การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนมีนักลงทุนหน้าใหม่หลายท่านหันมาสนใจศึกษาการลงทุนแบบเน้น
คุณค่ามากขึ้น และปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นคำถามก็คือ เรื่องของการประเมินมูลค่า

สำหรับข้อสรุปง่ายๆของ Value Investment ที่เป็นที่ทราบกันทั่วไปก็คือ

1 เข้าใจธุรกิจ จากการวิเคราะห์ทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ

2 ประเมินมูลค่าของธุรกิจได้โดยวิธีการต่างๆที่สมเหตุสมผล

3 เข้าซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ประมูลได้ ยิ่งมากยิ่งดี ปกติไม่ควรน้อยกว่า 20%-30% หรือ
เรียกว่าส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย (Margin of Safety)

4 ความเข้าใจในตลาด (Mr.Market) รวมถึงจิตวิทยาของตนเอง ซึ่งนำมาซึ่งสติและเหตุผลในการ
ลงทุน


นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะเข้าซื้อหุ้นต่อเมื่อราคานั้นต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินได้เสมอ ซึ่งแต่ละท่าน
ก็จะมีมุมมองต่างๆกันออกไป เพราะฉะนั้นเรื่องของการประเมินมูลค่านั้น แต่ละท่านก็จะให้ผลออกมา
อาจคล้าย หรือแตกต่างกันออกได้ก็ได้ สุดแล้วแต่ข้อมูล ความรู้ การวิเคราะห์ การคาดการณ์อนาคต
ของแต่ละท่าน

แต่ส่วนใหญ่แล้ว วิธีการประเมินมูลค่าที่ได้รับการยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปในการลงทุนนั้นมีอยู่
สองแบบ

1 Absolute Valuation Models

วิธีการนี้จะเป็นการหามูลค่าของกิจการที่เราจะลงทุนออกมา โดยใช้การวิเคราะห์ทางด้านปัจจัยพื้น
ฐานเพื่อหามูลค่าที่แท้จริง หรือ Intrinsic value ออกมา โดยการคาดการณ์การสร้างผลกำไรของ
กิจการ ก็คือกิจการมีความเสี่ยง การเติบโตเติบโต สร้างผลกำไร และเงินสดในอนาคตตลอดระยะ
เวลาการดำเนินงานได้เท่าไหร่ มีผลจากเหตุและปัจจัยอะไรบ้าง ซึ่งโดยวิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไปก็
คือ Dividend Discount Model, Discounted Cash Flow Model, Residual Income Models และ
Asset-based Models

2 Relative Valuation Models

ส่วนวิธีการนี้เองเป็นการเปรียบเทียบด้วยอัตราส่วนต่างๆ เช่น P/E, P/B, P/S และ P/CF ไม่ได้มุ่ง
เน้นที่จะหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ แต่เป็นเพียงการเปรียบเทียบกิจการต่างๆที่ใกล้เคียงกัน หรือ
เปรียบเทียบกับอัตราส่วนของตัวกิจการเองในอดีต หรืออนาคต รวมถึงภายในอุตสาหกรรมนั้นๆเอง
ว่ามีค่าต่ำกว่ามูลค่า หรือมากกว่ามูลค่า วิธีการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า สินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึง
กันควรที่จะมีราคาขายคล้ายคลึงกันด้วย

สำหรับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ในเวบ TVI มีความคิดเห็นยังไงบ้างครับ
เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แบบที่ 1
ยากเกินขอบเขตความรู้ของผมในตอนนี้
ผมชอบใช้แบบที่ 2 มากกว่า
ลงทุนเพื่อชีวิต
harikung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2237
ผู้ติดตาม: 16

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ปกติผมใช้dividend model กับ DCF modelครับ แต่สำหรับDCFผมจะใช้discount rateแบบหยาบๆไปเลย คือ 9-15% ขึ้นอยู่กับธุรกิจว่าเรามองว่ามีความเสี่ยงหรือมั่นคงแค่ไหน รวมทั้งใช้ P/EและPEG ประกอบครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมาแล้วนะครับ ส่วนdividend model ผมจะใช้กับหุ้นที่ผมหวังแค่ปันผลจริงๆ คือหุ้นนั้นต้องมีการปันผลที่แน่นอน(มากน้อยแล้วแต่กำไร) อยากได้ปันผลประมาณที่เปอเซนก้อคิดกลับเป็นราคาไปเลย ผมเน้นหลักsimpleครับ เพราะสำหรับผม ผมคิดว่าตัวเลขที่ใช้ในการคำนวนล้วนมาจากการสมมติทั้งสิ้น เลยไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องคำนวนโดยใช้เลขเป๊ะๆ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
ผมจบ ป.4
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ของผมใช้วิธีดู reply ของเซียน thaivi เป็นตัวกรองอันดับแรก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จริงๆเรื่องการประเมินมูลค่า ควรใช้ทั้งสองแบบครับ เอาไว้เป็นการอ้างอิง
แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียของตัวเอง นักลงทุนหน้าใหม่ๆควรศึกษาไว้
ให้เข้าใจอย่างยิ่ง เอาไว้เป็นเครื่องมือในการทำงานลงทุนของเรา

DCF อย่างง่ายๆ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องก็มีเรื่องของ กระแสเงินสดอิสระ
อัตราคิดลด การเติบโต อันนี้ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญๆที่ส่งผลถึงมูลค่า

กระแสเงินสดอิสระ ในความเป็นจริง ยากครับที่จะหาบริษัทที่บริหารงานได้
ดีๆจริงที่ทำกำไรได้สม่ำเสมอ ทั้งงบลงทุนและเงินทุนหมุนเวียน ก็จะแปรเปลี่ยนไป
ตามการดำเนินธุรกิจ ตามแผนงานต่างๆของบริษัท ตามภาวะตลาด และอุตสาหกรรม

ส่วนการเติบโต ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่าง ทั้งความเข้มแข็งของ สินค้า บริการ
ความต้องการของผู้บริโภค โอกาสในการเติบโตก็วัดได้ง่ายๆ จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น
การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด การหาตลาดใหม่ๆ ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
ประมาณความต้องการเพิ่มขึ้น หรือเกิดความขาดแคลนในสินค้านั้นๆ บริษัทที่ดี
ควรจะสามารถเข้าใจในการเติบโตของตัวเอง และมีกลยุทธ์การเติบโตที่เหมาะสม

อัตราคิดลด ขึ้นอยู่กับต้นทุนเงินทุน ซึ่งก็แปรเปลี่ยนไปอีกตามสภาพภาวะเศรษฐกิจ
ไม่ว่า ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ ที่มากระทบต่อต้นทุนทางการเงินของบริษัท รวมถึงการเติบโต
ในระยะยาวที่บริษัทจะทำได้อย่างน้อยก็ควรจะ 3-5 ปีขึ้นไป เนื่องจากโครงการลงทุนต่างๆ
ที่บริษัทริเริ่มมักจะมี IRR 15-20% นั่นก็จะใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปีขึ้นไปเช่นกัน ที่จะ
ทำให้ประสบผล สร้างผลกำไรให้บริษัทได้ นี่ก็เป็นเหตุนึงว่า ทำไม VI ถึงต้องลงทุนระยะยาว
ไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี สำหรับบริษัที่ดีจริงๆที่มีการเติบโตไปเรื่อยๆก็สามารถถือไปได้เรื่อยๆโดย
ไม่ต้องสนใจความผันผวนของราคาตลาดในระยะสั้นได้ สุดท้ายพอผลการลงทุนของบริษัท
สร้างกำไรได้ตามแผนงาน มูลค่าของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นไป ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเหมาะสมไปด้วย
แต่ก็มีบริษัทที่ทำได้อย่างคงเส้นคงวา หรือสม่ำเสมอ เป็นจำนวนไม่มาก ไม่ได้หมายความว่า
ทุกบริษัทจะมีความสามารถทำได้ จะมากจะน้อย จะลดลง ก็เป็นไปได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง
การลงทุนต้องมีการตรวจสอบตลอดเวลาในบริษัทที่เราลงทุน รวมถึงโครงการลงทุนใหญๆของบริษัทด้วย


สำหรับเรื่อง P/E เป็นอะไรที่ง่ายกว่า แต่สิ่งที่ง่ายๆนี่แหละ ประกอบด้วยที่มาที่ไปอย่างลึกซึ้ง
เกี่ยวกับมูลค่า จึงควรทำความเข้าใจให้ดีๆว่า ค่านี้ถูกกำหนดมาจากปัจจัยอะไรบ้าง

เอาง่ายๆที่ราคา P/E 10 เท่า บอกอะไรเราได้บ้าง ถ้าบอกง่ายๆหมายความว่าถ้าเราลงทุนในระดับราคา
ปัจจุบันในตลาดหุ้น กับผลกำไรที่บริษัททำได้ในปีที่ผ่านมา เราจะคืนภายในระยะเวลาเท่าไหร่
จาก P/E 10 เท่านั้นก็หมายความว่า ถ้ากำไรบริษทยังคงเท่านี้เราจะคืนกำไรภายใน 10 ปีนั่นเอง
นอกจากนั้นก็มองได้อีกแง่ ในเรื่องผลการตอบแทนของผู้ถือหุ้นด้วย เพราะราคาที่เราซื้อในตลาด
และผลกำไรที่ใช้นั้นเป็นกำไรต่อหุ้น ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นผลกำไรสำหรับผู้ถือหุ้นจริงๆ
เราก็สามารถหาออกมาเป็น % โดยนำมาเป็นส่วนกลับของราคา E/P อีกด้วย ซึ่งก็จะได้เท่ากับ 10%
ค่า 10% นี้ก็เป็นผลตอบเทนที่ผู้ถือหุ้นพอใจ เพราะต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้นจะประมาณนี้
จากผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (ส่วนใหญ่ใช้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว 10 ปี ตอนนี้ประมาณ 4%)
บวกกับผลตอนแทนส่วนเพิ่ม (ผลตอบแทนทบต้นการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว มีค่าเฉลี่ยประมาณ 6-7%)
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ก็ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจด้วย

ค่า P/E ที่ต่ำจะสะท้อนถึง ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่มากขึ้น (E/P สูง)
และค่า P/E ที่สูงจะสะท้อนถึงผลตอบแทนที่ลดลง (E/P ต่ำ)

ที่นี้มาดูว่า P/E จะกำหนดราคาหุ้นในตลาดได้อย่างไร กลไกมันก็ง่ายๆ
P/E=10 เราก็กลับสมการ ย้ายข้างธรรมดาๆ P=10*E
เราก็จะได้ตัวแปรมาสามตัว คือ ราคาหุ้น อัตราคูณ(อัตราคิดลด) และกำไรต่อหุ้น

ราคาหุ้น จะสะท้อนความต้องการซื้อขายหุ้นตามกลไกตลาด
อัตราคูณ จะสะท้อนความเสี่ยง ต้นทุนเงินทุน และมุมมองของการเติบโต
กำไรต่อหุ้น จะสะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

ถ้ากำไรต่อหุ้นมากขึ้น แต่อัตราคูณเท่าเดิม ก็จะผลักดันให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นได้
และถ้ายิ่งบริษัททำได้ดีขึ้นๆ ราคาที่ควรจะเป็นก็จะมากขึ้นด้วย อันนี้ก็กลับมาถึง
คุณภาพของกำไร บริษัทต่างๆนั้นทำธุรกิจหลากหลาย คุณภาพของกำไรที่ได้
ก็จะมีความหลากหลายไปด้วย บางบริษัททำกำไรได้ก้าวกระโดดมากๆติดต่อกัน
จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม กำไรนั้นก็จะส่งผลต่อราคาด้วย หมายความว่าราคาหุ้น
ของบริษัทนั้นจะพุ่งขึ้นมาอย่างมากมาย รวมถึงการเติบโตของกำไรนั้นดึงดูด
ความสนใจของนักลงทุนในตลาดเข้ามาอีก จนทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปอีก จนดึงให้
อัตราคูณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปอีกเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด
ค่า P/E จึงสูงขึ้นๆ แต่มันก็จะสะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นๆด้วยเช่นกัน ค่า P/E
ที่สูงของบริษัทที่ทำกำไรได้ดี และมีคุณภาพกำไรที่สม่ำเสมอนี่เอง ที่ทำให้บริษัท
เติบโตได้เป็นเวลานานๆ เป็นสิบๆปี หรือบางที 100 ปีก็มี แต่บางบริษัทก็จะทำกำไรสูงๆ
ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2-3 ปีพอถึงตอนนั้น ค่า P/E ที่สูงจะปรับตัวลง และราคาหุ้นจะปรับลง
ด้วย ซึ่งจะอันตรายสำหรับนักลงทุนที่ไม่วิเคราะห์บริษัทให้ดีพอ สำหรับการที่ค่า P/E ต่ำ
ลงก็คงพอเทียบเคียงอธิบายได้ในมุมกลับกัน

ก็ลองมาดูครับว่าหุ้นที่เราสนใจมีค่า P/E สูง หรือ ต่ำ เพราะเหตุผลอะไร แล้วมันจะเป็นยังไงต่อไป
แล้วเราจะหาโอกาสลงทุนได้ในช่วงไหนอย่างไร

และเป็นที่น่าสังเกตุนะครับว่า หุ้นบางตัว P/E สูงอยู่ตลอดเวลา หุ้นบางตัวก็ P/E ต่ำอยู่ตลอด
หุ้นบางตัว P/E ก็ขึ้นๆลงๆ นักลงทุนหลายท่านก็ลงทุนหุ้น P/E สูง แต่ก็ได้ผลตอบแทนที่ดี
บางท่านก็ลงทุนหุ้น P/E ต่ำก็ได้ผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน แต่จะ P/E สูงหรือต่ำ ถ้าคุณมองออก
กำไรก็อยู่แค่เอื้อมครับ

สำหรับนักลงทุน VI หน้าใหม่ๆ ก็ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมนะครับ เรื่องการวัดมูลค่า หรือคุณค่าของหุ้นนั้น
มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราไม่ลงทุนผิดพลาด จนเสียหาย เงินทองของหายากครับ จะใช้อะไรขอให้
ได้ประโยชน์ถึงที่สุด และก็อย่าลืมครับว่าเงินทองเป็นเพียงปัจจัยใช้หล่อเลี้ยงชีวิต และทำประโยชน์แก่ตัวเองและผู้อื่น
อย่าให้เงินเป็นนายเราครับ นักลงทุนเป็นนายเงินครับ ใช้เงินทำงาน
ทำงานให้สนุก เป็นสุขขณะทำงานครับ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนอาชีพ หรือทำงานประจำอยู่

สำหรับ VI มือเก๋าแล้ว ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไร รบกวนช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ หรือจะเพิ่มเติมอะไรที่เป็นประโยชน์ก็เชิญนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมจบ ป.4 เขียน:ของผมใช้วิธีดู reply ของเซียน thaivi เป็นตัวกรองอันดับแรก
ประเมินมูลค่าวิธีนี้ทำยังไงอ่ะครับ? ผมขอเอาเป็นไอเดียเอาไปลองใช้ดูบ้างได้ไหมครับ...

ขอบคุณพี่ ป. 4 ล่วงหน้าครับ

ปล. รูปพี่ ป.4 นี่ หล่อดีนะครับ...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
ผมจบ ป.4
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 7

โพสต์

picatos เขียน:
ผมจบ ป.4 เขียน:ของผมใช้วิธีดู reply ของเซียน thaivi เป็นตัวกรองอันดับแรก
ประเมินมูลค่าวิธีนี้ทำยังไงอ่ะครับ? ผมขอเอาเป็นไอเดียเอาไปลองใช้ดูบ้างได้ไหมครับ...

ขอบคุณพี่ ป. 4 ล่วงหน้าครับ

ปล. รูปพี่ ป.4 นี่ หล่อดีนะครับ...
1. เข้าห้องคลังกระทู้คุณค่า
2. ดูที่ช่อง author เพราะนั่นคือเหล่าเซียนที่นักลงทุน VI ต่างเห็นพ้องกันว่าความคิดเขาล้ำหน้ากว่านักลงทุนฝึกหัด

3. จดชื่อไว้ให้หมด

3.1 เข้าห้องล้านคนล้านหุ้น
3.1.1 ไล่ดูว่ามีหุ้นตัวใดบ้างที่เซียนเป็นคนตั้งกระทู้
3.1.2 ไล่หากระทู้ที่เซียนมาแสดงความเห็น
3.1.3 อ่านความเห็น และเล็ง keyword สำคัญที่สื่อว่า "ยังถือหุ้นอยู่"
3.1.4 จดชื่อหุ้นนั้นไว้

3.2 คลิกที่ชื่อเซียน
3.2.1 แล้วคลิกตรงลิงค์ที่เขียนว่า Search user’s posts
3.2.2 ไล่อ่านความเห็นดูว่าเซียนได้ออกความเห็นหุ้นตัวใดบ้าง
3.2.3 เล็ง keyword สำคัญที่สื่อว่า "ยังถือหุ้นอยู่"
3.2.4 จดชื่อหุ้นนั้นไว้

4. รอซื้อ ณ วันที่เหมาะสม ไม่ก็ซื้อเลย เพราะเดี๋ยวตกรถ

ปล. ถึงผมจะหล่อ แต่ผมก็จบ ป.4 นะพี่ :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ผมจบ ป.4
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เพิ่มเติม

ถ้าอ่านเจอความเห็นที่เซียนเขียนว่า "ผมไม่มีหุ้นนะ"
ให้ปิดหน้า browser นั้นทิ้งทันที แล้วไล่หาหุ้นตัวอื่นแทน
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แล้วถ้าเซียนขาย เค้าไม่มาโพสบอกหละครับ

คนที่ซื้อตามเซียน โดยไม่ตามวิธีคิดของเซียนให้ทัน
ไม่ดอยหรอครับ

เวลาผมเลือกหุ้น ผมมักจะไปเจอเหล่าเซียนโดยบังเอิญมากกว่า
ที่จะเอาเซียนเป็นตัวตั้ง แล้วไปตามรอยเซียน
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สำหรับการใช้วิธีต่างๆมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ลองดูในหนังสือด้านการเงินได้ครับ

แต่พอจะสรุปสั้นๆ เท่าที่พอจำได้ดังนี้นะครับ

DCF
เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ยากที่สุดด้วย
และไม่เหมาะกับธุรกิจที่มีความผันผวนสูง คาดการณ์รายได้ยาก

DDM
ดีลองลงมาจาก DCF ง่ายกว่า
แต่ก็เหมาะกับหุ้นที่ปันผลสม่ำเสมอ และคาดการณ์ปันผลได้
มีข้อจำกัด ในการใช้กับกรณี ที่บริษัทเปลี่ยนนโยบายปันผล หรืองดปันผล
และไม่ได้สะท้อนกระแสเงินสด ได้ดีเท่า DCF

PE
ง่าย แต่เทียบค่าลำบาก (การเทียบกับอุตสาหกรรม หรือ เทียบกับ PE ในอดีต)
ความแม่นยำต่ำกว่า แต่ก็ง่ายกว่าด้วย

PBV
คล้ายๆ PE แต่มองในแง่ของ BV นิยมใช้กับกลุ่มการเงิน ธนาคาร และมักจะดูประกอบกับ ROE ROA

EV/EBITDA
คล้ายๆ PE แต่จะสะท้อนมูลค่าของธุรกิจที่มี Fix Cost เยอะๆได้ดีกว่า
นิยมใช้ คำนวณในการหามูลค่าในการ Take over

Replacement Cost
ใช้กรณี เพื่อ take over ส่วนใหญ่ใช้ดูประกอบ กับวิธีอื่นๆ
เช่น ถ้าจะสร้างโรงงานนี้ใหม่ ต้องใช้เงินเท่าไหร่ เทียบกับการไป take over แล้วเอามาปรับปรุง
Case นี้ หาดูได้จาก IVL ครับ
เค้าจะรายงานมูลค่าตรงนี้ เทียบกับกับเงินที่เค้าเข้าไปลงทุนเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมจบ ป.4 เขียน:...
ถึงผมจะหล่อ แต่ผมก็จบ ป.4 นะพี่
...

เพิ่มเติม

ถ้าอ่านเจอความเห็นที่เซียนเขียนว่า "ผมไม่มีหุ้นนะ"
ให้ปิดหน้า browser นั้นทิ้งทันที แล้วไล่หาหุ้นตัวอื่นแทน
โห... พี่... ความหล่อนี่ผมว่ามันทำกันยากกว่าความฉลาดนะพี่... ผมว่ามีรูปเป็นทรัพย์นี่ เป็นอะไรที่แล้วแต่บุญแต่กรรมทำมามากๆ... ส่วนความรู้ค่อยหาเอาทีหลังก็ได้ ขอแค่มีความตั้งใจพยายามศึกษาเดี๋ยวมันก็มีความรู้เองแหละ แต่ความหล่อถึงจะศัลยกรรมยังไง ถ้าวัตถุดิบต้นทางมันมาไม่ดี ยังไงมันก็จบไม่สวยอยู่ดี ดังนั้น ผมว่าพี่น่าจะภูมิใจในความหล่อของพี่มากกว่านะพี่...

ผมอ่านแนวคิดของพี่... น่าจะเป็นแค่การกรองหุ้น เลือกหุ้นตามเซียนมากกว่านะพี่ ยังไม่ใช้การประเมินมูลค่า... ซึ่งการเลือกหุ้น กรองหุ้นตามเซียนนี่ ผมก็ใช้เหมือนกันครับ...

ก็หุ้นมันมีตั้งเยอะ... ใครจะไปตามได้หมดทุกตัว แค่อ่านงบผ่านๆ ของแต่ละไตรมาส ก็ใช้เวลาเป็นปีละ แถมปีนึงก็ประกาศงบตั้ง 4 รอบ แถมมีข่าวรายวัน รายชั่วโมง Opp Day อีก... ลองมานั่งงมหาหุ้นเองจากบรรดาหุ้นทั้งหมดนี่ คงแทบไม่เป็นอันกินอะไร...

ดังนั้นการเลือกหุ้นที่เซียนกรองมาก่อนแล้ว ผมว่ามันก็โอนะพี่... อย่างน้อยก็ดีกว่าซื้อหุ้นตามมาร์ ซื้อหุ้นตาม Top Active Volume หรือซืื้อหุ้นตาม Top Gainer เป็นไหนๆ

แต่คำถามก็ คือ หุ้นที่กรองมาได้จากการตามรอยเซียนเนี่ย... พอได้ List รายชื่อมาแล้ว ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของเราเองที่ต้องทำความเข้าใจกิจการ ทำการประเมินมูลค่ายุติธรรมต่อ และทำความเข้าใจในมุมมองของเซียนคนนั้นๆ ว่าทำไมเค้าถึงมองว่ากิจการเมื่อเทียบกับมูลค่าแล้วมันน่าสนใจ

ไม่ใช่ว่าสักแต่กรองได้แล้วก็ซื้อตามไปดุ่ยๆ เนื่องจาก เรารู้แต่หุ้น แต่เราไม่รู้เป้าหมาย แถมตอนเซียนกำลังจะขายหุ้น ปกติก็ไม่บอกใครแม้แต่พ่อแม่ตัวเองก็ตาม ดังนั้น อย่าหวังว่า เซียนจะมาบอกเม่าๆ อย่างพวกเราได้... กว่าเม่าๆ อย่างพวกเราจะได้ยินข่าวว่าเซียนเค้าออกไปเข้าตัวอื่นแล้ว หุ้นมันก็ลงไปไหนต่อไหนแล้ว...

ดังนั้น เราได้รายชื่อหุ้นมา เราต้องทำการประเมินมูลค่ายุติธรรมด้วยตัวเราเอง เราต้องมีเป้าหมาย ต้องเห็น Margin of Safety และ Upside ของเราเอง... ถ้าไม่อย่างงั้น ก็อย่าริอาจมาเรียกตัวเองว่า VI เล้ย... เรียกตัวเองว่า เม่า เหมือนเดิมน่าจะดีกว่าครับ...

ถ้าเราเข้าใจกิจการ เห็นมูลค่ายุติธรรม เห็น MOS และ Upside ว่ามีมากพอ ก็ซื้อตามเซียนได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจ ผมว่าไปหาหุ้นเซียนตัวอื่นที่เราเข้าใจและเห็นมูลค่าดีกว่าครับ... หุ้นเซียนมีตั้งหลายตัว ทำไมต้องซื้อตามเซียนคนเดียวด้วย... เลือกเซียนที่ถูกจริตกับเรา แล้วทำความเข้าใจกิจการ และประเมินมูลค่าตาม... สบายกว่าเห็นๆ เป็นไหนๆ...

ยิ่งถ้าเราเป็นมือใหม่... การตามเซียนถือเป็นสิ่งที่ดี... เพราะ เซียนก็เหมือนครู เหมือนคนที่อยู่ในตลาดมาก่อน... เราศึกษาหุ้นเราศึกษาจากคนที่รู้มากกว่าเราย่อมเป็นประโยชน์ กว่าหลับตา จุดเทียน เองแน่นอน... ดังนั้น พอเราทำการศึกษา ประเมินมูลค่าเสร็จ... พอติด พอไม่เข้าใจสงสัยตรงไหน ก็ PM ไปถามเซียนซะ... แต่ต้องถามแบบว่ามีความรู้ ทำให้เซียนเค้ารู้ว่าเราได้ทำการศึกษาหุ้นตัวนี้มาก่อนแล้ว อย่างงี้เซียนเค้าถึงอยากจะคุย อยากจะแชร์ข้อมูลด้วย... ถ้าไปถามแบบว่า "พี่มองเป้าเท่าไหร่ครับ?" อะไรแบบนี้... ผมว่า เสียเวลาเปล่าครับ...

ส่วนเรื่องที่ว่า เซียนขายไปแล้ว เราต้องขายตาม ผมว่า... อันนี้ก็ไม่เป็นสาระที่เราต้องขายตามนะครับ... แค่ทำความเข้าใจว่าทำไมเค้าถึงขายก่อนก็พอ... อย่าพึ่งรีบขายตาม เหตุผลของเค้าก็ของเค้า ของเราก็ของเรา... บางทีเค้าอาจจะขายไปซื้อคฤหาสน์ เปิดฮาเร็ม ก็ได้ ใครจะรู้... ดังนั้นพอเรารู้ว่าเค้าขาย ก็น่าจะทำความเข้าใจเหตุผลของเค้าก่อน ทำการศึกษาแล้ว PM ไปถามอย่างตรงไปตรงมา คุยเหตุผลทางธุรกิจ ทางการประเมินมูลค่า แบบเป็นกลาง ผมว่า เซียนเค้าก็ยินดีจะตอบนะ... พอเรารู้แล้วก็เอามาวิเคราะห์ ประเมินก่อนที่จะตัดสินใจซื้อขายตามเซียน...

นี่แหละ... การซื้อขายหุ้นตามเซียน แบบใช้หลักกาลามาสูตร ของผม

เผื่อจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
babyboom
Verified User
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าแบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากเลยครับ ผมมือใหม่ก็ไม่รู้จะเริ่มหาหุ้นยังไง พอได้อ่านพวกพี่ ๆ ก็น่าจะมีทางบ้างแย้ว
โพสต์โพสต์