%คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Ake VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 242
ผู้ติดตาม: 4

%คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตามตำราส่วนใหญ่จะใช้10% เพื่อนๆว่าเหมาะสมไหมครับ ความเป็นจริงเราจะหาเงินฝากที่ไหนได้10%ต่อปี และเงินเราลดมูลค่าไป10%ต่อปีจริงหรือ?
หรือเราควรใช้อัตราดอกเบี้ยแบงค์ปัจจุบันที่ 2-3% แต่มันจะทำให้มูลค่าที่คิดลดดูดีมากไปมั้ยครับ
หรือจะใช้ตามเงินเฟ้อที่ราว5%ดี เพราะมูลค่าเงินในอนาคตควรลดลงตามเงินเฟ้อใช่มั้ยครับ
ใครมีปัญหาแบบผม แล้วใช้%เท่าไรมาคำนวนกันครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 84

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 2

โพสต์

สำหรับผมแล้ว ต้องการผลตอบแทนปีละเปอร์เซ็นต์ก็ใช้ตัวเลขนั้นเลยครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 71

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สงสัยอยู่เหมือนกันครับ ขอบคุณพี่ฉัตรครับ
Jarut
Verified User
โพสต์: 9
ผู้ติดตาม: 0

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ความเห็นส่วนตัวนะครับ วิธี dcf นี้ผมเคยคิดจะใช้เหมือนกันตอนเรียน MBA ใหม่ แต่ใช้ไปๆมาก็เลยเข้าใจเอาเองว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่ถูกต้อง ละเอียด และครบถ้วน วิธีนี่เป็นวิธีที่ดีครับ อย่างการวิเคราะห์โครงการลงทุนเค้าก็ใช้วิธีนี้กัน แต่ถ้าเราไม่ได้มีข้อมูลครบถ้วน มันจะกลายเป็นวิธีสั่งได้ อยากได้ราคาไหนสั่งได้หมด จูนค่านิดเดียว ราคาไปแล้ว ยกตัวอย่างนะครับ ตอนนั้นทำรายงานผมใช้วิธีนี้คำนวณราคา cpall ได้ 13 กว่าๆ ราคาตลาด 18 ผมสรุปว่าแพงไป ตอนนี้ราคาไป 40 แล้ว ผมพยายามหาทางเพิ่มรายละเอียดของการคำนวณเข้าไป แต่สุดท้ายก็นึกถึงคำที่พี่ที่เคยทำงานด้วยกัน (หัวหน้าเก่า) พี่เค้าสอนว่า "อย่ามองหาความละเอียดบนความหยาบ" คำพูดพี่นะครับ แต่ผมชอบ เราไม่มีทางรู้ข้อมูลโดยละเอียดของบริษัทหรอกครับ รายได้ กำไร งบลงทุน เงินสดอิสระ ต้นทุนทางการเงิน ข้อมูลละเอียดทั้งหมดเราประมาณเอา มีerror อยู่แล้ว เมื่อเอา error มาคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลังอะไรก็แล้วแต่ ผมเรียกว่ามันเป็น error บน error ... ไปกันใหญ่นะครับ

ที่เล่ามาตั้งนานไม่ได้ตั้งป้อมอยู่ตรงข้ามกับวิธีนี้นะครับ อย่างที่บอก เวลาเราประเมินโครงการเราก็ใช้วิธีคล้ายๆกันนี้แหละครับ สำหรับคำถามว่าใช้อัตราคิดลดเท่าไหร่ ก็คงต้องเป็น WACC แหละครับ ตามทฤษฎี ส่วนปฏิบัติทุกวันนี้ไม่ได้ใช้ความรู้ MBA วิชาการเงินเท่าไหร่ ใช้วิชากลยุทธ์ การตลาด บัญชีซะมากกว่าครับ

Share ความเห็นนะครับ ใครคิดยังไงก็ลองถกกันครับ แลกเปลี่ยนไอเดียกัน
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 5

โพสต์

หาจาก CAPM ดูครับ ว่าเท่าไร
คือต้องหา Beta มาก่อน แล้วค่อยเข้าสูตร เพื่อหาต้นทุนว่าเท่าไร
WACC นั้นหามูลค่ากิจการทั้งหมด ไม่ใช่หาส่วนของผู้ถือหุ้น ทำให้ มูลค่าราคาหลักทรัพย์ลดลง
ส่วนตัว Discount ที่ใช้ในการหาราคาหลักทรัพย์นั้น ควรเป็นต้นทุนที่แท้จริงเฉพาะส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น
WACC นั้นรวมต้นทุนเงินของส่วนเจ้าหนี้และเจ้าของด้วยกัน จึงทำให้ราคาที่ได้ลดลงตามที่บอกไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

(อันนี้ต้องขอบคุณอาจารย์ที่สอนครับวิชา Asset pricing และ วิชา Corp fin ให้ครับ
เพราะ ท่านทั้งสองปูเพื่อฐานอย่างดี
และไม่เพียงเท่านั้นต้องขอบคุณหนังสือดีของท่านแม่ทัพด้วย)
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
reiter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2308
ผู้ติดตาม: 7

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Jarut เขียน:ความเห็นส่วนตัวนะครับ วิธี dcf นี้ผมเคยคิดจะใช้เหมือนกันตอนเรียน MBA ใหม่ แต่ใช้ไปๆมาก็เลยเข้าใจเอาเองว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่ถูกต้อง ละเอียด และครบถ้วน วิธีนี่เป็นวิธีที่ดีครับ อย่างการวิเคราะห์โครงการลงทุนเค้าก็ใช้วิธีนี้กัน แต่ถ้าเราไม่ได้มีข้อมูลครบถ้วน มันจะกลายเป็นวิธีสั่งได้ อยากได้ราคาไหนสั่งได้หมด จูนค่านิดเดียว ราคาไปแล้ว ยกตัวอย่างนะครับ ตอนนั้นทำรายงานผมใช้วิธีนี้คำนวณราคา cpall ได้ 13 กว่าๆ ราคาตลาด 18 ผมสรุปว่าแพงไป ตอนนี้ราคาไป 40 แล้ว ผมพยายามหาทางเพิ่มรายละเอียดของการคำนวณเข้าไป แต่สุดท้ายก็นึกถึงคำที่พี่ที่เคยทำงานด้วยกัน (หัวหน้าเก่า) พี่เค้าสอนว่า "อย่ามองหาความละเอียดบนความหยาบ" คำพูดพี่นะครับ แต่ผมชอบ เราไม่มีทางรู้ข้อมูลโดยละเอียดของบริษัทหรอกครับ รายได้ กำไร งบลงทุน เงินสดอิสระ ต้นทุนทางการเงิน ข้อมูลละเอียดทั้งหมดเราประมาณเอา มีerror อยู่แล้ว เมื่อเอา error มาคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลังอะไรก็แล้วแต่ ผมเรียกว่ามันเป็น error บน error ... ไปกันใหญ่นะครับ

ที่เล่ามาตั้งนานไม่ได้ตั้งป้อมอยู่ตรงข้ามกับวิธีนี้นะครับ อย่างที่บอก เวลาเราประเมินโครงการเราก็ใช้วิธีคล้ายๆกันนี้แหละครับ สำหรับคำถามว่าใช้อัตราคิดลดเท่าไหร่ ก็คงต้องเป็น WACC แหละครับ ตามทฤษฎี ส่วนปฏิบัติทุกวันนี้ไม่ได้ใช้ความรู้ MBA วิชาการเงินเท่าไหร่ ใช้วิชากลยุทธ์ การตลาด บัญชีซะมากกว่าครับ

Share ความเห็นนะครับ ใครคิดยังไงก็ลองถกกันครับ แลกเปลี่ยนไอเดียกัน
Garbage in, Garbage out ครับ
Our favorite holding period is forever.

Blog การลงทุนของผม

http://reitertvi.wordpress.com
Ake VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 242
ผู้ติดตาม: 4

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คือผมกำลังร้อนวิชาเรื่องมูลค่าที่แท้จริงน่ะครับ :mrgreen: เคยแต่ใช้PE ก็เลยลองมานั่งคิดDCFเล่นๆ พบว่า%คิดลดตรงนี้เปลี่ยนใช้ 5%,10%,15%ก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนหมดครับ
ถ้าใช้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่เราอยากได้อย่างพี่Chatว่า แล้วมันจะใช่มูลค่าเงินสดอนาคตของหุ้นตัวนั้นหรือครับ
ใจผมคิดเองเอยากใช้เงินเฟ้อเพราะเป็นมูลค่าเงินเราที่จะลดลงจริงๆ แต่มันก็ไม่เห็นเค้าใช้กัน
แล้วWACCนี่จะหาได้จากไหนอ่ะครับ
chod29
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ความเห็นผมถ้าประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ ซึ่งปกติจะมีความเสี่ยงสูงกว่าพวกเงินฝาก หรือบอนด์ต่างๆ การคิด discount rate ไม่น่าจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบงค์ หรือเงินเฟ้อครับ เพราะเราควรบวกความเสี่ยงชดเชยเข้าไปด้วย เคยอ่านเจอหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนของ Buffet เขาว่าใช้อัตราพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี (เป็นการคำนวนอย่างคร่าวๆ ไม่ใช่ตามหลักวิชาการเงิน) แต่เมื่อคำนวนมูลค่าออกมาได้แล้วให้ซื้อในราคาที่มีส่วนลดจากค่าที่คำนวนได้อีกมากๆ หน่อยเพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เราประเมินตัวแปรผิดพลาด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด จะได้ไม่เสียหายมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ซุนเซ็ก
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 2

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 9

โพสต์

มันจะมีสูตรครับ risk free + beta * market risk(แล้วใครเป็นคิดหว่า)
ซึ่งมันก็จะได้ออกมา 10 +/- 3 หลายคนก็เลยใช้ที่ 10% ไปเลยจบ

พูดถึง dcf นี่ ถ้านำไปใช้อย่างผิดๆ จะอันตรายมาก
ผมเคยเห็นบางคนเอา dcf ไปคิดกับหุ้น turn around ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหา fcf
เจ้าของบริษัทยังไม่รู้เลยมั๊ง ประสาอะไรกับคนนอกอย่างเรา, Error เพียงนิด บรรทัดสุดท้ายคนละเรื่อง
Dcf นี่ ต้องหุ้นที่มีรายได้มั่นคงมากและชัดเจนมาก ถึงพอจะคิดได้บ้าง แต่มันก็ยังยากอยู่ดี
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
เหยี่ยวเดือน9
Verified User
โพสต์: 276
ผู้ติดตาม: 1

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 10

โพสต์

Ake VI เขียน:คือผมกำลังร้อนวิชาเรื่องมูลค่าที่แท้จริงน่ะครับ :mrgreen: เคยแต่ใช้PE ก็เลยลองมานั่งคิดDCFเล่นๆ พบว่า%คิดลดตรงนี้เปลี่ยนใช้ 5%,10%,15%ก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนหมดครับ
ถ้าใช้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่เราอยากได้อย่างพี่Chatว่า แล้วมันจะใช่มูลค่าเงินสดอนาคตของหุ้นตัวนั้นหรือครับ
ใจผมคิดเองเอยากใช้เงินเฟ้อเพราะเป็นมูลค่าเงินเราที่จะลดลงจริงๆ แต่มันก็ไม่เห็นเค้าใช้กัน
แล้วWACCนี่จะหาได้จากไหนอ่ะครับ
ใช้อัตราเงินเฟ้อ มันจะน้อยไปครับ ไม่คุ้มกับความเสี่ยงของการลงทุนในตลาด
แล้วไม่สะท้อนโครงสร้างของบริษัทด้วย (แต่ละบริษัท โครงสร้างกับความเสี่ยงไม่เท่ากัน ถ้าใช้อัตราเงินเฟ้อมาเป็นตัวคิดลดเหมือนๆกัน มันก็ดูไม่เหมาะเท่าไร)
อีกอย่างที่สำคัญคือ เราคงคาดอัตราเงินเฟ้อของหลายๆปีข้างหน้าไม่ได้ ยากเกินไป

ส่วนการหา WACC ก็ลองหาหนังสือการเงินสักเล่มมาอ่านดูก็ได้ครับ น่าจะหาได้ไม่ยาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Hisoka
Verified User
โพสต์: 175
ผู้ติดตาม: 0

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ถ้าจะเอาแบบเท่ๆ ก็ต้อง wacc เลยครับ แต่มันค่อนข้างจะยุ่งยากสักหน่อย และเราต้องเชื่อในสมมติฐานต่างๆของวิธีนี้

แต่เพื่อให้ง่ายและช่วยทุ่นแรงและเวลา ผมเลยใช้ต้นทุนค่าเสียโอกาสของตัวเอง ซึ่งตามหลักวิชาแล้วอาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะความเสี่ยงอาจจะต่างกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sumotin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1145
ผู้ติดตาม: 51

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 12

โพสต์

จริงๆค่าของ ke นี้จะไม่เท่ากันแต่ในแต่ละคนครับ เทียบง่ายๆคือ opp cost ของเราที่เราจะไปลงทุนอย่างอื่นได้มากที่สุด อย่างบางคนทำธุรกิจอยู่แล้ว สมมติ 20% ต่อปี ถ้าจะเอามาซื้อหุ้นก็ต้องแน่ใจว่าจะได้ผลตอบแทนที่เหนือกว่านี้ ไม่เช่นนั้นเอาไปลงทำธุรกิจต่อดีกว่า นี่คิดในมุมที่มุ่งไปที่ผลประโยชน์สูงสุดนะครับ แต่ถ้าต้องการ diversify ก็ต้องลองปรับดูว่า expected return ที่ต้องการจาก port การลงทุนหลายๆอย่างเป็นเท่าไหร่แล้วคิด ย้อนหา discount rate เฉพาะสำหรับตัวที่จะใช้ลงทุนกระจายความเสี่ยง ครับ
Timing is everything, no matter what you do.

CAGR of 34% in the past 15 years of investment
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ได้ความรู้มากเลย ขอบคุณครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
chiraponge
Verified User
โพสต์: 803
ผู้ติดตาม: 0

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีค

โพสต์ที่ 14

โพสต์

WACC (weight average cost of capital)
WACC = Wdkd(1-T)+Wp/s kp/s+Weke
ในการคิดผมว่า Weight หาได้ไม่ยากครับจาก
Target capital structure ที่คาดไว้ในอนาคต ว่าจะใช้ debt และ equity เท่าไหร่
ส่วน Kd หาได้จากอัตราเงินกู้ครับ
ส่วน Tax ก้หาได้ไม่ยากครับ
ปัญหา คือ Ke ครับ
หาก บ. อยู่ในตลาดก็ใช้ CAPM มาคิดได้ครับ

แต่สิ่งสำคัญ คือ assumption และ ข้อจำกัด ของ CAPM มีครับ
ถ้าสนใจติดต่อผมได้ครับ ผมมีเอกสาร ตอนเรียนวิชา Finance กับ อ. ไพบูลย์ อยู่ ทุกวันนี้ผมก็กลับไปอ่านเรื่อย มีประโยชน์มากครับ

แต่หาก บ. อยู่นอกตลาด แล้วต้องใช้ WACC ในการคิด
วิธีแรกที่ผมใช้ คือ การ Proxy เอา บ. ที่ธุรกิจใกล้ๆ มาใช้
ทั้งในประเทศ หรือ ต่างประเทศเลย
ดังนั้นตามสูตร Require return = Rf+Beta (Rm-Rf)
หรือ อาจใช้สมการของ HAMADA มาใช้ เพื่อรวมความเสี่ยงของกิจการเข้าไปด้วย ผมจำสูตรไม่ได้แล้ว จำได้ว่าเอา debt เข้ามาคิดด้วย beta จะสูงขึ้นกว่าเดิม

beta ใช้จากธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน
ส่วน Rf คงเอามาจาก geverment bond yield
Rm ผมใช้ return ของตลาดย้อนหลัง แต่พิจารณาเปงช่วง
ให้ match กับ goverment bond

ยังไงก็ขอชี้แนะด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
odyssee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

Re: %คิดลดกระแสเงินสดที่เหมาะสมเวลาใช้คำนวนDCF เป็นเท่าไรดีครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

Cost of Equity = Rf + Beta(Market Return - Rf)
Rf = Risk Free Rate หรือ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี
Market Return = 12 = ผลตอบแทนของตลาดเฉลี่ย
ฺBeta = ค่าความผันผวนของหุ้นตัวนั้น ๆ
มันเป็นการดีกว่าที่จะถูกแบบใกล้เคียงแทนที่จะผิดอย่างถูกต้อง : วอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์โพสต์