ธาตุหายากคืออะไร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สหรัฐ-อียูห่วงภาวะขาดแคลนธาตุหายากจากจีน

สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเตือนว่า ภาวะขาดแคลนแร่ธาตุหายากจากจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากแร่ธาตุหายากจากจีนคิดเป็นสัดส่วนถึง 90% แม้ว่าจีนยังคงยืนยันว่า จีนไม่ได้ลดการส่งออกแร่ธาตุหายากลงเป็นจำนวนมาก

แร่ธาตุหายากถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าไฮเทค รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ เช่น แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ รถพลังงานไฟฟ้า และแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบา นอกจากนี้ แร่ธาตุบางประเภทยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาวุธของสหรัฐด้วย

ทั้งนี้ บริษัทของเยอรมนีกำลังประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้นในการจัดหาแร่ธาตุหายากมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุหายากเหล่านี้เกือบจะทั้งหมด โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนีระบุว่า เยอรมนีกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

ทางด้านกระทรวงพลังงานของสหรัฐก็ระบุว่า บริษัทต่างๆ กำลังเป็นห่วงเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนแร่ธาตุหายาก โดยสหรัฐจะพยายามเพิ่มการผลิตแร่ธาตุหายาก แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในเร็วๆนี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx

แล้วธาตุหายากมันคืออะไรบ้างครับนี่ ใครรู้บอกให้ประเทืองปัญญาบ้าง
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

สหรัฐ-ญี่ปุ่นเห็นพ้องกระจายการใช้งานธาตุหายากจากหลายประเทศ

เซอิจิ มาเอฮาระ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น และนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐได้ให้ความเห็นชอบเรื่องการกระจายการลงทุนและการใช้แร่ธาตุหายากจากซัพพลายเออร์หลายแหล่ง
หลังจากที่จีนได้ควบคุมการส่งออกแร่ธาตุหายากมายังญี่ปุ่น ขณะที่ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีนั้นอยู่ในภาวะที่ตึงเครียด

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รมว.ต่างประเทศทั้ง 2 ประเทศได้หารือในประเด็นต่างๆ รวมทั้งเรื่องแร่หายากในช่วงการเจรจาที่ฮอนโนลูลู

การหารือดังกล่าวนั้นก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเจรจาระหว่างนายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานาธิบดีบารัค โอบามา นอกรอบการประชุมเอเปคที่จะจัดขึ้นที่เมืองโยโกฮาม่า วันที่ 13-14 พ.ย.นี้

จีนซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกโลหะที่ใช้ในการผลิตสินค้าไฮเทคนั้น ได้ออกมาปฏิเสธเรื่องการควบคุมการส่งออกโลหะดังกล่าว

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า จู หงเหริน โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรมและไอทีของจีน เปิดเผยว่า จีนจะไม่นำเรื่องการส่งออกแร่ธาตุหายากมาเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองกับต่างประเทศ และจะยืนหยัดเพื่อร่วมมือกับนานาประเทศในการนำแร่ธาตุหายากมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
classy
Verified User
โพสต์: 251
ผู้ติดตาม: 0

ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

http://en.wikipedia.org/wiki/Rare_earth_element

น่าจะเป็นดินที่มีแร่ทองแดงผสมอยู่มั้งครับ
Life is a lot like Jazz, it's best when you improvise
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

เจอแล้ว

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เจาะลึกบทบาท "แร่หายาก"

"แร่หายาก" กลายเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่โลกกำลังจับตามอง แต่สำหรับหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมจะต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และแร่หายากมีความสำคัญอย่างไรต่อชีวิตสมัยใหม่ของคนในยุคปัจจุบัน วันนี้จะมาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน

ฟอร์จูน ระบุว่า แร่หายากไม่ใช่ของขาดแคลนหายากแต่อย่างใด แต่เป็นโลหะ 17 ชนิดที่มีอยู่ค่อนข้างมากมายในโลก การค้นหาแร่เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำเหมืองแร่เหล่านี้กลับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

อุตสาหกรรมแรกที่ต้องอาศัยแร่หายากก็คือ "อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน" เพราะกังหันลม" (windmill) ต้องการแร่หายากอย่าง "นีโอดิเมียม" (neodymium)

หากมองในสหรัฐพบว่า เหมืองเมาน์เทน พาส ในแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลหะชนิดนี้ แต่เหมืองได้ปิดตัวลงเมื่อปี 2545 หลังจากเกิดปัญหาการรั่วไหลของของเสียที่มีกัมมันตรังสีหลายระลอก และต้นทุนของความพยายามทำความสะอาดทำให้เหมืองไม่สามารถแข่งขันกับต้นทุนที่ถูกกว่าในจีนได้

ทำให้ปัจจุบัน จีนผลิตแร่หายากเกือบทั้งหมดที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแดนมังกรได้คุมเข้มเรื่องการส่งออกมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มชะลอการส่งออกในปี 2552 เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศตัวเองจะมีแร่หายากเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ

ขณะที่ผลสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐระบุว่า สหรัฐนำเข้าแร่หายากมูลค่าเพียง 84 ล้านดอลลาร์ในปี 2552 แม้ว่าอุตสาหกรรมบางส่วนต้องพึ่งพาแร่เหล่านี้ก็ตาม

ทั้งนี้ การขาดแคลนแร่หายากจะทำให้อุตสาหกรรมบางส่วนจะต้องเร่งหาสิ่งทดแทน เพราะกังหันลม 1 อันที่ต้องใช้แร่นีโอดิเมียมหลายร้อยปอนด์ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จะได้รับผลกระทบเช่นกันหากโลหะหายากกลายเป็นของหายากจริงๆ

อาทิ อุตสาหกรรม "รถยนต์ไฮบริดและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า" เพราะแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ต้องอาศัยแร่ "ซีเรียม" (cerium) และ "แลนธานัม" (lanthanum) เมื่อยุคปฏิวัติสีเขียวต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ ก็หมายถึงว่าแร่หายากจะกลายเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิวัติครั้งนี้ เนื่องจากแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้องใช้แร่หายากอย่างนีโอดิเมียม และดิสโพรเซียม (dysprosium) โดยแร่ทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกใช้ในระบบเบรกและมอเตอร์ของพาหนะสีเขียวด้วย

นอกจากใช้สำหรับการสร้างรถยนต์แนวกรีนในอนาคตแล้ว ยังต้องใช้แร่หายากในการผลิตรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในทุกวันนี้อยู่แล้ว เช่น รถไฮบริด โดยตัวแปลงตัวเร่งปฏิกิริยา (catalytic converter) ในรถยนต์จะมีตัวหุ้มซึ่งมีส่วนผสมของแร่หายากอย่างซีเรียมและแลนธานัม ซึ่งช่วยขับเคลื่อนปฏิกิริยาเคมีที่เปลี่ยนมลพิษรถยนต์เป็นสารประกอบที่ไม่มีพิษ

อุตสาหกรรมต่อมาคือ "อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์" ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ จอแท็บเล็ตและโทรศัพท์ หูฟัง ตลอดจนเครื่องเล่นเอ็มพี 3 โดยแร่หายากที่ต้องใช้คือ"ยูโรเพียม" (europium) และ "เทอร์เบียม" (terbium) แร่เหล่านี้เป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่แกร่งที่สุด และแม่เหล็กสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น รถยนต์และกังหันลม ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กต่างๆ ขณะที่สมาร์ทโฟน เครื่องเล่นเอ็มพี 3 และลำโพง ต่างใช้แม่เหล็กขนาดจิ๋วที่ผลิตจากนีโอดิเมียม และซามาเรียม (samarium) ทั้งสิ้น

โทรทัศน์ในช่วงแรกๆ จะต้องใช้สารประกอบที่มียูโรเพียม เพราะโลหะดังกล่าวที่เรียกว่าฟอสโฟร์แดง จะเปล่งรัศมีสีแดงขึ้นมาเมื่อกระทบกับลำแสงอิเล็กตรอน นอกจากนี้ยังมีการใช้ยูโรเพียมเพื่อผลิตฟอสโฟร์ฟ้าที่ปัจจุบันใช้ในจอทีวีพสาสม่า ส่วนแร่หายากอีกชนิดอย่างเทอร์เบียม ก็ถูกนำไปใช้ผลิตฟอสโฟร์เขียว และทั้งสามสีถูกใช้ในจอแอลอีดี

"อุปกรณ์ทางการแพทย์" เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแร่หายาก โดยเครื่องเอ็มอาร์ไอ ต้องใช้แร่นีโอดิเมียมเป็นส่วนประกอบ โดยทั่วไปเอ็มอาร์ไอแต่ละเครื่องต้องการแม่เหล็กมากกว่า 1,500 ปอนด์ และมีการใช้แม่เหล็กจากแร่หายากแทนเทคโนโลยีแม่เหล็กในเครื่องเอ็มอาร์ไอ เพราะแม่เหล็กแบบนี้มีน้ำหนักเบากว่าและมีพลังมากกว่า

ขณะเดียวกัน "อุตสาหกรรมอาวุธ" ก็ต้องใช้แร่หายากเช่นกัน อาทิเช่น ใช้แร่ซามาเรียมในสมาร์ทบอมบ์ ซึ่งฟอร์จูนระบุว่า แร่หายากถูกใช้สำหรับอาวุธทุกชนิด รวมทั้งสมาร์ทบอมบ์

รายงานผลสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐปี 2547 ระบุว่า ทางทหารมีการใช้แร่หายาก เพื่อเป็นแม่เหล็กให้พลังงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนใช้ฟอสโฟร์แร่หายากเพื่อทำจอแสดงผล ส่วนพลาสติกและแก้วที่มีส่วนผสมของแร่หายากเพื่อทำเลเซอร์ใช้ในการระบุเป้าหมาย

ส่วนอุตสาหกรรมสุดท้ายที่ต้องอาศัยแร่หายากคือ "อุตสาหกรรมน้ำมัน" ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันต้องใช้แร่ซีเรียม และแลนธานัม โดยต้องอาศัยผงที่ผลิตจากแร่ทั้งสองชนิดนี้เพื่อเร่งกระบวนการกลั่นปิโตรเลียม โลหะนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของตัวเร่งปฏิกิริยาแยกของเหลว ที่ทำให้โมเลกุลของน้ำมันดิบแตกตัวเป็นหน่วยเล็กลง ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใสขึ้น เช่น น้ำมัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=no
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ข่าว

โพสต์ที่ 5

โพสต์

นายกฯจีนยืนยันส่งออกแร่ธาตุหายากให้ประเทศต่างๆ

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า ของจีน ยืนยันว่า จีนจะยังคงส่งออกแร่ธาตุหายากไปทั่วโลก ซึ่งถ้อยแถลงของนายกฯจีนมีขึ้นในระหว่างที่หลายประเทศเริ่มวิตกว่าจีนจะหยุดส่งออกธาตุหายาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับผลิตสินค้าไฮเทคทั้งหลาย

นายเหวินได้กล่าวยืนยันถึงเรื่องดังกล่าวกับนายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น และประธานาธิบดีลี เมียง บัค ของเกาหลีใต้ ในระหว่างการประชุมไตรภาคี นอกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

นายเหวินกล่าวกับนายคังและนายลีว่า จีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุหายากรายใหญ่สุดของโลก จะยังคงส่งออกแร่ธาตุหายากให้กับประเทศต่างๆ ต่อไป แต่จะดำเนินมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในแนวทางที่จะไม่เป็นการละเมิดกฎขององค์การการค้าโลก (WTO)

ทั้งนี้ แร่ธาตุหายากกำลังกลายเป็นประเด็นที่ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก หลังจากที่ญี่ปุ่นออกมาโอดครวญว่าจีนควบคุมการส่งออกแร่ธาตุหายากให้กับญี่ปุ่น สืบเนื่องจากการที่สองประเทศมีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับหมู่เกาะเซนกากุ ในทะเลจีนตะวันออก

อย่างไรก็ดี จีนก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ได้สั่งห้ามส่งออก แต่จะใช้มาตรการที่เข้มงวดกับการใช้ประโยชน์ การผลิต และการส่งออกแร่ธาตุหายาก เพื่อปกป้องทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปและเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเตือนว่า ภาวะขาดแคลนแร่ธาตุหายากจากจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากแร่ธาตุหายากจากจีนคิดเป็นสัดส่วนถึง 90%

แร่ธาตุหายากถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าไฮเทค รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ เช่น แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ รถพลังงานไฟฟ้า และแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบา นอกจากนี้ แร่ธาตุบางประเภทยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาวุธของสหรัฐด้วย

กระทรวงพลังงานของสหรัฐระบุว่า หลายบริษัทในประเทศกำลังเป็นห่วงเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนแร่ธาตุหายาก ขณะที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนีระบุว่า บริษัทของเยอรมนีกำลังประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้นในการจัดหาแร่ธาตุหายากมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
atitus.b
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
Chaoyang
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 1

Re: ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อีกเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลเข้าควบคุม คือ ต้องการดึงดูดอุตสาหกรรมไฮเทค ให้ย้ายฐานผลิตมาที่จีน
ภาพประจำตัวสมาชิก
NuRun
Verified User
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 0

Re: ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Rare Earth ขุมทองของเฮดจ์ฟันในอนาคต
บทความโดยพี่ MudleyGroup ครับ

http://www.templeboxing.com/index.php?topic=2617.0
'Life is like a snowball. The important is finding wet snow and a really long hill.'
- The Snowball ~ Warren Buffett and the business of life
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

Re: ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

พบขุมธาตุหายากมหึมาในเจ้อเจียง มูลค่ากว่า 70,000 ล้านหยวน


สื่อจีนเจ้อเจียงรื่อเป้ารายงานเมื่อวันอังคาร(29 มี.ค.) ว่าสำนักงานสำรวจธรณีวิทยามณฑลเจ้อเจียงแห่งภาคตะวันออกของจีน ได้ค้นพบแหล่งแร่สแกนเดียม ซึ่งเป็นธาตุหายากชนิดหนึ่ง จากการประเมินเบื้องต้นอาจมีธาตุหายากสแกนเดียม มากกว่า 70 ตัน มูลค่า ประมาณ 70,000 ล้านหยวน

ทั้งนี้ ธาตุหายาก (rare earths) ประกอบด้วยธาตุเคมี 17 ชนิด โดยมีสแกนเดียมเป็นธาตุเคมีตัวหนึ่ง สแกนเดียมเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตภาคต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมการป้องกันการทหาร อวกาศ พลังงานนิวเคลียร์ วัสดุตัวนำยิ่งยวด (superconductor) และอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ และยังเป็นแหล่งแร่ธาตุหายากเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ

หัวหน้าทีมสำรวจทางธรณีวิทยา นาย หยัง เสี่ยวชุน สแกนเดียมมีราคาสูงมาก โดยปกติจะแพงกว่าทองคำถึง 4 เท่า และเคยทำสถิติราคาสูงกว่าทองคำถึง 10 เท่า

ผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยาในประเทศหลายคนเชื่อว่า โครงสร้างธรณีของมณฑลเจ้อเจียงที่เป็นหินภูเขาไฟ ผิวหน้าดินของหินภูเขาไฟจะกลายเป็นแร่อโลหะ และการเปลี่ยนแปลงของเขตที่อุดมด้วยหินภูเขาไฟยังเป็นเงื่อนไขที่ดียิ่งในการเกิดแร่โลหะ
Green
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2896
ผู้ติดตาม: 236

Re: ธาตุหายากคืออะไร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ไอเดีย ดีครับ ควบคุมการส่งออกวัตถุดิบ แต่ไม่ควบคุมการส่งออก Finish Goods
เป็นการพัฒนา เพื่อ การเติบโต อย่างยั่งยืนจริงๆ ฮ่าๆๆ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.

Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
โพสต์โพสต์