อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B0.html

http://bit.ly/kOfpGk

การเงิน - การลงทุน : การเงินส่วนบุคคล
วันที่ 12 มิถุนายน 2554 10:00
อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โดย : สรวิศ อิ่มบำรุง

Fundamentals นำเสนอการลงทุนตามวงจรเศรษฐกิจพร้อมอัพเดทมุมมองตลาดหุ้นในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกมาฝากกัน

มีการศึกษาพบว่า “วงจรเศรษฐกิจ” ที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปรไปมานั้น มีความสัมพันธ์กับจังหวะในการลงทุนของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
โดยการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทจะให้ “ผลตอบแทน” ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของวงจรเศรษฐกิจนั่นเอง
นอกจากนักลงทุนควรจะมีความรู้ความเข้าใจใน “สินทรัพย์การลงทุน” ประเภทต่างๆ แล้ว เช่น เงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้น หรือสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว
ยังต้องตระหนักและเข้าใจถึง “ความเสี่ยง” ที่ตัวเองสามารถยอมรับได้ด้วย เพื่อที่จะได้เลือกการลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเอง
แล้วจะดีกว่ามั้ย หากผู้ลงทุนสามารถมองวงจรเศรษฐกิจได้ด้วยตัวเอง เพื่อเลือกการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเองในแต่ละช่วงเศรษฐกิจได้ด้วย
Fundamentals สัปดาห์นี้ มีเรื่องราวของการลงทุนตามวงจรเศรษฐกิจพร้อมอัพเดทมุมมองตลาดหุ้นในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกมาฝาก
..................
@ มองรอบเศรษฐกิจให้ออก
เรื่องนี้ “ธีรพันธุ์ จิตตาลาน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร บลจ.ฟินันซ่า แนะนำว่า วัฏจักรเศรษฐกิจและการลงทุนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างชัดเจน โดยในแต่ละช่วงเศรษฐกิจนั้นจะมีการลงทุนที่เหมาะสมในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลในอดีตพบว่าในช่วงที่เศรษฐกิจเป็นขาขึ้นนั้น การลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์จะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกับผู้ลงทุน โดยราคาหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์มักจะมีการปรับตัวขึ้นและลงก่อนการปรับตัวขึ้นลงของเศรษฐกิจด้วย เพราะเป็นการซื้อขายบนความคาดหวังของสภาพเศรษฐกิจในอนาคต ในทางตรงข้ามในช่วงที่เศรษฐกิจเป็นขาลงการลงทุนในตราสารหนี้มักจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกับผู้ลงทุนด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากนักลงทุนสามารถคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจได้ก็จะสามารถเลือกการลงทุนที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้เช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะได้มีการเผยแพร่ออกไปให้นักลงทุนที่สนใจในวงกว้างได้เข้าใจในประเด็นเหล่านี้ด้วย เพราะการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทจะให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของวงจรเศรษฐกิจนั่นเอง
ช่วงเศรษฐกิจขยายตัว แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ “ช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว” ซึ่งเงินเฟ้อจะลดลงเหมาะแก่การลงทุนใน “หุ้น” และต่อด้วย “ช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู” เป็นช่วงที่เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวขึ้นและเหมาะกับการลงทุนใน “สินค้าโภคภัณฑ์” ดังนั้นในช่วงของเศรษฐกิจขยายตัว การลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์จึงเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด โดยหุ้นที่เลือกลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวนี้ควรเป็นหุ้นกลุ่ม Cyclical และกลุ่มวัตถุดิบการผลิตที่จะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจมีการเติบโตนั่นเอง
ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว แบ่งเป็น 2 ช่วง เช่นเดียวกัน ได้แก่ “ช่วงเศรษฐกิจถดถอย” แต่ยังมีเงินเฟ้อที่สูงอยู่ ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะกับการลงทุนใน “เงินฝาก” ก่อนจะต่อด้วย “ช่วงเศรษฐกิจถดถอย” และมีเงินเฟ้อลดลง ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะกับการลงทุนใน “พันธบัตรรัฐบาล” ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวนี้จึงเหมาะกับการลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก อย่างไรก็ตามหากจะลงทุนในหุ้นๆ กลุ่มที่จะให้ผลตอบแทนดีในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวจะเป็นหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งกลุ่มอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ
“วัฏจักรเศรษฐกิจจะวนเวียนสลับกันไปเช่นนี้ซึ่งนักลงทุนเองสามารถที่จะคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้ ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนด้วย เพียงแต่ปัจจุบันวงจรของเศรษฐกิจอาจจะมีช่วงเวลาที่สั้นขึ้นกว่าในอดีตเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักลงทุนควรจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นเดียวกัน”
@ศก.โตต้องหุ้น-สินค้าโภคภัณฑ์
“วนา พูลผล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) บอกว่า ตาม “นาฬิกาการลงทุนของ บลจ.ยูโอบี (UOBAM Investment Clock)” นั้น แบ่งสินทรัพย์การลงทุนไปตามแนวโน้มของเศรษฐกิจ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ช่วง ด้วยกัน คือ 1) “เศรษฐกิจเติบโต (Boom)” ซึ่งปัจจุบันการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่ได้ฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับก่อนวิกฤติแล้วในขณะที่ของตลาดพัฒนาแล้วน่าจะกลับคืนสู่ระดับเดิมได้ภายในปี 2554 นี้ โดยมีจีน-อินเดียเป็นผู้นำการเติบโตที่โดดเด่น ตามมาด้วยตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่อื่นในโลก ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐก็ส่งสัญญาณการเติบโตขึ้นตามลำดับแต่เป็นเพียงช่วงแรกของการเติบโตเท่านั้น ซึ่งช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตนี้เหมาะกับการลงทุนใน “หุ้น” และ “สินค้าโภคภัณฑ์” เป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดโดยเปรียบเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น
ส่วนยุโรปและญี่ปุ่นเจอเหตุการณ์เฉพาะทั้งปัญหาหนี้ในยุโรปและภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น จึงทำให้เศรษฐกิจยังไม่เติบโตและยังคงอยู่ในช่วงที่ 4) “เศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery)” แต่ก็เป็นช่วงปลายๆ ของการฟื้นตัวแล้วในปัจจุบัน แต่บริษัทก็ยังแนะนำให้เลี่ยงการลงทุนใน 2 ภูมิภาคนี้ไปก่อนเพื่อรอความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวนี้ เงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ การลงทุนใน “อสังหาริมทรัพย์” จะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด
“แต่เมื่อเศรษฐกิจเติบโตถึงที่สุดจะวกกลับเข้าสู่เศรษฐกิจช่วงที่ 2) “เศรษฐกิจชะลอตัว (Slow Down)” ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวนี้นักลงทุนควรจะขายหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ทิ้งแล้วหันมาถือ “เงินสด” แทน เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวนี้เงินเฟ้อจะสูง และราคา “อสังหาริมทรัพย์” จะปรับตัวลดลง ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงที่ 3) “เศรษฐกิจถดถอย (Recession)” ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง การลงทุนใน “ตราสารหนี้” ช่วงเศรษฐกิจถดถอยจึงเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในช่วงนี้”
@ หุ้นตลาดเกิดใหม่น่าสนใจสุด
เรื่องนี้ “สานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล” นักวิเคราะห์กองทุนรวม บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) มองว่า หากมองภาพรวมของตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว "หุ้นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)" ยังน่าสนใจสุด โดยเฉพาะในเอเชียเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามในระยะสั้นในช่วงเดือนพ.ค.2554 ที่ผ่านมานั้น จะเห็นว่าภาพรวมของตลาดหุ้นยังอ่อนไหวกับปัจจัยระยะสั้นจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐ, จีน และการแก้ไขปัญหาหนี้ยุโรป ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก แต่ในระยะยาวยังเชื่อในศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่มากกว่ากลุ่ม G3 (สหรัฐ, ยุโรป และญี่ปุ่น)
และหากมองภาพของ “หุ้นตลาดพัฒนา (Develop Market)” แล้วด้วยกันเองประเทศพัฒนาแล้วที่อยู่ในแถบเอเชียแปซิฟิก เช่น ฮ่องกง, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย กลุ่มนี้มีการฟื้นตัวคล้ายกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เศรษฐกิจของกลุ่มนี้สามารถเรียกได้ว่าฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของจีน หากเป็นตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนายังชอบตลาดในเอเชียแปซิฟิกมากกว่ากลุ่ม G3 เช่นเดียวกัน
“ในช่วงนี้แนะนำให้นักลงทุนหาจังหวะเข้าสะสมหรือถือทองคำในพอร์ตลงทุนในช่วง 5-10% ตามระดับความเสี่ยงของนักลงทุน เพราะมองว่าทองคำจะยังคงได้รับปัจจัยบวกต่อทองคำจากความไม่แน่นอนต่างๆ ในตลาดโลกในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ระยะสั้นราคาทองคำมีโอกาสขึ้นทดสอบจุดสูงสุดก่อนหน้าที่ 1,575 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามปัจจัยระยะสั้นค่อนข้างอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดความผันผวนค่อนข้างง่ายในช่วงนี้ แนะนำให้ทยอยสะสมเมื่อราคาทองคำอ่อนตัวโดยมีแนวรับ 1,480-1,490 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนวต้าน 1,550-1,575 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามยิ่งใกล้หมดมาตรการ QE2 ของสหรัฐในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย.2554 ตลาดทั่วโลกดูจะผันผวนมากขึ้น ดังนั้น การเข้าลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังและติดตามตลาดอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วยเช่นกัน”
@สหรัฐฟื้นแต่ไม่หวือหวาเท่าเอเชีย
สานุพงศ์ บอกว่า ในช่วงหลังเริ่มมีการพูดถึงการลงทุนในหุ้นตลาดพัฒนาแล้วมากขึ้นแต่อยากให้นักลงทุนมีความเข้าใจในภูมิภาคนี้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน ไม่อยากให้มองเพียงภาพกว้างๆ ว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเริ่มมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นเป็นลำดับเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วภายในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตเศรษฐกิจหลักๆ ซึ่งมีพื้นฐานและปัญหาทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการลงทุนในกลุ่มนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่ากองทุนที่ท่านสนใจอยู่กำลังลงทุนที่ไหน เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ เพราะปัจจัยดังกล่าวจะเป็นแหล่งที่มาของอัตราผลตอบแทนแล้ว ขณะเดียวกันก็เป็นต้นตอของความผันผวนและความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนได้ ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วออกได้เป็น สหรัฐ, ยุโรป, ญี่ปุ่น และประเทศพัฒนาแล้วที่อยู่ในโซนเอเชียแปซิฟิก
สำหรับ “สหรัฐ” ในภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐยังคงให้ภาพการฟื้นตัวแต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่ยังไม่มากพอที่จะลดปัญหาการว่างงานในระดับสูงที่ประมาณ 9.0% ได้ ทำให้บริษัทยังคงกังวลต่อความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประมาณ 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐ และที่ต้องจับตาดูกันต่อไปก็คือประเด็นที่ว่า สหรัฐจะสามารถฟื้นตัวได้ด้วยตัวเองหรือไม่หากรัฐบาลซึ่งเริ่มได้รับคำเตือนเกี่ยวกับยอดขาดดุลการคลังเริ่มถอดถอนมาตรการสนับสนุนทั้งหลายออกไป รวมถึงมาตรการ QE2 ที่กำลังจะหมดอายุลงสิ้นเดือนมิ.ย.2554 นี้ ในแง่ของการลงทุนที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐยังคงปรับตัวในแนวโน้มขาขึ้นตามผลประกอบการของหลายๆ บริษัทที่ออกมาดีและจากอานิสงส์ของการควบรวมกิจการที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
“ตลาดหุ้นสหรัฐมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าจากทางเอเชียและตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าการลงทุนในหุ้นสหรัฐจะให้ภาพที่หวือหวาเหมือนที่ตลาดหุ้นในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ทำไว้ในช่วง 2 ปีก่อน เพราะภาพเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ยังเปราะบางจะยังเป็นตัวกดดันผลประกอบการของบริษัทที่ประกอบธุรกิจในประเทศ ขณะที่ความพยายามในการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของกลุ่มเอเชียและตลาดเกิดใหม่อาจกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติของสหรัฐได้ ดังนั้น ตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวในทิศทางขาขึ้นต่อไปได้แต่เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า”
@ ยุโรปควรเลี่ยงไปก่อน
ส่วน “ยุโรป” ในกลุ่ม Euro Zone ที่ประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ นั้น ยังสามารถเเบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ที่เรียกได้ว่าแตกต่างกันแบบสุดขั้ว คือ 1) “กลุ่มประเทศที่ฟื้นตัวจากวิกฤติได้แล้ว” กับ 2) “กลุ่มที่ประสบปัญหาหนี้” มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะการคลังและต้องดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดอย่างเช่นกลุ่ม PIIGS ด้วยความแตกต่างดังกล่าว การที่ทุกประเทศในกลุ่มอยู่ภายใต้นโยบายการเงินแบบเดียวกันจึงไม่เหมาะสม โดยเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2554 ที่ผ่านมา “ธนาคารกลางยุโรป (ECB)” ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยปรับขึ้นอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1.25% เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ แต่อัตราดอกเบี้ยระดับดังกล่าว ยังถือว่าต่ำไปสำหรับประเทศที่เติบโตได้ดีอย่างเยอรมัน, ออสเตรียและเนเธอแลนด์ แต่สูงไปสำหรับประเทศสเปน, ไอร์แลนด์และโปรตุเกส
“ในท้ายที่สุดการดำเนินนโยบายเช่นนี้มีเเนวโน้มที่จะทำให้กลุ่มแรกมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ขณะที่กลุ่มหลังจะเผชิญความยากลำบากในการฟื้นตัว ด้วยความที่ Euro Zone มีปัญหาในเชิงโครงสร้าง ทั้งในแง่ของการดำเนินนโยบายร่วมกันและการแก้ปัญหาหนี้กลุ่มPIIGS จึงอาจทำให้เห็นความผันผวนของค่าเงินยูโร รวมถึงอาจมีแรงกดดันทางจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นได้ไม่น้อย ดังนั้น ภูมิภาคนี้จึงอาจไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงและไม่สามารถทนความผันผวนระยะสั้นได้”
@ ทางเลือกที่ดีกว่าญี่ปุ่นยังมี
สานุพงศ์ ยังบอกอีกว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา “ญี่ปุ่น” ประสบปัญหาภาวะเงินฝืดเรื้อรังที่รัฐบาลพยายามแก้ไขมานาน ซึ่งหนทางที่จะกลับเข้าสู่การฟื้นตัวแบบปกติมีแนวโน้มยืดเยื้อออกไปอีกหลังได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปีที่เกิดขึ้นในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยล่าสุด ทางการญี่ปุ่นได้รายงานตัวเลขการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1/54 ลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มากกว่าตลาดที่คาดว่าจะลดลงเพียง 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หรือลดลงกว่า 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ว่าจะลดลง 2.0% ในช่วงที่ดัชนีนิกเคอิดิ่งลงอย่างหนักนั้น มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยสนใจที่จะเข้าเก็งกำไรในหุ้นญี่ปุ่นอย่างไรก็ตามเนื่องจากกองทุนที่ลงทุนในญี่ปุ่นในไทยในปัจจุบันมีเพียงกองเดียวและค่อนข้างมีข้อจำกัดเรื่องสภาพคล่อง จึงอาจไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการเก็งกำไร
“อีกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับญี่ปุ่นคือภัยพิบัติในครั้งล่าสุดได้สร้างผลกระทบและทำให้พื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยทีเดียวดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลายแห่งก็มีการปรับประมาณการรายได้ลงหรือบางแห่งก็ชะลอการจ่ายปันผลเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในช่วงถัดไป ในแง่การลงทุนระยะยาว ถึงแม้จะมีความหวังว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูประเทศจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เเต่ฐานะทางการคลังเเละยอดหนี้สาธารณะระดับสูงก็อาจกดดันความสามารถในการใช้จ่ายของรัฐบาลได้เช่นกัน ที่สำคัญบริษัทมองว่ายังมีตลาดหุ้นอื่นที่มีความน่าสนใจมากกว่าญี่ปุ่นทั้งในแง่ของความเเข็งเเกร่งทางเศรษฐกิจ ฐานะการคลังของประเทศ รวมถึงมูลค่าพื้นฐานของตลาดหุ้นด้วย”
@ ตลาดหุ้นไทยต้องรอรัฐบาลใหม่
ในส่วนพื้นฐานตลาดหุ้นไทยเองนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้เป้าหมายในปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,200 จุด ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ 2 บลจ. เช่นเดียวกัน โดยธีรพันธุ์ มองว่า พื้นฐานตลาดหุ้นไทยยังดีอยู่ กำไรบริษัทจดทะเบียนในปีนี้น่าจะเติบโตได้ประมาณ 18% ซึ่งจะทำให้สัดส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ในปัจจุบันที่ระดับ 14 เท่า ลงมาอยู่ที่ระดับ 12 เท่า ได้ ซึ่งคิดเป็นเป้าหมายดัชนีที่ระดับประมาณ 1,180 - 1,200 จุด จึงน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ โดยตลาดหุ้นไทยไม่น่าจะหลุดระดับ 1,000 จุด ลงไป การที่สหรัฐไม่ต่อมาตรการ QE-2 ทำให้ตลาดมีความผันผวนในระยะสั้นในช่วง 1 - 2 เดือนต่อจากนี้ อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 เชื่อว่าเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติยังจะไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียรวมทั้งหุ้นไทยด้วย ดังนั้น จุดสูงสุดที่บริษัทมองไว้ จึงน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้
เช่นเดียวกับวนาที่มองว่า ดัชนีเป้าหมายให้ไว้ 1,200 จุด โดยคาดว่าน่าจะเกิดในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 นี้ หลังจากที่การเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว เพราะในช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติบางกลุ่มขายหุ้นออกไปเพราะไม่อยากเสี่ยงกับปัจจัยการเมืองในประเทศของไทย ส่วนที่ยังลงทุนอยู่ก็คือกลุ่มนักลงทุนระยะยาวที่ทนต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยได้ เมื่อการเลือกตั้งแล้วเสร็จทุกอย่างนิ่ง นโยบายต่างๆ ชัดเจน นักลงทุนต่างชาติที่เคยออกไปก็น่าจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง บริษัทประเมินว่ากำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยยังคงเติบโตได้ดีในปีนี้และเป็นปัจจัยสำคัญที่ยังทำให้ภาพรวมของดัชนีตลาดหุ้นไทยออกมาดีอยู่
หากนักลงทุนสามารถเลือกสินทรัพย์การลงทุนให้เหมาะสมกับวงจรเศรษฐกิจแต่ละขณะน่าจะช่วยให้การลงทุนประสบความสำเร็จได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อเลือกประเภทสินทรัพย์ได้ถูกแล้วสิ่งสำคัญคือการเลือกตลาดที่จะไปลงทุนให้ถูกต้องด้วย จึงจะช่วยให้การลงทุนบรรลุเป้าหมายได้ตามที่ตั้งใจไว้
แนบไฟล์
อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ.jpg

ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

http://www.radarwire.com/Home/whatisrw.asp

There is a widely accepted premise that the stock market leads and the economy follows. Building on this premise, it is reasonable to conclude that market cycles will lead economic cycles.
รูปภาพ

Understanding how the emotional cycles of “greed and fear” correlate with market cycles is just as important as understanding the relationship between market cycles and economic cycles. This is because these emotions are the common denominators at the start and end of every investment cycle.
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อักษรตรง Key อาจไม่ชัด เลยลอง Zoom เข้าไป ก็ยังไม่ชัด...พิมพ์ใหม่เลยดีกว่า
และไหนๆ ก็พิมพ์แล้วเลยขยายความหน่อย

1. Consumer Non-Cyclicals สินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่ใช่วัฏจักร
2. Consumer Cyclicals (durable&non) สินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่ใช่วัฏจักร (ทั้งทนทานและไม่ทน)
3. Health Care เกี่ยวกับสุขภาพ
4. Financials การเงิน
5. Technology เทคโนโลยี
6. Basic Industry อุตสาหกรรมพื้นฐาน
7. Capital Goods สินค้าเพื่อช่วยในกระบวนการผลิต
8. Transportation ขนส่ง
9. Energy พลังงาน
10. Utilities สาธารณูปโภค
11. Precious Metals โลหะมีค่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Ii'8N เขียน:อักษรตรง Key อาจไม่ชัด เลยลอง Zoom เข้าไป ก็ยังไม่ชัด...พิมพ์ใหม่เลยดีกว่า
และไหนๆ ก็พิมพ์แล้วเลยขยายความหน่อย

1. Consumer Non-Cyclicals สินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่ใช่วัฏจักร
2. Consumer Cyclicals (durable&non) สินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นวัฏจักร (ทั้งทนทานและไม่ทน)
3. Health Care เกี่ยวกับสุขภาพ
4. Financials การเงิน
5. Technology เทคโนโลยี
6. Basic Industry อุตสาหกรรมพื้นฐาน
7. Capital Goods สินค้าเพื่อช่วยในกระบวนการผลิต
8. Transportation ขนส่ง
9. Energy พลังงาน
10. Utilities สาธารณูปโภค
11. Precious Metals โลหะมีค่า
post ไว้หลายเดือน มีกระทู้เกี่ยวข้องเหมือนกันช่วงนี้
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50074

เพิ่งมาเห็นว่ามีผิดตรงที่แปล เพราะผมใช้วิธีจิ่มดีด พิมพ์สัมผัสไม่เป็น copy ลงมาข้อ 2 แล้วไม่ได้เปลี่ยนตรงข้าม
ziannoom
Verified User
โพสต์: 1046
ผู้ติดตาม: 1

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2611
ผู้ติดตาม: 63

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่ :D เป็นภาษาไทยอ่านง่ายกว่าเยอะ จากบทความทั้งไทยเเละเทศที่ผมอ่าน(ว่าเเต่ภาษาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ...อาจเข้าใจผิดได้)สรุปอย่างไรก็ตามการTimingตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย เเต่พอจะดูคร่าวๆได้ว่าตลาดหุ้นจะสะท้อนภาพเศรฐกิจมหภาคก่อนราว6เดือน(อ้างอิงกับDowไม่ใช่Setนะครับ) อย่างไรก็ตามความห่างของรอบไม่เเน่นอน ตรงนี้จะช่วยเราเรื่องAsset allocationว่าช่วงนี้เราควรเอาเงินไปลงทุนในทรัพย์สินอะไร
...ส่วนอุตสาหกรรมที่กระทบน้อยจากวัฎจักรดังกล่าวคือกลุ่มบริโภคภายในประเทศ...ดังนั้นบางรายงานบอกว่าถ้าTimingยากก็ให้ลงทุนเเบบDCAไปเลย

ลองอ่านกันเล่นๆครับ...ถ้าลงทุนเเบบVIผมว่าไม่น่าจะต้องTimingตลาด ไม่ต้องล้างPort ถ้าวิกฤตินั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อกิจการในหุ้นที่เราถือ...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
pawattt
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 1

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อยากทราบว่า ตัวเลขที่ชี้ ตำแหน่งต่าง ๆ ตาม รูป หมายความว่า "ณ เวลานั้น ควรซื้อหุ้นกลุ่มตามหมายเลข ใช่มั้ยครับ?"
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ใช่ครับ
สิ่งที่เขาแนะนำ คือพยายามจัดกลุ่ม ว่าเศรษฐกิจแต่ละช่วง ถดถอยหรือฟื้นตัว อะไรจะร่วงลงไปให้ช้อนซื้อ


http://seekingalpha.com/article/285901- ... omic-cycle
รูปภาพ


เขาเรียกเป็น phase
chart ข้างล่าง ไม่จำกัดวงเฉพาะหุ้น แต่บางช่วง bond หรือสินค้า commo ด้วย
http://stockcharts.com/school/doku.php? ... t_analysis
รูปภาพ
รูปภาพ
ที่เขาเคยเก็บข้อมูลกันไว้
รูปภาพ
รูปภาพ


วิชา econ
http://www.startupeconomy.com/2008/12/p ... ssion.html
รูปภาพ

Startup Economy

it's all about making positive changes
Tuesday, December 9, 2008
Phases of Recession
With a sleuth of layoffs coming from all angles, why don't we take a step back and see where we are in the phases of recession. At macroscopic level, the cycle looks like a tidal wave, and the recession is a long process of declining economy.

phases of recession

I'm speaking strictly from the perspectives of startup economy, regardless of geography.

Phase I (tipping point): The implosion of subprime crisis crept into Wall Street during the summer of 2007. We thought the economy was booming as consumer spending increases, and even the no-job-no-money-joe next door was buying a luxurious condo. Good times. VCs were seeing a very good deal flow and internet entrepreneurs were just going upbeat about entering the online advertising market where billions of more dollars will be spent. Times are good, and we don't know if Fannie and Freddie will go belly up... yet.

Phase II (not my problem): Subprime crisis had already happened, and we can't buy our dream condo. So what? We know that we never deserved all that luxury by leveraging the balance sheet through the roof? Time to get realistic here, but everything is going to be okay. Unlike the dot com collapse earlier in this decade, it's not my problem. VCs are still out raising the historically largest fund, and entrepreneurs still go out raising enough capital to get through the next milestone.

Phase III (OMG, the financial sector is in deep trouble. I'm still okay though): Late summer of 2008, Merrill and Lehman went belly up, and the federal government intervenes with a huge pot of taxpayers' money. It just needed to be done to save us from the worst situation, because times are REALLY getting touch. We in the startup economy finally realize that the problem is big but still don't see the huge incentives to be hungry. People are having problems, but not in our office. We are still hitting all that milestones. Maybe we'll lose WaMu as a customer, but still not my problem.

Phase IV (TIME OF UNCERTAINTY): This is the time we are in. Sequoia Capital "leaked" the good ol' graveyard deck. Sequoia, probably the most respected VC firm in the entire history of venture capital, starts to have the ripple effect. Now, it looks like we are in some real deep trouble. It doesn't matter if our sales are still on target or have had raised $100M in the past month. Sequoia told us to tighten our budget, hit profitability, and survive at the end of the tunnel, and I'll do exactly that. But I don't know how. Maybe Obama will solve all our problems when he takes the office with a big economic stimulus plan. Until then, I'll sit and wait. I have enough cash to take us through another two months.

I also noticed a lot of uncertainties while attending conferences recently. Many VCs are saying that they are closing deals now, and there will be more. There will be very attractive investment opportunities because they will get lower valuation and better returns. Don't we all know that the uncertain outcome of their investments makes them worried as well? Do they really feel better about those lower valuations? What about entrepreneurs? Startups these days know that the power shifted to people with money. But, are they reallly willing to get squeezed in valuation? How many times we've heard that running a startup is cheaper than ever while successful startups took hundres of millions of dollars? Maybe, bootstrap is a way to go. I don't know. What I know is that this time of uncertainty causes the startup economy to hide in the cave until we see some sun light.

Phase V (hiatus of innovation): Times are getting worse. By the way, this is the most important phase that I want to double emphasize in this post. Customers stop buying and ask for more for less. I'm runnning out money. Nobody's telling me that I'm in trouble anymore, because I feel the pain in person. I need to survive.

Let's take a step back.... to the good ol' days when we were in school. When was the best time to be doing the homework with all your attention and capabilities concentrated on one darn deliverable? Perhaps... at the last minute? Yes, you are "hungry" and feel the urgency. Whether it was voluntrary or not, you were really doing something amazing with all those natural born skills. Then, you turn in your homework and take a deep breath. You don't remember how you did it... but you did it.

This is exactly what will happen to most startups. Economy, as we all know it, is cyclical. Times may get tough. But keep in mind that we need to be mentally and physically ready to take on these challenges. We'll get more innovative and creative when it comes to survival. If we can do this beforehand (say... now), it's even better.

Why don't we all "fake" to be in Phase V and innovate like there's no tomorrow?





ปัญหาของเราอย่างที่ผมบอกไว้ในกระทู้นั้น http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50074 ว่าเราจับมันยากว่าตอนนี้ recession อยู่ใน phase ไหน
ที่เห็นๆ กัน ส่วนใหญ่มันเกิดเหตุการณ์ไปแล้ว ถึงเอามาเขียนได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ตอนนี้ S&P มีการเปลี่ยนชื่อบาง sector เดาว่าอาจเป็นเพราะมีคนเข้าใจยาก เลยสื่อให้ชัดกว่าเดิม
- Consumer Discretionary
- Consumer Staples

- Energy
- Financials
- Health Care
- Industrials
- Information Technology
- Materials
- Telecommunication Services
- Utilities
ของเก่า เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1995-1996 คนที่ทำรูป cycle นี้ ดูในรูปจะเห็นชื่อ คือ Sam Stovall ไปค้นดู เป็น chief investment strategist ของ Standard & Poor's ตอนนั้น หนังสือตอนนี้ amazon ก็ยังมีขาย แต่ไม่พิมพ์มาอีกเลย มีแต่หนังสือเก่า ตอนนี้โก่งราคามาก 1 new from $393.82 10 used from $87.50
http://www.amazon.com/Standard-Poors-Gu ... 0070617171
รูปภาพ



ต้วอย่างบทวิจัยอ้างอิง S&P500 แบ่งตาม sector ที่ว่า ...ยังอุ่นๆ อยู่เลย
PEACOCKSP500_Page_01.jpg
PEACOCKSP500_Page_02.jpg
PEACOCKSP500_Page_03.jpg
PEACOCKSP500_Page_04.jpg
PEACOCKSP500_Page_05.jpg
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มี 17 หน้เา
เอา pdf ไปลองดู เป็นแนวทาง
S&P500 = ตลาดอเมริกา
แนบไฟล์
PEACOCKSP500.rar
(425.25 KiB) ดาวน์โหลด 96 ครั้ง

ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมลองสังเกตดู หน้าแรก
จะเห็นว่า เดือนที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ กลุ่ม Consumer Discretionary ซึ่งแปรไปตามเศรษฐกิจ หรือ cyclical เดิม เส้นแดง ร่วงตามตลาด
นี่คือคนซื้อแล้วถือ ทำกำไรดีกว่าเส้นฟ้า Consumer Staples ก็คือชื่อ Non-cyclical เดิม ที่ยังไม่ตกหนักเท่า

แต่ Staples ก็จะหมายถึง defensive ใครถืออยู่ แม้จะตกไปบ้าง แต่ performance ก็ยังอยู่เหนือเส้นเฉลี่ย

Financials ไปก่อนเพื่อนเลย เส้นประสีส้ม
ตรงข้าม Utilities เส้นประเขียว defensive โด่งกว่้าเพื่อน
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2611
ผู้ติดตาม: 63

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

รูปภาพ[/quote]

ผมว่าCycle Market Emotion น่าจะทำPoll นะพี่...นักลงทุนจะได้กลับมามองอารมณ์ตัวเองมากขึ้น พอจับอารมณ์ได้ทันพิจารณามากๆ เหตุผลจะโผล่มาเเทน การลงทุนของเราจะมีประสิทธิภาพขึ้น

ผมว่าอารมณ์ของผมตอนนี้ผมน่าจะอยู่เเถวๆ Fear...นะผมว่า :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

torpongpak เขียน: ผมว่าCycle Market Emotion น่าจะทำPoll นะพี่...นักลงทุนจะได้กลับมามองอารมณ์ตัวเองมากขึ้น พอจับอารมณ์ได้ทันพิจารณามากๆ เหตุผลจะโผล่มาเเทน การลงทุนของเราจะมีประสิทธิภาพขึ้น

ผมว่าอารมณ์ของผมตอนนี้ผมน่าจะอยู่เเถวๆ Fear...นะผมว่า :D
กำลังจะบอกพอดี เห็นคุณ torpongpak ไปกระทู้ poll ของคุณ NB ตอนนี้แสดงว่า fear ... despondency... เกิดกับ sector finance เหมือนกัีนทั่วโลก
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50068



cycle ข้างบน ขอถือวิสาสะลองทำกลับกัน เพื่อให้สมกับแนวทาง VI ตามปรมาจารย์ทั้งหลายสั่งสอนไว้ครับ
cyc_emot_VI_wanna_be.jpg
แต่ลองดูให้ดี แนว VI ของเราสีแดงกับสีเขียว มันตรงกับช่องสี่เหลี่ยมที่เขาทำไว้พอดี
ความกังวล ความกลัว vs ความกล้า ความตื่นเต้น แปรสอดคล้องไปตาม financial risk vs financial opportunity
ไม่ได้กล้าเพราะบ้าบิ่น ไร้เหตุผล



เขียนซะเท่...ผมก็ทำไม่ได้จริงขนาดนี้ :mrgreen: ทำยาก... แต่เพราะยังทำไม่ได้ดีพอเนี่ยแหละ เลยเขียนเอาไว้เตือนใจเป็น guideline เอาไว้ฝึก
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2611
ผู้ติดตาม: 63

Re: อ่านวงจรเศรษฐกิจ จับทิศลงทุนให้ถูกจังหวะ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เท่...อะพี่ ขอCopyไว้เทียบอารมณ์ตนเองครับ :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
โพสต์โพสต์