ติดตามวิกฤติยุโรป

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ธนาคารพาณิชย์ในโปรตุเกสเริ่มเผชิญความเสี่ยงสูง

Posted on Wednesday, December 01, 2010
ธนาคารกลางโปรตุเกส ออกแถลงการณ์ยอมรับว่า ธนาคารพาณิชย์ในโปรตุเกสกำลังเผชิญกับ "ความเสี่ยงที่ไม่อาจแบกรับได้" นอกจากว่า รัฐบาลโปรตุเกสจะสามารถควบคุม รายจ่ายภาครัฐได้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายรายประเมินว่า โปรตุเกสจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินในอนาคตแน่นอน จากปัญหาหนี้สาธารณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะขอรับความช่วยเหลือช้า-เร็วเพียงใดเท่านั้น

ด้านนาย แฟรงค์ กิลล์ นักวิเคราะห์ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ บอกว่า S&P มีแนวโน้มเชิงลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินยูโรของรัฐบาลโปรตุเกสที่ A- และระยะสั้น ที่ A-2 เนื่องจากมีเป็นไปได้ ที่รัฐบาลจะขอความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเป็นทางการ และผลของการขอความช่วยเหลืออาจส่งผลต่อสถานะของเจ้าหนี้ภาคเอกชนหลังปี 2556

นอกจากนี้ S&P ยังไม่เห็นความคืบหน้าของ รัฐบาลโปรตุเกสในการปฏิรูปใดๆ ที่จะส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจชดเชย กับการปรับลดงบประมาณในปี 2554 ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจของโปรตุเกสจะหดตัวลงอย่างน้อย 2% ในปีหน้า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ว่างงานโปรตุเกส เดือนต.ค.แตะ 11%

Posted on Thursday, December 02, 2010
ยูโรสแตท ซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป รายงานว่า ในเดือนตุลาคม อัตราว่างงานของโปรตุเกสอยู่ที่ 11% เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี และเทียบกับระดับ 11.1% ในเดือนกันยายน

ทั้งนี้ โปรตุเกสเป็นประเทศในเขตยูโรโซน ที่มีอัตราว่างงานสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งอยู่ที่ระดับประมาณ 10.1% สำหรับอัตราการว่างงานของอียู ซึ่งรวมถึงประเทศที่ไม่ใช้เงินสกุลยูโรนั้น ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 9.6% เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 3

โพสต์

หนี้ยุโรปหนุนผลตอบแทนพันธบัตรเบลเยี่ยมสูงสุดในรอบ 17 ปี

วิกฤตหนี้สาธารณะยังคงลุกลามไปยัง 16 ประเทศในยุโรป ขณะที่นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่า รัฐบาลเบลเยี่ยมจะสามารถลดตัวเลขหนี้สาธารณะที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 3 ในยุโรปได้หรือไม่

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลเบลเยี่ยมพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.39% ซึ่งเป็นสถิติที่พุ่งขึ้นรุนแรงสุดในรอบ 17 ปี และยังส่งผลให้ต้นทุนการรับประกันการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตร (credit-default swaps) ของรัฐบาลเบลเยี่ยมพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วย

แม้สหภาพยุโรปได้อนุมัติวงเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 8.5 หมื่นล้านยูโรให้แก่ไอร์แลนด์เมื่อวันจันทร์ แต่การดำเนินการดังกล่าวก็ไม่สามารถลดกระแสความตื่นตระหนกในตลาดการเงินได้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูสถานะการคลังของประเทศอื่นๆในยุโรป เช่นเบลเยี่ยมว่าอ่อนแอลงจนต้องพึ่งพาเงินกู้ฉุกเฉินจากสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ด้วยหรือไม่

นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ลุกลามยุโรปยังทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศเครดิตพินิจและให้แนวโน้มเชิงลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวที่ A- และระยะสั้นที่ A-2 ของโปรตุเกส โดยเอสแอนด์พีมีความกังวลเรื่องความล่าช้าของรัฐบาลโปรตุเกสในการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการลดยอดขาดดุลงบประมาณ

รายงานคาดการณ์ของคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของ 6 ประเทศยักษ์ใหญ่ของยุโรปอาจขยายตัวได้ 2% ในปีนี้ และ 1.8% ในปีหน้า ซึ่งจะช่วยให้ยอดขาดดุลงบประมาณปรับตัวลดลงได้

ฟรองซัว บาโรแอง โฆษกรัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐมนตรีกระทรวงงบประมาณ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่กังวลเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ด้านการเงินและเศรษฐกิจของประเทศมีความแข็งแกร่ง

บาโรแอง กล่าวในการแถลงประจำสัปดาห์ว่า "ได้ดำเนินการปฏิรูประบบต่างๆ ซึ่งรวมถึงระบบบำนาญ และจะเดินหน้าต่อไป ดังนั้นไม่มีอะไรต้องสงสัย ไม่มีอะไรต้องกังวล"

นักลงทุนในตลาดการเงินของฝรั่งเศสพากันวิตกกังวลว่าสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ AAA ของฝรั่งเศส เนื่องจากมีความวิตกว่าวิกฤตการเงินในไอร์แลนด์อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยุโรป

บาโรแองกล่าวย้ำว่า "มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการบรรลุเป้าหมาย (การลดตัวเลขขาดดุลและกระตุ้นเศรษฐกิจ)"

ฝรั่งเศสตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว 1.5% ในปีนี้ และ 2% ในปีหน้า ขณะเดียวกันก็ประกาศว่าจะลดสัดส่วนตัวเลขขาดดุลต่อจีดีพีให้เหลือ 6% ในปีหน้า จากระดับของปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 7.7%

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา EU และ IMF ประกาศให้เงินช่วยเหลือแก่ไอร์แลนด์มูลค่า 8.5 หมื่นล้านยูโร (1.1054 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายยังวิตกว่าวิกฤตการเงินดังกล่าวอาจลุกลามไปยังประเทศอื่นในยุโรป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 4

โพสต์

รัฐบาลสเปนประกาศมาตรการรัดเข็มขัด

นายโฮเซ่ หลุยส์ ซาปาเตโร นายกรัฐมนตรีสเปน ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดกระแสความวิตกกังวลในตลาดที่มีต่อปัญหาหนี้สาธารณะของสเปน

ซาปาเตโรระบุว่า รัฐบาลจะระงับการจ่ายเงิน 426 ยูโรต่อเดือน (558 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) ให้กับประชาชนที่มีสิทธิการรับสวัสดิการระหว่างว่างงานหมดอายุลงแล้ว

ข้อมูลเชิงสถิติอย่างเป็นทางการของสเปนระบุว่า ประชาชนที่ไม่มีงานทำมีอยู่มากกว่า 4 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชาชนที่มีงานทำ ซึ่งปัจจุบันประชาชนที่ไม่มีงานทำเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาล

นายซาปาเตโรกล่าวว่า เพื่อเป็นการลดภาระหนี้สินของรัฐบาล ทางรัฐบาลจะขายหุ้น 30% ในธุรกิจล็อตเตอรี่

นอกจากนี้จะมีการแปรรูปบริษัท AENA ซึ่งเป็นผู้ประกอบการสนามบินในกรุงมาดริดและบาร์เซโลนา ราว 49% ซึ่งมากกว่าเดิมที่วางแผนไว้ว่าจะแปรรูปเพียง 30%

ภายใต้มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลนั้น บริษัทเอกชนและนักลงทุนจะได้รับอนุญาตให้เข้าลงทุนในภาครัฐได้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสวนทางกับในอดีตที่รัฐบาลสเปนจะไม่ยอมอนุญาตให้บริษัทเอกชนและนักลงทุนเข้ามาลงทุนในภาครัฐ

ทั้งนี้ มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลสเปนจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายทันทีที่ได้รับการอนุมัตจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันศุกร์ที่ 3 พ.ย.นี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
SOROS.DD
Verified User
โพสต์: 145
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ปัญหาแบงก์ไอร์แลนด์ ตอกย้ำวิกฤตศรัทธา "Stress Test"

วิกฤตยุโรปได้ก้าวมาถึงจุดสำคัญ อีกครั้ง โดยตอนนี้โฟกัสมาอยู่ที่ "ไอร์แลนด์" ที่กำลังขอรับเงินกู้จากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมกับเพิ่งประกาศมาตรการรัดเข็มขัดในช่วง 4 ปี เพื่อปรับลดการขาดดุลงบประมาณให้มาอยู่ที่ระดับไม�เกิน 3% จากปัจจุบันที่คาดว่าจะพุ่งถึงระดับ 32% ของจีดีพีในปีนี้ ตามแผนนี้ไอร์แลนด์จะต้องปรับลดการ ใช้จ่ายให้ได้ถึง 1.5 หมื่นล้านยูโร

นอกจากนี้ ไอร์แลนด์อาจจำต้องยกเครื่องภาคธนาคารอีกด้วย

ทั้งที่เมื่อ 4 เดือนก่อน สองแบงก์ยักษ์ของไอร์แลนด์อย่าง แอลไลด์ ไอริช แบงก์ส (AIB) และ แบงก์ ออฟ ไอร์แลนด์ ต่างผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ภาคธนาคารของสหภาพยุโรปได้อย่างฉลุย ทว่าในอนาคตอันใกล้ ทั้งสองแบงก์อาจต้องอยู่ใต้อุ้งมือการบริหารของรัฐบาลไอร์แลนด์ หลังแบงก์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ในปัจจุบัน

และวิกฤตแบงก์ไอร์แลนด์ในวันนี้ยังนำไปสู่ข้อกังขาถึงความน่าเชื่อถือของ stress test ของอียูเมื่อไม่กี่เดือนก่อน ขณะที่หลายฝ่ายวิตกว่าอาจมีอีกหลายธนาคารในบางประเทศที่สอบผ่าน ทั้ง ๆ ที่นั่งกอดหนี้มหาศาลเช่นกัน

จากการทดสอบภาวะวิกฤต 91 ธนาคารในยุโรปเมื่อเดือนกรกฎาคม พบว่ามีเพียง 7 ธนาคารที่ไม่ผ่านเกณฑ์ แต่สองแบงก์ยักษ์จากไอร์แลนด์อย่างเอไอบี ผ่านการทดสอบมาด้วยสัดส่วนทุนชั้นหนึ่ง 6.5% ซึ่งสูงกว่ากำหนด 6% ของคณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารยุโรป (CEBS) ขณะที่แบงก์ ออฟ ไอร์แลนด์ มีสัดส่วน ทุนชั้นหนึ่ง 7.1%

สถานการณ์ของแบงก์ไอร์แลนด์ได้จุดพลุข้อกังขาถึงแนวปฏิบัติของ CEBS ขึ้นอีกรอบในบางประเด็น เช่น ความโปร่งใส เนื่องจากบางประเทศลังเลที่จะเปิดเผยรายละเอียดของฐานะของแบงก์และระดับภาวะ วิกฤตที่ใช้ในการประเมิน นอกจากนี้ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานการณ์ สมมติของภาวะวิกฤตที่แสดงถึงการผ่อนผันอย่างเห็นได้ชัด

ภายใต้แนวปฏิบัติของ CEBS แต่ละประเทศจะใช้บททดสอบภาวะวิกฤตกับธนาคารในประเทศ ซึ่งจะมีทั้งสถานการณ์สมมติอ้างอิง และสถานการณ์อันตราย (adverse scenario) ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ากำหนดสถานการณ์ที่อันตรายมากนัก

โดยไอร์แลนด์กำหนดพัฒนาการอันตรายไว้ว่า ปีนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ทั้งเพื่ออยู่อาศัยและการพาณิชย์ร่วงลง 17% แต่ข้อมูลของนักวิเคราะห์จาก แคพิทัล อีโคโนมิกส์ระบุว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ราคาบ้านดิ่งไปแล้วเกือบ 19% สำหรับ ปีหน้ากำหนดเป้าทดสอบไว้ที่ราคาดิ่ง 5% ซึ่งล้วนต่ำกว่าสถานการณ์อันตรายที่สวีเดน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนีกำหนด และประเทศเหล่านั้นไม่มีปัญหาฟองสบู่อสังหาฯเลย

ทั้งนี้แคพิทัล อีโคโนมิกส์ เชื่อว่ามีความเป็นไปได้มากที่ราคา ที่อยู่อาศัยไอร์แลนด์จะตกลงอีกอย่างน้อย 20% ในช่วง 1-2 ปี ข้างหน้า ดังนั้นการกำหนดภาวะอันตรายไว้ต่ำเกินจริงจึงทำให้ ผลทดสอบไม่น่าเชื่อถือ

ขณะเดียวกันลอร์ด เทิร์นเนอร์ ประธานสำนักงานบริการทางการเงิน (FSA) ของอังกฤษแสดงความคิดเห็นว่า แนวปฏิบัติของ CEBS อาจแคบเกินไป โดยเน้นความแข็งแกร่งของเงินทุน แต่ไม่มองประเด็นความมั่นคงของทุนสภาพคล่องหรือการไม่มี หนี้สินมากเกินไป

สำหรับการกู้วิกฤตแบงก์ครั้งนี้ เอเอฟพี รายงานว่าธนาคารของไอร์แลนด์จะต้องเพิ่มทุนสำรองจาก 8 เป็น 12% เพื่อทำให้ผู้ฝากเงินรู้สึกเชื่อมั่นกับระบบธนาคารและป้องกันการโยกเงินออก จากประเทศ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีนี้มีการถอน เงินออกจากระบบธนาคารไปแล้ว 23,000 ล้านยูโร

นอกจากนี้รัฐบาลจะเข้าไปถือหุ้นเพิ่มใน 2 ธนาคารที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต โดยจะถือหุ้น 99.9% ในเอไอบีและกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของแบงก์ ออฟไอร์แลนด์ จากเดิมที่ถือหุ้นอยู่ 36%

เอไอบี รายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า นับจากต้นปีธนาคารมีเงินฝากลดลง 13,000 ล้านยูโร ส่วน แบงก์ ออฟ ไอร์แลนด์ คาดว่าจะมีกำไรลดลง 35-40% ในปีนี้ เนื่องจากรายได้ลดลง

จากวิกฤตแบงก์ไอร์แลนด์ทำให้มีหลายฝ่ายมองไปถึงฐานะของธนาคารประเทศ อื่น ที่ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤตมาแล้ว โดยใน สเปน ที่มีธนาคารร่วมทดสอบ 26 แห่ง และสอบตก 4 แห่ง ซึ่งหากเกิดปัญหาก็จะยิ่งใหญ่กว่าไอร์แลนด์มาก แต่ก็ยังมีจุดต่างกับกรณีไอร์แลนด์ เพราะรัฐบาลสเปนไม่ได้เข้าไปค้ำประกันเงินฝากและหนี้สินของธนาคาร อีกทั้งราคาอสังหาริมทรัพย์ในสเปนไม่ได้ร่วงลงมากเท่ากับไอร์แลนด์

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ ด้วยยอดคนตกงานสูงกว่า 20% ตลอดจนมีจำนวนแบงก์เข้าร่วมทดสอบมากกว่า จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด

ส่วนในกรณี โปรตุเกส หนี้สาธารณะไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่ดอยช์ แบงก์ ระบุว่า หนี้เอกชนของโปรตุเกสกลับติดอันดับสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก หรือ 239% ของจีดีพี ขณะที่ภาคธนาคารโปรตุเกสที่ยังมีฐานะดี และไม่มีปัญหาฟองสบู่ ทว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุในรายงาน ข้อที่ 5 ว่า ธนาคารพึ่งพาทุนภายนอกสูงมาก หรือเท่ากับ 40% ของสินทรัพย์ทั้งหมด และในอดีตสาเหตุการล้มของนอร์ทเทิร์น ร็อกคือปัญหาเงินทุน ไม่ใช่หนี้เสีย

หน้า 12

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4266 ประชาชาติธุรกิจ

http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-11-29
SOROS.DD
Verified User
โพสต์: 145
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ก้าวข้าม "ไอร์แลนด์" จับตาความเสี่ยงกลุ่ม PIIGS โยงถึงฝรั่งเศส-เยอรมนี

ข่าวดีจากยุโรปเรื่องข้อสรุปแผนช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศไอร์แลนด์ อาจมาพร้อมกับประเด็นแทรกซ้อนที่น่าจับตาหลายประการ

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังจาก 16 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักหรือกลุ่มยูโรโซน ได้เห็นพ้องอนุมัติแผนช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินวงเงิน 8.5 หมื่นล้านยูโร หรือ 1.15 แสนล้านดอลลาร์แก่ไอร์แลนด์ เพื่อป้องกันผลกระทบลุกลามต่อประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาเศรษฐกิจ หรือกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน)

ภายใต้แผนช่วยเหลือฉุกเฉินประมาณ 3.5 หมื่นล้านยูโร จะถูกนำไปใช้เพื่อช่วยปรับโครงสร้างธนาคารพาณิชย์ในไอร์แลนด์ที่กำลังมีปัญหา โดยแยกเป็นการอัดฉีดเพิ่มทุน 1 หมื่นล้านยูโร ขณะที่ไอร์แลนด์ร่วมสมทบโดยใช้เงินสดและทุนสำรองในกองทุนบำนาญแห่งชาติเป็น จำนวน 1.75 หมื่นล้านยูโร

เงินส่วนที่เหลือจะถูกนำไปใช้ในการลดหนี้สาธารณะที่เป็นผลมาจากการให้ความช่วยเหลือธนาคารในช่วงเกิดวิกฤต ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะร่วมสมทบ 2.25 หมื่นล้านยูโร

นอกเหนือจากการอนุมัติแผนช่วยเหลือประเทศไอร์แลนด์แล้ว ที่ประชุมยังอนุมัติโครงร่างกลไกแก้ไขวิกฤตถาวรเรียกว่ากลไกเพื่อการรักษาเสถียรภาพแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งเสนอโดยเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งต่อยอดมาจากกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินวงเงิน 7.50 แสนล้านยูโร ที่สหภาพยุโรปเห็นพ้องจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2553

ผลประชุมยังเห็นพ้องให้ดึงเจ้าหนี้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในรูปของ การปรับโครงสร้างหนี้โดยตรง หรือปรับโครงสร้างหนี้ผ่านกลไกที่เรียกว่า อนุมาตราว่าด้วยการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่จะเพิ่มเติมไว้กับ พันธบัตรรัฐบาลหากเกิดวิกฤตหนี้ขึ้นในอนาคต โดยจะเริ่มมีผลหลังปี 2556

ปฏิกิริยาของตลาดการเงินโลกที่มีต่อการอนุมัติแผนช่วยเหลือไอร์แลนด์มีทั้งบวกและลบ โดยแม้ตลาดหุ้นหลายแห่งจะปรับขึ้น แต่ก็เป็นไปอย่างจำกัด เช่นเดียวกับ ค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง สะท้อนความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อวิกฤตหนี้ในยุโรป

เดวิด ฟอร์เรสเตอร์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบาร์เคลย์ส แคปิตอล ให้ความเห็นผ่าน สำนักข่าวดาวโจนส์ โดยคาดว่าความวิตกกังวลที่มีต่อประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มยูโรโซนยังคงมีอิทธิพลต่อค่าเงินยูโร

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลง ถ้วนหน้าต่อเนื่องกัน ฉุดมูลค่าตลาดหุ้นโลกให้ลดลงไปถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ อันเป็นผลมาจากความวิตกกังวลว่าวิกฤตในไอร์แลนด์จะส่งผลกระทบลุกลามไปยัง ประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในกลุ่ม โดยเฉพาะโปรตุเกส และสเปน

เว็บไซต์ moneycontrol.com รายงานว่า เงินยูโรได้อ่อนค่าลงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 2 เดือนที่ 1.3183 ดอลลาร์ต่อยูโร สาเหตุหลักมาจากนักลงทุนกังวลว่า ทางการยุโรปอาจไม่มีวิธีการในการช่วยเหลือประเทศยุโรปที่มีปัญหาทางการคลัง ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะโปรตุเกสและสเปน ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไอร์แลนด์ และต้องการความช่วยเหลือที่มากกว่า

ในบทวิเคราะห์เรื่อง Euro Debt Crisis Bankruptcy Bailout Queue, Protect Savings & Deposits From Banks Going Bankrupt ! ใน marketoracle.co.uk ได้จัดทำรายชื่อประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่จะต้องขอรับความช่วยเหลือเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลาย เช่นเดียวกับไอร์แลนด์และกรีซที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน 8.5 หมื่นล้านยูโร และ 1.1 แสนล้านยูโร ตามลำดับ ได้แก่ โปรตุเกส อาจจะต้องขอรับความช่วยเหลือราว 4-8 หมื่นล้านยูโร รวมถึงสเปนที่อาจต้องการมากถึง 4-5 แสนล้านยูโร และอิตาลีอีก 1 ล้านล้านยูโรขึ้นไป นอกเหนือจากกลุ่ม PIIGS เดิมแล้วยังมีชื่อของเบลเยียมรวมอยู่ด้วย โดยบทวิเคราะห์ชี้ว่าเบลเยียมอาจต้องขอรับความช่วยเหลือราว 5 หมื่นล้านยูโร

ศาสตราจารย์วิลเลียม บุยเตอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า โปรตุเกสมีแนวโน้มต้องขอรับความช่วยเหลือก่อนสิ้นปีนี้ และสเปนจะตามมาในอีกไม่นานหลังจากนั้น และกองทุนช่วยเหลือ 4.4 แสนล้านยูโรของสหภาพยุโรปดูเหมือนจะมีขนาดเล็กมากและเล็กเกินไป

ผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ในสหภาพยุโรป เป็นอีกหนึ่งความกังวลในตลาดการเงินโลก โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เตือนว่า ปัญหาในกลุ่ม PIIGS จะมีผลต่อธนาคารทั่วยุโรป อันเป็นมาจากความเสี่ยงผูกพันที่ธนาคารมีต่อประเทศเหล่านี้ทั้งในฐานะเจ้า หนี้และการลงทุนในรูปอื่น ๆ

ทั้งนี้บทวิเคราะห์ของทีดี อีโคโนมิกส์ เผยแพร่เมื่อ 19 พฤศจิกายนระบุว่า นับถึงเดือนมิถุนายน 2553 ธนาคารในอังกฤษมีความเสี่ยงผูกพันอยู่กับไอร์แลนด์คิดเป็น 6.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของอังกฤษ ขณะที่ธนาคารฝรั่งเศสมีความเสี่ยงผูกพันกับ 5 ชาติกลุ่ม PIIGS ราว 30% ของจีดีพี ส่วนเยอรมนีมีความเสี่ยงผูกพันกับ 5 ประเทศกลุ่ม PIIGS 16-17% ต่อจีดีพี

หน้า 18
วันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4267 ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-12-02
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ญี่ปุ่นจับตาวิกฤตหนี้ยุโรปใกล้ชิด

Posted on Friday, December 03, 2010
นายโยชิฮิโกะ โนดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น บอกว่า ญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการติดตามปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ ยูโรโซน อย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะพิจารณาว่า จะเพิ่มกองทุนช่วยเหลือของยุโรปหรือไม่ หลังมีกระแสการคาดการณ์ว่า สเปนหรือโปรตุเกสอาจจะขอความช่วยเหลือทางการเงินบางรูปแบบ

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นในฐานะสมาชิกกลุ่ม G-7 เห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือทางการเงินสำหรับประเทศไอร์แลนด์ วงเงิน 112,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

สเปนปัด ไม่ต้องการเงินช่วยเหลือต่างชาติ

เอเลนา ซัลกาโด รัฐมนตรีคลังแดนกระทิงดุยืนยัน สเปนจะไม่เดินตามรอยกรีซและไอร์แลนด์ด้วยการขอความช่วยเหลือทางการเงินจากนานาชาติ

เอเอฟพีรายงานว่า รัฐมนตรีหญิงกล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า ทางการแมดริดจะไม่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเพราะ "พื้นฐานทางเศรษฐกิจของเราไม่เหมาะกับมาตรการนี้" พร้อมชี้ว่า เหตุที่งบประมาณของกรีซขาดความสมดุลไม่ได้มาจากวิกฤตเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ส่วนไอร์แลนด์ติดหล่มปัญหาเพราะภาคการธนาคาร

ซัลกาโดระบุว่ากองทุนเพื่อการปรับโครงสร้างธนาคารที่มีปัญหาของสเปนมีเงินเพียงพอ "มีเงินในกองทุนราว 9.9 หมื่นล้านยูโร จนถึงขณะนี้ถูกใช้ไปแล้ว 1.1 หมื่นล้านยูโร ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ 7% มีความเสี่ยงน้อยมากที่เงินก้อนนี้จะถูกนำไปใช้โดยเปล่าประโยชน์"
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 9

โพสต์

HUNGARY:"มูดี้ส์"หั่นอันดับเครดิตฮังการีใกล้"ขยะ" พร้อมขู่มีแนวโน้มลดลงอีก
บูดาเปสต์--7 ธ.ค.--รอยเตอร์
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลงสู่ระดับ Baa3ซึ่งสูงกว่าสถานะ"ขยะ" หรือ junk อยู่เพียง 1 ขั้น โดยระบุถึงความวิตกด้านการคลังในระยะยาว และความเปราะบางต่อปัจจัยภายนอก "การลดอันดับในครั้งนี้มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลฮังการีสูญเสียความแข็งแกร่งทางการเงินทีละเล็กทีละน้อย แต่มีนัยสำคัญ ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลส่วนใหญ่ต้องพึ่งพามาตรการชั่วคราว แทนที่จะเป็นนโยบายการสร้างความแข็งแกร่งทางการคลังอย่างยั่งยืน "มูดี้ส์อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีกครั้ง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถสร้างเสถียรภาพให้แก่ความแข็งแกร่งทางการเงินได้" มูดี้ส์ระบุ พร้อมเสริมว่าการสร้างเสถียรภาพอาจจะเผชิญกับความยุ่งยากจากการที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนหรือต้นทุนการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 10

โพสต์

EU ปฏิเสธเตรียมแผนช่วยโปรตุเกส-สเปน

Posted on Tuesday, December 07, 2010
สหภาพยุโรป (EU) ออกแถลงการณ์ยืนยันไม่มีแผนช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินต่อโปรตุเกสและสเปน และไม่มีแผนเพิ่มวงเงินกองทุนรักษาเสถียรภาพภาคการเงินวงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร หรือ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างใด โดย EU มีความเชื่อมั่นต่อฐานะการคลังของสเปนและโปรตุเกส และมั่นใจว่า วงเงินกองทุนนรักษาเสถียรภาพภาคการเงินจำนวน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเพียงพอแล้ว

ด้านนายฌอง คลอด์ ยุงเคอร์ นายกรัฐมนตรีลัคเซ็มเบิร์ก บอกว่า EU จะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับยูโรโซน แม้เป็นการยากที่จะทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดเงินกลับคืนมา

ขณะที่นายเคนเนธ โรกอฟฟ์ศาสตราจารย์และอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) บอกว่า EU ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศสมาชิกบางแห่งได้ แม้ประเทศเหล่านั้นจะยืนยันว่าจะไม่ประสบปัญหาทางการคลังก็ตาม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ฮังการีพ้อมูดี้ส์หั่นเครดิตไม่รอบคอบ - EU ยันไม่เพิ่มเงินกองทุน EFSF

นายเก-ออร์-กี มาทอลซี รัฐมนตรีเศรษฐกิจฮังการี กล่าวว่า การที่ฮังการีถูกมูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายของรัฐบาล แต่ก็ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจ

นายมาทอลซีกล่าวว่า มูดี้ส์ไม่ได้พิจารณาปัจจัยทุกอย่างให้รอบด้านก่อนตัดสินใจปรับอันดับความน่าเชื่อถือ พร้อมกับกล่าวว่า "ฮังการีขาดดุลงบประมาณน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ในอียูในปีนี้ และตัวเลขขาดดุลปีหน้าที่ต่ำกว่า 3% ก็จะน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ของอียูเช่นกัน"

เขากล่าวเพิ่มเติมว่าตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจสำหรับช่วงฤดูใบไม้ผลิปีหน้าก็น่าจะถูกนำไปพิจารณาในการปรับอันดับความน่าเชื่อถือด้วย

มูดี้ส์ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีสองขั้นสู่ระดับ Baa3 แนวโน้มเป็นเชิงลบ โดยอันดับเครดิตที่ Baa3 นั้น อยู่เหนือระดับ "ขยะ" เพียงขั้นเดียว

ขณะที่ รัฐมนตรีกระทรวงคลังของยูโรโซนได้ตัดสินใจที่จะไม่เพิ่มวงเงินกองทุนช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สินมูลค่า 7.50 แสนล้านยูโร ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือประเทศอาจจะเผชิญกับวิกฤตหนี้เหมือนกับกรีซ

นายคลาส์ ริ๊กลิ่ง ประธานของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) กล่าวว่า กองทุนดังกล่าวมีปริมาณเพียงพอที่จะช่วยเหลือทางการเงินในอนาคต

นายรีกลิงกล่าวว่า EFSE จะใช้เงินทุนสำหรับช่วยเหลือไอร์แลนด์ในสัดส่วนที่ไม่ถึง 1 ใน 10 ของความสามารถในการปล่อยกู้ทั้งหมด ซึ่งจะมีเงินทุนเหลือเพียงพอสำหรับใช้กับประเทศอื่นๆ

ทางด้านนายดิดดิเอร์ ไรน์เดอร์ส รัฐมนตรีคลังเบลเยียม กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ยูโรโซนควรจะมีการขยายเครือข่ายกองทุนดังกล่าว เพื่อควบคุมการเก็งกำไร ขณะที่นางแองเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าว เพราะมองว่ายังไม่มีความจำเป็น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ประเมิน Stress Test ยุโรปล้มเหลว ไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นได้

ระยะเวลา 5 เดือนหลังจากที่สหรัฐฯ มีการเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของธนาคารพาณิชย์ ในปี 2552 ดัชนี S&P 500 ของสหรัฐฯ ขยับขึ้นถึง 25%

อย่างไรก็ดี หากมีการเปรียบเทียบระหว่างการทดสอบระหว่างสหรัฐฯ กับ ยุโรปนั้น จะพบว่า ระยะเวลา 5 เดือน หลังจาก EU มีการรายงานผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) นั้น ดัชนี Bloomberg Europe Banks and Financial Services กลับปรับตัวลดลง 4%

ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวนั้น ชี้ให้เห็นว่า การทดสอบ Stress Test ของยุโรปนั้นประสบความล้มเหลวในการเรียกความเชื่อมั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเดือนที่แล้ว ไอร์แลนด์ ได้ให้ผู้ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ในประเทศต้องเพิ่มทุนอีก แม้ทั้งสองธนาคารจะสามารถสอบผ่านการทดสอบ Stress Test ก็ตาม

อ้างอิงจากข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ปรากฎว่า นับตั้งแต่ที่ผลการทดสอบของยุโรปได้รับการเผยแพร่ไปเมื่อเดือน 23 ก.ค. ที่ผ่านมา ต้นทุนการรับประกันการผิดนัดชำระหนี้ของแบงก์ในยุโรป 110 แห่งนั้นเพิ่มขึ้น 1.13% ขณะที่ credit-default swaps ของ 34 แบงก์ใหญ่ในสหรัฐฯ กลับไม่เปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติธนาคารพาณิชย์ 91 แห่งในยุโรป โดยระบุว่ามีธนาคารเพียง 7 ที่ไม่ผ่านการทดสอบ ซึ่งได้แก่ธนาคารไฮโป เรียลเอสเตท โฮลดิ้ง ของเยอรมนี ธนาคารเอทีอีของกรีซ ส่วนธนาคารอีก 5 แห่งเป็นของสเปน แต่ไม่มีธนาคารของไอร์แลนด์รวมอยู่ด้วย ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์บางกลุ่มตั้งข้อสังเกตุว่า การทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้อาจต่ำกว่ามาตรฐาน

ล่าสุด ท่ามกลางความกังวลต่อการลุกลามของวิกฤติหนี้ในยุโรป ผู้กำหนดนโยบายจาก 27 ชาติสมาชิก EU ต่างพยายามหาแนวทางในการปรับปรุงการทดสอบ Stress Test ซึ่งจะมีการนำมาใช้ทดสอบความแข็งแกร่งของแบงก์พาณิชย์ในยุโรปอีกครั้งในปี 2555

นักเศรษฐศาสตร์ได้แสดงความคิดเห็นว่า การทดสอบครั้งใหม่จะไม่ง่ายเหมือนเดิม ตราบใดที่ ผู้นำของชาติสมาชิก EU และ ผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศต่างๆ ไม่ต้องการจะให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก

อย่างไรก็ดี คำแนะนำจากนักวิชาการระบุว่า ถ้ายุโรปต้องการให้การทดสอบมีความน่าเชื่อ การทดสอบครั้งต่อไปจำเป็นที่จะต้องนำความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของภาครัฐเข้ามาคำนวณในการทดสอบด้วย

มิเชล บาร์นิเยร์ โฆษกฝ่ายกิจการตลาดต่างประเทศของคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (อียู) จะทำการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเป็นรายปี โดยจะเริ่มตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

และจะดำเนินการทดสอบโดยสำนักงานกำกับดูแลด้านการธนาคารแห่งยุโรป (European Banking Authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ เพื่อรับผิดชอบในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดยบาร์นิเยร์ระบุว่า ขั้นตอนการทดสอบภาวะวิกฤตรายปีจะได้รับการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมมากขึ้น

ยอดส่งออกเยอรมนีร่วงจากดีมานด์ยุโรปซบเซา

สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนีเผยยอดส่งออกเดือนต.ค. ร่วงลง 1.1% จากผลกระทบของวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่ทำให้อุปสงค์ซบเซา

ยอดส่งออกที่ร่วงลงในเดือนต.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากที่ขยายตัว 3% ในเดือนก.ย. ซึ่งยอดส่งออกที่ปรับตัวลงดังกล่าวส่งผลให้เยอรมนีมียอดเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 14,200 ล้านยูโร (18,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนต.ค. จากระดับ 16,800 ล้านยูโรในเดือนก.ย. ขณะที่ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นมาตรวัดมูลค่าการค้าทั้งหมด โดยรวมทั้งสินค้าและบริการ อยู่ที่ 11,700 ล้านยูโร ลดลงจากระดับ 14,500 ล้านยูโรในเดือนก.ย.

อย่างไรก็ตาม หากเทียบเป็นรายปีพบว่า ยอดส่งออกเดือนต.ค. ขยายตัวขึ้น 19.8% จากปีก่อน โดยยอดส่งออกไปยัง 16 ประเทศในยูโรโซน เพิ่มขึ้น 12.7% ขณะที่ยอดส่งออกไปยังประเทศนอกสหภาพยุโรปขยายตัว 28.4%

สำหรับการนำเข้าของเยอรมนีในเดือนต.ค.ปรับตัวขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และเพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ มาตรการรัดเข็มขัดในกลุ่มประเทศยุโรปส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ของตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี โดยยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานจากกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สอง อย่างไรก็ดี อัตราว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำของเยอรมนีได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งทำให้เยอรมนียังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งและช่วยหนุนการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปได้

ด้านธนาคารกลางเยอรมนีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในประเทศจะสามารถขยายตัวได้ 3.6% ในปีนี้ เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ อันเนื่องมาจากตลาดแรงงานฟื้นตัว ที่ผ่านมา
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

BIS เผยยอดเสี่ยงผูกผันของแบงก์ยุโรป

บีไอเอสเผยธนาคารในยุโรปมีความเสี่ยงผูกพันกับไอร์แลนด์และกรีซในไตรมาส 2 สูงกว่าที่ประเมินไว้

วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า ข้อมูลของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ยืนยันว่า ธนาคารเยอรมันและฝรั่งเศสติดอยู่ในกลุ่มของเจ้าหนี้รายใหญ่ของธนาคารในภูมิภาคนี้ โดยนับถึงสิ้นไตรมาส 2 ความเสี่ยงผูกพันที่ธนาคารฝรั่งเศสที่มีต่อกรีซมีมูลค่า 83.1 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารเยอรมันมีความเสี่ยงผูกพันกับกรีซ 65.4 พันล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ ธนาคารเยอรมันยังมีความเสี่ยงผูกพันในไอร์แลนด์ 186.4 พันล้านดอลลาร์ หรือรองจากธนาคารอังกฤษ ที่มีความเสี่ยงผูกพันในไอร์แลนด์สูงถึง 187.5 พันล้านดอลลาร์ นับถึงสิ้นไตรมาส 2

ทั้งนี้ข้อมูลของบีไอเอสฉายภาพว่าหากกรีซและไอร์แลนด์ถูกกดดันให้ปรับโครงสร้างหนี้จะต้องมีต้นทุนสูงเพียงใด

ขณะเดียวกัน ธนาคารสเปน เป็นกลุ่มธนาคารที่มีความเสี่ยงผูกพันสูงสุดในโปรตุเกส หรือมีมูลค่าถึง 98.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารเยอรมันถือเป็นเจ้าหนี้เบอร์ 1 ของธนาคารสเปน หรือมีความเสี่ยงผูกพันรวม 216.6 พันล้านดอลลาร์ ส่วนธนาคารฝรั่งเศสมีความเสี่ยงผูกพันในสเปน 201.3 พันล้านดอลลาร์

บีไอเอส ระบุว่า ธนาคารที่รายงานข้อมูลให้บีไอเอสเผยว่า ความเสี่ยงผูกพันรวมของต่างชาติในกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน มีมูลค่า 2.281 ล้านล้านดอลลาร์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

มูดี้ส์มองแนวโน้มแบงก์สเปนเป็นลบ

มูดี้ส์คงแนวโน้มภาคธนาคารสเปนเป็นลบ เพราะระดับการเพิ่มทุนยังคงอ่อนแอไปอีก 12-18 เดือน

เอเอฟพีอ้างแถลงการณ์ของสถาบันจัดอันดับเครดิต เรตติ้ง มูดี้ส์ ว่า แนวโน้มระบบธนาคารของสเปนยังคงเป็นลบ เพราะคาดว่าการระดมทุน ผลกำไร และการเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดของธนาคารยังคงอ่อนแออยู่

มูดี้ส์ระบุว่า ปัญหาของภาคธนาคารสเปนเกิดจากปัญหาของเศรษฐกิจโดยรวม ผนวกกับการเสื่อมค่าของสินทรัพย์ และมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลสเปนที่ยังไม่ได้ผล พร้อมประเมินว่า ธนาคารสเปนจะขาดทุนรวม 176 พันล้านยูโร หรือ 232 พันล้านดอลลาร์ โดยธนาคารจะสามารถจัดการกับการขาดทุนได้เพียงครึ่งหนึ่งหรือ 88 พันล้านยูโร โดยอาศัยการแทงหนี้สูญ และทุนสำรอง

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีนี้ สเปนหลุดจากภาวะถดถอย แต่เศรษฐกิจยังเติบโตน้อย ก่อนเริ่มนิ่งในไตรมาส 3 ขณะที่ประเทศเผชิญกับปัญหาขาดดุลงบประมาณมหาศาล และมาตรการรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 15

โพสต์

จับตาผลประชุม FOMC- EU ชี้จะมีผลต่อทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว

Posted on Tuesday, December 14, 2010
อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า การที่จีนตัดสินใจเพิ่มสัดส่วนสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement Ratio: RRR) แทนการขึ้นดอกเบี้ย ถือเป็นเพียงการซื้อเวลา เพราะสินเชื่อในจีนยังมีอัตราการเติบโตอย่างร้อนแรง ขณะที่ปริมาณเงินในประเทศก็ยังเพิ่มขึ้นสูงถึง 20% จึงเชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้ว น่าจะเห็นจีนตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

สำหรับประเด็นที่น่าจับตาในสัปดาห์นี้ คือ ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (14 ธ.ค. 53) โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า จะเห็นมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับ QE2 ซึ่งอุสรามองว่าเป็นไปได้ยาก โดยอย่างที่ดีที่สุด ก็จะเห็นเพียงการเปิดประเด็นไว้ว่าจะมีการอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต โดยที่ไม่ได้มีการประกาศมาตรการออกมาอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ตลาดยังติดตามข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมของมาตรการในการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรปด้วยเช่นกัน ทำให้ค่าเงินยูโรยังค่อนข้างเปราะบางในขณะนี้ และยังมีผลให้ทิศทางในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไม่หวือหวามากนัก โดยเฉพาะไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาดูแลค่าเงินบาทในระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นโอกาสของผู้กู้เงินในรูปสกุลเงินต่างประเทศ หรือนำเข้าวัตถุดิบ ในการซื้อดอลลาร์สหรัฐ เพราะเชื่อว่าค่าเงินบาทในช่วง 6 เดือนหลังจากนี้จะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้

อุสรากล่าวว่า สมาชิกในสหภาพยุโรปมีลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการส่งออกที่แตกต่างกัน การใช้ค่าเงินยูโรทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ อาจไม่เหมาะกับประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องความน่าเชื่อถือของค่าเงินยูโรได้ จึงควรจับตาข้อสรุปของมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ในอนาคต เพราะจะทำให้ความเชื่อมั่นที่มีต่อค่าเงินยูโรมีมากขึ้น แต่หากยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมได้ จะทำให้ความเชื่อมั่นอาจสั่นคลอนและไม่กลับมา ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารเงินทุนสำรองธนาคารกลางทั่วโลก และอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและค่าเงินหยวนแข็งค่าได้เร็วขึ้นได้ในอนาคต เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาค่าเงินสกุลใดสกุลหนึ่งมากเกินไป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

อีซีบีซื้อบอนด์เพิ่มทุบสถิติ หวังเรียกความเชื่อมั่น

ธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีเพิ่มการซื้อพันธบัตรรัฐบาลประเทศที่มีปัญหาการเงิน แต่นักวิเคราะห์มองว่าการลงทุนดังกล่าวยังต่ำเกินกว่าที่จะบรรเทาความวิตกว่าวิกฤตหนี้ในยุโรปอาจขยายวงกว้างมากขึ้น

เอพีรายงานว่า ณ สัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม อีซีบีทุ่มซื้อพันธบัตรไป 2.667 พันล้านยูโร (3.55 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดนับจากเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา แต่ยังห่างไกลจากสัปดาห์ละ 4 พัน- 1.6 หมื่นล้านยูโรที่ธนาคารแห่งนี้เคยซื้อในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน

ทั้งนี้อีซีบีเริ่มโครงการซื้อบอนด์ในช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมาหลังอนุมัติเงินช่วยเหลือให้กรีซ จนถึงขณะนี้ทุ่มเงินซื้อพันธบัตรไปแล้วราว 7.2 หมื่นล้านยูโร โดยเริ่มต้นที่ 1.6 หมื่นล้านยูโรในสัปดาห์แรก แต่นับจากกรกฎาคมที่ผ่านมา อีซีบีไม่ได้ซื้อเกิน 2 พันล้านยูโรต่อสัปดาห์อีกเลยจนกระทั่งอาทิตย์ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ หนี้สาธารณะจำนวนมหาศาลทำให้รัฐบาลกรีซและไอร์แลนด์ต้องเข้าโครงการรับความช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ ซึ่งถือเป็นบททดสอบความมุ่งมั่นของ 16 ชาติที่ใช้สกุลเงินยูโรว่าจะยังคงร่วมหัวจมท้ายกันต่อไปหรือไม่

ขณะที่เมื่อวาน (13 ธ.ค.) ริชาร์ด ซูลิก ประสภาสโลวาเกีย ได้ทำให้บรรยากาศเลวร้ายลงอีกด้วยการประกาศว่า ประเทศของตนอาจจำเป็นต้องกลับมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นหากปัญหาหนี้สาธารณะลุกลามไปมากกว่านี้ เขาระบุว่า "ถึงเวลาที่สโลวาเกียจะเลิกเชื่อคำพูดของผู้นำยูโรโซนและเตรียมแผนสำรองไว้ ซึ่งก็คือการกลับไปใช้สกุลเงินโครูนา"

สโลวาเกียซึ่งเป็นสมาชิกยูโรโซนที่เล็กที่สุดและเพิ่งเข้าร่วมใช้เงินสกุลดังกล่าวเมื่อมกราคม 2552 ได้ส่งสัญญาณมาก่อนหน้านี้แล้วว่าไม่สบายใจกับวิกฤตที่เกิดขึ้นด้วยการปฏิเสธที่จะร่วมลงขันเข้ากองทุน 1.1 แสนล้านยูโร (1.48 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อนำไปช่วยอุ้มกรีซ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=no
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เงินเฟ้ออังกฤษเดือนพ.ย.สูงขึ้นแตะ 3.3%

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือนพ.ย. ขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 3.3% จากระดับ 3.2% ในเดือนต.ค. เนื่องจากราคาอาหารและเสื้อผ้าที่สูงขึ้น ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเดือนที่เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 2%

ทั้งนี้ ราคาอาหารและเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ปรับตัวขึ้น 1.6% ในเดือนต.ค. เปรียบเทียบกับปีที่แล้วที่ราคาสูงขึ้น 0.6% ส่วนราคาเสื้อผ้าพุ่งขึ้นถึง 2%

ธนาคารกลางอังกฤษคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงต่อไปจนถึงปีหน้า เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป ต.ค.ขยายตัว 0.7%

ยูโรสแตทเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ขยายตัว 0.7% จากระดับเดือนก.ย. เนื่องจากยอดสั่งซื้อสินค้าทุน เช่น เครื่องจักรและเครื่องมือที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 1.3% ที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่ม 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสืบเนื่องมาจากการค้าทั่วโลกที่ดีดตัวขึ้น แต่การเปิดเผยตัวเลขล่าสุดนี้สะท้อนให้เห็นว่า การฟื้นตัวอาจไม่มั่นคง เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังสะดุดและปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 18

โพสต์

IMF แนะเบลเยียมเร่งคลอดแผนลดขาดดุล

Posted on Wednesday, December 15, 2010
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กระตุ้นให้เบลเยียมประกาศแผนการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณอย่างรวดเร็ว เพื่อคลาย ความวิตกในตลาดตราสารหนี้ ไม่ให้กระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเบลเยียมมีเป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 3 % ของจีดีพีภายในปี 2555 จากระดับ 4.8 % ในปีนี้

IMF คาดด้วยว่า เศรษฐกิจเบลเยียมอาจเติบโตได้แค่ 1.7% ปีหน้าหลังจากขยายตัวได้ราว 2% ในปีนี้ เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูง และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 19

โพสต์

มูดี้ส์ขู่ลดอันดับเครดิตสเปนลงอีก

Posted on Wednesday, December 15, 2010
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เตือนว่า มูดี้ส์อาจจะปรับลดอันดับเครดิตขั้น Aa1 ของสเปนลงอีกหลังจากได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลงมาแล้วจากระดับ Aaa เมื่อเดือนกันยายนเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลขขาดทุนในภาคธนาคาร และยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลก็ยังสูง

นักวิเคราะห์ของมูดีส์ “แคทริน มูห์บรอนเนอร์” ระบุในรายงานว่า สเปนจำเป็นต้องระดมทุนจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะระดมทุนสำหรับรัฐบาลกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรัฐบาลระดับภูมิภาค และภาคธนาคารด้วย แต่อันดับความน่าเชื่อถือของสเปนนั้นจะยังคงอยู่ในกรอบ "Aa" บนสมมติฐานที่ว่าสเปนยังไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจากภายนอก

สำหรับการแสดงความคิดเห็นของมูดีส์มีขึ้นก่อนที่รัฐบาลสเปนจะนำพันธบัตรล็อตสุดท้ายสำหรับปีนี้ออกจำหน่ายในวันพรุ่งนี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 20

โพสต์

วิตกปัญหาหนี้ยุโรป ถ่วงดาวโจนส์ปิดลบ

Posted on Thursday, December 16, 2010
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกปกคลุมด้วยความวิตกกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรปอีกครั้ง เมื่อมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เตือนว่า มูดี้ส์อาจปรับลดอันดับเครดิตขั้น Aa1 ของสเปน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการกู้ยืม ตัวเลขขาดทุนในภาคธนาคาร และยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล

แคทริน มูห์บรอนเนอร์ นักวิเคราะห์ของมูดีส์กล่าววันนี้ว่า สเปนจำเป็นต้องระดมทุนจำนวนมาก ไม่เพียงแต่เฉพาะระดมทุนสำหรับรัฐบาลกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรัฐบาลระดับภูมิภาค และภาคธนาคารด้วย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้สเปนประสบปัญหาความตึงเครียดในการระดมทุน ส่วนอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจะยังคงอยู่ในกรอบ "Aa" บนสมมติฐานที่ว่าสเปนยังไม่จำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจากภายนอก

นอกจากนี้ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ยังได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของเบลเยี่ยมลงสู่ระดับ เชิงลบ จากเดิม มีเสถียรภาพ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหายอดขาดดุลงบประมาณเช่นกัน

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรปส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับยูโร และฉุดราคาหุ้นบริษัทสหรัฐฯที่มีฐานธุรกิจในต่างประเทศร่วงลงด้วย

อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายโดยรวมในตลาดยังคงคึกคัก เนื่องจากนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ รวมถึงรายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ระบุว่า ดัชนีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย.พุ่งขึ้นแตะระดับ 10.57 จุด จากเดือนต.ค.ที่ระดับ -11.14 จุด ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนพ.ย. น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงานในเดือนพ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า วุฒิสภาสหรัฐมีมติผ่านร่างกฎหมายการขยายโครงการลดหย่อนภาษีมูลค่า 8.58 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคณะทำงานของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ยื่นร่างกฎหมายดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯแล้ว ซึ่งคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะผ่านมติในสภาดังกล่าวแม้จะมีเสียงคัดค้านจากสมาชิกพรรคเดโมแครตก็ตาม

หุ้นโคคาโคลาปิดบวก 1.3% หุ้นอัลโค อิงค์ ปิดร่วง 1.7% ส่วนหุ้นบอสตัน เบียร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์ Sam Adams ปิดทะยานขึ้น 12.1% หลังจากบริษัทประกาศเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการปี 2554

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า นักลงทุนหันมาเน้นความสนใจไปที่ตลาดพันธบัตร ที่หลายคนเป็นห่วงในเรื่องแนวโน้มการปรับขึ้นของต้นทุนการกู้ยืม แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะพยายามตรึงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำก็ตาม โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรุ่น 10 ปี ขยับขึ้นอีก 0.03% มาอยู่ที่ 3.5% แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องหลังจากที่พุ่งขึ้นกว่า 0.20% เมื่อวันก่อน

หุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์ถูกเทขายออกมาเมื่อคืนนี้ เมื่อบริษัทวิจัยอุตสาหกรรมชื่อดัง Gartner ประเมินว่า ยอดใช้จ่ายสำหรับสินค้าเซมิคอนดัคเตอร์จะร่วงลง 1% ในปีหน้า หลังจากที่ทำสถิติทะยานขึ้นได้กว่า 130% ในปีนี้ ด้วยตัวเลขการใช้จ่ายที่สูงถึง 3.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ยอดการจ้างงานยูโรโซน Q3/53 ทรงตัว

Posted on Thursday, December 16, 2010
สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) ระบุว่า การจ้างงานในยูโรโซน ยังทรงตัวในไตรมาส 3/53 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แม้ว่าจะเกิดวิกฤตหนี้สินในภูมิภาคก็ตาม โดยมีการจ้างงานรวมประมาณ 144.5 ล้านคน แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราจ้างงานปรับลดลง 0.2%

ทั้งนี้ อัตราจ้างงานใน 16 ประเทศ ที่ใช้สกุลเงินยูโรร่วงลงอย่างหนักในปี 2552 เนื่องจากวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งจนถึงในปีนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในช่วงไตรมาส 1/53 และ ไตรมาส 2/53 ที่ขยายตัวเพียงเล็กน้อยเพียง 0.1% เท่านั้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 22

โพสต์

EUROPE:อียูบรรลุข้อตกลงตั้งกลไกแก้วิกฤติหนี้ ขณะอีซีบีเพิ่มทุนเกือบ 2 เท่า
บรัสเซลส์--17 ธ.ค.--รอยเตอร์
ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งโครงข่ายความคุ้มครองทางการเงินถาวรเริ่มตั้งแต่ปี 2013 ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ดำเนินการเพิ่มเงินทุนเพื่อใช้แก้ปัญหาวิกฤติหนี้ของยูโรโซน อย่างไรก็ดี ผู้นำประเทศสมาชิกอียู 27 ประเทศกล่าวว่า กลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ที่จะได้รับการบรรจุไว้ในสนธิสัญญาปกครองอียูนี้ จะมีการนำมาใช้เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของยูโรโซนโดยรวมเท่านั้น โดยเยอรมนียืนยันให้มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้นำอียูยังระบุว่า อียูไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มวงเงินในกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนชั่วคราวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และพวกเขาไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ EFSF ด้วย ถึงแม้นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า กองทุนดังกล่าวมีวงเงินไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาในกรณีที่สเปนกับโปรตุเกสต้องการความช่วยเหลือจากมาตรการฟื้นฟูของอียู/กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) การที่ผู้นำอียูไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับการเพิ่มขนาด EFSF อาจทำให้ตลาดการเงินตีความว่า มีความคิดเห็นที่แตกแยกกันภายในอียู ซึ่งปัจจัยนี้อาจเพิ่มความไม่แน่นอนในตลาด นายกรัฐมนตรีฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ของลักเซมเบิร์กกล่าวว่า "มีการตัดสินใจว่า จะไม่มีการขยายวงเงินของ EFSF" อย่างไรก็ดี ผู้นำอียูกล่าวว่า พวกเขาพร้อมที่จะทำสิ่งใดก็ตามที่จำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องยูโร นายเฮอร์แมน แวน รอมปุย ประธานสภายุโรปกล่าวในวันแรกของการประชุมสุดยอดระยะ 2 วันว่า "บรรดาประมุขของรัฐและรัฐบาลของยูโรโซนพร้อมที่จะทำสิ่งใดก็ตามที่จำเป็นเพื่อรับประกันเสถียรภาพของยูโรโซนโดยรวม" ขณะเดียวกัน อีซีบีแถลงว่า อีซีบีจะเพิ่มขนาดเงินทุนขึ้นเกือบ 2 เท่าสู่ระดับ 1.076 หมื่นล้านยูโรเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นและความผันผวนในตลาด โดยประเทศสมาชิกยูโรโซนจะเป็นผู้จัดหาเงินทุนดังกล่าว นายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานอีซีบีกล่าวว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีมองว่าเป็นสิ่งเหมาะสมที่จะ "เพิ่มการกันสำรอง" ซึ่งถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่า ในอนาคตอีซีบีอาจจะเผชิญกับผลกระทบที่เกิดจากพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนที่ถือครองอยู่ นายโดมินิค สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าวว่า เขามีความกังวลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเชื่องช้า และภัยคุกคามจากการลุกลามของวิกฤติในยุโรป นายสเตราส์-คาห์นกล่าวว่า "ผมมีความกังวล และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ผมสนับสนุนให้ยุโรปออกมาตรการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ เพราะวิธีการแก้ไขปัญหาแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยในช่วงนี้ตลาดกำลังรอดูว่าจะเกิดปัญหาอะไรต่อไป" นายสเตราส์-คาห์นกล่าวว่า เขากังวลกับระยะเวลาที่ยุโรปใช้ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ แต่เขาคาดการณ์ในทางบวกว่า สเปนจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยไม่ต้องอาศัยมาตรการฟื้นฟู และเขามองว่าสกุลเงินยูโรไม่ได้เผชิญกับภัยคุกคาม การประชุมสุดยอดของผู้นำอียูในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 7 ของปี โดยบรรดาผู้นำได้อนุมัติการแก้ไขเนื้อหา 2 ประโยคในสนธิสัญญาอียู เพื่ออนุญาตให้มีการจัดตั้งESM เพื่อแก้ไขวิกฤติการเงินนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2013 โดย ESM จะเข้ามาทำหน้าที่แทน EFSF ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนพ.ค.ปีนี้ ESM จะมีอำนาจในการปล่อยสินเชื่อด้วยเงื่อนไขที่เข้มงวดแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหา โดยผู้ถือครองตราสารหนี้ภาคเอกชนจะร่วมแบกรับต้นทุนจากการปรับลดมูลค่าใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในอนาคต อียูตั้งเป้าหมายว่า ประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศจะให้สัตยาบันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ก่อนสิ้นปี 2012 โดยที่แต่ละประเทศไม่จำเป็นต้องจัดการลงประชามติในเรื่องนี้ ดังนั้นความเสี่ยงในประเด็นนี้จึงลดลง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อทุกประเทศลงมติในการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ดังนั้นจึงเท่ากับว่าเยอรมนียังคงมีสิทธิวีโต้การเปลี่ยนแปลงนี้ การที่อีซีบีตัดสินใจเพิ่มฐานเงินทุนในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการจัดตั้งอีซีบีเมื่อ 12 ปีก่อน และสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความร้ายแรงของสถานการณ์ในปัจจุบัน อีซีบีซื้อพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนไปแล้วราว 7.2 หมื่นล้านยูโรนับตั้งแต่เดือนพ.ค. แต่ไม่ยอมทำตามแรงกดดันจากนักการเมืองที่ต้องการให้อีซีบีซื้อสินทรัพย์มากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลที่มีหนี้สินสูง มูดี้ส์ประกาศว่าจะทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ โดยอาจปรับลดอันดับลง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนในเรื่องความสามารถของกรีซในการปรับลดหนี้ ด้านนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนี กดดันให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาอียูเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนี นอกจากนี้นางเมอร์เคลยังประสบความสำเร็จในการตัดประเด็นเรื่องการเพิ่มวงเงิน EFSFและการออกพันธบัตรยูโรโซน ออกจากวาระการประชุมสุดยอดด้วย
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง) (([email protected]; โทร 0-2648-9741;Reuters Messaging: [email protected]))
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 23

โพสต์

สเปนเดินหน้าขายพันธบัตรระดมทุน

รัฐบาลสเปนได้นำพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 15 ปี ซึ่งเป็นพันธบัตรล็อตสุดท้ายสำหรับปีนี้ออกมาจำหน่ายในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนให้ได้ถึง 3 พันล้านยูโร (4 พันล้านดอลลาร์)

แม้มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสเปนก็ตาม
ซึ่งความพยายามของรัฐบาลสเปนในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่า สเปนสามารถระดมทุนได้เพียงพอต่อการปรับโครงสร้างหนี้ในปี 2554

มูดีส์เตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ Aa1 ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน

เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการพิ่มขึ้นของต้นทุนการกู้ยืม ตัวเลขขาดทุนในภาคธนาคาร และยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล

แคทริน มูห์บรอนเนอร์ นักวิเคราะห์ของมูดีส์กล่าวว่า "สเปนจำเป็นต้องระดมทุนจำนวนมาก ไม่เพียงแต่เฉพาะระดมทุนสำหรับรัฐบาลกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรัฐบาลระดับภูมิภาค และภาคธนาคารด้วย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้สเปนประสบปัญหาความตึงเครียดในการระดมทุน"

การประมูลขายพันธบัตรของรัฐบาลสเปนมีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่กลุ่มผู้นำยุโรปเดินทางมาร่วมประชุมที่เมืองบรัสเซลล์ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการสร้างกลไกลถาวรเพื่อสนับนุนประเทศที่ประสบับปัญหาด้านการเงิน

S&P ชี้เศรษฐกิจเยอรมนีฟื้นตัวปีหน้า

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ชี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจะขยายวงกว้างมากขึ้นในปีหน้า จากอานิสงส์ของความต้องการผู้บริโภค และการลงทุนภาคธุรกิจที่ขยายตัวดีขึ้น

S&P ระบุว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2% ในปี 2554 เมื่อเทียบกับระดับที่ขยายตัว 0.5% ในปี 2553 ขณะที่อัตราการขยายตัวด้านการลงทุนในภาคธุรกิจจะถีบตัวขึ้นแตะ 10.5% ในปีหน้า จากระดับ 10% ในปีนี้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เศรษฐกิจเยอรมนีได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวในยุโรป โดยหลายบริษัทเพิ่มการจ้างงานและเพิ่มอัตราการผลิตเพื่อรองรับอุปสงค์ด้านการส่งออก ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายผู้บริโภค

ขณะที่ความต้องการภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นจะหนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องบนปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง แม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอ่อนแรงลงจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลกที่เริ่มหมดอายุได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งคาดว่า ยอดส่งออกสุทธิแทบจะไม่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอีก 2 ปีข้างหน้า และการเพิ่มการพึ่งพาอุปสงค์จากต่างประเทศอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ เนื่องจากบรรยากาศทางการค้าทั่วโลกซบเซา

ทั้งนี้ S&P ระบุว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะชะลอตัวลงจากระดับ 3.5% ในปี 2553 ไปอยู่ที่ระดับ 2.4% ในปี 2554 และ 2.1% ในปี 2555

ติดตาม Money Wake up ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ออกอากาศซ้ำเวลา 11.00 น. ทาง Money Channel

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 24

โพสต์

"มูดี้ส์" หั่นเครดิตไอร์แลนด์ 5 ขั้นเหลือ Baa1

Posted on Friday, December 17, 2010
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ และสกุลเงินภายในประเทศของรัฐบาลไอร์แลนด์ลง 5 ขั้น จาก Aa2 สู่ Baa1 โดยแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในเชิงลบ

การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไอร์แลนด์ลง มีสาเหตุสำคัญจากพบความชัดเจนของภาระหนี้ที่เกี่ยวข้องกับภาคธนาคาร ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของไอร์แลนด์ และการอ่อนแอลงของความแข็งแกร่งทางการเงินของรัฐบาลไอร์แลนด์

มูดี้ส์ เตือนด้วยว่า อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือต่อไป หากไอร์แลนด์ ยังคงไม่สามารถสร้างเสถียรภาพต่อภาระหนี้ในอนาคตอันใกล้
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 25

โพสต์

เยอรมนีหนุนร่างข้อเสนอให้จำกัดการขยายตัวงบประมาณชาติอียูของอังกฤษ

นางแองเจลา เมอร์เคิล ผู้นำหญิงเยอรมนี กล่าวในที่ประชุมอียูซัมมิทเมื่อวานนี้ ( 17ธ.ค.) ว่า เยอรมนีจะสนับสนุนร่างข้อเสนอของอังกฤษที่จะจำกัดการขยายตัวของงบประมาณสหภาพยุโรปหรืออียู ระหว่างปี 2556-2563 ซึ่งท่าทีดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีเยอรมันมีขึ้นหลังจากที่นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ กล่าวก่อนหน้านี้ว่า อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส จะร่วมกันเสนองบประมาณประจำปีของอียูให้เพิ่มขึ้นแต่จะไม่มากกว่าอัตราเงิน เฟ้อ ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นการควบคุมงบประมาณไม่ได้เป็นการเพิ่มแบบไร้ขีดจำกัด พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวย้ำว่า รัฐบาลจะควบคุมการจ่ายโบนัสของธนาคารให้มีความเหมาะสม เพื่อเป็นการพยุงฐานะภาคการเงินซึ่งต่างได้รับความช่วยเหลือจากเงินภาษี ประชาชนในยามที่เศรษฐกิจมีความยากลำบาก อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ยังคงมีผู้ไม่เห็นด้วยกัยแนวคิดนี้ เพราะโดยหลักแล้ว การเพิ่มงบประมาณไม่ควรแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อ
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 26

โพสต์

อังกฤษเล็งขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ

Posted on Monday, December 20, 2010
สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ (CBI) คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะเริ่มประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 6 เดือนนี้ เนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษกังวลว่า อัตราเงินเฟ้อจะไม่ลดลงรวดเร็ว ตามที่ธนาคารกลางคาดหวังไว้

ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นดัชนีวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ จะพุ่งสูงเกินกว่าเป้าหมาย 2% ที่ธนาคารกลางอังกฤษกำหนดไว้ในปีหน้า และคาดว่าดัชนีจะปรับตัวลงต่ำกว่าเป้าหมายดังกล่าวเพียงเล็กน้อยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555

นอกจากนี้ CBI ยังคาดว่า เศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาส 4 ปีนี้จะขยายตัวอยู่ที่ 0.6% ก่อนที่จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 0.2% ในไตรมาสแรกของปี 2554
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 27

โพสต์

IMF อนุมัติเงินกู้ 3 หมื่นล้านเหรียญให้ไอร์แลนด์ – มูดี้ส์หั่นเครดิตทันที

คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีมติอนุมัติเงินกู้ 2.25 หมื่นล้านยูโร (3.01 หมื่นล้านดอลลาร์) ให้กับไอร์แลนด์ โดยเงินกู้ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการให้ความช่วยเหลือรวมมูลค่า 8.5 หมื่นล้านยูโรซึ่งจัดหาโดย IMF และสหภาพยุโรป (EU)

นายโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการ IMF กล่าวว่า "เศรษฐกิจไอร์แลนด์เผชิญวิกฤตการณ์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของประเทศ ซึ่งรากของปัญหาทั้งหมดเกิดจากความอ่อนแอในภาคธนาคารของไอร์แลนด์"

การอนุมัติเงินกู้ช่วยเหลือไอร์แลนด์มีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลลงสู่ระดับ Baa1 จาก Aa2 โดยแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นเชิงลบ หลังจากวิกฤตหนี้สาธารณะได้บีบให้รัฐบาลไอร์แลนด์ต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศลดอันดับเครดิตไอร์แลนด์ลง 3 ขั้น สู่ระดับ BBB+ จากระดับ A+

ผู้นำสหภาพยุโรป (EU) บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งเป็นกลไกถาวรเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะในอนาคต

นายเฮอร์แมน แวน รอมปุย ประธานสภายุโรปกล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมว่า "ผู้นำอียูบรรข้อตกลงการจัดตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพ แต่จะนำกลไกดังกล่าวมาใช้เพื่อเห็นว่ามีความจำเป็นในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือ ยูโรโซน เท่านั้น และการอนุมัตความช่วยเหลือทางการเงินนั้นจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขอย่างเข้มงวด

นายแวน รอมปุย กล่าวว่า ร่างข้อตกลงฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือนมี.ค.ปีหน้า หลังจากได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐสภายุโรป (EP) คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) และธนาคารกลางยุโรป (ECB)

ทั้งนี้ ผู้นำ EU จะจัดตั้ง ESM แทนกองทุนเดิมคือกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนกู้ยืมฉุกเฉินมูลค่า7.50 แสนล้านยูโร (1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งจัดตั้งโดย EU และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยกองทุน ESM มีสิทธิอำนาจในการอนุมัติเงินกู้ให้กับสมาชิกยูโรโซน ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวดกว่าเดิม
ติดตาม Money Wake up ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ออกอากาศซ้ำเวลา 11.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 28

โพสต์

วิตกหนี้สเปนกดดันนักลงทุนต่างชาติเร่งขายทำกำไรยัน Q1/54

Posted on Tuesday, December 21, 2010
อุสรา พิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย กล่าวในรายการ Get SET ว่า ปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรปได้กลายมาเป็นประเด็นที่บั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงได้รับอิทธิพลจากปัจจัยนี้ โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะของสเปน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของยุโรป โดยหากพิจารณาจากเงินกองทุนที่เตรียมไว้ช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาจะพบว่า ไม่เพียงพอที่จะเข้าดูแลสเปนหากเกิดวิกฤติขึ้นมาจริง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงมาหลายสัปดาห์แล้ว

อุสรามองว่า ความกังวลต่อปัญหาหนี้สเปนนี้จะต่อเนื่องข้ามปีไปจนถึงไตรมาส 1/54 ซึ่งจะเป็นเหตุให้นักลงทุนต่างชาติขายทำกำไรในตลาดหุ้นเอเชีย หลังได้กำไรสะสมต่อเนื่องมาถึง 2 ไตรมาส จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างของดัชนีและอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนีหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียในระยะนี้ จึงอยู่ในแดนลบมากกว่าแดนบวก และจะเห็นทิศทางค่าเงินในเอเชียเริ่มอ่อนค่าและการอ่อนค่านี้น่าจะเร่งตัวขึ้นในไตรมาส 1/54 ซึ่งนักลงทุนต่างชาติน่าจะขายทำกำไรออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนควรต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการเข้าลงทุนในช่วงปีใหม่นี้

อุสรายังมองว่า อาจต้องรอไปจนถึงไตรมาส 2/54 หรือช่วงครึ่งหลังของปีหน้าจึงจะค่อยมีเงินเข้ามาในตลาดหุ้นเอเชีย เพราะข่าวร้ายยังคงมีมากกว่าข่าวดี โดยนอกจาปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปดังกล่าวแล้ว ยังเชื่อกันว่า จีนจะใช้นโยบายที่เข้มงวดขึ้นในปีหน้า เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียหลายประเทศอาจใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินตรา (Capital Control)

อุสรายังเตือนด้วยว่า ยิ่งเงินดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้น โอกาสที่ราคาทองคำจะลดลงก็มีมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากทองคำเป็นสินค้าที่นิยมใช้ทดแทนการลงทุนค่าเงินในช่วงที่ผ่านมา โดยในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าเราอาจเห็นราคาทองคำปรับลดลงได้ด้วยเช่นกัน

ติดตาม Get SET ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 น.

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ฟิทช์เตือนลดเครดิตกรีซสู่สถานะ ”ขยะ”

Posted on Wednesday, December 22, 2010
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ พร้อมกับเตือนว่าอาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรของกรีซลงสู่สถานะ "ขยะ" หรือ "สถานะที่ไม่น่าลงทุน" จากระดับปัจจุบันที่ BBB- ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของ "สถานะที่น่าลงทุน"

ในการพิจารณาทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซนั้น ฟิทช์จะเน้นไปที่การประเมินมาตรการลดยอดขาดดุลงบประมาณ แนวโน้มเศรษฐกิจ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และประสิทธิภาพของรัฐบาลในการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: ติดตามวิกฤติยุโรป

โพสต์ที่ 30

โพสต์

OECD แนะสเปนเพิ่มความพยายามกู้วิกฤตการคลัง

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่า รัฐบาลสเปนต้องใช้ความพยายามมากขึ้นแก้ไขปัญหาด้านการคลังและจำเป็นต้องสร้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เวลาที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าในขณะนี้

รายงานล่าสุดของ OECD ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นเหตุผลสำคัญที่ฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของสเปนหดตัวลง โดยเฉพาะสถานะด้านการคลังและการจ้างงานของสเปนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจสเปนจึงมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

"OECD คาดว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสเปนจะอยู่ที่ 9.2% ของตัวเลขจีดีพีในปีนี้ ส่วนในปี 2554 คาดว่ายอดขาดดุลจะอยู่ที่ 6.3% และ 4.4% ในปี 2555

นอกจากนี้ OECD คาดว่าการทำให้อัตราว่างงานของสเปนอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพนั้นจะต้องใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราว่างงานในปี 2554 จะอยู่ที่ 19.1% ลดลงจากระดับ 20% ในปีนี้ และคาดว่าอัตราว่างงานในปี 2555 จะอยู่ที่ 17.4%"

OECD คาดว่า เศรษฐกิจสเปนจะขยายตัวขึ้น 0.9% ในปี 2554 หลังจากหดตัวลง 0.2% ในปีนี้ และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2555 จะขยยตัว 1.8%

การแสดงความคิดเห็นของ OECD มีขึ้นหลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตือนว่า มูดีส์อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์สเปนที่มีแนวโน้มว่าจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อพยุงกิจการให้รอดพ้นจากวิกฤตหนี้สาธารณะที่ลุกลามในยุโรป

มูดีส์มีมุมมองที่เป็นลบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคธนาคารสเปน โดยคาดว่า ฐานเงินทุนและความสามารถในการระดมทุนในตลาดการเงินของธนาคารสเปนจะยังคงอ่อนแอ เพราะถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาภายในประเทศ คุณภาพสินทรัพย์ที่ตกต่ำลง และจากแผนการลดงบประมาณด้านการคลังของรัฐบาล

นอกจากนี้ มูดีส์กล่าวว่า แม้ว่าธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของสเปนยังคงสามารถทำกำไรได้ แต่ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า "cajas" ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้ธนาคารเหล่านี้มีหนี้เสียหลายพันล้านยูโร
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
โพสต์โพสต์