บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จุดประสงค์ที่น่าจะถูกต้องสำหรับการลงทุนหุ้น ในความเห็นผมคือ การสะสมจำนวนหุ้นดีๆตอนราคาถูกๆในพอร์ตให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (เป็นเจ้าของกิจการดีๆให้มากขึ้นเรื่อยๆ) ไม่ใช่การขายหุ้น แล้วเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือ สะสมเงินให้เพิ่มขึ้น เพราะ เงินสดด้อยค่าลงทุกวัน สังเกตได้ว่าก๋วยเตี๋ยวและข้าวแกงแพงขึ้นทุกวันเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน หากเราไม่ใช้ปัญญาเพื่อทำ"เงินเก็บ"ให้งอกเงยขึ้น อำนาจของเงินเฟ้อจะกัดกินมูลค่าความมั่งคั่งเงินฝากในธนาคารของเราลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารไม่มีทางตามเงินเฟ้อได้ทัน สังเกตว่าเศรษฐีที่รวยมากๆ เขาไม่ได้ถือครองเงินสด แต่เขาถือครองทรัพย์สินอย่างอื่นแทน

การเป็นหุ้นส่วนและสิทธิการเป็นเจ้าของบริษัทดีๆคุณภาพสูงที่ขยายกิจการ ธุรกิจเติบโตขึ้นทุกปีนั้น น่าจะมีมูลค่ามากกว่าเงินสดที่จอดอยู่เฉยๆมาก มีทั้งความภูมิใจในการได้เป็น"ส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัท" ชั้นเลิศ แข็งแกร่ง ไม่มีวันล่มสลาย และ ยังได้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล หากได้ในระดับ 10-20% ต่อปีจากเงินที่ลงทุนไป เพียง 5-10 ปี ก็คืนทุน หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เงินทำงานให้เราแทน โดยเลือกบริษัทดีๆ แล้วปล่อยให้มันเป็นเครื่องจักรผลิตเงินสดปันผลให้เราไปเรื่อยๆทุกปีๆ ที่มากกว่าฝากเงินธนาคาร

ยิ่งคุณได้หุ้นระดับ super stock ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืน (durable compettitive advantage) แล้วล่ะก็ คุณอาจไม่จำเป็นต้องมองหาวันขายหุ้นตัวนั้นอีกเลย ! ! ! หากคิดได้อย่างนี้ก็ไม่รู้จะขายหุ้นออกไปทำไม เพราะขายไปแล้วจะหาหุ้นดีๆอย่างเดิมได้อีกคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจะมั่นใจอย่างนี้ได้ จำเป็นต้องรู้จริงในกิจการที่ลงทุน ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต

สำหรับนักเก็งกำไร คงไม่สนอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เขาคงคิดว่าอาศัยช่องว่างการขึ้นลงของราคาเข้าซื้อตอนตํ่าไปขายตอนสูง ใช้เวลาไม่นานก็ทำกำไรได้ บางทีอาจเป็นหลาย 100% ในระยะเวลาไม่นาน พอได้กำไรแล้วก็เปลี่ยนไปซื้อตัวใหม่ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ในสายตาของนักเก็งกำไร เขาอาจจะคิดดังนี้
1. ถือหุ้นนานๆเสี่ยง ถือเงินสด(ฝาธนาคาร)ไม่เสี่ยง แถมยังได้ดอกเบี้ยด้วย แม้จะน้อย ในช่วงที่ไม่ได้ถือหุ้น
2. กำไรที่ทำได้จากการซื้อๆขายๆระยะสั้นนั้น "มากกว่า" การรอปันผลมากๆ บางจังหวะอาจรวยข้ามวันเป็น 100% ก็ยังได้
3. เขาอาจจะมองคนที่ถือหุ้นยาวๆว่า พอหุ้นตกก็ซวยเหมือนกัน แถมอาจซวยมากกว่าเขาด้วย เพราะ โง่ ! ! ! ยอมถือขาดทุนต่อไป ในขณะที่เขาคิดว่าพวกเขาเก่งกว่า เขาสามารถขายทิ้งได้ทันก่อนที่มันจะตก หรือกรณีเลวร้าย ก็ยอมขาดทุนนิดหน่อยแต่ก็ยังขายทัน ดีกว่าไม่ขาย ไม่ชอบติดดอย ไม่ต้องทนอยู่กับหุ้นที่มูลค่าตกต่อไปอย่างยาวนาน
4.ตัวอย่างของนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จมากๆนั้นก็มีให้เห็นอยู่หลายราย เขามีฝีมือ เขาไม่ได้เสี่ยงโชคการพนันอยู่ และไม่ได้มีแต่สายนักลงทุนแบบ บัฟเฟตต์ อย่างเดียวที่จะรวยได้
5. ธุรกิจระดับ "ดีเลิศ" ที่จะเติบโต แข็งแกร่ง ไปเรื่อยๆ ทำกำไรมากขึ้นทุกปีนั้น ไม่น่าจะมีอยู่จริง และงบการเงินที่เห็นๆกันอยู่ก็อาจจะเป็นของหลอกลวง

แต่ในสายตานักลงทุน"สายสุดโต่ง"นั้น เขามองนักเก็งกำไรว่า
1. เงินสดนั้นเสี่ยง เพราะฝากธนาคารไว้ หากธนาคารที่ฝากล้มละลาย เงินที่ฝากย่อมสูญไปเช่นกัน และการเอาเงินฝากธนาคารนั้น ไม่ต่างกับการเอาเงินไปลงทุนซื้อธุรกิจอื่นในตลาดหุ้นที่คุณคิดว่ามันเป็นธุรกิจที่ดี เพราะธนาคารก็เป็นบริษัทหนึ่งที่ทำธุรกิจเหมือนกัน (โดยการเอาเงินคุณไปต่อเงิน และรูปแบบธุรกิจมีโอกาสเสี่ยงสูงที่สูญเงิน ส่วนมากมักเกิดจาก ธนาคารไปปล่อยกู้ต่อ แล้วกลายเป็นหนี้สูญ) ธุรกิจธนาคารจึงไม่ใช่ธุรกิจที่แน่นอนมั่นคงกว่าธุรกิจอื่นๆ หากคุณศึกษาโลกธุรกิจดีๆ จะพบว่ามีธุรกิจอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีดีกว่าและเสี่ยงน้อยกว่าอีกมาก ถ้าคุณเข้าใจถึงระดับนี้แล้ว คุณจะไม่อยากฝากเงินธนาคารมากๆอีกเลย ! ! !
2. นักเก็งกำไรส่วนมาก ได้กำไรมากกว่า รวยเร็วกว่าก็จริง แต่ฉาบฉวย มักอยู่ไม่ได้ในระยะยาว มีน้อยรายที่จะทำสำเร็จ ! ! ! ถึงจะมีจริงๆ แต่ส่วนใหญ่มักจะ "รวยข้ามวัน" แล้วต่อมาก็ "จนข้ามคืน" หากซื้อซี้ซั้วไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เจอแจกพอร์ต เพราะซื้อโดยการเก็งว่าจะขึ้นจะลงเท่านั้น โดยไม่ดูพื้นฐานกิจการ ยิ่งซื้อๆขายๆบ่อยๆ เดี๋ยวย่อมเดาผิดสักครั้ง และหากคราวนั้นลงเงินไปมาก ก็จะเสี่ยงหมดตัวได้ แถมไม่มีโอกาสแก้ตัว แต่สำหรับนักลงทุนเขาเลือกที่จะรวยช้าๆอย่างมั่นคง
3. พลังของดอกเบี้ยทบต้นมีอำนาจมหาศาล
หากคุณเลือกที่จะฝากเงินธนาคารแล้วกินดอกเบี้ยทบต้น 3%ต่อปี หากคุณฝากไว้ 1 ล้านบาท
ผ่านไป 30 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 2.42 ล้านบาท (ยังไม่นับเงินเฟ้อ ที่จะลดทอนมูลค่าเงินก้อนนี้ลง)
กลับกันคุณเลือกที่จะลงทุนทำธุรกิจ (โดยเลือกซื้อหุ้นดีๆเก็บไว้) แล้วได้ผลตอบแทนทบต้นแค่ 10% ต่อปีก็พอ หากคุณฝากไว้ 1 ล้านบาทแบบเดิม
ผ่านไป 10 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 2.59 ล้านบาท
ผ่านไป 20 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 6.72 ล้านบาท
ผ่านไป 30 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 17.44 ล้านบาท
จะเห็นว่าในช่วงต้นของการลงทุนเงินนั้น เงินเพิ่มช้ามาก แต่เวลายิ่งผ่านไปนานขึ้นเป็นสิบๆปี อำนาจของดอกเบี้ยทบต้นก็จะสำแดงแสนยานุภาพของมัน ผู้ที่เลือกทางเดินสายนี้จึงต้องอดทนมากๆ เพราะมันคือการใช้ชีวิตด้วย ต้องใช้ระยะเวลายาวนานจึงจะเห็นผลและไม่มีทางลัด ผู้ที่อดทนไม่ได้จึงวกหันกลับไปเล่นเก็งกำไร ทั้งที่ตัวเลขที่แสดงก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เพียงแค่ 10%ต่อปีในระยะเวลายาวนาน มันก็พอที่จะทำให้รวยมหาศาลและมั่นคงไม่ต้องเสี่ยง
4. นักลงทุนระยะยาวมักเชื่อว่า ไม่มีใคร "เก็งราคา" ซื้อหุ้นตอนถูกๆแล้วไปขายต่อแพงๆได้แม่นยำทุกครั้ง เพราะในระยะสั้น ราคาหุ้นทำนายไม่ได้ ไม่ต่างอะไรกับแทงไฮโลว์ที่ไม่ออกสูงก็ออกตํ่า ในขณะที่การคาดเดาว่าธุรกิจใดจะรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต ยิ่งยาวนานออกไปนั้น ยิ่งน่าสนใจและ "ทาย" ง่ายกว่ามาก หากศึกษาธุรกิจให้ลึกซึ้งเพียงพอ สุดท้ายราคาหุ้นมักเป็นไปตามสัจธรรมที่ว่า "ระยะสั้นตามข่าว ระยะยาวตามผลกำไรของบริษัท" แต่ข้อนี้ นักเก็งกำไรเก่งๆ เขาอาจเถียงว่า เขาทำนายทิศทางราคาหุ้นได้ ก็ต้องปล่อยเขา
5. นักลงทุนจะเชื่อถืองบการเงินของบริษัท อย่างสุดหัวใจในบริษัทที่เขาเลือกลงทุนแล้ว โดยยอมรับว่าบางบริษัทก็มีการสร้างบัญชีเท็จขึ้นมา เพื่อหลอกผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ แต่นักลงทุนฝีมือดี เขาสามารถมองออกได้ว่าบริษัทใดมีการตกแต่งบัญชี โดยพิจารณาจากหลายๆปัจจัยรวมกัน เช่น ความเห็นของผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น และ การปลอมแปลงตกแต่งบัญชีนั้น เป็นทั้งคดีอาญาและแพ่ง หากถูกจับได้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องมักต้องติดคุกและยึดคืนทรัพย์สินที่โกงบริษัทและปลอมแปลงบัญชีไป ดังนั้นนักลงทุนที่เก่งๆ หากเขามองว่าบริษัทไหนสีเท่าๆ ไม่โปร่งใส เขาก็เลือกได้ที่จะไม่ลงทุนกับบริษัทนั้น หรือ สามารถประเมินความเสี่ยงได้หากเกิดอะไรขึ้นมา
6. กรณีหุ้นตก เนื่องจากหุ้นที่ซื้อ ถ้าเป็นกิจการที่วิเคราะห์มาดีแล้วจริงๆ ราคาหุ้นจึงมักจะกลับมาได้เสมอ และระหว่างที่ถือหุ้นรอราคาสะท้อนความเป็นจริง ยังได้เงินปันผลมารองรับ เป็นผลตอบแทนไปเรื่อยๆด้วย ผิดกับการเลือกหุ้นที่คิดว่าจะขึ้นเท่านั้น หุ้นที่ถูกใจนักเก็งกำไร มักเป็นหุ้นที่มีการขึ้นลงของราคาหวือหวา ซึ่งมักจะเป็น หุ้นปั่น หุ้นเน่า กิจการค้าขายไม่ค่อยได้กำไรด้วย หากหมดรอบแล้วหุ้นตก มักไม่มีเงินปันผลมารองรับ และโอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับขึ้นไปใหม่ก็น้อยกว่า
7. พูดถึงกรณีหุ้นตกอีก ไม่ว่าจะเป็นการ cut loss หรือ short against port ล้วนไม่สมควรกระทำ บางคนอาจคิดว่าขายทิ้งไปก่อน แล้วค่อยไปซื้อคืนใหม่ ในราคาที่ตํ่ากว่าเดิมมากๆน่าจะคุ้มกว่า คำตอบก็คือ ถ้าหุ้นมันตกต่อจริงๆ ก็ใช่ คุณทำถูกแล้ว แต่ประเด็นก็คือ นักลงทุนสายสุดโต่งนั้นเชื่อว่า ไม่มีใครทำนายราคาหุ้นในระยะสั้นได้ว่า หุ้นจะขึ้น หรือ จะตกต่อไปมากน้อยแค่ไหนต่างหาก หากขายทิ้งแล้วหุ้นดันขึ้น แทนที่จะลงต่อ คุณก็จะเสียหุ้นดีในมือหลุดลอยไป และต้องมาไล่ซื้อคืนในราคาแพงขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ความเสี่ยงก็มากขึ้นตาม ในภาวะที่ไม่แน่นอนและราคาหุ้นยังไม่ถูกอย่างแท้จริง บัฟเฟตต์กล่าวไว้ว่า "no move is a good move" และการขายแล้วไปรอเก็งราคาซื้อให้ตํ่าลง ยังเป็นการฝึกนิสัยซื้อๆขายๆบ่อยๆ ซึ่งผิดหลักการ
8.โอกาสไม่ได้มีมาบ่อยๆอย่างที่หลายคนคิด การขายออกแล้วไปซื้อตัวใหม่ แล้วหวังว่าจะทำกำไรอย่างเดิมไปได้เรื่อยๆนั้น น่าจะยากกว่าถือหุ้นดีๆราคาถูกๆมีmosเยอะๆซักตัวไปเรื่อยๆ
9. ความเห็นส่วนตัวของผมก็คือ นักเก็งกำไรที่สามารถคาดเดาทิศทางการขึ้นลงของราคาหุ้นได้ระดับเทพนั้นน่าจะมีอยู่จริง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ เขาเป็นคนทำราคาเองด้วย แต่น้อยรายที่จะเรียนรู้แล้วประสบความสำเร็จได้แบบเขา อีกทั้งยังเป็นหนทางที่เสี่ยงกว่า ในขณะที่การเรียนรู้หลักการลงทุนที่ถูกต้องนั้น คนธรรมดาทั่วไปก็ทำได้ ไม่เสี่ยงหวือหวา ความรวย-จน วูบวาบอยู่บนเส้นด้าย และถ้าผมคิดว่าหุ้นเป็นได้เพียงแค่"การพนัน"คาดเดาว่าจะขึ้นหรือลงเท่านั้น ผมจะไม่เข้ามาในตลาดหุ้นเด็ดขาด เพราะผมไม่มีดวงเรื่องการพนันครับ ผมเดาราคาหุ้นไม่เป็น แต่คาดการณ์อนาคตของธุรกิจเป็น

ทีนี้จะลองยกตัวอย่างให้ดูประโยชน์จากการถือหุ้นระยะยาว สมมติมีธุรกิจหนึ่งกำลังเติบโตกินส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่ง และมีแนวโน้มในระยะยาวว่าจะยังดีอย่างนี้ต่อไปอีกเป็นสิบๆปี ได้กำไรมั่นคง แล้วปันผลทุกปีจากส่วนหนึ่งของกำไร หุ้นละ 10 บาท อย่างนี้ไปทุกปีๆ มองเบาะๆแค่นี้ก่อน

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 120 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 120 = 8.33% ต่อปี > คืนทุนใน 12 ปี

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 100 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 100 = 10% ต่อปี > คืนทุนใน 10 ปี

แต่ราคาหุ้นผันผวนขึ้นๆลงๆ แล้วคุณรอจังหวะซื้อได้ในราคาหุ้นละ 40 บาท ลองคิดแบบเดิม

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 40 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 40 = 25% ต่อปี > คืนทุนใน 4 ปี

หรือ กรณีหุ้นตกมาก

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 20 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 20 = 50% ต่อปี > คืนทุนใน 2 ปี

หรืออีกกรณี ถ้ากิจการดีมาก ยอดขายเพิ่ม กำไรเพิ่ม ทุกปี ปันผลก็มีโอกาสจะมากขึ้นทุกปีด้วยเช่นกัน เช่น สมมติผ่านไปอีก 3 ปี บริษัททำมาค้าขายได้กำไรมากขึ้น เลยจ่ายปันผลมากขึ้นเป็นหุ้นละ 15 บาท คุณก็จะคืนทุนเร็วขึ้นอีก เป็นต้น

ลองคิดดูว่า หากราคาหุ้นตกโดยไม่มีเหตุผล เพราะคนกลัวเกินกว่าเหตุ ทั้งที่บริษัทก็ยังดำเนินงานปกติ ทำกำไรและจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างเดิม ราคาหุ้นที่ตกลงไป จะไม่ได้ทำให้คุณกลัวหรืออยากขายหุ้นทิ้งเลยสักน้อย กลับกัน คุณจะมีความรู้สึกว่า อยู่ดีๆก็มีของดี ลดราคา มาให้คุณอยากซื้อซะมากกว่า มีใครไม่อยากได้ดอกเบี้ย 10-20%ต่อปีบ้าง ถ้าวิเคราะห์ธุรกิจดีแล้วว่าจะได้อย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆอีกนานโดยไม่ใช่แค่ของชั่วคราว (ดังนั้นจงเหลือกระสุนสำรองบางส่วน ไว้ซื้อเพิ่มอยู่เสมอ สำคัญมาก)

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมหุ้นดีๆจึงไม่ต้องกลัวตอนมันตก เป็นเพราะว่า เมื่อคนหายตกใจ และเห็นมันตามสภาพความเป็นจริง ว่าธุรกิจยังดีอยู่ จ่ายปันผลก็สูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ลดลง ก็ย่อมมีคนแย่งกันให้ราคา จนผลักดันราคาหุ้นมันกลับมาได้ในที่สุด และเป็นอีกคติพจน์ที่ผมชอบก็คือ "ราคาคือภาพลวงตา มีขึ้นมีลงตามอารมณ์ตลาด ส่วนปันผลคือของจริง ตามผลประกอบการของธุรกิจ"

หลังจากคืนทุน ถ้าวิเคราะห์แล้วกิจการยังดี ก็ปล่อยให้ หุ้นที่ถือ ปันผลต่อไปเรื่อยๆ เป็นเครื่องจักรพิมพ์แบงค์ให้เรา ยังไม่นับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นตามมูลค่าบริษัทที่มากขึ้นด้วย หรือถ้าอยากจะขายหุ้นขึ้นมา ก็ขายได้ในราคาที่ดี แต่ถ้ากิจการมันยังดี ยังเติบโต และเทียบแล้วได้ปันผลสูงๆ แถมบางทีปันผลมากขึ้นเรื่อยๆและมากกว่าเดิมทุกปี ก็คงไม่อยากขายหุ้นอยู่ดี เพราะขายแล้วไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรที่ได้ผลตอบแทนเท่านี้อีก (เอาไปฝากแบงค์กินดอกเบี้ยเงินฝาก 2-3%ต่อปี คงปลอดภัยกว่าถือหุ้นมั๊ง 5555 ยังคิดไม่ได้ ลองอ่านใหม่ตั้งแต่ข้างบนอีกรอบครับ)

และยํ้าอีกครั้งว่า...ถูกที่สุด แพงที่สุด ไม่เคยมี ไม่มีใครสามารถเก็งซื้อหุ้นได้ตอนตํ่าที่สุด แล้วไปขายตอนราคาขึ้นสูงสุดได้ การซื้อหุ้นระยะยาวคือการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คุณยอมรับได้ เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่คุณซื้อนั่นเอง เมื่อซื้อแล้วต้องทนกับความผันผวนของราคาในระยะสั้นให้ได้ ! ! ! (ขอบคุณคุณแพทสำหรับประโยคนี้)

อ่านธุรกิจขาด ซื้อก่อน-ซื้อราคาตํ่า ก็รวย และมีส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดเพื่อความปลอดภัยมากกว่า... ซื้อแพง-ซื้อทีหลัง ราคาขึ้นมาเยอะแล้ว หรือ หากธุรกิจไม่เป็นตามคาด ก็ติดดอย... แต่หากธุรกิจสุดท้ายดีจริง ดอยนี้ก็ไม่หนาวนัก แค่เสียโอกาสนิดหน่อย เดี๋ยวราคามันก็กลับมารับ ^^!

หลักการที่ต้องจำไว้เสมอสำหรับการลงทุนคือ 1. การอดทนถือหุ้นที่ดี ให้ได้นานๆ แล้วผลตอบแทนมันจะกลับมาเอง (ผู้ที่ไม่มีความอดทน จะไม่มีวันได้เจอหุ้น 10 เด้ง หรือ รวยขึ้น 10 เท่านั่นแหละ ซึ่งมีอยู่จริงๆ ไม่เชือลองไปดูราคาหุ้นบางตัวได้ มีหลายตัวที่ราคาขึ้นมาเป็น 10 เท่า หากคุณถือไว้ตั้งแต่ต้นแล้วไม่ขายทิ้งไปซะก่อน เช่น PTT, DCC, TF, etc, ยังไม่นับเงินปันผลระหว่างทางที่ถือหุ้นมาเรื่อยๆอีก) และ 2. อดทน "ไม่ซื้อ" หุ้นใดๆอย่างผลีผลาม รอจนได้ราคาที่เหมาะสม ถูกมาก เมื่อเทียบกับคุณภาพของมัน แต่ไม่ใช่ถูกที่สุด แม้จะต้องรอนานเป็นปีๆ

หัดประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของธุรกิจ แล้วคุณจะรู้เองว่า หุ้นราคาที่คุณเห็นแพงไปหรือยัง สมควรซื้อ ถือ หรือ ขาย ทั้งนี้จะเห็นว่าผมใช้อัตราการปันผลเป็นตัว approach เนื่องจากมันอธิบายกลไกการขึ้นลงของราคาหุ้นได้ชัดเจนดีเท่านั้น อีกอย่างที่ผมเอาเงินปันผลเป้นตัวจับ เนื่องจากบางคนอาจเลือกแค่กิจการที่ทำกำไรดี แล้วมองว่าราคาหุ้นมันก็น่าจะไปด้วยกัน แต่จริงๆมีหลายบริษัทที่กำไรดีแต่จ่ายปันผลน้อย เก็บกำไรไว้กับตัวบริษัทอย่างเดียว สุดท้ายราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ไม่ได้อะไรตอบแทนที่จับต้องได้กลับคืนมา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นแค่ทางเลือกหนึ่ง ความสำเร็จสามารถเดินได้หลายวิธีการ เลือกทางที่คุณถนัด และเหนือสิ่งอื่นใด"ความอดทน"น่าจะสำคัญที่สุดถ้าจะเลือกเป็นVI
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2611
ผู้ติดตาม: 63

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มาเจิมคนเเรกครับ Save ไว้อ่านเเล้ว ขอบคุณมากๆครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
a4430410700
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 126
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ
อ่านแล้วทำให้จิตใจมั่นคงในแนวทางนี้มากขึ้น
:) :) :)
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 890

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ชอบบทความครับ

ถ้าเราไม่มีความเชื่อ ความศรัทธา การงานใดๆก็สำเร็จได้ยากครับ
ขอให้เป็นความเชื่อ หลักการ ที่สมเหตุสมผล และมีคนพิสูจน์มาแล้ว
หลายวิธีหลักการดูดี แต่คนที่ประสบความสำเร็จ น้อยจนน่าสงสัย
จงตั้งคำถามว่าเป็นวิธีที่ดีจริงหรือ หรือเวลาพูด แสดงแต่ด้านดี
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ลูกอิสาน เขียน:ชอบบทความครับ

ถ้าเราไม่มีความเชื่อ ความศรัทธา การงานใดๆก็สำเร็จได้ยากครับ
ขอให้เป็นความเชื่อ หลักการ ที่สมเหตุสมผล และมีคนพิสูจน์มาแล้ว
หลายวิธีหลักการดูดี แต่คนที่ประสบความสำเร็จ น้อยจนน่าสงสัย
จงตั้งคำถามว่าเป็นวิธีที่ดีจริงหรือ หรือเวลาพูด แสดงแต่ด้านดี
จริงด้วยครับ ทั้ง VS และ VI ผู้ประสบความสำเร็จสูงๆล้วนมีอยู่น้อยมาก ผมก็กำลังพยายามอยู่เช่นกัน ผมไม่สงสัยในหลักการของวีไอ ผมเชื่อครับ แม้หลายคนจะยังหลงทางกับวิธีการที่ตนเชื่อและประยุกต์ใช้ว่านับเป็นวีไอจริงและใช้ได้ผลทุกกรณีหรือเปล่า แต่ผมขอพยายามต่อไป

หากคุณลูกอิสานหากเห็นข้อผิดพลาดวิธีการที่ผมใช้ตรงไหน ช่วยชี้แนะผู้น้อยอย่างผมด้วยนะครับ และผมอาจะพิมพ์แนวความคิดตัวเองลงไปไม่ครบทั้งหมด :bow:
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คุณลูกอิสานนับเป็นอาจารย์ของผมคนหนึ่งเลยครับ ผมได้แรงบันดาลใจเข้ามาลงทุน ก็จากบทความหลายๆบทความของพี่นี่แหละ(ขอเรียกพี่ตามอายุความรู้เลยแล้วกันนะครับ)

ทางจะเดินไปได้ถูกต้อง เริ่มจากเข็มทิศหรือความคิดที่ถูกต้องก่อน ผมให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก

หากจะชี้แนะเพิ่มเติมแก่ผมก็จะเป็นประโยชน์อย่างสูง รอคำตอบอยู่นะครับ ด้วยความนับถือจากใจจริง
:bow: :bow: :bow:

คุณลูกอิสานมองผมว่า เน้นปันผลมากเกินไปหรือเปล่าครับ จริงๆแล้วบริษัทที่ไม่ได้ปันผลออกมา แต่เอากำไรไปสร้างwealthให้แก่ผู้ถือหุ้นในภายหลังได้มากกว่า ก็ไม่จำเป็นต้องปันผลตอนนี้ก็ได้ (ถ้าปันผลแล้วเสียโอกาสในการเติบโต อาจจะสู้ไม่ต้องปันผลดีกว่า) ผมอาจแสดงความคิดตัวเองไม่ครบครับ ผมใช้ปันผลเพื่อเป็นตัวอธิบายให้เห้นภาพได้ง่ายสำหรับมือใหม่เท่านั้นน่ะครับ ไม่รู้ผมเดาตรงเปล่า ชี้แนะด้วยครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แก้ไขบทความหลักๆ 2 ช่วง มีข้อ 10 เพิ่ม และ แก้ไขย่อหน้าสุดท้าย คิดว่าดีที่สุดแล้ว หากเป็นการดูหมิ่นวิธีการของผู้ใด หรือ ทำให้ไม่ชอบใจก็ต้องอภัยอย่างสูงครับ วิธีการที่ผมใช้อาจจะยังไม่ถูกต้องที่สุดอยู่ดี ผู้รู้ช่วยวิจารณ์และสั่งสอนได้เลยนะครับ :bow: :bow: :bow:

navapon เขียน:จุดประสงค์ที่น่าจะถูกต้องสำหรับการลงทุนหุ้น ในความเห็นผมคือ การสะสมจำนวนหุ้นดีๆตอนราคาถูกๆในพอร์ตให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (เป็นเจ้าของกิจการดีๆให้มากขึ้นเรื่อยๆ) ไม่ใช่การขายหุ้น แล้วเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือ สะสมเงินให้เพิ่มขึ้น เพราะ เงินสดด้อยค่าลงทุกวัน สังเกตได้ว่าก๋วยเตี๋ยวและข้าวแกงแพงขึ้นทุกวันเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน หากเราไม่ใช้ปัญญาเพื่อทำ"เงินเก็บ"ให้งอกเงยขึ้น อำนาจของเงินเฟ้อจะกัดกินมูลค่าความมั่งคั่งเงินฝากในธนาคารของเราลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารไม่มีทางตามเงินเฟ้อได้ทัน สังเกตว่าเศรษฐีที่รวยมากๆ เขาไม่ได้ถือครองเงินสด แต่เขาถือครองทรัพย์สินอย่างอื่นแทน

การเป็นหุ้นส่วนและสิทธิการเป็นเจ้าของบริษัทดีๆคุณภาพสูงที่ขยายกิจการ ธุรกิจเติบโตขึ้นทุกปีนั้น น่าจะมีมูลค่ามากกว่าเงินสดที่จอดอยู่เฉยๆมาก มีทั้งความภูมิใจในการได้เป็น"ส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัท" ชั้นเลิศ แข็งแกร่ง ไม่มีวันล่มสลาย และ ยังได้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล หากได้ในระดับ 10-20% ต่อปีจากเงินที่ลงทุนไป เพียง 5-10 ปี ก็คืนทุน หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เงินทำงานให้เราแทน โดยเลือกบริษัทดีๆ แล้วปล่อยให้มันเป็นเครื่องจักรผลิตเงินสดปันผลให้เราไปเรื่อยๆทุกปีๆ ที่มากกว่าฝากเงินธนาคาร

ยิ่งคุณได้หุ้นระดับ super stock ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืน (durable compettitive advantage) แล้วล่ะก็ คุณอาจไม่จำเป็นต้องมองหาวันขายหุ้นตัวนั้นอีกเลย ! ! ! หากคิดได้อย่างนี้ก็ไม่รู้จะขายหุ้นออกไปทำไม เพราะขายไปแล้วจะหาหุ้นดีๆอย่างเดิมได้อีกคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจะมั่นใจอย่างนี้ได้ จำเป็นต้องรู้จริงในกิจการที่ลงทุน ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต

สำหรับนักเก็งกำไร คงไม่สนอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เขาคงคิดว่าอาศัยช่องว่างการขึ้นลงของราคาเข้าซื้อตอนตํ่าไปขายตอนสูง ใช้เวลาไม่นานก็ทำกำไรได้ บางทีอาจเป็นหลาย 100% ในระยะเวลาไม่นาน พอได้กำไรแล้วก็เปลี่ยนไปซื้อตัวใหม่ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ในสายตาของนักเก็งกำไร เขาอาจจะคิดดังนี้
1. ถือหุ้นนานๆเสี่ยง ถือเงินสด(ฝาธนาคาร)ไม่เสี่ยง แถมยังได้ดอกเบี้ยด้วย แม้จะน้อย ในช่วงที่ไม่ได้ถือหุ้น
2. กำไรที่ทำได้จากการซื้อๆขายๆระยะสั้นนั้น "มากกว่า" การรอปันผลมากๆ บางจังหวะอาจรวยข้ามวันเป็น 100% ก็ยังได้
3. เขาอาจจะมองคนที่ถือหุ้นยาวๆว่า พอหุ้นตกก็ซวยเหมือนกัน แถมอาจซวยมากกว่าเขาด้วย เพราะ โง่ ! ! ! ยอมถือขาดทุนต่อไป ในขณะที่เขาคิดว่าพวกเขาเก่งกว่า เขาสามารถขายทิ้งได้ทันก่อนที่มันจะตก หรือกรณีเลวร้าย ก็ยอมขาดทุนนิดหน่อยแต่ก็ยังขายทัน ดีกว่าไม่ขาย ไม่ชอบติดดอย ไม่ต้องทนอยู่กับหุ้นที่มูลค่าตกต่อไปอย่างยาวนาน
4.ตัวอย่างของนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จมากๆนั้นก็มีให้เห็นอยู่หลายราย เขามีฝีมือ เขาไม่ได้เสี่ยงโชคการพนันอยู่ และไม่ได้มีแต่สายนักลงทุนแบบ บัฟเฟตต์ อย่างเดียวที่จะรวยได้
5. ธุรกิจระดับ "ดีเลิศ" ที่จะเติบโต แข็งแกร่ง ไปเรื่อยๆ ทำกำไรมากขึ้นทุกปีนั้น ไม่น่าจะมีอยู่จริง และงบการเงินที่เห็นๆกันอยู่ก็อาจจะเป็นของหลอกลวง หรือ อาจคิดว่าหุ้นไม่ได้ขึ้นลงด้วยพื้นฐานเป็นหลัก แต่ขึ้นลงจากอารมณ์และกระแสมวลชนมากกว่า

แต่ในสายตานักลงทุน"สายสุดโต่ง"นั้น เขามองนักเก็งกำไรว่า
1. เงินสดนั้นเสี่ยง เพราะฝากธนาคารไว้ หากธนาคารที่ฝากล้มละลาย เงินที่ฝากย่อมสูญไปเช่นกัน และการเอาเงินฝากธนาคารนั้น ไม่ต่างกับการเอาเงินไปลงทุนซื้อธุรกิจอื่นในตลาดหุ้นที่คุณคิดว่ามันเป็นธุรกิจที่ดี เพราะธนาคารก็เป็นบริษัทหนึ่งที่ทำธุรกิจเหมือนกัน (โดยการเอาเงินคุณไปต่อเงิน และรูปแบบธุรกิจมีโอกาสเสี่ยงสูงที่สูญเงิน ส่วนมากมักเกิดจาก ธนาคารไปปล่อยกู้ต่อ แล้วกลายเป็นหนี้สูญ) ธุรกิจธนาคารจึงไม่ใช่ธุรกิจที่แน่นอนมั่นคงกว่าธุรกิจอื่นๆ หากคุณศึกษาโลกธุรกิจดีๆ จะพบว่ามีธุรกิจอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีกว่าและเสี่ยงน้อยกว่าอีกมาก ถ้าคุณเข้าใจถึงระดับนี้แล้ว คุณจะไม่อยากฝากเงินธนาคารมากๆอีกเลย ! ! !
2. นักเก็งกำไรส่วนมาก ได้กำไรมากกว่า รวยเร็วกว่าก็จริง แต่ฉาบฉวย มักอยู่ไม่ได้ในระยะยาว มีน้อยรายที่จะทำสำเร็จ ! ! ! ถึงจะมีจริงๆ แต่ส่วนใหญ่มักจะ "รวยข้ามวัน" แล้วต่อมาก็ "จนข้ามคืน" หากซื้อซี้ซั้วไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เจอแจกพอร์ต เพราะซื้อโดยการเก็งว่าจะขึ้นจะลงเท่านั้น โดยไม่ดูพื้นฐานกิจการ ยิ่งซื้อๆขายๆบ่อยๆ เดี๋ยวย่อมเดาผิดสักครั้ง และหากคราวนั้นลงเงินไปมาก ก็จะเสี่ยงหมดตัวได้ แถมไม่มีโอกาสแก้ตัว แต่สำหรับนักลงทุนเขาเลือกที่จะรวยช้าๆอย่างมั่นคง
3. พลังของดอกเบี้ยทบต้นมีอำนาจมหาศาล
หากคุณเลือกที่จะฝากเงินธนาคารแล้วกินดอกเบี้ยทบต้น 3%ต่อปี หากคุณฝากไว้ 1 ล้านบาท
ผ่านไป 30 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 2.42 ล้านบาท (ยังไม่นับเงินเฟ้อ ที่จะลดทอนมูลค่าเงินก้อนนี้ลง)
กลับกันคุณเลือกที่จะลงทุนทำธุรกิจ (โดยเลือกซื้อหุ้นดีๆเก็บไว้) แล้วได้ผลตอบแทนทบต้นแค่ 10% ต่อปีก็พอ หากคุณฝากไว้ 1 ล้านบาทแบบเดิม
ผ่านไป 10 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 2.59 ล้านบาท
ผ่านไป 20 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 6.72 ล้านบาท
ผ่านไป 30 ปี เงินก้อนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 17.44 ล้านบาท
จะเห็นว่าในช่วงต้นของการลงทุนเงินนั้น เงินเพิ่มช้ามาก แต่เวลายิ่งผ่านไปนานขึ้นเป็นสิบๆปี อำนาจของดอกเบี้ยทบต้นก็จะสำแดงแสนยานุภาพของมัน ผู้ที่เลือกทางเดินสายนี้จึงต้องอดทนมากๆ เพราะมันคือการใช้ชีวิตด้วย ต้องใช้ระยะเวลายาวนานจึงจะเห็นผลและไม่มีทางลัด ผู้ที่อดทนไม่ได้จึงวกหันกลับไปเล่นเก็งกำไร ทั้งที่ตัวเลขที่แสดงก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เพียงแค่ 10%ต่อปีในระยะเวลายาวนาน มันก็พอที่จะทำให้รวยมหาศาลและมั่นคงไม่ต้องเสี่ยง
4. นักลงทุนระยะยาวมักเชื่อว่า ไม่มีใคร "เก็งราคา" ซื้อหุ้นตอนถูกๆแล้วไปขายต่อแพงๆได้แม่นยำทุกครั้ง เพราะในระยะสั้น ราคาหุ้นทำนายไม่ได้ ไม่ต่างอะไรกับแทงไฮโลว์ที่ไม่ออกสูงก็ออกตํ่า ในขณะที่การคาดเดาว่าธุรกิจใดจะรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต ยิ่งยาวนานออกไปนั้น ยิ่งน่าสนใจและ "ทาย" ง่ายกว่ามาก หากศึกษาธุรกิจให้ลึกซึ้งเพียงพอ สุดท้ายราคาหุ้นมักเป็นไปตามสัจธรรมที่ว่า "ระยะสั้นตามข่าว ระยะยาวตามผลกำไรของบริษัท" แต่ข้อนี้ นักเก็งกำไรเก่งๆ เขาอาจเถียงว่า เขาทำนายทิศทางราคาหุ้นได้ ก็ต้องปล่อยเขา
5. นักลงทุนจะเชื่อถืองบการเงินของบริษัท อย่างสุดหัวใจในบริษัทที่เขาเลือกลงทุนแล้ว โดยยอมรับว่าบางบริษัทก็มีการสร้างบัญชีเท็จขึ้นมา เพื่อหลอกผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ แต่นักลงทุนฝีมือดี เขาสามารถมองออกได้ว่าบริษัทใดมีการตกแต่งบัญชี โดยพิจารณาจากหลายๆปัจจัยรวมกัน เช่น ความเห็นของผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น และ การปลอมแปลงตกแต่งบัญชีนั้น เป็นทั้งคดีอาญาและแพ่ง หากถูกจับได้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องมักต้องติดคุกและยึดคืนทรัพย์สินที่โกงบริษัทและปลอมแปลงบัญชีไป ดังนั้นนักลงทุนที่เก่งๆ หากเขามองว่าบริษัทไหนสีเทาๆ ไม่โปร่งใส เขาก็เลือกได้ที่จะไม่ลงทุนกับบริษัทนั้น หรือ สามารถประเมินความเสี่ยงได้หากเกิดอะไรขึ้นมา
6. กรณีหุ้นตก เนื่องจากหุ้นที่ซื้อ ถ้าเป็นกิจการที่วิเคราะห์มาดีแล้วจริงๆ ราคาหุ้นจึงมักจะกลับมาได้เสมอ และระหว่างที่ถือหุ้นรอราคาสะท้อนความเป็นจริง ยังได้เงินปันผลมารองรับ เป็นผลตอบแทนไปเรื่อยๆด้วย ผิดกับการเลือกหุ้นที่คิดว่าจะขึ้นเท่านั้น หุ้นที่ถูกใจนักเก็งกำไร มักเป็นหุ้นที่มีการขึ้นลงของราคาหวือหวา ซึ่งมักจะเป็น หุ้นปั่น หุ้นเน่า กิจการค้าขายไม่ค่อยได้กำไรด้วย หากหมดรอบแล้วหุ้นตก มักไม่มีเงินปันผลมารองรับ และโอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับขึ้นไปใหม่ก็น้อยกว่า
7. พูดถึงกรณีหุ้นตกอีก ไม่ว่าจะเป็นการ cut loss หรือ short against port ล้วนไม่สมควรกระทำ บางคนอาจคิดว่าขายทิ้งไปก่อน แล้วค่อยไปซื้อคืนใหม่ ในราคาที่ตํ่ากว่าเดิมมากๆน่าจะคุ้มกว่า คำตอบก็คือ ถ้าหุ้นมันตกต่อจริงๆ ก็ใช่ คุณทำถูกแล้ว แต่ประเด็นก็คือ นักลงทุนสายสุดโต่งนั้นเชื่อว่า ไม่มีใครทำนายราคาหุ้นในระยะสั้นได้ว่า หุ้นจะขึ้น หรือ จะตกต่อไปมากน้อยแค่ไหนต่างหาก หากขายทิ้งแล้วหุ้นดันขึ้น แทนที่จะลงต่อ คุณก็จะเสียหุ้นดีในมือหลุดลอยไป และต้องมาไล่ซื้อคืนในราคาแพงขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ความเสี่ยงก็มากขึ้นตาม ในภาวะที่ไม่แน่นอนและราคาหุ้นยังไม่ถูกอย่างแท้จริง บัฟเฟตต์กล่าวไว้ว่า "no move is a good move" และการขายแล้วไปรอเก็งราคาซื้อให้ตํ่าลง ยังเป็นการฝึกนิสัยซื้อๆขายๆบ่อยๆ ซึ่งผิดหลักการ
8.โอกาสไม่ได้มีมาบ่อยๆอย่างที่หลายคนคิด การขายออกแล้วไปซื้อตัวใหม่ แล้วหวังว่าจะทำกำไรอย่างเดิมไปได้เรื่อยๆนั้น น่าจะยากกว่าถือหุ้นดีๆราคาถูกๆมีmosเยอะๆซักตัวไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามต้องหมั่นคอยตรวจสอบพื้นฐานหุ้นที่ถืออยู่เรื่อยๆ
9. ความเห็นส่วนตัวของผมก็คือ นักเก็งกำไรที่สามารถคาดเดาทิศทางการขึ้นลงของราคาหุ้นได้ระดับเทพนั้นน่าจะมีอยู่จริง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ เขาเป็นคนทำราคาเองด้วย แต่น้อยรายที่จะเรียนรู้แล้วประสบความสำเร็จได้แบบเขา อีกทั้งยังเป็นหนทางที่เสี่ยงกว่า ในขณะที่การเรียนรู้หลักการลงทุนที่ถูกต้องนั้น คนธรรมดาทั่วไปก็ทำได้ ไม่เสี่ยงหวือหวา ความรวย-จน วูบวาบอยู่บนเส้นด้าย และถ้าผมคิดว่าหุ้นเป็นได้เพียงแค่"การพนัน"คาดเดาว่าจะขึ้นหรือลงเท่านั้น ผมจะไม่เข้ามาในตลาดหุ้นเด็ดขาด เพราะผมไม่มีดวงเรื่องการพนันครับ ผมเดาราคาหุ้นไม่เป็น แต่คาดการณ์อนาคตของธุรกิจเป็น
10. ระยะเวลาการถือครองหุ้นว่านานแค่ไหน เมื่อไหร่สมควรจะขายนั้น ก็จัดเป็นเรื่องพูดยากที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับหุ้นที่ขึ้นมามากๆจนกระทั่งพิจารณาว่า หุ้นนั้นมัน "overvalue" สุดๆจากการคำนวณ กระแสเงินสดและเงินปันผล ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตทั้งหมดเมื่อรวม possible growth แล้ว ต่อให้อีก 20 ปี ก็ไม่มีทางทำกำไรเท่ากับราคาหุ้นที่ขึ้นมาขนาดนี้ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็สมควรขายหุ้นอยู่แล้ว แต่ผมมองว่าสิ่งที่ควรใช้เพื่อดูแนวโน้มระยะยาวมากๆ น่าจะเป็น mega trend มากกว่า หากเป็นหุ้นที่อยู่ใน mega trend แล้ว ราคาหุ้นมันอาจจะยังไม่เกินมูลค่าอย่างที่ใครๆคิด กลับกัน สำหรับการใช้คติว่า ถือหุ้นไว้นานๆอย่างเดียวไม่ดูเหตุผลอื่น ก็คงไม่ใช่ VI เหมือนกัน มีข้อเสียคือ อาจจะทำให้เราลำเอียง เข้าข้างหุ้นตัวเองมากไปและไม่มองธุรกิจตามสภาพความเป็นจริงของมัน เมื่อมันเสื่อมลงก็คิดว่ายังฟื้นได้ ดังนั้นเราต้องมีสติอยู่เสมอ ตราบเท่าที่ยังลงทุนอยู่ เพราะอย่างไรเสียประเทศไทยก็อาจจะไม่ใช่ประเทศที่ดีถึงขนาดจะมี super stock ที่ถือเอาไว้ได้ 20-30 ปี แต่ก็อาจมี ถ้าคุณตาถึง ใครจะไปรู้ ! ! ! ส่วนที่ถือได้ระดับ 10-15 ปี ยังน่าจะมีอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตามที่ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งคือ "ยิ่งบุคคลใดเปลี่ยนหุ้นบ่อยมากเกินไปเท่าไหร่ ก็จะยิ่งห่างไกลจากคำว่า VI มากขึ้นเท่านั้น" ยิ่งซื้อขายเป็นรายวันอย่างนั้นยิ่งชัด วอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ จึงได้สอนนักลงทุนว่า "ให้คิดว่าตัวเองมีโอกาสซื้อหุ้นในชีวิตได้ 20 ครั้งเท่านั้น" ข้อนี้ผมก็เชื่อเช่นกัน และพยายามอยู่ แม้ว่าจะทำไม่ค่อยได้เหมือนกัน ^^! แต่หลักการนี้น่าจะถูกต้อง (ทั้งชีวิต ผมขอพยายามซื้อและขายหุ้นรวมซัก 30-40 ครั้งพอ ไม่เกินนี้ เพราะความสามารถคงไม่ถึงในระดับแค่ 20 ครั้ง ที่จะเลือกแล้วแทบไม่พลาดเลย)

อย่างไรก็ตาม จะลองยกตัวอย่างให้ดูประโยชน์จากการถือหุ้นระยะยาวกรณีเป็น"หุ้นที่ดี" สมมติมีธุรกิจหนึ่งกำลังเติบโตกินส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่ง และมีแนวโน้มในระยะยาวว่าจะยังดีอย่างนี้ต่อไปอีกเป็นสิบๆปี ได้กำไรมั่นคง แล้วปันผลทุกปีจากส่วนหนึ่งของกำไร หุ้นละ 10 บาท อย่างนี้ไปทุกปีๆ มองเบาะๆแค่นี้ก่อน

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 120 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 120 = 8.33% ต่อปี > คืนทุนใน 12 ปี

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 100 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 100 = 10% ต่อปี > คืนทุนใน 10 ปี

แต่ราคาหุ้นผันผวนขึ้นๆลงๆ แล้วคุณรอจังหวะซื้อได้ในราคาหุ้นละ 40 บาท ลองคิดแบบเดิม

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 40 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 40 = 25% ต่อปี > คืนทุนใน 4 ปี

หรือ กรณีหุ้นตกมาก

หากซื้อหุ้นนี้ในราคาหุ้นละ 20 บาท ได้ปันผลหุ้นละ 10 บาทต่อปี
ก็เทียบเท่ากินดอกเบี้ย = (10 x 100) / 20 = 50% ต่อปี > คืนทุนใน 2 ปี

หรืออีกกรณี ถ้ากิจการดีมาก ยอดขายเพิ่ม กำไรเพิ่ม ทุกปี ปันผลก็มีโอกาสจะมากขึ้นทุกปีด้วยเช่นกัน เช่น สมมติผ่านไปอีก 3 ปี บริษัททำมาค้าขายได้กำไรมากขึ้น เลยจ่ายปันผลมากขึ้นเป็นหุ้นละ 15 บาท คุณก็จะคืนทุนเร็วขึ้นอีก เป็นต้น

ลองคิดดูว่า หากราคาหุ้นตกโดยไม่มีเหตุผล เพราะคนกลัวเกินกว่าเหตุ ทั้งที่บริษัทก็ยังดำเนินงานปกติ ทำกำไรและจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างเดิม ราคาหุ้นที่ตกลงไป จะไม่ได้ทำให้คุณกลัวหรืออยากขายหุ้นทิ้งเลยสักน้อย กลับกัน คุณจะมีความรู้สึกว่า อยู่ดีๆก็มีของดี ลดราคา มาให้คุณอยากซื้อซะมากกว่า มีใครไม่อยากได้ดอกเบี้ย 10-20%ต่อปีบ้าง ถ้าวิเคราะห์ธุรกิจดีแล้วว่าจะได้อย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆอีกนานโดยไม่ใช่แค่ของชั่วคราว (ดังนั้นจงเหลือกระสุนสำรองบางส่วน ไว้ซื้อเพิ่มอยู่เสมอ สำคัญมาก)

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมหุ้นดีๆจึงไม่ต้องกลัวตอนมันตก เป็นเพราะว่า เมื่อคนหายตกใจ และเห็นมันตามสภาพความเป็นจริง ว่าธุรกิจยังดีอยู่ จ่ายปันผลก็สูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ลดลง ก็ย่อมมีคนแย่งกันให้ราคา จนผลักดันราคาหุ้นมันกลับมาได้ในที่สุด และเป็นอีกคติพจน์ที่ผมชอบก็คือ "ราคาคือภาพลวงตา มีขึ้นมีลงตามอารมณ์ตลาด ส่วนปันผลคือของจริง ตามผลประกอบการของธุรกิจ"

หลังจากคืนทุน ถ้าวิเคราะห์แล้วกิจการยังดี ก็ปล่อยให้ หุ้นที่ถือ ปันผลต่อไปเรื่อยๆ เป็นเครื่องจักรพิมพ์แบงค์ให้เรา ยังไม่นับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นตามมูลค่าบริษัทที่มากขึ้นด้วย หรือถ้าอยากจะขายหุ้นขึ้นมา ก็ขายได้ในราคาที่ดี แต่ถ้ากิจการมันยังดี ยังเติบโต และเทียบแล้วได้ปันผลสูงๆ แถมบางทีปันผลมากขึ้นเรื่อยๆและมากกว่าเดิมทุกปี ก็คงไม่อยากขายหุ้นอยู่ดี เพราะขายแล้วไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรที่ได้ผลตอบแทนเท่านี้อีก (เอาไปฝากแบงค์กินดอกเบี้ยเงินฝาก 2-3%ต่อปี คงปลอดภัยกว่าถือหุ้นมั๊ง 5555 ยังคิดไม่ได้ ลองอ่านใหม่ตั้งแต่ข้างบนอีกรอบครับ)

และยํ้าอีกครั้งว่า...ถูกที่สุด แพงที่สุด ไม่เคยมี ไม่มีใครสามารถเก็งซื้อหุ้นได้ตอนตํ่าที่สุด แล้วไปขายตอนราคาขึ้นสูงสุดได้ การซื้อหุ้นระยะยาวคือการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คุณยอมรับได้ เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่คุณซื้อนั่นเอง เมื่อซื้อแล้วต้องทนกับความผันผวนของราคาในระยะสั้นให้ได้ ! ! ! (ขอบคุณคุณแพทสำหรับประโยคนี้)

อ่านธุรกิจขาด ซื้อก่อน-ซื้อราคาตํ่า ก็รวย และมีส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดเพื่อความปลอดภัยมากกว่า... ซื้อแพง-ซื้อทีหลัง ราคาขึ้นมาเยอะแล้ว หรือ หากธุรกิจไม่เป็นตามคาด ก็ติดดอย... แต่หากธุรกิจสุดท้ายดีจริง ดอยนี้ก็ไม่หนาวนัก แค่เสียโอกาสนิดหน่อย เดี๋ยวราคามันก็กลับมารับ ^^!

หลักการที่ต้องจำไว้เสมอสำหรับการลงทุนคือ 1. การอดทนถือหุ้นที่ดี ให้ได้นานๆ แล้วผลตอบแทนมันจะกลับมาเอง (ผู้ที่ไม่มีความอดทน จะไม่มีวันได้เจอหุ้น 10 เด้ง หรือ รวยขึ้น 10 เท่านั่นแหละ ซึ่งมีอยู่จริงๆ ไม่เชือลองไปดูราคาหุ้นบางตัวได้ มีหลายตัวที่ราคาขึ้นมาเป็น 10 เท่า หากคุณถือไว้ตั้งแต่ต้นแล้วไม่ขายทิ้งไปซะก่อน เช่น PTT, DCC, TF, etc, ยังไม่นับเงินปันผลระหว่างทางที่ถือหุ้นมาเรื่อยๆอีก) และ 2. อดทน "ไม่ซื้อ" หุ้นใดๆอย่างผลีผลาม รอจนได้ราคาที่เหมาะสม ถูกมาก เมื่อเทียบกับคุณภาพของมัน แต่ไม่ใช่ถูกที่สุด แม้จะต้องรอนานเป็นปีๆ

หัดประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของธุรกิจ แล้วคุณจะรู้เองว่า หุ้นราคาที่คุณเห็นแพงไปหรือยัง สมควรซื้อ ถือ หรือ ขาย ทั้งนี้จะเห็นว่าผมใช้อัตราการปันผลเป็นตัว approach เนื่องจากมันอธิบายกลไกการขึ้นลงของราคาหุ้นได้ชัดเจนดีเท่านั้น อีกอย่างที่ผมเอาเงินปันผลเป็นตัวจับ เนื่องจากบางคนอาจเลือกแค่กิจการที่ทำกำไรดี แล้วมองว่าราคาหุ้นมันก็น่าจะไปด้วยกัน แต่จริงๆมีหลายบริษัทที่กำไรดีแต่จ่ายปันผลน้อย เก็บกำไรไว้กับตัวบริษัทอย่างเดียว สุดท้ายราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ไม่ได้อะไรตอบแทนที่จับต้องได้กลับคืนมา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นแค่ทางเลือกหนึ่งและอาจไม่ใช่ทางที่ดีที่สุดที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์เสมอไป ความสำเร็จสามารถเดินได้หลายวิธีการ เช่น บางบริษัทอาจไม่จ่ายปันผลเพราะเอาไปสร้างกำไรภายภาคหน้าได้มากกว่าก็มี ดังนั้น เลือกทางที่คุณถนัดเพื่อเป้าหมายของตัวเองและไม่จำเป็นต้องตายตัว เหนือสิ่งอื่นใด"ความอดทน บาลานซ์กับ สติ เหตุผลรู้เท่าทันความจริง" น่าจะสำคัญที่สุดถ้าจะเลือกเป็นVI
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอขอบคุณมากครับ..สำหรับบทความดีๆบทนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 2

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 9

โพสต์

สุดยอดครับ
จากที่เคยสัมผัสมาคนที่เป็นนักแสวงโชคเขาเป็นแบบนั้นกันจริง ๆ
เวลาคุยกันแรก ๆ จะงง ๆ เหมือนคุยกันคนละภาษา :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Outliers
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 527
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ดันบทความดีๆ มาให้น้องใหม่ได้อ่านกัน

สรุปรวบรวมหมวดหมู่ได้ดีมากครับ

แต่น่าจะไป Post ในห้อง Value Investing ด้วยนะครับ
เพราะดูแล้วไม่แค่มือใหม่ที่ควรอ่าน
ผมว่าทุกคนที่เป็น VI ก็ควรอ่านครับ
The Miracle of 10,000 hrs
Noinar
Verified User
โพสต์: 136
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
" Risk comes from not knowing what you’re doing " Warrent Buffett
ภาพประจำตัวสมาชิก
vipnum
Verified User
โพสต์: 75
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับผม บทความดีๆอีกแล้วครับท่าน
"life is simple once you make a choice and you never look back"
ภาพประจำตัวสมาชิก
นพพร
Verified User
โพสต์: 1039
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่ หรือเปล่า

โพสต์ที่ 13

โพสต์

โอ้ว เยี่ยมๆ
ก้าวแรกที่เล็กๆ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต
โพสต์โพสต์