รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนกุมภาพันธ์ 2555

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนกุมภาพันธ์ 2555

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำ เดือนกุมภาพันธ์ 2555
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า -- พฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2555 11:55:49 น.
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังเกิดวิกฤติอุทกภัย แต่ทั้งนี้ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จานวน 3,075 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 24.2 เป็น 25.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14.6 เป็น 15.7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 30.6 เป็น 32.6 พบว่า ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังเกิดภาวะวิกฤติอุทกภัย และการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลเพื่อเยียวยาผู้ประสบภัยที่เม็ดเงินเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายดูแลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงพาณิชย์ เช่น โครงการรับจำนำข้าวและมันสำปะหลัง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ทำให้ประชาชนมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย รวมทั้งปัจจัยลบ ด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและภัยธรรมชาติ

ส่วนค่าดัชนีในด้านต่างๆ พบว่า ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการในเดือนมกราคม 2555 และการปรับขึ้นค่าจ้างค่าแรงขั้นต่า 300 บาทที่จะมีผลในวันที่ 1 เมษายน 2555 อีกทั้งมาตรการของภาครัฐที่เข้ามาดูแลราคาสินค้าเกษตรส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้โอกาสในการหางานทาในปัจจุบันและอนาคตยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งประชาชนยังมีความกังวลและไม่มั่นใจเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จาเป็นในปัจจุบันและอนาคต ยังอยู่ในระดับสูงเนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจาวันอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและการขนส่งที่เป็นผลจากราคาน้ามันที่สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ การวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้า ยังอยู่ในระดับต่าเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความมั่นใจในการซื้อสินค้าคงทนถาวร เพราะยังเป็นกังวลกับเรื่องปัญหาปากท้องและค่าครองชีพ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่าภูมิภาคที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล จาก 20.0 เป็น 27.0 และภาคใต้ จาก 25.5เป็น 31.1 ส่วนภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง คือ ภาคกลาง จาก 11.8 เป็น 11.7 ภาคเหนือ จาก 29.8 เป็น 25.6 ภาคตะวันออก จาก 19.4 เป็น 14.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 35.9 เป็น 33.7 สาเหตุที่ความเชื่อมั่นในกรุงเทพฯ/ปริมณฑล ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลมาจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังวิกฤติน้า ท่วม รวมทั้งเม็ดเงินที่รัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเยียวผู้ประสบภัยเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจส่วนภาคใต้ พบว่าราคาของผลผลิตยางพารามีทิศทางที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อชาวเกษตรกร

ปัญหาที่ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไข เป็นดังนี้

--------------------------------------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------

หน่วย:ร้อยละ
พื้นที่ ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน การว่างงาน ค่าครองชีพ เศรษฐกิจทั่วไป คอรัปชั่น ยาเสพติด


--------------------------------------------------------------------------------

ประเทศไทย 17.2 16.1 13.9 11.2 10.9 7.6 7.4

กรุงเทพฯ/ปริมณฑล 17.5 15.5 14.6 11.3 11.2 6.9 8.2

ภาคกลาง 14.8 14.1 14.3 12.0 11.1 6.9 6.3

ภาคเหนือ 18.2 17.9 13.0 11.2 12.2 6.5 7.1

ภาคตะวันออก 19.2 19.2 14.0 13.8 10.8 7.7 6.1

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16.7 15.8 13.9 9.4 10.1 8.2 7.6

ภาคใต้ 17.8 15.6 13.5 11.7 10.1 9.1 8.0


--------------------------------------------------------------------------------

ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้า ราคาน้ามัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป ยาเสพติด และคอรัปชั่นตามลาดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาดังนี้

กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคกลาง ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ค่าครองชีพและราคาน้ำมัน

ภาคเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ามันและค่าครองชีพ

ภาคตะวันออก ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้า/ราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ค่าครองชีพและการว่างงาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

ภาคใต้ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
ด้านเศรษฐกิจ
1.ดูแลราคาน้ำมันและพลังงาน เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาวัตถุดิบและราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งอาหารปรุงสำเร็จที่ปัจจุบันมีแนวโน้มที่สูงขึ้น

2.แก้ไขปัญหาการว่างงานและปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ
3.หามาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยเหลือประชาชน
4.ปรับปรุงโครงสร้างด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว

ด้านสังคม
1.ปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่นอย่างจริงจัง แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 3.ทั้งดูแลสวัสดิการประกันสังคมและสวัสดิการผู้สูงอายุ/ผู้พิการให้เหมาะสมและพอเพียง รวมทั้งเพิ่ม เบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ/ผู้พิการ

4.ยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้าทางสังคม พัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้และสามารถพึ่งพา ตนเองได้

ด้านปัญหาอุทกภัย
1. วางแผนระบบการบริหารจัดการน้าอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยเร่งรัดโครงการต่างๆ เพื่อรองรับ และป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติน้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา

ด้านเกษตร
1.ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
2.ดูแลโครงการรับจำนำสินค้าการเกษตร เช่น ข้าวและมันสำปะหลัง ฯลฯ เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด


--------------------------------------------------------------------------------

การอ่านค่าดัชนี
ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้

- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”

- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-6553 Fax.0-2507-5806 www.price.moc.go.th
โพสต์โพสต์