การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ในการประเมินมูลค่ากิจการ เนื่องจากว่าเราประเมินมูลค่ากิจการภายใต้สมมติฐานต่างๆ ภายใต้ความน่าจะเป็น ดังนั้นมูลค่ากิจการแทบจะทั้งหมดมูลค่าที่ประเมินได้ค่าออกมาเป็นช่วง ตัวอย่างเช่น มีมูลค่าแบบ Conservative มูลค่าแบบ Base Case และมูลค่าแบบ Best Case

ลักษณะของธุรกิจ + ความเข้าใจในกิจการ จะเป็นตัวชี้วัดว่า มูลค่าที่ประเมินได้มีช่วงกว้างขนาดไหน

ตามปกติธุรกิจที่มีเสถียรภาพของกำไรจะมีช่วงของมูลค่ายุติธรรมที่แคบกว่าธุรกิจที่มีกำไรผันผวน ตัวอย่างเช่น กำไรของธุรกิจสาธารณูปโภคประเมินในระยะ 5 ปี ประเมินได้ง่ายกว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น หุ้น Utility จะมี Range ของ Fair Value ที่แคบกว่า หุ้น Commo หรือ หุ้นวัฎจักร

บ่อยครั้งที่เราถือหุ้นมาจนถึงราคาเป้าหมาย ขายหุ้นออกไปแล้วหุ้นก็ยังวิ่งต่อ และอีกบ่อยครั้งที่ราคาหุ้นของเราไม่เคยไปถึงเป้าหมาย แล้วลงมาก่อน เหล่านี้ส่วนหนึ่งนั้นอาจจะเป็นผลมาจากกรอบมูลค่ายุติธรรมแบบช่วง

ดังนั้นในการบริหารความเสี่ยงของพอร์ต เราจึงควรมีกลยุทธแบบช่วง (Range) แทนที่จะเป็นแบบจุดตายตัว (Discrete) ซึ่งจะทำให้นอกจากเราสามารถบริหารพอร์ตได้สมเหตุสมผลสอดคล้องการประเมินมูลค่าของเรามากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดการยึดมั่น ถือมั่น ในมูลค่า ทำให้เราปล่อยวาง พร้อมรับการสถานการณ์ได้มากยิ่งขึ้น

เพราะ อย่าลืม ว่า... ทุกสรรพสิ่งล้วนมีสามัญลักษณ์ ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ อันประกอบด้วย อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทนอยู่ได้ยาก) และ อนัตตา (ความไร้ซึ่งตัวตน ไม่สามารถบังคับ ให้เกิดขึ้น หรือดับไปได้) และในตลาดหุ้น คือ สถานที่ๆ รวมที่สุดแห่งความไม่เที่ยงเข้าไว้ด้วยกัน... กิจการนั้นไม่เที่ยง ราคาหุ้นยิ่งไม่เที่ยง และใจของคนที่เล่นหุ้นยิ่งไม่เที่ยงที่เป็นที่สุด

เมื่อหุ้นขึ้น Upside จะลดลง พร้อมๆ กับ Expected Return ... Concept ของการบริหารพอร์ต VI ที่ดี คือ การบริหาร Upside ของพอร์ตให้สูงที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงทางธุรกิจที่เรายอมรับได้ ดังนั้น เมื่อหุ้นขึ้น Upside ของพอร์ตก็จะลดลงโดยปริยาย ซึ่งควรที่จะปรับพอร์ตแต่ถ้าปรับพอร์ตบ่อยเกิน ก็ไม่ดี เพราะ เราจะไม่ได้อานิสงค์ของ Momentum ที่เกิดจากความโลภของนักลงทุนคนอื่นๆ ดังนั้น สำหรับผม ผมจะกำหนดกลยุทธ เป็น 3 กรณีเช่นเดียวกับการประเมินมูลค่า ว่า
1. เมื่อราคากรอบด้านล่างสุด เราจะทำอย่างไร?
2. เมื่อราคาอยู่ในช่วงของ Base Case จะทำอย่างไร?
3. เมื่อราคาอยู่ในกรอบด้านบน เกือบๆ จะ Over ไปจนถึง Over เราจะทำอย่างไร?

คำตอบตายตัวนั้นไม่มี... เพราะ มันแล้วแต่หุ้น แล้วแต่สถานการณ์... แต่ที่แน่ๆ เราควรที่จะมีแผนรับมือกับมันอยู่ครับ

เพื่อนๆ มีความเห็นยังไงบ้างครับ? มีกลยุทธมาแลกเปลี่ยนกันไหมครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
yy
Verified User
โพสต์: 6427
ผู้ติดตาม: 2

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มีแต่คำว่า ขอบคุณมากๆครับ
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้
s.teerapong
Verified User
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมเองก็ประเมินเป็น 3 case เหมือนกัน
ปัจจุบันใช้วิธีหา expected รวมของทั้ง 3 case
แล้วปรับ port ตาม upside เทียบจาก expected รวมกับราคาปัจจุบัน
(ไม่เทียบกับราคาที่เราซื้อครับ เพราะต้นทุนที่แท้จริงคือค่าเสียโอกาส ซึ่งในหุ้นก็คือ ราคาที่เราจะขายได้ถ้าเราไม่ต้องการถือต่อนั่นเอง ราคาที่เราซื้อ ถือเป็น sunk cost ไปแล้ว ไม่ควรเอามามีผลต่อการตัดสินใจครับ)
โดยจะปรับ port เมื่อเทียบกับ upside จาก expected เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของพอร์ตเกิน 10% ขึ้นไปครับ แต่จะไม่ถือตัวไหนเกิน 35% ของพอร์ตรวมครับ (เผื่อออกมาเป็นกรณี worst case ของตัวนั้น)
ตอนนี้ผมมีกลยุทธเดียว ไม่ได้แยกเป็น 3 กรณีอย่างพี่โต้สครับ

ถ้าตามวิธีข้างบน จะตอบคำถามได้ว่า
1. เมื่อราคากรอบด้านล่างสุด เราจะทำอย่างไร?
- ซื้อเข้าพอร์ตครับ ตามสัดส่วนของ upside เทียบจาก expected
2. เมื่อราคาอยู่ในช่วงของ Base Case จะทำอย่างไร?
- อยู่เฉย ๆ ครับ ปรับพอร์ตเมื่อสัดส่วนของพอร์ตที่น่าจะเป็นคิดจาก upside ต่างกับพอร์ตจริง 10% ขึ้นไปครับ
3. เมื่อราคาอยู่ในกรอบด้านบน เกือบๆ จะ Over ไปจนถึง Over เราจะทำอย่างไร?
- คงโดนทยอยขายไปตั้งแต่ขั้นตอนที่ 2 แล้วครับ เพราะ over ทำให้ upside ติดลบครับ ถ้าราคามันจะไปต่อ ก็ถือว่าเกินความรู้ของผมแล้ว ผมขอรับแค่เท่ากับที่ความรู้ผมมีพอครับ

ทีนี้ วิธีนี้มีจุดอ่อนที่ผมยังนึกไม่ออกว่าจะจัดการยังไง คือ
1. จะประเมินความน่าจะเป็นของแต่ละสถานะการณ์ยังไง ตอนนี้ผมยังใช้วิธีมั่วเอาครับ คือ ผมให้ความน่าจะเป็นของ Conservative 20%, Base case 60%, Best case 20% ครับ แล้วค่อยปรับความน่าจะเป็นพวกนี้อีกครั้งถ้าเกิดมีข่าวความคืบหน้าออกมา แต่การทำอย่างนี้ก็เปิดโอกาสให้อารมณ์เข้ามามีผลกับการติดสินใจได้เหมือนกัน ตรงนี้พี่โต้สใช้วิธีไหนอยู่หรอครับ
2. expected เป็นผลรวมของความน่าจะเป็นหลาย ๆ กรณี ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์จะได้ประมาณ expected เมื่อจำนวนเยอะ ๆ เท่านั้น เพราะงั้น ถ้ากรณีที่เกิดขึ้นจริงเป็น Best case วิธีนี้จะทำให้เสียโอกาส (ขายหมูไป) เพราะ expected โดนถ่วงด้วย Conservative กับ Base case หรือกรณี Worst case ก็โดยถวงด้วยเหมือนกัน ทำให้วิธีนี้อาจจะทำให้เสียหายขั้นรุนแรงกรณีออกมาเป็น Worst case ผมเลยใช้วิธี limit สัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวไว้สูงสุดที่ 35% ของพอร์ตแทน ใจจริงจะใช้วิธีแบ่งกลยุทธเป็น 3 กรณีสำหรับหุ้นแต่ละตัวแบบพี่โต้ส แต่ก็ไม่รู้ว่าจะจัดการพอร์ตโดยรวมได้ยังไงโดยไม่ใช้ expected พวกสูตรแบบ Kelly formula ก็ใช้กับหุ้นไม่ได้เพราะคนละเงื่อนไขกัน สุดท้ายเลยต้องใช้เป็นกลยุทธเดียวเลยครับ แล้วไปพยายามปรับโอกาสของแต่ละ case แทน

พี่ ๆ มีความเห็นยังไงกันบ้างกับวิธีแบบนี้ครับ
แล้วมีคำแนะนำมั้ยครับ ว่าทำยังไงถึงแบ่งกลยุทธเป็น 3 กรณีแล้วสามารถบริหารพอร์ตโดยรวมได้โดยไม่ใช้ expected รวม เพราะ expected เองก็มีจุดอ่อนอยู่
หรือถ้าใช้ expected แล้ว มีวิธีจำกัดความเสียหายกรณีที่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็น worst case ยังไงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 4

โพสต์

s.teerapong เขียน:ผมเองก็ประเมินเป็น 3 case เหมือนกัน
ปัจจุบันใช้วิธีหา expected รวมของทั้ง 3 case
แล้วปรับ port ตาม upside เทียบจาก expected รวมกับราคาปัจจุบัน
(ไม่เทียบกับราคาที่เราซื้อครับ เพราะต้นทุนที่แท้จริงคือค่าเสียโอกาส ซึ่งในหุ้นก็คือ ราคาที่เราจะขายได้ถ้าเราไม่ต้องการถือต่อนั่นเอง ราคาที่เราซื้อ ถือเป็น sunk cost ไปแล้ว ไม่ควรเอามามีผลต่อการตัดสินใจครับ)
โดยจะปรับ port เมื่อเทียบกับ upside จาก expected เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของพอร์ตเกิน 10% ขึ้นไปครับ แต่จะไม่ถือตัวไหนเกิน 35% ของพอร์ตรวมครับ (เผื่อออกมาเป็นกรณี worst case ของตัวนั้น)
ตอนนี้ผมมีกลยุทธเดียว ไม่ได้แยกเป็น 3 กรณีอย่างพี่โต้สครับ

ถ้าตามวิธีข้างบน จะตอบคำถามได้ว่า
1. เมื่อราคากรอบด้านล่างสุด เราจะทำอย่างไร?
- ซื้อเข้าพอร์ตครับ ตามสัดส่วนของ upside เทียบจาก expected
2. เมื่อราคาอยู่ในช่วงของ Base Case จะทำอย่างไร?
- อยู่เฉย ๆ ครับ ปรับพอร์ตเมื่อสัดส่วนของพอร์ตที่น่าจะเป็นคิดจาก upside ต่างกับพอร์ตจริง 10% ขึ้นไปครับ
3. เมื่อราคาอยู่ในกรอบด้านบน เกือบๆ จะ Over ไปจนถึง Over เราจะทำอย่างไร?
- คงโดนทยอยขายไปตั้งแต่ขั้นตอนที่ 2 แล้วครับ เพราะ over ทำให้ upside ติดลบครับ ถ้าราคามันจะไปต่อ ก็ถือว่าเกินความรู้ของผมแล้ว ผมขอรับแค่เท่ากับที่ความรู้ผมมีพอครับ

ทีนี้ วิธีนี้มีจุดอ่อนที่ผมยังนึกไม่ออกว่าจะจัดการยังไง คือ
1. จะประเมินความน่าจะเป็นของแต่ละสถานะการณ์ยังไง ตอนนี้ผมยังใช้วิธีมั่วเอาครับ คือ ผมให้ความน่าจะเป็นของ Conservative 20%, Base case 60%, Best case 20% ครับ แล้วค่อยปรับความน่าจะเป็นพวกนี้อีกครั้งถ้าเกิดมีข่าวความคืบหน้าออกมา แต่การทำอย่างนี้ก็เปิดโอกาสให้อารมณ์เข้ามามีผลกับการติดสินใจได้เหมือนกัน ตรงนี้พี่โต้สใช้วิธีไหนอยู่หรอครับ
2. expected เป็นผลรวมของความน่าจะเป็นหลาย ๆ กรณี ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์จะได้ประมาณ expected เมื่อจำนวนเยอะ ๆ เท่านั้น เพราะงั้น ถ้ากรณีที่เกิดขึ้นจริงเป็น Best case วิธีนี้จะทำให้เสียโอกาส (ขายหมูไป) เพราะ expected โดนถ่วงด้วย Conservative กับ Base case หรือกรณี Worst case ก็โดยถวงด้วยเหมือนกัน ทำให้วิธีนี้อาจจะทำให้เสียหายขั้นรุนแรงกรณีออกมาเป็น Worst case ผมเลยใช้วิธี limit สัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวไว้สูงสุดที่ 35% ของพอร์ตแทน ใจจริงจะใช้วิธีแบ่งกลยุทธเป็น 3 กรณีสำหรับหุ้นแต่ละตัวแบบพี่โต้ส แต่ก็ไม่รู้ว่าจะจัดการพอร์ตโดยรวมได้ยังไงโดยไม่ใช้ expected พวกสูตรแบบ Kelly formula ก็ใช้กับหุ้นไม่ได้เพราะคนละเงื่อนไขกัน สุดท้ายเลยต้องใช้เป็นกลยุทธเดียวเลยครับ แล้วไปพยายามปรับโอกาสของแต่ละ case แทน

พี่ ๆ มีความเห็นยังไงกันบ้างกับวิธีแบบนี้ครับ
แล้วมีคำแนะนำมั้ยครับ ว่าทำยังไงถึงแบ่งกลยุทธเป็น 3 กรณีแล้วสามารถบริหารพอร์ตโดยรวมได้โดยไม่ใช้ expected รวม เพราะ expected เองก็มีจุดอ่อนอยู่
หรือถ้าใช้ expected แล้ว มีวิธีจำกัดความเสียหายกรณีที่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็น worst case ยังไงครับ
ผมไม่ใช้ค่า Expected ครับ... และผมจะไม่คำนวณหาค่า Expected ด้วย... เพราะ ผมหาค่าความน่าจะเป็นไม่ได้ และไม่มีทางที่จะหาได้ด้วย

คือ เราต้องเข้าใจก่อนว่า... มูลค่ากิจการที่แท้จริง มันไม่มีอยู่จริง... มันเป็นอะไรที่เราจินตนาการ ที่เราสมมติมันขึ้น... ซึ่งเราไม่มีวันรู้ว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเท่าไหร่ ยกเว้นเสียแต่ว่า... ได้มีการเลิกกิจการ แบ่งเงินกันจริงๆ แล้วเอากระแสเงินสดที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมดมาคำนวณ ซึ่งมันไม่มีทางการขึ้นในชีวิตการลงทุน

ดังนั้น... ผมจึงต้องหามูลค่ากิจการแบบเป็นกรอบกว้างๆ แล้ว Take Action จากราคา... ซึ่งบางทีกรอบมูลค่ายุติธรรมที่ผมคำนวนได้ ที่ขอบเขตด้านล่าง กับขอบเขตด้านบนอาจจะมีค่าต่างกันเป็น 100% ซึ่งเป็นกรณีที่ผมเจออยู่บ่อยๆ... ผมจึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธเมื่อราคาเข้าถึงกรอบของมูลค่ายุติธรรม เพื่อไม่ให้ขายหมู หรือติดดอย... และลดความเสี่ยงจากการยึดมั่นถือมันในมูลค่าหนึ่งๆ ที่เราคำนวณได้...

ปกติเวลาผมทำ... ผมจะคำนวณหา 3 ค่าครับ
1. มูลค่ากิจการที่ Conservative มากๆ
2. มูลค่ากิจการที่น่าจะเป็นไปได้ และตลาดน่าจะรับได้
3. มูลค่าของกิจการ ในกรณีที่หลายๆ อย่างดีกว่าที่คาด

ยกตัวอย่าง

สมมติว่า...
ในช่วงกลางปี 2553 ผมไปเจอหุ้นตัวหนึ่ง แล้วผมคำนวนได้ว่า EPS ปี 2553 น่าจะออกมาสัก 1.5 บาท แล้วปีหน้าน่าจะมี Growth สัก 30-40% เป็นประมาณ 2 บาท

ปกติหุ้นใน Sector นั้น P/E Trade กันที่ประมาณ 10 เท่า

แต่หุ้นตัวนี้มี Growth ที่โดดเด่น ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจแล้วดูมีแนวโน้มที่พอไหว ผมอาจจะเผื่อ P/E ขึ้นไปถึง 12 เท่า

ดังนั้นผมเชื่อว่า P/E 8 เท่านี่ ตลาดน่าจะให้ได้แน่ๆ เพราะ หุ้นตัวอื่นๆ ส่วนใหญ่ Trade กัน 10 เท่า แม้ว่าหุ้นที่ผมดูถ้าขึ้นไป Trade ที่ P/E ที่สูงขึ้นแล้ว P/B จะดูแพงแล้วก็ตาม

ผมจะคิดแบบนี้ครับ
ปี 2553
1.5 x 8 = 12
1.5 x 10 = 15
1.5 x 12 = 18

ปี 2554
2.0 x 8 = 16
2.0 x 10 = 20
2.0 x 12 = 24

ในกรณีแบบนี้ผมจะมองว่า
1. มูลค่า Conservative ของหุ้นตัวนี้น่าจะอยู่แถวๆ 15-16 บาท เพราะ ถึงแม้ปีนี้ตลาดจะไม่ให้ราคาที่ 15 บาททันที แต่ปีหน้าก็น่าจะได้แน่ๆ
2. มูลค่า Base น่าจะแถวๆ 18-20 บาท
3. มูลค่า Best น่าจะแถวๆ 24-25 บาท

อันนี้เป็น P/E Approach อันเดียวนะครับ... เวลาผมมองมูลค่า ผมจะมองไปถึงแนวโน้มการแข่งขัน การลงทุนในหุ้นตัวอื่นใน Sector เดียวกัน P/B, Replacement Cost ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสมกับกิจการแต่ละอัน

สิ่งที่ผมจะทำหลังจากประเมินมูลค่าเสร็จ คือ
- ตอนแรกเทียบราคาตลาด ณ ปัจจุบัน กับมูลค่าแบบ Conservative ก่อน ว่า Upside มากเพียงพอ และกำหนดสัดส่วนของพอร์ตที่จะเข้าซื้อตาม Upside เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ที่อยู่ใน Scope
- หลังจากซื้อ ก็ตามดู ตามรู้ความเคลื่อนไหวของกิจการ ก็เชียร์หุ้นคนนู้น คนนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนอื่นมองเห็นมูลค่าที่ผมมองเห็น

ทีนี้กลยุทธ์ของผมก็ คือ
- ถ้าราคาวิ่งไปถึงมูลค่าที่ Conservative ผมตั้งใจจะขายไปบางส่วน ตามปกติ ผมจะขายเอาทุนผมคืน แต่อาจจะมากกว่าน้อยกว่า ก็แล้วแต่สภาวะตลาด รวมไปถึงหุ้นที่จะ Switch
- ถ้าราคาอยู่ในช่วง Conservative - Best นี่... เป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุด ต้องตามดูพื้นฐานกิจการ สภาวะตลาด รวมไปถึง เทคนิคัล มันจะ Dynamic มาก สภาพจิตใจ ดวง รวมไปถึงโอกาสทางการลงทุนใหม่ๆ ที่โผล่เข้ามาจะมีอิทธิพลต่อการขายหุ้นของผมในช่วงนี้
- ถ้า ราคาไปถึง Best ส่วนใหญ่จะโยนหมด ยกเว้น ซะแต่ว่าเป็นหุ้นที่ Business Model ดีจัดๆ เป็นหุ้นที่ไม่มีวัน Peak ลักษณะนี้อาจจะมีบางส่วนที่ถือยาวแบบไม่คิดอะไร ซึ่งผมไม่ให้เกิน 10% ครับ (แต่ก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้นะครับ)
- นอกจากนี้ถ้าราคาขึ้นไปเหนือ Conservative สักพัก... ถ้าหุ้น Sideway ผมมักจะ Switch หุ้นเพื่อปรับ Upside ในพอร์ตให้สูงขึ้นบางส่วน และถ้าหุ้นยังเป็นขาขึ้นผมจะใช้ Trail Stop Loss เป็นตัวลดสัดส่วนการลงทุนบางส่วน
- ยิ่งราคาเข้าใกล้ Best Case เท่าไหร่... Trial Stop Loss จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มสัดส่วนในการ Stop Loss
- ท่าไม้ตาย... เมื่อไหร่ที่ราคาทำท่าจะหลุดมูลค่า Conservative ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจุด Stop อันสุดท้ายที่ผมจะโยนทิ้งหมดพอร์ต

รู้กลยุทธ์ผมแล้ว... ก็ช่วยเงียบๆ หน่อยนะครับ... อย่าทุบหุ้นผมเลย...
:lol: :lol: :lol:
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 2

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณพี่ picatos ที่เผยกลยุทธ์ให้อ่านกันครับ
กลยุทธ์ที่ผมใช้ก็มีความใกล้เคียงกับพี่ picatos อยู่มากเลยครับ

โดยแนวคิดที่นำมาใช้หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยโอกาสและความน่าจะเป็น + ตรรกศาสตร์คลุมเคลือ

มุมมองพื้นฐานที่ใช้เลยก็คือ ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่แน่นอน แม้แต่ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทที่เราได้รับมาก็ควรบวกค่าความไม่แน่นอนเข้าไปด้วย

ดังนั้นผมจะไม่ถือหุ้นน้อยตัวเด็ดขาด และ ต้องยอมรับว่าจะหวังผลตอบแทนเท่ากับการถือหุ้นน้อยตัวหรือแบบ Focus ไม่ได้

ปกติผมจะวัดความถูกแพงของตลาดรวมจากค่า pe เฉลี่ย (ถ้าค่านี้ต่ำเราก็มีโอกาสทำกำไรจากตลาดได้มากถ้าสูงก็ตรงกันข้าม) วัดความน่าลงทุนของตลาดจากการเอาอัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดไปหารด้วยอัตราผลตอบแทนจากตราสารหนี้ระยะสั้นของรัฐบาล ถ้าได้ค่ายิ่งมากยิ่งน่าลงทุนครับ

ถ้าช่วงไหนตลาดน่าลงทุนมาก ผมก็จะปรับพอร์ตลงทุนแบบ aggressive หน่อย ถ้าช่วงไหนตลาดมีความน่าลงทุนน้อยก็จะปรับพอร์ตลงทุนแบบ conservative หน่อย และก็จะคอยสำรวจ upsize ของหุ้นรายตัวอยู่เรื่อย ๆ ถ้าหุ้นไหน upsize ลดน้อยลงมากแล้วก็จะทะยอยขายออกไปเอาไปลงกับหุ้นที่มี upsize เยอะกว่าครับ
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 72

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่ตี่

ได้ประโยชน์และเห็นภาพมากเลยครับ

:D
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เข้ามาอ่าน Exit Strategy ของแต่ละท่าน ซึ่งผมคิดว่ามีความสำคัญพอ ๆกับกลยุทธ์การซื้อ :)

ขอแชร์ความคิดเห็นนิดหนึ่ง ผมรู้ตัวเองว่าประเมินมูลค่าหุ้นไม่ค่อยเก่ง เล่นรอบไม่เป็น และหาหุ้นไม่ค่อยเก่งอีกด้วย ผมมีแนวทาง (อาจไม่ใช่กลยุทธ์) ในการตัดสินใจขายหุ้นอย่างนี้ ซึ่งค่อนข้างข้อมูลเป็นเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ

1. ขายเมื่อประเมินพื้นฐานกิจการผิด ปัจจัยผลักดันกำไรที่คาดว่าจะเกิด แต่ไม่เกิด หรือมีสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานกิจการ หรือ growth story หมดไป ถึงแม้ว่าจะไม่เกิด loss อาจจะพิจารณาขาย

2. ขายเมื่อเจอตัวอื่นที่น่าสนใจกว่า แต่ไม่มีเงินสดพอ คำว่าน่าสนใจ อาจจะเป็นตัวธุรกิจที่ดี และราคาน่าจะมี upside ไม่ต่ำกว่า 30% ภายใน 1 ปี ซึ่งผมส่วนใหญ่จะคาดการณ์คำนวนแบบกลาง ๆ (modest) ไม่ได้คำนวนเป็นหลาย ๆกรณี

3. Overvalue แบบสุดๆ โดยดูจากค่า PE เปรียบเทียบกับตลาด อุตสาหกรรม เพราะผมว่าการคิดมูลค่าที่แท้จริงมันยาก ถ้ามันไม่เห็นเด่นชัดจริง ๆว่า overvalue และเหตุผลข้อ 1 และ 2 ไม่สนับสนุนให้ขาย ผมก็ไม่ขายถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้ขายที่ราคาดีที่สุด อย่างบางตัวราคาเพิ่มขึ้นมา 1-2 เด้ง ผมยังไม่ปรับพอร์ต เพราะมองว่าปัจจัยคุณภาพยังดีอยู่ ถามว่า overvalue มั๊ย มันก็คลุมเครือสีเทา ๆ เลยไม่ขาย

ส่วนตัวผมค่อนข้างเลือกหุ้นลงทุนยาก ให้น้ำหนักข้อมูลเชิงคุณภาพสูงมาก เพราะรู้ตัวว่าประเมินตัวเลขต่าง ๆไม่เก่ง เกือบ 2 ปีที่ผ่านมาผมขายหุ้นแค่ครั้งเดียวด้วยเหตุผลข้อที่ 2 ผมมองกรอบการลงทุนหุ้นแต่ละตัวประมาณ 2 ปีขึ้นไป เลยไม่เจอเหตุการณ์ switch หุ้นบ่อย ซึ่งยอมรับว่าบางครั้งเราเสียดายโอกาสในการเร่งผลกำไรของพอร์ต แต่วิธีนี้มันไม่เหนื่อยเกินไป และไม่เครียดมากเกินไปสำหรับผม :)

ไม่รู้ว่าตอบตรงคำถามกระทู้หรือเปล่าเนี่ย :oops:
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1015
ผู้ติดตาม: 2

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Thank you so much for sharing krub.
My strategy is quite similar though I have only conservative case and best case krub.
I buy when it 20-50% discount from conservative price (depend on quality of the stock), sell some when it reaches my conservative case and sell everything when it reaches my best case krub.
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 9

โพสต์

หว้าเก่งกันจัง....
ผมยังซื้อขาย อย่างมวยวัดอยู่เลย :oops: :lol:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
OutOfMyMind
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1244
ผู้ติดตาม: 30

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 10

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ดังนั้นผมเชื่อว่า P/E 8 เท่านี่ ตลาดน่าจะให้ได้แน่ๆ เพราะ หุ้นตัวอื่นๆ ส่วนใหญ่ Trade กัน 10 เท่า แม้ว่าหุ้นที่ผมดูถ้าขึ้นไป Trade ที่ P/E ที่สูงขึ้นแล้ว P/B จะดูแพงแล้วก็ตาม

ผมจะคิดแบบนี้ครับ
ปี 2553
1.5 x 8 = 12
1.5 x 10 = 15
1.5 x 12 = 18

ปี 2554
2.0 x 8 = 16
2.0 x 10 = 20
2.0 x 12 = 24
ผมใช้วิธี เอาค่าพีอี base case แต่เป็น forward pe แล้วเอามาคิดลดให้เป็น present value
แล้วนค่าที่ได้มาคิดลด mos อีกครั้งครับ หากตาม ตัวอย่างก็ นำค่า 20 มาคิดลดด้วยอัตราเงินเฟ้อ แลัวค่อนนำมาคิดลด mos อีกครั้งครับ
แต่เห็นของพี่ทำแบบนี้ ผมเลยคิดว่า น่าจะลองเอา conservative case มาเป็นตัวคิดแทน
แต่อย่างนั้นค่าที่ได้ก็จะยิ่งต่ำลงไป (ทำให้เกิด mos มากขึ้น ) แต่ราคาที่คาดว่าจะซื้อได้ยิ่งจะหายากขึ้น ครับ
แต่ก่อนใช้การคำนวณจะต้องผ่านการคัดคุณภาพของหุ้นจากประว้ติย้อนหลังหลายๆปี รวมถึงดูค่าต่างๆ เช่น roa roe และประเมินคุณภาพของ บ. ในอนาคตให้ผ่านก่อนครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 12

โพสต์

dome@perth เขียน:หว้าเก่งกันจัง....
ผมยังซื้อขาย อย่างมวยวัดอยู่เลย :oops: :lol:

ไม่มั้ง
show me money.
Tochi
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ที่พูดถึงคือเรื่อง Portfolio Risk&Return ใน Finance หรือเปล่าครับ
ทดลองใช้แล้ว ผลลัพธ์เป็นยังไงบ้างครับ ช่วยแชร์ด้วยครับผม
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Tochi เขียน:ที่พูดถึงคือเรื่อง Portfolio Risk&Return ใน Finance หรือเปล่าครับ
ทดลองใช้แล้ว ผลลัพธ์เป็นยังไงบ้างครับ ช่วยแชร์ด้วยครับผม
ไม่ใช่ครับ...

เป็นวิธีการบริหารความเสี่ยงแบบมั่วๆ จากประสบการณ์ของผมครับ...

ผลลัพธ์ ที่เห็นในตอนนี้ก็พอใช้ได้ครับ ทำให้ไม่ขายหมู และไม่ติดดอย เป็นกลยุทธ์การแทงกั๊กที่ผมคิดขึ้นมาว่า น่าจะช่วยให้สามารถลงทุนได้ดีขึ้น... ซึ่งก็หวังว่าจะใช้งานได้ผลดีในระยะยาว...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Todo
Verified User
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 15

โพสต์

picatos เขียน:ผมไม่ใช้ค่า Expected ครับ... และผมจะไม่คำนวณหาค่า Expected ด้วย... เพราะ ผมหาค่าความน่าจะเป็นไม่ได้ และไม่มีทางที่จะหาได้ด้วย

คือ เราต้องเข้าใจก่อนว่า... มูลค่ากิจการที่แท้จริง มันไม่มีอยู่จริง... มันเป็นอะไรที่เราจินตนาการ ที่เราสมมติมันขึ้น... ซึ่งเราไม่มีวันรู้ว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเท่าไหร่ ยกเว้นเสียแต่ว่า... ได้มีการเลิกกิจการ แบ่งเงินกันจริงๆ แล้วเอากระแสเงินสดที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมดมาคำนวณ ซึ่งมันไม่มีทางการขึ้นในชีวิตการลงทุน

ดังนั้น... ผมจึงต้องหามูลค่ากิจการแบบเป็นกรอบกว้างๆ แล้ว Take Action จากราคา... ซึ่งบางทีกรอบมูลค่ายุติธรรมที่ผมคำนวนได้ ที่ขอบเขตด้านล่าง กับขอบเขตด้านบนอาจจะมีค่าต่างกันเป็น 100% ซึ่งเป็นกรณีที่ผมเจออยู่บ่อยๆ... ผมจึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธเมื่อราคาเข้าถึงกรอบของมูลค่ายุติธรรม เพื่อไม่ให้ขายหมู หรือติดดอย... และลดความเสี่ยงจากการยึดมั่นถือมันในมูลค่าหนึ่งๆ ที่เราคำนวณได้...

ปกติเวลาผมทำ... ผมจะคำนวณหา 3 ค่าครับ
1. มูลค่ากิจการที่ Conservative มากๆ
2. มูลค่ากิจการที่น่าจะเป็นไปได้ และตลาดน่าจะรับได้
3. มูลค่าของกิจการ ในกรณีที่หลายๆ อย่างดีกว่าที่คาด

ยกตัวอย่าง

สมมติว่า...
ในช่วงกลางปี 2553 ผมไปเจอหุ้นตัวหนึ่ง แล้วผมคำนวนได้ว่า EPS ปี 2553 น่าจะออกมาสัก 1.5 บาท แล้วปีหน้าน่าจะมี Growth สัก 30-40% เป็นประมาณ 2 บาท

ปกติหุ้นใน Sector นั้น P/E Trade กันที่ประมาณ 10 เท่า

แต่หุ้นตัวนี้มี Growth ที่โดดเด่น ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจแล้วดูมีแนวโน้มที่พอไหว ผมอาจจะเผื่อ P/E ขึ้นไปถึง 12 เท่า

ดังนั้นผมเชื่อว่า P/E 8 เท่านี่ ตลาดน่าจะให้ได้แน่ๆ เพราะ หุ้นตัวอื่นๆ ส่วนใหญ่ Trade กัน 10 เท่า แม้ว่าหุ้นที่ผมดูถ้าขึ้นไป Trade ที่ P/E ที่สูงขึ้นแล้ว P/B จะดูแพงแล้วก็ตาม

ผมจะคิดแบบนี้ครับ
ปี 2553
1.5 x 8 = 12
1.5 x 10 = 15
1.5 x 12 = 18

ปี 2554
2.0 x 8 = 16
2.0 x 10 = 20
2.0 x 12 = 24

ในกรณีแบบนี้ผมจะมองว่า
1. มูลค่า Conservative ของหุ้นตัวนี้น่าจะอยู่แถวๆ 15-16 บาท เพราะ ถึงแม้ปีนี้ตลาดจะไม่ให้ราคาที่ 15 บาททันที แต่ปีหน้าก็น่าจะได้แน่ๆ
2. มูลค่า Base น่าจะแถวๆ 18-20 บาท
3. มูลค่า Best น่าจะแถวๆ 24-25 บาท

อันนี้เป็น P/E Approach อันเดียวนะครับ... เวลาผมมองมูลค่า ผมจะมองไปถึงแนวโน้มการแข่งขัน การลงทุนในหุ้นตัวอื่นใน Sector เดียวกัน P/B, Replacement Cost ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสมกับกิจการแต่ละอัน

สิ่งที่ผมจะทำหลังจากประเมินมูลค่าเสร็จ คือ
- ตอนแรกเทียบราคาตลาด ณ ปัจจุบัน กับมูลค่าแบบ Conservative ก่อน ว่า Upside มากเพียงพอ และกำหนดสัดส่วนของพอร์ตที่จะเข้าซื้อตาม Upside เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ที่อยู่ใน Scope
- หลังจากซื้อ ก็ตามดู ตามรู้ความเคลื่อนไหวของกิจการ ก็เชียร์หุ้นคนนู้น คนนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนอื่นมองเห็นมูลค่าที่ผมมองเห็น

ทีนี้กลยุทธ์ของผมก็ คือ
- ถ้าราคาวิ่งไปถึงมูลค่าที่ Conservative ผมตั้งใจจะขายไปบางส่วน ตามปกติ ผมจะขายเอาทุนผมคืน แต่อาจจะมากกว่าน้อยกว่า ก็แล้วแต่สภาวะตลาด รวมไปถึงหุ้นที่จะ Switch
- ถ้าราคาอยู่ในช่วง Conservative - Best นี่... เป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุด ต้องตามดูพื้นฐานกิจการ สภาวะตลาด รวมไปถึง เทคนิคัล มันจะ Dynamic มาก สภาพจิตใจ ดวง รวมไปถึงโอกาสทางการลงทุนใหม่ๆ ที่โผล่เข้ามาจะมีอิทธิพลต่อการขายหุ้นของผมในช่วงนี้
- ถ้า ราคาไปถึง Best ส่วนใหญ่จะโยนหมด ยกเว้น ซะแต่ว่าเป็นหุ้นที่ Business Model ดีจัดๆ เป็นหุ้นที่ไม่มีวัน Peak ลักษณะนี้อาจจะมีบางส่วนที่ถือยาวแบบไม่คิดอะไร ซึ่งผมไม่ให้เกิน 10% ครับ (แต่ก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้นะครับ)
- นอกจากนี้ถ้าราคาขึ้นไปเหนือ Conservative สักพัก... ถ้าหุ้น Sideway ผมมักจะ Switch หุ้นเพื่อปรับ Upside ในพอร์ตให้สูงขึ้นบางส่วน และถ้าหุ้นยังเป็นขาขึ้นผมจะใช้ Trail Stop Loss เป็นตัวลดสัดส่วนการลงทุนบางส่วน
- ยิ่งราคาเข้าใกล้ Best Case เท่าไหร่... Trial Stop Loss จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มสัดส่วนในการ Stop Loss
- ท่าไม้ตาย... เมื่อไหร่ที่ราคาทำท่าจะหลุดมูลค่า Conservative ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจุด Stop อันสุดท้ายที่ผมจะโยนทิ้งหมดพอร์ต

รู้กลยุทธ์ผมแล้ว... ก็ช่วยเงียบๆ หน่อยนะครับ... อย่าทุบหุ้นผมเลย...
:lol: :lol: :lol:

กด Like ให้ครับ ขอบคุณอย่างสูงเลยครับ สำหรับวิธีการหามูลค่าอย่างคร่าวๆ ...เห็นภาพเลย ^^
ภาพประจำตัวสมาชิก
Undead
Verified User
โพสต์: 158
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณพี่ Picatos มากๆ

ผมได้ข้อคิด 1 อย่าง

"ไม่ว่าจะทำอะไรควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน"
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เก่งมากครับ :cool:
ลงทุนเพื่อชีวิต
โพสต์โพสต์