เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผลกระทบคราวนี้ใหญ่กว่าที่คิดแฮะ

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับไทยพอสมควร เป็นทั้งตลาดส่งออก บริษัทแม่ของไทยหลายแห่ง

ลองเกาะติดผลกระทบต่อไทย และความเคลื่อนไหวดูหน่อย
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ประกันเตรียมควัก 3.5 หมื่นล้านเหรียญจากพิบัติภัยในญี่ปุ่น

ผู้ให้คำปรึกษาและจัดทำโมเดลความเสี่ยง บริษัท AIR Worldwide เผยว่า เหตุแผ่นดินไหวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในญี่ปุ่นอาจทำให้ค่าสินไหมทดแทนจากการรับประกันภัย มีมูลค่าสูงถึง 35,000 ล้านเหรียญ ซึ่งทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้จะยังไม่ได้นับรวมค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มเติม

ตัวเลขดังกล่าวสูงเกือบเท่ากับค่าสินไหมทดแทนจากภัยพิบัติสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยทั่วโลกของทั้งปี 2553 และอาจเป็นเหตุการณ์ที่จะกดดันให้ค่าเบี้ยประกันภัยในตลาดสูงขึ้น หลังจากที่ซบเซามาหลายปี

แม้จะยังคงไม่แน่ชัดว่าใครเสียหายมากที่สุดจากเหตุการณ์นี้ในแง่เม็ดเงินประกัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่า บริษัทประกันภัย อย่าง Chaucer และ AIG ไปจนถึงบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ อย่าง Munich Re และ Swiss Re ล้วนตกเป็นเป้าหมายที่ต้องควักเงินจ่าย

AIR กล่าวว่า เงินที่บริษัทต้องจ่าย น่าจะอยู่ในช่วง 1.45 – 3.46 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งคิดจากมูลค่าประกันระหว่าง 1.2 – 2.8 ล้านล้านเยน ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ 81.85 เยนต่อหนึ่งดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ทาง AIR เตือนว่า การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงขั้นต้นเท่านั้น และโมเดลต่างๆของบริษัทก็ยังไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบจากสึนามิ ซึ่งเกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว และที่สำคัญคือยังไม่รวมความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากความเสียหายในเรื่องของนิวเคลียร์

การที่อาคารต่างๆ ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวแรงสั่นสะเทือน 9 ริกเตอร์ครั้งนี้ ไปจนถึงการถูกพัดพาไปตามกระแสน้ำจากคลื่นยักษ์ ทำให้ยากที่จะคำนวนตัวเลขที่แน่นอนได้

หากนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม อุตสาหกรรมประกันภัยโลกได้จ่ายค่าชดเชยความเสียหายไปแล้ว 10,000 ล้านเหรียญ จากเหตุแผ่นดินไหวในเมืองไครซ์เชิร์ช นิวซีแลนด์ แต่ก็ยังไม่ได้รวมตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมในออสเตรเลีย และค่าประกันความเสียหายจากเหตุจราจลในตะวันออกกลาง ที่มีมูลค่าประเมินอยู่ที่ 8,000 - 10,000 ล้านเหรียญ

สรุปผลกระทบแผ่นดินไหว-สึนามิต่อเศรษฐกิจ

นักวิเคราะห์จำนวนมากมีมุมมองที่ตรงกันว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบในขณะนี้ เนื่องจากยังเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิตามมาอย่างต่อเนื่อง

แต่เบื้องต้นแล้ว จิม โอนีล ประธานโกลด์แมน แซคส์ แอสเซท เมเนจเมนท์ ได้ประเมินความเสียหายหลักๆในญี่ปุ่นไว้ 2 ด้านด้วยกัน

1) ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลผลิตในสัดส่วน 8% ของ GDP ญี่ปุ่น เนื่องจากบริษัทผลิตรถยนต์หลายรายได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

2) ผลกระทบที่มีต่อซัพพลายเชนในตลาดโลก เมื่อระบบการขนส่งได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว กลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆก็จะได้รับผลกระทบจากภาวะอุปทานขาดแคลนในช่วงหลายเดือนข้างหน้านี้

ถ้ามองต่อในระยะกลาง โอนีลมองว่าการฟื้นตัวส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกขับเคลื่อนด้วยการส่งออก แต่ทันทีที่เงินเยนพุ่งขึ้น 1.4% หลังจากเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ ก็ส่งผลให้เกิดความกังวลว่า เงินเยนที่แข็งค่าจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมส่งออกของญี่ปุ่น

ส่วนภาพในระยะยาวขึ้นมาหน่อยนั้น นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวและสึนามินั้น อาจสร้างความเสียหายให้กับสถาบันการเงินในญี่ปุ่นซึ่งแบกรับภาระหนี้สินหนักอยู่ก่อนแล้ว และจะส่งผลให้ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นและอาจทำให้ต้นทุนการระดมทุนของรัฐบาลสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จากมูดีส์ อนาไลติคส์ เชื่อว่า การบูรณะฟื้นฟูในญี่ปุ่นจะช่วยกระตุ้นการค้าทั่วโลกให้ฟื้นตัวขึ้น

BOJ อัดฉีดเงินฉุกเฉิน ขณะรัฐเร่งป้องเตานิวเคลียร์

ทางด้านความช่วยเหลือภาคการเงิน ธนาคารกลางญี่ปุ่นตัดสินใจอัดฉีดเม็ดเงินในจำนวนสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 15 ล้านล้านเยน หรือ 183,000 ล้านเหรียญ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน พร้อมกันนั้น ยังได้ขยายโครงการซื้อสินทรัพย์จากพันธบัตรรัฐบาล ให้รวมถึงกองทุนประเภท ETF อีก 5 ล้านล้านเยนด้วย

ขณะที่ นายมาซาอากิ ชิรากาว่า ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า ระบบการเงินของญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว นอกจากนี้ ระบบการชำระบัญชีที่สถาบันการเงินหลักๆ สามารถทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งเป็นการปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับระบบการเงินของประเทศ
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผู้นำญี่ปุ่นระบุยังไม่มีแผนปรับขึ้นอัตราภาษีเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังสึนามิ
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2011 เวลา 07:47 น.
นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลยังไม่มีแผนปรับขึ้นอัตราภาษีเพื่อเพิ่มความมั่นคงในเงินกองทุนที่จำเป็นต่องานด้านการฟื้นฟูประเทศ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิพัดถล่มพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ก่อนหน้านี้ นายซาดาคาซุ ทานิงากิ หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้านกล่าวว่า ทางพรรคและพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (ดีพีเจ) ของนายคัง ได้เห็นชอบถึงการหารือเกี่ยวกับการขึ้นภาษีเพื่อฟื้นฟูประเทศจากแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=525
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หอการค้าไทยประเมินจีดีพีญี่ปุ่นลดลง0.5-1.0% เสียหายกว่าแสนล้านเหรียญจากเหตุสึนามิ
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2011 เวลา 12:25 น.

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์การค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลกระทบแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เกิดความเสียหายตามมาเป็นจำนวนมาก โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5-1 จากเดิมไอเอ็มเอฟ

คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ทำให้จีดีพีของญี่ปุ่นขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.6-1 จากความเสียหายมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศส่งออกอันดับ 2 ของไทย หากเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอลงร้อยละ 1 จะกระทบต่อการส่งออกไปยังญี่ปุ่นให้ลดลงร้อยละ 7.2 เป็นมูลค่าประมาณ 735-1,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กระทบต่อเป้าหมายเดิมที่ไทยคาดว่าจะส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นได้ทั้งหมด 22,769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นผลกระทบต่อการส่งของไทยโดยรวมไปตลาดโลกให้ชะลอลงร้อยละ 0.3-0.7 จากเดิมทั้งปีคาดว่าการส่งของไทยจะขยายตัวร้อยละ12

โดยสินค้าทางการเกษตรได้รับผลกระทบหนักส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด ได้แก่ เนื้อ อาหารทะเลแปรรูป กระทบร้อยละ7.5 น้ำตาล กระทบร้อยละ 6 ธัญพืช กระทบร้อยละ 8.7 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม กระทบ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา
แม้ว่าในอนาคตญี่ปุ่นต้องฟื้นฟูประเทศและมีความต้องการสินค้าอีกหลายประเภทในการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง แต่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูประเทศ 2-3 ปี และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในระยะสั้นจะทำให้ชาวญี่ปุ่นมีกำลังซื้อน้อยลง กระทบไปอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้า แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้เงินอัดฉีดออกสู่ระบบแก้ปัญหาต่าง ๆ วงเงิน 1.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากความเสียหายถึง 1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คงยังไม่เพียงพอ และต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการทำให้เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ.-สำนักข่าวไทย
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

บีโอเจ อัดฉีดเม็ดเงินอีก 8 ล้านล้านเยน เข้าสู่ระบบการเงิน หวังพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2011 เวลา 15:17 น.
ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ บีโอเจ ตัดสินใจอัดฉีดเม็ดเงินก้อนใหม่อีก 8 ล้านล้านเยน เข้าพยุงระบบเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ท่าทีดังกล่าวมีขึ้นหลังวานนี้ บีโอเจ เพิ่งประกาศอัดฉีดเงินมหาศาลถึง 15 ล้านล้านเยน เข้าพยุงเสถียรภาพของตลาดเงินระยะสั้น นอกจากนี้ บีโอเจ ยังมีแผนจะขยายวงเงินในโครงการรับซื้อสินทรัพย์เป็น 2 เท่า เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว และคลื่นยักสึนามิ รวมถึงวิกฤตินิวเคลียร์ อีกทั้งคาดว่า บีโอเจ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0-0.1เปอร์เซนต์ต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ.
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เกาะติดนโยบายฟื้นฟูญี่ปุ่น อาจฉุดเศรษฐกิจทั่วโลกทรุด

Posted on Wednesday, March 16, 2011
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลให้เตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่นเกิดความเสียหาย ทำให้นานาชาติกำลังจับตามองถึงผลกระทบจากความเสียหายในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด และเกิดความกังวลว่าสถานการณ์จะเลวร้ายเช่นเดียวกับเชอโนบิล อย่างไรก็ตาม จากการที่ทางการญี่ปุ่นมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ก็เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แต่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกจากปัจจัยดังต่อไปนี้ เช่น

- ญี่ปุ่นจำเป็นต้องระดมสภาพคล่องจากทั่วโลกกลับเข้าประเทศ ทำให้เกิดความกังวลว่า จะส่งผลกระทบต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกได้

- อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่นอาจปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

- ภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตที่ยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งจากนโยบายการประหยัดพลังงาน และการรัดเข็มขัดของประชาชน ทำให้ยอดการใช้จ่ายของชาวญี่ปุ่น ทั้งในและต่างประเทศ ปรับลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และมีผลต่อภูมิภาคเอเชียด้วย

นายกอบสิทธิ์ยังแนะนำว่า ผู้ประกอบการที่มีการค้าขายกับญี่ปุ่น ควรต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรายนาที แต่ก็ยังเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินเยน และเงินบาทยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

ติดตาม Get SET ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ญี่ปุ่นอาจเสียหายถึง 1 แสนล้านเหรียญจากแผ่นดินไหว-สึนามิ

ธนาคารดีบีเอสของสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งรุนแรงที่ญี่ปุ่น อาจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3 ล้านล้านบาท) หรือ คิดเป็นประมาณ 2% ของ GDP

นายเดวิด คาร์บอน กรรมการผู้จัดการฝ่ายเศรษฐกิจและวิจัยค่าเงินของธนาคารดีบีเอส กล่าวว่า การประเมินครั้งนี้อยู่ในช่วงของวันแรก ๆ หลังเกิดภัยพิบัติ และมีมูลค่าน้อยกว่า แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ในปี 2538 เล็กน้อย โดยในครั้งนั้นประเมินว่ามีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 103,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูดีส์ยังมั่นใจฐานะการคลังของญี่ปุ่นหลังเหตุแผ่นดินไหว

มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ระบุว่า ญี่ปุ่นจะไม่เผชิญกับวิกฤตการคลังอย่างฉับพลันจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันศุกร์ แม้ผลกระทบของแผ่นดินไหวในครั้งนี้อาจทำให้รัฐบาลต้องขาดดุลงบประมาณมากขึ้นก็ตาม

นายโธมัส เบิร์น นักวิเคราะห์อาวุโสของมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส กล่าวในรายงานว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีศักยภาพที่จะรับมือกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้" พร้อมกับเสริมว่า "การใช้จ่ายด้านการบูรณะฟื้นฟูจะเป็นการกระตุ้นการคลังที่มีประสิทธิภาพและสมเหตุสมผล"

ญี่ปุ่นเร่งวัดปริมาณกัมมันตรังสีที่รั่วไหล

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมื่อช่วงเช้าวานนี้ ทางการญี่ปุ่นก็ได้สั่งให้หน่วยงานรัฐท้องถิ่นเข้าทำการตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีให้ถี่ขึ้น หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายยูกิโอะ เอดาโนะ กล่าวว่า ระดับสารกัมมันตภาพรังสีบริเวณโรงงานที่เตาปฏิกรณ์ปรมาณูระเบิด บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ สูงเกือบ 400 millisieverts (mSv) ต่อชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าก่อนเกิดระเบิดถึงพันเท่า

สำหรับความคืบหน้าเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา มีข่าวว่าทางทีมวิศวกรของบริษัท Tokyo Electric Power ที่โรงงานนิวเคลียร์สามารถรักษาระดับน้ำให้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี หลังจากมีการสั่งให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในรัศมี 30 กิโลเมตร อยู่แต่ในตัวอาคาร เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารปนเปื้อน

นาย Vladimir Asmolov ผู้บริหารหน่วยงานทางด้านนิวเคลียร์จากรัสเซีย ที่เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการต่อสู้กับวิกฤติครั้งนี้ และเป็นอดีตสมาชิกในทีมที่สู้กับเหตุหายนะที่เมืองเชนโนบิล ในปี 2529 มาแล้ว กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดในการกู้วิกฤติดังกล่าวก็คือการจัดหาน้ำและพลังงานไฟฟ้า มาที่สถานีที่เกิดปัญหา ซึ่งเขาก็บอกว่า จะไม่มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ในระดับที่เทียบเท่าได้กับกรณีเชนโนบิล

รูบินีมองเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะยาว

นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง นูเรียล รูบินี กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า โดยส่วนตัวแล้ว เขามองว่าทิศทางค่าเงินเยนในระยะยาวจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน

ญี่ปุ่นจำเป็นต้องให้เงินเยนอ่อนค่าเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออก เพราะไม่สามารถพึ่งพาความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานแล้ว เยนน่าจะมีทิศทางที่อ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า

นอกจากนี้อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เยนอ่อนค่าก็คือการที่ภาครัฐจะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลัง และอาจจะทำให้ BOJ ต้องซื้อพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น

ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ลุ้นญี่ปุ่นหนีสึนามิย้ายฐานผลิตมาไทย "วิวรรณ" ชี้คุ้มค่ากว่าฟื้นฟูโรงงานเก่า...

นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในระยะปานกลางนักลงทุนญี่ปุ่นที่ถูกผลกระทบจากภัยสึนามิ จะมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะไทยที่มีต้นทุนประกอบการถูก และยังใกล้แหล่งผลิต ซึ่งมีความคุ้มค่ามากกว่าที่จะฟื้นฟูโรงงานในญี่ปุ่นใหม่ และ เพื่อกระจายความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในญี่ปุ่น

ขณะเดียวกัน ไทยยังจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ อาหารสด แห้ง ผัก ผลไม้ และกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็ก อะลูมิเนียม พลาสติก สินค้าเครื่องจักรกล เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งใช้ไทยเป็นฐานการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกสินค้าไทยที่อาจถูกกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัว เช่น กลุ่มยานยนต์ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหาย ทำให้ภาพรวมทั้งปีอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีส่วนปล่อยกู้ให้กับลูกค้าญี่ปุ่นที่มาลงทุนในไทยผ่านความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่น 14 แห่ง มูลค่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งไม่น่าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อ เนื่องจากส่วนใหญ่ผลิตและขายในไทย.
http://www.thairath.co.th/
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ญี่ปุ่นทุ่มซื้ออาหารกู้วิกฤต "รับเหมา-พลังงาน-ปิโตรเคมี"ได้อานิสงส์ ราคา-กำไรพุ่งแน่
สำรวจผลบวก-ลบธุรกิจไทย กลุ่มไหนได้-เสียจากแผ่นดินไหว-สึนามิญี่ปุ่น เผยกลุ่มหลักส้มหล่นมีทั้ง "พลังงาน-ปิโตรเคมี-อาหาร-รับเหมา" ราคา-กำไรพุ่งแน่ ขณะที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขาดหนัก กระทบ "สมาร์ทโฟน" ค่ายรถยนต์หวั่นส่งมอบรถช้า หุ้นไทยร่วงหนักต่ำกว่า 1,000 จุด ส่วนเจโทรยันการลงทุนญี่ปุ่นยังมาไทย บีโอไอพร้อมหนุน

"ประชาชาติธุรกิจ" ได้สำรวจความคิดเห็นจากภาคธุรกิจต่าง ๆ ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งลบและบวกจากแผ่นดินไหวและสึนามิของญี่ปุ่น โดยนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากนี้ไปอีก 6 เดือน-1 ปี อาจมีผลกระทบเชิงบวกกับธุรกิจ 3 หมวด ได้แก่ 1.ราคาพลังงาน 2.ราคาปิโตรเคมีจะปรับสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจโรงกลั่นจะได้ประโยชน์ หลังจากญี่ปุ่นจำเป็นต้องหยุดเดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันรวม 6 โรง รวมกำลังการผลิต 25% และหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3.มีการนำเข้าอาหารมากขึ้น โดยพื้นที่เพาะปลูกถูกคลื่นสึนามิพัดไปไกลกว่า 100-200 กิโลเมตร

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นตรงกันว่าญี่ปุ่นจะนำเข้าอาหารมากขึ้น โดยสินค้าไทยซึ่งส่งไปญี่ปุ่นปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท แต่ต้องรอให้การจัดการท่าเรือในญี่ปุ่นสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์นี้ ไม่เช่นนั้นจะกระทบการเก็บและขนส่งสินค้าประเภทปศุสัตว์และอาหารทะเล

ด้านนายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้การส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นได้รับการยืนยันแล้วว่าท่าเรือเซนไดหยุดดำเนินการ 2 สัปดาห์ ส่วนท่าเรืออื่น ๆ เปิดปกติ

ขณะที่นายสุวิทย์ มโนมัยยานนท์ ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจรับเหมาครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทคงจะเข้าไปรับงานซ่อมแซม บูรณะโครงสร้างพื้นฐาน อาคารบ้านเรือนอีกเป็นจำนวนมาก ความต้องการใช้สินค้าเหล็ก ซีเมนต์ในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น

ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป่วน

นางสาวทิฆัมพร เปรมอยู่ ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท สีมาเทคโนโลยี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป้อนให้กับ NEC และ Panasonic ของญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย กล่าวว่า ตอนนี้บริษัทติดต่อกับทางญี่ปุ่นที่จัดส่งชิ้นส่วนเพื่อนำมาผลิตสินค้าไม่ได้ จากเดิมต้องนำเข้าชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น 80-90% ล่วงหน้าเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น ไม่เพียงพอกับการผลิตในระยะยาว หากยังติดต่อไม่ได้ภายใน 1-2 วันนี้ บริษัทก็ต้องตัดสินใจหยุดสายการผลิตชิ้นส่วนออกไปก่อน 1 สายการผลิต ซึ่งใช้คนงาน 40-50 คน ปลายสัปดาห์นี้น่าจะสรุปได้ว่ามูลค่าความเสียหายมีมากน้อยเพียงใด

ด้านนายสุรสีห์ แห่งศรีสุวรรณ

ผู้อำนวยการโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร (นครราชสีมา) เปิดเผยว่า บริษัทต่าง ๆ ยังคงมีสต๊อกสินค้าเก่าไว้พอใน 1-2 เดือนข้างหน้า และคาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับออร์เดอร์ อาจจะส่งผลในระยะสั้น

หวั่นราคาชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนพุ่ง

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ญี่ปุ่นเป็นแหล่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์สัดส่วน 20% ของกำลังการผลิตทั่วโลก, 15% ของการผลิต DRAM ทั่วโลก และกว่า 40% ของชิปเมโมรี่ที่ใช้งานบนแท็บเลต สมาร์ทโฟน กล้อง และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ล้วนผลิตจากโรงงานในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตหน้าจอดิสเพลย์ที่ใช้บนสมาร์ทโฟน แท็บเลต ที่สำคัญของโลก คาดว่าจะทำให้โรงงานเผชิญกับปัญหาซัพพลายสินค้าลดลงอย่างรวดเร็ว และยังทำให้ราคาเมโมรี่ชิปสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลว่าสินค้าจะขาดตลาดและความไม่แน่นอนของระบบซัพพลายเชน

โดยเฉพาะโตชิบาเป็นหนึ่งในผู้ผลิต NAND แฟลชเมโมรี่ชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ป้อนชิ้นส่วนให้กับสินค้าของแอปเปิล เช่น ไอโฟน ไอแพด และแท็บเลตอื่น ๆ โดยบริษัทวิจัย iSuppli ประเมินว่าบริษัทแม่ในญี่ปุ่นของบริษัทต่าง ๆ สร้างรายได้จากไมโครชิปมูลค่า 63.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐปี 2010 คิดเป็นสัดส่วน 20.8% ของตลาดรวมทั่วโลก

ขณะที่รายงานของ DRAMeX Change ตลาดค้าชิปรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย เมื่อต้นสัปดาห์หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่าราคาเฉลี่ยของ DRAM ชิปที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 5.5-6.8% ส่วน NAND แฟลชเมโมรี่ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการบันทึกข้อมูล เพลง ภาพในสมาร์ทโฟน เครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิทัล พบว่ามีราคาสูงขึ้น 12.5%

ชี้ชิ้นส่วนไอทีย้ายฐานไปจีน

อย่างไรก็ตาม นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานบริษัท ซินเน็ค ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มองว่าผลกระทบไม่น่าจะเกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากสินค้าไอทีและชิ้นส่วนต่าง ๆ ส่วนใหญ่ปัจจุบันย้ายฐานการผลิตมาอยู่ที่ประเทศจีนกว่า 80% โดยสินค้าที่ซินเน็คเป็นตัวแทนจำหน่าย โดยเฉพาะแฟลชเมโมรี่ พบว่าสินค้าผลิตในจีนเกือบทั้งหมดจึงไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในญี่ปุ่น ขณะที่สินค้าซึ่งผลิตในญี่ปุ่น และซินเน็คเป็นตัวแทนจำหน่ายนั้นมีเพียงจอมอนิเตอร์แบรนด์ไอโซเพียงอย่างเดียว เน้นเจาะตลาดไฮเอนด์ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ และยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด

ค่ายรถยนต์ยอดผลิต มี.ค.ฮวบ

อุตสาหกรรมที่ถูกผลกระทบสึนามิฟาดเข้าใส่หนักสุด น่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกาศหยุดการผลิตลงทันที

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ประกาศหยุดการผลิตชั่วคราว 12 โรงงานทั่วประเทศ เป็นเวลา 3 วัน (14-16 มีนาคม) เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและครอบครัว ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์อื่น อาทิ นิสสัน, มาสด้า, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, อีซูซุ, ไดฮัทสุ, ฮีโน่, ซูซูกิ และนิสสันยูดี ก็ระงับการผลิตชั่วคราวเช่นกัน

ส่วนด้านความเสียหายยังไม่สามารถระบุได้ แต่การหยุดผลิตทั่วประเทศครั้งนี้น่าจะทำโตโยต้าเสียตลาดประมาณ 40,000 คัน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า โรงงานผลิตรถยนต์ของค่ายโตโยต้าในประเทศไทย ได้ประกาศเลิกทำโอที (ทำงานล่วงเวลา) เป็นเวลา 5 วัน เนื่องมาจากมีวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบรถยนต์บางรายการที่ต้องซัพพลายจากต่างประเทศ อาจจะล่าช้า ส่วนระยะยาวนั้นคงต้องมีการหารือกันอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจพบว่าผลกระทบที่เกิดจากการขาดแคลนชิ้นส่วนนั้นไม่มากนัก เพราะใช้จากผู้ผลิตในประเทศมากกว่า จะมีการนำเข้า (ซีเคดี) บ้างก็เล็กน้อย คาดว่าในสัปดาห์หน้าคงได้ข้อสรุปชัดเจน โดยเฉพาะผลกระทบต่อยอดการผลิตรถยนต์โดยรวมในเดือนมีนาคมนี้ จะทำให้ยอดการผลิตน้อยกว่าประมาณการ โดยเฉพาะช่วงครึ่งเดือนหลัง ซึ่งจะมีผลโยงไปถึงการส่งมอบรถให้กับลูกค้า

"เจโทร" ไม่เปลี่ยนแผน

นายมูเนโนริ ยามาดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า การขยายตัวของบริษัทญี่ปุ่นมายังเอเชียจะไม่เปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาบริษัทญี่ปุ่นได้จัดสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งความสำคัญที่มีให้ไทยในฐานะฐานการผลิตและส่งออกจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือสั่นคลอนอย่างแน่นอน ส่วนระยะสั้นคงได้รับผลกระทบในเรื่องนำเข้าชิ้นส่วน หรือวัตถุดิบจากญี่ปุ่น หรือที่ต้องนำเข้าจากไทยเช่นกัน

ด้านแหล่งข่าวจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) กล่าวว่า การปล่อยวงเงินกู้ในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีปัญหา รวมถึงโครงการใหม่ที่มีแผนจะปล่อยกู้ในอนาคตด้วย

หุ้นร่วงต่ำกว่า 1,000 จุด

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นลงผันผวนต่อเนื่อง ซึ่งดัชนีปรับตัวลงแรงทันทีที่เปิดตลาดรอบบ่ายวันที่ 11 มี.ค. และปิดที่ระดับ 1,007.06 จุด ลดลง 12.16 จุด แต่ในต้นสัปดาห์มีแรงซื้อ

เก็งกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นการซื้อดักหน้าข่าวญี่ปุ่นปิดโรงกลั่น หนุนราคามีแนวโน้มปรับขึ้น ดันดัชนีปิดที่ 1,022.87 จุด เพิ่มขึ้น 15.83 จุด (14 มี.ค.) แต่เมื่อเกิดข่าวลบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของญี่ปุ่นระเบิด ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลงแรงอีกระลอก โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงหลุดแนวต้านใหญ่ 1,000 จุด มาต่ำสุดที่ 996.44 จุด ปิดตลาดที่ 1,003.10 จุด ลดลง 19.79 จุด หรือ -1.93% มูลค่าการซื้อขาย 37,651 ล้านบาท ขณะที่วันที่ 11 และ 14 มี.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,582 ล้านบาท

BOI หนุนย้ายฐานมาไทย

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการดำเนินงานประสานงานและจะเชิญบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยมาหารือแนวทางช่วยเหลือผู้ที่มีบริษัทแม่ได้รับความเสียหายจาก

สึนามิจะกระทบมาถึงการผลิตในไทยมากน้อยเพียงใด ทางบีโอไอพร้อมสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วนที่บริษัทแม่หลายรายมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่

ดังกล่าว พร้อมมีแนวคิดจะจัดตั้งทีมงานขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่โครงการลงทุนจากญี่ปุ่น ที่อาจย้ายฐานการผลิตหรือเข้ามาขยายการลงทุนในไทย
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ญี่ปุ่นเตรียมรับเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤติแผ่นดินไหว-สึนามิ

Posted on Wednesday, March 16, 2011
ญี่ปุ่นเตรียมรับเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤติแผ่นดินไหว-สึนามิ

ก่อนที่สถานการณ์ในญี่ปุ่นหลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และคลื่นสึนามิจะคลี่คลายลง รัฐบาลกรุงโตเกียวก็เตรียมใจพร้อมรับกับผลกระทบที่รุนแรงที่จะมีต่อเศรษฐกิจของตนแล้ว

ผลกระทบจากวิกฤติการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและของโลก จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ยังไม่มีสัญญาณว่าจะคลี่คลายลงในเร็ววัน ซึ่งรัฐบาลกรุงโตเกียวก็ทำใจเตรียมรับมือกับผลกระทบรุนแรงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้ว

ภาพของความเสียหายในจังหวัดมิยากิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ยังคงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ตามข่าวอยู่ทุกวัน ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมๆ กับเรื่องราวและความสูญเสียของบรรดาผู้รอดชีวิตที่ทยอยออกมาให้คนทั่วโลกเห็น

ในชั้นต้น หน่วยงานตำรวจที่รับผิดชอบปฏิบัติการหลังสึนามิเชื่อว่า จะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ที่จังหวัดมิยากิ ไม่น้อยกว่า 10,000 คน โดยประเมินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเมืองทั้งเมืองที่ราบเป็นหน้ากลอง นับตั้งแต่บริเวณท่าเรือ ไปจนถึงพื้นที่ลึกเข้าไปในเมือง ที่ตอนนี้ยังเต็มไปด้วยซากสิ่งก่อสร้าง รถยนต์ เรือ หรือแม้แต่เครื่องบิน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต้องหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว ทั้งท่าเรือ และสนามบินใกล้เคียง ก่อนจะเริ่มเปิดให้บริการได้บ้างแล้ว ขณะที่ระบบขนส่งมวลชนทางราบบางแห่ง โดยเฉพาะในเขตที่โดนคลื่นสึนามิพัดทำลาย ยังต้องหยุดให้บริการก่อน

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ญี่ปุ่นคงต้องใช้เวลาอีกนานหลายสัปดาห์กว่าจะประเมินได้ว่า ขอบเขตของความเสียหายจากวิกฤติภัยธรรมชาติครั้งนี้มากมายเพียงใด และจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศมากเพียงใด

มีผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินในเบื้องต้นว่า ญี่ปุ่นอาจต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในการฟื้นฟูประเทศ ในบริเวณที่ได้รับความเสียหายจากหายนะครั้งนี้ ซึ่งเงินก้อนนี้ก็จะกลายมาเป็นภาระเพิ่มเติมสำหรับรัฐบาลที่ปัจจุบันมีตัวเลขหนี้สาธารณะสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

บริษัท AIR Worldwide ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่าง ๆ ประเมินด้วยว่า ยอดเงินประกันที่จะมาชดเชยความเสียหายในครั้งนี้น่าจะสูงถึง 1.5 - 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เลยทีเดียว

ส่วนภาคธุรกิจนั้น บริษัทชั้นนำหลายแห่งก็ประกาศพักสายการผลิตเป็นการชั่วคราวเช่นกัน อย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ทั้ง Toyota, Nissan และ Honda รวมทั้ง บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Sony ด้วย

การตัดสินใจดังกล่าวผนวกกับนโยบายประหยัดพลังงานของรัฐ ที่พักการจ่ายไฟฟ้าในหลายเขตเป็นช่วง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ จึงทำให้อัตราการผลิตของญี่ปุ่นตกฮวบไปโดยปริยาย ขณะปัญหาที่โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังไม่ผ่านพ้นช่วงวิกฤติ หลังมีการสั่งปิดเตาปฏิกรณ์ปรมาณู 11 แห่งจากทั้งหมด 50 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวและ aftershocks ที่ตามมาอีกหลายระลอก

หายนะที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นครั้งนี้ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า นี่คือความเสียหายที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยประสบมา และเมื่อรวมกับผลกระทบค่าเงินเยนแข็ง การหดตัวของภาคส่งออก และเรื่องภาระหนี้สินแล้ว นักวิเคราะห์บางรายจึงเตือนว่า ญี่ปุ่นอาจต้องกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งก็เป็นได้

FED เชื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มมีเสถียรภาพและฟื้นตัว

ธนาคารกลางสหรัฐฯมั่นใจว่า เศรษฐกิจของประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว และมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น พร้อมยืนยันแผนซื้อคืนพันธบัตรต่อ

ภายหลังการประชุมเมื่อวันอังคาร คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ที่ดูแลนโยบายการเงินของสหรัฐฯ แถลงว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง และตลาดแรงงานในประเทศก็ค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพปกติด้วย

แถลงการณ์นี้ยังระบุด้วยว่า การปรับขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งส่งผลต่อเงินเฟ้อของประเทศนั้น เป็นเพียงภาวะชั่วคราว ซึ่งทาง FOMC ยังจับตาดูอย่างใกล้ชิด

ธนาคารกลางสหรัฐฯเปิดเผยว่าจะยังเดินหน้าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป และพร้อมเดินหน้าแผนซื้อคืนพันธบัตรมูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเดือนมิถุนายนนี้ด้วย

ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ทางที่ประชุมก็มีมติให้คงไว้ที่ระดับ 0 - 0.25% ต่อไป

ผู้นำทั่วโลกกังวลปัญหาเตาปฏิกรณ์ปรมาณูญี่ปุ่น

ความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตินิวเคลียร์และการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น ทำให้ผู้นำรัฐบาลหลายแห่งต้องหันไปมองสถานการณ์ในประเทศของตนอย่างเร่งด่วน

เหตุระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ปรมาณูในญี่ปุ่นหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา และการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ทำให้นักลงทุนเร่งถอนเงินออกจากตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะภาคอุตสาหกรรมก็ยังรอดูอยู่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะมีผลกระทบมากเพียงใด

และขณะที่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังดูไม่ชัดเจนนัก รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป ต่างเริ่มหันมาดูมาตรการด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของตนกันแล้ว

อย่างเช่น นายกรัฐมนตรี แองเกล่า แมร์เคิล ของเยอรมัน ที่ได้สั่งปิดการทำงานของโรงงานนิวเคลียร์ ทั่วประเทศเป็นการชั่วคราว พร้อมสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างละเอียดด้วย

ส่วนที่ฝรั่งเศสนั้น ปัญหาดังกล่าวก็ทำให้หุ้นของบริษัท Areva ซึ่งเป็นบริษัทรับก่อสร้างโรงงานปรมาณูที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดิ่งลงไปแล้วถึง 10%

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี หม่า ยิง เจี้ยว ของไต้หวัน ก็ส่งสัญญาณพร้อมยกเลิกแผนสร้างโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนชาวไต้หวันเช่นกัน

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จ่อรับดีมานด์พุ่ง หลังวิกฤติญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลายมาเป็นผู้รับส้มหล่นจากวิกฤติภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น เนื่องจากความกังวลว่าจะเกิดการขาดแคลนซัพพลาย

ราคาของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หลักๆ ในตลาดโลกเริ่มปรับตัวขึ้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงและคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดการขาดแคลนซัพพลาย และทำให้สายการผลิตที่เกี่ยวข้องทั่วโลกต้องหยุดชะงักนานกว่าที่คาดไว้

บริษัทวิจัย IHS iSuppli คาดการณ์ว่า สถานการณ์เช่นในปัจจุบันน่าจะยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมขนส่งและโครงสร้างด้านพลังงานของญี่ปุ่น และนำไปสู่การขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนอย่างมาก

ปัจจุบัน อัตราการผลิต Semiconductor ของญี่ปุ่นมีสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของการผลิตรวมจากทั่วโลก โดยเฉพาะชิพประมวลผลแบบ Flash Memory ที่ใช้ใน Smartphone รวมทั้ง Tablet PC และเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งญี่ปุ่นผลิตได้ถึง 40% ของความต้องการในตลาดโลกด้วย

บริษัทวิจัยรายนี้ ยังให้ความเห็นด้วยว่า แม้การขนส่งชิ้นส่วนดังกล่าวจากญี่ปุ่นจะหยุดชะงักเพียง 2 สัปดาห์ แต่ปัญหาการขาดแคลนและผลกระทบด้านราคาก็น่าจะลากยาวไปจนถึงไตรมาส 3/54

ติดตาม Global Money ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ใน News Update เวลา 12.00 น. ทาง Money Channel

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Glo ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 11

โพสต์

S&P ลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือบริษัทประกันญี่ปุ่น

Posted on Wednesday, March 16, 2011
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือ บริษัทประกันภัยของญี่ปุ่น ลงสู่ระดับ "เป็นลบ" จากเดิม "มีเสถียรภาพ" หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์สึนามิ กระหน่ำพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เนื่องจาก เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการชดเชยผู้ทำประกัน ของบริษัทประกันภัยญี่ปุ่น หลังเหตุแผ่นดินไหวรอบนี้ อาจสูงกว่าเมื่อครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมืองโกเบ ในปี 2538 และคาดว่า การทรุดตัวลงของตลาดหุ้น จะส่งผลกระทบต่อฐานเงินทุนของบริษัทประกันเหล่านี้ด้วย

S&P ระบุด้วยว่า หากมีการปรับลดอันดับเครดิตบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่นลง ก็จะปรับลดไม่เกิน 1 ขั้น

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 12

โพสต์

หิมะปกคลุมพื้นที่ประสบภัยสึนามิในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นรายงานเพิ่มเติมว่า ได้มีหิมะตกและปกคลุมพื้นที่ประสบภัยทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตั้งแต่เมื่อวานนี้ ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวจัดในพื้นที่ว่างเปล่าที่เต็มไปด้วยเศษซากปรักหักพังจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ

ทั้งนี้ ผู้รอดชีวิตและหน่วยกู้ภัย ซึ่งเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ ข้าวของเครื่องใช้ และน้ำมัน รวมทั้งไฟดับ และการโทรคมนาคมขัดข้อง ต้องประสบภาวะหิมะตกซ้ำปกคลุมท้องถนนและตามซากปรักหักพังต่าง ๆ อุณหภูมิที่ จังหวัดอิวาเตะ มิยางิ และฟุกุชิมะ ลดลงเกือบศูนย์องศาเซลเซียสแล้ว ซึ่งศูนย์อุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่า อาจดิ่งลงถึงติดลบ 5 องศาฯ ในวันนี้

ธุรกิจต่างชาติในญี่ปุ่นเร่งย้ายพนักงานหวั่นกัมมันตรังสี

และในช่วงที่วิกฤตินิวเคลียร์ในญี่ปุ่นยังไม่คลี่คลายลง ภาคธุรกิจต่างๆ ก็ได้ทำการเร่งอพยพพนักงานของตนออกจากพื้นที่ ขณะฟากของรัฐบาลเองยังพยายามอย่างหนักในการแก้ปัญหา กองทุน Private Equity รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างบริษัท Blackstone ที่ได้ปิดสำนักงานในกรุงโตเกียวมาแล้วหนึ่งสัปดาห์ และเสนอให้พนักงานที่นั่น 28 คนพร้อมกับครอบครัวมีสิทธิย้ายไปที่อื่นชั่วคราว

BNP Paribas ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ก็ได้ส่งพนักงานราว 10 คนที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น ออกไปยังสำนักงานสาขาในฮ่องกง และสิงคโปร์ เช่นกัน Citigroup ก็ได้รับคำร้องจากพนักงานให้ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ อย่าง BMW ก็กำลังย้ายคนงานไปยังสถานที่ปลอดภัย

ICAP ที่เป็นบริษัทโบรกเกอร์ที่ดูแลธุรกรรมระหว่างธนาคารรายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ก็ได้อนุญาตให้พนักงานต่างชาติในโตเกียวพร้อมครอบครัว สามารถย้ายไปทำงานชั่วคราวในสาขาฮ่องกง และสิงคโปร์ ทางด้านสมาคมธนาคารระหว่างประเทศ เผยว่า บริษัทการเงินหลายแห่งที่ยังคงเปิดดำเนินการตามปกติในวันนี้

S&P ลดอันดับเครดิตบ.ประกันภัยญี่ปุ่น

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่น ลงสู่ระดับ "เป็นลบ" จากเดิม "มีเสถียรภาพ" หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิกระหน่ำพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น

รายงานของ S&P ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการชดเชยผู้ทำประกันของบริษัทประกันภัยญี่ปุ่นอาจจะสูงกว่าระดับเมื่อครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมืองโกเบของญี่ปุ่นในปี 2538 หรือที่เรียกว่า Great Hanshin Earthquake และคาดว่าการทรุดตัวลงของตลาดหุ้นจะส่งผลกระทบต่อฐานเงินทุนของบริษัทประกันเหล่านี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับลดอันดับเครดิตบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่น S&P ก็จะปรับลดไม่เกิน 1 ขั้น


เอกชนญี่ปุ่นยืนยันปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีแก่พนักงาน

บริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นหลายรายเปิดเผยว่า บริษัทจะยังคงปรับขึ้นเงินประจำปีในปีนี้ โดยโตโยต้า มอเตอร์ ตกลงจ่ายโบนัสเต็มจำนวนตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

ส่วนบริษัทด้านอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พานาโซนิค ฟูจิตสึ ชาร์ป และ เอ็นอีซี กล่าวต่อสหภาพแรงงานว่า บริษัทจะยังคงปรับเงินเดือนประจำปีตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ในการเจรจาต่อรองเงินเดือนระหว่างผู้บริหารและแรงงานประจำฤดูใบไม้ผลินี้

สหภาพแรงงานหลายแห่งได้ลดข้อเรียกร้องขอขึ้นเงินเดือนลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ ผลการเจรจาเรื่องค่าจ้างของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็คทรอนิคนั้นถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีอิทพลต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ

ในขณะเดียวกัน นิสสัน มอเตอร์ และ ฮอนด้า มอเตอร์ ได้เลื่อนการตัดสินใจออกไป เนื่องจากการเผชิญกับเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ธนาคารกลางญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเพิ่มอีก 1 ล้านล้านเยน
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2011 เวลา 13:01 น.
วันนี้ (17 มี.ค.) ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นประกาศอัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านล้านเยน หลังจากที่ช่วงเช้าได้ประกาศอัดฉีดเงินไปแล้ว 5 ล้านล้านเยน เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินในประเทศ

สำหรับเป้าหมายของการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบในครั้งนี้ ธนาคารกลางระบุว่าเป้าหมายเพื่อที่จะเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดเงินในระยะสั้นเพื่อให้ตลาดมั่นใจว่าจะมีสภาพคล่องเพียงพอโดยเฉพาะสำหรับสถาบันการเงินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นมาจนถึงการประกาศครั้งล่าสุด ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบไปแล้ว 34 ล้านล้านเยน

นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังได้ยื่นข้อเสนอในวันนี้ที่จะเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลและหลักทรัพย์ระยะสั้นเป็นมูลค่า 3.86 ล้านล้านเยนในสัปดาห์หน้าเพื่อจะเพิ่มสภาพคล่องเพิ่มเติมอีก
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=525
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เอกชนญี่ปุ่นเรียกร้องรัฐบาลแทรกแซงเงินเยน หลังพบเก็งกำไรผิดปกติ

นายฮิโรมาสะ โยนิคูระ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้มาตรการที่จริงจัง รวมทั้งการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากเงินเยนที่พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์นั้น สะท้อนให้เห็นว่ามีการเก็งกำไรและยังเป็นการแข็งค่ามากจนเกินไป

นอกจากนี้ มาสะมิตสุ ซากุราอิ ประธานสมาคมผู้บริหารบริษัทของญี่ปุ่นก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกัน โดยเรียกร้องให้นักลงทุนเคลื่อนไหวอย่างสงบ เนื่องจากค่าเงินเยนนั้นไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

ค่าเงินเยนแข็งค่าเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 76.25 เยนต่อดอลลาร์ ช่วงเช้าเมื่อวานนี้ (17 มี.ค. 54) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อเงินเยน อันเป็นผลมาจากการคาดการณ์ที่ว่า บริษัทญี่ปุ่นอาจจะเทขายสกุลเงินดอลลาร์เพื่อหันมาซื้อเงินเยน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงจนทำให้ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤตการณ์นิวเคลียร์

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า การที่เงินเยนพุ่งขึ้นไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของตลาด และยังกล่าวด้วยว่า การเก็งกำไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินเยนพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง

นายคาโอรุ โยซาโนะ รมว.เศรษฐกิจและนโยบายการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การเก็งกำไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินเยนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ นายโยซาโนะกล่าวว่า มีข่าวลือในตลาดว่า บริษัทประกันญี่ปุ่นกำลังย้ายฐานเงินทุนจากต่างประเทศมายังญี่ปุ่น เพื่อนำเงินดังกล่าวมาเป็นค่าชดเชยให้กับลูกค้าที่ทำประกัน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ชาติ G7 จ่อถกด่วน รับมือวิกฤติญี่ปุ่น

รมต.คลังญี่ปุ่น Yoshihiko Noda บอกกับผู้สื่อข่าวว่า บรรดา รมต.คลังของประเทศกลุ่ม G7 จะประชุมด่วนในเวลา 7 โมงเช้าวันนี้ (18 มี.ค. 54) ตามเวลากรุงโตเกียว เพื่อหารือเรื่องวิกฤติการณ์ของญี่ปุ่น หลังค่าความเสี่ยงของพันธบัตรประเทศพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
และภายหลังการประชุมด่วนของชาติ G7 ครั้งนี้ นักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์บางค่ายก็คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ชาติสมาชิกจะร่วมมือกันเทขายเงินเยนออกมา

รมต.คลังของญี่ปุ่น ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องที่ทางกระทรวงการคลังอาจสั่งแบงก์ชาติให้เข้าไปแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ พร้อมกับกล่าวว่า ตลาดกำลังอยู่ในสภาวะหวาดวิตก โดยเมื่อวานนี้ ทางบีโอเจก็ได้อัดฉีดเงินมูลค่า 5 ล้านล้านเยน หรือราว 63,000 ล้านเหรียญเข้าไปในตลาดเงินแล้ว


WHO ชี้กัมมันตรังสียังไม่กระจายมากในตปท.

เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกแถลงการณ์เพื่อลบล้างข่าวลือเรื่องการแพร่กระจายของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นไปยังเอเชียและภูมิภาคต่างๆ

ดร.ไมเคิล โอเลียรี ผู้แทน WHO ประจำประเทศจีน กล่าวว่า WHO ขอยืนยันกับรัฐบาลและประชาชนว่า ขณะนี้ยังไม่หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่ามีสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆในปริมาณมาก จากข้อมูลที่มีอยู่จนถึงปัจจุบัน WHO เชื่อว่า ยังไม่มีความเสี่ยงในด้านสาธารณสุขของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนอกเขตพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสี และขอให้รัฐบาลของประเทศต่างๆสกัดการแพร่กระจายของข่าวลือที่อาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน

ทั้งนี้ ข่าวลือที่แพร่สะพัดออกไปทำให้ชาวจีนแห่กันซื้อและกักตุนเกลือ ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในกรุงปักกิ่งนั้น ไม่มีเกลือจำหน่าย

มิซูโฮ แบงก์ ระงับธุรกรรม ATM-Online หลังระบบมีปัญหา

นายซาโทรุ นิชิโบริ ประธานมิซูโฮ แบงก์ เปิดเผยว่า ระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารยังคงทำงานผิดปกติเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันในเมื่อวานนี้ ส่งผลให้ต้องระงับการทำธุรกรรมผ่านทางตู้เอทีเอ็มของธนาคาร 440 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงการทำธุรกรรมออนไลน์เกือบทั้งหมด

ข้อกพร่องที่เกิดขึ้นทำให้ลูกค้าทำธุรกรรมอะไรไม่ได้เลยนอกเหนือจากการเช็คยอดเงินคงเหลือในบัญชี และต้องถอนเงินผ่านทางเคาน์เตอร์แทน ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วในวันอังคารและวันพุธ ส่งผลให้การโอนเงิน 440,000 รายการ มูลค่ารวม 5.7 แสนล้านเยน ต้องล่าช้าออกไป และทางธนาคารเกรงว่าระบบที่มีปัญหาอาจทำให้ธนาคารต้องเปิดให้บริการช้ากว่าปกติในวันศุกร์

นายนิชิโบริได้แสดงความเสียใจที่ปัญหาเดิมๆเกิดขึ้นซ้ำอีก ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเผยไม่มีรายงานบริษัทประกันถอนสินทรัพย์

นายคาโอรุ โยโซโนะ รมต.เศรษฐกิจญี่ปุ่นบอกว่า มีการคาดการณ์บริษัทประกันชีวิตและวินาศภัยจะเคลื่อนย้ายสินทรัพยสกุลเงินดอลลาร์ กลับประเทศเพื่อใช้เป็นหลักประกันเงินทุนหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งจริงๆ แล้วบริษัทประกันภัยเหล่านั้นมีทั้งเงินสด เงินฝาก และสินทรัพย์สภาพคล่องอื่นๆ ที่มากเพียงพอ

คำกล่าวของนายโยโซโนะยังเป็นการตอกย้ำสิ่งที่ทางแบงก์ชาติญี่ปุ่นกับหน่วยงานที่กำกับสถาบันการเงิน ที่ต่างออกมาบอกว่า บริษัทประกันภัยไม่ได้ขายสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเหตุให้เงินเยนถีบตัวแข็งค่าขึ้น

นักกลยุทธ์ด้านค่าเงินของ Barclays Bank ในโตเกียวกล่าวว่า เมื่อญี่ปุ่นต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจซบเซามากขึ้น ผู้ส่งออกรายใหญ่ อย่าง Toyota Motor ประเมินว่า การแข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 เยน รายได้ของบริษัทหดหายไปราวๆ 3 หมื่นล้านเยน ขณะที่ Honda Motor คาดว่ารายได้จะหายไปราว 1.7 หมื่นล้านเยน สำหรับทุก 1 เยนที่แข็งค่าขึ้น

ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ธนาคารกลางญี่ปุ่นอัดฉีดเงินอีก 3 ล้านล้านเยน
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2011 เวลา 10:46 น.
วันนี้ (18 มี.ค.) ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินเพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านล้านเยน (3.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาด โดยรวมตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด ธนาคารกลางญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดเงินไปแล้ว 37 ล้านล้านเยน

ทั้งนี้ในช่วงเปิดตลาดการซื้อขายในวันศุกร์ ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 81.21 เยนต่อดอลลาร์ หลังจากที่กลุ่มจี 7 ประกาศว่าจะร่วมมือกับญี่ปุ่นในวันนี้เพื่อเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนไม่ให้แข็งค่ามากขึ้นโดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าการตัดสินใจของกลุ่มจี7 ซึ่งประกอบไปด้วยอิตาลี แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐ เยอรมัน จะช่วยทำให้ตลาดคลายความกังวลไปได้

“มีอยู่สามเหตุผลที่จะทำให้การแทรกแซงครั้งนี้ได้ผล อันดับแรกคือนี้เป็นปฏิบัติการร่วมกัน สองคือมันมาได้ถูกจังหวะและสามคือมันเป็นการแทรกแซงร่วมกันด้วยหลายค่าเงิน” นายเดวิด ฟอเรสเตอร์จาก Barclays Capital กล่าว

อย่างไรก็ตามเขาก็กล่าวเสริมด้วยว่าแม้การแทรกแซงจะช่วยลดความกังวลให้กับตลาด แต่ก็อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการแข็งค่าของเงินเยนมากนัก

“การอ่อนค่าของดอลลาร์เมื่อเทียบกับเยนค่อนข้างจะสูงมาก และเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว การแทรกแซงถูกออกแบบเพื่อทำให้ทุกอย่างช้าลงมากกว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยน”

ทั้งนี้รัฐมนตรีคลังของกลุ่มจี7 ได้เรียกให้มีการประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดการกับความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดและผลกระทบจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=525
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 17

โพสต์

แบงก์ชาติหวั่นภัยพิบัติญี่ปุ่นกระทบเศรษฐกิจไทย

Posted on Friday, March 18, 2011
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า หลังเกิดเหตุภัยพิบัติครั้งรุนแรงในญี่ปุ่นประเด็นที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือ ความผันผวนของตลาดการเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนที่ขณะนี้มีความผันผวนค่อนข้างมาก

โดยค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ 76 เยนต่อดอลลาร์ จาก 79 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นการทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในรอบเกือบ 16 ปี จากการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องที่แบงก์ชาติจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

นายไพบูลย์ บอกอีกว่า นอกจากนี้แบงก์ชาติยังห่วงใยต่อสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาของทางการญี่ปุ่น ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยนั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมิน

โดยขณะนี้ทีมเศรษฐกิจของแบงก์ชาติกำลังรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นใหม่ เนื่องจากสถานการณ์ในหลายๆ ด้านมีความรุนแรงมากกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม โดยเฉพาะสถานการณ์การรั่วไหวของสารกัมมันตภาพรังสีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ทางการญี่ปุ่นจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ ก่อนที่จะนำเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ในวันที่ 21 มีนาคมนี้

ด้านนายสุเทพ พีตกานนท์ ประธานกรรมการและกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ หรือ บล.โนมูระ พัฒนสิน บอกว่า เหตุการณ์ในญี่ปุ่นมีผลกระทบด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม และกลุ่มขนส่ง ที่อาจได้รับผลกระทบระยะสั้น แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เชื่อว่า กลุ่มส่งออกจะปรับดีขึ้น เพราะญี่ปุ่นมีความต้องการปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น

ขณะที่บทวิเคราะห์ของบล.โนมูระ พัฒนสิน วิเคราะห์ว่า หากนักลงทุนญี่ปุ่นมีการขายหุ้น และกองทุนญี่ปุ่นถูกไถ่ถอนหน่วยลงทุน เพื่อกันเงินสดในภาวะฉุกเฉิน เชื่อว่า หุ้นไทยจะได้รับผลกระทบจำกัด เพราะสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำ โดยจากปี 2550 - 2553 มีเพียง 4 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.8% ของเงินลงทุนต่างประเทศที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยทั้งหมดที่ 145,000 ล้านบาท แต่ญี่ปุ่นมีการลงทุนโดยตรง หรือ เอฟดีไอ ในไทยสูงสุดเป็นอันดับ 1 ถึง 329,000 ล้านบาท คิดเป็น 33.9% จากการลงทุนของต่างชาติทั้งหมด 937,000 ล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 18

โพสต์

สถาบันวิจัยคาดแผ่นดินไหวดึง GDP ญี่ปุ่นหดตัวลงอย่างน้อย 0.2%

สถาบันวิจัยไดวาเปิดเผยว่า ผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว มีแนวโน้มว่าจะดึงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลง 0.2% หรือมากกว่านั้นในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนเม.ย.นี้

ปัจจัยต่างๆ อาทิ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลง การผลิตที่ลดลงเนื่องการจ่ายไฟแบบหมุนเวียน และการบริโภคส่วนบุคคลที่ลดลงเพราะความเชื่อมั่น จะดึงจีดีพี ของญี่ปุ่นลงอย่างน้อย 0.7% แต่ความต้องการในการฟื้นฟูประเทศจะช่วยผลักดันจีดีพีได้ประมาณ 0.5% ขณะที่ เงินเยนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และวิกฤตที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจ.ฟูกุชิม่านั้น จะดึงจีดีพีลงด้วยเช่นกัน

มิตสุมารุ คูมากาอิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันฯ กล่าวว่า ปัจจัยลบจะขยายวงกว้างหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลรับประกันเรื่องความปลอดภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ตลอดจนเรียกร้องให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นป้องกันไม่ให้เงินเยนแข็งค่ามากจากการเก็งกำไร

ญี่ปุ่นจับมือ G7 แทรกแซงเงินเยน

กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G7 ตกลงร่วมมือกัน ในแบบที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนัก ร่วมมือกันแทรกแซงค่าเงินเยน เพื่อสกัดการแข็งค่าและมุ่งดูแลความเรียบร้อยในตลาด โดย เงินเยนอ่อนค่าลงในทันที เมื่อข่าวการร่วมมือกันของกลุ่มชาติที่ร่ำรวยที่สุดออกมา โดยครั้งสุดท้ายที่กลุ่ม G7 ร่วมมือกันแทรกแซงเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่หวังเปลี่ยนทิศทางค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีการเริ่มใช้เงินสกุลยูโรในปี 2542

นาย โยชิฮิโกะ โนดะ รมต.คลัง กล่าวว่า BOJ เริ่มขายเงินเยน มาตั้งแต่ช่วงเช้าของเวลากรุงโตเกียว ขณะที่ ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม G7 เข้าแทรกแซงในระหว่างที่ตลาดของประเทศเหล่านั้นเปิดทำการ
มูลค่าความเสียหายสำหรับวิกฤติการณ์ในญี่ปุ่นหนนี้ มีการประเมินว่าน่าจะออกมาสูงถึง 200,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นไปได้อย่างมาก ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจต้องวกกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง

จีเอ็มประเมินผลกระทบแผ่นดินไหว-สึนามิ ญี่ปุ่น

จีเอ็มกำลังปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของบริษัท ขณะที่บริษัทกำลังประเมินสถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งสร้างความไม่มีเสถียรภาพให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์
แดน แอ็คเคอร์สัน CEO ของผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติสหรัฐฯ อย่าง จีเอ็มได้ส่งจดหมายเวียนถึงพนักงานว่า ตอนนี้ บริษัทได้ทำการประเมินเบื้องต้นว่าจะปรับลดการผลิตมากน้อยแต่ไหน เนื่องจากประสบกับภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนหลังจากที่ญี่ปุ่นประสบกับภาวะแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งทำให้การผลิตและส่งออกชื้นส่วนต้องหยุดชะงักไป

ผู้บริหารของจีเอ็มต้องการสร้างความแน่ใจว่า สายการผลิตของจีเอ็มตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางจะมีชิ้นส่วนที่ครบถ้วนในการประกอบรถยนต์ โดย สัปดาห์ที่แล้ว จีเอ็มกล่าวว่า บริษัทอาจจะระงับการผลิตในโรงงานในหลุยส์เซียน่า 1 โรง และอีก 2 โรงในยุโรป สืบเนื่องจากชิ้นส่วนไม่เพียงพอ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ธรรมชาติได้ลงโทษชาวญี่ปุ่น ผู้โลภโมโทสัน โหดเหี้ยมอำมหิต และตะกละตะกลาม ... ตะกะ ดะ กาม แล้วครับ พี่น้อง ผมไม่ได้มาเหยียบย่ำซ้ำเติมเขาครับ คนญี่ปุ่น ที่ดีๆก็มีมาก เป็นเพื่อนผมก็มี
เป็นอุทาหร... สำหรับคนไทยครับ คนที่ตะกละ กะกาม โลภโมโทสัน โหดเหี้ยมอำมหิต จงระวังไว้ครับ
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 20

โพสต์

สึนามิญี่ปุ่นกระทบ 5 อุตสาหกรรมไทย

Posted on Monday, March 21, 2011
นายธราดล เปี่ยมพงษ์สานต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี บอกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ หรือ กรอ. ได้ประเมินผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติในญี่ปุ่นต่อเศรษฐกิจไทย โดยพบว่าในภาพรวม จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นเท่านั้น

โดยมี 5 อุตสาหกรรม ที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ อุตสาหกรรม ชิ้นส่วน-อะไหล่รถยนต์ // อุตสาหกรรมเหล็ก // อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ // ยางพารา // และกล้วยไม้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีสต็อคคงค้างเหลือให้ผลิตได้อีกแค่ประมาณ 1 เดือน ทำให้การผลิตไม่ต่อเนื่อง จนอาจต้องลดการทำงานล่วงเวลา ส่งผลให้กำลังการผลิตรถยนต์ อาจจะลดลง 5,000 คันต่อสัปดาห์ เมื่อเทียบจากยอดการผลิตของญี่ปุ่นที่อยู่ที่ 1 แสนคันต่อเดือน

ส่วนภาคการท่องเที่ยวคาดว่าได้รับผลกระทบในระยะ 3-6 เดือน ทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่น ที่จะเดินทางมาไทยลดลง 1.8 แสนคน จากปกติที่มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางเข้าไทยปีละ 1 ล้านคน หรือ ลดลง 16%

ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ได้รายงาน กรอ.ถึงผลกระทบจากภัยพิบัติญี่ปุ่น โดยระยะสั้น ยอมรับว่าอาจมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกบางส่วน ขณะที่ภาคการลงทุนยังไม่ได้รับกระทบ แต่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะยาว เพราะยังมีเรื่องการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ที่ยังประเมินไม่ได้

สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุน ภายหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น ยืนยันว่า บริษัทประกันภัยในประเทศญี่ปุ่น มีสภาพคล่องเพียงพอในการดูแลความเสียหายในประเทศ จึงไม่มีความจำเป็นต้องดึงเม็ดเงินลงทุนกลับ

ส่วนค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ได้เกิดจากผลกระทบจากประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นผลมาจากบริษัทส่งออกของไทยกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์แข็งค่าของเงินเยน ทำให้มีการเทขายเงินเยนออกมา

ด้านสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานต่อที่ประชุม กรอ.ว่าเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่น อาจมีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้ประมาณ 0.1% แต่ก็เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น

ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มองว่า เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นไม่น่าจะส่งผลกระทบ ทางลบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม และจากการหารือร่วมกับหลายฝ่ายพบว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เคยวางแผนไปท่องเที่ยวญี่ปุ่น เปลี่ยนแผนมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทดแทนกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่ต้องยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยได้ และในระยะยาว ไทยน่าจะได้ประโยชน์ จากนโยบายการกระจายการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

ส่วนนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า เหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลต่อการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นไม่มากนัก ขณะเดียวกันจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยส่งออกได้มากขึ้น จึงเชื่อว่า ส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นยังสามารถโตได้ 10% ขณะที่ภาพรวมการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้10-13%

นายธนวรรธน์ บอกอีกว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้จีดีพีญี่ปุ่นลดลงจากเดิมที่คาดไว้จะโต 1.6 % เป็น 1.1-1.3 % แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีผลต่อจีดีพีโลกมากน้อยแค่ไหน แต่จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นอัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมาก จะเป็นตัวกระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ภัยพิบัติญี่ปุ่นกระทบแรงงานอิเล็กทรอนิกส์

Posted on Tuesday, March 22, 2011
นายทศพล วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บอกว่า กรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น อาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นส่วนใหญ่ จะต้องนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

ขณะนี้โรงงานในประเทศยังคงมีสต็อกชิ้นส่วนในการผลิต แต่หากญี่ปุ่นยังไม่สามารถผลิตส่งมาได้ พนักงานหรือคนงานในภาคอุตสาหกรรม ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจจะต้องถูกเลิกจ้างหรือลดเวลาการทำงานลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 22

โพสต์

BOJ อัดฉีดเงินเข้าอีก 2 ล้านล้านเยน

Posted on Tuesday, March 22, 2011
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินอีก 2 ล้านล้านเยนในวันนี้ เพื่อสนับสนุนการระดมทุนของสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารในภูมิภาคที่ได้รับที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และเพื่อสกัดกั้นการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ BOJ ได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินติดต่อกันเป็นวันที่ 6 ทำให้วงเงินที่ BOJ อัดฉีดเข้าสู่ตลาดในขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านล้านเยนแล้ว
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ธนาคารโลกคาดความเสียหายจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นอาจถึง 2.35 แสนล้านเหรียญ

ธนาคารโลกประมาณการณ์ว่า มูลค่าความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่นจะสูงถึง 235,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าต้นทุนความเสียหายของเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบเมื่อปี 2538 ที่ระดับ 1 แสนล้านดอลลาร์ และคาดว่าบริษัทประกันจะมีต้นทุนในการจ่ายค่าชดเชยเป็นวงเงินสูงถึง 33,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม การประมาณการดังกล่าวไม่ได้นับรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า

ธนาคารโลกระบุว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นไปจนถึงช่วงกลางปีนี้ และจะส่งผลกระทบปานกลางต่อภูมิภาคเอเชียในระยะสั้นๆ แต่คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะเริ่มดีดตัวขึ้นในช่วงไตรมาสหลัง เพราะได้แรงหนุนจากการฟื้นฟูประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ธนาคารโลกระบุว่า ภาวะติดขัดที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกนั้น จะทำให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งนี้ ญี่ปุ่นสามารถผลิตเมมโมรี่ชิพในสัดส่วนสูงถึง 36% ของผลผลิตอิเล็กทรอนิกทั่วโลก ซึ่งภาวะติดขัดที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลให้ราคาเมมโมรี่ชิพพุ่งขึ้นไปแล้ว 20%

IAEA หวั่นอาหารปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

นายเกรแฮม แอนดรูว์ เจ้าหน้าที่อาวุโสของ สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กล่าวว่า มีความคืบหน้าสำหรับการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา แม้สถานการณ์โดยรวมยังถือว่ารุนแรง

นายแอนดรูว์กล่าวว่า IAEA ยืนยันว่ามีการค้นพบสารไอโอดีน 131 ซึ่งเป็นไอโซโทปจากกัมมันตภาพรังสี ในอาหารประเภทนมและผักสดในบางพื้นที่ ในระดับสูงเกินกว่าที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดไว้ เช่นเดียวกับ นายเจอร์ราร์ด โพรเอล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ IAEA อีกราย ที่ออกมาบอกว่า การปนเปื้อนในอาหารและน้ำเป็นเรื่องที่น่ากังวล และต้องจับตาดูสถานการณ์ดังกล่าวอย่างระวัง

สารไอโอดีน 131 มีคุณสมบัติย่อยสลายรวดเร็ว ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลในระยะยาว แต่สารกัมมันตรังสีอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซีเซียม 137 สามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลาที่ค่อนข้างนาน และพืชสามารถดูดซึมได้

สินค้าญี่ปุ่นในจีนเริ่มเสื่อมความนิยมจากวิกฤตนิวเคลียร์

หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่รายงานว่า ห้างสรรพสินค้าและภัตตาคารญี่ปุ่นในประเทศจีนเริ่มหลีกเลี่ยงสินค้าที่นำเข้าจากญี่ปุ่น หลังจากที่ญี่ปุ่นได้รายงานว่า ระดับของสารกัมมันตรังสีที่ตรวจพบในผักโขมและผลิตภัณฑ์นมจากแหล่งผลิตที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นสูงเกินระดับมาตรฐานความปลอดภัย

ขณะเดียวกัน ร้านค้าปลีกหลายแห่งต่างเร่งแกะสลากผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็นสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ทั้งที่ก่อนหน้านี้สินค้าผลิตในญี่ปุ่นเคยได้รับความนิยมในกลุ่มลูกค้าหนุ่มสาวที่ทันสมัยเนื่องจากเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ การเพิ่มความเข้มงวดด้านการตรวจสอบระหว่างพรมแดนยังส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นด้วย ทำให้ สต็อกปลาสด กุ้ง และปู ของห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้มีจำนวนลดลง
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เฮดจ์ฟันด์ลดสถานะลงทุนในโภคภัณฑ์หลังวิกฤติญี่ปุ่น

ข้อมูลสถานะสัญญาการลงทุนในตลาดอนุพันธ์สหรัฐฯ ที่รวบรวมโดยสำนักข่าว Bloomberg พบว่า กองทุนเก็งกำไร (Hedge Funds) ต่างปรับลดสถานะการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ลงในระดับที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว จากวิกฤติการณ์นิวเคลียร์ในญี่ปุ่น

สัญญา Futures และ Options เฉพาะที่เป็นสถานะซื้อสุทธิของสินค้าโภคภัณฑ์หลัก 18 ประเภท มีจำนวนดิ่งลงถึง 14% ณ วันที่ 15 มี.ค. เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

ดัชนี Thomson/Reuters Jefferies CRB ที่สะท้อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลักๆ ร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์วันที่ 11 มี.ค. CRB Index ได้ทะยานขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีแล้วถึง 11% เรียกได้ว่า outperform ทั้งตลาดหุ้นและพันธบัตร

ผู้จัดการกองทุนรายหนึ่งในสหรัฐฯ มองว่า สถานการณ์ในญี่ปุ่นกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนถือโอกาสเร่งขายทำกำไรออกมา ซึ่งน่าจะเป็นเพียงอุปสรรคในระยะสั้นเท่านั้น เพราะแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์จริงๆ ยังน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น ด้วยแรงผลักดันของดีมานด์ในเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมและการสร้างชุมชนเมือง

TEPCO พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในทะเล

บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ (TEPCO) เปิดเผยว่า น้ำทะเลในบริเวณที่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี 5 ชนิด

ก่อนหน้านี้ สำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) เปิดเผยว่า พบสารกัมมันตรังสีซึ่งสูงกว่าระดับปกติถึง 1,600 เท่าในเมืองนามิเอะ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ ประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งข้อมูลซึ่งทีมงานของ IAEA รวบรวมได้พบว่า ระดับการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีที่พบในเมืองนามิเอะอยู่ที่ 161 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง

ทั้งนี้ ในระหว่างที่มีการนำผลิตภัณฑ์อาหารและนมมาตรวจสอบหาสารกัมมันตรังสีนั้น ทางรัฐบาลระบุว่า สารกัมมันตรังสีที่ตรวจพบในอาหารนั้นไม่ได้อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังได้ส่งเรือลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าแล้ว

TEPCO ขอโทษประชาชนที่อพยพจากพื้นที่หลังวิกฤตินิวเคลียร์

ผู้บริหารบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (TEPCO) ได้ออกมาขอโทษประชาชนที่ต้องอพยพออกจากเมืองโอคุมะ จังหวัดฟูกุชิม่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นายโนริโอะ สึซึมิ รองประธานบริหารบริษัทเทปโก กล่าวขอโทษกับประชาชน ขณะที่เขาเดินทางไปยังยิมเนเซียมแห่งหนึ่งในเมืองทามูระ ซึ่งใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวหลังถูกสั่งให้อพยพออกจากเมืองเนื่องจากวิกฤตนิวเคลียร์ ขณะเดียวกันนายกเทศมนตรีเมืองโอคุมะ ได้ขอให้ผู้บริหารเทปโกยุติวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นและสร้างความสงบให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

ขณะนี้เทปโกกำลังประสานงานกับหน่วยดับเพลิงและกองกำลังป้องกันตนเอง เพื่อให้บริษัทสามารถกลับมาควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ทั้งนี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกสั่งให้อพยพออกจากพื้นที่

ค่ายรถญี่ปุ่นเตรียมเดินเครื่องการผลิตอีกครั้ง

ค่ายรถสัญชาติญี่ปุ่นกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณษว่า บริษัทจะกลับมาเริ่มต้นการผลิตได้อีกครั้งเมื่อไหร่ หลังเกิดวิกฤตที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้ซัพพลายเออร์และโรงงานบางแห่งต้องระงับการผลิต

ผู้ผลิตรถซูบารุเปิดเผยว่า บริษัทเริ่มผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เพื่อป้อนฐานการผลิตในต่างประเทศเมื่อวานนี้ แต่จะยังระงับการผลิตที่โรงงานหลายแห่งในญี่ปุ่นอย่างน้อยถึงวันพฤหัสบดี ด้านโตโยต้าและฮอนด้าเผยว่า กำลังอยู่ในระหว่างตัดสินใจว่าจะสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตอีกครั้งได้เมื่อไหร่

อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดกันว่า ค่ายรถจากญี่ปุ่นจะฟื้นตัวขึ้นทันทีที่เริ่มเดินเครื่องการผลิต หลังจากที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9,000 คน แต่นักวิเคราะห์ในภาคอุตสาหกรรมระบุว่า การผลิตของค่ายรถในญี่ปุ่นจะหยุดชะงักจากปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้าและความเสียหายบนท้องถนน

โซนี่ระงับการผลิตโรงงาน 5 แห่งในญี่ปุ่นถึงสิ้นเดือน

บริษัท โซนี่ คอร์ป เปิดเผยว่า บริษัทจะระงับการผลิตที่โรงงานในญี่ปุ่น 5 แห่งไปจนถึงวันที่ 31 มี.ค.นี้ เนื่องจากขาดแคลนวัสดุและชิ้นส่วนต่างๆ ภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 5 แห่งดังกล่าวผลิตอุปกรณ์ในการแพร่ภาพกระจายเสียง กล้อง มือถือ จอทีวีจอแบน และไมโครโฟนเป็นส่วนใหญ่

โรงงานที่โซนี่ระงับการผลิตก็คือโรงงานที่จังหวัดชิสึโอกะ ไอจิ กีฟู และโออิตะ นอกจากนี้ บริษัทก็อาจจะพิจารณาเรื่องการเลื่อนการผลิตนอกประเทศญี่ปุ่นออกไปอีกสักระยะหนึ่ง หากยังขาดแคลนชิ้นส่วนต่อไปอีก

แต่โซนี่ได้กลับมาผลิตแบตเตอรี่ที่โรงงานในจังหวัดโตชิกิ แล้วเมื่อวานนี้ และยังคงพิจารณาเดินเครื่องโรงงาน 7 แห่งในจ.โตโฮกุและอิบารากิให้กลับมาเดินหน้าการผลิตได้ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะฟื้นการผลิตที่โรงงานเหล่านี้เมื่อไหร่
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ญี่ปุ่นชี้แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายกว่า 3 แสนล้านดอลล์

Posted on Wednesday, March 23, 2011
รัฐบาลญี่ปุ่น คาดการณ์ความเสียหาย ทั้งหมดจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิว่า จะสูงถึง 15-25 ล้านล้านเยน หรือ 185,000 -308,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนายคาโอรุ โยซาโน รัฐมนตรีเศรษฐกิจ จะเปิดเผย ตัวเลขประมาณการความเสียหายดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้

สำหรับการประเมินความเสียหายดังกล่าวครอบคลุมถึงถนน บ้านเรือน โรงงานและสาธารณูปโภคอื่นๆ แต่ยังไม่รวมความสูญเสียด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการขาดแคลนกระแสไฟฟ้า และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น กับโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในเมืองฟูกูชิมา

ด้านนายริวโซ มิยาโอะ กรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ บีโอเจ บอกว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบ"ไม่น้อย"ต่อเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น แต่เศรษฐกิจจะยังคงฟื้นตัวได้ในระดับปานกลางในระยะยาว

ด้านสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ยืนยันว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดนิ ไม่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นหลายครั้งในพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 6 ริกเตอร์ที่จังหวัดฟูกุชิม่า เมื่อเวลา 07.12 น.ตามเวลาโตเกียวในวันนี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ญี่ปุ่นคาดภัยพิบัติสร้างความเสียหาย 25 ล้านล้านเยน

รัฐบาลญี่ปุ่นประเมินว่า ต้นทุนทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ส่งผลกระทบกับจังหวัดต่างๆถึง 7 จังหวัดนั้น อาจจะสูงถึง 25 ล้านล้านเยน (3.09 แสนล้านดอลลาร์) ขณะเดียวกันก็เตือนว่า การฟื้นตัวของส่งออกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นอาจหยุดชะงัก เนื่องจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น

ระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย และสถานประกอบการในพื้นที่ต่างๆที่ถูกทำลายล้างจากภัยพิบัติอาจจะมีมูลค่าความเสียหายในระหว่าง 16 - 25 ล้านล้านเยน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้อาจจะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงไปอีก 0.5%

ทั้งนี้ ผลที่แท้จริงอาจจะออกมาเลวร้ายยิ่งกว่านี้ เนื่องจากการคาดการณ์ดังกล่าวไม่ได้พิจารณาเรื่องผลกระทบด้านลบจากการขาดแคลนพลังงานที่เกิดขึ้นเพราะวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดฟูกุชิม่า อย่างไรก็ดี สำนักงานครม.ญี่ปุ่นมองว่า แรงกดดันที่มีต่อเศรษฐกิจอาจจะได้รับการชดเชยจากงานฟื้นฟูบูรณะประเทศ ซึ่งจะทำให้ความต้องการภายในประเทศพุ่งสูงขึ้น

นายคาโอรุ โยซาโน่ รัฐมนตรีนโยบายการคลังและเศรษฐกิจ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า รัฐบาลได้ตัวเลขดังกล่าวมาจากข้อมูลที่มีอยู่จนถึงขณะนี้ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ไม่แน่นอน แต่เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนกังวลว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะหดตัวลง เขาจึงจำเป็นต้องออกมาบอกตัวเลขประมาณการมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงของจีดีพีเพื่อคลี่คลายความวิตกดังกล่าว


ผัก 11 ชนิดในฟูกุชิม่าปนเปื้อนกัมมันตรังสีสูงกว่าเกณฑ์

กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเปิดเผยว่า พบปริมาณสารกัมมันตรังสีที่สูงกว่าข้อกำหนดของกฎหมายด้านความปลอดภัยของอาหารในผัก 11 ชนิดที่ปลูกในจังหวัดฟูกุชิม่า ซึ่งรวมถึงบล็อคโคลี กะหล่ำปลี ผักโขม และใบผักโคมัทสึนา

ทั้งนี้ ทางกระทรวงได้ขอให้ประชาชนอย่ารับประทานผักทั้ง 11 ชนิด เพราะเกรงว่าจะได้รับสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน นอกจากนี้มีรายงานว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ส่งออกผักเหล่านี้ไปยังต่างประเทศนับตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่ามา


สหรัฐห้ามนำเข้านม-ผักจากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น

องค์การอาหารและยาของสหรัฐจะสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์นมและผักต่างๆจากบริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า มาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำนมและผักโขมจากจ.ฟูกุชิม่า กันมะ อิบารากิ และโตชิกิ


เกาหลีใต้เล็งห้ามนำเข้าอาหารจากบางพื้นที่ในญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่จากสำนักงานอาหารและยาของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เกาหลีใต้กำลังพิจารณาเรื่องการสั่งห้ามนำเข้าอาหารจากพื้นที่ที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในญี่ปุ่น เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่จังหวัดฟูกุชิม่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิที่ต้องรับมือกับวิกฤตนิวเคลียร์ รวมถึงจังหวัดอิบารากิ จังหวัดโทชิกิ และจังหวัดกันมะ


อินโดนีเซียระงับการนำเข้าปลาจากญี่ปุ่น

นายฟาเดล มูฮัมหมัด รัฐมนตรีกระทรวงประมงของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ระงับการนำเข้าปลาจากญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราว เนื่องจากวิตกกังวลเรื่องผลกระทบของสารกัมมันตรังสี พร้อมกล่าวว่า แหล่งน้ำในอินโดนีเซียปลอดภัยจากการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี

การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลดำเนินการตรวจสอบปลาที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่พบหลักฐานว่า มีปลาจากญี่ปุ่นปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี แต่รัฐมนตรีประมงกล่าวว่า การระงับนำเข้าปลาจากญี่ปุ่นในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ขออีก 1 เดือน เตาปฏิกรณ์ในฟูกูชิมะจึงจะดับสนิท

Posted on Friday, March 25, 2011
บริษัท โตเกียว อิเล็กทริค พาวเวอร์ (TEPCO) ระบุว่า อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 เดือน กว่าที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทุกเครื่องของโรงไฟฟ้าใน จังหวัดฟูกุชิมะ จะดับเครื่องได้สนิท ซึ่งหมายถึงการที่อุณหภูมิภายในเครื่องปฏิกรณ์ลดลงต่ำกว่าจุดเดือด และระบบหล่อเย็นกลับสู่ความดันบรรยากาศ

ขณะที่ล่าสุดหน่วยงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จัดความรุนแรงของอุบัติเหตุนิวเคลียร์ดังกล่าว ไว้ที่ระดับ 5 ซึ่งเท่ากับระดับความรุนแรง ของเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ ไอส์แลนด์ของสหรัฐฯ เมื่อกว่า 30 ปีก่อน

ทั้งนี้ หน่วยงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นยอมรับว่า อาจมีการประเมินปรับเพิ่มความรุนแรงเป็นระดับ 6 จากความรุนแรงทั้งหมด 7 ระดับ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 28

โพสต์

รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ชี้ G7 แทรกแซงตลาดเงินเพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่น

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การแทรกแซงตลาดเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ (G7) เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเป้าหมายที่จะป้องกันมิให้การแข็งค่าของเงินเยนฉุดรั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา

ในวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มประเทศG7 ได้ร่วมแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี เพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินเยน

ขณะเดียวกัน ไกธ์เนอร์กล่าวว่าองค์ประกอบของสกุลเงิน special drawing rights (SDRs) ในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ควรมีการเปลี่ยนแปลง โดยเขาได้เสนอให้นำเงินหยวนมารวมอยู่ด้วย

ญี่ปุ่นแทรกแซงตลาดเงินเกือบ 7 แสนล้านเยนในเดือนมี.ค.

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นได้ใช้งบประมาณ 6.925 แสนล้านเยนในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราในเดือนมีนาคม

ทั้งนี้ คาดว่าเงินจำนวนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดถูกนำไปใช้ในการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินเยน หลังจากที่กลุ่ม G-7 ประกาศเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ว่าจะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง เนื่องจากเงินเยนได้ดีดตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

ข้อมูลที่เปิดเผยในวันนี้ครอบคลุมการแทรกแซงตลาดในระหว่างวันที่ 25 ก.พ. - 29 มี.ค. แต่ไม่ได้ระบุว่า กระทรวงการคลังและธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดกี่ครั้ง โดยจะมีการเปิดเผยข้อมูลโดยละเอียดดังกล่าวในวันที่ 11 พ.ค.


กัมมันตรังสีในทะเลใกล้โรงไฟฟ้าฟูกุชิม่าสูงทำสถิติใหม่

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ระดับของสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ที่ตรวจพบในน้ำทะเลในบริเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ ในช่วงเช้าวันนี้นั้น สูงกว่าเพดานสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 4,385 เท่า ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า สารกัมมันตรังสีนั้นยังคงรั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง

ทางการญี่ปุ่นยังได้รับคำแนะนำจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ให้พิจารณาเรื่องการใช้มาตรการแก้ปัญหาการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีนอกเขตอพยพรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงงาน โดย IAEA ระบุว่า ตัวอย่างดินที่เก็บมาจากหมู่บ้านอิตาเตะซึ่งอยู่ห่างจากโรงงานประมาณ 40 กิโลเมตรนั้น มีสารกัมมันตรังสีอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่ต้องมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะยกระดับการติดตามข้อมูลการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีรอบๆชายฝั่งแปซิฟิค หรือประมาณ 220 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว


สหรัฐเตรียมส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นคุมกัมมันตภาพรังสี

พลเอกเรียวอิจิ โอริกิ ผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า สหรัฐจะส่งทีมเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 140 นายมายังญี่ปุ่น เพื่อช่วยควบคุมการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นและบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ หรือเทปโก ได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ นับตั้งแต่ที่ระบบหล่อเย็นประสบเหตุขัดข้อง หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และคลื่นสึนามิ


ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศสตกลงทำมาตรฐานความปลอดภัยนิวเคลียร์

นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ตกลงกันว่า ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมมือกันเพื่อจัดทำมาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ในระดับสากลให้ได้ภายในช่วงสิ้นปีนี้ หลังจากที่เกิดวิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ผู้นำ 2 ประเทศกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมในกรุงโตเกียวว่า ประเด็นที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์จะเป็นวาระสำคัญที่สุดของการประชุมสุดยอด G-8 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองโดวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปลายเดือนพ.ค.นี้

ฮอนด้าเตรียมฟื้นการผลิตรถในญี่ปุ่น 11 เม.ย.นี้

บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ เปิดเผยว่า บริษัทจะเริ่มดำเนินการผลิตรถในวันที่ 11 เม.ย.นี้ที่โรงงานในจังหวัดไซตามะและมิเอะ หลังจากที่ได้ระงับการผลิตไปถึง 1 เดือนหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การฟื้นการผลิตครั้งนี้จะช่วยให้ฮอนด้าสามารถดำเนินการผลิตได้ที่ฐานภายในประเทศทั้งหมด โดยฮอนด้าจะเริ่มผลิตและจัดส่งชิ้นส่วนในการประกอบรถยนต์ไปยังโรงงานของบริษัทในต่างประเทศวันที่ 4 เม.ย.นี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ การผลิตรถและชิ้นส่วนเพื่อป้อนโรงงานประกอบรถในต่างประเทศจะอยู่ที่อัตรา 50% ของการดำเนินการภาคปกติ

ภาคการผลิตญี่ปุ่นแสดงสัญญานการหดตัวหลังภัยพิบัติ

สมาคมบริหารจัดการสินค้าวัตถุดิบแห่งญี่ปุ่น (JMMA) และบริษัทวิจัย Markit Economics เปิดเผย ดัชนีคำสั่งซื้อร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 46.4 จาก 52.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มจัดทำแบบสำรวจมาตั้งแต่เดือนต.ค. ปี 2001 โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงะการหดตัวของภาคธุรกิจ

นาย Yoshimasa Maruyama นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท Itochu ทำนายว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงอีกสองไตรมาสหลังจากที่ติดลบอยู่แล้วในช่วงปลายปี 2553 โดยเขากล่าวว่า เศรษฐกิจจะตกอยู่ในภาวะถดถอย และต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่างๆ ทางด้านซัพพลายไปอีกพักใหญ่

พิบัติภัยหนนี้ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ออกมาปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs หั่นการคาดการณ์สำหรับปีงบประมาณที่จะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายนว่า จะลดลงเหลือ 0.7% ส่วนทางด้านบริษัท Capital Economics ก็คาดการณ์ตัวเลข GDP ตลอดทั้งปี 2011 น่าจะอยู่ที่ 0%
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 29

โพสต์

แนะ BOJ ออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่ม

Posted on Tuesday, April 05, 2011
นายโยชิฮิโกะ โนดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น บอกว่า รัฐบาลต้องการให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ผ่อนคลายการใช้นโยบายทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก เพื่อปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบของเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม หลังจากความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจหดตัวลง

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิก G7 เพิ่มขึ้น ในที่ประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่ม G7 ในเดือนนี้(เมษายน 2554) หลังจากที่กลุ่ม G7 ได้ร่วมมือกันเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี เมื่อเดือนที่แล้ว(มีนาคม 2554) เพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินเยน

ด้านบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป รายงานว่า มีความเป็นไปที่บริษัทจะระงับการผลิตรถยนต์ ที่โรงงานในอเมริกาเหนือทั้งหมดในช่วงปลายเดือนนี้(เมษายน 2554) เนื่องจากการจัดหาชิ้นส่วนรถยนต์ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว

ทั้งนี้ โตโยต้ายืนยันว่า บริษัทจะไม่ปลดพนักงานในกรณีที่มีการระงับการผลิต แต่จะใช้มาตรการอื่นๆ เช่น การมอบหมายงานให้พนักงาน โดยมีจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกาะติดผลกระทบจากสึนามิที่ญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 30

โพสต์

เกาหลีใต้ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรจากญี่ปุ่น

Posted on Tuesday, April 05, 2011
สำนักงานอาหารและยาของเกาหลีใต้ รายงานว่า เกาหลีใต้ตัดสินใจสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรบางประเภทจากจังหวัดชิบะของญี่ปุ่นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่าจะได้รับการแก้ไข

ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพิ่มเติมหลังจากที่เกาหลีใต้ได้ประกาศห้ามนำเข้าอาหารจากจังหวัดฟูกุชิม่า อิบารากิ โตชิกิ และกุนมะ เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา

ด้านสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจของลอสแองเจลิส คาดการณ์ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง ในญี่ปุ่นเมื่อเดือนที่ผ่านมา(มีนาคม 2554) จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น โดยคาดว่าท่าเรือลอสแองเจลิส และสนามบินนานาชาติลอสแองเจลิส จะได้รับผลกระทบหนักสุดจากมูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงในเดือนนี้(เมษายน) สำหรับการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นที่ลดลง ได้แก่ ชิ้นส่วนรถยนต์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การแพทย์ และอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
โพสต์โพสต์