ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Mr.high
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เวลาที่ผมอ่านข่าวเศรษฐกิจ ก็จะเห็นแบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จาก ร้อยละ 1.75 มาเป็น ร้อยละ 2.00
แต่ก็ไม่เห็นดอกเบี้ยออมทรัพย์ธนาคารจะขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบายตรงไหน เลยอยากรู้ว่าดอกเบี้ยนโยบายกับดอกเบี้ยธรรมดามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และนานเท่าไรถึงจะมีผลกระทบกันครับ

อีกอย่างคือเท่าที่ผมลองอ่าน เหมือนดอกเบี้ยนโยบายก็คือ อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน แต่เหมือนอ่านไปอ่านมาเค้าบอกว่าบางทีก็ไม่ใช่ (ตามลิ้งนี้ครับ http://fundmanagertalk.com/economic-talk-policy-rate/) ก็เลยงงว่าใช่หรือไม่ใช่กันแน่ ใครพอทราบช่วยตอบหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ
สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18404
ผู้ติดตาม: 80

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดอกเบี้ยนโยบาย ณ ตอนนี้คือ PR 1 วันครับ
ตัวนี้เป็นตัว guide ว่าตอนนี้เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี
เพราะ ผู้ที่กำหนดคือ ธปท
ดอกเบี้ยขึ้นหมายความว่า เศรษฐกิจดี เดินหน้าได้
ดอกเบี้ยลงหมายความว่า เศรษฐกิจถดถอย เดินถอยหน้าแต่ด้วยความเร่งที่ลดลง (เช่นจากความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหลือความเร็วแค่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ส่วนเรื่องดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่ขึ้นนั้นผิดครับ รอบที่ผ่านมา ดอกเบี้ยออมทรัพย์ปรับขึ้น 0.125% ครับ
มาอยู่ที่ประมาณ 0.625% ครับจากเดิมบ้างธนาคารให้ 0.5% ต่อปี

ทำไมปรับขึ้นน้อยเพราะ ออมทรัพย์คือ สิทธิ์ในการถอนเงินได้ทุกครั้งที่คุณใช้สิทธิ์ในการถอน
คือคุณเดินไปหน้า เคาร์เตอร์คุณสามารถเขียนใบถอนเงิน ธนาคารจ่ายเงินสดให้คุณทันที ถ้าตัวเลขในบัญชีพอที่คุณถอนได้ หรือคุณเดินไปที่ตู้เอทีเอ็ม กดเงินออกจากตู้ได้เลย (การเงินแบบนี้เหมือนการใช้สิทธิ์แบบ American Option เลย)

แค่นี้คงเข้าใจล่ะครับ

ถ้าอธิบายต่อ
มันมีตัวแบบของเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ
ดอกเบี้ยขึ้นทำให้การลงทุนลดลง
ดอกเบี้ยลงทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น
จาก แคนเซียสครอส นำไปสู่การเกิดขึ้นของเส้น IS ได้จากข้อความด้านบนครับ

:)
:)
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอถามคุณ miracle ครับ
แล้วการที่ ธปท. กำหนดดอกเบี้ยPRนั้น เป็นการบังคับธนาคารพานิชณ์ทั่วไปให้ต้องปรับดอกเบี้ยตามหรืออย่างไรครับ
บางทีเห็นบางธนาคารก็แจ้งว่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ทั้งๆที่ธปท.ขึ้นดอกเบี้ย PRแล้ว
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Flashy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 300
ผู้ติดตาม: 4

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่ได้บังคับครับ แต่เป็นแรงกดดันมากกว่า

ผมเข้าใจอย่างนี้น่ะครับ แต่อาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง

เมื่อ ธปท. ตัดสินใจแล้วว่าต้องลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจในประเทศ
ธปท. จึงประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อเป็นสัญญาณถึงธนาคารพาณิชย์

เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มักจะมีการปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวันทำการ
ทางเลือกในการปรับสภาพคล่องมีหลายทาง หนึ่งในนั้น คือ การเข้าทำธุรกรรม ซื้อ-ขายคืน พันธบัตร (ปรับเพิ่ม-ลดสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ)
ถ้าตามที่พี่ miracle บอกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย คือ RP 1 วัน
เมื่อ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน เท่ากับ เป็นการเพิ่มต้นทุนธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ในการจัดหาเงินทุนในตลาดการเงิน
ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จึงต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้เพื่อให้คงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (นำไปจ่ายต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ+เอากำไรส่วนหนึ่ง)
โดยปกติอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะต้องขึ้นตามด้วย เพราะเมื่อมีการแข่งขันกันสูง ธนาคารพาณิชย์ก็จะแข่งกันขึ้นอัตราดอกเบี้ยงินฝากตาม (แต่ไม่เกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเดิม) เพื่อแย่งเงินจากคู่แข่ง แต่เรามักเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ไทยไม่ค่อยขึ้นตาม หรือซักพักค่อยขึ้น ผมคิดว่าเป็นเพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์เอง ที่ระดับการแข่งขันยังต่ำอยู่ (ฮั้วกันโดยไม่ได้นัดหมาย) ในทางกลับกัน ทีเวลาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายล่ะ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับลงก่อนทู้กที
อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท้ายที่สุดก็ะทำให้อัตราดอกเบี้ยในทุกตลาดปรับตัวลง (ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน) เพียงแต่ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะขึ้นน้อยกว่า น่าจะเป็นตามที่พี่ Miracle บอกล่ะครับ
ลองค้นคว้าเพิ่มในเว็บแบงค์ชาติมั้ยครับ http://www.bot.or.th ตอนนี้ผมไม่ค่อยว่างเท่าไหร่ เลยตอบแบบงูๆปลาๆ ขออภัย :mrgreen:
stay calm, stay invest
Mr.high
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถึงจะยังงงๆเล็กน้อย แต่ก็ขอบคุณมากคับ เดี๋ยวจะลองไปอ่านเองดูก่อนละกัน
สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ
evolution659
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คำตอบของพี่แต่ละคนยังไงตอบข้อสอบในหลัก2เลยครับ (พึ่งสอบไปเมื่อวาน)
หลัก2 ก็คือเศรษบสาสตร์มหภาคหนะครับ :)
evolution659
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

evolution659 เขียน:คำตอบของพี่แต่ละคนยังไงตอบข้อสอบในหลัก2เลยครับ (พึ่งสอบไปเมื่อวาน)
หลัก2 ก็คือเศรษบสาสตร์มหภาคหนะครับ :)
ขอโทษครับ พิมพ์เร็วไปหน่อย
จะแซวว่าเหมือนตอบคำถามในข้อสอบพวก paper ของ macro เลยครับ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ยนโยบายมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยตามธนาคารอย่างไร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

วันนี้ผมไปธนาคารกรุงไทยสาขาแถวบ้าน(พอดีสนิทกับผู้จัดการสาขา)เลยลองเอาคำถามที่ว่า ถ้าแบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ยPR แล้วทำไมธนาคารพานิชณ์ต่างๆต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม

>ได้คำตอบคือ ถ้าแบงค์ชาติเปิดช่องให้ ใครขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากก่อนเงินก็จะไหลไปแบงค์นั้นมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างคนต่างกลัวเสียฐานลูกค้าเพราะให้ดอกเบี้ยตำกว่าจึงต้องให้ดอกเบี้ยแข่งกันครับ (ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้คงไม่ต้องพูดถึง ถ้าขยับดอกเบี้ยเงินฝาก ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตามด้วยอยู่แล้ว ไม่งั้นธนาคารจะเอากำไรจากไหน)
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
โพสต์โพสต์