มาบตาพุต 5/5/55 โศกนาฏกรรมที่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
MarcoPolo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 522
ผู้ติดตาม: 7

มาบตาพุต 5/5/55 โศกนาฏกรรมที่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

(ผมขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัย ให้แก่ผู่ที่สูญเสีย ทั้งชีวิต อวัยวะ จิตใจ ในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยครับ)

เราทุกท่านทราบข่าวกันดี เกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5/5/55 ที่ผ่านมา ซึ่งผมขออนุญาตไม่กล่าวถึงในรายละเอียดของเหตุการณ์ ซึ่งแน่นอนว่าครั้งนี้คงไม่ใช่ครั้งแรกและคงไม่มีใครรับประกันว่า โศกนาฏกรรมเสาร์ 5 จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้น แต่ขออนุญาตกล่าวถึงภาพใหญ่ของสาเหตุที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อสังเกตุของเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ครับ

1. สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น

1.1 อายุของโรงงานและเครื่องจักร
จาก ข้อมูลของบริษัทที่เกิดเหตุ พบว่าโรงงานที่เกิดเพลิงไหม้เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 1998 หรือ 14 ปีมาแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นโรงงานไม่ถึงกับเก่ามาก แต่ก็คงต้องการการดูแลและซ่อมบำรุงระดับหนึ่ง
เนื่องจากเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่นและน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ทำให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์หยุดชะงักเมื่อปีก่อน และค่อนๆ ฟื้นฟูในปีนี้ ซึ่งโรงงานรถยนต์ต่างๆ รีบผลิต ทำให้ แผนการซ่อมบำรุงต่างๆ ถูกเลื่อนออกไป เพื่อให้โรงงานผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้า

1.2 ประสบการณ์ทำงานของพนักงาน

ดูจากข้อมูลของบริษัทที่เกิดเหตุ พบว่า เป็นบริษัทระดับกลางๆ ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม PTT หรือ SCG โดยตรง (SCG ถือหุ้นบางส่วนแต่ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่) และในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาไม่มีการลงทุนใหญ่ๆ เกิดขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่ม PTT และ SCG ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต ซึ่งเข้าใจกันดีว่า ทั้งสองกลุ่มนี้ มีพลังมากกว่าในการรับพนักงานที่มีประสบการณ์สูงหรือมีความสามารถด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า ทำให้โดยรวมแล้ว ถึงแม้อายุของโรงงานที่เกิดเหตุจะมากกว่า 10 ปี แต่ประสบการณ์ทำงานโดยตรงของพนักงานโดยตรง อาจจะน้อยกว่ามากก็ได้

1.3 คุณภาพของผู้รับเหมา

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราทราบว่า อุบัติเหตุเกิดจากขั้นตอนการทำงานในช่วงที่โรงงานได้มีการปิดซ่อมบำรุง โดยพนักงานของเหตุผลข้อนี้คล้ายๆ กับข้อที่ 2 คือ บริษัทที่เกิดเหตุ เป็นบริษัทระดับกลางๆ ไม่ได้มีกำลังเงินที่จะจ้างผู้รับเหมาที่เข้ามาปฎิบัติงานในราคาสูงๆ ได้ (ซึ่งคุณภาพก็แปรผันตามราคา) นอกจากนี้ผู้รับเหมาก็ชอบทำงานกับบริษัทใหญ่ เพื่อที่จะได้ทำงานต่อเนื่องและมีสิทธิอ้างอิงถึงในผลงาน ซึ่งคุณภาพของผู้รับเหมา รวมถึง ช่างฝีมือและการบริหารโครงการ

1.4 การให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้บริหาร

หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่มีการออกมาแถลงข่าวของเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการ ที่ควรจะขอโทษต่อพนักงาน, เพื่อนบ้านที่เป็นบริษัทในธุรกิจเดียวกัน หรือแม้กระทั่งชุมชนข้างเคียงที่ได้รับความเดือดร้อน มีแต่ระดับผู้จัดการโรงงานที่ให้ข่าวบ้างเป็นบางครั้ง
เราไม่อาจทราบได้ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากพนักงาน ที่ทำงานติดต่อกันมาหลายๆ ชั่วโมงไม่ได้พักผ่อน เนื่องจากเวลาที่จำกัดด้วยนโยบายที่ต้องการให้การซ่อมบำรุงสั้นที่สุด, หรือว่า การไม่สนับสนุนฝึกอบรมพนักงานอย่างเพียงพอ ทำให้พนักงานไม่เชี่ยวชาญในการทำงานนั้นๆอย่างปลอดภัย

1.5 การให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของหน่วยงานราชการ

การให้สัมภาษณ์ของตำรวจ ที่จะหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยหาคนที่กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งเป็นระดับปฏิบัติการ แต่ไม่มีการกล่าวถึงผู้บริหารของบริษัท ไม่มีการกล่าวถึงหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ควบคุมโรงงานแห่งนี้ หรือแม้กระทั่งปกป้องผลประโยชน์ของชุมชน ที่เสียขวัญเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โพสต์โพสต์