ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 181

โพสต์

สัญญาณเตือนบ่งชี้สเปนมีแนวโน้มต้องรับเงินช่วยเหลือจากนานาประเทศ
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 10:12:19 น.
สัญญาณเตือนเริ่มปรากฎเด่นชัดขึ้นว่า สเปนกำลังใกล้ถึงจุดเดียวกับที่ทำให้กรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต้องขอความช่วยเหลือจากนานาประทเศ

หลังจากที่ค่าพรีเมียมต้นทุนการระดมทุนของกรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต่อเยอรมนีแตะ 5% ได้เพียง 12, 24 และ 34 วันตามลำดับ ประเทศเหล่านั้นก็ต้องขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศ ซึ่งค่าพรีเมียมของสเปนแตะ 5% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา


ขณะเดียวกัน ปัจจัยกระตุ้นความวิตกเกี่ยวกับสเปนยังมาจากธนาคารบังเกีย ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ 1.9 หมื่นล้านยูโรจากรัฐบาล

ขณะที่นายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอยยืนยันเมื่อวันจันทร์ว่า สเปนไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก แต่นักลงทุนมองเรื่องนี้ต่างออกไป โดยคิดว่าสเปนจะไม่สามารถรับมือกับต้นทุนการระดมทุนได้ และบางรายแนะนำว่า ควรจะมีแผนการรับประกันเงินฝากธนาคารทั่วสหภาพยุโรป (อียู) ในระยะสั้น

ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ โดยกรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต่างก็ได้รับความช่วยเหลือในระดับรัฐบาล จากภาระหนี้สินสูง แต่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของสเปนนั้นต่ำกว่าประเทศเหล่านี้ นอกจากนี้ สเปนยังได้ออกตราสารหนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการระดมทุนสำหรับปีนี้แล้ว

นักวิเคราะห์ประมาณว่า สเปนต้องการเงินเพื่อเพิ่มทุนธนาคารราว 5 หมื่นล้านยูโรถึง 1 แสนล้านยูโร ซึ่งแม้ว่านายราฮอยคัดค้านการรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ แต่เขาเรียกร้องให้กลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือยุโรป สามารถเพิ่มทุนให้กับธนาคารโดยตรง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่ต้องรับภาระหนี้สินจากธนาคาร

นักวิเคราะห์บางรายแนะว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) สามารถบรรเทาความต้องการเงินช่วยเหลือสเปน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น ด้วยการดำเนินการนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างที่เคยใช้ในครั้งก่อนๆ ซึ่งได้แก่ การซื้อพันธบัตรโดยตรง, การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคาร หรือการลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของสเปนในขณะนี้บ่งชี้ถึงความชัดเจนมากขึ้นที่สเปนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 182

โพสต์

นักวิเคราะห์ชี้วิกฤตสเปนยังไม่รุนแรงถึงขีดสุด คาดศก.-การเงินย่ำแย่ต่อ
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 17:18:33 น.
ประเด็นที่ว่ารัฐบาลสเปนจะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 1.9 หมื่นล้านยูโรแก่ธนาคารบังเกีย ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 3 และเป็นผู้ปล่อยเงินกู้จำนองรายใหญ่ที่สุด กลายเป็นประเด็นความสนใจของสาธารณชนและประเด็นถกเถียงในวงการสื่อ เนื่องจากทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารัฐบาลจะนำเงินมาจากไหน ในขณะที่ภาวะสินเชื่อในประเทศตึงตัวและบังเกียมีหนี้เสียจากภาคการเคหะจำนวนมหาศาล

นอกจากนี้ ภาวะฟองสบู่ภาคที่อยู่อาศัยของสเปนและการทรุดตัวลงของภาคเคหะเป็นปัจจัยสำคัญในวิกฤตการเงินสเปนที่อาจทำให้สเปนต้องรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศเหมือนกับไอร์แลนด์ โปรตุเกส และกรีซ โดยในช่วง 10 ปีจนถึงปี 2551 ราคาบ้านในสเปนพุ่งขึ้น 2 เท่า แต่ในขณะนี้ได้ลดลง 30% แต่นักวิเคราะห์คาดว่า ราคาจะลดลงต่อไป ซึ่งในยุคที่เฟื่องฟูนั้น ภาคการเคหะสร้างงานให้ชาวสเปน 1 ใน 7 คน เมื่อเทียบกับ 1 ใน 22 ในสหรัฐ แต่ในตอนนี้บ้าน 2 ล้านหลังในสเปนยังไม่มีผู้ซื้อ และจะมีการประกาศขายบ้านในตลาดเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่ผู้ขอเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย 20% อยู่ในภาวะย่ำแย่

นักวิเคราะห์บางรายคาดว่า การเข้าอุ้มธนาคารบังเกียจะยิ่งเพิ่มหนี้ให้กับสเปน ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้น 50% ถ้ารัฐจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือภาคธนาคารมากขึ้น

นายมาริอาโน ราฮอย นายกรัฐมนตรีสเปนต้องการให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซื้อตราสารหนี้สเปน แต่นั่นเป็นสิ่งที่ได้รับการคัดค้านจนถึงขณะนี้ โดยธนาคารกลางสเปนได้กู้ยืมเงินจากอีซีบี 3.85 แสนล้านยูโรแล้ว

สำหรับขณะนี้ประเด็นความวิตกอยู่ที่เศรษฐกิจที่อ่อนแอลงของสเปน ไม่ใช่การแห่ถอนเงินอย่างหนัก โดยอัตราว่างงานของสเปนนับว่าสูงสุดในยุโรปที่เกือบ 25% และอัตราว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มสาวอยู่สูงกว่า 40% ขณะที่เศรษฐกิจอ่อนตัวลง 0.3% ในไตรมาสแรก และนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอลงในไตรมาสต่อๆไป ซึ่งจะทำให้การว่างงานยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
ดูอัตราว่างงานแล้วน่าตกใจไหมครับ
ANDREPETER
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 183

โพสต์

อสังหา แตกแล้วครับ รอคลื่นมากระทบเราเมื่อไร
Read Read Read
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 184

โพสต์

Spain - ดูแล้วเป็นวังวนคล้ายตอนที่กรีซโดนเลย คนตกงานมาก --> เศษฐกิจไม่ดี ---> โดนหัน credit rating ---> ดอกเบี้ยพันธบัตรสูงขึ้น ----> ไม่สามารถใช้หนี้ได้ ---> วนซ้ำ ๆ จนหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

SPAIN ปลายปีที่แล้ว อัตราว่างงาน 19% ,Credit rating A- , ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปี 5.7%
SPAIN เดือน พค 2012 อัตราว่างงาน 25% ,Credit rating BBB+ (เหนือjunk 2 ขั้น) , ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปี 6.5% (ว่ากันว่าถ้าเกิน 7% จะไม่สามารถใช้หนี้ได้อีกแล้ว)

ดูแล้วไม่น่ารอด คงตาม กรีซ ไปในไม่ช้านี้

แต่ SPAIN GDP ใหญ่กว่ากรีซ เกือบ 5 เท่า , ขนาด GDP เกือบครึ่ง ของ Germany !

ยังจะอุ้มกันไหวหรือเปล่า ?
แนบไฟล์
GDP EURO 2010.JPG
EURO GDP 2011 Map.JPG

ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 185

โพสต์

วิตกแบงก์สเปนดันผลตอบแทนพันธบัตรสเปน,อิตาลีพุ่งทะลุ 6%,ยูโรดิ่งหนัก
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2555 09:11:06 น.
ในช่วงปิดตลาดยุโรป ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสเปน ทะยานขึ้น 0.23% สู่ 6.64% ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้นสู่ 6.06% บวก 0.18% โดยการประมูลพันธบัตรอิตาลีอยู่ในภาวะซบเซา

นักวิเคราะห์จากรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ กรุ๊ป เตือนว่า ผลตอบแทนที่ระดับนี้จะไม่สามารถคงอยู่ยั่งยืนในระยะยาว และผลตอบแทนอายุ 10 ปีของพันธบัตรสเปนอาจจะแตะ 7% ในสัปดาห์ต่อๆไป ซึ่งธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) หรือกองทุนช่วยเหลือยูโรโซนอาจจะต้องเข้าแทรกแซง

ขณะเดียวกัน นักลงทุนที่ตื่นตระหนกแห่เข้าลงทุนในพันธบัตรเยอรมนี ซึ่งทำให้พันธบัตรอายุ 10 ปีดังกล่าวมีผลตอบแทนที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.261% ก่อนที่จะปิดตลาดยุโรปที่ 1.27% ลดลง 0.10% ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีของเยอรมนีแตะ 0% เป็นครั้งแรกในช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 0.007% ปรับลง 0.04%

ด้านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐ แตะจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 1.642% เมื่อวานนี้ และพันธบัตรอายุ 10 ปีของอังกฤษร่วงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.653%

ทั้งหมดนี้เป็นเพราะนักลงทุนแห่เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยเทขายหุ้นและตราสารหนี้อิตาลีและสเปน ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นสเปนแตะระดับต่ำสุดครั้งใหม่รอบ 9 ปี จากความวิตกเกี่ยวกับธนาคารสเปน และยูโรแตะระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในรอบเกือบ 2 ปี โดยนักลงทุนไม่เชื่อว่ากองทุนช่วยเหลือถาวรของยุโรป จะได้รับอนุญาตให้เพิ่มทุนให้กับธนาคารที่ประสบปัญหาในยูโรโซนได้โดยตรง เนื่องจากต้องได้รับการเห็นชอบโดยตรงจากเยอรมนีและธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ก่อน

ตลาดหุ้นสเปนร่วงเป็นวันที่ 3 และหุ้นบังเกียรูดลงอีก 8.6% โดยติดลบเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน

นอกจากนี้ ยอดเงินฝากลูกค้ารายย่อยและภาคเอกชนของธนาคารสเปนยังลดลงในเดือนเม.ย. สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นวิกฤตยูโรโซน ซึ่งเป็นสัญญาณอีกประการหนึ่งถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงในภาคการธนาคารสเปน
ฝีมะเร็งเริ่มแตกตัวแสดงอาการออกมากรอบด้านแล้วครับ ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดนะครับ เพราะครั้งนี้น่ากลัวว่าจะหนักกว่าแฮมแบเกอร์มากนะครับ
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 186

โพสต์

xBT> CHINA:จับตาจีนเผยข้อมูล PMI พรุ่งนี้ คาดบ่งชี้ศก.ชะลอตัว 6 ไตรมาสติดต่อกัน
ปักกิ่ง--31 พ.ค.--รอยเตอร์

ผลการสำรวจของรอยเตอร์พบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
อย่างเป็นทางการของจีนอาจลดลงสู่ระดับ 52.2 ในเดือนพ.ค. จากระดับสูงสุด
ในรอบ 13 เดือนในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการยืนยันว่า เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว
ลงเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน แม้รัฐบาลเพิ่มมาตรการกระตุ้นก็ตาม
ทั้งนี้ จีนจะประกาศข้อมูล PMI อย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้เวลา
09.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 8.00 น.ตามเวลาไทย
ข้อมูลที่ย่ำแย่เกินคาดในเดือนเม.ย. ซึ่งรวมถึงผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ที่เพิ่มขึ้นเพียง 9.3% ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ทำให้เกิดการคาดการณ์
ว่า เศรษฐกิจจีนจะแตะระดับต่ำสุดในเดือนมิ.ย.เป็นอย่างเร็วที่สุด
รัฐบาลจะพึ่งพานโยบายการคลังมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการลงทุน ซึ่งรวมถึง
การเร่งอนมุติโครงการสาธารณูปโภคที่สำคัญ และโครงการอุตสาหกรรม และให้
เงินอุดหนุนแก่ผู้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ประหยัดพลังงาน
หนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้ ซีเคียวริตีส์ นิวส์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า
ธนาคารขนาดใหญ่ของจีนได้เร่งการปล่อยสินเชื่อแล้ว ขณะที่รัฐบาลเริ่มดำเนิน
การอนุมัติโครงการลงทุนอย่างรวดเร็ว
"เราคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวตั้งแต่เดือนมิ.ย. ขณะที่นโยบาย
การคลังจะเป็นปัจจัยหนุนมากขึ้น" นายโจว เฮา นักเศรษฐศาสตร์จากเอเอ็นแซด แบงก์
กล่าว
ผลสำรวจของเอชเอสบีซีระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของเอชเอสบีซี
ลดลงสู่ 48.7 ในเดือนพ.ค. จาก 49.3 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการหดตัวลงเป็นเดือนที่ 7
ติดต่อกัน
ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR)
ลง 3 ครั้งรวม 1.50% ตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้วเพื่อหนุนการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคาร
และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการปรับลด RRR ลงอีก 1.00% ในปีนี้ และคาดว่า
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงสู่ 7.9% ในไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งจะเป็นภาวะ
ชะลอตัวเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน แต่ก็ยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ทางการกำหนดไว้ที่
7.5%
ตัวเลขในข้อมูล PMI ของทางการอยู่สูงกว่าข้อมูล PMI ของเอชเอสบีซี
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากข้อมูลของทางการมุ่งเน้นบริษัทขนาดใหญ่ของ
รัฐบาล ขณะที่ข้อมูลของเอชเอสบีซีมุ่งเน้นบริษัทเอกชนขนาดเล็กที่มีช่องทางจำกัด
ในการเข้าถึงสินเชื่อธนาคาร นอกจากนี้ ผลสำรวจทั้งสองฉบับยังมีวิธีการปรับค่า
ตามฤดูกาลที่แตกต่างกันด้วย--จบ--
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 187

โพสต์

http://www.kobsak.com/?p=5509

Bankia
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาภาคสถาบันการเงินในสเปน ได้พัฒนาความรุนแรงขึ้นไปอีกหนึ่งขั้น โดย Bankia ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของธนาคารในสเปน มีลูกค้าถึง 12 ล้านบัญชี ได้ประกาศขอความช่วยเหลือจากทางการเป็นเงินถึง 7 แสนกว่าล้านบาท หรือ 1.9 หมื่นล้านยูโร เพื่อแก้ปัญหาของตน หลังเคยได้รับความช่วยเหลือไปแล้วรอบหนึ่งเมื่อ 1 ปีที่แล้ว ประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท หรือ 4.5 พันล้านยูโร ทำให้หลายคนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับ “ภาคธนาคารพาณิชย์ของสเปน” และ “โอกาสที่สเปนจะเกิดวิกฤต ต้องรับความช่วยเหลืออีกครั้งหนึ่ง”

ปัญหานี้เกิดได้อย่างไร

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Bankia ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นข้ามคืน

กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ สเปนได้สะสมปัญหาต่างๆ ไว้ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่บูมอย่างยิ่ง ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นกว่า 200% ทำให้เกิดโครงการอสังหาฯ ต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และสเปนก็ได้กู้เงินจำนวนมากจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

ช่วงเศรษฐกิจดี ปัญหาต่างๆ ก็ถูกช่อนไว้ แต่เมื่อเศรษฐกิจสเปนสะดุดลงจากปัญหาวิกฤตในสหรัฐอเมริกา การเก็งกำไรในภาคอสังหาก็หยุดลงเช่นกัน และเป็นจุดเริ่มต้นของการแตกสลายลงของฟองสบู่อสังหา ลุดลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ที่ทำให้เกิดหนี้เสียต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทำให้สเปนมีโครงการร้าง เมืองร้าง ที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีคนเข้าไปอยู่ เหมือนกับกรณีของไทยที่มีตึกสร้างไม่เสร็จเป็นจำนวนมาก หลังปี 40

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ (1) ปัญหาการตกงานของคนงานภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และ (2) หนี้เสียที่เกิดขึ้นจำนวนมาก และเป็นภาระต่อภาคแบงก์ของสเปน โดยแบงก์ในสเปนรวมกันมีสินเชื่อให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้นกว่า 4 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 40% ของเศรษฐกิจสเปน

ซึ่งขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์สเปนกำลังบูมขึ้นนั้น ภาคธนาคารพาณิชย์สเปนก็มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างเช่นกัน โดย แบงก์ขนาดเล็กที่รับฝากเงิน หรือที่เรียกกันว่า Saving Banks หรือ Caja ที่มีอยู่ประมาณ 45 แห่ง นั้น (ถ้าจะเทียบก็คือ บริษัทเงินทุนฯ ของไทย) เริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากเงินที่กู้ยืมมาเป็นจำนวนมาก เพื่อปล่อยให้กับโครงการอสังหาฯ เหล่านี้ ทำให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เป็น 40% ของระบบ (จากเดิมที่เคยอยู่ที่ 20%)

ไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น สถาบันการเงินเล็กๆ เหล่านี้ จึงได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก และทางการของสเปนจึงได้มีการสั่งปิดกิจการ หรือสั่งควบรวมกิจการ แบงก์เล็กๆ เหล่านี้ เพื่อแก้ไขปัญหา มาหลายรอบ ล่าสุดก็เปลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง โดย Bankia เองก็เกิดมาจากการควบรวมกิจการแบงก์เล็กๆ เหล่านี้ จำนวน 7 แห่งเข้าด้วยกันเมื่อปลายปี 53

ทำไมจึงต้องการความช่วยเหลือเพิ่ม

ที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่ม ก็เนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจของสเปนไม่ดีนัก มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก เกือบ 25% และตลาดอสังหาฯ ก็มีบ้านอาคารที่สร้างเสร็จแต่ขายไม่ได้เป็นจำนวนมาก โดยปัจจุบัน สเปนมีที่อยู่อาศัยอยู่ประมาณ 22-24 ล้านหลัง สำหรับประชากร 16-17 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นบ้านว่างประมาณ 3-4 ล้านหลัง นอกจากนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสเปนได้ปรับตัวลดลง โดยราคาได้ตกลงในอัตราเร่งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้ปัญหาหนี้เสียที่มาจากภาคอสังหาริมทรัพย์ในสเปนแย่กว่าที่คิดไว้ กระทบต่อแบงก์มากขึ้น

จุดนี้ จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องจับตามอง ถ้าสถาบันการเงินในสเปนแย่กว่าที่ทุกคนคาด ฐานะรัฐบาลสเปนก็จะแย่กว่าที่ทุกคนคิดไว้ และเศรษฐกิจสเปนก็จะใกล้กับวิกฤตมากกว่าที่ประเมินเช่นกัน

ก็ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และขอเอาใจช่วยให้สเปนสามารถแก้ไขปัญหาได้ครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 31 พ.ค. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 188

โพสต์

http://www.kobsak.com/?p=5488&cpage=1#comment-10003
ความคืบหน้าของปัญหาในสเปน
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

หลังจากสถานการณ์วิกฤติในยุโรปได้ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ทุกคนสบายใจมาได้ 3 เดือน ตอนนี้สายตาของทุกคนเริ่มหันกลับไปมองยุโรปอีกรอบ โดยเฉพาะสเปน และเริ่มตั้งคำถามกันอีกครั้งหนึ่ง ว่า “สเปนจะไปรอดหรือไม่” และ “ผลกระทบคืออะไร”

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้

ถ้าเราย้อนกลับไปดู คงจำกันได้ว่า วิกฤติในยุโรปลุกลาม รุนแรงมากในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มแบงก์ ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีปัญหาความไม่เชื่อใจกันและกัน ไม่แน่ใจกันว่าแบงก์เหล่านี้จะสามารถคืนเงินให้กับเจ้าหนี้ที่กำลังจะครบกำหนดในปีนี้ได้หรือไม่

สาเหตุหลักที่ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นมาได้ มาจากมาตรการของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ช่วยอัดฉีดเงินสภาพคล่องให้กับแบงก์ต่าง ๆ 2 รอบ ช่วงปลายเดือนธันวาคม และปลายเดือนกุมภาพันธ์ รวมเป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านยูโร ซึ่งเงินจำนวนนี้ เป็นน้ำถังใหญ่ที่สาดเข้าไปในกองเพลิง ทำให้วิกฤติในยุโรปปรับตัวดีขึ้นมาก และช่วยซื้อเวลาให้กับทุกคน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแจกเงิน แจกสภาพคล่องให้กับทุกคน ไม่ได้ช่วยแก้รากเหง้าของปัญหา ทั้งในส่วนของภาคการคลัง เศรษฐกิจจริง และหนี้เสียที่ยังมีอยู่มากในภาคแบงก์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ที่คนบอกว่ายุโรปดีขึ้นนั้น ถ้าลงไปดูลึก ๆ ก็จะพบว่า ยังน่ากังวลใจอยู่มาก เพราะ (1) ธนาคารกลางยุโรปยังต้องทำหน้าที่ค้ำยันเศรษฐกิจและสถาบันการเงินยุโรปไว้อย่างต่อเนื่อง โดยเงินสภาพคล่องที่ปล่อยออกมายังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และยังเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์หลัง ๆ นอกจากนี้ (2) สถาบันการเงินในยุโรปเอง ก็ยังไม่เชื่อใจกัน ยังเอาเงินจำนวนกว่า 7.5 แสนล้านยูโร ไปฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ไม่กล้าปล่อยกู้ให้กันและกันเช่นดังปกติ

เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากสภาพคล่องที่ปล่อยออกมา ได้ถูกเอาไปใช้แล้วบางส่วน ข่าวร้ายเริ่มออกมา ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจึงเริ่มหมดไป

กรณีของสเปน ที่กำลังเป็นที่จับตามองของทุกคนนั้น ระดับความกังวลของนักลงทุนที่วัดจากมิติต่าง ๆ ก็เริ่มส่ออาการอีกรอบ โดยดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลกลับเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 6% อีกครั้ง ดัชนีหุ้นของสเปนลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 9,000 จุด มาที่ 7,000 จุด ในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน และดัชนีราคา ซีดีเอส ของสเปน (ที่หลายคนใช้วัดระดับความกังวลใจของนักลงทุนว่าสเปนจะสามารถคืนหนี้ได้หรือไม่) เพิ่มมาที่ 500 จุด สูงสุดนับแต่เกิดวิกฤติมา

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสเปนยังมีปัญหาซ่อนไว้ในหลายด้าน

ด้านแรก หนี้เสียในภาคแบงก์ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยประเมินกันว่าหนี้เสียในภาคแบงก์ของสเปนนั้นสูงถึงประมาณ 8% และยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากราคาบ้านและที่ดินที่ตกลง ทั้งนี้ คาดว่าแบงก์ในสเปนต้องการเงินมากกว่า 5 หมื่นล้านยูโรมาใช้ในการเพิ่มทุน และล้างหนี้เสียส่วนนี้

ด้านที่สอง เศรษฐกิจสเปนได้เข้าสู่ช่วงถดถอยอีกรอบหนึ่ง ธนาคารกลางสเปนประมาณว่า ปีนี้เศรษฐกิจจะหดตัว 1.7% ขณะที่การว่างงานโดยรวมอยู่ที่ 23-24% และบางกลุ่ม เช่น วัยรุ่นที่เริ่มทำงาน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 50%

ด้านที่สาม รัฐบาลสเปนยังไม่สามารถลดการใช้จ่ายได้ตามที่ตั้งใจไว้ ทั้งยังมีการใช้จ่ายของรัฐบาลท้องถิ่นในสเปนที่ยังขาดวินัยอยู่มาก ซึ่งหมายความว่าทางการต้องรัดเข็มขัดกันมากขึ้น แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยิ่งทำ ก็ยิ่งซ้ำเติม ให้เศรษฐกิจที่อ่อนแออยู่แล้ว อ่อนแอมากขึ้นจากเดิม คนก็ยิ่งออกมาประท้วง ทำให้กลายเป็นปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล

ล่าสุด มีข้อมูลว่า แบงก์ในสเปนต้องไปกู้ยืมเงินสภาพคล่องจาก อีซีบี ถึงประมาณ 3 แสนล้านยูโร สูงสุดในรอบหลายเดือน สะท้อนถึงปัญหาที่คุกรุ่นอยู่ข้างใน นักลงทุนก็ยิ่งกังวลใจมากขึ้น

จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป นัยคืออะไรวิกฤติยุโรปจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะ สลับกันไปมาระหว่างช่วงที่มีปัญหา และเมื่อทางการออกมาตรการ ทุกอย่างก็จะดูดีขึ้น แต่ท้ายสุดก็มีปัญหาอีกครั้ง เรียกว่า ขึ้นลงเป็นรถไฟเหาะ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะทางการไม่ได้แก้ที่เหตุของปัญหา ให้ยาไม่ตรงกับโรค มาตรการในช่วงที่ผ่านมาเน้นแต่เรื่อง “การหาเงินมารองรับ หากเกิดวิกฤติขึ้น” ล่าสุดก็เพิ่มเงินให้กับ ไอเอ็มเอฟ ซึ่งถ้ายังไม่มีการจัดการกันอย่างเหมาะสมเช่นนี้ ยังเลี่ยงปัญหาไปมา วิกฤติก็จะอยู่กับเราไปอีกนานพอสมควร ก็ต้องขอให้ทุกคนทำใจและเตรียมใจไว้ว่า หนทางข้างหน้ายังจะมีหลุมมีบ่อรออีกมาก ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เร่งเตรียมการตัวเราให้พร้อมรับกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ก็ขอเอาใจช่วยครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 26 ม.ย. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

http://www.kobsak.com/?p=5494
MAY 29, 2012
POSTED BY KOBSAK (ADMIN)
ปัญหาสเปน (ตอนที่ 2)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้คุยกันไปแล้วถึงปัญหาต่าง ๆ ในสเปน แต่เพียงในช่วงสัปดาห์เดียวก็มีตัวเลข เหตุการณ์ และความคืบหน้าต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

1. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทางสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลงมา 2 ขั้นเหลือ BBB+ (เท่ากับประเทศ ไทย) และบอกว่า อาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ซึ่งในปัจจุบัน สเปนยังเหลืออันดับความน่าเชื่อถืออีกเพียง 3 ขั้นก็จะถึงระดับพันธบัตรที่มีความเสี่ยงมากและต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง หรือที่เรียกว่า Junk Bond ซึ่งเมื่อลุกลามไปถึงจุดนั้น ปัญหาต่าง ๆ ก็จะตามมาอีกพอสมควร

2. อัตราการว่างงานของสเปนล่าสุด ได้ปรับเพิ่มขึ้นอีก เป็น 24.4% เพิ่มขึ้นจากเมื่อปลายปีที่แล้วที่ 22.9% สูงที่สุดในยุโรป สำหรับคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี อัตราการว่างงานอยู่ที่ 52% เพิ่มขึ้นจาก 48.5% เมื่อปลายปีก่อนหน้า

ส่วนหนึ่งของปัญหาการว่างงานเป็นผลมาจากการแตกของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เคยจ้างงานคนกว่า 12-13% ของตลาดแรงงานในประเทศ และมาจากเศรษฐกิจสเปนที่ไม่ได้ดี โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อมูลชี้ว่า สเปนกำลังเข้าสู่ช่วงต้นของการหดตัวของเศรษฐกิจซ้ำสอง หรือ Double Dipped Recession โดยมีอัตราการขยายตัวติดลบต่อกัน 2 ไตรมาสต่อกัน ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวติดลบ 0.3% และในไตรมาสที่ 1 ติดลบอีก 0.4% ซึ่งหลายประเทศในยุโรป รวมทั้ง อังกฤษ ก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้

3. ด้วยปัญหาเช่นนี้ ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมรัฐบาลสเปนจึงขาดดุลการคลังสูงมากเป็นพิเศษ โดยที่ในปี ค.ศ. 2011 ขาดดุลการคลังสูงถึง 9% และปีนี้ต้องพยายามลดการขาดดุล ลงมาให้เหลือประมาณ 5-6% ตามข้อเสนอแนะของทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และทางสหภาพยุโรป

ทั้งหมดจึงนำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของภาครัฐ และการแก้ไขวิกฤติ โดยเฉพาะการปรับลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ด้านการสาธารณสุข ซึ่งแต่ก่อนให้ยารักษาฟรีกับผู้ที่เกษียณอายุแล้ว และด้านการศึกษา ที่จะมีการคิดค่าธรรมเนียมจากนักศึกษาเพิ่ม ตลอดจนแผนการขึ้นภาษีในช่วงต่อไป ทำให้ประชาชนออกมาประท้วงตามเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว แม้ว่ารัฐบาลใหม่จะเพิ่งได้รับอำนาจมาเพียง 5 เดือนเท่านั้น ซึ่งต่อไปจะทำให้การเมืองของสเปนขาดเสถียรภาพมากขึ้น

เรียกว่า สเปนก็คงจะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลับเข้ามาอยู่ใน Spotlight และความสนใจของนักลงทุนอีกครั้งหนึ่ง

จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

การแก้ไขปัญหาของสเปนคงทำได้ไม่ง่าย

ในช่วงต่อไป เศรษฐกิจ ปัญหาด้านการคลัง ปัญหาด้านการจ้างงาน รวมไปถึงปัญหาของภาคแบงก์จะแย่ยิ่งขึ้น หลายสำนักคิดว่า รอบนี้เศรษฐกิจของสเปนจะต้องถดถอยอย่างน้อย 2 ปีต่อเนื่อง โดย S&P ประเมินว่าปีนี้จะหดตัว 1.5% และปีหน้าหดตัวอีก 0.5%

แต่ที่น่าจับตามองยิ่งกว่า ก็คือภาคแบงก์ที่เริ่มขาดเงิน และประสบความลำบากในการกู้ยืม ต้องหันไปยืมจาก ECB ถึง 3 แสนกว่าล้านยูโร ด้วยเหตุนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง IMF จึงได้เตือนว่า ภาคแบงก์สเปนยังคงมีปัญหาอีกมาก แม้ธนาคารขนาดใหญ่จะมีฐานะที่พอรับได้ แต่กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก ที่เน้นการปล่อยกู้ยืมให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญยังมีปัญหา แม้จะได้ถูกยุบรวมกันไปจาก 45 แห่งเหลือเพียง 11 แห่งเท่านั้น โดยล่าสุดหนี้เสียในกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 185 พันล้านดอลลาร์

รวมแล้วธนาคารเหล่านี้ต้องเพิ่มทุนกันเป็นเงินอีก 1 แสนล้านยูโร ซึ่งเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งก็คงต้องมาจากทางการ อันจะทำให้รัฐบาลเป็นหนี้มากขึ้น ซ้ำเติมปัญหาด้านการคลัง แต่ในประเด็นนี้ ก็ต้องทำใจ เพราะถ้าไม่แก้ไขปัญหาในภาคการเงินให้เรียบร้อย ก็ยากที่เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับมาได้

ถ้าสเปนเป็นแบบนี้ เราก็คงต้องระมัดระวังกันให้มากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ต่างจากช่วงไตรมาสแรกที่ปัญหาดูเหมือนกับจะซาไปบ้าง หลังจากได้เงินสภาพคล่องจากธนาคารกลางของยุโรปมาช่วยซื้อเวลาไป 2-3 เดือน

ก็ขอให้ทุกคนตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ขอเอาใจช่วยครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 3 พ.ค. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 189

โพสต์

สำนักงานสถิติเผยอัตราว่างงานอิตาลีดีดแตะ 10.2% ในเดือนเม.ย.
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 15:23:58 น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (ISTAT) เปิดเผยในวันนี้ว่า อัตราว่างงานของอิตาลีในเดือนเม.ย.พุ่งขึ้นแตะ 10.2% จาก 10.1% ในเดือนมี.ค..ซึ่งนับว่าน่าวิตก เนื่องจากนับเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่อัตราว่างงานของอิตาลีอยู่ในระดับสูงกว่า 10%

แนวโน้มการจ้างงานในอิตาลียังคงซบเซา เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเผชิญภาวะหดตัวนับแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง ภาษีที่สูงขึ้น และต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 190

โพสต์

ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนปรับตัวลงในพ.ค. ส่อเค้าวิกฤตภูมิภาคลุกลาม
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 15:42:14 น.
มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนลดลงแตะ 45.1 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 45.9 ในเดือนเม.ย. โดยเป็นการร่วงหนักสุดในรอบ 3 ปี

กลุ่มผู้ผลิตในยูโรโซนระบุถึงการปรับตัวช่วงขาลงที่รุนแรงในเดือนพ.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าผลกระทบจากวิกฤตการเงินและการเมืองในยูโรโซนยังคงลุกลามไปทั่วภูมิภาค

นอกจากนี้ ข้อมูลระบุว่าภาคการผลิตมีการหดตัวลงราว 1% เมื่อเทียบรายไตรมาส
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 191

โพสต์

ดัชนี PMI ภาคการผลิตฝรั่งเศสร่วงลงแตะ 44.7 ในเดือนพ.ค.
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 15:06:59 น.
มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของฝรั่งเศสเดือนพ.ค.หดตัวลงแตะระดับ 44.7 จาก 46.9 ในเดือนเม.ย.

ดัชนี PMI เดือนพ.ค.ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี หลังคำสั่งซื้อล็อตใหม่ปรับตัวลง ขณะที่การจ้างงานใหม่ก็ลดลง

ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการผลิตของฝรั่งเศสยังคงหดตัว
อิตาลีเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตขยับขึ้นเล็กน้อยในพ.ค. แต่ยังต่ำกว่า 50
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 15:14:56 น.
ผลสำรวจระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของอิตาลีขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ค.สู่ระดับ 44.8 หลังจากร่วงแตะ 43.8 ในเดือนเม.ย. แต่ตัวเลขยังต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมการผลิตของอิตาลียังคงหดตัวต่อเนื่อง

คำสั่งซื้อ การผลิตและการจ้างงานที่ลดลงล้วนเป็นสาเหตุให้ดัชนี PMI อยู่ในระดับที่หดตัว

ดัชนี PMI ภาคการผลิตเยอรมนีปรับตัวลงในเดือนพ.ค.
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 15:32:40 น.
มาร์กิตเปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมนี ปรับตัวลงสู่ระดับ 45.2 ในเดือนพ.ค. จาก 46.2 ในเดือนเม.ย.

การปรับตัวลงในเดือนพ.ค.นับว่าภาคการผลิตของเยอรมนีมีการหดตัวรุนแรงที่สุดนับแต่กลางปี 2552
ดัชนี PMI ภาคการผลิตสเปนหดตัวลงในเดือนพ.ค.
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 15:53:51 น.
ผลสำรวจของมาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสเปนร่วงลงแตะ 42.0 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่เดือนพ.ค.2552 จาก 43.5 ในเดือนเม.ย.

มาร์กิตระบุว่า คำสั่งซื้อล็อตใหม่อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศลดลงอย่างมากในเดือนพ.ค. ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศยังคงหดตัว
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 192

โพสต์

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษเดือนพ.ค.หดตัวแตะต่ำสุดในรอบ 3 ปี
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 16:02:52 น.
ผลสำรวจระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษร่วงลงแตะ 45.9 ในเดือนพ.ค. จาก 50.2 ในเดือนเม.ย.

ภาคการผลิตของอังกฤษหดตัวรุนแรงในเดือนพ.ค. โดยกิจกรรมการผลิตแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากภาคเอกชนลดการผลิต ท่ามกลางวิกฤติยูโรโซนที่เลวร้ายลง และเศรษฐกิจของประเทศก็เผชิญภาวะถดถอย

ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตกำลังหดตัว ขณะที่ข้อมูลที่สูงกว่า 50 จะแสดงถึงการขยายตัว

ดัชนี PMI ภาคการผลิตกรีซเดือนพ.ค.ขยับขึ้น แต่ยังหดตัว
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 16:01:33 น.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของกรีซขยับขึ้นแตะ 43.1 ในเดือนพ.ค. จาก 40.7 ในเดือนเม.ย. แต่กิจกรรมการผลิตยังคงอยู่ในภาวะหดตัว เนื่องจากดัชนียังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 50

กรีซยังคงเผชิญทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตการเมือง หลังจากที่ต้องมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ เนื่องจากผู้นำพรรคการเมืองไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้สำเร็จหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 193

โพสต์

อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสเปนพุ่งหลังนายกฯเรียกร้องความช่วยเหลือจากอีซีบี

อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสเปน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.50% มาอยู่ที่ 6.62% และแตะระดับสูงสุดที่ 6.70% เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 7% ส่งผลให้กรีซ โปรตุเกส และ ไอร์แลนด์ ต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฮอย ออกมาส่งสัญญาณเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ยอดหนี้สินของสเปนกำลังอยู่ในระดับเสี่ยง

นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า อนาคตของเงินยูโร กำลังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากข้อมูลสถิติระบุว่า สเปน มีทุนเหลือเพียง 6.6 หมื่นล้านยูโร (8.1 หมื่นล้านดอลลาร์) เท่านั้น

นักวิเคราะห์ของเบเยอร์ริชเชอร์ แลนเดสแบงก์ ให้ความเห็นว่า นักลงทุน ขาดทุนในตราสารหนี้ของสเปนสูงกว่าตราสารหนี้ของรัฐบาลประเทศอื่นๆ ยกเว้นกรีซในปีนี้ โดยสเปน มียอดหนี้สินทั้งหมด 7.31 แสนล้านยูโร ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่ายอดหนี้สินของทั้งกรีซ โปรตุเกส และ ไอร์แลนด์ รวมกัน

ขณะที่นายราฮอยชี้ว่า สเปน อาจถูกบังคับให้ต้องออกจากตลาดทุน อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารหนี้สินของประเทศ

นายราฮอย ระบุเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมว่า “ขึ้นอยู่กับอีซีบีในการตัดสินใจดำเนินการอีกครั้ง" หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี ได้ยุติโครงการซื้อพันธบัตรหลังจากที่ได้ดำเนินมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินราว 1 ล้านล้านยูโรเข้าสู่ระบบในระหว่างเดือนธันวาคม 2554 - กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ด้านนายโฮเซ มานูเอล กอนซาเลซ-พาราโม อดีตคณะกรรมการบริหารของบีอีซี เตือนว่า รัฐบาลสเปน ควรจะออกมาแสดงความคิดเห็นน้อยครั้งลงว่าอีซีบีควรดำเนินการอย่างไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 194

โพสต์

คอลัมน์: โลกใบเล็ก: ยูโรโซน อันตราย ว่างงานพุ่งแตะ 11%ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- จันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 00:00:59 น.
ยุโรป-อัตราการว่างงานใน 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) พบว่า ตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ 11% นับตั้งแต่เงินสกุลนี้ถูกนำมาใช้เมื่อปี 1999 สร้างแรงกดดันต่อผู้นำของยุโรปให้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังล้มป่วย อัตราการว่างงานในเดือน มี.ค.และ เม.ย. ขึ้นแตะระดับสูงสุดตั้งแต่กลุ่มยูโรโซนตั้งขึ้นเมื่อปี 1999 และนักวิเคราะห์เตือนว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอีกในไม่กี่เดือนข้างหน้า

สำนักข้อมูลสถิติยุโรปเผยว่า มีประชาชน 17.4 ล้านคนไม่มีงานทำในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมกว่า 110,000 คน ขณะที่การว่างงานของคนหนุ่มสาวเลวร้ายมากขึ้น ล่าสุดในเดือน พ.ค.พบว่า กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีลงมา ไม่มีงานทำ 3.36 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 214,000 คนจากเดือน เม.ย. ขณะที่สเปน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 24.3% ซึ่งเป็นอัตราที่เลวร้ายที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กลุ่มคนหนุ่มสาวของสเปน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 51.5% หรือเพิ่มจาก 45% จากปีก่อน

ด้านกรีซ ซึ่งอัตราการว่างงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 21.7% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 16.1% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ยังคงเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในประเทศที่ยังไม่แน่นอน ขณะที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ เรื่องงานยังคงเป็นประเด็นหลัก พร้อมกับคำถามที่ว่ากรีซยังคงต้องการอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไปอีกหรือไม่

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นด้วยว่า กิจกรรมการผลิตตกต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี โดยเฉพาะอัตราการว่างงานที่สเปน บ่งบอกภาวะเศรษฐกิจถดถอยลุกลามไปทั่วภูมิภาค ปัญหาเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซน ทำให้ผู้นำของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกันในวิธีการ โดยเยอรมนีต้องการให้ใช้นโยบายรัดเข็มขัด แต่ฝรั่งเศสพยายามให้ดำเนินนโยบายที่สนับสนุนการเติบโต ผู้นำของชาติสมาชิกอียูไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันนี้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนที่แล้ว แต่สัญญาว่าจะกลับมาประชุมสุดยอดกันใหม่ในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้ ที่กรุงบรัสเซลส์
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 195

โพสต์

จอร์จ โซรอสเตือนยุโรปมีเวลา 3 เดือนในการแก้วิกฤตภูมิภาค
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 5 มิถุนายน 2555 11:01:00 น.
นายจอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีนักลงทุน กล่าวเตือนในช่วงสุดสัปดาห์ว่าบรรดาผู้นำยุโรปมีเวลา 3 เดือนที่จะคลี่คลายวิกฤติ เพื่อเลี่ยงการล่มสลายของยูโรโซน

นายโซรอสระบุว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะเริ่มอ่อนแอลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะทำให้เป็นเรื่องยากมากที่จะคาดหวังให้เยอรมนีให้การสนับสนุนเพิ่มเติม

เขากล่าวว่าบรรดาผู้นำยุโรปไม่เข้าใจลักษณะของวิกฤตภูมิภาค ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับปัญหาด้านการธนาคารและปัญหาด้านการแข่งขันมากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ระดับหนี้สิน ยุโรปจึงมีการดำเนินการแก้วิกฤตที่ไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ นายโซรอสคาดว่าการเลือกตั้งของกรีซในวันที่ 17 มิ.ย.นี้จะได้รัฐบาลที่จะยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงรับความช่วยเหลือทางการเงินกับนานาประเทศ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 196

โพสต์

สเปนเผยอัตราว่างงานเดือนพ.ค.ลดลง 0.63%
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 5 มิถุนายน 2555 08:45:56 น.
กระทรวงแรงงานสเปนเปิดเผยวานนี้ว่า อัตราว่างงานของสเปนในเดือนพ.ค.ลดลง 0.63% หรือ 30,113 คน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีชาวสเปนที่ว่างงานจำนวน 4.75 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในยูโรโซนที่ 24.5% ของจำนวนประชากร

อัตราว่างงานลดลงในทุกภาคธุรกิจ โดยมีการจ้างงาน 12,418 ตำแหน่งในภาคก่อสร้างและ 5,895 ตำแหน่งในภาคบริการ ซึ่งมักจะเป็นภาคที่แข็งแกร่งที่สุดในช่วงเวลานี้ของปี

นักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับตัวลงของอัตราว่างงานดังกล่าวควรมีการพิจารณาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเดือนพ.ค.มักจะเป็นเดือนที่มีการจ้างงานระยะสั้นในภาคธุรกิจท่องเที่ยว
multipleceilings
Verified User
โพสต์: 2141
ผู้ติดตาม: 2

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 197

โพสต์

หนี้มหาศาลอเมกากลับมา make headline :8)

http://www.bloomberg.com/news/2012-06-0 ... years.html
CBO Says U.S. Risks Fiscal Crisis Without Budget Changes

By Brian Faler - Jun 5, 2012 10:46 PM GMT+0700

The U.S. government risks a fiscal crisis unless it makes significant changes in tax and spending policies, the Congressional Budget Office said.

The nonpartisan agency said today that without policy changes, the national debt within 15 years will top the historical peak set after World War II. In 1946, government debt amounted to 109 percent of the economy. This year, it’s projected to reach 70 percent of the gross domestic product, up from 40 percent in 2008, according to CBO.


By 2037, the debt would be almost twice the size of the economy, the agency said. That would mean higher interest rates, slower economic growth and far more painful choices for lawmakers than they face today.

The growing debt “would increase the probability of a sudden fiscal crisis, during which investors would lose confidence in the government’s ability to manage its budget,” the agency said in its annual report on the long-term outlook for the federal budget. “Such a crisis would confront policy makers with extremely difficult choices. To restore investors’ confidence, policymakers would need to enact spending cuts or tax increases more drastic and painful than those that would have been necessary had the adjustments come sooner.”


Fiscal Cliff

A so-called fiscal cliff is coming at the end of 2012 when a number of major tax-and-spending changes will automatically take effect. George W. Bush-era income tax cuts will expire as will a temporary cut in the Social Security payroll tax. About $1 trillion in automatic spending cuts will be poised to start, expanded jobless benefits will expire and the government will approach the legal limit on federal borrowing.

Lawmakers are waiting for the outcome of the November election before deciding what to do about the fiscal changes, in hopes that voters will give them a stronger hand in negotiations.

The nation’s lawmakers will face difficult tradeoffs in deciding how to phase in any deficit reduction, CBO said.

“Abruptly implementing spending cuts or tax increases would give families, businesses and state and local governments little time to plan and adjust,” according to the agency. “Immediate spending cuts or tax increases would represent an added drag on the weak economic expansion.”

Yet “cutting spending or increasing taxes slowly would lead to a greater accumulation of government debt and might raise doubts about whether longer-term deficit reduction would ultimately take effect,” CBO said.

To contact the reporter on this story: Brian Faler in Washington at [email protected]

To contact the editor responsible for this story: Jodi Schneider at [email protected]
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 198

โพสต์

วอร์เรน บัฟเฟตต์ชี้มีโอกาสน้อยมากที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถลำสู่ภาวะถดถอย
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 6 มิถุนายน 2555 13:56:50 น.
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประธานและซีอีโอของเบิร์คเชียร์ แฮธาเวย์ ชี้โอกาสที่เศรษฐกิจของสหรัฐจะชะลอตัวลงสู่ภาวะถดถอยนั้นมีน้อยมาก แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างเปราะบางก็ตาม

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า บัฟเฟตต์กล่าวในงานที่จัดโดย Economic Club of Washington ว่า เศรษฐกิจจะไม่อ่อนตัวลงสู่ภาวะถดถอย ยกเว้นเสียแต่ว่า สถานการณ์ในยุโรปอยู่นอกเหนือการควบคุม และเกิดผลพวงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ

บัฟเฟตต์มองว่า วิกฤตยูโรโซนที่ยังยืดเยื้ออยู่นี้ ถือเป็นคำถามที่สำคัญที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจทั่วโลก พร้อมกับยกคำกล่าวของอดีตประธานาธิบดีอับราฮิม ลินคอนที่เคยกล่าวไว้ว่า บ้านที่แตกแยกนั้นไม่สามารถตั้งอยู่ได้

อย่างไรก็ดี บัฟเฟตต์ย้ำว่า สหรัฐจะต้องดูแลด้านการคลังให้เหมาะสม ด้วยการเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษีและลดค่าใช้จ่าย ขณะที่ตัวเขาเองให้การสนับสนุนการปรับขึ้นภาษีเงินได้และภาษีกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อรักษาสมดุลด้านงบประมาณของรัฐบาลกลาง

ทั้งนี้ บัฟเฟตต์เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า เขาจ่ายภาษีน้อยกว่าเลขาฯของเขา ขณะที่คณะทำงานของโอบามาได้เน้นย้ำถึงเรื่องความสำคัญของกฎของบัฟเฟตต์ที่มหาเศรษฐีควรจะช่วยกันรับภาระจากแรงกดดันด้านการคลังของทางรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลจากทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐระบุว่า ในปัจจุบันนี้ มหาเศรษฐีเกือบ 1 ใน 4 ของสหรัฐจ่ายภาษีต่ำกว่าผู้เสียภาษีในกลุ่มชนชั้นกลางที่มีจำนวนหลายล้านคน

สำหรับการใช้จ่ายนั้น รัฐบาลกลางสหรัฐมียอดขาดดุลงบประมาณสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 199

โพสต์

EUROPE:จับตาธ.กลางยุโรปประชุมวันนี้อาจสร้างเซอร์ไพรส์ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย
แฟรงค์เฟิร์ต--6 มิ.ย.--รอยเตอร์

นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะคงนโยบายการเงิน
ในการประชุมวันนี้ โดยจะประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 1.0 % และจะเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขวิกฤติยูโรโซน อย่างไรก็ดี นักวิคราะห์
คาดว่าอีซีบีอาจจะแสดงความพร้อมในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค.
เนื่องจากเศรษฐกิจอ่อนแอลง และมีปัญหาในภาคธนาคารสเปน
ทั้งนี้ อีซีบีจะประกาศผลการประชุมกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในวันนี้
เวลาราว 18.45 น.ตามเวลาไทย และอาจจะส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ในเดือนก.ค.ในการแถลงข่าวซึ่งจะจัดขึ้นในเวลา 19.30 น. โดยอีซีบีจัดการ
ประชุมเร็วกว่าปกติ 1 วันในเดือนนี้เพราะวันพรุ่งนี้เป็นวันหยุดของอีซีบีเนื่องในวัน
Corpus Christi
อีซีบีเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากในขณะนี้ เนื่องจากถ้าหากอีซีบีดำเนิน
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป รัฐบาลก็จะไม่ได้รับแรงกดดันที่มากพอให้
ดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติ อย่างไรก็ดี ถ้าหากอีซีบีไม่ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหา
ประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซนก็จะเผชิญกับความยากลำบากในการระดมทุน
และเผชิญปัญหาในการรักษาความเชื่อมั่นในธนาคารพาณิชย์ที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ
ประเทศดังกล่าว และด้วยเหตุนี้ อีซีบีจึงมีแนวโน้มที่จะไม่ประกาศใช้มาตรการใหม่
จนกว่าจะผ่านพ้นการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรป (อียู) ในวันที่ 28-29 มิ.ย.
ไปก่อน
เมื่อผ่านพ้นการประชุมสุดยอดของอียูไปแล้ว อีซีบีก็มีแนวโน้มสูงที่จะเลือก
ใช้มาตรการที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของอีซีบีโดยตรง และเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้น
เศรษฐกิจ และช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่เป็นการลดแรงกดดันต่อ
ภาครัฐ ซึ่งมาตรการดังกล่าวคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการปล่อยเงินกู้ระยะยาว
ครั้งใหม่ ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับมาตรการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะ 3 ปี (LTRO) ที่อีซีบี
เคยดำเนินการไปแล้วสองครั้งในช่วงเดือนธ.ค.2011-ก.พ.2012 โดยการเลือกใช้
มาตรการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของอียูในการประชุมสุดยอดช่วงสิ้นเดือนนี้
นายสตีเวน อิงแลนเดอร์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของซิตี้กรุ๊ปกล่าวว่า
"มีแนวโน้มว่าอีซีบีจะส่งสัญญาณเรื่องความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และการปล่อยกู้ระยะยาวแก่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม ถ้าหากมีความคืบหน้าเกิดขึ้น
ในทางการเมือง"
"นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะมองว่าอีซีบีเลือกใช้นโยบายที่สร้างความสะดวก
ให้แก่อีซีบีมากที่สุด แทนที่จะเลือกใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด"
ตัวเลขเศรษฐกิจบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ซบเซาในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
และผลสำรวจภาคธุรกิจที่ออกมาเมื่อวานนี้ก็บ่งชี้ว่า ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ
ทุกประเทศในยูโรโซนมีเศรษฐกิจตกต่ำลง ซึ่งรวมถึงเยอรมนี
อย่างไรก็ดี อีซีบียังไม่มีแนวโน้มว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยในวันนี้
เนื่องจากอีซีบีมักจะส่งสัญญาณล่วงหน้าในการเตือนตลาดเพื่อให้เตรียมพร้อม
สำหรับการปรับนโยบายของอีซีบีในอนาคต และนายมาริโอ ดรากี ประธาน
อีซีบีได้กล่าวในเดือนพ.ค.ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีไม่ได้
หารือเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการประชุมเดือนพ.ค.
นายดรากีกล่าวในเดือนพ.ค.ว่า "เราไม่ได้หารือกันเรื่องการ
ปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างเฉพาะเจาะจงใดๆ แต่เราได้หารือกันเรื่องจุดยืน
โดยทั่วไปของนโยบายการเงินของเรา ซึ่งเรามองว่าเป็นจุดยืนแบบผ่อนคลาย"
โพลล์รอยเตอร์ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 11 จาก 73 รายคาดว่า
อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ และนักเศรษฐศาสตร์ 27 รายคาดว่า
อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนสิ้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจาก 14 รายในโพลล์
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
ถึงแม้ผู้กำหนดนโยบายของอีซีบีกล่าวย้ำในระยะนี้ว่า นโยบายของอีซีบี
อยู่ในภาวะที่ใกล้ถึงขีดจำกัดแล้ว ผู้กำหนดนโยบายก็ไม่ต้องการที่จะแสดงท่าทีวางเฉย
โดยอีซีบีมีแนวโน้มที่จะส่งสัญญาณว่า อีซีบีพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับ
1.0 % ในเดือนก.ค.
นายโฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทไอเอชเอส โกลบัล
อินไซท์ กล่าวว่า "เราไม่คาดว่าอีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ ถึงแม้เรื่องนี้
มีความเป็นไปได้ เพราะปัญหาหนี้รัฐบาลและปัญหาเศรษฐกิจในยูโรโซนทวีความรุนแรงขึ้น"
"เราคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ 0.75 %
ในไตรมาส 3" นายอาร์เชอร์กล่าว
ทางด้านนางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
ทั้งนี้ ถ้าหากอีซีบีส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคต อีซีบีก็อาจ
ส่งสัญญาณว่าอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของอีซีบีลงสู่ 0 % จากระดับ 0.25 %
ในปัจจุบันด้วย เพื่อเป็นการโน้มน้าวธนาคารพาณิชย์ไม่ให้นำเงินที่กู้จากอีซีบีกลับมาฝาก
ไว้ที่อีซีบี
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการปรับลด
อัตราดอกเบี้ย โดยนายอิงแลนเดอร์กล่าวว่า "เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อได้ว่า ปัญหาของ
ยูโรโซนมีต้นเหตุมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปของอีซีบี"
สเปนแถลงเมื่อวานนี้ว่าต้นทุนการกู้ยืมที่ระดับสูงส่งผลให้สเปนไม่สามารถ
กู้เงินจากตลาดสินเชื่อ โดยสเปนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4
ในยูโรโซน และประสบปัญหาจากรัฐบาลระดับแคว้นที่ใช้จ่ายเงินมากเกินไป ขณะที่
ปัญหาเรื่องหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผลมาจากภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหา
ริมทรัพย์
ถึงแม้สเปนเรียกร้องให้อีซีบีดำเนินโครงการเข้าซื้อพันธบัตรอีกครั้ง แต่นาย
ดรากีก็มีแนวโน้มที่จะกล่าวย้ำตามเดิมว่า โครงการนี้ยังคงดำเนินต่อไป ถึงแม้ว่าใน
ความเป็นจริงแล้วอีซีบีไม่ได้เข้าซื้อพันธบัตรใดๆเลยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
มีมาตรการบางอย่างที่อีซีบีสามารถประกาศใช้ได้ในทันทีโดยไม่ต้องส่งสัญญาณ
เตือนล่วงหน้า ซึ่งได้แก่การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการปล่อยกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดย
มาตรการนี้จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารด้วยกันเองใน
ตลาดเงินสามารถระดมทุนได้อีกครั้ง แต่มีแนวโน้มว่าอีซีบีจะประกาศใช้มาตรการนี้
ก็ต่อเมื่อผ่านพ้นการประชุมสุดยอดของอียูไปแล้ว
เป็นที่คาดกันว่าอีซีบีจะต่ออายุให้แก่มาตรการปล่อยกู้อย่างไม่จำกัดจำนวน
ในปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการที่อีซีบีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้จะหมดอายุลงใน
เดือนก.ค. แต่อีซีบีจะเสนอจัดหาสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์อย่างไม่จำกัด
จำนวนต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้หรือนานกว่านั้น
อีซีบีจะเปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของเจ้าหน้าที่อีซีบีด้วย
โดยนักวิเคราะห์คาดว่าอีซีบีจะปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจสำหรับปีนี้และปีหน้า แต่อาจคงตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ
อีซีบีคาดการณ์ในเดือนมี.ค.ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลง
0.1 % ในปีนี้ ก่อนที่จะขยายตัว 1.1 % ในปี 2013 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
อาจอยู่ที่ 2.4 % ในปี 2012 และ 1.6 % ในปี 2013
นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2013
เนื่องจากตัวเลขคาดการณ์ในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ
ที่อีซีบีตั้งไว้ที่ระดับต่ำกว่า 2 % เล็กน้อย ซึ่งถ้าหากอีซีบีปรับลดตัวเลขคาดการณ์
อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีหน้าลงจาก 1.6 % ปัจจัยดังกล่าวก็จะกระตุ้นเสียงเรียกร้อง
ให้อีซีบีปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 200

โพสต์

ผู้นำสหรัฐ,เยอรมนี,อิตาลีเห็นพ้องหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรป
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555 11:15:15 น.
ทำเนียบขาวรายงานว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี และนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลียืนยันถึงความสำคัญของมาตรการต่างๆ ที่เสริมความแข็งแกร่งให้แก่การฟื้นตัวของยูโรโซนและการเติบโตในยุโรป

รายงานระบุว่า ในการหารือทางโทรศัพท์กับปะน.โอบามาในแต่ละครั้ง ผู้นำทั้งสามประเทศยังเห็นพ้องที่จะประสานงานกันต่อไป ขณะอยู่ในระหว่างเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 20 ประเทศ (G-20) ในระหว่างวันที่ 18-19 มิ.ย. ที่เมืองลอส คาบอสในเม็กซิโก

ฝ่ายบริหารของปธน.โอบามามีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่จะสร้างจุดยืนร่วมกันกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในด้านความสำคัญของการมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานในระยะใกล้ ขณะที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 6 พ.ย.กำลังใกล้เข้ามา

การสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างปธน.โอบามากับผู้นำเยอรมนีและอิตาลี เกิดขึ้นภายหลังมีการหารือที่คล้ายกันนี้ระหว่างปธน.โอบามาและนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

ทั้งนี้ คาดว่าปธน.โอบามาได้ร้องขอให้เยอรมนีมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะยูโรโซน ในระหว่างการหารือกับนางแมร์เคล สำนักข่าวเกียวโดรายงาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 201

โพสต์

จับตารัฐบาลสเปนเผชิญบททดสอบความเชื่อมั่นตลาด ในการประมูลพันธบัตรวันนี้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555 10:37:13 น.
รัฐบาลสเปนจะเผชิญบททดสอบครั้งสำคัญในวันนี้ ในความพยายามที่จะประมูลขายพันธบัตรระยะยาว ท่ามกลางความกังขาที่เพิ่มมากขึ้นต่อศักยภาพของสเปนในการเลี่ยงการขอรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ในวันนี้ รัฐบาลสเปนจะประมูลพันธบัตรเพื่อระดมทุน 1-2 พันล้านยูโร (1.24-2.48 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งจะเป็นการทดสอบความเชื่อมั่นของตลาดต่อศักยภาพในการชำระหนี้ของสเปน

การประมูลพันธบัตรและตั๋วเงินคลังของสเปนในช่วงก่อนหน้านี้ ต่างมีต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากคตวามวิตกที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการเงินของสเปน

ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ตลาดต่างจับจ้องไปที่สเปน ขณะที่มีกระแสข่าวว่าสเปนกำลังพยายามขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนช่วยเหลือของยูโรโซน

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ นายลูอิส เด กินดอส รัฐมนตรีเศรษฐกิจของสเปน ได้ปฏิเสธกระแสคาดการณ์ที่ว่า สเปนเตรียมที่จะขอเงินช่วยเหลือภาคธนาคารในประเทศ ระบุยังไม่มีการตัดสินใจใดๆจนกว่าการตรวจสอบบัญชีธนาคารพาณิชย์ในประเทศจะแล้วเสร็จ ซึ่งอาจจะเป็นสิ้นเดือนมิ.ย.นี้

ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวว่า สเปนเตรียมขอรับเงินช่วยเหลือฉุกเฉินจากกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) โดยหนังสือพิมพ์ Die Welt ของเยอรมนีรายงานในวันนี้ว่า กองทุน EFSF อยู่ระหว่างพิจารณาวงเงินสินเชื่อชั่วคราวสำหรับสเปน หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนสำหรับธนาคารในประเทศ

นับแต่เมื่อเดือนที่แล้ว สถานการณ์ในภาคการธนาคารของสเปนส่อเค้าไม่สู้ดีนัก เมื่อรัฐบาลสเปนทำข้อตกลงแปรรูปธนาคารบังเกีย ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของสเปน โดยเป็นความพยายามที่จะหนุนภาคการธนาคารที่ย่ำแย่และเพื่อขจัดความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพของรัฐบาลในการสางปัญหาในภาคการเงินที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปี

นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสเปน 5 แห่ง และคงอันดับธนาคารอีก 9 แห่ง หลังจากที่ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของสเปน ลง 2 ขั้น สู่ระดับ BBB+ จากระดับ A เมื่อวันที่ 26 เม.ย. และยังคงมีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความเปราะบางของภาคการเงินสเปน
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 202

โพสต์

EUROPE:คาดหุ้นยุโรปพุ่งขึ้นต่อ รับคาดการณ์อียูเล็งออกมาตรการอุ้มแบงก์สเปน
ลอนดอน--7 มิ.ย.--รอยเตอร์

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ตลาดหุ้นยุโรปจะพุ่งขึ้นในวันนี้ โดยขยายช่วงบวก
ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าผู้กำหนดนโยบายในยุโรปอาจออก
มาตรการในไม่ช้านี้เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารที่มีปัญหาของสเปน และสหรัฐ
อาจออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติม
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ดัชนี FTSE 100 ของตลาดหุ้นอังกฤษจะเปิดตลาด
พุ่งขึ้น 42-45 จุด หรือ 0.8%, ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีจะเปิดตลาด
พุ่งขึ้น 51-53 จุด หรือ 0.9% และดัชนี CAC-40 ของตลาดหุ้นฝรั่งเศสจะ
พุ่งขึ้น 28-30 จุด หรือ 1%
เมื่อวานนี้ ดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรป
ปิดพุ่งขึ้น 2.21% สู่ 974.21
แหล่งข่าวในสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า เยอรมนีและเจ้าหน้าที่อียู
กำลังเร่งหาแนวทางช่วยเหลือภาคธนาคารที่อ่อนแอของสเปนอย่างรีบด่วน แม้ว่า
สเปนยังไม่ได้ยื่นขอความช่วยเหลือก็ตาม ขณะที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การกำกับ
ดูแลขององค์กรระหว่างประเทศ
เจ้าหน้าที่เยอรมนีกล่าวว่า เยอรมนีใกล้เสร็จสิ้นการทำข้อตกลงที่จะให้
ความช่วยเหลือแก่สเปนแล้ว ซึ่งจะทำให้สเปนสามารถเพิ่มทุนธนาคารที่กำลังประสบ
ปัญหา และจะไม่ทำให้สเปนเสียหน้าในการที่ต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจตามที่
ต่างประเทศกำหนด
นักลงทุนกำลังรอดูการประมูลพันธบัตรของสเปนในวันนี้ โดยสเปนจะ
ทำการประมูลพันธบัตร 3 ชุด คิดเป็นมูลค่า 1-2 พันล้านยูโร (1.25-2.5 พันล้าน
ดอลลาร์) และคาดว่าจะมีการประกาศผลการประมูลในเวลาประมาณ 15.40 น.
ตามเวลาไทย--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 203

โพสต์

G20:จี-20 เชิญนายกฯสเปนร่วมประชุมซัมมิท 18-19 มิ.ย.หวังหาทางแก้วิกฤติ
โตเกียว--7 มิ.ย.--รอยเตอร์

หนังสือพิมพ์นิกเกอิรายงานว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา
19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ได้เชิญนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราจอย
ของสเปนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มจี-20 ที่ประเทศเม็กซิโกในวันที่ 18-19
มิ.ย.นี้ เพื่อหารือเร่งด่วนเกี่ยวกับวิกฤติการเงินที่รุนแรงขึ้นของสเปน
นายเจอราร์โด โรดริเกซ เรกอร์โดซา รมช.คลังและหนี้สาธารณะ
ของเม็กซิโก กล่าวต่อนิกเกอิว่า กลุ่มจี-20 จะเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ตลาด
มีเสถียรภาพเพื่อรับมือกับสถานการณ์ของสเปนในการประชุมสุดยอดเดือนนี้
ที่เมืองลอส คาบอส--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 204

โพสต์

จนท.สหรัฐชี้การขาดทุนของเจพีมอร์แกนสะท้อนความล้มเหลวของการบริหารความเสี่ยง
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555 12:24:53 น.
นายโธมัส เคอร์รี่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบบัญชีของสหรัฐ กล่าวกับวุฒิสภาสหรัฐว่า การที่เจพีมอร์แกน เชส ขาดทุนจากธุรกิจเทรดดิ้งเป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการความเสี่ยงของเจพีมอร์แกน

นายเคอร์รี่กล่าวว่า กรณีของเจพีมอร์แกนถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมภายใน Chief Investment Office ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านบริหารความเสี่ยงของเจพีมอร์แกน และยังกล่าวด้วยว่า สำนักงานตรวจสอบบัญชีของสหรัฐกำลังเข้าไปตรวจสอบเพื่อดูว่า มีช่องโหว่เกิดขึ้นในระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของเจพีมอร์แกนหรือไม่

วุฒิสมาชิกทิม จอห์นสัน ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการด้านธนาคารและการเคหะของสหรัฐ กล่าวว่า การขาดทุนที่เกิดขึ้นกับธนาคารรายใหญ่สุดและมีศักยภาพในการทำกำไรสูงสุดของสหรัฐนั้น แสดงให้เห็นว่า ไม่มีสถาบันการเงินแห่งใดที่มีภูมิต้านทานจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายเจมี ไดมอน ซีอีโอของเจพีมอร์แกน มีกำหนดจะชี้แจงต่อวุฒิสภาสหรัฐในวันที่ 13 มิ.ย. และชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการด้านบริการการเงินแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ โดยคาดว่านายไดมอนจะถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายกำกับดูแล ให้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดต่อเทรดเดอร์

นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), คณะกรรมการกำกับดูแลการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าของสหรัฐ (CFTC) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) กำลังดำเนินการตรวจสอบการขาดทุนของเจพีมอร์แกนด้วยเช่นกัน

เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา เจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐยอมรับว่า ธนาคารขาดทุนอย่างไม่คาดคิดจากการทำธุรกิจเทรดดิ้งเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเก็งกำไรที่ผิดพลาดในตราสารอนุพันธ์ของ Chief Investment Office พร้อมกับกล่าวว่า หลังจากที่ได้พิจารณาถึงรายได้ทางด้านหลักทรัพย์อื่นๆแล้ว เจพีมอร์แกนได้ปรับเพิ่มประมาณการการขาดทุนสุทธิของ Chief Investment Office เป็น 800 ล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 ปีนี้ ตรงข้ามกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะมีกำไร 200 ล้านดอลลาร์

นายเจมี ไดมอน ประธานบริหารของเจพีมอร์แกนกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การขาดทุนครั้งนี้มีสาเหตุมาจาก "ความผิดพลาด, ความประมาท และการตัดสินใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ"
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 205

โพสต์

ฝรั่งเศสขายพันธบัตรได้ 7.836 พันล้านยูโร ขณะต้นทุนกู้ยืมลดลงข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555 17:12:14 น.
ฝรั่งเศสระดมทุนได้ 7.836 พันล้านยูโร (9.76 พันล้านดอลลาร์) ในการประมูลขายตราสารหนี้ระยะยาว 4 ชุดวันนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ระหว่าง 7 - 8 พันล้านยูโร ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมของพันธบัตรทุกประเภทปรับตัวลดลง

สำนักบริหารหนี้แห่งฝรั่งเศส (Agence France Tresor) เปิดเผยว่า อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.2565 อยู่ที่ 2.46% ลดลงจาก 2.96% ในการประมูลเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ขณะที่ความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 2.02 เท่า เทียบกับ 1.98 เท่าในการประมูลเดือนที่แล้ว

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 48 ปีครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมิ.ย.2603 อยู่ที่ 3.27% ขยับลงจาก 3.34% ในการประมูลเมื่อเดือนพ.ย.2553 ขณะที่ความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 2.33 เท่า เทียบกับ 1.41 เท่าในการประมูลครั้งก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ ฝรั่งเศสขายพันธบัตรอายุ 7 ปีที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.2562 ที่อัตราผลตอบแทน 1.92% ความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 2.389 เท่า

ขณะที่พันธบัตรอายุ 14 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนเม.ย.2569 มีอัตราผลตอบแทนลดลงแตะ 2.90% จาก 3.46% ในการประมูลเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 1.94 เท่า เทียบกับ 2.37 เท่าในการประมูลครั้งก่อน
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 206

โพสต์

"ฟิทช์" หั่นเครดิตสเปนลง 3 ขั้น สู่ระดับ BBB จาก A พร้อมคงแนวโน้มเชิงลบ ด้านนายกฯ แดนกระทิงดุเร่งหารือฟื้นความน่าเชื่อถือ

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ "ฟิทช์ เรตติ้งส์" ปรับลดอันดับความน่าเชื่อระยะยาวของสเปนลง 3 ขั้น สู่ระดับ BBB จากเดิมที่ A โดยยังคงแนวโน้มในเชิงลบ ซึ่งความน่าเชื่อถือระยะยาวของสเปนในขณะนี้อยู่ใกล้ระดับขยะเพียง 2 ขั้น

ฟิทช์ให้เหตุผลว่า ปัจจัยที่ทำให้ต้องปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการคลังที่ค่อนข้างสูงในการปรับโครงสร้างและการเพิ่มทุนในภาคธนาคารสเปน ประกอบกับความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสเปนจะยังเผชิญกับภาวะถดถอยไปตลอดปี 2556

ฟิทช์ประเมินว่า ในกรณีเลวร้ายสุด ต้นทุนการพลิกฟื้นภาคธนาคารของทางการมาดริดอาจสูงถึง 1 แสนล้านยูโร (ราว 1.26 แสนล้านดอลลาร์) จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3 หมื่นล้านยูโร

ขณะที่แนวโน้มเชิงลบบ่งชี้ถึง “ความเสี่ยงที่จะมีการปรับลดเครดิตลงอีก และสะท้อนถึงความเสี่ยงซึ่งเกี่ยวโยงกับlสถานการณ์ที่เลวร้ายลงของวิกฤตในยูโรโซน"

ด้านนายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอย ของสเปน ได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของภาคธนาคาร รวมถึงหาวิธีที่จะเพิ่มทุนให้ภาคธนาคารสเปน
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 207

โพสต์

UPDATE/SPAIN:จับตาสเปนเตรียมแจ้งอียูขอเงินอุ้มภาคธนาคารพรุ่งนี้

มาดริด/เบอร์ลิน--8 มิ.ย.--รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่อาวุโส 2 รายของสหภาพยุโรป (อียู) และแหล่งข่าวในเยอรมนี
1 รายเปิดเผยว่า เป็นที่คาดกันว่า สเปนจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน
สำหรับภาคธนาคารในช่วงสุดสัปดาห์นี้
การร้องขอดังกล่าวจะมีขึ้นหลังการประชุมทางไกลของรมว.คลังยูโรโซน
ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ยูโรกรุ๊ปจะออกแถลงการณ์ตามมา
"คาดว่าจะมีการประกาศในบ่ายวันพรุ่งนี้" เจ้าหน้าที่อียูรายหนึ่งกล่าว
บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง 3 ขั้นเมื่อวานนี้
ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า สเปนอาจจะต้องขอให้อียูช่วยเหลือภาคธนาคารที่ประสบ
ปัญหาหนี้เสีย
ที่ผ่านมา สเปนยังไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และไม่ต้องการ
ให้องค์กรต่างชาติเข้ามากำกับดูแลการคลังของรัฐบาล--จบ--
chotipat
Verified User
โพสต์: 625
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 208

โพสต์

วันนี้ (10 มิ.ย.) รายงานของสำนักข่าวต่างประเทศ จากกรุงมาดริด ประเทศสเปน ระบุว่า การประชุมฉุกเฉินทางไกลผ่านระบบวีดิทัศน์ ของรัฐมนตรีคลัง 17 ประเทศกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันเสาร์ ซึ่งการถกหารืออย่างเคร่งเครียดกว่า 2 ชั่วโมง ที่ประชุมเห็นพ้องอนุมัติเงินจำนวน 100,000 ล้านยูโร (ประมาณ 4,030,000 ล้านบาท) เพื่อช่วยกอบกู้ระบบธนาคารของสเปน ที่กำลังย่ำแย่หนัก และหวังว่างบกอบกู้ก้อนนี้จะช่วยป้องกันความหายนะ ที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินในวงกว้าง

ยูโรโซนอนุมัติช่วยสเปนแสนล้านยูโร
ทั้งนี้ความตกลงช่วยเหลือสเปนมีขึ้นหลังเกิดแรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ จากบรรดานักลงทุนระหว่างประเทศ และมีขึ้นเพียงสัปดาห์เดียวก่อนการเลือกตั้งกรีซ ซึ่งประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิหย่อนบัตรลงคะแนน จะแสดงออกความเห็นว่ากรีซสมควรถอนตัวออกจากกลุ่มยูโรโซนหรือไม่ ความตกลงได้รับเสียบงชมเชยจากเยอรมนี มหาอำนาจเศรษฐกิจของยุโรป รวมทั้งสหรัฐ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า จะช่วยกอบกู้วิกฤติการเงิน ที่อาจทำให้ยูโรโซนแตกออกเป็นเสี่ยง


สำหรับสเปนซึ่งวิกฤติหนี้สาธารณะปะทุขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน จะกลายเป็นสมาชิกยูโรโซนประเทศที่ 4 ที่รับความช่วยเหลือทางการเงิน ถัดจาก โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และกรีซ ด้านนายหลุยส์ เดอ กินโดส รัฐมนตรีเศรษฐกิจสเปน กล่าวว่า ความตกลงหลังการประชุมฉุกเฉินของรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ความช่วยเหลือจะไปสู่ภาคการธนาคารเท่านั้น และจะไม่มีเงื่อนไขดำเนินมาตรการเข้มงวดทางเศรษฐกิจใหม่พ่วงท้ายแต่อย่างใด.


http://www.dailynews.co.th/world/118910
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 209

โพสต์

> EUROPE:ยูโรโซนหารือแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือกรณีกรีซออกจากยูโรโซน
บรัสเซลส์--12 มิ.ย.--รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่ยุโรปได้หารือกันเรื่องมาตรการต่างๆที่อาจจะนำมาใช้ในกรณีที่
กรีซตัดสินใจถอนตัวออกจากยูโรโซน โดยมาตรการเหล่านี้รวมถึงมาตรการจำกัด
ขนาดการถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็ม, การตรวจเช็คตามพรมแดน และมาตรการ
ควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนในยูโรโซน
เจ้าหน้าที่อียูกล่าวต่อรอยเตอร์ว่า มาตรการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผน
สำรองฉุกเฉิน และกล่าวย้ำว่าการหารือกันในเรื่องนี้เป็นเพียงการเตรียมความพร้อม
สำหรับเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่การวางแผนรับมือกับสิ่งที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในกรีซมีความไม่แน่นอนมาก
ยิ่งขึ้น หลังจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ไม่สามารถทำให้กรีซจัดตั้งรัฐบาล
ใหม่ได้ และกรีซกำลังจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 17 มิ.ย. โดย
ปัจจัยนี้ส่งผลให้ยุโรปมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
การหารือกันในเรื่องนี้กระทำผ่านทางการประชุมทางโทรศัพท์ในช่วง 6
สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าพรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA) ของกรีซ
อาจจะชนะการเลือกตั้งรอบสอง ซึ่งอาจส่งผลให้กรีซปฏิเสธมาตรการให้ความช่วย
เหลือทางการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) และถอนตัวออกจากยูโรโซน
ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเรื่องมาตรการฉุกเฉิน อย่างไรก็ดี สมาชิก
ของคณะทำงานยูโรกรุ๊ป (EWG) ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง
และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลังของยูโรโซน ได้หารือกันในราย
ละเอียดเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ
นายสตีฟ แวนแอคเคอเร รมว.คลังเบลเยียมเคยกล่าวในช่วงสิ้น
เดือนพ.ค.ว่า เป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกยูโรโซนแต่ละประเทศในการ
เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหา และการหารือกันในเรื่องนี้ก็เป็นไปตามแนวคิด
ดังกล่าว โดยตั้งเป้าหมายไปที่การสกัดกั้นการแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร
และสกัดกั้นการไหลออกอย่างรวดเร็วของเงินทุนจากต่างประเทศ
เจ้าหน้าที่ได้หารือกันเรื่องการจำกัดปริมาณการถอนเงินสดออกจาก
ธนาคาร, การประกาศใช้มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการระงับ
การใช้ข้อตกลงเชงเกน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่อนุญาตให้มีการเดินทางโดยไม่ต้องใช้
วีซ่าในประเทศ 26 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในอียู
แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า "กำลังมีการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
เมื่อกรีซออกจากยูโรโซน" และกล่าวเสริมว่า "ได้มีการหารือกันเรื่องการจำกัด
ปริมาณการถอนเงินสดออกจากตู้เอทีเอ็มและการจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุน และ
มีการวิเคราะห์มาตรการเหล่านี้ด้วย"--จบ--
Tarzann
Verified User
โพสต์: 2011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 210

โพสต์

บอนด์ยีลด์สเปนพุ่งทำนิวไฮ หลังฟิทช์หั่นเครดิต 18 แบงก์ เมินแผนอุ้มสเปน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสเปนพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับแต่เริ่มใช้สกุลเงินยูโรที่ 6.81% เมื่อคืนนี้ แม้ว่ากลุ่มประเทศยูโรโซนตกลงกันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในการที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธนาคารของสเปนที่กำลังประสบปัญหา

เมื่อคืนนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารสเปนอีก 18 แห่ง หลังจากที่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ฟิทช์ เพิ่งปรับลดเครดิตธนาคารสเปน 2 แห่ง ซึ่งได้แก่ บังโค ซานตานเดร์ และบังโค บิลบาว วิสกายา อาร์เจนตาเรีย (BBVA) จาก A ลงสู่ระดับ BBB+

การที่ฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตธนาคารสเปนในสัปดาห์นี้ มีขึ้นหลังจากที่สเปนเพิ่งถูกฟิทช์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 3 ขั้นจาก A สู่ระดับ BBB เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว

นายเอดูอาร์โด มาร์ติเนซ อาบาสคัล ศาสตราจารย์ด้านบริหารจัดการการเงินจากวิทยาลัยธุรกิจไออีเอสอี ในบาร์เซโลนา กล่าวว่า การที่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวทำให้เกิดความไม่แน่นอนซึ่งจะเพิ่มแนวโน้มความเสี่ยง

ด้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอยของสเปน ยังไม่ได้ประกาศจำนวนเงินที่ชัดเจนที่สเปนจะร้องขอ และยังไม่มีการระบุถึงรูปแบบของแผนช่วยเหลือดังกล่าว แต่นายอาบาสคัล มีมุมมองบวกว่ามาตรการดังกล่าว จะช่วยสร้างความมั่นใจถึงความแข็งแกร่งของภาคธนาคารสเปนในระยะกลาง ซึ่งน่าจะทำให้มีการขยายตัวในระยะกลางถึงระยะยาว