อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ข้อมูลดีๆเกินห้ามใจต้องcopyมาให้อ่าน จาก Invisible Hand


1. ปกติในการเลือกที่จะศึกษาหุ้นซักตัวปัจจัยขึ้นกับอะไรครับ

ตอบ ก็คงมีได้หลายเหตุผลครับ เช่น
1 เราใช้ชีวิตแล้วเห็นสินค้าหรือบริการหนึ่งๆ แล้วเห็นว่าขายดี และมีแนวโน้มเติบโตดี เราก็มาลองดูว่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
2 ใช้ตัวกรองด้านการเงินแบบหยาบๆ เช่น P/E P/BV dividend yield ROE แล้วเริ่มศึกษาจากจุดนี้ได้ครับ
3 ลองกางหนังสือพิมพ์ที่มีราคาหุ้นดูแล้วดูว่ามีบริษัทอะไรที่คิดว่าน่าสนใจไหม

2. ในการศึกษาพี่มีขั้นตอนอย่างไรครับ (ของผมคือ 56-1, ข่าว, งบการเงิน เพื่อหา eps แล้วใช้ fwd PE เพื่อหาราคา) ช่วยแนะนำทีครับ

ตอบ ก็โดยเบื้องต้นก็น่าจะเป็นข้อมูลประมาณนี้ครับ อาจจะหา research ของหุ้นตัวนั้นๆ จาก broker ที่เราใช้หรือจาก http://www.settrade.com รวมถึงการไป download presentation การที่บริษัทมา opp day ย้อนหลัง

ส่วนการใช้ p/e ว่าที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ซักหน่อยครับ เพราะหุ้นในแต่ละธุรกิจก็มี p/e ที่เหมาะสมแตกต่างกันครับ ควรจะมีความรู้เรื่องการอ่านงบการเงินและการ valuation ในระดับพื้นฐานอยู่บ้างครับ

3. ราคาใช้สิทธิ์ warrant ราคาใช้สิทธิ์สูงกับราคาใช้สิทธิ์ต่ำ มีข้อดีข้อด้อยอย่างไรครับ พอดีได้อ่านกระทู้นี้ของพี่ Invisible hand แล้วไม่ค่อยเข้าใจครับ
http://bbznet.pukpik.com/scripts3/view. ... r=numtopic

ตอบ ถ้าราคาใช้สิทธิสูงเกินไป หากมีอะไรที่ราคาหุ้นลงมาจนต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ สุดท้ายคนก็จะไม่ใช้สิทธิทำให้บริษัทไม่ได้เงินเพิ่มทุน แต่ถ้าราคาใช้สิทธิต่ำเกินไป ข้อดีคือ ผู้ถือ warrant ใช้สิทธิแน่ๆ แต่ข้อเสียคือ เงินที่ได้อาจจะน้อยเกินไปครับและ dilution จะค่อนสูงครับ

4. ข่าวอย่างละเอียดของบริษัท พี่หาจากไหนครับ
ตอบ ลอง ใช้ชื่อผู้บริหารหรือชื่อบริษัท search ใน google ดูครับ ถ้าอยากได้มากกว่านั้นไปค้นได้ที่ศูนย์ข้อมูลมติชน อยู่ที่บริษัทเค้าเลยครับแถววัดเสมียนนารี จะมีข่าวทั้งหมดของแต่ละบริษัทย้อนหลังเป็น 10 ปีครับ หรืออาจจะลองเข้าไปดูในร้อยคนร้อยหุ้นใน http://www.thaivi.org ได้ครับ

5. เรื่องอันดับของบริษัทในอุตสาหกรรม บริษัทไหนอันดับ 1,2,3 พี่หาจากไหนครับ
ตอบ อาจจะมีใน 56-1 ครับ แต่ถ้าไม่มีอาจจะต้องสอบถามคนที่อยู่ในวงการธุรกิจนั้น หรือสอบถามทางบริษัทดูครับ

6. มี web ไหนหรือกระทู้ไหนที่รวบรวมการ company visit มั้ยครับ อยากไปแต่ไม่ทราบว่าจะหาจากไหน
ตอบ เท่าที่ทราบก็จะมีอยู่บ้างใน http://www.thaivi.org ครับ ก็มีเพื่อนๆ เข้ามาช่วยกันสรุปในร้อยคนร้อยหุ้นครับ
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

" คำแนะนำสำหรับคนอยากเป็น VI "

การลงทุนแบบ VI นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อหุ้นที่ดูเหมือนเป็นหุ้น VI ตามที่เค้าแนะนำมาตามแหล่งต่างๆ เช่น ห้องกระทิงคุณค่าแห่งนี้ หรือ http://www.thaivi.com นะครับ

ดังนั้นจะต้องแยกให้ออกว่าเราจะเป็น VI หรือ จะซื้อหุ้น VI ซึ่งอย่างหลังนั้นไม่ยากเพราะสามารถสอบถามจาก web ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ VI แต่การที่จะเป็น VI คือสามารถเลือกหาหุ้นที่มีคุณภาพสูงในราคาไม่แพงเกินไปนักเป็นสิ่งที่ ยากกว่ามาก ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมจะทำหรือไม่นะครับ

หากต้องการเป็น VI ผมมีคำแนะนั้นต้นให้ได้ครับ

1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น

- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์

2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ

3 จะต้องอ่านหนังสือธุรกิจรายเดือน เช่น ผู้จัดการรายเดือน Brandage Thaicoon Marketeer การเงินการธนาคาร อย่างน้อยเดือนละ 1-2 เล่ม

4 จะต้องหา Pocket book ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ( ซึ่งหลายๆ เล่มมีฉบับแปล ) มาอ่านให้ได้อย่างน้อยปีละ 4-5 เล่ม เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก และสามารถวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ได้ ยกตัวอย่างหนังสือดีๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว เช่น Blue ocean strategy หรือ ใครว่าโลกกลม ( The world is flat )

5 หากสนใจหุ้นตัวใดแล้ว จะต้องอ่านข้อมูลอย่างน้อยคือ 56-1 รายงานประจำปี งบการเงิน รวมไปถึงการ search หาข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ชื่อบริษัท หรือชื่อ นามสกุล กรรมการผู้จัดการ ลงใน http://www.google.com ครับ

6 ฝึกเป็นคนสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน เช่น การขับรถ การเดินห้าง การดู TV ฟังวิทยุ ไปต่างประเทศ หรือการพูดคุยกับคนต่างๆ อาชีพ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกและวิเคราะห์หุ้นได้เป็นอย่าง ดี

7 ฝึกการคิดต่างจากคนอื่นๆ เพราะถ้ามีเรื่องแบบเดียวกันและเราคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป โอกาสประสบความสำเร็จจะมียากกว่าคนที่ฝึกการคิดแตกต่าง เปรียบเหมือนกับการหาที่จอดรถในห้าง หากเราขับตามๆ กันไปเราก็ต้องได้ที่จอดรถหลังคันหน้าเราอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะเลือกขับไปในจุดที่เราเป็นคันแรกจะมีโอกาสได้ที่จอดรถ มากกว่า

8 หาโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือ งาน Opportunity day เพื่อทำความรู้จักผู้บริหารและซักถามข้อสงสัยต่างๆ

9 จะต้องเป็นคนรู้กว้าง อ่านและฟังมากๆ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นเท่านั้น แต่ควรจะรู้ความเป็นไปในโลกให้มากที่สุด เพราะบางครั้งความรู้ต่างๆ ที่เรามีนั้นจะถูกเชื่อมโยงเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของเราได้ เพราะผมเองยังได้กำไรจากหุ้นตัวหนึ่งจากการอ่านหนังสือบันเทิงอย่าง Maya Channel เลยครับ ดังนั้นผมจะอ่านนิตยสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อหาความรู้ทั่วไปและการผ่อนคลาย เช่น แพรว ยานยนต์ สารคดี ฯลฯ VI ที่ดีควรเข้าร้านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งครับ

ฯลฯ มีอีกหลายข้อแต่ยังนึกไม่ออกครับ

ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนทำได้ยาก แต่เมื่อลองทำจริงๆ แล้วมันจะเป็นนิสัยและจะอยู่ในชีวิตเราเองแบบไม่ตั้งใจ แล้วเราจะสามารถมีชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไปครับ สามารถเดินห้าง ดูหนัง ซื้อของ สังสรรค์ ท่องเที่ยว ได้ตามปกติครับ และก็ไม่ได้เป็นการทำงานหนักมากด้วย เพราะเราจะเป็น VI ที่คอยสังเกตสิ่งต่างๆ และหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

จะเห็นว่าการเป็นนักลงทุนแบบที่เค้าเรียกกันว่า VI นั้น ไม่ได้มาด้วยความฟลุ๊กแน่นอนครับ
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า VI จำเป็นต้องทำ model การหา valuation ด้วยวิธี DCF หรือไม่ หากถามผมๆ คิดว่าถ้าทำอาจจะทำให้สบายใจและมั่นใจขึ้นได้แต่คิดว่าไม่จำเป็น แต่ก่อนที่ผมจะสรุปว่าไม่จำเป็นผมจึงต้องอธิบายที่มาของการคิด DCF คร่าวๆ ก่อนครับ

DCF = กระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบัน ( Present value ) + เงินสด ( หนี้สิน ) สุทธิ

การทำมูลค่าในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน คือ การ discount ด้วยอัตราดอกเบี้ย discount rate โดย discount rate

Discount rate
ถ้า discount rate เท่ากับ 10% เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่า 100 บาท ในปัจจุบัน เหตุผลที่เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้ามีมูลค่า 100 บาทในปัจจุบันเนื่องจากหากนำเงิน 100 บาทไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทนเท่ากับ 10% เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 110 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า

ดังนั้นหากมีใครมาถามเราว่าให้เลือกระหว่างได้เงิน 100 บาทในปีนี้ หรือจะเลือกเงิน 110 บาทในปีหน้า ภายใต้สมมุติฐานว่าเราสามารถนำเงินลงทุนได้ผลตอบแทน 10% เราจะเลือกแบบไหน คำตอบที่หลายคนจะตอบก็คือ เลือก 100 บาทวันนี้ เพราะถ้าเป็นปีหน้าเดี๋ยวคนให้เงินจะเปลี่ยนใจไม่ให้แล้ว แต่คำตอบในเชิงการเงินก็คือ เลือกแบบไหนก็ได้ ค่าเท่ากันครับ

ดังนั้นเงิน 100 บาทในปัจจุบัน จะมีมูลค่ามากกว่า 100 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้ามาก หรืออาจจะมีมูลค่ามากกว่าเงิน 200 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วยซ้ำไปครับหากอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากพอ

หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหามูลค่าปัจจุบันหรือ present value แล้ว ตัว discount rate หรือที่ศัพท์ทางการเงินเรียกว่า WACC โดยถ้าหุ้น 2 ตัวมีปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด หุ้นตัวที่ใช้ discount rate สูงจะมีมูลค่าแบบ DCF ต่ำกว่า

สำหรับ discount rate นั้นขึ้นกับตัวแปรต่างๆ ดังนี้ครับ

- อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะใช้อัตราดอกเบี้ย ( yield ) ของพันธบัตรอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิง ถ้าดอกเบี้ยสูง discount rate ก็จะสูง
- Beta คือ ความผันผวนของราคาหุ้นตัวนั้นๆ เทียบกับความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง beta ในทางทฤษฎีการเงินคือเป็นตัววัดความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้น โดยตั้งอยู่ในสมมุติฐานว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงจะมี beta สูง คือ จะมีความผันผวนของราคาสูง ซึ่งทฤษฎีนี้ใกล้เคียงความจริงหรือไม่ผมคิดว่าก็มีความใกล้เคียงอยู่บ้าง เช่น หุ้นที่มี beta สูงในตลาดไทย เช่น หุ้นไฟแนนซ์ หุ้นรับเหมาก่อสร้าง หุ้นอสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งล้วนแล้วมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง ส่วนหุ้นที่มี beta ต่ำก็มักจะเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่า
หุ้นที่มี beta สูง discount rate ก็จะสูงตามไปด้วยครับ

ดังนั้น ถึงตรงนี้เราได้ 2 ประเด็นแล้วครับว่า ถ้าช่วงไหนดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น discount rate ที่ใช้คำนวณ DCF ก็จะสูง ทำให้ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยลดลงและมี แนวโน้มจะปรับตัวลดลงเมื่อมีข่าวว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นมักจะมี p/e ต่ำ แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง หุ้นจะมี p/e สูง

ส่วนเรื่อง beta หรือความเสี่ยงนั้น ก็เช่นกันครับ หุ้นที่มีความเสี่ยงหรือ beta สูง ก็จะทำให้ discount rate สูง ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง ดังนั้นหุ้นที่มี beta หรือความเสี่ยงสูง ก็ควรจะมี p/e ต่ำกว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ

การคิดกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow มีสูตรดังนี้ครับ

Free cash flow = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา + การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน + รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์

เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินสด ที่ต้องใช้ในการซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการขายสินค้าและบริการ

รายการการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น ลบ ก็ต่อเมื่อ
มีการ เพิ่มขึ้น ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ เพราะต้องใช้เงินในการซื้อวัตถุดิบ
มีการ เพิ่มขึ้น ของลูกหนี้การค้า แสดงว่ารายได้ 100 บาท เข้ามาเป็นเงินสดไม่ถึง 100 บาท
มีการ ลดลง ของเจ้าหนี้การค้า แสดงว่ารายจ่าย 100 บาท ยังไม่ต้องจ่ายทั้งหมด 100 บาทในทันที

การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น บวก ก็ต่อเมื่อ

มีการ ลดลง ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ แสดงว่าสินค้าที่ขายออกไปมีมากกว่าที่ซื้อวัตถุดิบเข้ามา
มีการ ลดลง ของลูกหนี้การค้า
มีการ เพิ่มขึ้น ของเจ้าหนี้การค้า

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในธุรกิจทั่วๆ ไป เมื่อมีการขยายกิจการ คือ มีการผลิตสินค้ามากขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการสั่งวัตถุดิบและมีจำนวนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นก็ย่อมทำให้ลูกหนี้การค้ามากขึ้น ดังนั้นธุรกิจทั่วๆ ไปเมื่อมีการขยายกิจการจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะติดลบ คือธุรกิจนั้นๆ จะต้องใช้เงินสดในกิจการมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจส่วนใหญ่แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้น แต่เงินสดที่เข้ามาในบริษัทมักจะต่ำกว่ากำไร แต่ธุรกิจที่เมื่อขยายสาขาหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่กลับยิ่งมีเงินสดมากขึ้น คือธุรกิจค้าปลีก เพราะมีการขายเป็นเงินสด แต่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ ดังนั้นวันที่เปิดสาขาใหม่ ก็จะได้เงินสดมาทันทีแต่เงินสดนั้นจะถูกจ่ายให้กับเจ้าหนี้ในอีก 45-60 วัน ดังนั้นหากมีการคิด DCF ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ถ้ากำไรสุทธิต่อปีเท่าๆ กัน ธุรกิจค้าปลีกจะมีกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหุ้นค้าปลีกจึงมี p/e สูงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่มีการเติบโตของกำไรเท่าๆ กัน

ยิ่งธุรกิจใดให้เครดิตลูกหนี้การค้ายิ่งนาน บริษัทนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนติดลบมากกว่าบริษัทที่ให้ เครดิตลูกหนี้สั้นกว่า และบริษัทใดที่ขายสินค้าเป็นเงินสด ก็จะทำให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่ามาก

บริษัทใดที่มีการขายสินค้าโดยใช้เวลานาน ก็จะใช้เงินทุนหมุนเวียนมากกว่าบริษัทที่ขายสินค้าในเวลาอันสั้นกว่า และอย่างที่ผมพูดไปในหน้าก่อนๆ คือ ยิ่งขายได้เร็วก็ทำให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง ดังนั้นสิ่งที่เถ้าแก่คนจีนนิยมทำนานมาแล้วคือ เน้นการขายเร็วๆ มากๆ เอา volume ก็เป็นความคิดที่ถูกต้องตามทฤษฎีการเงิน แม้ว่าอาเฮียเหล่านั้นจะไม่ได้เรียน MBA มาก็ตาม

รายจ่ายในการลงทุนในสินทรัพย์ เป็นรายการ ลบ ในการหา Free cash flow ยิ่งมีการลงทุนมากๆ Free cash flow ก็ยิ่งมีโอกาสติดลบมากขึ้น ดังนั้นหุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการขยายกิจการ ก็จะทำให้ Free cash flow ติดลบมากกว่าหุ้นที่สามารถขยายกิจการโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยทั่วไปหุ้นในภาคการผลิต อุตสาหกรรม มักจะต้องใช้เงินลงทุนในการขยายกิจการมากกว่าหุ้นประเภทธุรกิจบริการ เมื่อใช้เงินทุนน้อย กระแสเงินสดก็จะเป็นบวกได้มากกว่า หุ้นภาคบริการมักจะมีมูลค่าแบบ DCF สูงกว่าหุ้นในภาคการผลิตแม้ว่าจะมีกำไรสุทธิในแต่ละปีหรือปัจจัยอื่นๆ ใกล้กัน ดังนั้นหุ้นที่ทำธุรกิจบริการมักจะมี p/e สูงกว่าหุ้นในภาคอุตสาหกรรม

หุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียน ( เงินสด ) จำนวนมากในการเพิ่มยอดขาย มักจะต้องมีการกู้เงินระยะสั้น หรือ Bank O/D จากธนาคารเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน และยังอยู่ในธุรกิจที่ต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต และยิ่งหุ้นดังกล่าวมีหนี้ในสัดส่วนที่สูงด้วยนั้น หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมีโอกาสสูงที่จะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อชดเชยกระแสเงินสดที่ติดลบในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ร่วมกันจึงมีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนสูง เมื่อหุ้นมีการเพิ่มทุนก็ย่อมทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง ดังนั้นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนมักจะมี p/e ที่ต่ำกว่าหุ้นที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน

การเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากการทำ DCF คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตในอนาคตสูง ก็จะมีกระแสเงินสดในอนาคตที่เพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบันมาก ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตสูงจึงจะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีการเติบโตต่ำ

ปัจจัยสุดท้ายที่มีผลต่อการคำนวณ DCF ก็คือ มูลค่าเงินสด หรือหนี้สินสุทธิ ซึ่งก็คือ
เงินสดสุทธิ = เงินสดในบริษัท - หนี้สินระยะยาว - หนี้สินระยะสั้นที่มีดอกเบี้ย

ดังนั้น ถ้าปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด หุ้นที่มีเงินสดสุทธิเป็นบวกก็จะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีหนี้สิน

สรุป มูลค่าหุ้นตามแบบ DCF จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้ครับ

- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง มูลค่า DCF จะสูงขึ้น
- ความเสี่ยงของธุรกิจ ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง DCF ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ DCF จะต่ำ
- การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ DCF จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ DCF จะสูง
- ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี DCF จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง DCF จะสูง
- มีหนี้มากๆ DCF จะต่ำ

สำหรับ DCF กับ p/e จะมีความสัมพันธ์กัน หากหุ้น 2 ตัวที่ปัจจุบันมีกำไรสุทธิเท่ากัน หุ้นตัวที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF สูงกว่า จะมี p/e ที่เหมาะสมสูงกว่าหุ้นที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF ต่ำกว่า ดังนั้น ด้วยย่อหน้าข้างบน เราสามารถเปลี่ยนคำว่า DCF เป็น p/e ได้เป็น

- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง p/e ของหุ้น จะสูงขึ้น
- ความเสี่ยงของธุรกิจ ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง p/e ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ p/e จะต่ำ
- การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ p/e จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ p/e จะสูง
- ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี p/e จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง p/e จะสูง
- มีหนี้มากๆ p/e จะต่ำ

ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจหลักของ DCF แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ model DCF ก็ได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจที่เราต้องการวิเคราะห์นั้นเป็นอย่างไร มีการเติบโตสูงหรือต่ำ มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงหรือไม่ เมื่อต้องการขยายธุรกิจต้องใช้เงินทุนจำนวนมากหรือไม่ มีหนี้มากหรือน้อยเพียงใด

วันนี้ก็คงขอจบบทความลงเท่านี้ครับ ขอให้เพื่อนๆ ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จกับการลงทุนในแนวทาง VI ครับ ขอบคุณมากครับ

Invisible Hand
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

โดย invisible hand
พี่ใช้หลักอะไรในการเลือกหุ้นซักตัวครับ

- สมัยก่อนผมจะดูความถูกแพงของหุ้นก่อน เช่น p/e และ p/bv แล้วค่อยมาดูชื่อบริษัทว่าทำอะไร อยู่ในธุรกิจอะไร ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาดูประเภทธุรกิจ ชื่อบริษัทก่อน แล้วค่อยมาดูความถูกแพงครับ ก็คือ ระยะหลังๆ ผมจะให้น้ำหนักปัจจัยด้านคุณภาพมากกว่าปัจจัยด้านปริมาณ

ปัจจัยคุณภาพที่ผมดูก็มีหลายอย่างครับ เช่น

1 ธุรกิจที่บริษัทนั้นๆ ทำอยู่

ก็คงดูการลักษณะของธุรกิจและการเติบโตในระยะยาวๆ หลักๆ ผมจะดูว่าตลาดหรือธุรกิจนั้นๆ อยู่ในระยะไหนของการเติบโต โตเร็ว ปานกลาง หรือช้า หรือถดถอย ยกตัวอย่าง หากผมมองว่าการอ่านหนังสือ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ของคนไทยยังต่ำ และโตได้อีกมาก ผมก็จะเริ่มมองหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ และหากผมมองว่าแนวโน้มคนจะนิยมซื้อสินค้าที่เป็นร้าน modern trade มากขึ้นเรื่อยๆ ผมก็มาดูหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ modern trade บางครั้งก็จับทั้งคู่มาผสมกันได้ เช่น อาจจะดูหุ้นที่เป็น modern trade ที่ทำธุรกิจ IT หรือ modern trade ที่ขายหนังสือ
หรือผมมองว่าอนาคต ประชากรจะป่วยง่ายแต่ตายช้าลง เพราะคนเราทำงานหนักขึ้นเครียดขึ้น เป็นโรคต่างๆ กันมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน แต่คุณภาพการรักษาพยาบาลดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยแม้ไม่หายขาดแต่ก็จะยืดอายุได้นาน อีกทั้งแนวโน้มคนแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่ากลุ่ม รพ. น่าสนใจ
หรือ ผมมองว่าคนไทยยังทำประกันชีวิตในสัดส่วนน้อย ผมก็จะมองว่าหุ้นที่ทำประกันชีวิตน่าสนใจ
ธุรกิจไหนที่อยู่ติดกับลูกค้ารายย่อยๆ จำนวนมาก ก็จะมีอำนาจการต่อรองสูงกว่า และหากรับค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสด ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากๆ ในยุคปัจจุบันครับ
ส่วนระยะเวลาหรือ time frame ที่ผมมองระยะหลังๆ ผมจะมองไป 5-10 ปีเลย เพราะผมเชื่อว่าหุ้นดีราคาถูกเริ่มหายาก ดังนั้นเราควรหาหุ้นที่จะถือได้ยาวๆ เลย จะได้ไม่ต้องคอยหาหุ้นใหม่ๆ
กลุ่มที่ผมคิดว่าไม่น่าสนใจก็มีเช่น หุ้นที่ผมมองว่าอำนาจการต่อรองมักจะเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อที่มีขนาดบริษัทที่ใหญ่กว่าผู้ขาย เช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ หรือบรรจุภัณฑ์ ผมมองว่าหุ้นเหล่านี้มีอำนาจต่อรองต่ำ และเวลาขายต้องให้เครดิตลูกค้านานๆ ทำให้กระแสเงินสดไม่ดี และเสี่ยงกับหนี้สูญ ระยะหลังๆ ผมจะไม่สนใจหุ้นกลุ่มดังกล่าว

2. สถานภาพการแข่งขันของบริษัทนั้นๆ ในธุรกิจ

ผมมักจะเลือกหุ้นที่มี market share อันดับต้นๆ หากไม่ได้เป็นอันดับต้นๆ ของตลาดรวมก็ควรจะเป็นอันดับต้นๆ ใน segment ที่ตนเองอยู่ เพราะตลาดๆ หนึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็นหลายๆ segment เพราะการเป็นผู้นำตลาดย่อมพิสูจน์ได้ว่าผู้บริหารน่าจะมีความสามารถเพียงพอ ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การเป็นผู้นำตลาดย่อมทำให้บริษัทนั้นๆ มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและ supplier ที่สูงกว่า และมักจะแสดงถึง brand name ที่แข็งแกร่งกว่า
อย่างไรก็ตามให้ระวังเรื่อง mkt share หากมากเกินไปอาจจะจำกัดการเติบโตได้ เช่น หากตลาดโตน้อย คือปีละ 5% และหุ้นที่เราดูมี mkt share 60% ก็หมายความว่าหุ้นตัวนั้นมีการเติบโตจำกัด เพราะการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมากกว่านี้อีกได้ไม่เท่าไหร่ และมีโอกาสที่เสีย mkt share หากมีการแข่งขันมากขึ้น แต่หาก mkt share 60% แต่ตลาดโตสูงมาก เช่น 20-30% หุ้นดังกล่าวจะกลายเป็นตรงกันข้ามคือเป็นหุ้นที่น่าสนใจมาก เพราะการมี mkt share สูงมากทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้นแค่โตตามตลาดก็เพียงพอแล้ว

3 ดูความยากง่ายของการเข้ามาทำธุรกิจ

บางจุดเวลา เราอาจจะเจอหุ้นที่ผ่านลักษณะที 1 และ 2 ในเวลาเดียวกัน แต่บังเอิญธุรกิจดังกล่าวมีการเข้ามาแข่งขันจากผู้ประกอบการรายใหม่ได้ง่าย ก็จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ แทบจะไม่เหลือความน่าสนใจเลย เพราะการที่ผู้ประกอบการเข้ามาใหม่ได้ง่าย ทำให้แม้ว่าธุรกิจนั้นๆ จะมีแนวโน้มการเติบโตสูง แต่พอการแข่งขันเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ประกอบการรายเดิมลด ลง และการแข่งขันที่รุนแรงมักจะทำให้ margin ของธุรกิจลดลงด้วย ดังนั้นหุ้นที่ผ่านลักษณะที่ 1 และ 2 แต่ไม่ผ่าน 3 ก็อาจจะต้องเป็นหุ้นระยะสั้นถึงกลางๆ มากกว่าระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น LH ผ่านข้อ 1 และ 2 แต่ไม่ผ่าน 3 ดังนั้นถึงจุดหนึ่งหุ้น LH จะเริ่มไม่ perform ดังเช่นเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ดังนั้น หากเราเจอหุ้นที่ธุรกิจมีการเติบโตสูง และมี gross margin สูงมาก และรู้สึกว่าคู่แข่งเข้ามาได้ไม่ยาก ให้ระวังว่าหุ้นเหล่านี้จะเป็นหุ้นที่จะมีกำไรลดลงได้มากในปีต่อๆ ไป ยกตัวอย่างเช่นหุ้น GMMM และหุ้น Q-CON โดยเฉพาะหุ้น GMMM เป็นหุ้นที่สอนให้ผมถึงบทเรียนดังกล่าวเพราะธุรกิจวิทยุมี GMMM เป็นผู้นำตลาด แต่พอรายใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันก็ทำให้ตลาดเป็นการแข่งขันสูงและ margin ลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น การที่จะดูว่าธุรกิจไหนมีการเข้าใหม่ยากง่ายแค่ไหน เราคงจะต้องดูจากตัวเราเอง คือ ลองสมมุติให้เรามีเงินที่มากพอ แล้วให้ลองศึกษาดูว่าการทำธุรกิจที่เราสนใจนั้นๆ ยากง่ายแค่ไหน ทั้งในด้านการหาพนักงาน การหาเทคโนโลยีการผลิต การสร้าง brand การหาลูกค้า ฯลฯ ถ้ารู้สึกว่าไม่ยากเกินไป หุ้นที่เราดูอยู่อาจจะไม่น่าสนใจเท่าไรนักครับ

4 ธุรกิจที่ลงทุนควรจะเป็นธุรกิจที่จับต้องได้ง่าย อยู่ในชีวิตประจำวัน

ผมเชื่อว่าหากเราซื้อหุ้นที่มีสินค้าและบริการที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ของเรานั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากในการติดตามหาข้อมูลครับ เพราะมันจะอยู่รอบๆ ตัวเราหมดเลย ดังนั้นเราสามารถรับรู้ว่าบริษัทที่เราลงทุนมีแนวโน้มดีหรือแย่ได้จากการ สังเกตในชีวิตประจำวันของเรา ผมเชื่อว่าสมัยก่อนตอนที่ VI ยังไม่ boom การรองบออกแล้วค่อยตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นตัวหนึ่งๆ น่าจะยังเป็นสิ่งที่ไม่ช้าเกินไป แต่ปัจจุบันผมเชื่อว่าเราควรจะซื้อหุ้นที่คาดว่างบจะออกมาดี และขายหากคิดว่างบจะออกมาไม่ดี ดังนั้นหากเป็นธุรกิจที่จับต้องยาก เราจะรู้ว่างบดีหรือไม่ดีพร้อมกับคนอื่นๆ คือวันที่ประกาศงบออกมา ซึ่งผมคิดว่าไม่เพียงพอแล้วสำหรับการลงทุนแบบปัจจุบันที่มี VI อยู่จำนวนมากมาย

5 ผู้บริหาร

ที่คุยมา 4 ข้อหากข้อ 5ไม่ผ่านก็โยนสิ่งที่เราศึกษามานั้นทิ้งไปเลยครับ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าผู้บริหารบริษัทที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมสูงส่งเพราะบางทีก็หายากเหมือนกัน และคนที่พยายามจะหาผู้บริหารหรือผู้นำที่เป็นเช่นนั้นผมว่าก็อาจจะทำให้เกิด ความทุกข์เช่นกัน ผมชอบผู้บริหารที่เข้าใจกลไกตลาดทุน ก็คือ หากบริษัทกำไรดีขึ้น ราคาหุ้นก็จะขึ้น ผู้บริหารก็จะได้ประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเพราะทำให้มูลค่าใน ส่วนที่ตนเองถือหุ้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน หรือหากถือหุ้นน้อยหรือไม่ถือหุ้นก็น่าจะมีโบนัสหรือได้ขึ้นเงินเดือน ดังนั้นผู้บริหารที่ดีในสายตาผม ก็คือผู้บริหารที่พยายาม maximize shareholder value ก็คือพยายามที่จะสร้างมูลค่าที่สูงที่สุดให้กับหุ้นตัวเอง แต่มีข้อแม้ว่าจะไม่เบียดบังสังคมเกินไป เช่น หากมีประวัติปล่อยน้ำเสีย ของเสีย หรือเอาเปรียบแรงงาน ผมก็คงไม่ลงทุนครับ

หากผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารที่เป็นเจ้าของ เข้าใจเรื่องตลาดทุน จะเข้าใจว่าการปล่อยให้กำไรอยู่ในบริษัท เมื่อมีกำไรเพิ่มขึ้น 100 ล้าน หากหุ้นดังกล่าวมี p/e 10 เท่า มูลค่าหุ้นก็จะเพิ่ม 1000 ล้าน หากผู้บริหารถือหุ้น 30% ก็เท่ากับว่าจะรวยขึ้น 300 ล้าน แต่หากเทียบกับว่าผู้บริหารดังกล่าวนำเงินออกจากบริษัทไป 100 ล้านเข้ากระเป๋าตัวเอง เค้าจะได้เงินไปแค่ 100 ล้านเท่านั้น

ดังนั้น ผมจะตัดบริษัทที่ผู้บริหารมีประวัติไม่ดี และบริษัทที่เคยมีรายการระหว่างกันที่เป็นการผ่องถ่ายเงินจากบริษัทจด ทะเบียนเข้าส่วนตัวหรือเข้าบริษัทที่ผู้บริหารมีส่วนได้ส่วนเสียครับ

ส่วนข้อมูลดังกล่าวอาจจะถามว่าผมหามาได้ยังไง คำตอบคือ ก็คงต้องใช้การอ่านหนังสือพิมพ์มากๆ และสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ครับ ในระยะแรกๆ ที่ผมประสบการณ์น้อย ผมจะไปศูนย์ข้อมูลมติชน อยู่ที่ บ. มติชน ประชานิเวศน์ ครับ ไปขอค้นข่าวเกี่ยวกับบริษัทที่ผมสนใจย้อนหลัง 10 ปีเพื่อดูว่าผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์หรือเคยให้ข่าวอะไรบ้าง รวมทั้งบริษัทนั้นๆ เคยมีประวัติอะไรไม่ดีหรือไม่ครับ ก็ถือว่าสะดวกดีครับ เสียค่าค้นไม่กี่บาทครับหากเทียบกับกำไรหรือขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นครับ


เมื่อใช้การกรองหุ้นข้อ 1-5 ออกมาแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะลงทุนได้ทางทีนะครับ เพราะมันเป็นการกรองหุ้นจำนวนหนึ่งออกมา สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ การวิเคราะห์เชิงลึก สิ่งที่ควรทำก็คือการอ่าน 56-1 รายงานประจำปี และเริ่มหาข้อมูลในด้านต่างๆ ของบริษัท โดยการสำรวจ ลองใช้สินค้าและบริการของหุ้นที่เราสนใจ รวมไปถึงใช้ของคู่แข่งด้วยเพื่อเปรียบเทียบ นอกจากนี้ ยังต้องหาข้อมูลอื่นๆ อีกมาก เช่น ถามความเห็นของเพื่อนหรือคนที่ใช้สินค้าและบริการทั้งของหุ้นที่เราสนใจและ คู่แข่ง นอกจากนี้หากเป็นไปได้ ควรจะถามความเห็นของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ถ้าสามารถหาได้ เช่น พนักงาน คู่แข่ง supplier ลูกค้า โดยข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็เพื่อนำมาสรุปว่าปัจจุบันบริษัทมีความได้เปรียบเสียเปรียบกับคู่ แข่งอย่างไร และเพื่อให้พอมองแนวโน้มในอนาคตได้

ส่วนที่จะดูว่าหุ้นตัวไหนถูกหรือแพง คงจะดูหลายๆ ประเด็นประกอบกัน คงจะดูเพียง p/e p/bv อย่างใดอย่างหนึ่งหรือแค่ทั้งสองอย่างคงไม่ได้ หุ้น TTA ที่ถามถึงมานั้นเป็นหุ้นวัฎจักร หรือ cyclical ซึ่งจะมี p/e ต่ำมากในช่วง peak ของ cycle และจะมี p/e สูงมากในช่วง bottom หรือหา p/e ไม่ได้เลยเพราะบางช่วงตอน bottom จะขาดทุน ดังนั้นหุ้นวัฎจักร จะซื้อโดยดู p/e ไม่ได้เลย แต่จะต้องดูแนวโน้มของวัฎจักรว่าตอนนี้น่าจะอยู่ช่วงไหนของ cycle แล้ว เราจะต้องซื้อที่ใกล้เคียงกับ bottom และขายในช่วงขาขึ้น ดังนั้น หากเราลงทุนในหุ้นวัฎจักรจะต้องศึกษาและเข้าใจในธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่สามารถทำเช่นนั้นได้ ดังนั้นสำหรับนักลงทุนทั่วไปผมไม่ค่อยแนะนำให้ลงทุนในหุ้นวัฎจักรเพราะจะมี ความเสี่ยงมากและมีโอกาสสูงที่จะเข้าไปซื้อช่วง peak ซึ่ง broker จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าใจหุ้นวัฎจักรอย่างแท้จริงและอาจจะให้คำแนะนำ ที่เป็นอันตรายกับนักลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีความรู้มากพอแล้ว การลงทุนในหุ้นวัฎจักร หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้มีผลตอบแทนที่มากพอกับความพยายามที่ลงไปได้เช่น กัน

ส่วนการใช้ DCF นั้น ผมคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่สำหรับนักลงทุนทั่วไปครับ เพราะจริงๆ แล้ว p/e คือผลสุดท้ายของ DCF นั่นแหละครับ เพราะ DCF เป็น model ที่คำนึงถึง growth ความเสี่ยง เงินสดและหนี้สิน ซึ่งหากเราใช้ p/e เป็น ใช้ p/bv ได้ถูกวิธี มันจะเป็นสุดยอดวิชาขั้นสูงกว่าการใช้ DCF อีกครับ เพราะมันเป็นการนำหลักแนวคิดของ DCF มาใช้ได้โดยไม่ต้องเหนื่อยมานั่งทำ model อย่างท่านอาจารย์ ดร. นิเวศน์เอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ DCF ในการคำนวณนะครับ มันเหมือนกับอะไรที่ back to basic ครับ บางครั้งอะไรที่ซับซ้อนมากๆ กลับไม่ใช่สุดยอดวิชา แต่สิ่งที่เป็นสุดยอดวิชา มักจะไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด

ส่วนจะใช้ p/e p/bv ให้เป็นนั้น ผมคงไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการเขียนในคำตอบนี้ให้หมด เพราะหากจะเขียนคงจะใช้จำนวนหน้าเป็นหลายร้อยหน้า และเรียบเรียงไม่ถูก ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ถามเป็น case ของหุ้นแต่ละตัวมาแล้วผมจะให้ความเห็นและสอดแทรกแนวคิดไปเรื่อยๆ คงจะเป็นวิธีที่ดีกว่าครับ ผมเองยังเสียดายที่หลายครั้งคำถามใน web ส่วนใหญ่จะถามผมเป็นรายตัวมากกว่าที่จะถามวิชาความรู้จากผม ซึ่งผมคิดว่าอย่างหลังน่าจะมีคุณค่ามากกว่าครับ

ส่วนที่ถามว่า DCF มีข้อเสียยังไง ข้อเสียคือ เนื่องจากมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณหา valuation ของหุ้น แต่หากนำไปใช้โดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งผมเองก็เคยเป็นอย่างนั้นเมื่อก่อน จะทำให้ได้ valuation ที่ผิดพลาดไปมาก โดยเฉพาะการนำ dcf ไปใช้กับหุ้นที่เป็นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรที่เป็น commodity ผลเสียท
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อาจจะมีซ้ำบางท่านอาจจะมาโพสไปแล้ว
ถือว่าช่วงนี้มือใหม่เยอะ เอามาให้อ่านกันอีกที
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขออนุญาติเสนอให้ปักหมุดกระทู้ดีๆกระทู้นี้ครับ

ขอบคุณพี่เด่นมากๆนะครับผม
บุญรักษาครับพี่ครับ :D
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10548
ผู้ติดตาม: 68

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

จัดให้ครับ หมอนุ่น :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
CHOOKY
Verified User
โพสต์: 540
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ สำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้แก่กัน :D
"ค้นหาคุณค่าให้พบ แล้วซื้อหุ้นกิจการที่ดีนั้น ซึ่งมีกำไรต่อเนื่อง ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ ในเวลาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ และถือมันไว้ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดี และยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanoVI
Verified User
โพสต์: 487
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

:D :D ดีมากๆเลย ขอบคุณครับ :D :D
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อ่านแล้วต้อง :bow:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
ภาพประจำตัวสมาชิก
poonpoon7
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
"Value has a value only if its value is valued"
madam
Verified User
โพสต์: 278
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

:bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

:cool:
ลงทุนเพื่อชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
<< New >>
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 16

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

:bow:
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
montkrua
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สุดยอดครับ ด้วยจิตคาราวะ
FRIDAYZ
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

มีต่ออีกไม๊ครับ

ประโยคสุดท้ายเหมือนโดนตัดหายไปครับ

ขอบคุณครับ อ่านเพลิน ได้ความรู้มากๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

sakdipatt เขียน:มีต่ออีกไม๊ครับ

ประโยคสุดท้ายเหมือนโดนตัดหายไปครับ

ขอบคุณครับ อ่านเพลิน ได้ความรู้มากๆ
คุณIH เขาcut&paste จากกระทู้เก่าเขาไม่ครบ
ผมขออนุญาติเจ้าของเอาแค่กระทู้นี้มาแปะ ก็เลยแค่นี้
แต่ก็พอแล้วสำหรับแนวคิดสำหรับมือใหม่
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
Montri M.
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 107
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณครับ
- จงใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณ ดุจดังว่ามันเป็นวันสุดท้ายของชีวิต
- อย่าเสียเวลาเพื่อเติมเต็มชีวิตผู้อื่น อย่าติดกับดักของกฎเกณฑ์ที่ไม่มีข้อพิสูจน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลของความคิดของคนอื่น
- จงกล้าที่จะทำตามหัวใจและสัญชาติญาณของคุณ

สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs)
woodooshy
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 20

โพสต์

DCF มีข้อเสียยังไง ข้อเสียคือ เนื่องจากมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณหา valuation ของหุ้น แต่หากนำไปใช้โดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งผมเองก็เคยเป็นอย่างนั้นเมื่อก่อน จะทำให้ได้ valuation ที่ผิดพลาดไปมาก โดยเฉพาะการนำ dcf ไปใช้กับหุ้นที่เป็นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจ และวัฎจักรที่เป็น commodity ผลเสียที่เกิดจะรุนแรง เพราะคนที่วิเคราะห์โดยใช้ DCF ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิเคราะห์ มักจะเชื่อมั่นในตัวเองสูงอยู่แล้ว และมักจะมี financial model ที่ซับซ้อน ดังนั้นหากได้ DCF target จากการวิเคราะห์ของตนแล้วมักจะยึดมั่นอย่างสูง และผู้ที่ฟังคำแนะนำก็จะเชื่อมั่นอย่างสูงเช่นกัน เพราะโดยหลักการแล้วเป็นวิธีที่ดีกว่า p/e และ p/bv ดังนั้น DCF valuationได้ทำให้นักวิเคราะห์และคนที่ใช้บทวิเคราะห์เจ็บปวดมาครั้งแล้วครั้งเล่าครับ
ลงทุนในความรู้ นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน

ลงทุนในบุญกุศล นำไปสู่อิสระภาพทางใจ
bestberry
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
naphas12
Verified User
โพสต์: 950
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ลงทะเบียนเรียนบัญชีราม หรือการเงินการธนาคารก็ได้

ผมว่าการเป็น VI หากไม่รู้ซึ้งด้านบัญชี ย่อมไม่สามารถอ่านกับดักทางการเงินที่ซ่อนอยู่ในงบการเงินได้
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก
Plant
Verified User
โพสต์: 667
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 23

โพสต์

naphas12 เขียน:ลงทะเบียนเรียนบัญชีราม หรือการเงินการธนาคารก็ได้

ผมว่าการเป็น VI หากไม่รู้ซึ้งด้านบัญชี ย่อมไม่สามารถอ่านกับดักทางการเงินที่ซ่อนอยู่ในงบการเงินได้
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก
เอ่อ...มีคำถามครับว่า "รู้ซึ้งด้านบัญชี" นี่ต้องสามารถลงมือทำบัญชีเอง
เลยได้ด้วยหรือเปล่าครับ...-.-??)
naphas12
Verified User
โพสต์: 950
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 24

โพสต์

Plant เขียน:
naphas12 เขียน:ลงทะเบียนเรียนบัญชีราม หรือการเงินการธนาคารก็ได้

ผมว่าการเป็น VI หากไม่รู้ซึ้งด้านบัญชี ย่อมไม่สามารถอ่านกับดักทางการเงินที่ซ่อนอยู่ในงบการเงินได้
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก
เอ่อ...มีคำถามครับว่า "รู้ซึ้งด้านบัญชี" นี่ต้องสามารถลงมือทำบัญชีเอง
เลยได้ด้วยหรือเปล่าครับ...-.-??)
ไม่ต้องถึงขนาดนั้นก็ได้ครับ พอให้เข้าใจ Cost Volume Profit, Break Even, Goodwills
Fixed Cost, Variable cost แล้วก็เรียนวิชา Entrepreneur กับการตลาด เพื่อให้มีแนวความคิดการมองธุรกิจ
ที่สำคัญคือต้องอ่านหนังสือ 4 เล่ม
Buffetology
One up on wall street
การวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวเอง
จิตวิทยาการลงทุน
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ขอบคุณครับ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
Plant
Verified User
โพสต์: 667
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 26

โพสต์

naphas12 เขียน:
Plant เขียน:
naphas12 เขียน:ลงทะเบียนเรียนบัญชีราม หรือการเงินการธนาคารก็ได้

ผมว่าการเป็น VI หากไม่รู้ซึ้งด้านบัญชี ย่อมไม่สามารถอ่านกับดักทางการเงินที่ซ่อนอยู่ในงบการเงินได้
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก
เอ่อ...มีคำถามครับว่า "รู้ซึ้งด้านบัญชี" นี่ต้องสามารถลงมือทำบัญชีเอง
เลยได้ด้วยหรือเปล่าครับ...-.-??)
ไม่ต้องถึงขนาดนั้นก็ได้ครับ พอให้เข้าใจ Cost Volume Profit, Break Even, Goodwills
Fixed Cost, Variable cost แล้วก็เรียนวิชา Entrepreneur กับการตลาด เพื่อให้มีแนวความคิดการมองธุรกิจ
ที่สำคัญคือต้องอ่านหนังสือ 4 เล่ม
Buffetology
One up on wall street
การวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวเอง
จิตวิทยาการลงทุน
เยอะเหมือนกันนะครับเนี่ย ผมคิดว่าลงคอร์สอบรมเรื่องอ่านงบการเงิน+ซื้อหนังสือมาอ่านก็น่าจะได้
ความรู้เรื่องนี้ระดับนึงนะครับ ส่วนเรื่องธุรกิจนี่ผมคิดว่าลองหาธุรกิจเล็กๆสักอย่างทำดูแล้วเอาบัญชี
ที่เรียนรู้มา มาใช้กับธุรกิจจริงๆ ผมมองว่าจะเห็นอะไรๆชัดขึ้นมากกว่าเดิมในเรื่องของบัญชีเลยหละครับ
(ถ้าเปิดเป็นบริษัทได้จะสนุกมากๆเลยหละครับ) สุดท้ายผมคิดว่าในเว็ป thaivi นี่ก็มีเรื่องเล่า บทความ
ต่างๆที่เป็นประโยชน์และนำมาใช้ในการลงทุนได้หลายๆอย่างเลยนะครับ...^^)

ปล. ผมคิดว่าการไปลงทะเบียนเรียน บางทีเราอาจจะไม่ได้สิ่งที่นำมาใช้ในการลงทุนจริงๆอย่างที่เรา
ต้องการหนะครับ....^^)
gripen
Verified User
โพสต์: 276
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 27

โพสต์

:D
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 28

โพสต์

1.ออกไปเดินดูกิจการของเราครับ

ถ้ากิจการเราแข็งแกร่ง อยู่ได้อีก 5-10ปี และเติบโตได้เรื่อยๆ การซื้อหุ้นในกิจการ

เหล่านี้ ก้ไม่จำเป็นต้องขายมันออกไป

2.มีความรู้เรื่องงบการเงิน และการคำนวนหา pe pbv peg dcf

3.ต้องมีจิตใจที่ ไม่หวั่นไหวต่อตลาด ทั้งอารมณ์ กลัว โลภ และเบื่อ

4.ต้องมี วงสวิง ที่ถูกต้อง และ ความหลงไหล ในการลงทุน
Nano Investor
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 362
ผู้ติดตาม: 0

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ถ้าเพิ่งเริ่มเป็น VI ช่วงนี้ต้องทำการบ้านหนักหน่อยนะครับ หรือศึกษามากๆ ก่อนจะซื้อหุ้นจริง
ในทะเลทรายเหลือโอเอซิสให้พึ่งพิงอีกไม่มากแล้วครับ
Noinar
Verified User
โพสต์: 136
ผู้ติดตาม: 1

Re: อยากเป็น VI ต้องทำอย่างไร

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณครับ ^^
" Risk comes from not knowing what you’re doing " Warrent Buffett
โพสต์โพสต์