'วีรพงษ์'เดินหน้าขายหุ้นปตท.หวัง'ลดหนี้รัฐ-ขจัดข้อจำกัดรสก.'

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

'วีรพงษ์'เดินหน้าขายหุ้นปตท.หวัง'ลดหนี้รัฐ-ขจัดข้อจำกัดรสก.'

โพสต์ที่ 1

โพสต์

"วีรพงษ์"แจงแก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ-ขายหุ้นรัฐวิสาหกิจให้"วายุภักษ์" อ้างลดหนี้สาธารณะ-ขจัดข้อจำกัดบริษัทในฐานะ รสก. ยันไม่ซ้ำรอยกรีซ แน่นอน.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้าง อนาคตประเทศ (กยอ.) แถลงแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยระบุว่าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ และแนวคิดการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ ให้กองทุนวายุภักษ์ โดยเฉพาะในส่วนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) และการบินไทย เพื่อลดปัญหาหนี้สาธารณะ และให้หลุดจากรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นอุปสรรคของบริษัท ซึ่งขณะนี้ได้มีการหารือกับทาง ปตท.แล้วและไม่มีปัญหาอะไรและส่วนของการบินไทยต้องมีการสอบถามกลุมสหภาพแรงงานของบริษัทก่อน

" บริษัทรัฐวิสาหกิจมีหลายประเภทโดยเฉพาะประเภทมหาชนหรือบริษัทรายใหญ่มีความเข้มแข็งทางการเงินและสามารถลงทุนในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องอาศัยการค้ำประกันเงินจากรัฐบาลเพราะสามารถหาแหล่งเงินเองได้" ดร.วีรพงษ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เมื่อกระทรวงการคลังถือหุ้นเพียง 49%หลุดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลเอง ก็ยังต้องการที่จะใช้ ปตท.และการบินไทย เป็นเครื่องมือในการบริหาร พลังงานและการบิน จึงเลือกที่จะขายให้กองทุนวายุภักษ์ เพราะกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ดังนั้นแม้จะหลุดจากรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลก็ยังสามารถใช้เป็นกลไกในการบริหารประเทศ กำหนดนโยบายได้ได้ต่อไป

"ไม่ต้องห่วงผมกลัววิกฤติการเงิน และผ่านมาหลายครั้งแล้ว ดังนั้นทำอะไรก็ตามต้องระวังที่สุด และให้มั่นใจว่าเราจะไม่เหมือนกรีซ แน่นอน" ดร.วีรพงษ์ กล่าว

พร้อมกันนี้ เขากล่าวต่อว่าสำหรับการลงทุนในการสร้างอนาคตประเทศเป็นแผนของรัฐบาลที่จะหาเงินมาลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคอยู่แล้ว และเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมก็ถือโอกาสทำพร้อมกันได้เพราะอาจทำให้ประเทศเสียโอกาสในการแข่งขันได้

เนื่องจาก ฐานะทางการเงินของประเทศถือว่าเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันมาเป็นเวลา 15 ปีและมีแนวโน้มเกินดุลต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ต้องดูจังหวะและความจำเป็นขอชแต่ละโครงการเพราะอาจต้องใช้เงินลงทุนสูงแลขระยะเวลานาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ใช้เงินลงทุน 3-4 แสนล้านบาท และใช้ระยะเวลา 5-10 ปี ดังนั้นต้องนำทุกโครงการมารวมกันเพื่อไม่ให้เกิดภาระกับรัฐบาลมากเกินไป

" ต้องไม่ทำให้กระทบไปถึงการขึ้นภาษีอากรของประชาชน แต่แนวทางที่มีอยู่ค่อนข้างสบายใจ แต่การกู้เงินคงกู้ในประเทศเพราะมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าต่างประเทศ" ดร.วีรพงษ์ กล่าว
แนบไฟล์
news_img_431073_1.jpg

ล็อคหัวข้อ