดเหลือให้มือเยอะโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

และ AR + IC ก็ยิ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย ดังนั้นพวกผมก็ต้องทำยังไงก็ได้ที่จะให้ AP มากที่สุด

เพราะ AP คือแหล่งทุนที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
เห็นด้วยครับ บางบ.มีworking capติดบเช่นพวกค้าปลีก เนื่องจากซื้อของมาเป็นเครดิตการค้า แต่ขายเป็นเงินสด ทำให้บ.พวกนี้จ่ายปันผลได้สูงจากworking capที่น้อยลง
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
โพสต์โพสต์