ชี้ 6ปัจจัยหลักให้อุตฯอิเล็กทรอนิกส์ย้ายฐาน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
xanax
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

ชี้ 6ปัจจัยหลักให้อุตฯอิเล็กทรอนิกส์ย้ายฐาน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผู้ประกอบการโวย 'ต้นทุนแฝง' เพียบ!ชี้ 6ปัจจัยหลักให้อุตฯอิเล็กทรอนิกส์ย้ายฐาน

http://www.manager.co.th/mgrweekly/view ... 0000156409
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 8 ธันวาคม 2554 15:29 น. Share4






6 ปัจจัยหลัก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อ 'อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์' ย้ายฐานแน่! ด้านส่งออกส่อเค้าซบ หากไทยไม่แสดงศักยภาพ สร้างความเชื่อมั่นก่อนไตรมาสแรกปี55 ขณะที่กลุ่มอุตฯยานยนต์รับออเดอร์อื้อซ่า หลังอั้นออเดอร์มานาน ด้านผู้ประกอบการโอดต้นทุนแฝง-ค่าใช้จ่ายเพียบ ต้องแบกรับค่าใช้จ่าย โดยไม่ขึ้นราคาสินค้า

ผลพวงสืบเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ แม้ผู้ประกอบการบางพื้นที่จะเริ่มเดินเครื่องการผลิต หรือฟื้นฟูแหล่งเพาะปลูก รวมถึงภาคการขนส่งให้กลับมาเดินหน้าได้บ้างแล้ว แต่เวลาก็ล่วงเลยมาถึงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่มียอดออเดอร์สั่งซื้อสูง และยังเป็นเวลาแห่งการตัดสินใจทำสัญญาซื้อ-ขายระหว่างกันของหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ที่จะครอบคลุมออเดอร์รวมในปีหน้า

ดังนั้นในช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปี2555ถือเป็นช่วงเวลาที่หลายอุตสาหกรรมเริ่มพูดคุย ตกลงสั่งซื้อสินค้า และวางแผนการผลิตในปีหน้า โดยผู้ประกอบการต่างชาติจะเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อหารือและดูความเป็นไปของโรงงานที่จะตัดสินใจทำการค้าด้วย แต่ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้โรงงานจมน้ำ จนผู้ประกอบการต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาติดต่อค้าขายได้เหมือนเช่นที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางการค้า และความเสี่ยงในการดิวออเดอร์ใหม่ของปี2555แน่นอน

หวั่น ออเดอร์ปีหน้าตก

“การตัดสินใจซื้อ หรือดิวออดเดอร์ในปีหน้า นักธุรกิจต่างชาติจะเดินทางมาติดต่อใน 2 ช่วง คือช่วงกันยายน-พฤศจิกายน หรือไตรมาศสุดท้ายของปี ซึ่งจะมาเยี่ยมชม และคุยถึงโปรแกรมปีหน้า ส่วนช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคมจะทำการตกลงสั่งซื้อสินค้าของปีหน้า แต่ปีนี้ผู้ประกอบการต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาติดต่อ ดูงานได้เลย ทำให้แทบจะไม่มีการตกลงระหว่างกัน ปัจจุบันได้แต่อีเมลคุยกันมากกว่า”ไพบูลย์ พลสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ระบุ

อีกทั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่ผ่านมาการส่งออกอาหาร หรือบางอุตสาหกรรมไม่สามารถรอการผลิต หรือการขนส่งของประเทศไทยได้ อาทิ สินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค, ชิ้นส่วน อะไหล่บางประเภท ฯลฯ จึงทำให้ผู้ประกอบการต่างชาติจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่นทดแทน ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้อาจเกิดจากอีกหนึ่งปัจจัยในด้านระบบลอจิสติกส์ของไทยที่มีการวางรากฐานไว้เป็นอย่างดี จนผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องสต๊อกสินค้าไว้มาก แต่พอประสบปัญหา หรือไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ตามกำหนดการ ก็จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ในวงกว้าง

“สิ่งที่น่าห่วงขณะนี้คือ การผลิตอาจต้องใช้เวลามากขึ้น, การขนส่งสินค้าอาจไม่ตรงตามกำหนดเวลา, สภาพจิตใจของแรงงานที่เป็นห่วงบ้าน แม้น้ำจะลดแล้วก็ตาม ทั้งนี้หากผู้ประกอบการในไทยสามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากภัยครั้งนี้ได้ ตามมาตรฐานเหมือนที่ผ่านมา เน้นส่งสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย รักษาเวลา และไม่ปรับราคาให้สูงขึ้นมาก เชื่อว่าหากผลการจัดการในไตรมาสแรกของปีหน้าดี การส่งออกก็จะกลับมาเป็นปกติในที่สุด”

ต้นทุนพุ่ง ผู้ผลิตโอดแบกรับอื้อ

อย่างไรก็ตามหลังน้ำลด การฟื้นฟูกิจการ ย่อมต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล ไม่ว่าจะเรื่อง ซ่อมเครื่องจักร รายได้ที่สูญเสียจากการหยุดการผลิต วัตถุดิบที่ปรับราคาสูงขึ้น ปัจจัยด้านแรงงาน ฯลฯ กลายเป็น ‘ต้นทุนแฝง’ ที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยสะท้อนถึงต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้นว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการหลายรายต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในด้านต่างๆ อย่างค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง วัตถุดิบ รวมถึงค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันตามนโยบายภาครัฐที่กำลังจะเริ่ม แต่ก็ไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าได้ตามต้นทุน เพราะปัจจุบันเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบยุโรป หรืออเมริกา ก็ส่งผลกระเทือนต่อเศรษฐกิจทั่วโลก หากผู้ประกอบการปรับราคาก็จะไม่มีผู้ซื้อ จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องกลับมาทบทวน จัดกลยุทธ์ใหม่ และกัดฟันแบกรับค่าใช้จ่ายไว้เอง

ยานยนต์อั้นออเดอร์เพียบ

ขณะที่ วัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่าในช่วงเดือนมกราคมจะเป็นช่วงของการสรุปยอดปี2555ร่วมกันของภาคอุตสาหกรรมยายนต์ อาทิ จำนวนที่ผลิตขายในประเทศเท่าไร, ขายต่างประเทศเท่าไร ฯลฯ ส่วนปัจจุบันอยู่ในช่วงฟื้นฟู ด้านออเดอร์ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และยานยนต์ไม่น่าเป็นห่วง ยังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก หากโรงงานผลิตได้เท่าไรก็สามารถขายได้หมด เนื่องจากมีออดเดอร์อั้นมานาน ตั้งแต่ช่วงสึนามิของญี่ปุ่นที่กลับมาผลิตได้เพียงไม่กี่เดือนก็มาประสบปัญหาน้ำท่วมในไทย ทำให้มีสต๊อกค้างจำนวนมาก อีกทั้งปลายปีนี้มีรถรุ่นใหม่ๆ ออกมาให้เลือกซื้อ ทั้งยังเป็นช่วงเทศกาล และเป็นช่วงที่โบนัสออกอีกด้วย คาดว่าตลาดจะคึกคัก แต่ด้วยน้ำท่วมส่งผลให้ยอดรวมส่งออกของอุตสาหกรรมในกลุ่มยานยนต์ปีนี้อาจลดลงไปบ้าง

ขณะที่ความกังวลว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศอื่นนั้น วัลลภ ยืนยันว่าโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยหลายด้าน อาทิ การลงทุน, ความต่อเนื่องของโครงสร้างธุรกิจ ฯลฯ ทั้งนี้ในช่วง 10 ปีหลัง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์นิยมไปตั้งโรงงานทางด้านตะวันออก อาทิ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร, นิคมอุตสาหกรรมเหมราช, นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ เป็นต้น

6 ปัจจัยอิเล็กทรอนิกส์ย้ายฐาน

ส่วนภาคการลงทุนในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ภายหลังหลังน้ำลด ศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (ส.อ.ท.) มองว่า น้ำท่วมครั้งนี้อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เมื่อรวมกับปัญหาเรื้อรังที่สั่งสมมานาน และไม่ได้รับความสนใจ หรือการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน ซึ่งประกอบด้วย

1.แรงงานที่ขาดแคลน แต่ไม่ได้รับการอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าว ตามเงื่อนไขของกฎหมาย อีกทั้งแรงงานไทยมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนลดน้อยลง จะมีคนเกษียณมากกว่าแรงงานรุ่นใหม่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีลูกน้องน้อยลง หมดยุคของเบบี้บูมไปแล้ว

2.ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นถึง 40% ตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านยังมีค่าแรงงานที่ถูกกว่ามาก อาทิ ค่าแรงเขมรอยู่ที่ 80 บาทต่อวัน และให้สิทธิ์ยกเว้นภาษียาว

3.ระบบการเมืองในประเทศไทยที่เน้นความสำคัญ และมีการแข่งขันทางเมืองเป็นหลัก โดยไม่สนใจผลกระทบของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาหลายพรรคได้ใช้นโยบายในทางการเมือง เพื่อดึงคะแนนเสียง

4.ความมั่นคงทางการเมืองที่นับวันจะน้องลง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น อาทิ อินโดนีเซีย, เขมร ฯลฯ

5.ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการพัฒนา และมีความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น อาทิ ประเทศอินโดนีเซียที่มีประชากรสูง เป็นตลาดใหญ่ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น การเมืองเริ่มแข็งแรง และมีแรงงานจำนวนมาก เป็นต้น

6.ภัยน้ำท่วม ทำให้โรงงาน และเครื่องมือเสียหายมาก ทำให้ต้องลงทุนใหม่ หรืออาจต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ ก็อาจถือช่วงโอกาสนี้ไปลงทุนยังประเทศอื่นแทน

ทั้งนี้การตัดสินใจย้ายฐานการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ง่ายกว่าอุตสาหกรรมบางประเภท เนื่องจาก เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ไม่ใหญ่มาก แรงงานใช้เวลาฝึกฝนทักษะไม่นาน ประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น และไม่มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในไทยมากนัก ไม่เหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์
โพสต์โพสต์