บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
nACrophiles_117
Verified User
โพสต์: 1362
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 211

โพสต์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ : มุมมองเรื่องปัญหาของยุโรปในขณะนี้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น 5-6% หลังจากผู้นำยุโรปประชุมกันและประกาศว่าได้ตกลงกันในประเด็นหลัก 3 เรื่อง คือ
1. ให้เอกชนลดหนี้ให้กับประเทศกรีกโดย “สมัครใจ” 50% ของมูลหนี้ที่ถืออยู่

2. ตกลงให้ธนาคารในยุโรปเพิ่มทุนสำรองขั้นที่หนึ่งให้ไม่ต่ำกว่า 9% โดยจะให้พยายามแสวงหาทุนด้วยตัวเองก่อนและหากทำไม่ได้ก็ให้รัฐบาลของประเทศตนเพิ่มทุนให้หากรัฐบาลไม่มีเงินก็จะมีกระบวนการขอเงินจากกองทุน EFSF และ

3. สำหรับกองทุน EFSF มูลค่า 4.4 แสนล้านยูโรนั้น ซึ่งปัจจุบันมีวงเงินที่ยังไม่มีภาระผูกพัน 2.4 แสนล้านยูโรนั้น ให้สามารถกู้ (leverage) ให้ได้เม็ดเงินทั้งสิ้นอีก 1 ล้านล้านยูโร โดยเงินดังกล่าวจะใช้แทรกแซง ซื้อหรือค้ำประกันพันธบัตรของรัฐบาลยูโรที่มีสถานะอ่อนแอให้มีสภาพคล่องเพียงพอและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเกินไป

ผู้ที่มองโลกในแง่ดีตีความว่ามาตรการข้างต้นเป็น “ข่าวดี” สำหรับตลาดหุ้นเพราะเป็นมาตรการที่ไปในทิศทางที่ถูกต้องคือ ลดหนี้ให้กรีก เพิ่มทุนให้ธนาคารและปกป้องรัฐบาลประเทศที่อาจมีปัญหา เช่น สเปนและอิตาลี ที่สำคัญคือเป็นการหลีกเลี่ยงสภาวะวิกฤติ เช่น กรณีที่สหรัฐปล่อยให้เลแมน บราเดอร์สล่มสลาย จนนำโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 2009 นอกจากนั้นตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ ได้แก่จีดีพีไตรมาส 3 ก็คาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 2.5% เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณ 1% ในครึ่ง แรกของปีนี้ ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐเองก็มีแนวโน้มว่าจะไม่เกิดภาวะถดถอยดังที่เคยกังวล คำถามคือเมื่อหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้น 15-16% ในเดือนตุลาคมและหุ้นไทยเองก็ปรับกลับมาใกล้ 1000 หมายความว่าปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาของยุโรปนั้นได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จแล้วหรือไม่ แล ะหากยังไม่เป็นเบ็ดเสร็จ อย่างน้อยก็จะไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดสภาวะวิกฤติขึ้นในอนาคต ตลอดจนวางใจได้ว่าตลาดหุ้น ค่าเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ จะลดความผันผวนและกลับสู่สภาวะปกติหรือไม่

คำตอบในใจของผมคือ “ไม่” เพราะหากวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจะเห็นว่ามาตรการแก้ปัญหาอย่าง “เบ็ดเสร็จ” (comprehensive) ของผู้นำยุโรปเมื่อ 29 ต.ค.นั้นยังมีจุดอ่อนอยู่มาก ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่าปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปจะปะทุขึ้นมาได้อีกใน 2-3 เดือนข้างหน้าเป็นอย่างช้า และในครั้งต่อไปน่าจะรุนแรงมากกว่าครั้งนี้ด้วย 2 เหตุผลหลักๆ คือ
ประการที่

1. ครั้งหน้าปัญหาอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศอิตาลี ซึ่งมีหนี้สาธารณะมูลค่า 1.9 ล้านล้านยูโร ซึ่งมากกว่าหนี้ของกรีกประมาณ 4-5 เท่า และ
2. มีความเป็นไปได้สูงว่าคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐก็จะไม่สามารถหาข้อสรุปได้ภายใน 23 พฤศจิกายน ตามที่ได้ขีดเส้นตายเอาไว้ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและอาจนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกรอบ การคาดการณ์นี้เป็นความคิดส่วนตัวของผมเองที่เชื่อว่าปัญหาหนี้สาธารณะทั้งของยุโรปและสหรัฐยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ปัจจัยพื้นฐาน จึงมองว่าเป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น

ศ. Ken Rogolf แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ ผู้ซึ่งเขียนหนังสือเรียบเรียงปัญหาหนี้สาธารณะของโลกใน 800 ปีที่ผ่านมา (หนังสือชื่อว่า “This Time is Different”) มองว่าการตอบรับของตลาดหุ้นต่อข้อตกลงของผู้นำยุโรปเมื่อวันที่ 29 ต.ค.จะเป็นเพียงความพึงพอใจชั่วคราว เพราะยังไม่ได้ตอบโจทย์สำคัญ 3 ข้อคือ 1. หากใช้เงินสกุลเดียวกันทั้ง 17 ประเทศแล้วก็จะต้องใช้นโยบายการคลัง (และวินัยทางการคลัง) ที่รวมศูนย์ด้วยจะปล่อยให้มีนโยบายการคลังที่เป็นอิสระจากกันไม่ได้ แต่ผู้นำของกลุ่มเงินยูโรก็ยังไม่ได้มีมาตรการชัดเจนในการรวมอำนาจทางการคลัง 2. การเพิ่มทุนธนาคาร ซึ่งสรุปตัวเลขที่ 106,000 ล้านยูโร แต่ก่อนหน้าไอเอ็มเอฟประเมินว่ าความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจสูงถึง 2 แสนล้านยูโร แปลว่าธนาคารน่าจะเพิ่มทุนไม่เพียงพอและเนื่องจากกลไกในการเพิ่มทุนมีความไม่แน่นอนสูงและยืดเยื้อ ธนาคารก็น่าจะหลีกเลี่ยงการเพิ่มทุนทำให้จะมีปัญหาทุนไม่เพียงพอในระยะยาว ทำให้ธนาคารไม่สามารถทำหน้าที่ในการระดมเงินฝากและสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขาดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และ 3. ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุดคือผู้นำยุโรปไม่ได้มีมาตรการใดๆ ที่จะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจหรือกระตุ้นให้เศรษฐกิจยุโรปขยายตัวได้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้การแก้ปัญหาหนี้สินนั้น ตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือการขยายตัวของเศรษฐกิจเพราะหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ดี หนี้ต่อจีดีพีก็จะลดลง นอกจากนั้นเมื่อจีดีพีขยายตัวดี รัฐบาลก็เก็บภาษีได้มากขึ้น ทำให้สามารถจ่ายคืนหนี้ได้อีกด้วย ท่านผู้อ่านที่ทำธุรกิจจะทราบดีว่าหากบริษัทมีหนี้สินมากและต้องพยายามปรับโครงสร้างหนี้ให้ประสบความสำเร็จ คือการเชื่อมั่นได้ว่ายอดขายของบริษัทจะขยายตัวได้ดีหากยอดขาย (หรือจีดีพี) ไม่ขยายตัว การปรับโครงสร้างหนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ยาก

ในกรณีของยุโรปนั้นจีดีพีโดยรวมคาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 1% ในปีหน้า แต่ประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุดคืออิตาลี เพราะมีหนี้สาธารณะสูงถึง 1.9 ล้านล้านยูโรหรือ 120% ของจีดีพี ในขณะที่การคาดการณ์ล่าสุดเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 0.7% ในปี 2011 และ 0.6% ในปี 2012 (เดิมทีคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.3% ในปี 2012) พร้อมกันนี้รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนีก็มีปัญหาระหองระแหงจนนายกรัฐมนตรีต้องออกมาปฏิเสธข่าวลือว่าเขาผลักดันข้อเสนอต่อยุโรปว่าอิตาลีจะยอมรัดเข็มขัดทางการคลังเพิ่มขึ้น โดยการให้สัญญากับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะยอมลาออกจากตำแหน่งในต้นปีหน้าเพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นอีก 1 ปี ในขณะเดียวกันข้อเสนอของนายกอิตาลีก็ถูกต่อต้านจากสหภาพแรงงานใหญ่ 2 แ ห่ง ซึ่งประกาศว่าจะเดินขบวนต่อต้านมาตรการดังกล่าว

ประเด็นคือหากมีความปั่นป่วนดังกล่าว การขยายตัวของจีดีพีที่คาดการณ์เอาไว้ที่ 0.6% นั้นก็อาจจะทำไม่ได้ เช่นกรณีของประเทศกรีกที่จีดีพีหดตัวลงติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว ในกรณีของอิตาลีนั้น หากจีดีพีขยายตัว 0.6% และหากเงินเฟ้อเท่ากับ 2.4% ก็แปลว่าจีดีพีรวมเงินเฟ้อจะขยายตัว 3% ในขณะที่หนี้สาธารณะนั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ในสภาวะที่จะขยายตัวกว่า 2 เท่าของจีดีพี กล่าวคือมีหนี้ 120% ของจีดีพีที่ดอกเบี้ย 6% แปลว่ามูลหนี้เพิ่มขึ้น 7.2% ของจีดีพีทุกปีและจีดีพีขยายตัวเพียง 3% ต่อปี หากเป็นเช่นนี้ปัญหาก็จะมีแต่รุนแรงขึ้น

ในกรณีของกรีกนั้นแม้จะได้รับการลดหนี้ แต่ปัญหาก็ยังหนักหน่วงอย่างมาก กล่าวคือเดิมหนี้สาธารณะจะพุ่งขึ้นสูงถึง 180% ของจีดีพีในปีหน้า แต่เมื่อมีการลดหนี้ ในกรณีที่ดีที่สุดหนี้สาธารณะจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 120% ของจีดีพีในปี 2020 กล่าวคือกรณีของกรีกนั้นการจะกลับมา “ดี” เหมือนอิตาลีในปัจจุบันจะต้องรอไปอีก 9 ปี ซึ่งผมไม่ค่อยจะแน่ใจว่าประชาชนกรีกจะรับสภาพความยากลำบากดังกล่าวได้อีกนานเท่าใด เพราะเศรษฐกิจตอนนี้ก็ย่ำแย่ อัตราการว่างงานเท่ากับ 16.7% โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 15-24 ปีนั้นมีอัตราการว่างงานสูงถึง 42.9% และหนี้สาธารณะนั้นคำนวณออกมาเท่ากับ 48,000 ยูโรต่อหัว แปลว่าประชาชนกรีกแต่ละคนนั้นต้องแบกหนี้สาธารณะกว่า 2 ล้านบาทครับ
labor omnia vincit
ภาพประจำตัวสมาชิก
พ่อน้องเพชร
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 212

โพสต์

ทำไม hair cut หนี้กรีซแล้วยังต้องรออีกตั้ง9ปีกว่าที่หนี้สาธารณะจะลดลงละครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 213

โพสต์

รู้สึกว่าหนี้เขาจะเยอะนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 214

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 17:16:42 น.
วุฒิสภาอิตาลีเตรียมลงคะแนนเสียงเรื่องมาตรการลดหนี้สินในวันนี้ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน และปูทางให้กับรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้การนำของนายมาริโอ มอนติ อดีตสมาชิกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าแห่งสหภาพยุโรป

วุฒิสภาจะลงมติเกี่ยวกับชุดมาตรการตามที่ได้ให้คำมั่นไว้กับสหภาพยุโรป ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และลดหนี้สินของประเทศมูลค่า 1.9 ล้านล้านยูโร (2.6 ล้านล้านดอลลาร์)

ทั้งนี้ นายจันฟรังโก ฟินี ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า วุฒิสภาอิตาลีจะเริ่มอภิปรายมาตรการดังกล่าวในช่วงสายตามเวลาท้องถิ่น และจะลงคะแนนเสียงในช่วงบ่ายซึ่งตรงกับคืนนี้ตามเวลาไทย และสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติขั้นสุดท้ายในวันถัดไป โดยนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลีอาจจะลาออกหลังจากนั้นไม่นาน

นายฟินีกล่าวว่า รัฐบาลชุดใหม่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนายแบร์ลุสโคนีแสดงความรับผิดชอบ และให้ความเห็นชอบเรื่องรัฐบาลใหม่ที่มีความเป็นเอกภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 215

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 19:25:57 น.
การแต่งตั้งนายลูคัส ปาปาเดมอส อดีตรองประธานธนาคารกลางยุโรปขึ้นทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีรัฐบาลเอกภาพชุดใหม่ของกรีซอย่างเป็นทางการนั้น ก่อให้เกิดปฏิกริยาที่หลากหลายจากพรรคฝ่ายค้านและประชาชนชาวกรีซ

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า พรรค PASOK ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยมของนายจอร์จ ปาปันเดรอูที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกฯ, พรรค New Democracy ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก และพรรค Popular Orthodox Rally ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา ได้บรรลุข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวเมื่อวานนี้ และต่างก็ชื่นชมในตัวนายปาปาเดมอส

พรรคการเมืองเหล่านี้มองว่า นายปาปาเดมอส ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก น่าจะสามารถนำพาประเทศที่ต้องแบกรับหนี้ให้รอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนที่จะมีการจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายซ้ายอย่าง Greek Communist Party และ Radical Left Coalition ไม่ยอมรับนายปาปาเดมอสและรัฐบาล เพราะมองว่าเป็นเพียงเหรียญอีกด้านที่จะใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดกับประชาชน พร้อมกับเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

ขณะที่พรรคขนาดเล็กกว่าอย่างพรรค Democratic Alliance และพรรค Democratic Left ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่

ส่วนชาวกรีซทั่วไปแม้โล่งอก แต่ก็ยังตั้งข้อกังขาต่อรัฐบาลชุดใหม่เช่นกัน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 216

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 19:03:52 น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปนเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ไม่ขยายตัวจากไตรมาส 2 หรือเท่ากับว่าอัตราขยายตัวเป็น 0% ซึ่งส่งผลกระทบต่อความพยายามที่นำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตหนี้ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนและอิตาลีพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

ทั้งนี้ จีดีพีไตรมาส 2 ของสเปนขยายตัวเพียง 0.2% ขณะที่ธนาคารกลางสเปนประเมินก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหยุดชะงักในไตรมาส 3 และขยายตัว 0.7% ตลอดทั้งปี

คณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณของสเปน ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในเร็วๆนี้ อาจจะต้องเร่งลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้สเปนตกเป็นเหยื่อของวิกฤตหนี้รายต่อไป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 217

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2554 07:27:23 น.
ทำเนียบประธานาธิบดีอิตาลีเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนีของอิตาลี ได้ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดีจิออร์จิโอ นาโปลิตาโนเมื่อวานนี้ตามเวลาอิตาลี

ปธน.นาโปลิตาโนซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการในวันนี้ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ได้เรียกร้องให้นายแบร์ลุสโคนีทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าปธน.นาโปลิตานีจะยอมรับการออกของนายเบอร์ลุสโคนีอย่างเป็นทางการ เพื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรีรชุดใหม่

การดำเนินการดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่รัฐสภาอิตาลีผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่นายแบร์

ลุสโคนี วัย 75 ปีกำหนดไว้เองสำหรับการลาออก โดยนายแบร์ลุสโคนีกล่าวกับปธน.นาโปลิตาโนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า เขาจะลาออกหลังจากที่รัฐสภาอนุมัติการปฏิรูปเศรษฐกิจ

นายแบร์ลุสโคนีเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรยอมรับร่างกฎหมายปฏิรูปซึ่งได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

คาดว่านายมาริโอ มอนติ อดีตคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของอิตาลี

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 218

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2554 15:22:19 น.
นายลีโอนาร์โ มอร์ลิโน ประธานสมาคมรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศในมอนทรีอัลให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า อิตาลีมีความเป็นไปได้ที่จะลดหนี้ในระยะสั้น โดยจะสามารถหลุดพ้นจากวิกฤติปัจจุบันที่ได้รับแรงผลักดันจากหนี้สินได้ด้วยความแข็งแกร่งของตนเอง

การลดหนี้ที่ระดับสูงของอิตาลีที่ 1.89 ล้านล้านยูโร (2.56 ล้านล้านดอลลาร์) ภายใน 6 เดือนข้างหน้า จะเป็นเป้าหมายหลักสำหรับรัฐบาลชุดต่อไปที่แนวโน้มว่าจะจัดตั้งขึ้นในช่วงไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าหลังการอนุมัติขั้นสุดท้ายต่อร่างกฎหมายงบประมาณและการลาออกของนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรี นายมอร์ลิโนกล่าว ซึ่งเขาเป็นศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย LUISS ในกรุงโรมด้วย

เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดระหว่างประเทศ รัฐบาลชุดใหม่"ควรที่จะสามารถเข้าสู่แนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดภายใน 2 เดือน" เขาเสริมว่า สมมติฐานที่ว่า รัฐบาลฉุกเฉินจะสามารถนำพาอิตาลีออกจากวิกฤติ มีความสมเหตุสมผลมากที่สุด

เขาชี้ว่า อันที่จริงแล้ว ปัจจัยพื้นฐานของอิตาลีมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้ แต่ความขัดแย้งทั้งในรัฐบาลผสมและภายในฝ่ายค้านทำให้เป็นการยากที่จะเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 219

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 06:18:36 น.
ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 พ.ย.) หลังจากวุฒิสภาอิตาลีมีมติอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าอิตาลีจะสามารถควบคุมวิกฤตหนี้ได้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่พุ่งขึ้นแข็งแกร่งเกินคาด

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 2.4% ปิดที่ 240.98 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,149.38 จุด เพิ่มขึ้น 84.54 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 6,057.03 จุด พุ่งขึ้น 189.22 จุด ดัชนี FTSE ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,545.38 จุด เพิ่มขึ้น 100.56 จุด

นักวิเคระห์จากแอสจีที แคปิตอล เมเนจเมนท์ของสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่า ตลาดหุ้นยุโรปขานรับข่าววุฒิสภาอิตาลีมีมติด้วยคะแนนเสียง 156 ต่อ 12 ผ่านร่างกฏหมายรัดเข็มขัดที่ครอบคลุมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี แลกกับการลาออกของเขา

ข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลอิตาลีลดลงมาสู่ระดับ 6.45% หลังจากที่พุ่งแตะ 7.25% เมื่อวันพุธ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนหลังจากธอมสัน รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต้นพฤศจิกายนพุ่งแตะ 64.2 จุด จากระดับ 60.9 จุดในเดือนตุลาคม ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 61.5 จุด ส่งสัญญาณว่าผู้บริโภคสหรัฐมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากกว่าเดิม

หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นแข็งแกร่ง โดยหุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ดีดตัวขึ้น 5.7% หุ้นเนชันแนล แบงก์ ออฟ กรีซ พุ่งขึ้น 2.5% หุ้นอัลฟา แบงก์ พุ่งขึ้น 2.9%

หุ้นเทเลคอม อิตาเลีย ทะยานขึ้น 5.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรสุทธิไตรมาส 3 พุ่งขึ้น 33% สู่ระดับ 807 ล้านยูโร มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 708.5 ล้านยูโร ส่วนหุ้นอัลไลอันซ์ เอสอี บริษัทประกันรายใหญ่ของยุโรป พุ่งขึ้น 5.6%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 220

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 07:56:19 น.
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดตลาดพุ่งขึ้น 116.81 จุด แตะที่ 8,631.28 จุดในวันนี้ (14 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ในอิตาลี หลังจากวุฒิสภาอิตาลีมีมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปการคลังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่ามา

โบรกเกอร์กล่าวว่า ตลาดหุ้นโตเกียวได้แรงหนุนการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รวมทั้งข่าวที่ว่าวุฒิสภาอิตาลีมีมติด้วยคะแนนเสียง 156 ต่อ 12 ผ่านร่างกฏหมายรัดเข็มขัดที่ครอบคลุมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 221

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 08:51:37 น.
ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดตลาดทะยานขึ้น 463.20 จุด หรือ 2.42% แตะที่ 19,600.37 จุดในวันนี้ (14 พ.ย.) ซึ่งเป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ ขานรับวุฒิสภาอิตาลีอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัด

นอกจากนี้ ดัชนีฮั่งเส็งยังปรับตัวอย่างสอดคล้องกับตลาดอื่นๆในภูมิภาคเอเชียในวันนี้ ขานรับข่าวการแต่งตั้งนายมาริโอ มอนติ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นขยายตัวในอัตรา 6.0% ต่อปี ในไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 222

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 09:02:32 น.
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี(ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้น่าจะปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยมีปัจจัยบวกจากความคืบหน้าในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยูโรโซน หลังรัฐสภาอิตาลีอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัด ขณะที่กรีซก็จะได้นายกรัฐมนตรีและรายชื่อคณะรับมนตรีชุดใหม่เร็วนี้ๆ

ด้านปัจจัยในประเทศก็เริ่มคลายความกังวลเรื่องสถานการณ์น้ำท่วม หลังในหลายพื้นที่ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว ซึ่งก็ถือเป็นจิตวิทยาบวกต่อการลงทุนในวันนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเช้านี้ต่างปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่

พร้อมให้แนวรับ 965 จุด แนวต้าน 985 และ 990 จุด
ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(11 พ.ย.) ดัชนีดาวโจนส์ ปิดที่ 12,153.68 จุด เพิ่มขึ้น 259.89 จุด (+2.19%)ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 1,263.85 จุด เพิ่มขึ้น 24.16 จุด (+1.95%) ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 2,678.75 จุด เพิ่มขึ้น 53.60 จุด (+2.04%)

- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,485.32 ล้านบาทเมื่อ 11 พ.ย. 54
- ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนธ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุดที่ 98.99 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.21 ดอลลาร์ หรือ 1.24%

- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์เช้านี้เปิดที่ 7.00 เหรียญฯ/บาร์เรล ลดลงจากล่าสุด(11 พ.ย.)ปิดที่ 7.84 เหรียญฯ/บาร์เรล

- หอการค้าไทยเสนอ "วีรพงษ์" ออกแผนฟื้นฟูประเทศให้ชัดเจน เยียวยาระยะสั้น-ยาว "ส.อ.ท." ชี้ ฟื้นฟูประเทศต้องทำต่อเนื่องหลายรัฐบาล มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำท่วมให้ได้ 60-70 ปี เล็งทำคู่มือมาตรการช่วยเหลือของรัฐ หวังรวบรวมมาตรการช่วยเหลือลดความสับสน ระบุเอกชนส่วนใหญ่ขาดสภาพคล่อง วอนรัฐเร่งคืนภาษีกลางปี นำค่าใช้จ่ายจ้างงานหักภาษีได้ รับเบี้ยประกันภัยปีหน้าแพงลิ่ว

- บีโอไอเผยน้ำท่วม ทำยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนเดือน ต.ค.หดเหลือ 3 หมื่นล้านบาท เหตุโรงงานชะลอแผนการลงทุน รวม 10 เดือน 1,471 โครงการ มูลค่าลงทุน 478,700 ล้านบาท ด้านโรงงานสิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่มแถบเพชรเกษม ปิดกิจการไปแล้วกว่า 500 แห่ง จี้รัฐเร่งระบายน้ำหามาตรการดูแลแรงงานหวั่นแรงงานหนี

- "กิตติรัตน์" สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ต่างชาติบนเวที "เอเปก" ยันไม่ให้น้ำท่วมซ้ำอีก พร้อมเปิดเผยลงทุนขุดคลองใหญ่เท่ากับแม่น้ำแก้น้ำท่วม วางระบบรถไฟคู่ขนาน และจัดเขตที่ดินใหม่ เล็งใช้เงินกู้ หรือ ทุนสำรองของ "แบงก์ชาติ" มาลงทุน

- 4 นิคมอุตสาหกรรมเอกชนภาคตะวันออก เปิดพื้นที่ฟรีช่วยโรงงานอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วมผลิตสินค้าชั่วคราว ส่วน กนอ. เปิดให้เช่าชั่วคราว 5 แห่ง ด้านกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งคลินิกช่วยฟื้นฟู ซ่อมบำรุงเครื่องจักร สถานประกอบการ พร้อมงานอาสาสมัคร 45 ทีม "แฟคตอรี่แลนด์"พื้นแห่งแรกเริ่มกลับมาผลิต สวนโรจนะเร่งมือสูบน้ำออกเสร็จใน30วัน ญี่ปุ่นยืนยันให้ความช่วยเหลือบริษัทที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมเต็มที่

- "แบงก์ชาติ" ยอมรับทยอยซื้อสะสมทองคำปีนี้เพิ่มอีก 52 ตัน รวมเป็น 152 ตัน ขณะที่มูลค่ารวมพุ่งแตะ 8.61 พันล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นเฉียด 90% เผยซื้อเพื่อบริหารพอร์ตทุนสำรองฯ โดยมีเป้าหมายถือครองที่ 3% ย้ำปัจจุบันเป็นไปตามเป้าแล้ว ระบุจากนี้ไปคงไม่ซื้อเพิ่ม พร้อมยอมรับผู้ค้าทองคำเริ่มมีบทบาทกับค่าเงินบาทไทยเพิ่ม ลุยจับตาพร้อมศึกษาตัวธุรกิจอย่างใกล้ชิด

--อินโฟเควสท์ โดย อาชวินท์ สุกสี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 223

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 15:03:10 น.
นายโนดะ โยชิฮิโกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยญี่ปุ่นพร้อมที่จะช่วยเหลือยุโรปรับมือกับวิกฤตหนี้

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายกฯญี่ปุ่นกล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมสุดยอดเอเปคว่า หากยุโรปรับมือกับสถานการณ์แบบที่เป็นกลุ่ม เราก็สามารถเตรียมความพร้อมที่จะขยายขอบเขตความร่วมมืออย่างเหมาะสมได้เช่นกัน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ญี่ปุ่นจะยังคงซื้อพันธบัตรที่ทางกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรปออกหรือไม่นั้น นายกฯญี่ปุ่นกล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้ว ทั่วโดยต่างก็หวังว่าจะได้เห็นเศรษฐกิจและระบบการเงินของยุโรปมีเสถียรภาพ

นายโนดะกล่าวว่า ตนเองและผู้นำเอเปคประเทศอื่นๆมีมุมมองร่วมกันว่า ยุโรปควรจะพยายามที่จะแก้ปัญหาเองก่อน และใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นในตลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 224

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 15:44:14 น.
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดวันนี้ปรับตัวสูงขึ้น ขานรับผู้นำคนใหม่ของกรีซและอิตาลี ซึ่งช่วยฟื้นความเชื่อมั่นว่า ยุโรปจะสามารถควบคุมวิกฤตหนี้ในภูมิภาค

ดัชนี Stoxx Europe 600 Index บวก 0.4% แตะ 241.88 จุด เมื่อเวลา 8.02 น. ตามเวลาท้องถิ่นในลอนดอน

หุ้นยูนิเครดิต เอสพีเอ พุ่ง 3.9% หลังจากที่ธนาคารเผยว่า จะพิจารณาเรื่องการขายหุ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านเงินทุน หุ้นบริษัทก่อสร้าง ฮอชทีฟ ร่วง 2.5% หลังจากที่บริษัทชะลอการขายธุรกิจ

นายจอร์จิโอ นาโปลิตาโน ประธานาธิบดีอิตาลี ประกาศแต่งตั้งนายมาริโอ มอนติ อดีตกรรมาธิการยุโรป ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลี แทนนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี ที่ประกาศลาออกอย่างเป็นทางการในช่วงค่ำวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่กรีซก็เพิ่งได้นายลูคัส ปาปาเดมอส มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เช่นกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 225

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 07:29:11 น.
ผลการประมูลขายพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีซึ่งมีขึ้นในช่วงค่ำวานนี้ (14 พ.ย.) ตามเวลาประเทศไทยระบุว่า อิตาลีสามารถระดมทุนจากการขายพันธบัตรได้ทั้งสิ้น 3 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดที่รัฐบาลอิตาลีตั้งใจไว้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.29% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน และสูงกว่าระดับ 5.32% ของการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.76%
แม้อิตาลีประสบความสำเร็จในการกระดมทุนผ่านการประมูลขายพันธบัตรในครั้งนี้ แต่การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรทำให้เกิดกระแสความวิตกกังวลในตลาดการเงินทั่วโลกว่า อิตาลีอาจจะไม่สามารถชำระหนี้สาธารณะมูลค่ามหาศาลได้

นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ด้านการคลังของอิตาลีมานับตั้งแต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้นสูงถึง 7.5% ในระหว่างสัปดาห์ ซึ่งเป็นระดับที่อันตรายและอาจจะทำให้อิตาลีไม่สามารถชำระหนี้ได้ในระยะยาวได้ ขณะที่นักวิเคราะห์กล่าวว่า หากอิตาลีอาจจะไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ เนื่องจากเศรษฐกิจอิตาลีมีขนาดใหญ่ และรัฐบาลอิตาลีถือเป็นรัฐบาลที่มีภาระหนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 226

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 06:38:18 น.
สกุลเงินยูโรร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ของอิตาลี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในการประมูลเมื่อวานนี้

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.84% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3634 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ 1.3750 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ดิ่งลง 0.98% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5910 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6068 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.01% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 77.120 เยน จากระดับ 77.110 เยน และพุ่งขึ้น 0.64% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9064 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9006 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.77% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0196 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0275 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.80% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7789 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7852 ดอลลาร์สหรัฐ

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจในความสามารถด้านการชำระหนี้ของอิตาลี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.29% ในการประมูลเมื่อวานนี้ สูงกว่าระดับ 5.32% ในการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.76%

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นเหนือระดับ 6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนส.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลสเปนจะต้องแบกรับภาระผูกพันในการจ่ายหนี้สาธารณะมูลค่ามหาศาล

สกุลเงินยูโรได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อนางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีกล่าวว่า "ยุโรปกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2" รวมทั้งข่าวที่ว่า นายวิตโตริโอ กริลลี ผู้อำนวยสำนักงานการคลังของอิตาลีกำลังพิจารณาเรื่องการลาออกจากตำแหน่ง

ส่วนสถานการณ์ในกรีซนั้น นักลงทุนจับตาดูการลงมติรับรองคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ในวันพุธนี้ ก่อนที่จะมีการประชุมรมว.คลังกลุ่มยูโรโซนที่เมืองบรัสเซลส์ในวันพฤหันบดี ขณะที่นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่ากรีซจะได้รับเงินกู้เบิกจ่ายงดถัดไปหรือไม่ แม้นายปาปาเดมอสเข้ามาบริหารประเทศแล้วก็ตาม

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศกลุ่มประเทศยูโรโซน หดตัวลง 2.0% ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนในกลุ่มประเทศอียู 27 ประเทศ ลดลง 1.3% เมื่อเทียบรายเดือน

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค., ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนต.ค.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 227

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 06:16:21 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของอิตาลี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในการประมูลเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ รายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลงของยูโรโซน ยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงด้วย

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 74.70 จุด หรือ 0.61% แตะที่ 12,078.98 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 12.07 จุด หรือ 0.96% แตะที่ 1,251.78 จุด ดัชนี Nasdaq ปิดลบ 21.53 จุด หรือ 0.80% ปิดที่ 2,657.22 จุด

ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 3 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นบวกมากกว่าหุ้นลบในอัตราส่วน 3 ต่อ 1

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักลงทุนวิตกกังวลหลังจากผลการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีในวันจันทร์ระบุว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.29% สูงกว่าระดับ 5.32% ในการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.76%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลอิตาลี นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลียังสูงขึ้น แม้ว่านายมาริโอ มอนติ อดีตคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีก็ตาม

นักวิเคราะห์กังวลว่า หากอิตาลีไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ เนื่องจากเศรษฐกิจอิตาลีมีขนาดใหญ่ และรัฐบาลอิตาลีถือเป็นรัฐบาลที่มีภาระหนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อมีรายงานว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นเหนือระดับ 6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนส.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลสเปนจะต้องแบกรับภาระผูกพันในการจ่ายหนี้สาธารณะมูลค่ามหาศาล

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบหลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศกลุ่มประเทศยูโรโซน หดตัวลง 2.0% ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนในกลุ่มประเทศอียู 27 ประเทศ ลดลง 1.3% เมื่อเทียบรายเดือน

ยูโรสแตทระบุว่า ในเดือนกันยายนปีนี้ การผลิตสินค้าทุนในยูโรโซนร่วงลง 4.2% จากเดือนก่อนหน้า และลดลง 3.1% ในอียู ส่วนการผลิตสินค้าคงทนลดลง 3.8% และ 1.7% ในยูโรโซนและอียูตามลำดับ

หุ้นโบอิ้ง โค พุ่งขึ้น 1.5% ขานรับรายงานที่ว่าสายการบินเอมิเรตส์สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 50 ลำ ซึ่งเป็นการสั่งซื้อล็อตใหญ่ที่สุดสำหรับโบอิ้ง นอกจากนี้ สายการบินโอมาน แอร์ ยังได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787 จำนวน 6 ลำ

หุ้นเจซี เพนนีย์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าของสหรัฐ ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ลดลงเกินคาด อันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างต้นทุน นอกจากนี้ บริษัทยังได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการตลอดปี 2554 ด้วย

ส่วนหุ้นโลว์ คอส ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ดีดตัวขึ้น 1.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการและกำไรสุทธิรายไตรมาสมาสที่แข็งแกร่งเกินคาด

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค., กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนต.ค. และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. วันพุธ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค. และธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนต.ค.

วันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. และกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ส่วนวันศุกร์ คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนต.ค.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 228

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 07:15:57 น.
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของอิตาลี หลังจากผลการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีเมื่อวานนี้ระบุว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุด นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนที่หดตัวลงในเดือนก.ย.

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1% ปิดที่ 238.47 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3108.95 จุด ลบ 40.43 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5985.02 จุด ร่วงลง 72.01 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดลอนดอนปิดที่ 5519.04 จุด ลบ 26.34 จุด

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงถ้วนหน้า หลังจากผลการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีในวันจันทร์ระบุว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.29% สูงกว่าระดับ 5.32% ในการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.76%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีพุ่งขึ้นแม้ว่านายมาริโอ มอนติ อดีตคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีก็ตาม ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลอิตาลี

หุ้นยูนิเครดิต ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่สุดของอิตาลี ร่วงลง 6.2% หลังจากคณะกรรมการบริหารของยูนิเครดิตตัดสินใจอนุมัติการขยายหุ้นเพื่อเสริมฐานเงินทุนของธนาคาร ภายหลังจากที่ธนาคารขาดทุนในไตรมาส 3 เป็นวงเงินสูงถึง 1.06 หมื่นล้านยูโร และธนาคารจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2554

หุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มธนาคารของยุโรปร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นบีบีวีเอ ธนาคารรายใหญ่อันดับสองของสเปน ร่วงลง 3.2% หุ้นบังโค ซานตานเดร์ ธนาคารรายใหญ่สุดของสเปน ดิ่งลง 2.7% และหุ้นแบงคินเตอร์ ร่วงลง 2.3%

ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยลบจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) ที่ระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศกลุ่มประเทศยูโรโซน หดตัวลง 2.0% ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนในกลุ่มประเทศอียู 27 ประเทศ ลดลง 1.3% เมื่อเทียบรายเดือน

นักลงทุนจับตาดูการลงมติรับรองคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอสของกรีซ ในวันพุธนี้ ก่อนที่จะมีการประชุมรมว.คลังกลุ่มยูโรโซนที่เมืองบรัสเซลส์ ในวันพฤหัสบดีนี้

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 229

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 07:45:51 น.
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดตลาดลดลง 56.71 จุด แตะที่ 8,546.99 จุดในวันนี้ (15 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าวิกฤตหนี้สาธารณะอาจจะฉุดรั้งรั้งเศรษฐกิจยูโรโซนให้อ่อนแอลงด้วย

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการปรับโครงสร้างด้านการคลังของอิตาลี และวิตกว่าอิตาลีอาจจะเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.29% ในการประมูลเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน และสูงกว่าระดับ 5.32% ของการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 230

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 17:15:51 น.
ผลการประมูลขายพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีซึ่งมีขึ้นในช่วงค่ำวานนี้ (14 พ.ย.) ตามเวลาประเทศไทยระบุว่า อิตาลีสามารถระดมทุนจากการขายพันธบัตรได้ทั้งสิ้น 3 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดที่รัฐบาลอิตาลีตั้งใจไว้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.29% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน และสูงกว่าระดับ 5.32% ของการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว

-- ผลการสำรวจเศรษฐกิจครั้งล่าสุดขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) บ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม OECD ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนกันยายน

-- นักวิจัยจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงต้นปี 2555 มีมากกว่า 50% อันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้ยุโรป

-- สำนักงานพลังงานแห่งชาติจีน (NEA) เปิดเผยว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของจีนเพิ่มขึ้น 11.35% ในเดือน ตุลาคม จากปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากการขยายตัว 12.2% ในเดือนกันยายน โดยแถลงการณ์บนเว็บไซต์ของ NEA ระบุว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของจีนแตะที่ 3.797 แสนล้านกิโลวัตต์ในเดือนตุลาคม

-- สำนักงานบริการด้านศุลกากรของเกาหลีใต้ (KCS) เปิดเผยในวันนี้ว่า เกาหลีใต้มียอดเกินดุลการค้าปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 4.1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนต.ค. จากระดับ 1.3 พันล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย. เนื่องจากยอดส่งออกไปยังประเทศตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ยอดเกินดุลการค้าของเกาหลีใต้ขยายตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 แม้เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปก็ตาม

-- สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า สถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทยออกวีซ่าให้กับแรงงานไทย 7 คนที่เป็นลูกจ้างบริษัทญี่ปุ่นที่ถูกน้ำท่วม นับเป็นแรงงานกลุ่มแรกที่ได้รับอนุญาตให้ไปทำงานที่ญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราวภายใต้ข้อตกลงพิเศษเพื่อช่วยบริษัทญี่ปุ่นที่ถูกน้ำท่วม

-- นายเพอร์รี่ วาร์จิโย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของอินโดนีเซียไม่มากนัก เนื่องจากอินโดนีเซียมีตลาดส่งออกที่หลากหลาย และสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จำเป็น

-- สายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส์ ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของสิงคโปร์ รายงานยอดขาดทุนสุทธิ 49.9 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (38.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับไตรมาสที่สิ้นสุดลงวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการระงับเที่ยวบินออสเตรเลียและต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น

-- เฟซบุ๊กครองตำแหน่งเว็บไซต์โซเชียลมีเดียยอดนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชาวเน็ตกว่า 50% ในภูมิภาคนี้มีโพรไฟล์เฟซบุ๊กที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

-- ฮอนด้า มอเตอร์ เตรียมกลับมาผลิตรถยนต์ตามปกติที่โรงงาน 6 แห่งในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 1 และ 2 ธันวาคมนี้ หลังจากที่ต้องลดการผลิตลงครึ่งหนึ่งตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในประเทศไทย

-- สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส หรือ Insee เปิดเผยว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสขยายตัว 0.4% ในไตรมาส 3 โดยได้รับแรงหนุนจากภาคการผลิต ดุลการค้าระหว่างประเทศ และการบริโภคภาคครัวเรือนที่ดีดตัวขึ้น

-- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนี ขยายตัว 0.5% ในไตรมาส 3 ของปี 2554 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 231

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 07:34:01 น.
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจว่า นายมาริโอ มอนติ ว่าที่นายกรัฐมนตรีอิตาลีจะได้รับเสียงสนับสนุนมากพอในการผลักดันมาตรการปฏิรูปการคลังหรือไม่ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีที่ดีดตัวขึ้นมายืนเหนือระดับ 7%

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 0.6% แตะที่ 237.03 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3049.13 จุด ลบ 59.82 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5933.14 จุด ลบ 51.88 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5517.44 จุด ลบ 1.60 จุด

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าอิตาลีจะไม่สามารถรับมือกับภาระหนี้สินได้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีดีดขึ้นไปยืนเหนือระดับ 7% อีกครั้งเมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นต้นทุนการกู้ยืมที่สูงมาก

นายมอนติ ว่าที่นายกรัฐมนตรีอิตาลีไดเประชุมกับผู้นำพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด 2 พรรคของอิตาลีเมื่อวานนี้ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับแนวทางการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตลาดและการปฏิรูปด้านการคลัง โดนนายมอนติพยายามหาเสียงสนับสนุนจากนักการเมืองอิตาลีให้ได้มากพอเพื่อที่คณะรัฐมนตรีของเขาจะสามารถเร่งรัดการปฏิรูปที่จำเป็นได้

ทั้งนี้ อิตาลีจำเป็นต้องระดมทุนจำนวนมากเพื่อนำมาชำระหนี้พันธบัตรเก่าราว 2 แสนล้านยูโร (2.73 แสนล้านดอลลาร์) ก่อนสิ้นเดือนเม.ย. 2555 ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ยากลำบาก ขณะเดียวกันอิตาลีจำเป็นต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนราว 6.3% ในการเปิดประมูลขายพันธบัตรประเภท 5 ปีเมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นอัตราผลตอบแทนสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินยูโร

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสถาบัน ZEW ของเยอรมนีเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเดือนพ.ย. ลดลงสู่ระดับ -55.2 จุด จากระดับ -48.3 จุดของเดือนต.ค. เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลวว่า วิกฤตหนี้สาธารณะจะทำให้เศรษฐกิจถอยร่นเข้าสู่ภาวะถดถอย

หุ้นฟินเมคแคนิกา เอสพีเอ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์รายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 20% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) สูงถึง 200 ล้านยูโร

ห้นยูนิเครดิต เอสพีเอ ธนาคารรายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 4.5% ขณะที่หุ้นเวียนนา อินชัวรันซ์ ร่วงลง 4.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรสุทธิไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 3.9% สู่ระดับ 98.2 ล้านยูโร ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 102.8 ล้านยูโร

หุ้นอิเล็กโทรลักซ์ร่วงลง 6.3% หลังจากมีข่าวว่าบริษัทเตรียมปิดโรงงานหลายแห่งในยุโรปและอเมริกาเหนือ เพื่อลดต้นทุน หลังจากอุปสงค์เครื่องใช้ไฟฟ้าชะลอตัวลง

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 232

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 06:21:19 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 พ.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนต.ค. และดัชนีการผลิตในรัฐนิวยอร์ก อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เนื่องจากภาวะการซื้อขายยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 17.18 จุด หรือ 0.14% แตะที่ 12,096.16 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 6.03 จุด หรือ 0.48% ปิดที่ 1,257.81 จุด และดัชนี Nasdaq ดีดขึ้น 28.98 จุด หรือ 1.09% ปิดที่ 2,686.20 จุด

ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่เพียง 3.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในรอบ 200 วันที่ผ่านมาที่ระดับ 4.4 พันล้านหุ้น

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้ปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนต.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% เพราะได้แรงหนุนจากยอดขายในกลุ่มยานยนต์และวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งสามารถชดเชยการลดลงของยอดค้าปลีกน้ำมันเบนซินที่สถานีบริการทั่วประเทศ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะก้าวเข้าสู่ไตรมาส 4 อย่างคึกคัก

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ดัชนีการผลิตในรัฐนิวยอร์ก (Empire State Index) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 0.6 จุดในเดือนพ.ย. จากระดับ -8.5 ของเดือนต.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมด้านการผลิตของรัฐที่มีขนาดใหญ่อย่างนิวยอร์กนั้น เริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว

นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐเมื่อกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง 0.3% ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยับลงเพียง 0.1% เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีดีดขึ้นไปยืนเหนือระดับ 7% อีกครั้งเมื่อวานนี้ ซึ่งต้นทุนการกู้ยืมที่สูงจนถึงระดับที่เป็นอันตรายเช่นนี้ ทำให้เกิดความกังวลว่ารัฐบาลอิตาลีอาจจะเผชิญกับภาระอันหนักหน่วงในการชำระหนี้

ส่วนผลการประมูลขายพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีในวันนี้ 14 พ.ย.ระบุว่า รัฐบาลอิตาลีสามารถระดมทุนจากการขายพันธบัตรได้ทั้งสิ้น 3 พันล้านยูโร แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.29% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน และสูงกว่าระดับ 5.32% ของการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว

ทั้งนี้ นักลงทุนกังวลว่า วิกฤตหนี้สาธารณะอาจฉุดรั้งเศรษฐกิจยุโรปให้เข้าสู่ภาวะถดถอยในไม่ช้านี้ แม้เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัว 0.5% ในไตรมาสที่ 3 ก็ตาม

รายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งของสหรัฐช่วยหนุนหุ้นกลุ่มห้างค้าปลีกทะยานขึ้นถ้วนหน้า รวมถึงหุ้นแซคส์ อิงค์ พุ่งขึ้น 1.7%

หุ้นสแตปเพิล อิงค์ ดิ่งลง 3.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่น้อยเกินคาดและยังได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการปี 2554 ขณะที่หุ้นเดลล์ อิงค์ ร่วงลง 2% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่น้อยเกินคาดเช่นกัน

หุ้นวอล-มาร์ท ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐ ร่วงลง 2.43% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาสที่ 3 ลดลง 2.9% สู่ระดับ 3.33 พันล้านดอลาร์ หรือ 97 เซนต์ต่อหุ้น เทียบกับไตรมาส 3 ปีที่แล้วที่ 3.43 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดวอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค. และธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนต.ค.

วันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. และกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ส่วนวันศุกร์ คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนต.ค.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 233

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 08:42:59 น.
รัฐบาลสเปนเปิดเผยว่า สเปนสามารถระดมทุนจากการออกพันธบัตรอายุ 12 และ 18 เดือนเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.2 พันล้านยูโร โดยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงกว่า 5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 หรือสูงสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งตัวเลขดังกล่าวกำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทำให้เกิดความกังวลว่า วิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะทวีความรุนแรงและลุกลามเป็นวงกว้าง

อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า รัฐบาลอิตาลีจะต้องแบกรับภาระการจ่ายหนี้มูลค่ามหาศาล ขณะที่เศรษฐกิจสเปนกำลังเข้าขั้นวิกฤตในขณะนี้ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติสเปนเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ของสเปน ไม่มีการขยายตัว ส่วนจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 0.2%

คณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เศรษฐกิจที่หยุดชะงักของสเปนกำลังส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณของสเปน ซึ่งรัฐบาลอาจจะต้องเร่งลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้สเปนตกเป็นเหยื่อของวิกฤตหนี้รายต่อไป
Shita
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 234

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับข่าวดี ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 235

โพสต์

ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 14:37:49 น.
๑. เศรษฐกิจกรีซโดยรวมยังคงหดตัว
โดย ELSTAT ได้รายงานว่าในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ยอดขายปลีกทั้งในด้านปริมาณและรายได้ลดลง ซึ่งเป็นผลจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลและการว่างงานที่เพิ่มขึ้นที่ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายลง แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (กรกฎาคม ๒๕๕๔ ลดลง ๔.๓% และ ๒.๕% ตามลำดับ) เนื่องจากได้รับผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวและการลดราคาช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ดี ELSTAT คาดว่าในช่วงหลังของปี ๒๕๕๔ การค้าปลีกจะมีการขยายตัวติดลบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความสามารถด้านรายได้เพี่อใช้จ่ายที่ลดลงอาจเป็นผลเนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดนั่นเอง

๒. นอกจากนี้ ELSTAT ได้รายงานข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจ ดังนี้
๒.๑ การว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ กรีซมีอัตราการว่างงานเท่ากับ ๑๖.๕% ของกำลังแรงงาน เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่เท่ากับ ๑๒.๐ % และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เท่ากับ ๑๖.๐% โดยมีจำนวนคนงาน ๘๒๐,๒๗๖ คน เพิ่มขึ้น ๒๑๓,๒๔๑ คน (+๓๕.๑%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น ๒๖,๕๙๑ คน (+๓.๔%) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

๒.๒ การจ้างงาน ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ กรีซมีจำนวนการจ้างงาน ๔,๑๔๐,๐๐๗ คน ลดลง ๒๒๙,๑๑๘ คน (-๐.๕% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า)

๒.๓ ภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น ๓.๑% จาก ๑.๗% ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบ้านพักอาศัยและการคมนาคมขนส่ง แยกรายละเอียดได้ดังนี้

- อาหาร/เครื่องดื่ม +๒.๒ %

- สุรา/ยาสูบ +๕.๘ %

- เสื้อผ้า/รองเท้า +๒.๘ %

- บ้านพักอาศัย +๘.๓ %

- การคมนาคมขนส่ง +๔.๘ %

- การสื่อสารโทรคมนาคม +๐.๖ %

- โรงแรม/ร้านอาหาร +๒.๙ %

- สินค้าและบริการอื่นๆ +๒.๗ %

- ด้านสุขภาพ -๐.๗ %

- การพักผ่อนหย่อนใจ -๐.๓ %

- การศึกษา -๐.๔ %

๒.๔ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ๑๑.๗% แยกเป็นการผลิตด้านเหมืองแร่ลดลง -๐.๕% การผลิตด้านโรงงาน (โดยเฉพาะสินค้าน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องจักร) ลดลง -๑๑%การผลิตไฟฟ้าลดลง -๑๖.๗% และการผลิตน้ำลดลง -๒.๓%

๒.๕ ยอดการจดทะเบียนรถยนต์ ในช่วง ๑๐ เดือน (มกราคม -ตุลาคม) ของปี ๒๕๕๔ มียอดการจดทะเบียนรถยนต์ (รถใหม่และรถที่ใช้แล้ว) จำนวน ๑๖๘,๙๘๑ คัน และมียอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่จำนวน ๕๖,๔๐๙ คัน ลดลง ๓๑.๗% และ ๑๔.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

๓. หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเอเธนส์ (Athens Chamber of Commerce and Industry- EBEA)

ได้รายงานผลการวิจัยเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางธุรกิจในกรีซซึ่งได้สำรวจเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ โดยการสอบถามจากผู้ประกอบการ ๑,๑๐๔ บริษัท สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

- ๘๒% ของผู้ตอบแบบสอบถามแจ้งว่าอัตราภาษีและการจ่ายประกันสังคมที่สูง และภาระภาษีอื่นๆมีผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้กำไรลดลงและบั่นทอนกิจกรรมทางธุรกิจ

- ปัญหาที่สำคัญที่สุดได้แก่ อุปสรรคในการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ระบบราชการที่ยุ่งยากและล่าช้า การคอรัปชั่นสูง การหลบเลี่ยงภาษีสูง และการค้าแบบใต้ดิน

- ปัญหาสำคัญในระดับรองลงมาได้แก่ ต้นทุนค่าจ้าง ต้นทุนด้านค่าเช่าและการค้า การขาดสภาพคล่องของตลาดในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากระบบธนาคารที่ไม่ได้รับเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ปัญหาความล่าช้าในการแปรรูปวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านวิชาชีพให้เป็นสากล รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงก็เป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน

๔. การขาดดุลงบประมาณ
กระทรวงการคลังกรีซได้รายงานว่าในช่วง ๙ เดือน (มกราคม - กันยายน) ของปี ๒๕๕๔ กรีซขาดดุลงบประมาณ ๑๙.๑๖๑ พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งขาดดุล ๑๖.๖๕๐ พันล้านยูโร (ลดลงเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่คาดไว้ที่ ๑๙.๒๔๒ พันล้านยูโร) โดยมีรายได้งบประมาณสุทธิ ๓๔.๙๘๐ พันล้านยูโร ลดลง ๔.๒% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง ๕.๓% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า (มกราคม - สิงหาคม ๒๕๕๔) รวมทั้งรายได้จากโครงการลงทุนสาธารณะที่เพิ่มขึ้น ๓.๒% (หรือเพิ่มขึ้น ๕๒๙ ล้านยูโร)

ด้านงบประมาณรายจ่ายปกติในช่วง ๙ เดือน (มกราคม - กันยายน) ของปี ๒๕๕๔ กรีซใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ๗.๐% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาระการจ่ายดอกเบี้ย, การอุดหนุนให้กองทุนประกันสังคม และผลประโยชน์ต่างๆที่ให้แก่ผู้ตกงานรวมทั้งการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โรงพยาบาลของรัฐในจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น

ส่วนข้อมูลจาก ELSTAT รายงานว่าในปี ๒๕๕๓ กรีซขาดดุลงบประมาณสูงถึง ๑๐.๖% ของ GDP (ประมาณการไว้ ๑๐.๕%) หรือเท่ากับ ๒๔.๑ พันล้านยูโร และมีหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นถึง ๑๔๔.๙% ของ GDP (เดิมเท่ากับ ๑๔๒.๘% ของ GDP)

ทั้งนี้ กรีซจะต้องลดการขาดดุลงบประมาณลงให้ได้ตามที่ตกลงกับสหภาพยุโรปคือไม่เกิน ๓% ของ GDP ในปี ๒๕๕๗ และได้งบประมาณเบื้องต้นเกินดุลย์ในปี ๒๕๕๕

๕. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกรีซ ( นาย Evangelos Venizelos) คาดการณ์ว่าในช่วง ๔ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ การคลังของประเทศจะอ่อนไหวอย่างมาก เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจกรีซจะถดถอยมากกว่าที่คาดไว้ โดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบที่ - ๔.๕% (เดิมคาดไว้ -๓%)

๖. ผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป
เมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ประชุมได้ตกลงเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ โดยการให้ผู้ลงทุนเอกชนที่สมัครใจ ( Private sector involvement- PSI) เข้าร่วมมาตรการตัดลดหนี้ โดยการนำพันธบัตรเงินกู้ที่ถือไว้มาแลกพันธบัตรใหม่ที่ลดมูลค่าลง ๕๐% การลดอัตราดอกเบี้ยลง ๔% และขยายเวลาครบกำหนดชำระคืนออกไป ๑๕-๓๐ ปี ซึ่งคาดว่าจะลดหนี้ที่สะสมลงได้ ๒๖ พันล้านยูโร (หรือคิดเป็น ๑๒% ของ GDP) และทำให้หนี้สาธารณะกรีซลดลงเหลือ ๑๒๐% ของ GDP ในปี ๒๕๖๓ ก่อนหน้านี้กรรมาธิการยุโรปได้คาดว่าหนี้สาธารณะของกรีซจะเพิ่มสูงขึ้นจาก ๑๔๒.๘% ของ GDP ในปี ๒๕๕๓ เป็น ๑๕๗.๗% ของ GDP ในปี ๒๕๕๔ และ ๑๖๖.๑% ของ GDP ในปี ๒๕๕๕ รายละเอียดมาตรการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นเป็นรูปธรรมในปลายปี ๒๕๕๔ และสามารถเปิดให้นักลงทุนนำพันธบัตรเดิมมาแลกพันธบัตรใหม่ได้ในช่วงต้นปี ๒๕๕๕

นอกจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความยุ่งเหยิงของตลาดการเงินในปีหน้า ประเทศยูโรโซนและ IMF ก็จะให้เงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติมอีก ๑๓๐ พันล้านยูโร (สำหรับมาตรการ PSI วงเงิน ๓๐ พันล้านยูโร และวงเงิน ๑๐๐ พันล้านยูโร สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อป้องกันการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ และการจำกัดไม่ให้เกิดวิกฤตการเงินต่อเนื่องในภูมิภาค)

กรีซจำเป็นจะต้องได้รับเงินกู้งวดต่อไปจากสหภาพยุโรปและ IMF จำนวน ๘ พันล้านยูโร (วงเงินทั้งสิ้น ๑๑๐ พันล้านยูโร) เนื่องจากคาดว่าเงินสดสำรองฉุกเฉินของประเทศจะหมดลงในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาระการจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน และเงินบำนาญแก่ข้าราชการ, หนี้สินกว่า ๖ พันล้านยูโร สำหรับค่าเครื่องมือ/อุปกรณ์และสัญญาจ้างตามโครงการของรัฐ รวมทั้งการจ่ายคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออกกรีซด้วย

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกรีซได้กล่าวย้ำว่ามาตรการดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจต่อความยั่งยืนของหนี้สาธารณะกรีซในระยะยาว รวมทั้งเป็นการรับประกันสภาพคล่องของเงินทุนและระบบธนาคารของกรีซมิให้เกิดการขาดทุน และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศที่มีเป้าหมายจะลดหนี้สาธารณะลงเหลือ ๑๒๐% ของ GDP ในปี ๒๕๖๓ ซึ่งหากไม่มีมาตรการตัดลดหนี้ดังกล่าว กรีซจะมีหนี้สาธารณะในปี ๒๕๖๓ สูงถึง ๑๗๓% ของ GDP และเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่ออกมาตรการรัดเข็มขัดที่ส่งกระทบต่อประชาชนนอกเหนือจากที่ได้ออกมาตรการมาแล้วตามแผนมาตรการรัดเข็มขัดสำหรับปี ๒๕๕๔- ๒๕๕๕ โดยแผนมาตรการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณในปี ๒๕๕๕ ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าสู่พิจารณาของรัฐสภา งบประมาณจะถูกตัดลง ๒๗ ล้านยูโร เมื่อเทียบกับงบประมาณปี ๒๕๕๔

๗. ธนาคารกรีซได้แข่งกันเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่สูงขึ้นตั้งแต่ระดับ ๑% - ๕% เพื่อจูงใจลูกค้าให้กลับมาฝากเงินและหยุดยั้งแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเงินฝากหดตัวอันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ, โดยเงินฝากที่สูงกว่า ๕,๐๐๐ ยูโร อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน ๔.๘% (หรือดอกเบี้ยประมาณ ๒๒๐ ยูโรต่อปี) ส่วนเงินฝากที่เกินกว่า ๒๕,๐๐๐ ยูโร อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ ๕% (คิดเป็นดอกเบี้ย ๑,๒๐๐ ยูโรต่อปี) ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารจะแตกต่างกันระหว่าง ๒-๕%

๘. เมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ได้มีการลงนามใน MOU ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านอุตสาหกรรมและการก่อสร้างจำนวนรวม ๔ ฉบับมูลค่า ๕๗๓ ล้านยูโร ระหว่างรมต. กระทรวงพัฒนาของกรีซ (นาย Michalis Chrysohoidis) และรมช. กระทรวงการค้าจีน (นาย Zhong Shan) การประชุมสภาธุรกิจซึ่งจัดขึ้นโดยหอการค้ากรีซ-จีน ภายใต้สภาผู้ประกอบธุรกิจเฮเลนิค (The Hellenic Federation of Enterprises - SEV) และองค์กรวิจัยเพื่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (The Foundation for Economic and Industrial Research - IOBE) โดยมีจำนวนผู้แทนการค้าจากจีนจำนวน ๓๕ ราย จากกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ธนาคาร พลังงาน เครื่องไฟฟ้า รถไฟ และอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ อาหาร กระจก และเสื้อผ้า

ทั้งนี้ ฝ่ายจีน (นาย Jia Qinglin ประธานสภาแห่งจีน) ได้เน้นว่าจีนสนใจที่จะนำเข้าหินอ่อน, น้ำมันมะกอก และไวน์จากกรีซ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนของจีนในกรีซในสาขาพลังงานท่าเรือและสาธารณูปโภคต่างๆ และในด้านการค้าก็มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมายาวนาน โดยในปี ๒๕๕๓ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันถึง ๔.๓๕ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง ๑๘.๔% ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ส่วนในด้านการลงทุนกรีซได้มีการลงทุนในจีนมูลค่า ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่จีนมีการลงทุนในกรีซมูลค่า ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ

๙. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของกรีซ
๙.๑ กรีซมีการส่งออกเฉลี่ยปีละ ๒๐ พันล้านยูโร หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า ๑๐% ของ GDP โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซ (The Helenic Statistical Authority - ELSTAT) ได้รายงานดุลการค้าของกรีซ ในช่วง ๘ เดือน (มกราคม - สิงหาคม) และในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (เป็นข้อมูลที่ไม่รวมสินค้าน้ำมัน)

๙.๒ ข้อมูลจาก EUROSTAT ล่าสุด (มกราคม - กรกฎาคม) ของปี ๒๕๕๔ ปรากฎดังนี้
(๑) การส่งออก กรีซส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรปเกือบ ๕๐% โดยมีประเทศที่กรีซส่งออกสำคัญได้แก่ อิตาลี (สัดส่วน ๙.๙๑%) เยอรมัน (๘.๐๙%) ตรุกี (๗.๗๑%) ไซบรัส (๖.๑๒%) สหรัฐอเมริกา (๖.๐๒%) บัลแกเรีย (๕.๕๓%) สหราช-อาณาจักร (๔.๑๖%) ฝรั่งเศส (๓.๒๘%) และโรมาเนีย (๒.๘๕%)

สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินแร่และน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ยา อะลูมิเนียม พลาสติก เครื่องจักรไฟฟ้า อาหาร สำเร็จรูป เครื่องจักร และเหล็ก

(๒) การนำเข้า กรีซยังคงนำเข้าจากประเทศสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยมีประเทศที่กรีซนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วน ๑๑.๗๓%) อิตาลี (๑๐.๒๑%) รัสเซีย (๗.๗๐%) จีน (๖.๒๘%) ฝรั่งเศส (๕.๙๐%) เนเธอร์แลนด์ (๕.๘๔%) เบลเยี่ยม (๓.๙๕%) สเปน (๓.๕๐%) สหราชอาณาจักร (๓.๐๓%) และตรุกี (๒.๙๔%) เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ในภาพรวมกรีซจะนำเข้าลดลงถึง ๑๔.๓๙% โดยนำเข้าลดลงจากแทบทุกประเทศแต่กรีซยังคงนำเข้าจากจีนมากเป็นอันดับที่ ๔ (นำเข้าจากไทยอันดับที่ ๔๔) และมีประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินเดีย (อันดับที่ ๒๑ สัดส่วน ๑.๑๕%) อินโดนีเซีย (อันดับที่ ๔๑ สัดส่วน ๐.๓๔%) ไต้หวัน (อันดับที่ ๔๒ สัดส่วน ๐.๓๓%) และมาเลเซีย (อันดับที่ ๕๐ สัดส่วน ๐.๒๒%)

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยา เรือ เครื่องจักร เครื่องเรือจักร เครื่องจักรไฟฟ้า สินแร่และน้ำมัน ยานพาหนะ พลาสติก และเหล็ก

๑๐. ตัวชี้วัดเศรษฐกิจกรีซ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
จำนวน % เปลี่ยนแปลงเมื่อ % เปลี่ยนแปลง

เทียบกับเดือนก่อน/ เมื่อเทียบกับช่วง
ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน
๑. ผลผลิตอุตสาหกรรม (ส.ค. ๒๕๕๔) -๗.๗ % -๑๑.๗ %

๒. คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (ส.ค. ๒๕๕๔) -๒๔.๒ % -๑.๙ %

๓. การบริโภค (ส.ค. ๒๕๕๔) -๖.๔ % -๑.๑ %

๔. ภาวะเงินเฟ้อ (ก.ย. ๒๕๕๔) +๓.๓ % +๓.๑ %

๕. อัตราการว่างงาน (ก.ค. ๒๕๕๔) ๑๖.๕ % +๐.๕ % +๔.๕ %

(จำนวนคนว่างงาน) ๘๒๐,๒๗๖ คน

๖. จำนวนคนที่ได้รับการจ้างงาน(ก.ค. ๔,๑๔๐,๐๐๗ คน - -

๒๕๕๔) ๔๐,๙๐๘ +๘.๕ % -๖.๙ %

๗. GDP (ไตรมาสสองปี ๕๔/ล้านยูโร)
ที่มา : Hellenic statistical Authority
๑๑. การค้าไทย- กรีซ
๑๑.๑ ในช่วง ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ (มกราคม - กันยายน) ไทยส่งออกสินค้าไปกรีซทั้งสิ้นมูลค่า ๑๓๖.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๑๖๔.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๑๖.๖๕%

สินค้าส่งออกสำคัญ ๕ อันดับแรกได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมูลค่า ๑๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๒๗.๘๕%) เม็ดพลาสติกมูลค่า ๑๔.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๓๒๔.๒๕%) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่า ๑๒.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๗๘.๘๖%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบมูลค่า ๑๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ(+๓.๗๖%) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์มูลค่า ๘.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๓.๐๗%)

สินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญ ได้แก่ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-๗๘.๘๖%) อัญมณีและเครื่องประดับ (-๕๑.๗๔%) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (-๔๒.๓๙%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-๒๗.๘๕%) และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-๑๕.๗๘%)

สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ เม็ดพลาสติก (+๓๒๔.๒๕%) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (+๖๐,๒๒๕.๐%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+๗๑๗.๒๙%) ยางพารา (+๑๘๘.๙๖%) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+๗๙.๓๖%)

๑๑.๒ ในช่วง ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-ก.ย.) ไทยนำเข้าสินค้าจากกรีซทั้งสิ้นมูลค่า ๒๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งนำเข้ามูลค่า ๒๗.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๐.๙๗%

สินค้านำเข้า ๕ อันดับแรกได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ มูลค่า ๑๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๑๘.๗๕%) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ มูลค่า ๓.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๒.๗๙%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบมูลค่า ๒.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๕๘.๗๙%) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ มูลค่า ๑.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๙๕.๔๓%) และเคมีภัณฑ์มูลค่า ๑.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๔.๓๕%)

สินค้านำเข้าที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-๖๒.๘๗%) ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก (-๖๒.๖๖%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (-๕๖.๕๓%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (-๕๘.๗๙%) เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคำ (-๕๖.๔๕%)

๑๑.๓ คาดว่าในช่วง ๓ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ การส่งออกสินค้าไทยไปกรีซยังคงชะลอตัว โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น ๑๘๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ต่ำกว่าประมาณการตั้งไว้ ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เนื่องจากการที่รัฐบาลได้ออกแผนมาตรการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการหารายได้และความต้องการซื้อของประชาชนลดลง รวมทั้งการว่างงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลังกรีซคาดว่าเศรษฐกิจกรีซในช่วง ๔ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ จะถดถอยมากขึ้น โดยมี GDP ติดลบที่ -๔.๕%

สินค้าที่คาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง เม็ดพลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 236

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2554 06:04:27 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) หลังจากฟิทช์ เรทติ้งส์ เตือนว่า ธนาคารของสหรัฐจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหากวิกฤตหนี้ยุโรปลุกลามหรือไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลให้หุ้นธนาคารรายใหญ่ รวมถึงหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลงอย่างหนัก

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 190.57 จุด หรือ 1.58% ปิดที่ 11,905.59 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 20.90 จุด หรือ 1.66% ปิดที่ 1,236.91 จุด ดัชนี Nasdaq ร่วงลง 46.59 จุด หรือ 1.73% ปิดที่ 2,639.61 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงของสหรัฐ รวมทั้งข่าวการเปลี่ยนเส้นทางการเดินท่อส่งน้ำมันดิบซีเวย์จากเขตกัลฟ์โคสต์ ไปเป็นเมืองคุชชิง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเก็บสต็อกน้ำมัน

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 3.22 ดอลลาร์ หรือ 3.24% ปิดที่ 102.59 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 102.89 - 98.39 ดอลลาร์

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) เนื่องจากการร่วงลงของตลาดหุ้นและการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ได้ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขายในตลาดทองคำ และทำให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย แม้ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรปอยู่ก็ตาม

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 7.9 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 1,774.3 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1774.3 - 1760.0 ดอลลาร์

-- สกุลเงินยูโรยังคงอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีและฝรั่งเศสยังคงเป็นปัจจัยที่สร้างความวิตกกังวลว่า ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นจะทำให้สองประเทศยักษ์ใหญ่แห่งยูโรโซนเผชิญกับความยากลำบากในการชำระหนี้

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง 0.29% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3492 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3531 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ร่วงลง 0.39% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5751 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5813 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.12% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.980 เยน จากระดับ 77.070 เยน และแข็งค่าขึ้น 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9176 ฟรังค์ จากระดับ 0.9154 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.74% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0101 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0176 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.69% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7655 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7708 ดอลลาร์สหรัฐ

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (16 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป อย่างไรก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ขยับลงเพียงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนขายรับบข่าวที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลี

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 5509.02 จุด ลบ 8.42 จุด
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 237

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 19:59:21 น.
รัฐสภากรีซจะลงมติไว้วางใจรัฐบาลชุดใหม่โดยการนำของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ในวันนี้ โดยภารกิจที่รอนายปาปาเดมอสอยู่คือ การขอรับความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.3 แสนล้านยูโร เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศและทำให้กรีซยังคงเป็นสมาชิกยูโรต่อไป

รายงานระบุว่านายปาปาเดมอสน่าจะผ่านความเห็นชอบอย่างไม่ยากเย็น โดยสมาชิกรัฐสภาราว 250 ที่นั่งจากทั้งหมด 300 ที่นั่ง สนับสนุนให้นายปาปาเดมอสเป็นนายกรัฐมนตรี

"สิ่งที่จะเกิดขึ้น ณ ที่นี้ถือเป็นโอกาสสุดท้ายของประเทศ โอกาสที่ต้องทำอย่างเต็มที่" นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซ กล่าวเมื่อวานนี้

ส่วนที่อิตาลีนั้น นายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ก็กำลังจะเผยโฉมรัฐบาลชุดใหม่

สื่อในอิตาลีรายงานว่า นายมอนติจะเข้าพบประธานาธิบดีจอร์จิโอ นโปลิตาโน เพื่อแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการว่า สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว โดยจะนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีไปนำเสนอด้วย

อย่างไรก็ดี รายงานระบุว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะมีแต่นักวิชาการ หรือมีนักการเมืองรวมอยู่ด้วย

มีการคาดการณ์ว่านายมอนติจะเสนอชื่อคณะรัฐมนตรีและแผนงานของรัฐบาลต่อรัฐสภาภายในสุดสัปดาห์นี้ และเขาจะเริ่มทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองจากรัฐสภาแล้ว

ทั้งนี้ นายมอนติถูกกดดันให้จัดตั้งรัฐบาลที่สามารถลดหนี้สาธารณะและฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศได้ ซึ่งเขากล่าวว่า อิตาลีจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเสียสละครั้งใหญ่ และหากเขาจะใช้มาตรการรัดเข็มขัดครั้งใหญ่แบบเต็มที่ เขาจะต้องแสดงให้เห็นว่าเขาได้รับการหนุนหลังจากรัฐสภา

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 238

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 20:04:57 น.
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อรายปีในยูโรโซนยังคงทรงตัวอยู่ที่ 3.0% ในเดือนตุลาคม ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันที่ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 2%

เมื่อเทียบเป็นรายเดือน อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศ อยู่ที่ 0.3%

สำหรับอัตราเงินเฟ้อรายปีในสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ อยู่ที่ 3.4% ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นจากระดับ 3.3% ในเดือนกันยายน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อรายเดือนอยู่ที่ระดับ 0.3%

ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศสมาชิก สวีเดนเป็นประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อรายปีต่ำที่สุดในเดือนตุลาคม ที่เพียง 1.1% ตามด้วยไอร์แลนด์ 1.5% มอลตา 2.4% ขณะที่อังกฤษมีอัตราเงินเฟ้อรายปีสูงสุดที่ 5.0% ตามมาด้วยเอสโทเนีย 4.7% และสโลวาเกีย 4.6%

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงก็คือ ต้นทุนพลังงานและเชื้อเพลิงที่ปรับตัวขึ้น โดยเงินเฟ้อจากค่าขนส่งอยู่ที่ระดับ 5.8% และหากไม่รวมราคาพลังงาน เงินเฟ้อในยูโรโซนจะอยู่ที่ 2% สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 239

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2554 07:38:15 น.
ตลาดหุ้นยุโรปทรงตัวเมื่อคืนนี้ (16 พ.ค.) โดยภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอิตาลี รวมทั้งความกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

ดัชนี Stoxx Europe 600 Index ปิดทรงตัวที่ระดับ 237.04 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3064.90 จุด บวก 15.77 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5913.36 จุด ลบ 19.78 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5509.02 จุด ลบ 8.42 จุด

ในช่วงเช้านั้น ตลาดหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเข้าซื้อพันธบัตรของอิตาลีและสเปน แต่หลังจากนั้นไม่นาน ตลาดก็เริ่มแกว่งตัวผันผวน เมื่อ ซอร์เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ กล่าวว่า เศรษฐกิจอังกฤษอาจอยู่ในภาวะชะงักงันจนถึงกลางปีหน้า พร้อมกับระบุว่าวิกฤตหนี้ยูโรโซนเป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดที่อังกฤษเผชิญ

นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2554 และ 2555 เหลือขยายตัวราว 1% พร้อมกับเตือนว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ลง

นายมาริโอ มอนติ ได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีแล้ว แต่นายมอนติยังต้องพยายามหาเสียงสนับสนุนจากนักการเมืองอิตาลีให้ได้มากพอเพื่อที่คณะรัฐมนตรีของเขาจะสามารถเร่งรัดการปฏิรูปที่จำเป็นได้ นอกจากนี้ อิตาลีจำเป็นต้องระดมทุนจำนวนมากเพื่อนำมาชำระหนี้พันธบัตรเก่าราว 2 แสนล้านยูโร (2.73 แสนล้านดอลลาร์) ก่อนสิ้นเดือนเม.ย. 2555 ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ยากลำบาก

หุ้นอินฟิเนียน เทคโนโลยีส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์รายใหญ่อันดับสองของยุโรป ดิ่งลง 3% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ยอดขายในปีหน้า เนื่องจากยอดสั่งซื้อลดลง

หุ้นบีเอ็มดับเบิลยู และหุ้นเดมเลอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 3.2% และ 0.9% ตามลำดับ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 240

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2554 11:58:23 น.
นายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลของกรีซ ได้เปิดฉากการเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดของการปรับลดมูลค่าพันธบัตรของกรีซ หรือการทำ haircut ในการประชุมร่วมกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเป็นสมาคมการเงินชั้นนำระดับโลกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน และเป็นตัวแทนของหน่วยงานกว่า 430 แห่งทั่วโลกที่เป็นสมาชิก

แถลงการณ์ของสำนักนายกรัฐมนตรีกรีซระบุว่า นายปาปาเดมอสได้เจรจากับ IIF เพื่อขอให้สถาบันการเงินที่ถือครองพันธบัตรหนี้กรีซอยู่นั้น ลดมูลค่าพันธบัตรลง 50% ตามข้อตกลงในที่ประชุมผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่คนอื่นๆของกรีซก็ได้เจรจากับนายธนาคารในยุโรป เกี่ยวกับความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาหนี้กรีซอย่างยังยืน

ทั้งนี้ นายปาปาเดมอสได้แสดงความเชื่อมั่นว่า กรีซและยูโรโซนจะสามารถเอาชนะวิกฤตหนี้สาธารณะได้ด้วยการใช้มาตรการที่รวดเร็วและเด็ดขาด พร้อมระบุว่า เป้าหมายหลักของรัฐบาลเฉพาะกาลของเขาคือการทำให้กรีซมีคุณสมบัติในการรับเงินกู้เบิกจ่ายงวดที่ 6 เพื่อที่จะช่วยให้กรีซไม่ต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ในเดือนก.ค.นี้

ด้านนายชาร์ลส์ ดาลลารา ผู้อำนวยการ IIF ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่กรุงเอเธนส์ว่า เขามีมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับผลการเจรจาโครงการการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (PSI)

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ทั้งในและต่างประเทศต่างก็แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการใช้มาตรการที่เพิ่งมีการบรรลุข้อตกลงไปเมื่อเดือนที่แล้ว และมุมมองที่แตกต่างกันของทั้ง 2 ฝ่ายเกี่ยวกับแผนการทำสว็อปหนี้ เช่นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรชุดใหม่ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้ถือพันธบัตรเอกชนจะขาดทุนมากน้อยเพียงใด สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--