ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 151

โพสต์

FED:ปธ.เฟดนิวยอร์คเผยยังไม่มีการตัดสินใจเรื่องโครงการ QE3
นิวยอร์ค--20 มี.ค.--รอยเตอร์

นายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผย
ว่า เฟดยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม หรือ QE3 หรือ
ไม่ แต่นั่นก็ยังเป็นทางเลือกหนึ่ง
นายดัดลีย์ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีภาพรวมที่ไร้ทิศทาง ซึ่งเป็นการลดสัญญาณที่ว่า
เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวเร็วขึ้นด้วยคำเตือนที่ว่า เศรษฐกิจอาจจะหยุดชะงักได้ง่ายๆ
"ยังไม่มีการตัดสินใจอะไร" นายดัดลีย์กล่าวถึง QE3 ซึ่งเฟดจะซื้อสินทรัพย์จำนวน
มากเพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง และกระตุ้นเศรษฐกิจ
"ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจพัฒนาอย่างไร" เขากล่าว "เป็นเรื่อง
เกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ และถ้าเรามาถึงจุดที่เราคิดว่าผลประโยชน์ของโครงการ
QE อีกรอบ มีมากกว่าต้นทุน เราก็จะดำเนินการแน่นอน"
นายดัดลีย์ได้ปกป้องการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของเฟด แต่เขาก็ไม่
ได้ชี้แนะว่าเฟดกำลังเตรียมการใดเพิ่มเติมเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และลด
อัตราการว่างงานซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 8.3%
ขณะเดียวกัน นายริชาร์ด ฟิสเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัสกล่าวว่า เขาเชื่อว่า
จะไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ถ้าเฟดผ่อนคลายนโยบายลงอีก--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 152

โพสต์

EUROPE:อีซีบีคาดยูโรโซนบรรลุข้อตกลงขยายวงเงินกองทุนยุโรปสัปดาห์นี้
แฟรงค์เฟิร์ต--26 มี.ค.--รอยเตอร์

นายเยอร์ก อาสมุสเซน สมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี) คาดว่า ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปจะสามารถประนีประนอมกันได้ในเรื่องการ
ขยายวงเงินของกองทุนคุ้มครองยูโรโซนในสัปดาห์นี้ ขณะที่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนจะหารือ
กันในประเด็นดังกล่าวในการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนในวันที่ 30-31 มี.ค.
ทั้งนี้ ประเทศส่วนใหญ่ในบรรดาประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศต่าง
สนับสนุนให้มีการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กองทุนคุ้มครองยูโรโซน เพื่อสกัดกั้นการ
ลุกลามของวิกฤติหนี้ อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา เยอรมนีและฟินแลนด์ต่างก็ลังเล
ที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องนี้
นายอาสมุสเซนกล่าวว่า "ผมคาดว่ายุโรปจะสามารถประนีประนอมกันได้
ในประเด็นนี้ในการประชุมรัฐมนตรีคลังอย่างไม่เป็นทางการครั้งถัดไปที่กรุงโคเปน
เฮเกนในช่วงปลายสัปดาห์นี้"
"อีซีบีสนับสนุนให้มีการเพิ่มขนาดกองทุนคุ้มครองยุโรปเพื่อจะได้มีเครื่องมือ
ไว้ใช้ในการแก้ไขวิกฤติ และเราก็มองว่าขนาดของกองทุนคุ้มครองยุโรปถือเป็นเงื่อนไข
อันหนึ่งที่ประเทศสมาชิกอื่นๆในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ
รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ตั้งไว้เพื่อใช้ในในการตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งกองทุน
คุ้มครองระดับโลก หรือตัดสินใจเรื่องการเพิ่มขนาดทุนทรัพย์ของกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิ"
ไอเอ็มเอฟจะจัดการประชุมที่กรุงวอชิงตันในวันที่ 20-22 เม.ย.
นายอาสมุสเซนเข้าร่วมในการประชุมผู้กำหนดนโยบายของยุโรปที่เมือง
ซาริเซลคาในฟินแลนด์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีเยอร์คี คาไทเนน
ของฟินแลนด์กล่าวว่า ฟินแลนด์พร้อมที่จะประนีประนอมเรื่องการขยายขนาดกองทุน
คุ้มครองยูโรโซน ถึงแม้ฟินแลนด์ไม่มั่นใจว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่
นิตยสาร Der Spiegel ของเยอรมนีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาล
เยอรมนีว่า เยอรมนีพร้อมที่จะยุติการคัดค้านการปรับเพิ่มความสามารถในการปล่อยกู้
ของกองทุนคุ้มครองยูโรโซน โดยใช้วิธีรวมกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป
(EFSF) เข้ากับกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) เป็นการชั่วคราว
ทั้งนี้ ต่อข้อถามเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านวิกฤติหนี้ยูโรโซน นายอาสมุสเซน
ตอบว่า ถึงแม้ตลาดสงบลงแล้วนับตั้งแต่ต้นปีนี้ แต่วิกฤติหนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดลง และรัฐบาล
ควรจะใช้เวลานี้ในการดำเนินมาตรการปฏิรูปที่จำเป็น
ทางด้านนายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีกล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า วิกฤติหนี้
ยูโรโซนได้ผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดไปแล้ว แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 153

โพสต์

EUROPE:ตลาดหุ้นยุโรปดีดกลับแดนบวก อานิสงส์ Ifo หนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน
ลอนดอน--26 มี.ค.--รอยเตอร์

ตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวขึ้นในวันนี้ หลังจากสถาบัน Ifo ของเยอรมนี
ได้เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ดีเกินคาด
ณ เวลา 14.09 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst 300
บวก 0.1% มาที่ 1,080 หลังจากร่วงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 1,076.99
โดยดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีบวก 0.2%
สถาบัน Ifo ของเยอรมนีเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเกินคาดเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมี.ค. ท่ามกลาง
สัญญาณที่แสดงว่า เศรษฐกิจของเยอรมนียังคงขยายตัว และมีอัตราการ
เติบโตดีกว่าประเทศอื่นๆในยูโรโซน
ทั้งนี้ สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ที่ได้จากการสำรวจความเห็นบริษัทราว 7,000 แห่ง เพิ่มขึ้นสู่ 109.8
ในเดือนมี.ค. จาก 109.7 ในเดือนก.พ.
ก่อนหน้านี้ โพลล์รอยเตอร์สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์
51 คนคาดว่า ดัชนี Ifo จะทรงตัวที่ระดับ 109.6 ในเดือนมี.ค.--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 154

โพสต์

EUROPE:หุ้นยุโรปเปิดตลาดร่วง 0.2% กังวลสเปนขอเงินกู้อียู
ลอนดอน--28 มี.ค.--รอยเตอร์

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ ขณะที่
ปัจจัยหนุนตลาดจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน
เพิ่มเติมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้จางหายไป และนักลงทุน
มีความวิตกอีกครั้งต่อฐานะการคลังของสเปน
ณ เวลา 14.11 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst 300
ลดลง 1.99 จุด หรือ 0.2% มาที่ 1,081.55 โดยปรับตัวลงต่อจากการ
ร่วงลง 0.5% เมื่อวานนี้
ส่วนดัชนี IBEX ตลาดหุ้นสเปนนำตลาดหุ้นในภูมิภาคอ่อนตัวลง
โดยร่วงลง 0.4%
เทรดเดอร์ระบุว่า ดัชนี FTSEurofirst 300 อาจจะได้รับ
ผลกระทบจากแรงขายทำกำไรมากขึ้น หลังจากที่พุ่งขึ้นราว 8% แล้ว
นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ และคาดว่าจะทำสถิติพุ่งขึ้นมากที่สุดในไตรมาสนี้
นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 1998
สเปนกลับมาเป็นที่สนใจของเทรดเดอร์อีกครั้ง ขณะที่รัฐบาล
จะแถลงงบประมาณในวันศุกร์นี้ ซึ่งจะรวมการปรับลดรายจ่ายของรัฐราว
2.0 หมื่นล้านยูโร โดยที่รัฐบาลไม่ทำผิดสัญญาในการขึ้นภาษีเงินได้ หรือ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
"ขณะที่กรีซหายไปจากความสนใจของเทรดเดอร์ แต่ดูเหมือนว่า
สเปนกำลังเข้ามาแทนที่ โดยนักลงทุนมีความกังวลอย่างมากว่า สเปนจะ
ตามรอยประเทศที่มีสถานะทางการคลังย่ำแย่ในยูโรโซน และไม่สามารถ
ปฏิรูปเศรษฐกิจได้มากพอที่จะหลีกเลี่ยงการขอความช่วยเหลือได้" นาย
โจนาธาน ซูดาเรีย เทรดเดอร์ จากแคปิตอล สเปรดส์กล่าว
เมื่อวานนี้ สเปนและคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ได้ออกมา
ปฏิเสธรายงานของสื่อที่ว่า อีซีได้แจ้งให้รัฐบาลสเปนรับความช่วยเหลือ
จากสหภาพยุโรป เพื่อรีไฟแนนซ์ธนาคารที่มีปัญหาของประเทศ
"ในด้านปัจจัยพื้นฐาน ยังคงมีคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับ
ประเทศยุโรปบางประเทศ นอกเสียจากว่าเราจะได้ยินการยืนยันเรื่อง
การออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 หรือ QE3 จากนายเบน
เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ขณะที่ตลาดก็อาจจะผันผวนเล็กน้อยในสัปดาห์หน้า"
นายมาร์ค พรีสต์ เทรดเดอร์จากอีทีเอ็กซ์ แคปิตอลกล่าว--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 155

โพสต์

USA:"โกลด์แมน แซคส์"แนะนักลงทุนลดน้ำหนักสินค้าโภคภัณฑ์หลังราคาแตะเป้าหมาย
นิวยอร์ค--29 มี.ค.--รอยเตอร์

โกลด์แมน แซคส์เปิดเผยว่า ทางบริษัทกำลังเปลี่ยนคำแนะนำสำหรับ
การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เป็น "ลงทุนปานกลาง" จาก "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน"
ในระยะใกล้ ขณะที่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ อาทิ ทองแดง, น้ำมันดิบและ
ถั่วเหลืองได้ปรับตัวถึงระดับเป้าหมายในระยะสั้นของโกลด์แมน แซคส์แล้ว
อย่างไรก็ตาม โกลด์แมนระบุว่า ทางบริษัทจะยังคงเพิ่มน้ำหนักการ
ลงทุนสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ในระยะ 12 เดือน โดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทน
10%
"เราเชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจมหภาคมีแนวโน้มอ่อนแอลงในไตรมาส 2
ขณะที่ปัจจัยกระตุ้นช่วงขาขึ้นในระยะสั้นมีน้อยกว่าความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในตะวัน
ออกกลาง" โกลด์แมนระบุ
โกลด์แมนเปิดเผยว่า ทางบริษัทยังคงแนะนำการลงทุนในระยะยาว
สำหรับสัญญาทอง และน้ำมันดิบ WTI ในตลาด NYMEX
"คำแนะนำเหล่านี้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้น แต่อยู่บน
พื้นฐานของมูลค่า โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะปรับตัวใกล้เคียงราคาน้ำมัน
ดิบเบรนท์ เนื่องจากประเด็นด้านการขนส่งได้รับการแก้ไขแล้ว"
โกลด์แมนระบุว่า แนวโน้มราคาทองในปีนี้และในช่วง 3, 6 และ
12 เดือนอยู่ที่ 1,785, 1,840 และ 1,940 ดอลลาร์/ออนซ์ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม โกลด์แมนระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่าง
ต่อเนื่องของสหรัฐได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ราคาทองที่ปรับตัวขึ้น--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 156

โพสต์

EUROPE:คาดพรุ่งนี้ยูโรโซนไฟเขียวขยายวงเงินกองทุนยุโรปสู่ 7.5 แสนล้านยูโร
มาดริด--29 มี.ค.--รอยเตอร์

นายลูอิส เด กวินโดส รมว.เศรษฐกิจสเปน กล่าวว่า ยูโรโซนอาจตัดสินใจ
เพิ่มวงเงินในกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ขึ้นสู่ 7.50 แสนล้านยูโร
ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) จะหารือกันเกี่ยวกับการรวมความ
สามารถในการปล่อยกู้ของ ESM ซึ่งเป็นกองทุนถาวร เข้ากับกองทุนรักษาเสถียรภาพ
การเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนชั่วคราว ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ
ที่กรุงโคเปนเฮเกนในวันพรุ่งนี้
นายเด กวินโดสกล่าวว่า "ผมหวังว่าในเวลาสองวันข้างหน้า การประชุม
ยูโรกรุ๊ปที่กรุงโคเปนเฮเกนจะสามารถบรรลุข้อตกลงกันในเรื่องกองทุนคุ้มครอง
โดยจะส่งผลให้มีการเพิ่มขนาดกองทุนขึ้นจาก 5 แสนล้านยูโร สู่ระดับราว 7.5
แสนล้านยูโร"
แหล่งข่าวในกระทรวงเศรษฐกิจสเปนกล่าวว่า นายเด กวินโดส
คาดว่าจะมีการรวมความสามารถในการปล่อยกู้ทั้งหมดของ ESM ที่ 5 แสนล้าน
ยูโร เข้ากับเงินทุนที่ยังไม่มีภาระผูกพัน 2.48 แสนล้านยูโรใน EFSF
EFSF มีความสามารถในการปล่อยกู้ทั้งหมดอยู่ที่ 4.40 แสนล้านยูโร
แต่ EFSF มีภาระผูกพันในการจัดสรรเงิน 1.92 แสนล้านยูโรให้แก่กรีซ,
ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส โดยโครงการช่วยเหลือ 3 ประเทศนี้จะดำเนิน
ต่อไปหลังจาก EFSF ปิดตัวลงในช่วงกลางปี 2013
การรวม 2 กองทุนดังกล่าวเข้าด้วยกันถือเป็นทางเลือกที่คณะ
กรรมาธิการยุโรป (อีซี) ชื่นชอบ แต่ยูโรกรุ๊ปจะพิจารณาทางเลือกอื่นๆ
ในการปรับเพิ่มขนาดกองทุนด้วยในวันพรุ่งนี้
เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งในยูโรโซนกล่าวว่า ยูโรกรุ๊ปจะพิจารณา
ความเป็นไปได้ในการให้ประเทศต่างๆจ่ายเงินสมทบเข้าสู่ ESM ภายในเวลา
เพียง 3 ปี แทนที่จะเป็น 4 ปี เพื่อให้ ESM มีความสามารถในการปล่อยกู้
อย่างเต็มที่ภายในเวลาที่รวดเร็วขึ้น
เยอรมนีส่งสัญญาณในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เยอรมนีเต็มใจที่จะปรับ
เพิ่มขนาดทุนทรัพย์ที่ใช้ในการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน และความเคลื่อนไหว
ในครั้งนี้อาจจะส่งผลให้สเปนได้รับการคุ้มครองจากวิกฤตการณ์ ในขณะที่
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนพุ่งขึ้น และนักลงทุนกังวลกับฐานะการเงิน
ของสเปน
นายเด กวินโดสกล่าวว่า เศรษฐกิจสเปนหดตัวลงในไตรมาส
เดือนม.ค.-มี.ค.นี้ หลังจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
ร่วงลงในไตรมาส 4/2011 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจสเปนเข้าสู่ภาวะถดถอย
ครั้งใหม่
นายเด กวินโดสกล่าวว่า "จีดีพีไตรมาสแรกจะอยู่ในระดับที่เลวร้าย
แต่ไม่ย่ำแย่มากเท่ากับไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว" โดยธนาคารกลางสเปนรายงาน
ในวันอังคารว่า เศรษฐกิจสเปนยังคงหดตัวลงต่อไป
จีดีพีสเปนหดตัวลง 0.3 % ในไตรมาส 4/2011 เมื่อเทียบราย
ไตรมาส และถือเป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบ 2 ปี ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์
กังวลว่าการหดตัวในครั้งนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะตกต่ำยาวนาน หลังจาก
รัฐบาลสเปนได้อนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวดเพื่อปรับลดยอดขาดดุล
งบประมาณที่ระดับสูง--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 157

โพสต์

> ITALY:จับตาอิตาลีประมูลบอนด์กว่า 8 พันล้านยูโรวันนี้ วงเงินสูงสุดในสัปดาห์
มิลาน--29 มี.ค.--รอยเตอร์

คาดกันว่าธนาคารพาณิชย์อิตาลีจะเข้าซื้อพันธบัตรที่รัฐบาลอิตาลีจะนำออก
ประมูลในวันนี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีประเภท 10 ปีอาจจะลดลงสู่ระดับ
ต่ำกว่า 5.5 % และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภท 5 ปีอาจจะเข้าสู่เสถียรภาพ
ทั้งนี้ อิตาลีจะประมูลพันธบัตรราว 8.25 พันล้านยูโรในวันนี้ ซึ่งเป็น
ครั้งที่ 3 และเป็นครั้งใหญ่ที่สุดของสัปดาห์นี้ หลังจากที่ได้ประมูลไปแล้ว 2 ครั้ง
ในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ดี หลังจากมีคำสั่งขายทำกำไรเข้ามาในระยะนี้ นักลงทุน
ก็จะจับตาดูว่า แรงหนุนที่ตลาดพันธบัตรเคยได้รับจากมาตรการปล่อยเงินกู้ระยะยาว
ดอกเบี้ยต่ำ (LTRO) ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในช่วงที่ผ่านมาได้จางหายไป
แล้วหรือไม่
อิตาลีจะขายพันธบัตรประเภทอายุ 5 ปี, 10 ปี และพันธบัตร CCTeu
ปี 2017 ที่สัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยยูริบอร์ในวันนี้ หลังจากอิตาลีประสบความสำเร็จ
ในการประมูลตั๋วเงินคลังวงเงิน 8.5 พันล้านยูโรเมื่อวานนี้ แต่ไม่ประสบความ
สำเร็จมากนักในการประมูลพันธบัตรที่ไม่ระบุดอกเบี้ยและพันธบัตรที่อ้างอิงอัตรา
เงินเฟ้อในวันอังคาร
นายเจมี เซียร์เล นักวิเคราะห์ของซิตี้กรุ๊ประบุว่า "เราคาดว่าการประมูล
ในวันนี้จะดำเนินไปด้วยดี โดยตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ยังคงมีเงินสดจำนวนมากจาก
LTRO ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้นำออกใช้"
"เราคาดว่าผู้ซื้อภายในประเทศจะส่งคำสั่งซื้อเข้ามา แต่ถ้าหากพวกเขา
ไม่ส่งคำสั่งซื้อ สิ่งนี้ก็จะถือเป็นสัญญาณสำคัญมากที่แสดงให้เห็นว่า ผลบวกจาก LTRO
เริ่มจางหายไปแล้ว"
ธนาคารอิตาลีกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากอีซีบีเป็นจำนวนราว 2.55 แสนล้านยูโร
ในช่วงที่ผ่านมา และปัจจัยนี้มีส่วนช่วยกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีให้ร่วงลง
อย่างมาก หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในช่วงปลายปี 2011 โดยนักวิเคราะห์
คาดว่าอัตราผลตอบแทนอาจจะลดลงได้ไม่มากนักในอนาคต เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจ
อิตาลีมีความไม่แน่นอน และยังไม่เป็นที่แน่นอนว่ามาตรการปฏิรูปตลาดแรงงานของอิตาลี
จะให้ผลเช่นใด
อิตาลีได้จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล BTP ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ย.2022
ในช่วงสิ้นเดือนก.พ. และจ่ายอัตราดอกเบี้ย 5.5 % ในครั้งนั้น ขณะที่อัตราผลตอบแทน
พันธบัตรอิตาลีอยู่ที่ 5.25 % เมื่อวานนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าต้นทุนการกู้ยืมมีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตร BTP ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนพ.ค.
2017 ในตลาดขณะนี้ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนในการประมูลที่ 4.19 %
เมื่อหนึ่งเดือนก่อน ขณะที่เทรดเดอร์กล่าวว่า ราคาพันธบัตรประเภท 5 ปีได้ถูกกดดัน
จากคำสั่งขายทำกำไรในระยะนี้
นักวิเคราะห์ของธนาคารยูนิเครดิตระบุว่า "อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลี
ประเภท 5 ปีอาจจะเข้าสู่เสถียรภาพในการประมูลเป็นครั้งแรกหลังจากร่วงลงในช่วง
หลายเดือนที่ผ่านมา"
อิตาลีจำหน่ายพันธบัตรไปแล้ว 6.6 หมื่นล้านยูโรนับตั้งแต่ต้นปีนี้ และมีกำหนด
ไถ่ถอนพันธบัตร 2.7 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. หลังจากชำระหนี้พันธบัตรไปแล้วใน
จำนวนที่สูงกว่านั้นราว 2 เท่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 158

โพสต์

RPT)USA:จับตา"มูดี้ส์"เล็งหั่นเครดิต 15 แบงก์ยักษ์ใหญ่ทั่วโลกกลางเดือนหน้า

นิวยอร์ค--3 เม.ย.--รอยเตอร์

ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐซึ่งรวมถึงมอร์แกน สแตนเลย์, แบงก์ ออฟ
อเมริกา และซิตี้กรุ๊ปกำลังเผชิญกับความเป็นไปได้ที่ทางธนาคารอาจจะถูกปรับลด
อันดับความน่าเชื่อถือครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้
ธนาคารกลุ่มนี้มีต้นทุนในการระดมทุนที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
ทางการแข่งขันในตลาดทุน
ทั้งนี้ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสกำลังทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือ
ของธนาคารขนาดใหญ่ 15 แห่งทั่วโลก โดยอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
ในช่วงกลางเดือนพ.ค. โดยการปรับลดอันดับลงในวงกว้างอาจส่งผลให้ธนาคาร
หลายแห่งมีอันดับความน่าเชื่อถือดิ่งลงไปแตะจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ในบรรดาธนาคารสหรัฐนั้น มอร์แกน สแตนเลย์เป็นธนาคารที่อาจถูก
ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอย่างรุนแรงที่สุด หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์
ได้รับคำเตือนว่าอาจถูกปรับลดอันดับลง 3 ขั้นสู่อันดับในกลุ่ม Baa โดยนักลงทุน
บางรายและคู่ค้าอาจมองว่าอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวมีความเสี่ยงมากเกินไป
ทางด้านแบงก์ ออฟ อเมริกาและซิตี้กรุ๊ปซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือ
อยู่ต่ำกว่าอันดับของมอร์แกน สแตนเลย์ในปัจจุบัน กำลังได้รับการพิจารณา
ที่อาจถูกปรับลดอันดับลงสู่ขั้น Baa2 นอกจากนี้ มูดี้ส์กำลังพิจารณาอันดับความ
น่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะสั้นของธนาคารทั้งสามแห่งนี้เพื่ออาจปรับลดอันดับลง
จากขั้นสูงสุดด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารทั้ง 3 แห่งนี้สูญเสียช่องทางบางส่วน
ในการระดมทุนจากตลาดหนี้ระยะสั้น
ไม่มีแนวโน้มว่าการตัดสินใจของมูดี้ส์จะส่งผลให้เกิดภาวะตึงเครียด
ทางการระดมทุนในธนาคารกลุ่มนี้ เพราะธนาคารหลายแห่งได้ปรับลดการพึ่งพา
การระดมทุนระยะสั้นและการระดมทุนในแบบที่อาจได้รับผลกระทบจากอันดับความ
น่าเชื่อถือนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา
ธนาคารกลุ่มนี้ได้ปรับเพิ่มเงินฝากและทุนกันชนในช่วงที่ผ่านมาด้วย
ซึ่งส่งผลให้ธนาคารมีความสามารถมากยิ่งขึ้นในการรับมือกับการแห่ถอนเงิน
ของลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุที่เคยทำให้ธนาคารหลายแห่ง อย่างเช่น แบร์ สเติร์นส์
และเลห์แมน บราเธอร์สล้มละลายมาแล้วในอดีต
อย่างไรก็ดี การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในช่วงนี้อาจส่งผลกระทบ
ต่อตลาดหนี้ระยะสั้น และอาจกระทบต่อเนื่องไปถึงผู้จำหน่ายพันธบัตรเทศบาลด้วย
เนื่องจากพันธบัตรเทศบาลหลายรายการได้รับการค้ำประกันจากอันดับความน่าเชื่อถือ
ที่แข็งแกร่งของธนาคาร
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจะสร้างความเสียหายต่อความสามารถ
ทางการแข่งขันของธนาคารที่มีอันดับต่ำด้วย ในขณะที่ธนาคารคู่แข่งอย่างเช่นเจพี
มอร์แกน และโกลด์แมน แซคส์มีแนวโน้มที่จะรักษาอันดับความน่าเชื่อถือในกลุ่ม A
ได้ต่อไป
นายจอห์น กวาร์เนรา นักวิเคราะห์เครดิตธนาคารสหรัฐของธนาคาร
โซซิเอเต้ เจเนอราล กล่าวว่า "คุณจะเห็นการแบ่งตลาดออกจากกันระหว่าง
สถาบันที่อาจจะถูกปรับลดอันดับลง และสถาบันที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่า
โดยปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือการที่มูดี้ส์มุ่งความสนใจไปยังปัจจัยเชิงโครงสร้าง
ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สถาบันใดๆจะสามารถดำเนินการชดเชยในส่วนนี้ได้"
อันดับความน่าเชื่อถือในกลุ่ม Baa เป็นอันดับที่โบรกเกอร์ไม่ต้องการ
ในระยะยาว เนื่องจากนักลงทุนและคู่ค้าหลายรายจะทำการลงทุนและการค้า
กับบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในกลุ่ม Baa น้อยกว่ากับบริษัทที่มีอันดับ
ความน่าเชื่อถืออยู่ในกลุ่ม A
การปรับลดอันดับอาจส่งผลให้มีการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันมากยิ่งขึ้น
เพื่อใช้ในการค้ำประกันการค้าในตลาดตราสารอนุพันธ์เอกชนที่มีวงเงิน 300
ล้านล้านดอลลาร์ในสหรัฐ และอาจส่งผลให้ต้นทุนของธนาคารกลุ่มนี้ในการดำเนิน
กิจกรรมในตลาดทุนเพิ่มสูงขึ้น
มูดี้ส์ระบุว่า การทบทวนอันดับในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนที่ยังคงมีอยู่
ในรูปแบบธุรกิจของดีลเลอร์ ถึงแม้บริษัทดีลเลอร์ปรับโครงสร้างธุรกิจของตนเอง
เพื่อปรับลดความเสี่ยงลงก็ตาม
นายปีเตอร์ เนอร์บี รองประธานฝ่ายบริษัทการเงินในมูดี้ส์ กล่าวว่า
"เมื่อคุณพิจารณาลักษณะบางประการของอุตสาหกรรมนี้, การแข่งขัน, กำลังความ
สามารถที่สูงเกินไป และการขาดแคลนรายได้ประจำ คุณก็จะเห็นว่าอุตสาหกรรม
ประเภทนี้มีลักษณะการเก็งกำไรบางประการที่มีความสอดคล้องกับอันดับในกลุ่ม Baa
มากกว่า"
มีสัญญาณบ่งชี้ว่า การทบทวนอันดับของมูดี้ส์ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน
ของนักลงทุนบางรายแล้วด้วย นับตั้งแต่มูดี้ส์ประกาศเรื่องการทบทวนอันดับในเดือนก.พ.
เป็นต้นมา
เจพีมอร์แกนเปิดเผยบทวิเคราะห์การไหลเวียนของเงินทุนในกองทุนชั้นนำ
ของสหรัฐในเดือนก.พ. โดยบทวิเคราะห์ระบุว่า กองทุนบางแห่งได้โยกย้ายเงินลงทุน
ออกจากตราสารการค้าที่ไม่มีประกันและบัตรเงินฝากของธนาคารที่อาจถูกปรับลดอันดับ
เพื่อนำเงินไปลงทุนในธนาคารที่ได้รับการคงอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นแทน
มีการปรับลดปริมาณการปล่อยกู้แก่ธนาคารสหรัฐผ่านทางตลาดข้อตกลงซื้อคืน
พันธบัตร (รีโป) ด้วย โดยธนาคารพาณิชย์มักจะกู้ยืมเงินจากตลาดนี้เพื่อนำมาใช้ในการ
ซื้อสินทรัพย์ อย่างไรก็ดี
ปริมาณการปล่อยกู้ได้เพิ่มสูงขึ้นสำหรับธนาคารอังกฤษซึ่งไม่ได้
รับผลกระทบจากการทบทวนอันดับโดยมูดี้ส์
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอาจส่งผลให้ผู้ปล่อยกู้ในตลาดรีโปเรียก
ร้องให้มีการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันมากยิ่งขึ้น หรืออาจส่งผลให้ผู้ปล่อยกู้ปฏิเสธที่จะ
ยอมรับหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น โดยการทำเช่นนี้จะส่งผลให้ต้นทุน
การกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น หรือสร้างความยากลำบากมากยิ่งขึ้นในการระดมทุนมาใช้ซื้อ
หลักทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องสูง
นายอเล็กซ์ โรเวอร์ นักวิเคราะห์ตลาดเงินของเจพีมอร์แกน กล่าวว่า
"ผมไม่คิดว่าสิ่งนี้จะก่อให้เกิดปัญหาในการระดมทุนโดยรวม แต่อาจทำให้ความยืดหยุ่น
ทางการระดมทุนลดน้อยลง และอาจส่งผลให้ช่องทางในการกู้ยืมเงินลดลง"
บริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำอาจเผชิญความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์
ไม่คาดฝันในอนาคตด้วย โดยนายโรเวอร์กล่าวว่า "ในบางกรณีนั้น สถาบันจัดอันดับความ
น่าเชื่อถืออาจจะกดดันธนาคารบางแห่งให้ลงไปอยู่ในขั้นต่ำสุดของระดับน่าลงทุน และนั่น
หมายความว่าธนาคารแห่งนั้นแทบไม่เหลือโอกาสในการทำผิดได้อีก โดยเฉพาะถ้าหาก
เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในอนาคต อย่างเช่นภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจหรือวิกฤติครั้งใหม่"
ธนาคารพาณิชย์, นักลงทุน และผู้ใช้ตราสารอนุพันธ์หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
อื่นๆที่ผูกพันกับอันดับความน่าเชื่อถือ
ได้ปรับลดการใช้อันดับความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหลัก
ในการตัดสินใจลงทุนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2008 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี อันดับความน่าเชื่อถือที่จัดโดยมูดี้ส์, สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์
(S&P) และฟิทช์ เรทติ้งส์ยังคงได้รับการนำมาใช้เพื่อจำกัดการลงทุนในอุตสาหกรรม
ตลาดเงินที่มีมูลค่า 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตราสาร
อนุพันธ์บางสัญญา ซึ่งกำหนดไว้ว่าการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงจะส่งผลให้มีการ
วางหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มเติม
มอร์แกน สแตนเลย์ระบุว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น 6.52 พันล้านดอลลาร์ ถ้าหากมูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่า
เชื่อถือของบริษัทลง 3 ขั้น
นายมาร์ค เลค โฆษกของมอร์แกน สแตนเลย์ กล่าวว่า อันดับความ
น่าเชื่อถือจะส่งผลกระทบต่อสัญญาในตลาด OTC ของมอร์แกน สแตนเลย์เพียง
8 % เท่านั้นเมื่อเทียบกับสัญญา OTC ทั้งหมดของทางบริษัท และระบุว่ามอร์แกน
สแตนเลย์ได้ประชุมกับลูกค้าและคู่สัญญาแล้ว และพร้อมรับมือกับการปรับลดอันดับ
ทางด้านแบงก์ ออฟ อเมริการะบุว่า การปรับลดอันดับลง 1 ขั้น
อาจส่งผลให้แบงก์ ออฟ อเมริกาต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้น 5.4 พันล้าน
ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งแห่งอาจจะต้อง
ทำการปรับลดอันดับจึงจะสามารถส่งผลกระทบเช่นนี้ได้
ซิตี้กรุ๊ประบุในปีที่แล้วว่า การปรับลดอันดับลง 2 ขั้นอาจส่งผลให้
ทางบริษัทต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มเติมราว 5.4 พันล้านดอลลาร์
นายจอห์น เดียท โฆษกของซิตี้กรุ๊ปกล่าวว่า "ลูกค้าของเรามักจะ
วิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างซับซ้อนเกินกว่าที่จะพึ่งพาเพียงแค่อันดับความน่า
เชื่อถือของสถาบันเพียงแห่งเดียว ซึ่งถึงแม้ลูกค้าบางรายของเราอาจตั้งข้อ
สังเกตเกี่ยวกับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือโดยมูดี้ส์ แต่เราก็ไม่คาดว่าสิ่งนี้
จะส่งผลกระทบมากนัก"
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นของแบงก์ ออฟ อเมริกา
อาจส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรเทศบาลขนาด 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ด้วย
เพราะแบงก์ ออฟ อเมริกาเป็นผู้จัดหาสภาพคล่องและเลตเตอร์ ออฟ เครดิต
(L/C) จำนวนมากที่ใช้ในการค้ำประกันตราสารหนี้ที่ขายโดยรัฐบาลระดับรัฐ,
เทศบาลเมือง, โรงพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆ
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นของแบงก์ ออฟ อเมริกา
อาจส่งผลให้ผู้ออกตราสารหนี้กลุ่มนี้ถูกปรับลดอันดับลงด้วย หรือไม่เช่นนั้น
ผู้ออกตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จำเป็นต้องให้ธนาคารแห่งอื่นมาดำเนินการค้ำประกัน
แทน
กองทุนตลาดเงินที่ได้รับการจัดอันดับโดยมูดี้ส์ไม่สามารถถือครอง
ตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ต่ำกว่าขั้นสูงสุดในการจัดโดย
มูดี้ส์ ทั้งนี้ เจพีมอร์แกนประเมินว่า กองทุนประเภทนี้ถือครองตราสารหนี้ราว
7.6 หมื่นล้านดอลลาร์ที่มาจากธนาคารที่อาจถูกปรับลดอันดับลงในปัจจุบัน
ถ้าหากมูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารลงในวงกว้าง
การกระทำดังกล่าวก็อาจเป็นการกระตุ้นให้ธนาคารเร่งรัดการปรับลดขนาด
ของตนเองด้วย และสิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนในวงกว้าง--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 159

โพสต์

EUROPE:ยูโรโซนเผยอัตราว่างงานสูงสุด 15 ปีในก.พ. ขณะมีผู้ตกงานกว่า 17 ล้านคน
บรัสเซลส์--3 เม.ย.--รอยเตอร์

อัตราการว่างงานในยูโรโซนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 15 ปี
ในเดือนก.พ. โดยมีผู้ว่างงานจำนวนมากกว่า 17 ล้านคน และนักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่า พวกเขาคาดว่าจำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มมากขึ้นในปีนี้
ทั้งนี้ สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (Eurostat) เปิดเผยว่า
อัตราว่างงานของยูโรโซนซึ่งมีสมาชิก 17 ประเทศ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 10.8%
สอดคล้องกับผลสำรวจของรอยเตอร์ และเพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือนม.ค.
อัตราว่างงานเดือนก.พ.เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันแล้ว
และตรงกันข้ามกับสหรัฐ ซึ่งมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
อัตราว่างงานในเดือนก.พ.พุ่งแตะระดับเกือบ 24% ในสเปน
ซึ่งสูงที่สุดในอียู และ 9.3% ในอิตาลี ขณะที่อัตราว่างงานของเยอรมนี
ทรงตัวที่ 5.7%
มีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะคงอัตราดอกเบี้ย
ที่ 1% ในการประชุมในวันพฤหัสบดีนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อ
สูงกว่าเป้าหมายที่ 2% ของอีซีบี--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 160

โพสต์

EUROPE:ปธ.ธ.กลางยุโรปยันยังไม่ถอนมาตรการกระตุ้นศก. ขณะจับตาเงินเฟ้อ
แฟรงค์เฟิร์ต--5 เม.ย.--รอยเตอร์

นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปฏิเสธเสียงเรียกร้อง
ของเยอรมนีที่ต้องการให้อีซีบีเริ่มต้นกำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางออก หรือการเริ่มถอน
มาตรการแก้วิกฤติ แต่เขากล่าวย้ำว่าอีซีบีกำลังจับตามองภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ หลังจากอีซีบีประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 1.0 % เมื่อวานนี้ นายดรากีก็กล่าวว่า "แนวโน้มเศรษฐกิจเผชิญกับความเสี่ยง
ช่วงขาลง" และกล่าวว่าอีซีบีต้องการเวลาในการรอดูผลกระทบอย่างเต็มที่จากมาตรการ
อัดฉีดเม็ดเงินครั้งใหญ่ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา
อีซีบีปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะ 3 ปี (LTRO) ในวงเงินกว่า 1 ล้านล้าน
ยูโรให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนในช่วงเดือนธ.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์
เพื่อสกัดกั้นภาวะสินเชื่อหดตัว
นายดรากีปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดเตรียมแผนยุทธศาสตร์ทางออก โดยผู้นำ
ในการเรียกร้องเรื่องนี้คือนายเยนส์ วีดมานน์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดส
แบงก์)
นายดรากีกล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ด้านผลผลิตในปัจจุบันและ
จากตัวเลขการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงมาก การหารือกันเรื่องแผนยุทธศาสตร์ทางออก
ในช่วงนี้จะเป็นสิ่งที่เร็วเกินไป" และกล่าวเสริมว่า
"ผมคิดว่าประธานอีซีบีคือผู้ที่ตัดสิน
ใจขั้นสุดท้ายในเรื่องนี้"
ก่อนหน้านี้มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาออกมา ซึ่งทำให้นักลงทุน
กังวลกันว่ายูโรโซนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศอาจประสบภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอยในปัจจุบัน
นายดรากีกล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายไม่ได้หารือกันเรื่องการปรับอัตรา
ดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี เขาพยายามคลายความกังวลของเยอรมนีในเรื่องที่ว่า LTRO
อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
นายดรากีกล่าวว่า "มาตรการด้านนโยบายแบบพิเศษทั้งหมดของเรา
เป็นมาตรการชั่วคราว" และกล่าวเสริมว่า "เราสามารถใช้เครื่องมือที่จำเป็น
ทุกอย่างในการแก้ไขความเสี่ยงช่วงขาขึ้นที่มีต่อเสถียรภาพของราคาในระยะกลาง
ได้อย่างแข็งแกร่งและอย่างทันท่วงที"
อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนขยับลงเล็กน้อยสู่ 2.6 % ในเดือนมี.ค.
แต่อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์ และอยู่สูงกว่า
เป้าหมายของอีซีบีที่ตั้งไว้ที่ระดับต่ำกว่า 2 % เล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสเปนในช่วงนี้ส่งผลให้อีซีบี
ไม่สามารถส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ และไม่สามารถส่งสัญญาณว่า
จะยุติมาตรการเสริมสภาพคล่องด้วย
สิ่งนี้หมายความว่าอีซีบีจะไม่คุมเข้มนโยบายการเงินในเร็วๆนี้ ถึงแม้
อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินคาดก็ตาม โดยอีซีบีเคยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2 ครั้งในปีที่แล้ว ก่อนที่จะปรับลดลงสู่ระดับ 1.00 % ในช่วงปลายปี ในขณะที่
วิกฤติหนี้ทวีความรุนแรงขึ้น โดยอีซีบีมีแนวโน้มที่จะใช้ความระมัดระวังเป็นอย่าง
มากก่อนที่จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง เพื่อจะได้ไม่ทำผิดพลาดเหมือน
ในปีที่แล้วอีก
นายดรากียังได้ระบุถึงแรงหนุนอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากการพุ่งขึ้นของ
ราคาน้ำมันและภาษีทางอ้อม
ทางด้านนักวิเคราะห์ในตลาดการเงินระบุว่า ถึงแม้เนื้อหาในนโยบาย
การเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงต่อความโน้มเอียงของ
นโยบาย
นายจูเลียน แคลโลว์จากบาร์เคลย์ส แคปิตัลกล่าวว่า "มีการแสดง
ความโน้มเอียงแบบสายเหยี่ยวมากยิ่งขึ้นในการแถลงข่าวของอีซีบี โดยดูเหมือน
ว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีมีความกังวลมากยิ่งขึ้นต่อความเสี่ยง
ด้านเงินเฟ้อที่เกิดจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์"
ถึงแม้นายดรากีกล่าวย้ำถึงความเสี่ยงช่วงขาลงต่อเศรษฐกิจ แต่เขา
ก็ไม่ได้แสดงความกังวลต่อการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปน
โดยสเปนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในยูโรโซน
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้นในการประมูลพันธบัตรเมื่อวานนี้ และ
บดบังความสำเร็จของโปรตุเกสในการกลับเข้ามากู้ยืมเงินจากตลาดตราสารหนี้
อีกครั้ง
ค่าพรีเมียมความเสี่ยงของสเปนทะยานขึ้นนับตั้งแต่นายมาเรียโน ราจอย
นายกรัฐมนตรีสเปน ปรับลดเป้าหมายยอดขาดดุลงบประมาณประจำปีนี้ในช่วงต้นเดือน
มี.ค.
นายดรากีกล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปน
แสดงให้เห็นว่า ตลาดการเงินคาดหวังให้รัฐบาลของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอ
ในยูโรโซนดำเนินการปฏิรูปประเทศ โดยถ้อยแถลงนี้เป็นการกดดันรัฐบาลประเทศ
ต่างๆให้ปรับปรุงประเทศตนเอง แทนที่จะหวังพึ่งพาอีซีบีให้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือ
เพิ่มเติม
"ตลาดกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศเหล่านี้ปฏิบัติตามสัญญา" นายดรากี
กล่าว
นายดรากีเพิ่มแรงกดดันต่อไอร์แลนด์และกรีซ โดยสองประเทศนี้กำลังได้รับ
ความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ)
นายดรากีกล่าวว่า ไอร์แลนด์จำเป็นต้องปฏิบัติตามภาระผูกพันด้านการชำระเงิน
ในอนาคตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ดอกเบี้ยสูงสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับความเสียหาย
จากวิกฤติ
ไอร์แลนด์ไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวในช่วงนี้ ซึ่งเป็นดอกเบี้ยของ
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไอร์แลนด์จำหน่ายเพื่อช่วยพยุงระบบธนาคารภายในประเทศ หลังเกิด
วิกฤติการเงินในปี 2008 แต่ไอร์แลนด์จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ย 490 ล้านยูโรภายใน
เดือนเม.ย.ปีหน้า
นายดรากีกล่าวว่า ธนาคารบางแห่งของกรีซอาจสูญเสียโอกาสในการกู้เงิน
จากอีซีบีในช่วงที่ธนาคารพาณิชย์กรีซเพิ่มทุน และธนาคารพาณิชย์กรีซกลุ่มนี้อาจจำเป็น
ต้องพึ่งพาวงเงินความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านสภาพคล่อง (ELA) ของธนาคารกลางกรีซ
แทน
นายดรากีไม่เห็นด้วยกับความกังวลที่ว่า มาตรการปล่อยกู้ของอีซีบีส่งผลให้
ธนาคารพาณิชย์หวังพึ่งพาอีซีบีมากเกินไป โดยเขากล่าวว่า "เรามองไม่เห็นสัญญาณ
ใดๆที่บ่งชี้ว่า ธนาคารพาณิชย์พึ่งพาอีซีบีมากเกินไป"--จบ--
pawattt
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 161

โพสต์

ขอบคุณคุณ wiss42 มากเลยครับ :D :D
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 162

โพสต์

GREECE:กรีซประกาศจัดการเลือกตั้งใหม่วันที่ 6 พ.ค.
เอเธนส์--12 เม.ย.--รอยเตอร์

กรีซประกาศเมื่อวานนี้ว่าจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค. โดย
การเลือกตั้งในครั้งนี้อาจส่งผลให้ไม่มีพรรคการเมืองใดที่ครองเสียงข้างมาก
อย่างชัดเจน และอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามมาตรการรับความช่วย
เหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการที่ช่วยให้กรีซหลีกเลี่ยง
จากภาวะล้มละลายได้ในช่วงที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอสของกรีซประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง
ในครั้งนี้ หลังจากประชุมกับประธานาธิบดีกรีซและคณะรัฐมนตรีเฉพาะกาล
โดยนายปาปาเดมอสกล่าวว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้วด้วย
การทำให้กรีซได้รับมาตรการช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง และด้วยการ
ปรับโครงสร้างหนี้ครั้งสำคัญในเดือนมี.ค.
นายกรัฐมนตรีปาปาเดมอสกล่าวทางโทรทัศน์ว่า "กรีซกำลัง
ดำเนินเส้นทางที่ยากลำบาก และทางเลือกที่เราเลือกในขณะนี้ไม่เพียงแต่จะ
เป็นตัวกำหนดรัฐบาลใหม่ที่จะได้รับการจัดตั้งหลังการเลือกตั้งเท่านั้น แต่จะ
เป็นตัวกำหนดทิศทางของกรีซในช่วงหลายสิบปีข้างหน้าด้วย"
นายกรัฐมนตรีปาปาเดมอสกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีว่า เขาหวังว่า
รัฐสภาชุดใหม่จะเริ่มต้นประชุมกันในวันที่ 17 พ.ค. โดยรัฐสภาชุดใหม่
จำเป็นต้องอนุมัติมาตรการปฏิรูปประเทศอย่างยากลำบากหลายมาตรการ
เพื่อที่กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อไป--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 163

โพสต์

EUROPE:ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น,จับตาประมูลบอนด์อิตาลีวันนี้
ลอนดอน--12 เม.ย.--รอยเตอร์

หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนยังคง
เข้าซื้อหุ้นกลุ่มรถยนต์, กลุ่มธนาคาร และกลุ่มเหมืองด้วยความระมัดระวัง แต่
ตลาดอาจถูกสกัดแรงบวก เนื่องจากยูโรโซนจะประกาศข้อมูลการผลิตทางอุตสาห
กรรม และอิตาลีจะประมูลพันธบัตรในวันนี้
ณ เวลา 14.05 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst 300 บวก
1.83 จุด หรือ 0.2% มาที่ 1,035.63 ส่วนดัชนี Euro STOXX 50 บวก 0.2%
มาที่ 2,389.45 หลังจากร่วงลง 4.5% ในรอบ 5 วันที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ดัชนีลด
ช่วงบวกที่ทำไว้ตั้งแต่ต้นปีนี้ไปเกือบหมด
"แนวโน้มทั้งยูโรโซนยังย่ำแย่อยู่ ซึ่งได้ยุติแรงบวกตั้งแต่ต้นปีนี้ของตลาด
หุ้น และมีความวิตกว่า ตลาดจะปรับฐานที่รุนแรงกว่านี้" เทรดเดอร์ในลอนดอนกล่าว
"ตลาดจับตาดูวิกฤติหนี้ของยุโรปอีกครั้ง ดังนั้น การพุ่งขึ้นของผลตอบแทน
พันธบัตรสเปนจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อตลาดหุ้น"
ผลตอบแทนพันธบัตรประเภท 1 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้น 2 เท่าในการประมูล
ขายพันธบัตรระยะสั้นเมื่อวานนี้ และในวันนี้ อิตาลีมีแผนจะขายพันธบัตร 5 พันล้าน
ยูโรซึ่งรวมถึงพันธบัตร ETP ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมี.ค.ปี 2015 และพันธ
บัตรแบบ off-the-run ซึ่งคาดว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 164

โพสต์

pawattt เขียน:ขอบคุณคุณ wiss42 มากเลยครับ :D :D


ครับผม ใครมีข้อมูล ก็ แชร์ๆกัน ในกระทู้ นะครับ
KimVi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 992
ผู้ติดตาม: 3

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 165

โพสต์

'เงินหยวน'กลยุทธศก.จีน-สหรัฐ
http://bit.ly/IUgaj2
จีนประกาศชัดเจนว่าจะขยายช่วงการซื้อขายเงินหยวนเป็น 1.0% และเริ่มให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์นี้เป็นต้นไป

ธนาคารกลางจีน ประกาศขยายกรอบการเคลื่อนไหว สำหรับเงินหยวน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจาก 0.5% เป็น 1% ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันจันทร์นี้ เป็นต้นไป ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 ที่ธนาคารกลางจีน ประกาศขยายช่วงการซื้อขายเงินหยวน

ประกาศดังกล่าว หมายความว่า ธนาคารกลางจีน จะอนุญาตให้เงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ สามารถเคลื่อนไหวได้ในช่วงไม่เกินบวก-ลบ 1% จากค่ากลางที่ธนาคารกลางจีนกำหนดในแต่ละวัน โดยการกำหนดค่ากลางของเงินหยวน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จะพิจารณาจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินตราต่างประเทศ ก่อนตลาดเปิดทำการในแต่ละวัน

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.05% สู่ระดับ 6.2879 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ

ธนาคารกลางจีน ระบุในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ว่า ตลาดปริวรรตเงินตราของจีนกำ ลังพัฒนาอย่างเต็มที่ และผู้ซื้อขายสามารถกำหนดราคา ตลอดจนบริหารจัดการความเสี่ยงของตนได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น ธนาคารจึงตัดสินใจขยายกรอบการเคลื่อนไหวของเงินหยวน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ส่งเสริมการค้นหาราคา เพิ่มความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนทั้งสองทิศทาง ปรับปรุงกลไกอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ภายใต้การจัดการ โดยยึดหลักอุปสงค์-อุปทานของตลาด ที่อ้างอิงกับตะกร้าสกุลเงินต่างประเทศ

การประกาศขยายช่วงการซื้อขายเงินหยวนของแบงก์ชาติจีน มีขึ้นหลังจากที่กระทรวงการคลังสหรัฐ เพิ่งเปิดเผยว่า จะเลื่อนกำหนดการเปิดเผยรายงานรอบครึ่งปี เกี่ยวกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนออกไปจนกว่าการประชุมด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงระหว่างรัฐบาลสหรัฐและจีน จะมีขึ้นในเดือนพ.ค.นี้

กระทรวงการคลังสหรัฐ ให้เหตุผลที่เลื่อนการเปิดเผยรายงานดังกล่าวออกไปว่า เพื่อจะได้ประเมินความคืบหน้า ภายหลังการประชุมระดับนานาชาติหลายรายการ ซึ่งรวมถึง การประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มประเทศจี20 ในวันที่ 19-20 เม.ย. การประชุมของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลกในวันที่ 20-21 เม.ย. และการประชุมด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐ-จีน

นักวิเคราะห์ ให้ความเห็นว่า เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของสหรัฐ มีเป้าหมายเพื่อกดดันจีน ให้ผ่อนคลายการควบคุมเงินหยวน และปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าเร็วขึ้น ตามที่ภาคธุรกิจและการเมืองของสหรัฐ เรียกร้องมาโดยตลอด

ที่ผ่านมา จีน เผชิญแรงกดดันจากสหรัฐและประเทศอื่นๆ ให้ปล่อยเงินหยวนเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระมากกว่านี้ โดยนักการเมืองและนักธุรกิจสหรัฐวิพากษ์วิจารณ์จีน ที่ทำให้เงินหยวนมีราคาถูกกว่าความเป็นจริง เพื่อเปิดทางให้ผู้ส่งออกของจีนได้เปรียบทางการค้า ซึ่งส่งผลสืบเนื่องให้สหรัฐขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลกับจีน

จีน พลิกกลับมามียอดเกินดุลการค้าอีกครั้งในเดือนมี.ค. จากที่ขาดดุล 3.148 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก.พ. โดยสำนักงานศุลกากรจีน รายงานเมื่อวันอังคารว่า จีนมียอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 5.35 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. และ 670 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก

ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ยอดขาดดุลการค้าและบริการของสหรัฐในเดือนก.พ. ร่วงลง 12.4% จากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 4.603 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยานยนต์และชิ้นส่วน ขณะที่การนำเข้าลดลง

สำหรับยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐกับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ และมีความอ่อนไหวทางการเมืองนั้น หดตัวลง 25.6% สู่ระดับ 1.936 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2554 โดยยอดนำเข้าของสหรัฐจากจีนร่วงลง 18.2% แตะ 2.813 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ การส่งออกของสหรัฐไปยังจีน เพิ่มขึ้น 4.3% แตะ 8.76 พันล้านดอลลาร์
"Look at market fluctuations as your friend rather than your enemy; profit from folly rather than participate in it." – Warren Buffett
KimVi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 992
ผู้ติดตาม: 3

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 166

โพสต์

ไอเอ็มเอฟชมจีนขยายกรอบค้าเงินหยวน
http://bit.ly/HJk3x4
ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ ชื่นชมความเคลื่อนไหวของจีน ในการขยายกรอบการค้าเงินหยวน

นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความยินดี ต่อความเคลื่อนไหวของจีนในการขยายกรอบการค้าเงินสกุลหยวนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดยระบุว่า ยินดีกับความก้าวหน้าครั้งสำคัญของธนาคารกลางจีน ในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับสกุลเงินของประเทศ

นอกจากนี้ นางลาการ์ด ยังกล่าวเสริมว่าการดำเนินการดังกล่าวของธนาคารกลางจีน เป็นการเน้นย้ำ ถึงพันธกิจของจีนในการสร้างดุลภาพ ไปสู่การบริโภคภายในประเทศ และเปิดโอกาสให้ตลาด มีบทบาทมากขึ้น ในการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของอัตราแลกเปลี่ยน

ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีน ประกาศขยายกรอบการเคลื่อนไหว สำหรับเงินหยวน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจาก 0.5% เป็น 1% โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์นี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 ที่ธนาคารกลางจีน ประกาศขยายช่วงการซื้อขายเงินหยวน
"Look at market fluctuations as your friend rather than your enemy; profit from folly rather than participate in it." – Warren Buffett
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 167

โพสต์

SPAIN: สเปนเผยอัตราผลตอบแทนตั๋วอายุ 1 ปี 2.623% มากกว่าครั้งก่อนที่ 1.418% ส่วนอายุ 1.5 ปีอยู่ที่ 3.110% มากกว่าครั้งก่อนที่ 1.711% แต่ Bid-to-cover ratio กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 เท่าและ 3.8 เท่า จากครั้งก่อนที่ 2.1 เท่าและ 2.9 เท่า ตามลำดับ สะท้อนความต้องการที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ยูโรดีดและหนุนสินทรัพย์เสี่ยง+โภคภัณฑ์ขึ้น จับตาการประมูลครั้งต่อไปของอายุ 2 ปี 10 ปีในวันพฤหัสฯ



FSS Research
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 168

โพสต์

IMF:ไอเอ็มเอฟเผยระดมทุนได้แล้วกว่า 3 แสนล้านดอลล์ก่อนประชุมสัปดาห์นี้
วอชิงตัน--19 เม.ย.--รอยเตอร์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ไอเอ็มเอฟ
สามารถระดมทุนได้แล้ว 3.20 แสนล้านดอลลาร์เพื่อนำมาใช้เป็นทุนทรัพย์ในการ
แก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน
นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ประเทศต่างๆ
ได้ให้สัญญาว่าจะจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟอีก 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์
ซึ่งรวมถึงเงิน 8 พันล้านดอลลาร์จากโปแลนด์ และ "เงินจำนวนมาก" จาก
สวิตเซอร์แลนด์
ทั้งนี้ ยอดเงินสมทบในวันอังคารอยู่ที่ 2.86 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น
เมื่อรวมกับตัวเลขใหม่เมื่อวานนี้ ยอดเงินรวมจึงอยู่ที่ 3.20 แสนล้านดอลลาร์
ประเทศสมาชิกไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกจะจัดการประชุมที่กรุงวอชิงตัน
ในสัปดาห์นี้ โดยการประชุมจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ และไอเอ็มเอฟ
คาดหวังว่ายอดเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 4 แสนล้านดอลลาร์ในการประชุมครั้งนี้
การระดมทุนให้แก่ไอเอ็มเอฟกลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วน
ในช่วงนี้ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีพุ่งขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ดังนั้น
นักลงทุนจึงกังวลว่าวิกฤติหนี้ยูโรโซนอาจทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง
ในวันอังคารที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้ประกาศจัดสรรเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์
ให้แก่ไอเอ็มเอฟ และถือเป็นประเทศนอกยุโรปแห่งแรกที่ประกาศจัดสรรเงินเพิ่มเติม
ให้แก่ไอเอ็มเอฟ ขณะที่สวีเดนประกาศว่า พร้อมที่จะจัดสรรเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์
ในทันที และจะเพิ่มจำนวนดังกล่าวขึ้นเป็น 1.47 หมื่นล้านดอลลาร์ในเวลาต่อมา
ส่วนเดนมาร์กประกาศว่าจะจัดสรรเงิน 7 พันล้านดอลลาร์
นอรเวย์ประกาศในเดือนธ.ค.ปีที่แล้วว่าจะจัดสรรเงิน 9.6 พันล้านดอลลาร์
ให้ไอเอ็มเอฟ ในขณะที่ประเทศสมาชิกยูโรโซนให้สัญญาไปแล้วว่าจะจัดสรรเงิน 1.50
แสนล้านยูโร (2 แสนล้านดอลลาร์)
คาดกันว่าประเทศอื่นๆจะจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟในช่วงไม่กี่วัน
ข้างหน้า โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป
(จี-20) จะจัดประชุมกันในวันศุกร์นี้ และมีแนวโน้มว่าประเด็นเรื่องการเพิ่มทุนทรัพย์
ของไอเอ็มเอฟจะเป็นหัวข้อสำคัญในการประชุม
ประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งรวมถึงจีน, บราซิล และรัสเซียยังไม่ได้ประกาศ
จัดสรรเงินเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟ โดยประเทศกลุ่มนี้ต้องการให้มีการรับประกันว่า
การจัดสรรเงินเพิ่มเติมจะส่งผลให้ประเทศในกลุ่มได้รับสิทธิออกเสียงมากยิ่งขึ้นใน
ไอเอ็มเอฟ
สหรัฐประกาศไปแล้วว่าจะไม่เข้าร่วมในความพยายามเพิ่มทุนของไอเอ็มเอฟ
ในครั้งนี้ ในขณะที่สหรัฐกำลังจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพ.ย. อย่างไรก็ดี นาย
ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ กล่าวสนับสนุนความพยายามเพิ่มทุนทรัพย์ของไอเอ็มเอฟ
เมื่อวานนี้
นางลาการ์ดกล่าวว่า เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเปราะบางและ "ไร้เสถียรภาพ
เป็นอย่างมาก"
นางลาการ์ดกล่าวว่า การที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อย
และการที่ยูโรโซนปรับปรุงนโยบายในการแก้ไขวิกฤติหนี้ ส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจ
โลกเผชิญความเสี่ยงน้อยลง
อย่างไรก็ดี นางลาการ์ดกล่าวเสริมว่า "ปัจจัยต่างๆเหล่านี้สนับสนุนการ
คาดการณ์ในทางบวกเล็กน้อย แต่การคาดการณ์นี้ก็ได้รับแรงกดดันเป็นอย่างมากจาก
ภาวะไร้เสถียรภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยแรงกระตุ้นจากความเปลี่ยนแปลงใดๆใน
ตลาด"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 169

โพสต์

EUROPE:ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนดิ่งลงเกินคาดในเดือนเม.ย.
บรัสเซลส์--27 เม.ย.--รอยเตอร์

คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) รายงานเมื่อวานนี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทาง
เศรษฐกิจของยูโรโซนร่วงลงอย่างรุนแรงเกินคาดในเดือนเม.ย. โดยได้รับแรงกดดัน
จากการคาดการณ์ในทางลบมากยิ่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ในขณะที่
เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
อีซีระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวม (ESI) ในประเทศ
สมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศร่วงลงสู่ 92.8 ในเดือนเม.ย. จาก 94.5 ในเดือนมี.ค.
ก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ดัชนี ESI อาจอยู่ที่
94.2 ในเดือนเม.ย.
ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมร่วงลงสู่ -9.0 ในเดือนเม.ย.
จาก -7.1 ในเดือนมี.ค. และเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ -7.0 สำหรับเดือนเม.ย.
ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคบริการซึ่งครองส่วนแบ่งกว่า 2 ใน 3 ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในยูโรโซน รูดลงสู่ -2.4 ในเดือนเม.ย.
จาก -0.3 ในเดือนมี.ค. และเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ -0.3 สำหรับเดือนเม.ย.
อีซีระบุว่า "การร่วงลงในยูโรโซนได้รับแรงกดดันหลักจากความเชื่อมั่นที่
อ่อนแอลงในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยความเชื่อมั่นเพิ่มสูงขึ้นเพียงแค่ใน
ภาคค้าปลีกเท่านั้น"
อีซีระบุว่า "ดัชนี ESI ของสหภาพยุโรป (อียู) มีค่าเป็นบวกมากกว่า
ดัชนีของยูโรโซน เพราะว่าดัชนีของอียูได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ในอังกฤษ อย่างไรก็ดี ดัชนี ESI ทั้งของอียูและยูโรโซนต่างก็อยู่ในระดับต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยระยะยาวเป็นอย่างมาก" ทั้งนี้ อียูประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 170

โพสต์

EUROPE:ตลาดหุ้นยุโรปบวกวันที่ 5 ตามวอลล์สตรีท หลังสเปนเผยจีดีพีดีกว่าคาด
ปารีส--30 เม.ย.--รอยเตอร์

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเป็นวันทำการที่ 5 ติดต่อกันในการซื้อขาย
ช่วงแรกวันนี้ โดยปรับตัวขึ้นตามการดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท หลังการ
แถลงผลประกอบการที่สดใส ขณะที่การเปิดเผยจีดีพีที่ดีกว่าคาดของสเปน
ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับฐานะการคลังของประเทศ
ณ เวลา 14.09 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst 300
บวก 0.2% มาที่ 1,053.63 ขณะที่ดัชนี IBEX ตลาดหุ้นสเปนบวก 0.4%
สถาบันสถิติแห่งชาติของสเปนเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า ผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสเปนหดตัวลง 0.3% ในไตรมาสเดือน
ม.ค.-มี.ค. เมื่อเทียบรายไตรมาส
ข้อมูลดังกล่าวดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ หลังจากที่จีดีพีหดตัวลง
0.3% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี นายไมเคิล ฮิวสัน นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสจากซีเอ็มซี
มาร์เกตส์กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าสเปนยังคงเผชิญกับภาวะถดถอยอีกครั้ง
ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อฐานะการคลังของประเทศ
"เมื่อพิจารณาจากอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจ
ที่ทรุดตัวลง รัฐมนตรีของสเปนก็อาจจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมรับความ
ช่วยเหลือบางรูปแบบไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม" เขากล่าว--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 171

โพสต์

> SPAIN:สเปนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัวแรงสุดรอบ 3 ปีในเดือนเม.ย.

มาดริด--2 พ.ค.--รอยเตอร์

ผลสำรวจระบุในวันนี้ว่า ภาคการผลิตของสเปนหดตัวลงรุนแรงที่สุด
ในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนเม.ย. ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้น
ในไตรมาสแรกของปีนี้อาจจะยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิต
ร่วงลงสู่ระดับ 43.5 ในเดือนเม.ย.จาก 44.5 ในเดือนมี.ค. โดยเป็นการ
ปรับตัวลงรุนแรงที่สุดเมื่อเทียบรายเดือนนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2009 ขณะที่ดัชนี
อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเวลาถึง 1 ปีแล้ว ซึ่งระดับดังกล่าวแบ่งแยกการ
ขยายตัวและการหดตัว--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 172

โพสต์

GREECE:จับตาฝ่ายซ้ายกรีซหาพันธมิตรตั้งรัฐบาล หลังพรรคอนุรักษ์ฯคว้าน้ำเหลว
เอเธนส์--8 พ.ค.--รอยเตอร์

นายแอนโทนิส ซามาราส ผู้นำพรรค New Democracy ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์
นิยมของกรีซ ยอมรับว่า เขาไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ และได้คืนอำนาจให้แก่
ประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสแล้ว
"เราได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้แล้ว" นายซามาราสกล่าว "เราไม่สามารถ
ตั้งรัฐบาลได้ และผมได้คืนอำนาจไปแล้ว"
นายซามาราส ซึ่งพรรคของเขาได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากการเลือกตั้ง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้รับโอกาสแรกจากปธน.ปาปูลิอาสให้จัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ได้
ยอมรับความล้มเหลวดังกล่าว
พรรค Left Coalition ซึ่งได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 จากการเลือกตั้ง
เมื่อวันอาทิตย์ ขณะนี้ได้รับโอกาสให้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว โดยปธน.ปาปูลิอาสจะหารือกับ
นายอเล็กซิส ซิปราส หัวหน้าพรรคในเวลา 17.00 น.ตามเวลาไทยวันนี้
ก่อนหน้านี้ ผู้นำพรรค Left Coalition ได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะ
ร่วมรัฐบาลกับพรรค New Democracy และกล่าวว่า เขาจะพยายามตั้งรัฐบาลกับ
พรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆ
"จะไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติเนื่องจากการลงนามของ
นายซามาราสในข้อตกลงช่วยเหลือระหว่างประเทศไม่ได้นำมาซึ่งการกอบกู้ประเทศ
แต่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม" นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรค Left Coalition
กล่าวหลังการหารือกับนายซามาราสเมื่อวานนี้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 173

โพสต์

> GREECE:จับตาตั้งรบ.กรีซวันนี้ แต่คาดเจรจาล่มหลังตั้งเงื่อนไขฉีกสัญญา EU/IMF
เอเธนส์--9 พ.ค.--รอยเตอร์

นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคเลฟท์ โคลิชันของกรีซจะประชุมกับผู้นำพรรค
การเมืองสำคัญของกรีซในวันนี้เพื่อพยายามจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลชุดใหม่ แต่นักวิเคราะห์
คาดว่านายซิปราสจะประสบความล้มเหลว เนื่องจากเขายืนยันให้พรรคการเมืองต่างๆ
จะต้องเห็นพ้องก่อนในการยกเลิกข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่กรีซเคยทำไว้
กับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้งของกรีซในวันอาทิตย์
ที่ผ่านมา ส่งผลให้กรีซเผชิญกับภาวะปั่นป่วนทางการเมือง โดยมีแนวโน้มว่ากรีซอาจจะ
จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และอาจจะถูกขับออกจากการเป็น
สมาชิกยูโรโซน
ชาวกรีซจำนวนมากที่ไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากพากันหลีกเลี่ยง
การลงคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองสำคัญสองพรรคของกรีซ ซึ่งได้แก่พรรคนิว เดโมเครซี
ของนายแอนโตนิส ซามาราส ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม และพรรค PASOK ของนายอีวาน
เจลอส เวนิเซลอส ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม โดยสองพรรคนี้ให้การสนับสนุนมาตรการ
รับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และ
เป็นสิ่งที่ช่วยให้กรีซรอดพ้นจากภาวะล้มละลายในช่วงที่ผ่านมา
โอกาสที่นายซิปราสจะจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลได้ริบหรี่ลงเมื่อวานนี้ เมื่อนาย
ซามาราสปฏิเสธข้อเรียกร้องของนายซิปราสที่ให้ยกเลิกข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทาง
การเงิน โดยนายซามาราสกล่าวว่า การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้กรีซถูก
ขับออกจากยูโรโซน
นายซามาราสกล่าวว่า "นายซิปราสขอให้ผมลงนามในการทำลายประเทศกรีซ
แต่ผมจะไม่ทำเช่นนั้น กรีซไม่สามารถเล่นกับไฟได้"
พรรคเลฟท์ โคลิชันได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งครั้งนี้
ในขณะที่พรรคนิว เดโมเครซีได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่ง และพรรค PASOK
ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสาม แต่พรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ครอง
คะแนนเสียงร่วมกันได้เพียง 32 % ในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยลดลงจาก 77 %
ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 ปีก่อน
ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสของกรีซได้มอบหมายให้นาย
ซามาราสทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลกรีซชุดใหม่ แต่นายซามาราสไม่สามารถทำได้สำเร็จ
ดังนั้นปธน.ปาปูลิอาสจึงมอบหมายให้นายซิปราสทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลเมื่อวานนี้ โดย
เขามีเวลา 3 วัน
นายซิปราสจะประชุมกับนายเวนิเซลอสในวันนี้เวลา 22.00 น.ตามเวลาไทย
และประชุมกับนายซามาราสในเวลา 23.00 น.
ถ้าหากไม่มีนักการเมืองคนใดสามารถจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลที่ครองเสียงข้างมาก
ในสภาซึ่งมี 300 ที่นั่งได้สำเร็จ กรีซก็จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเวลา 3-4
สัปดาห์ข้างหน้า โดยนายซามาราสคาดว่าเขาจะได้คะแนนเสียงมากขึ้นในการเลือกตั้ง
ครั้งใหม่
นายธีโอดอร์ คูลูมบิส นักวิเคราะห์ของสถาบันวิจัย ELIAMEP กล่าวว่า "หลังจาก
นายซามาราสตอบโต้ถ้อยแถลงของนายซิปราส โอกาสที่สองพรรคนี้จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน
ก็ได้ถูกทำลายลงไปแล้ว"
ชาวกรีซส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเขาต้องการใช้สกุลเงินยูโรต่อไป แต่พวกเขาไม่พอใจ
กับพรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK โดยระบุว่าสองพรรคนี้เป็นต้นเหตุของภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอย, อัตราการว่างงานที่สูงเป็นประวัติการณ์ และการคอร์รัปชั่น
ชาวกรีซส่วนใหญ่เชื่อว่า มาตรการปรับลดงบรายจ่ายของรัฐทำให้สถานการณ์ย่ำแย่
ลงไปอีก เพราะทำให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอุปสรรคขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นี้ กรีซดำเนินมาตรการปรับลดงบใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของอียูและไอเอ็มเอฟ
ระบบการเลือกตั้งของกรีซมอบที่นั่งพิเศษอีก 50 ที่นั่งให้แก่พรรคนิว เดโมเครซี
ในฐานะพรรคที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด โดยระบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพ
ให้แก่รัฐบาลใหม่ อย่างไรก็ดี พรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ครองที่นั่งรวมกัน
ได้เพียง 149 ที่นั่งเท่านั้น และไม่สามารถครองเสียงข้างมากในรัฐสภาได้
ชาวกรีซจำนวนมากแสดงความไม่พอใจต่อการที่พรรคการเมืองกรีซไม่สามารถ
ตกลงกันได้ โดยนายวาซิเลีย โคนิแดรีกล่าวว่า "พวกเขาบอกว่าพวกเขาไม่ต้องการ
ร่วมมือกับคนอื่นๆ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสนใจแต่เรื่องการเป็นนายกรัฐมนตรี
เท่านั้น แต่ไม่มีใครสนใจประเทศนี้"
ทางเลือกทางหนึ่งในการจัดตั้งรัฐบาลคือการที่พรรค PASOK และพรรค
เลฟท์ โคลิชันจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน โดยที่พรรคนิว เดโมเครซีจะไม่อยู่ในรัฐสภา
ในขณะที่มีการลงคะแนนเสียงให้ความไว้วางใจรัฐบาลชุดใหม่ โดยการกระทำ
ดังกล่าวจะส่งผลให้แนวร่วมรัฐบาลของนายซิปราสสามารถชนะคะแนนเสียงข้าง
มาก
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก
แต่นายเวนิเซลอสกล่าวเมื่อวานนี้ว่า พรรคการเมืองทุกพรรคของกรีซที่มีนโยบาย
สนับสนุนยุโรปควรจัดตั้งแนวร่วมด้วยกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดการเลือกตั้งรอบสอง
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า "ชาวกรีซกำลังเรียกร้องสองสิ่ง โดยสิ่งแรก
คือการที่กรีซยังคงอยู่ในยุโรปและยูโรโซนได้อย่างปลอดภัย และสิ่งที่สองคือการ
แก้ไขเงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อเป็นการช่วยเหลือพลเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจของกรีซ"
ถ้าหากนายซิปราสไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล นายเวนิเซลอสก็จะได้รับโอกาส
ในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ถ้าหากนายเวนิเซลอสประสบความล้มเหลวในเรื่องนี้ ปธน.
ปาปูลิอาสก็จะเรียกประชุมพรรคการเมืองเพื่อให้โอกาสครั้งสุดท้ายในการจัดตั้งรัฐบาล
แห่งชาติ ก่อนที่จะประกาศจัดการเลือกตั้งใหม่ในเวลาราว 3 สัปดาห์
นายคูลูมบิสกล่าวว่า ชาวกรีซจำนวนมากคาดหวังว่ายุโรปจะให้ความช่วยเหลือ
กรีซ และจะยังคงอนุญาตให้กรีซอยู่ในยูโรโซนได้ต่อไป ถึงแม้ว่ากรีซไม่ยอมทำตามมาตร
การรัดเข็มขัดที่อียูและไอเอ็มเอฟกำหนดมา
นายคูลูมบิสกล่าวว่า "ชาวกรีซคิดว่ายุโรปจะไม่ปล่อยให้กรีซล่มสลาย พวกเขา
คิดว่าสิ่งเดียวที่พวกเราจำเป็นต้องทำคือการบอกกับยูโรโซนว่าเราจะกระโดดลงจากชั้น
10 และพวกเขาจะเอาตาข่ายนิรภัยมารองรับพวกเรา แต่ผมต้องการจะบอกว่า 'ระวัง
ให้ดี คุณอาจจะตกลงมากระแทกพื้นและแตกเป็นเสี่ยงๆ'"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 174

โพสต์

GREECE:จับตาพรรคการเมืองกรีซถกครั้งสุดท้ายคืนนี้ ชี้ชะตาจัดเลือกตั้งใหม่
เอเธนส์--14 พ.ค.--รอยเตอร์

นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคเลฟท์ โคลิชันของกรีซปฏิเสธเทียบเชิญ
จากประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสในการเข้าร่วมการเจรจารอบสุดท้ายเกี่ยวกับ
การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติในคืนนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่ากรีซมีแนวโน้มที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่
และนายซิปราสก็มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ หลังจากพรรค
ของเขาได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.
"การประชุมจะมีขึ้นในเวลา 19.30 น. (23.30 น.ตามเวลาไทย)"
เจ้าหน้าที่กล่าว
ทั้งนี้ กรีซเผชิญภาวะวุ่นวายทางการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากผลการ
เลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา นอกจากนี้
พรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนและต่อต้านข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ที่กรีซทำไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร ต่างก็ได้คะแนนเสียงในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผล
ให้ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ถ้าหากปธน.ปาปูลิอาสไม่ประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมให้พรรค
การเมืองเหล่านี้ประนีประนอมกัน เขาก็จำเป็นต้องประกาศจัดการเลือกตั้งรอบใหม่
โดยหลังจากการเจรจาที่ไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อวานนี้ ปธน.ปาปูลิอาสก็ได้เชื้อเชิญ
แกนนำจากพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด 3 พรรค และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายขนาดเล็ก
อีกหนึ่งพรรค กลับมาประชุมที่ทำเนียบประธานาธิบดีในวันนี้
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่พรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย
หัวรุนแรง กล่าวว่า นายซิปราสจะไม่เข้าร่วมการประชุมในวันนี้
ทั้งนี้ พรรคนิว เดโมเครซี ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ได้คะแนนเสียงมาก
เป็นอันดับหนึ่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ขณะที่พรรค PASOK ซึ่งเป็นพรรค
สังคมนิยมได้คะแนนเสียงอันดับสาม แต่พรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ซึ่งมี
จุดยืนสนับสนุนมาตรการให้ความช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ มีคะแนนเสียงรวมกัน
เพียง 32 % ลดลงจาก 77 % ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 ปีก่อน
พรรคฝ่ายซ้ายขนาดเล็กที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมในวันนี้คือพรรค
เดโมแครติก เลฟท์ โดยทางพรรคระบุว่า นายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรค จะเข้าร่วม
การประชุมในวันนี้ โดยพรรคเดโมแครติก เลฟท์ ครองที่นั่งในรัฐสภาในระดับที่มากพอ
ที่จะช่วยให้พรรคนิว เดโมเครซีกับพรรค PASOK ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาได้
อย่างไรก็ดี นายคูเวลิสกล่าวย้ำหลายครั้งว่า เขาจะไม่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลถ้าหาก
นายซิปราสไม่เข้าร่วมด้วย
ประชาชนที่ต่อต้านมาตรการให้ความช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ
ได้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคขนาดเล็กพลายพรรคในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.
แต่ขณะนี้พวกเขาได้หันมาสนับสนุนนายซิปราสเป็นส่วนใหญ่ โดยผลสำรวจความเห็น
ประชาชนระบุว่า นายซิปราสจะชนะการเลือกตั้งถ้าหากกรีซจัดการลงคะแนนรอบใหม่
พรรคการเมืองที่ครองคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งในกรีซจะได้ที่นั่ง
ในรัฐสภาเพิ่มขึ้นอีก 50 ที่นั่งจากทั้งหมด 300 ที่นั่ง โดยระบบการจัดสรรที่นั่งแบบนี้
มีจุดประสงค์เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
นายซิปราสปฏิเสธที่จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคนิว เดโมเครซีและพรรค
PASOK ซึ่งเป็นสองพรรคการเมืองที่ปกครองกรีซมานานหลายสิบปี โดยชาวกรีซ
จำนวนมากไม่ได้ลงคะแนนเลือกพรรค PASOK และพรรคนิว เดโมเครซีในการ
เลือกตั้งครั้งล่าสุด เนื่องจากทั้งสองพรรคนี้ให้การสนับสนุนมาตรการให้ความช่วย
เหลือทางการเงินของอียูและไอเอ็มเอฟ และสนับสนุนเงื่อนไขในมาตรการดังกล่าว
ที่ระบุให้กรีซปรับลดค่าจ้างกับเงินบำนาญและปรับขึ้นภาษี
นายซิปราสกล่าวว่า เขาต้องการให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป แต่ต้องมีการ
ยกเลิกมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากอียู/ไอเอ็มเอฟ อย่างไรก็ดี ผู้นำ
หลายรายในยุโรปกล่าวว่า การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้อียูระงับการ
เบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่กรีซ ซึ่งจะส่งผลให้กรีซล้มละลาย และถูกขับออกจาก
การเป็นสมาชิกยูโรโซน
หลังจากนายซิปราสประชุมกับปธน.ปาปูลิอาสและผู้นำพรรคนิว เดโมเครซี
กับพรรค PASOK เขาก็กล่าวถึงข้อเสนอในการจัดตั้งรัฐบาลว่า "พวกเขาไม่ได้หวัง
ที่จะทำข้อตกลงกับเรา แต่กำลังขอให้เราเป็นหุ้นส่วนในอาชญากรรม ซึ่งเราจะไม่เป็น
ผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย"
ทางด้านนายอีวานเจลอส เวนิเซลอส ผู้นำพรรค PASOK กล่าวหลังการ
ประชุมว่า เขายังคงมีความหวังว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่เวลาใกล้จะหมดลง
แล้ว
"แม้การประชุมกับท่านประธานาธิบดีเผชิญภาวะชะงักงัน ผมก็ยังคงมีความ
หวังเล็กๆว่าเราจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้" นายเวนิเซลอสกล่าว
พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคที่ได้ครองที่นั่งในรัฐสภาได้เข้าพบปธน.ปาปูลิอาส
เมื่อวานนี้ ซึ่งรวมถึงพรรคโกลเดน ดอว์น ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดที่เพิ่งครองที่นั่งในรัฐสภา
ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่ชาวกรีซจำนวนมากจับตาการประชุมเมื่อวานนี้ โดยปธน.ปาปูลิอาส
ซึ่งมีอายุ 82 ปี และเป็นทหารผ่านศึกจากการต่อสู้กับนาซีในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้
ทำการต้อนรับนายนิคาลาออส มิฮาโลเลียคอส ผู้นำพรรคโกลเดน ดอว์น ที่มีแนวคิด
ใกล้เคียงกับนาซี
การประชุมดังกล่าวที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์เมื่อวานนี้ ปธน.ปาปูลิอาสแสดง
อาการยิ้มแย้มขณะต้อนรับผู้นำพรรคการเมืองคนอื่นๆ แต่เขาแสดงใบหน้าเคร่งขรึมเมื่อ
นั่งตรงข้ามกับนายมิฮาโลเลียคอส
ทางด้านผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบประธานาธิบดีพากันนั่งบนพื้น
เพื่อแสดงอาการต่อต้านนายมิฮาโลเลียคอสขณะที่เขาเข้ามาในทำเนียบประธานาธิบดี
และผู้สื่อข่าวก็ปฏิเสธที่จะถามคำถามเขาด้วย
ผลสำรวจระบุว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่ปฏิเสธมาตรการให้ความช่วยเหลือของอียู/
ไอเอ็มเอฟ แต่ต้องการใช้สกุลเงินยูโรต่อไป โดยชาวกรีซ 78.1 % ต้องการให้รัฐบาล
กรีซชุดใหม่ทำสิ่งใดก็ตามที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป
อย่างไรก็ดี ประเทศอื่นๆในยุโรปกำลังจะหมดความอดทนต่อกรีซ โดยนิตยสาร
Der Spiegel ของเยอรมนีตีพิมพ์ข้อความบนหน้าปกว่า "Acropolis, Adieu! Why
Greece must leave the euro." ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้กรีซออกจากยูโรโซน
เจ้าหน้าที่ยุโรปบางรายกล่าวอย่างเปิดเผยในขณะนี้ว่า มีความเป็นไปได้
ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน
นายลุค เคิน ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวต่อ
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ว่า "การหย่าไม่เคยเป็นสิ่งที่ราบรื่น แต่ผมคาดว่า
การหย่ากันอย่างฉันท์มิตรเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ ถ้านั่นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
ถึงแม้เป็นสิ่งที่น่าเสียใจสำหรับผม"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 175

โพสต์

GREECE:ฟิทช์ขู่หั่นอันดับเครดิตทั้งยูโรโซนหากกรีซถูกขับจากการเป็นสมาชิก
ลอนดอน--14 พ.ค.--รอยเตอร์

บริษัทฟิทช์ เรทติงส์ ประกาศเตือนยูโรโซนทั้งภูมิภาคว่า ถ้าหาก
กรีซถูกขับออกจากยูโรโซนอันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอื่นๆที่เหลือก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยง
ฟิทช์ระบุว่า มีแนวโน้มที่ฟิทช์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ
ทั้งยูโรโซน ถ้าหากกรีซออกจากยูโรโซน โดยประเทศที่มีแนวโน้มอันดับความ
น่าเชื่อถือในเชิงลบขณะนี้ มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะถูกปรับลดอันดับลงในไม่ช้า
ฟิทช์ระบุว่า ประเทศดังกล่าวได้แก่ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน,
ไซปรัส, ไอร์แลนด์, โปรตุเกส, สโลเวเนีย และเบลเยียม
"ถ้าหากกรีซออกจากยูโรโซน อันเนื่องมาจากวิกฤติการเมืองในขณะนี้
หรือในภายหลังเนื่องจากเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ ฟิทช์ก็มีแนวโน้มที่จะจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือของประเทศอื่นๆที่เหลือในยูโรโซนอยู่ในเครดิตพินิจเชิงลบ ขณะที่
ฟิทช์ทำการประเมินครั้งใหม่สำหรับผลกระทบต่อทั้งระบบ และต่อแต่ละประเทศ
จากการที่กรีซออกจากยูโรโซน"
ฟิทช์เปิดเผยว่า ขอบเขตของการปรับลดอันดับจะขึ้นอยู่กับว่ายูโรโซน
มีปฏิกริยาอย่างไรต่อการออกไปของกรีซ
"ความน่าจะเป็นและขนาด จะขึ้นอยู่กับการตอบรับด้านนโยบายของ
ยุโรป และความสำเร็จในการจำกัดการลุกลามของปัญหา รวมทั้งการกำหนด
วิสัยทัศน์ที่น่าเชื่อถือในการปฏิรูปยูโรโซน" ฟิทช์ระบุ
"อย่างไรก็ดี อันดับความน่าเชื่อถือของสมาชิกทั้งหมดของยูโรโซน
อาจจะเผชิญกับความเสี่ยง"
นายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรคเดโมแครติก เลฟท์ของกรีซ ยืนยันในวันนี้
ก่อนการเจรจารอบสุดท้ายในวันนี้ของบรรดาพรรคการเมืองของกรีซเพื่อหาทาง
จัดตั้งรัฐบาลใหม่ว่า เขาจะไม่เข้าร่วมในรัฐบาลผสม หากพรรคเลฟท์ โคลิชัน
(SYRIZA) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงไม่ได้เข้าร่วมด้วย
"รัฐบาลที่ไม่ได้รับประกันการเข้าร่วมของพรรคอันดับสอง จะขาดการ
สนับสนุนที่จำเป็นจากประชาชนและจากรัฐสภา" นายคูเวลิสเปิดเผยกับแอนเทนนา
ทีวี โดยระบุว่าเขาต้องการรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง
พรรค SYRIZA ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่
6 พ.ค. ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคต่างๆที่สนับสนุนข้อตกลง
ความช่วยเหลือที่กรีซทำไว้กับอียู/ไอเอ็มเอฟ ส่งผลให้คาดว่าจะมีการเลือกตั้ง
ใหม่ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ทั้งนี้ กรีซเผชิญภาวะวุ่นวายทางการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากผลการ
เลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา นอกจากนี้
พรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนและต่อต้านข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ที่กรีซทำไว้กับอียู และไอเอ็มเอฟในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร ต่างก็ได้คะแนนเสียง
ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ผู้นำยุโรปกล่าวว่า กรีซจะถูกขับออกจากยูโรโซน ถ้าหากไม่ยอมดำเนิน
มาตรการขึ้นภาษี และปรับลดค่าจ้างตามข้อตกลงกับทางอียู/ไอเอ็มเอฟ--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 176

โพสต์

GREECE:หุ้นกลุ่มแบงก์กรีซทรุดหนัก 7% ผวาเลือกตั้งใหม่หลังการเมืองถึงทางตัน
เอเธนส์--14 พ.ค.--รอยเตอร์

หุ้นกลุ่มธนาคารของกรีซทรุดตัวลงถึง 7% ในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้
หลังจากพรรคการเมืองของกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมในช่วง
สุดสัปดาห์ และผู้นำพรรคฝ่ายซ้ายได้ปฏิเสธคำเชิญให้เข้าร่วมการประชุมครั้งใหม่
ในวันนี้
"นี่เป็นเพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง และแถลงการณ์จากยุโรป
เกี่ยวกับความเสี่ยงที่กรีซจะออกจากยูโรโซน" นางนาตาชา รูแมนท์ซี ผู้อำนวยการ
ฝ่ายวิเคราะห์จากบล.ปิแรอุส กล่าว
นายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรคเดโมแครติก เลฟท์ของกรีซ ยืนยันในวันนี้
ก่อนการเจรจารอบสุดท้ายของบรรดาพรรคการเมืองของกรีซเพื่อหาทางจัดตั้งรัฐบาล
ใหม่ว่า เขาจะไม่เข้าร่วมในรัฐบาลผสม หากพรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA)
ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงไม่ได้เข้าร่วมด้วย
"รัฐบาลที่ไม่ได้รับประกันการเข้าร่วมของพรรคอันดับสอง จะขาดการ
สนับสนุนที่จำเป็นจากประชาชนและจากรัฐสภา" นายคูเวลิสเปิดเผยกับแอนเทนนา
ทีวี โดยระบุว่าเขาต้องการรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง
พรรค SYRIZA ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่
6 พ.ค. ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคต่างๆที่สนับสนุนข้อตกลง
ความช่วยเหลือที่กรีซทำไว้กับอียู/ไอเอ็มเอฟ ส่งผลให้คาดว่าจะมีการเลือกตั้ง
ใหม่ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
"การประชุมจะมีขึ้นในเวลา 19.30 น. (23.30 น.ตามเวลาไทย)"
เจ้าหน้าที่กล่าว
ทั้งนี้ กรีซเผชิญภาวะวุ่นวายทางการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากผลการ
เลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา นอกจากนี้
พรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนและต่อต้านข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ที่กรีซทำไว้กับอียู และไอเอ็มเอฟในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร ต่างก็ได้คะแนนเสียง
ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 177

โพสต์

GERMANY:เยอรมนีเผยจีดีพี Q1 โตเกินคาด 0.5%
เบอร์ลิน--15 พ.ค.--รอยเตอร์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีขยายตัว 0.5%
ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายไตรมาส โดยสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์สูงสุดที่ 0.2%
ในผลสำรวจของรอยเตอร์ ขณะที่การส่งออกช่วยหนุนเศรษฐกิจดีดตัวขึ้นจากการ
หดตัว 0.2% ในไตรมาส 4
นอกจากนี้ ข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักงานสถิติที่เปิดเผยในวันนี้ยังบ่งชี้ว่า
เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัว 1.7% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี จาก 1.5%
ในไตรมาส 4 ซึ่งเพิ่มความหวังต่อยูโรโซนว่า เยอรมนีจะยังคงสามารถเป็น
ตัวจักรหลักสำหรับขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สำนักงานสถิติระบุว่า การส่งออกได้ช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ขณะที่การบริโภคภายในประเทศปรับตัวขึ้นด้วย ซึ่งได้ช่วยชดเชยการลงทุนที่ลดลง
ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 41 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจ
จะขยายตัว 0.1% ในไตรมาสแรกและจะขยายตัว 0.8% ในปีนี้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 178

โพสต์

> EUROPE:ยูโรโซนเผชิญภาวะศก.ถดถอย แม้ผลผลิตภาคอุตฯของเยอรมนีพุ่งในมี.ค.
บรัสเซลส์--15 พ.ค.--รอยเตอร์

ข้อมูลการผลิตที่แข็งแกร่งของเยอรมนีไม่สามารถชดเชยภาวะตกต่ำของประเทศ
อื่นๆทั่วยูโรโซนในเดือนมี.ค.ได้ โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนดิ่งลง และส่ง
สัญญาณว่า ภาวะถดถอยของยูโรโซนอาจจะรุนแรงกว่าที่ผู้กำหนดนโยบายคาดการณ์ไว้
สำนักงานสถิติ Eurostat ของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ของ 17 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ลดลง 0.3% ในเดือนมี.ค.จากเดือนก.พ. ขณะที่
นักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น
0.4% ในเดือนมี.ค.
ข้อมูลดังกล่าวสวนทางกับข้อมูลของเยอรมนีที่พบว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ของเยอรมนีพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนมี.ค. และทะยานขึ้น 2.8% หากรวมภาคพลังงาน
และก่อสร้างด้วย
"เนื่องจากวิกฤติหนี้, อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 2%
อุปสงค์ภาคครัวเรือนจึงชะลอตัวลง และภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวย่ำแย่ นั่นจึงทำให้
ประชาชนไม่ต้องการใช้จ่ายและลงทุน" นายจูสท์ โบมองต์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส
จากเอบีเอ็น แอมโรกล่าว
Eurostat ระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมี.ค.ลดลง 1.8%
ในสเปน และลดลง 0.9% ในฝรั่งเศส
ส่วนผลผลิตของเนเธอร์แลนด์ลดลง 0.9% หลังจากที่พุ่งขึ้นมากในเดือนก.พ.
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า ข้อมูลของ Eurostat ในวันนี้จะระบุว่า
ยูโรโซนประสบกับภาวะถดถอยเป็นครั้งที่สองในเวลาแค่ 3 ปีในช่วงปลายเดือนมี.ค.
ที่ผ่านมา โดยภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบจากโครงการรัดเข็มขัดเพื่อลดหนี้และยอดขาดดุล
นักเศรษฐศาสตร์ในผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคาดว่า เศรษฐกิจยูโร
โซนจะหดตัวลง 0.2% ในไตรมาสแรก หลังจากหดตัวลง 0.3% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว
ผู้นำอียูจะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 23
พ.ค.นี้เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้
ยูโรโซนและอียูมีการขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะเดียวกันก็จะยังคงลดหนี้สินและยอดขาดดุลลง
แต่นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนกล่าวว่าแทบไม่มีโอกาสที่จะดำเนินการดังกล่าวได้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 179

โพสต์

ITALY:หุ้นกลุ่มแบงก์อิตาลีเปิดตลาดดีดตัว เมิน"มูดี้ส์"หั่นเครดิต
มิลาน--15 พ.ค.--รอยเตอร์

หุ้นกลุ่มธนาคารชั้นนำของอิตาลีดีดตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้
แม้มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเงินฝาก
และตราสารหนี้ระยะยาวของธนาคาร 26 แห่งของอิตาลี โดยระบุถึงภาวะถดถอย
และระดับหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นของอิตาลี
มูดี้ส์ระบุว่า ธนาคารทั้ง 26 แห่งของอิตาลีได้ถูกปรับลดอันดับความ
น่าเชื่อถือลงอย่างน้อย 1 ขั้น ขณะที่ธนาคารบางแห่งถูกปรับลดอันดับความน่า
เชื่อถือลงถึง 4 ขั้น โดยธนาคารทุกแห่งในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเชิงลบ
ณ เวลา 14.08 น.ตามเวลาไทย หุ้น Intesa Sanpaolo และหุ้น
Unicredit ซึ่งเป็นสองธนาคารชั้นนำของอิตาลี ปรับตัวขึ้นราว 0.5% ขณะที่
ดัชนี European DJ Stoxx สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคาร บวก 0.3%--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 180

โพสต์

แบงก์สเปน 3 แห่งตกลงควบกิจการ หวังหนุนงบดุลฯรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 10:16:29 น.
ธนาคารออมทรัพย์ของสเปน 3 แห่งได้ตกลงควบรวมกิจการกันและจะขายธุรกิจบางส่วน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านงบดุลบัญชี ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อกำลังส่งผลกระทบต่อระบบการธนาคารของประเทศ

ธนาคารทั้ง 3 แห่งประกอบด้วย Ibercaja, Liberbank และ Caja3 โดยหลังจากควบรวมกิจการแล้วจะส่งผลให้มีธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 7 ของประเทศที่มีสินทรัพย์มูลค่า 1.20 แสนล้านยูโร

รายงานที่เสนอต่อหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของสเปนระบุว่า ธนาคารแห่งใหม่ดังกล่าว จะมี Ibercaja ถือหุ้น 46.5% ขณะที่ Liberbank เป็นเจ้าของหุ้น 45.5% และ Caja3 จะมีหุ้นอยู่ 8%

การควบรวมกิจการครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่บังเกีย ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของสเปน ต้องขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 1.9 หมื่นล้านยูโร (2.38 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มากเป็นประวัติการณ์สำหรับสเปน ซึ่งสะท้อนถึงความเปราะบางของภาคการธนาคารสเปน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้น เนื่องจากนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า ภาคธนาคารของสเปนมีหนี้เสียพุ่งขึ้น 8.7% ในเดือนมี.ค. แตะระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 17 ปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 8.3% ในเดือนก.พ. ขณะที่ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนของสเปนเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ จากภาวะตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์