"ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4915
ผู้ติดตาม: 246

"ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ช่วงที่หุ้นผันผวนเช่นนี้ ราคาหุ้นเราทําอะไรไม่ได้ แต่เราสามารถพัฒนาความรู้ ของเราได้ เวลาว่างๆผมจึงอ่าน หนังสือ Pocket Book 50 Ideas ทางการลงทุนอีกรอบ เขียนโดยพี่ สุมาอี้ เจอบทความ
"ข้อเสียของความวิตกกังวล" เป็น บทความเก่า ได้แง่คิดที่ดี ผมจึงพยายาม Search Google มาฝากเพื่อนๆครับ หวังว่า บทความนี้จะให้แง่คิด ได้บ้าง ใน สถาณการณ์ ปัจจุบันนะครับ


ข้อเสียของความวิตกกังวล


ช่วงปี 2002-2003 เป็นช่วงที่ผมไปเรียนเอ็มบีเอที่สหรัฐฯ มี Professor ท่านหนึ่งบังคับให้นักเรียนต้องอ่าน Wall Street Journal ทุกวัน เพราะเธอจะเอาข่าวในนั้นมาตั้ง Quiz ทุกชั่วโมงเรียน ทำให้ผมเริ่มติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจนกลายเป็นนิสัย ถึงเดี๋ยวนี้ไม่ต้องทำ Quiz แล้วก็ยังสนใจอยู่แม้จะไม่เข้มข้นมากเหมือนตอนที่เรียนอยู่ก็ตาม

ช่วงปี 2002 ตลาดหุ้นสหรัฐยังอยู่ในภาวะหมีซึ่งเป็นผลมาจากฟองสบู่ของตลาดหุ้น NASDAQ ที่แตกในเดือนมีนาคม 2001 ช่วงนั้นดัชนีดาวน์โจนส์ลงแทบทุกวัน แบบลงวันเดียว 200-300 จุดช่วงนั้นถือว่าเป็นอะไรที่ธรรมดามาก ไม่ว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีข่าวอะไรออกมาไม่ว่าดีหรือร้ายก็ดูเหมือนจะไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างเดียว การที่หุ้นเป็นขาลงกว่า 20 เดือนติดต่อกันนั้นได้ทำร้ายจิตใจนักลงทุนเป็นอย่างมากจนทำให้มีนักลงทุนเริ่มล้างพอร์ตออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่ยังทนได้อยู่ก็จะเล่นแบบสั้นมากคือเก็งกำไร Technical Rebound แค่ 2-3% แล้วรีบ take profit ทันที เพราะถือหุ้นเอาไว้นานก็ไม่มีประโยชน์เพราะแนวโน้มเป็นขาลงอย่างเดียวคล้ายๆ กับว่าไม่มีก้นเหว

พอมาปี 2003 ดอกเบี้ยนโยบายถูกลดลงจนเหลือต่ำกว่า 2% ตลาดวิตกกังวลว่า Fed กำลังจะหมดเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เริ่มมีการพูดกันหนาหูว่าสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแบบญี่ปุ่นหรือไม่ เพราะดูเหมือนเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ด้วย ตลาดเริ่มกังวลกันว่าถ้าหากสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดจริงๆ เศรษฐกิจของสหรัฐอาจถดถอยต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบปีแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นมาแล้วในภาวะเงินฝืด แต่หลังจากนั้นอีกไม่กี่เดือนต่อมา เงินเฟ้อก็ผงกหัวขึ้น ทำให้ตลาดคลายความกังวลเรื่องเงินฝืดไป

เงินเฟ้อที่ผงกหัวขึ้นนั้นไม่ได้มาเฉยๆ มันมาพร้อมกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกด้วย ราคาน้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้นจากที่เคยอยู่แถว 20 กว่าเหรียญมานานเกือบสิบปีกลายเป็น 40 กว่าเหรียญ ตลาดเริ่มวิตกกังวลว่า น้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นขนาดนี้จะทำให้เศรษฐกิจที่ยังเปราะบางอยู่พังไปเลยหรือไม่ ตอนนั้นความกังวลของตลาดเริ่มเปลี่ยนจากภาวะเงินฝืดไปเป็นภาวะเงินเฟ้อ

ปี 2004 ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Fed จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันเงินเฟ้อไว้ก่อน ดอกเบี้ยขึ้นเริ่มเข้าสู่ทิศทางขาขึ้น ตลาดมองว่าถ้าขึ้นดอกเบี้ยมากๆ จะกระทบสภาพคล่องของนักลงทุนอาจทำให้ตลาดหุ้น crash อย่างรุนแรงได้ เพราะพวก Hedge Fund กู้เงินมาลงทุนเป็นหลัก ถ้าดอกเบี้ยสูงจะต้องแย่กันขายหุ้นออกเพื่อใช้หนี้ ช่วงนั้นตลาดจะอ่อนไหวกับดอกเบี้ยนโยบายมาก ใกล้ประชุม Fed ทีไร ตลาดจะตกหนักทุกที อย่างไรก็ตาม เริ่มมีสัญญาญทางเศรษฐกิจหลายตัวที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเริ่มฟื้นตัว แต่ตลาดไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะกังวลเรื่องสภาพคล่องมากกว่า อัตราว่างงานลดลงแต่หุ้นกลับปรับตัวลงเพราะตลาดกลัวว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจะไปทำให้ Fed ยิ่งต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นไปอีก

ปีต่อมาผลของสงครามอิรักก็เริ่มทำให้ตลาดเริ่มวิตกกังวลว่า สงครามจะทำให้เศรษฐกิจที่เพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวมีปัญหา เพราะรัฐบาลต้องใช้จ่ายทางทหารมาก รัฐบาลสหรัฐทำงบประมาณแบบขาดดุลมหาศาล จนทำให้เกิดภาวะขาดดุลแฝด คือขาดดุลการค้าซึ่งเป็นมานานแล้วและขาดดุลงบประมาณในเวลาเดียวกัน ตอนนี้เริ่มมีคนพูดถึงว่ากำลังจะเกิดวิกฤตรอบใหม่ เพราะประเทศไม่สามารถทนการขาดดุลแฝดได้นานๆ

ปลายปี 2006 เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เริ่มลดต่ำลงเนื่องจากเกิดฟองสบู่ในตลาดบ้านซึ่งเกิดจากการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาได้ไปทำให้คนกู้เงินซื้อบ้านมากเกินไปจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่ ตลาดเชื่อว่าฟองสบู่บ้านที่แตกนี้จะทำให้คนมีเงินจับจ่ายน้อยลงจึงน่าจะลุกลามไปยัง Sector อื่นและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด...

อ่อ เล่ามาเสียตั้งยาว ผมลืมบอกอะไรท่านผู้อ่านไปอย่างหนึ่ง ในช่วงตลอด 5 ปีที่ผมเล่ามานี้ ดัชนีดาวน์โจนส์เริ่มปรับตัวขึ้นจาก 7800 จุดในปี 2002 มารู้ตัวอีกทีก็อยู่ที่ระดับ 14000 แล้วเมื่อไม่นานมานี้ นับว่าเป็นระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์...



http://www.settrade.com/blog/1001ii/2007/07/21/113
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

Re: "ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ปลายปี 2006 เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เริ่มลดต่ำลงเนื่องจากเกิดฟองสบู่ในตลาดบ้านซึ่งเกิดจากการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาได้ไปทำให้คนกู้เงินซื้อบ้านมากเกินไปจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่ ตลาดเชื่อว่าฟองสบู่บ้านที่แตกนี้จะทำให้คนมีเงินจับจ่ายน้อยลงจึงน่าจะลุกลามไปยัง Sector อื่นและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด...
ปี 2008 เกิด subprime หุ้นก็ลงไป 6000

ไม่ใช่หรือ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4915
ผู้ติดตาม: 246

Re: "ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Jeng เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ปลายปี 2006 เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เริ่มลดต่ำลงเนื่องจากเกิดฟองสบู่ในตลาดบ้านซึ่งเกิดจากการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาได้ไปทำให้คนกู้เงินซื้อบ้านมากเกินไปจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่ ตลาดเชื่อว่าฟองสบู่บ้านที่แตกนี้จะทำให้คนมีเงินจับจ่ายน้อยลงจึงน่าจะลุกลามไปยัง Sector อื่นและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด...
ปี 2008 เกิด subprime หุ้นก็ลงไป 6000

ไม่ใช่หรือ

ใช่นะพี่เจ๋ง บทความนี้เขียนปี 2007 แต่ บทความจะสื่อว่า ในระยะยาวแล้ว ตลาดหุ้นจะทํา New High เสมอครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

Re: "ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Rocker เขียน:
Jeng เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ปลายปี 2006 เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เริ่มลดต่ำลงเนื่องจากเกิดฟองสบู่ในตลาดบ้านซึ่งเกิดจากการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาได้ไปทำให้คนกู้เงินซื้อบ้านมากเกินไปจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่ ตลาดเชื่อว่าฟองสบู่บ้านที่แตกนี้จะทำให้คนมีเงินจับจ่ายน้อยลงจึงน่าจะลุกลามไปยัง Sector อื่นและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด...
ปี 2008 เกิด subprime หุ้นก็ลงไป 6000

ไม่ใช่หรือ

ใช่นะพี่เจ๋ง บทความนี้เขียนปี 2007 แต่ บทความจะสื่อว่า ในระยะยาวแล้ว ตลาดหุ้นจะทํา New High เสมอครับ
อ๋อ ครับ ถูกต้องแล้ว ยังไงหุ้นขึ้นก็ต้องลง และหุ้นลงก็ต้องขึ้น และไม่ควรกังวลอะไรให้มาก

เพียงแต่สัญญานเตือนอะไรต่างๆ ไม่ควรละเลยครับ เพราะมันเป็นตัวกระตุ้น

หมายถึง ถ้าหุ้นขึ้นมาเยอะๆแล้ว มันก็ต้องลง เวลามันลง ก็ต้องมีตัวมากระตุ้นให้มันลง

ส่วนหุ้นที่ลงเยอะๆ แล้ว มันกำลังขึ้น ต่อให้มีเรื่องไม่ดี มันก็ขึ้นอยู่ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: "ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

+1ให้ พี่ร็อคครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆๆครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
surachaichia
Verified User
โพสต์: 601
ผู้ติดตาม: 4

Re: "ข้อเสียของความวิตกกังวล" โดย พี่ สุมาอี้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Jeng เขียน:
Rocker เขียน:
Jeng เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ปลายปี 2006 เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เริ่มลดต่ำลงเนื่องจากเกิดฟองสบู่ในตลาดบ้านซึ่งเกิดจากการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาได้ไปทำให้คนกู้เงินซื้อบ้านมากเกินไปจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่ ตลาดเชื่อว่าฟองสบู่บ้านที่แตกนี้จะทำให้คนมีเงินจับจ่ายน้อยลงจึงน่าจะลุกลามไปยัง Sector อื่นและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด...
ปี 2008 เกิด subprime หุ้นก็ลงไป 6000

ไม่ใช่หรือ

ใช่นะพี่เจ๋ง บทความนี้เขียนปี 2007 แต่ บทความจะสื่อว่า ในระยะยาวแล้ว ตลาดหุ้นจะทํา New High เสมอครับ
อ๋อ ครับ ถูกต้องแล้ว ยังไงหุ้นขึ้นก็ต้องลง และหุ้นลงก็ต้องขึ้น และไม่ควรกังวลอะไรให้มาก

เพียงแต่สัญญานเตือนอะไรต่างๆ ไม่ควรละเลยครับ เพราะมันเป็นตัวกระตุ้น

หมายถึง ถ้าหุ้นขึ้นมาเยอะๆแล้ว มันก็ต้องลง เวลามันลง ก็ต้องมีตัวมากระตุ้นให้มันลง

ส่วนหุ้นที่ลงเยอะๆ แล้ว มันกำลังขึ้น ต่อให้มีเรื่องไม่ดี มันก็ขึ้นอยู่ดี
เป็นความจริง ที่ไม่ควรละเลย เพราะ บางครั้งเรามักใช้ company profile มาบดบัง market risk ทั้งหมด
โพสต์โพสต์