มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 00574.html

(ดูในพันทิป ตามลิ้งที่ให้มา จะดูง่ายกว่านะครับ มีรูปภาพประกอบชัดเจน เข้าใจง่าย)

เครดิตคุณ Crazy Rabbit แห่ง Pantip นะครับ
มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)  


ผมลองกลับไปนั่งเปิด Text Book เกี่ยวกับ Macroeconomics และ Monetary Policy ที่ใช้ในหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ปรากฏว่าไม่มีคำ Quantitative Easing อยู่เลย แสดงว่าผมเข้าใจถูกแล้วว่า อาจารย์ผมไม่ได้สอนเรื่องนี้ในห้องเรียนแน่ๆ  

Quantitative Easing หรือ QE เป็นคำที่ปรากฏในสื่อบ่อยมากในช่วงหลังๆ ในสมัยก่อน ถ้าเราอยู่ใน Liquidity Trap นโยบายการเงินที่เน้นเรื่องอัตราดอกเบี้ยไม่มีผลแล้วเพราะดอกเบี้ยติดดิน จะทำให้เป็นลบก็ไม่ได้ ธนาคารกลางซึ่งดูแลการเงินก็ดูเหมือนจะหมดมุข ต้องปล่อยให้นโยบายการคลังของรัฐบาลเป็นพระเอก  แต่ในยุคที่นโยบายการคลังก็ไปต่อไม่ได้แล้วเนื่องจาก หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงมาก คำตอบจึงออกมาที่ QE  

QE คืออะไร ตอบแบบสั้นๆ คือการที่ธนาคารกลางเพิ่มเงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบโดยตรง ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ คือตราสารทางการเงินต่างๆในตลาดอย่างจริงจัง มีผลทำให้งบดุล (Balance Sheet) ของธนาคารกลางบวมเป่ง ทั้งทางฝั่ง Asset (ตราสารที่ซื้อเข้ามา) และฝั่ง Liability (เงินที่จ่ายออกไป) ปกตินโยบายการเงินแบบเดิมๆไม่ได้ทำให้เกิดผลแบบนี้ และ Balance Sheet ของธนาคารกลางจะค่อนข้างทรงๆไม่ได้มีการแปลงมาก

ฝรั่งมักจะใช้คำว่า สร้างเงินขึ้นมาจาก Thin Air หรืออากาศบางๆ เพราะ เงินที่จ่ายออกไป ธนาคารกลางสร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่า นอกจากนี้ เพดานในการทำ QE ดูเหมือนจะไม่มี จะเห็นได้ว่า Balance Sheet มันบวมได้อย่างไม่น่าเชื่อ  ไม่ทำให้ตัวเลข Public Debt แย่ลง เพราะซื้อตราสารที่มีอยู่แล้วในตลาด  หนี้สาธารณะเค้าดูที่รัฐบาล ไม่ได้ดูที่ธนาคารกลาง

แต่ ... เงินเฟ้อในอนาคตที่จะเกิดจาก QE มีโอกาสทำให้หนี้ของรัฐบาลบาลสูงขึ้นได้

นอก จากนี้นโยบายการเงินปกติของธนาคารกลางจะเน้นที่ดอกเบี้ยระยะสั้นเท่านั้น เช่นของ BOT คือ RP-1 หรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรข้ามคืน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมดอกเบี้ยระยะยาวได้  ในกรณีของ QE จะมีการซื้อตราสารระยะยาวด้วย ทำให้ yield ทุกช่วงเวลาลดลง

BOE (Bank of England) หรือธนาคารกลางของอังกฤษทำรูปนี้สวยดี เค้าแสดงให้เห็นกลไกการส่งผ่านของมาตรการ QE ไปสู inflation target 2% ของเค้า ตอนนี้อังกฤษ 3% แล้ว ไม่รู้ว่ายังจะทำอยู่หรือเปล่า (BOE เริ่มซื้อ asset เพิ่มตั้งแต่ปลายปี 2008 หรือต้นปี 2009 นี่แหละ)

องดู QE1 ของ Federal Reserve หรือเฟดเป็นตัวอย่าง (Ben Bernanke พยายามใช้คำว่า Credit Easing แต่ไม่ติดตลาด) หลังจากเฟดลดดอกเบี้ย Fed Fund Rate ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายของเค้าอย่างรวดเร็วจนเหลือ 0-0.25% (ถึงตรงนี้อยากให้ทำความเข้าใจ BOJ ไม่ได้ลดดอกเบี้ยเหลือ 0 ตามที่หลายคนเอามา post แต่เป็น 0-0.1% นะครับ) เฟดก็จัด QE1 ให้โดยกว้านซื้อตราสารนานาชนิดเข้ามาเก็บ รวมถึงพวก Toxic Asset อย่าง Mortgage Backed Securities (MBS) ต้นตอของปัญหา subprime ด้วย  เดิม Balance Sheet ของเฟดมี asset อยู่ประมาณ 800 พันล้าน US$ เท่านั้น เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.3 ล้านล้าน US$ อย่างรวดเร็ว ข้อดีของ QE คือมันเร็ว และไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาด

ประเด็นสำคัญในการทำ QE คือ ตราสารที่จะเข้าซื้อนั้นอาจต้องมีมูลค่าสูงมากและทำอย่างต่อเนื่อง เพราะมันจะมีตราสารใหม่เข้ามาในตลาดเรื่อยๆ  นอกจากนี้ต้องหยุดซื้อเมื่อถึงเวลาสมควร

พันธบัตรเหล่านี้ส่วนใหญ่ เวลาขายกลับคืนสู่ตลาดจะได้ราคาต่ำกว่าเดิมค่อนข้างแน่ เพราะธนาคารแทรกแซงในเวลาที่ดอกเบี้ยต่ำมาก  เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติและ yield ปรับสูงขึ้น ธนาคารกลางก็จะต้องรับผลขาดทุน ซึ่งผมมองว่า การขาดทุนทางบัญชีของธนาคารกลางไม่ค่อยมีความหมายอะไร เพราะพี่เขาพิมพ์เงินได้เองอยู่แล้ว

แต่เฟดไม่ได้เป็นธนาคารกลางแห่งแรกที่ใช้ QE ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ (ถ้าจะถามว่า ใครใช้ก่อนในโลกจะตอบยาก ในช่วงปี 1930 สหรัฐก็ทำอะไรประมาณนี้ แต่อังกฤษอาจจะบอกว่าเราทำมา 200 ปีแล้ว) แต่เป็นญี่ปุ่นซึ่งต่อสู้กับภาวะเงินฝืดมาเป็นทศวรรษ เริ่มใช้มาตรการ QE ในปี 2001 โดย BOJ โกยพันธบัตรรัฐบาลมาเก็บและถีบเงินออกไปสู่ระบบ จากเดิม Balance Sheet มีขนาด 5 ล้านล้านเยน พุ่งพรวดไปเป็น 35 ล้านล้านเยนภายในเวลา 3 ปี และคงอยู่อย่างนั้นจนถึงปี 2006 ในปัจจุบัน BOJ unwind position ของตนเองเกือบหมดแล้วและ Balance Sheet หดกลับมาอยู่ที่ 8 ล้านล้านเยน แต่ในอนาคตไม่แน่ว่า ญี่ปุ่นจะมี QE2 หรือไม่

ที่แน่ๆ ตลาดคาดว่า สหรัฐจะมี QE2 ก่อน

นักเศรษฐศาสตร์บางคนพยายามจะบอกว่า QE ไม่ใช่การพิมพ์เงิน (Money Printing) ถ้ามุ่งเน้นที่การซื้อตราสารที่มีซื้อขายอยู่แล้วใน secondary market แต่ถ้ารัฐบาลจะออกพันธบัตรใหม่บอกให้แบงค์ชาติมาซื้อ นี่จึงนับเป็นการพิมพ์เงิน  

ผลมันอาจจะคล้ายๆกันคือปริมาณเงินใน ระบบสูงขึ้น ถ้าทำให้ภาวะปกติจะนำไปสู่ Hyper Inflation แต่อย่างไรก็ตามคำว่า พิมพ์ นี้ไม่ได้เงินขึ้นจริง transaction ที่เกิดขึ้นเป็น electronics ทั้งหมด

เมื่อมองในภาพรวมแล้วการปล่อย สภาพคล่องจำนวนมหาศาลจากการเพิ่มฐานเงินเข้าไปในระบบก็อาจก่อให้เงินภาวะ เงินเฟ้อสูงขึ้นมากในอนาคตได้ และธนาคารกลางก็จะต้องหาทางจัดการดูดสภาพคล่องกลับให้ทันสถานการณ์ก่อนที่จะ เกิดปัญหา ซึ่งการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมของ Exit Policy นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก

QE ได้ผลจริงเหรอ?
มีความเห็นไปต่างๆนานา เนื่องจากรู้ไปมันอาจจะประยุกต์กับการลงทุนของเราไม่ได้ ตอบสั้นๆว่า มีดีกว่าไม่มี และมันมีโอกาสจะทำให้เกิด asset bubble ในการลงทุนเราสนใจเฉพาะ fund flow จาก QE เท่านั้น

จะเห็นได้ว่าเฟดจริงๆ ยังไม่ได้ทำ QE2 แต่ตลาดเชื่อว่าจะทำ ทำไมเค้าถึงเชื่อแบบนี้ เรารู้มาแล้วว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังทรงๆ โดยเฉพาะการว่างงานที่เกิน 9% มาหลายเดือน (http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 88576.html) ผมลอกรายงานการประชุมของเฟดสองครั้งล่าสุดมาให้ดูเลย

10 สิงหาคม 2010

เฟด ประกาศคง Balance Sheet ไว้เท่าเดิม แม้จะได้รับเงินต้นคืนจากพวก MBS โดยจะนำเงินนั้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สภาพคล่องหายไปจากระบบ

To help support the economic recovery in a context of price stability, the Committee will keep constant the Federal Reserve's holdings of securities at their current level by reinvesting principal payments from agency debt and agency mortgage-backed securities in longer-term Treasury securities.1 The Committee will continue to roll over the Federal Reserve's holdings of Treasury securities as they mature.

21 กันยายน 2010

เฟด ประกาศเตรียมพร้อมที่จะมาตรการเพิ่มเติม ถ้าจำเป็น เพื่อที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเพื่อ นำเงินเฟ้อกลับมา เป็นคำประกาศที่ฟังดูตลกดี แต่เงินเฟ้อเป็นที่ต้องการกว่าเงินฝืดนะ

The Committee will continue to monitor the economic outlook and financial developments and is prepared to provide additional accommodation if needed to support the economic recovery and to return inflation, over time, to levels consistent with its mandate.

เจอสองประกาศนี้ไป ตลาดคาดการณ์ว่า มี QE2 แน่นอน ดูได้จาก US$ ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง และ Asset หลายๆตัวเริ่มกลับมามีฟองปุดๆอีก

ใครขยันอยากดูต้นฉบับ Minutes http://www.federalreserve.gov/monetaryp ... endars.htm

2 พฤศจิกายน 2010

ประชุม FOMC คร้งต่อไป ยังไม่รู้ว่าจะเอายังไง Ben Bernanke รู้ว่า คำพูดตัวเองมีผลมาก ก็เลยพูดน้อยลง ปกติคนระดับนี้เค้าจะระวังคำพูดมากเพราะมีผมต่อตลาด แต่หลังการประชุมในเดือนสิงหาคม William Dudley ประธานเฟดนิวยอร์ค ซึ่งเป็นสมาชิกที่สิทธิ Vote ด้วย บอกว่า ตัวเลขการว่างงานระดับนี้ รับไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตีความออกมาว่า นี่แหละคือ Strong Signal ของ QE2 ถึงแม้ประธานเฟดบางสาขาจะไม่เห็นด้วย

Bill Gross King of Bond CEO ของ Pimco กองทุนพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก บอกว่า มี QE2 แน่นอน น่าจะออกมาเป็นค่อยๆซื้อ เดือนละ 100 พันล้าน US$ ทำไปจนกว่าจะแน่ใจว่าได้ผล (หรือไม่ก็เงินเฟ้อมีทีท่ากระฉูด และต้อง exit) ซึ่งอาจจะขึ้นไปถึง 1 ล้านล้าน US$

BNP Paribas คาดว่า เฟดน่าจะเริ่มต้นที่ตัวเลข 500 พันล้าน US$ และโอกาสค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตมากกว่าจะปรับลง

Goldman Sachs บอกคล้ายๆกันว่า ภายในครึ่งปี 2011 เฟดน่าจะซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE2 ไปทั้งสิ้น 500 พันล้าน US$ และเตรียมพร้อมจะซื้อมากกว่านี้อีก

ตาม ความเห็นผม (หุหุ เป็นผุ้เชี่ยวชาญกับเค้าตอนไหนฟะ) QE2 น่าจะมี เพราะเหลือเวลาอีกเพียงสองสัปดาห์ ไม่น่าจะมีตัวเลขเศรษฐกิจออะไรที่ออกมาดีมากๆจนทำให้เชื่อว่า ไม่ต้องกระตุ้นอะไรเพิ่มแล้ว

แต่เรื่อง QE นี้ตลาด priced-in ไปเยอะแล้ว ถ้าออกมาผิดคาด ระวังจะ "แรง"

เมื่อ ตลาดเชื่ออย่างนั้น แล้วผลคือเงินไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ ยังมีแรงส่งต่อไป ทั้งจากความเชื่อที่ว่าปริมาณเงินจะถูกสร้างขึ้น และไหลเป็น Carry Trade มาอยู่แถวนี้ ผมเคยบอกหลายวันก่อนแล้วว่า ความเชื่อที่ว่าฝรั่งต้องซื้อกี่หมื่นล้านจึงขาย หรือขายเท่าไหร่จึงจะซื้อนั้นเหลวไหล เพราะเงินในโลกไม่ได้มีเท่าเดิม  (มีคนบอกว่า ฝรั่งไม่ซื้อพันธบัตรไทยแล้วจะหันมาซื้อหุ้นไทย ผมว่าเหลวไหลเช่นเดียวกัน)

ทางด้านตลาดพันธบัตร เมื่อนักลงทุนเชื่อว่า เฟดจะเข้ามาซื้อ ทุกคนจึงซื้อไล่ดักหน้าทำให้ราคาพันธบัตรทุกช่วงอายุสูงขึ้น และ yield ต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ Spread ของ Yield ใน emerging market กับของ advanced economies สูงขึ้นมาก เงินจึงไหลมากินส่วนต่าง ดังนั้นถ้าอยากจะให้ส่วนนี้หยุด เราอาจจะต้องหยุดขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน

เดา ต่อไปเพื่อให้มีประโยชน์ต่อการลงทุน มาตรการกุ๊กไก่ของรัฐบาลไม่ได้ผลแล้ว มีแต่ BOT ที่ยังไม่ได้พูดอะไร เค้า "อาจจะ" พูดในการประชุม กนง. วันที่ 20 ตุลาคมนี้ ว่า ขอหยุดขึ้นดอกเบี้ยก่อนนะ (เป็นไปได้เพราะหลายประเทศหยุดขึ้นไปแล้ว นอกจากนี้การว่างงานเราต่ำมาก เงินเฟ้อไม่สูงมาก) ซึ่งจะทำให้หุ้นบางกลุ่มกระโดดได้ ใส่ตัวคูณ Futures เข้าไป คิดแบบนี้อาจจะ Work ไม่ work แค่เสมอตัว

(วาดลูกศรแดงๆให้ สองลูก จริงๆผมต้องวาดในกราฟ inflation นะ เจ้าสิ่งนี้เรียกว่า disinflation ฟองสบู่ของสินทรัพย์ จะก่อตัวขึ้นในช่วงแบบนี้แหละ)
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

qe

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รอยเตอร์สวิเคราะห์ 5 แนวทางความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการ QE รอบ 2

ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประจำสัปดาห์ ตลาดและนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเฟดจะต้องดำเนินการอัดเงินเข้าสู่ระบบผ่านมาตรการ QE รอบที่ 2 แต่ขอบเขตและความเร็วในการเข้าซื้อพันธบัตรยังคงไม่แน่นอนและเป็นข้อถกเถียงกันอยู่

ทั้งนี้ ความคาดหวังของตลาดนั้นประเมินว่าเฟดจะเข้าซื้อพันธบัตรอย่างน้อย 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 5 เดือนข้างหน้า เพื่อจะช่วยกระตุ้นการกู้ยืมและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ และ ตัวเลขการว่างงานก็อยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังดูย่ำแย่ ทำให้คณะกรรมการเฟดหลายคนออกมาส่งสัญญาณที่ยังสับสนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการเฟดบางคนก็ดูเหมือนว่าจะสนับสนุนการกระตุ้นที่แข็งกร้าว แต่บางคนท่านก็ยังคงสงสัยในมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เป็นการยากที่จะคาดเดาถึงผลสรุปที่จะออกมาจากการประชุม

อย่างไรก็ดี สำนักข่าวต่างประเทศ อย่างเช่นรอยเตอร์ส ก็มีการประเมินทางเลือกของเฟดไว้คร่าวๆ 5 ทางเลือกด้วยกัน

1. $500 BILLION OVER FIVE MONTHS, HINTS OF MORE หรือการอัดฉีดเงินผ่านมาตรการ QE อีก 5 แสนล้านเหรียญ และส่งสัญญาณว่าอาจจะอัดฉีดเพิ่มหากจำเป็น - การตัดสินใจแบบนี้ถือว่าเป็น base-case scenario ทางออกที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับตลาดเงิน ซึ่งถ้าการตัดสินใจของเฟดเป็นแบบนี้ ก็ถือว่าได้รับรู้ และ price-in ไปเรียบร้อยแล้ว แต่การส่งสัญญาณว่าอาจจะเพิ่มเติมการอัดฉีดได้อีก เพื่อที่จะให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว อาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้ตลาดหุ้นและพันธบัตรวิ่งขึ้นไปอีกได้ และ ดอลลาร์ก็อาจจะยิ่งอ่อนค่าลงไปหนักกว่าที่เป็นอยู่

2. $750 BILLION TO $1 TRILLION, HINTS OF MORE หรือ การอัดฉีดเงินผ่านมาตรการ QE อีก 7.5 แสน 1 ล้าน ล้านเหรียญ และส่งสัญญาณว่าอาจจะอัดฉีดเพิ่มหากจำเป็น กรณีแบบนี้จะขึ้นอยู่กับว่า เฟดจะมองว่าว่าการต่อสู่กับเงินเฟ้อนั้นง่ายกว่าการต่อสู้กับเงินฝืด เฟดอาจจะตัดสินใจแบบนี้ เพื่อที่จะก้าวข้ามการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งการตัดสินใจแบบนี้จะทำให้เกิดการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในสินทรัพย์เสี่ยง อย่างหุ้น และ พันธบัตรในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นอกจากนี้จะทำให้โภคภัณฑ์มีราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากแนวโน้มดอลลาร์ที่จะยิ่งอ่อนค่า

3. OPEN ENDED, WITH NO UPFRONT COMMITMENT หรือการอัดฉีดเงินผ่านมาตรการ QE แบบไม่ระบุตัวเลข - แนวความคิดนี้เป็นมาตรการระดับแข็งกร้าวที่ถูกนำเสนอโดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายแบบสายเหยี่ยว (เน้น aggressive) โดยไม่ระบุขอบเขตของปริมาณเงินที่จะใส่ลงไป เช่น อาจจะซื้อคืนพันธบัตรในเดือนหน้า 1 แสนล้านเหรียญ (ซึ่งเป็นระดับที่มีคณะกรรมการอย่างน้อย 2 คนสนับสนุนอยู่แล้ว) พร้อมกับแสดงเจตจำนงที่ชัดเจนว่าพร้อมที่จะเข้าไปอัดฉีดเงินเพิ่มเมื่อจำเป็นอย่างไม่จำกัด การตัดสินใจในรูปแบบนี้ของเฟด อาจจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยขจัดความกังวลของประเทศอื่นๆ ว่า สหรัฐฯ จะลดค่าเงินของตนเองเพื่อความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน ผลตอบรับของตลาดต่อการตัดสินใจแบบนี้ ค่อนข้างประเมินยาก และผลที่ออกมาจะขึ้นอยู่กับว่า เฟดจะพูดถึงสภาพเศรษฐกิจอย่างไรในถ้อยแถลงของเฟดด้วย

4. $500 BILLION TO $750 BILLION, WITH NO HINT OF MORE หรือการอัดฉีดเงินผ่านมาตรการ QE อีก 5 7.5 แสนล้านเหรียญ และไม่ส่งสัญญาณว่าจะมีการอัดฉีดเงินเพิ่ม กรณีดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีในการเอาชนะกับข้อถกเถียงต่างเรื่องของการไม่กำหนดวงเงิน แต่ก็เป็นทางเลือกที่ดูเหมือนว่าจะสามารถจำกัดขนาดได้ แต่อย่างก็ดี ดูเหมือนว่าเป็นการยากสำหรับเฟดในการประกาศใช้มาตรการที่ไม่ค่อยจะปกติสักเท่าไหร่ อย่าง มาตรการ QE โดยปราศจากความหยืดหยุ่นให้กับตัวเอง ในการที่จะทำให้การฟื้นตัวเป็นไปได้แบบยั่งยืน

5. A SMALL, FINITE COMMITMENT เป็นการตัดสินใจที่ดูเหมือนว่าจะมีโอกาสเกิดน้อยที่สุด และ ตลาดยังไม่ Price-in หรือไม่คาดคิดมาก่อน การตัดสินใจแบบนี้จะสร้างความผิดหวังให้กับตลาด รวมทั้งจะสร้างความเสี่ยงให้กับการฟื้นตัวที่มีความเปราะบาง ดอลลาร์จะได้รับประโยชน์ เงินจะไหลออกจากตลาดหุ้น ตลาดบอนด์ และ สินทรัพย์ในตลาดเกิด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

qe

โพสต์ที่ 3

โพสต์

โพลล์ชี้เฟดเตรียมซื้อพันธบัตรกว่า 1 แสนล้านเหรียญต่อเดือน

โพลล์ของรอยเตอร์ชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำส่วนใหญ่คาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกัน ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะซื้อพันธบัตรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องระหว่าง 8 หมื่นถึง 1 แสนล้านเหรียญต่อเดือน จากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ แต่ระยะเวลาของการซื้อและจำนวนเงินทั้งหมดยังคงมีมุมมองที่แตกต่างกัน

ในแง่วงเงินรวมของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่นี้ มีการประเมินกันตั้งแต่ 2.5 แสน จนถึง 2 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งจากการสำรวจก่อนหน้านี้ที่รอยเตอร์ทำการสำรวจมุมมองของดีลเลอร์ ขนาดของวงเงินก็อยู่ระหว่างห้าแสนถึง 1.5 ล้านเหรียญ

Jan Hatzius หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลแมนแซคส์ในนิวยอร์ก บอกว่าคำถามที่สำคัญไม่ใช่ขนาดของวงเงิน แต่เป็นระดับความมุ่งมั่นของคณะกรรมการเฟดมากว่า ว่าจะเอาจริงเอาจังมากแค่ไหนกับการพยายามบรรลุเป้าหมายสองด้าน คือรักษาเสถียรภาพของราคาและยกระดับการจ้างงาน ซึ่งโกลแมนเอง คาดการณ์วงเงินจาก QE2 ไว้มากถึง 2 ล้านเหรียญ และเป็นค่ายที่คาดการณ์ขนาดของวงเงินสูงที่สุด

อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าผลของมาตรการคราวนี้ คงมีอีกไม่มากนัก เพราะตลาดได้รับรู้ข้อมูลไปเกือบหมดแล้ว โดยเห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุสิบปีของสหรัฐ ปัจจุบันอยู่ที่ 2.72% ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่ากลางปีหน้าหลังมาตรการอัดฉีดรอบนี้ อัตราผลตอบแทนดังกล่าวก็จะขยับลงไปเหลือ 2.65% ซึ่งต่างจากปัจจุบันไม่มากเลย

Zach Pandl นักเศรษฐศาสตร์ของโนมูระ ซิเคียวริตี้ส์ในนิวยอร์ก บอกว่า เค้าคิดว่ามาตรการ QE2 ได้ทำงานไปเรียบร้อยแล้ว โดยเราจะเห็นได้จากตลาดการเงินที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็อ่อนลง ดอกเบี้ยก็ลดต่ำลง และราคาหุ้นปรับขึ้นมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งตลาดเหมือนจะคาดหวังมาตรการ QE ในระดับสูงมากอยู่แล้ว

คำถามต่อไปก็ต้องมาดูว่า GDP สหรัฐจะโตได้มากแค่ไหนจากมาตรการทางการเงินครั้งนี้ หลังจากมาตรการ QE รอบแรกระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคม 2009 เพื่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กว่าสามแสนล้านเหรียญ ดูจะไม่ค่อยได้ผลมากนัก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

news

โพสต์ที่ 4

โพสต์

นักวิเคราะห์คาด QE ไม่ช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้น

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรในวงเงินที่สูงขึ้น ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งจะเสร็จสิ้นในคืนวันพุธที่ 3 พ.ย.ตามเวลาประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม คาดว่า มาตรการดังกล่าวจะยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะช่วยคลี่คลายวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐได้ เนื่องจากจำนวนชาวอเมริกันที่ว่างงานมีอยู่เกือบ 15 ล้านคนในขณะนี้

มาตรการ QE มีเป้าหมายที่จะฉุดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทอื่นๆให้ปรับตัวลดลง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น และยังกระตุ้นให้บริษัทเอกชนจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย

นักวิเคราะห์มีมุมมองที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการดังกล่าว โดยเดวิด กรีนลอว์ นักวิเคราะห์จากแบงค์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริลลินช์ กล่าวว่า มาตรการ QE รอบสองของเฟดจะช่วยเศรษฐกิจสหรัฐให้ฟื้นตัวได้ราว 0.3% ในปี 2554 และ 0.4% ในปี 2555 นอกจากนี้ มาตรการ QE อาจทำให้อัตราว่างงานปรับตัวลดลง 0.3% ในปี 2554 และลดลง 0.5% ในปี 2555

ขณะที่สตีเฟ่น โตช ประธานมอร์แกน สแตนลีย์ เอเชีย กล่าวว่า มาตรการ QE ยังไม่ดีพอที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้น ขณะที่เจียง ลู ผู้อำนวยการบริหารซีไอซีซี เวิล์ด มาร์เก็ตส์กล่าวว่า สหรัฐเดินมาถึงทางตันที่จำเป็นต้องใช้มาตรการ QE รอบสอง ผลกระทบของมาตรการ QE จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาด มากกว่าที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นอย่างแท้จริง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

qe

โพสต์ที่ 5

โพสต์

FED:เฟดซื้อบอนด์ 6 แสนล้านดอลล์/ทยอยซื้อเดือนละ 7.5 หมื่นล้านดอลล์        
  (ข่าวนี้ส่งครั้งแรกเวลา 02.50 น.)       วอชิงตัน--4 พ.ย.--รอยเตอร์
         ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น(fed funds rate) อยู่ในกรอบ 0-0.25 % ในการประชุมวานนี้ ซึ่งเป็นระดับที่ได้กำหนดไว้ในการประชุมเดือนธ.ค.2008 โดยย้ำว่าเฟดจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอีกระยะหนึ่ง        ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) มีมติ 10-1ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0-0.25 % และระบุว่าเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อไป        แถลงการณ์เฟดระบุว่า เฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ภายในกลางปีหน้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดต่ำลงสำหรับผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีความรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่        นอกจากนี้ เฟดยังระบุว่าจะทยอยซื้อพันธบัตรระยะยาวในวงเงินราว7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และจะทำการทบทวนเป็นระยะๆ เกี่ยวกับจังหวะเวลาในการเข้าซื้อพันธบัตร รวมทั้งขนาดของโครงการดังกล่าว ขณะที่จะมีการปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น โดยขึ้นอยู่กับภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า และการจ้างงานอยู่ในภาวะซบเซา --จบ--  
       (รอยเตอร์ โดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ แปลและเรียบเรียง)
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

news

โพสต์ที่ 6

โพสต์

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:17:10 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กสิกรเตือนไซด์เอฟเฟคมาตรการเฟดฉุดบาทแข็งโป๊ก เกิดฟองสบู่"ตลาดหุ้น-อสังหาฯ"

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกบทวิเคราะห์หลังธนาคารกลางสหรัฐประกาศคลอดมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์รอบสอง หรือ QE2 วงเงิน 6แสนล้านเหรียญ คาดส่งผลกระทบทางอ้อมเศรษฐกิจและระบบการเงินของปท.ต่างๆรวมถึงไทยด้วย เผยที่เกิดขึ้นแล้วคือทำเงินบาทแข็งค่า คาดปลายปีอาจถึง29บาท/ดอลลาร์ ปี2554 แข็งโป๊ก 28บาท/ดอลลาร์ เตือนระวังเกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ทั้งตลาดหุ้น อสังหาฯ และตลาดพันธบัตร

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ผลจากการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมาเป็นไปตามที่คาด โดยเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในกรอบร้อยละ 0.0-0.25 ตามเดิม พร้อมกับประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์รอบสอง (Quantitative Easing Measures II: QE 2) มูลค่าประมาณ 6.0 แสนล้านดอลลาร์ฯ จนถึงกลางปี 2554 ซึ่งก็เท่ากับว่า จะมีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวด้วยวงเงินประมาณ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือนนับจากนี้ ทั้งนี้ เฟดระบุเพิ่มเติมว่า เฟดจะทำการทบทวนจังหวะการเข้าซื้อ รวมถึงขนาดของโครงการซื้อสินทรัพย์รอบสองนี้ เป็นระยะๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จุดยืนเชิงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟดดังกล่าว (และน่าที่จะมีการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มขึ้นอีกตามระดับความเสี่ยงต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า) อาจเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อม (Side Effect) ต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอื่นๆ นอกสหรัฐฯ ซึ่งย่อมจะทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านั้น มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงิน ควบคู่ไปกับมาตรการด้านอื่นๆ ในการดูแล-ควบคุมความเสี่ยงเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่ต้องรับมือกับความแปรปรวนของกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า "ผลกระทบทางอ้อม" ประการแรก ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็คือ การปรับตัวแข็งค่าของเงินบาทในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และน่าที่จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องอีกในช่วงหลายเดือนข้างหน้า (เครือธนาคารกสิกรไทยคาดว่า เงินบาทอาจทดสอบระดับ 29.00 และ 28.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงที่เหลือของปี 2553 และในปี 2554 ตามลำดับ) ซึ่งทางการไทยก็ได้ทยอยผลักดันมาตรการแก้ไขและลดทอนผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ควบคู่ไปกับการเข้าดูแลการเสถียรภาพและลดทอนความผันผวนของเงินบาทโดยธปท.ในตลาดปริวรรตเงินตรา

อย่างไรก็ดี "ผลกระทบทางอ้อม" ที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ก็คือ การก่อตัวขึ้นของภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายประเภทของไทย (ทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาดอสังหาริมทรัพย์) รวมไปถึงภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อจุดยืนเชิงนโยบายของธปท.เพิ่มมากขึ้นในช่วงปีข้างหน้า ซึ่งอาจครอบคลุมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์  

แม้ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย อาจเป็นสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็คาดว่า ธปท.และธนาคารกลางในภูมิภาค อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้มาตรการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมาตรการดังกล่าว อาจไม่ได้มุ่งเป้าหมายไปที่เสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เพื่อเสริมสร้างให้การดำเนินนโยบายการเงินด้วยเครื่องมืออัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลภารกิจด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระดับราคาในประเทศมีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ทางการไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้านการคลัง ก็อาจพิจารณาจุดยืนนโยบายการคลังเป็นเชิงผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศที่ต้องรับมือกับความเสี่ยงหลายด้าน รวมถึงการชะลอตัวของการส่งออกในปีข้างหน้า
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 2&catid=no
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 7

โพสต์

รมต. คลังฮ่องกงเตือนระวังกระแสเงินร้อน หลังเฟดใช้ QE2

นายจอห์น ซัง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฮ่องกงเตือนว่า การใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง หรือ QE2 ของธนาคารกลางสหรัฐนั้น จะสร้างแรงกดดันให้กับตลาดสินทรัพย์ของฮ่องกง เนื่องจากมาตรการ QE2 อาจจะทำให้มีกระแสเงินร้อนหลั่งไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ต่างๆ ซึ่งรวมถึง ฮ่องกง

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รมว.คลังกล่าวต่อไปว่า รัฐบาลฮ่องกงจะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะพิจารณาเรื่องการใช้มาตรการที่เหมาะสมหากเห็นว่าจำเป็น พร้อมกับเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังและป้องกันการเก็งกำไรที่สูงเกินไป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 8

โพสต์

"มาร์ค โมเบียส" ฟันธง QE2 หนุนหุ้นทั่วโลก-สินค้าโภคภัณฑ์พุ่ง

Posted on Friday, November 05, 2010
นายมาร์ค โมเบียส ประธาน บริษัท เท็มเพลตั้น แอสเซ็ทแมเนจเมนท์ บอกว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเข้าสู่ภาวะกระทิงอย่างชัดเจน และจะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยิ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสภาพคล่องที่สูงจะไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกจากมาตรการซื้อคืนตราสารหนี้ระยะยาวของ FED ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง และทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับตลาดหุ้นที่ได้รับผลดีมากที่สุด ได้แก่ ตลาดหุ้นจีน ดังนั้นควรเลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในจีน และลงทุนหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค

ทั้งนี้ ความเห็นของนายโมเบียส สอดคล้องกับความเห็นของ นายจิม โอนีล ประธานโกลด์แมนแซคส์ แอสเซ็ทแมเนจเมนท์ ที่ระบุว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จะได้รับผลดีจากมาตรการของ FED  
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

qe

โพสต์ที่ 9

โพสต์

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4259  ประชาชาติธุรกิจ

ธปท.ตั้งรับพายุเงินนอก หวั่นสงครามค่าเงินเดือดดันบาทแข็งยาว

ลุ้นระทึกผลประชุม 4 บิ๊กธนาคารกลางโลก หวั่นอังกฤษ-ญี่ปุ่น-อีซีบี งัดมาตรการอัดฉีดเงินตอบโต้ ทันทีที่สหรัฐเปิดแผนซื้อพันธบัตรรัฐบาลหลักล้านล้านดอลลาร์ "ประสาร" ผู้ว่าการ ธปท.ประกาศพร้อมรับมือเงินทุนไหลเข้า เตรียมประเมินสถานการณ์ใหม่ ยอมรับ "แคปิตอล คอนโทรล"มีอยู่ในมาตรการ นักวิเคราะห์ประเมินทิศทางเงินบาทมีสิทธิ์แข็งทะลุ 27.5 บาทต่อดอลลาร์ ในปี 2554

สำนักข่าวต่างประเทศ รวมถึงบลูมเบิร์ก และรอยเตอร์ส รายงานว่า ธนาคารกลางในสหรัฐ อังกฤษ ญี่ปุ่น และธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้เริ่มการประชุมนัดสำคัญในเวลาไล่ ๆ กันภายใน 33 ชั่วโมง โดยเริ่มจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve : FED) วันที่ 2-3 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า เฟดเตรียมประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ที่มีมูลค่าราว 500 พันล้านดอลลาร์ ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์

จากนั้นอีก 18 ชั่วโมง หรือช่วงบ่ายในลอนดอน ธนาคารกลางอังกฤษจะประกาศแนวนโยบายเช่นกัน ก่อนที่อีก 45 นาทีต่อมา ธนาคารกลางยุโรปจะเปิดเผยการตัดสินใจด้านนโยบาย ตามด้วยธนาคารกลางญี่ปุ่นที่จะสรุปการประชุม 2 วัน ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งคาดกันว่าญี่ปุ่นน่าจะประกาศมาตรการ QE เดินตามรอยเฟด เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป

บลูมเบิร์กระบุว่า นับตั้งแต่กลางเดือนกันยายน เงินยูโรแข็งค่าขึ้นราว 7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งโกลด์แมน แซกส์ คาดว่าจะแข็งค่าขึ้นเป็น 1 ยูโรต่อ 1.55 ดอลลาร์ในปีนี้ จากระดับ 1.39 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ทั้งนี้นักยุทธศาสตร์ของเครดิต สวิส วิเคราะห์ว่า การแข็งค่าขึ้นของยูโรทุก ๆ 10% จะทำให้จีดีพีลดลง 0.8% และทำให้กำไรของบริษัทยุโรปหายไปราว 11%

สตีฟาน ดีโอ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปของยูบีเอส เอจี มองว่า ในที่สุดการแข็งค่าขึ้นเรื่อย ๆ ของยูโรอาจกดดันให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ต้องเดินนโยบายตามรอยเฟด และกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป โดยอีซีบีอาจขยายหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับการปล่อยกู้ หรืออาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานจากระดับ 1% แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่อีซีบีจะซื้อสินทรัพย์เพิ่ม

ขณะที่พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เห็นว่า อีซีบีควรทำตามเฟด และดำเนินมาตรการผ่อนคลายทาง การเงิน

ด้านธนาคารกลางอังกฤษ ผลการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 40 คนของบลูมเบิร์กพบว่า 38 คนเชื่อว่าธนาคารกลางอังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้มีการคาดการณ์อย่างกว้างขวางว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ 0.5% ต่อไป และหยุดมาตรการ QE มูลค่า 318 พันล้านดอลลาร์ไว้อีกครั้ง หลังการเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3

ต่างจากญี่ปุ่นที่กำลังประสบปัญหาหนัก เพราะเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำสถิติสูงสุดหลายครั้งติดต่อกัน และล่าสุดเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เผยแนวนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เตรียมไว้ โดยจะมีการพิจารณาในการประชุมวันที่ 4-5 พ.ย.นี้ ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาซื้อกองทุน ETF และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ด้วย ตลอดจนการซื้อตราสารหนี้เอกชนที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำกว่าที่ธนาคารกลางเคยซื้อมาในอดีต ทั้งนี้มาตรการ QE รอบใหม่ของญี่ปุ่นจะมีมูลค่าประมาณ 60 พันล้านดอลลาร์

ขณะเดียวกันยักษ์เศรษฐกิจแห่งเอเชียอย่างจีนได้กล่าวโทษว่า นโยบายของสหรัฐเป็นตัวปั่นกระแสสงครามค่าเงิน โดยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่า "การอ่อนค่าลงอย่างมากและต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย ต้องแทรกแซงค่าเงิน ส่งผลให้กระแสสงครามค่าเงินรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากสหรัฐเดินหน้ามาตรการ QE 2 ก็จะยิ่งกดค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนลงอีก

ธปท.พร้อมรับมือเงินทุนไหลเข้า

ขนาดของแผนซื้อสินทรัพย์สกุลดอลลลาร์ของธนาคารกลางสหรัฐ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทางหนึ่งมีผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากก่อนหน้านี้ วิลเลียม ดัดเลย์ ประธานเฟด ประจำนิวยอร์ก ประเมินว่า การใช้เงิน 5 แสนล้านดอลลาร์เพื่อซื้อสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ จะมีผลเท่ากับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5-0.75% อีกส่วนหนึ่งผลกระทบจะมาในรูปของเงินทุนไหลเข้า ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อเงินบาทให้แข็งค่าขึ้น

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ความท้าทายของนโยบายการเงินในระยะสั้นมีประเด็นที่ต้องติดตามดู อย่างใกล้ชิดคือ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 3 พ.ย.นี้ ว่าจะใช้มาตรการ QE อัดฉีดเงินเข้าระบบเกิน 500,000 ล้านดอลลาร์หรือไม่ และจะดำเนินการในช่วงไหน

"ถ้าเฟดอัดฉีดเงินไม่เกิน 5 แสนล้านดอลลาร์ เราน่าจะปรับตัวได้อีกในระยะหนึ่ง โดยไม่ต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า แต่ถ้าเฟดอัดฉีดเงินเกิน 5 แสนล้านดอลลาร์ หรือสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ก็ต้องดูอีกที่ว่าเขาจะทยอยใช้เงินอย่างไร ซึ่งต้องดูในละเอียดก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์" นายประสารกล่าว

นอกจากเรื่องมาตรการ QE นายประสารระบุว่า ประเด็นการประชุมของกลุ่มประเทศจี-20 ก็ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดเหมือนกัน ซึ่งคาดหวังว่าจะมีข้อตกลงความร่วมมือเกิดขึ้น และอีกประเด็นที่ต้องติดตามคือ ข่าวคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง

"ทั้ง 3 ประเด็นเป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องเงี่ยหูฟัง" นายประสารกล่าว

ส่วน ธปท.จะมีการออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับว่า มาตรการเงินทุนไหลเข้ามีอยู่ในเมนู แต่จะใช้หรือไม่ใช้มีข้อพิจารณาอยู่ 2 ข้อใหญ่ คือเรื่องประสิทธิผล และผลกระทบข้างเคียง โดยด้านประสิทธิผลของมาตรการนั้น นายประสารระบุว่า เท่าที่ดูประเทศอื่นพบว่าไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ คือทำให้เงินทุนไหลเข้าระยะสั้นชะงักชั่วคราว แต่หวังผลในระยะยาวค่อนข้างยาก เช่น ชิลี ก็ได้ข้อสรุปว่าเงินยังไหลเข้ามาต่อเนื่อง หรือในบราซิล ที่เก็บภาษีเงินลงทุนในพันธบัตรจาก 2% เพิ่มเป็น 4% และล่าสุดเพิ่มเป็น 6% แต่เงินเรียลก็ยังแข็งค่าขึ้นสำหรับผลกระทบข้างเคียง นายประสารกล่าวว่า ก็ต้องระวังเพราะเงินทุนไหลเข้าแบบตรงไปตรงมาว่าด้วยการค้าขาย การผลิต การดำเนินธุรกิจมีจำนวนมาก เหล่านี้มีการวางแผน การอนุมัติ ดำเนินการไว้แล้ว ถ้าเราเปลี่ยนกติกาด้วยเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งถ้าเป็นนักฟุตบอลเขาก็ไม่ชอบ ตรงนี้จึงเป็นภาระของคนที่รับผิดชอบว่าจังหวะไหน ประเมินแล้วคุ้มไม่คุ้มทำไปแล้วได้อะไร

"เหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อนตอนนี้เขาก็คงประเมินแล้วจึงตัดสินใจ แต่ต้องผ่านกระบวนการชั่งน้ำหนัก ที่พูดนี้เป็นการพูดให้ชัดเจนแต่ไม่ได้มีการส่งสัญญาณอะไร" นายประสารกล่าว

คาด QE2 ดันค่าเงินปีི ทะลุ 27 บาท

ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจได้สำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินหลายแห่ง เพื่อประเมินแรงกดดันที่มีต่อค่าเงินบาท พบว่า ขนาดของแรงกดดันขึ้นอยู่กับวงเงินในแผนอัดฉีดผ่านการซื้อสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ของเฟด ซึ่งโดยเฉลี่ย นักวิเคราะห์ในไทยคาดว่า วงเงินในแผนของเฟดจะอยู่ที่ระดับ 5 แสนล้านดอลลาร์ และสร้างแรงกดดันต่อเงินบาทให้แข็งค่าสูงสุดที่ 27.5 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2554

นายพรเทพ ชูพันธุ์ ผู้จัดการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปริมาณการปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบภายใต้แผนการทำ QE2 ของสหรัฐ คงอยู่ในระดับที่ตลาดประมาณการที่ 5 แสนล้านดอลลาร์ จะไม่มากไปกว่านี้เนื่องจากก่อนหน้านี้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ ออกมาค่อนข้างดี โดยไตรมาสที่ 3/53 เติบโตเป็น 2.0% จาก 1.7% ในไตรมาสก่อนหน้า

สำหรับผลต่อตลาดในประเทศไทยที่นักลงทุนและผู้นำเข้า ส่งออก ต้องระวังคือการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ ที่จะมากขึ้นตามสภาพคล่องดอลลาร์ที่สูงขึ้น ทำให้เงินบาทรวมถึงเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชียมีแนวโน้มแข็งค่าและมีความผันผวนมากขึ้น ทั้งนี้ ประเมินค่าเงินบาทปี 2554 ไว้ที่ 27.50 บาท/ดอลลาร์ โดยได้รวมปัจจัย QE2 รวมถึงการที่ทางการจีนจะค่อย ๆ ปล่อยเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นแล้ว

ด้านนายนริศ สถาผลเดชา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงมหภาค ธนาคารทหารไทย เห็นสอดคล้องในส่วนของปริมาณการทำ QE2 แต่เห็นว่าตลาดได้รับรู้ และราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้สะท้อน (price in) ประเด็นการดำเนินการของเฟดมาพอสมควร ดังนั้น แม้คาดว่าค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบจากการไหลเข้ามาของสภาพคล่อง แต่ไม่น่าจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เหมือนช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่แข็งค่าขึ้นถึง 7-8% ประกอบกับทางการทั้ง ธปท. และกระทรวงการคลัง ก็แสดงจุดยืนชัดว่าได้เตรียมมาตรการเพื่อรองรับการไหลเข้าของเงินทุนไว้แล้ว

ขณะที่นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะทำ QE2 ในปริมาณที่สูงกว่าตลาดคาดการณ์ เพื่อให้เกิดผลที่แรง และได้ประโยชน์ตามมา 2 ข้อ คือ 1.เงินดอลลาร์ อ่อนค่าลงการส่งออกขยายตัว ลดการขาดดุลการค้าลง 2.สร้างความคาดหวังว่าจะมีเงินเฟ้อสูงขึ้นหลังมาตรการ QE2 ทำให้เกิดการบริโภคและลงทุนมากขึ้น

โบรกฯเกาะติดมาตรการ QE

สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า การเพิ่มปริมาณเงินในระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะออกมาอีกระลอก หากผลประชุมออกมามีวงเงินต่ำกว่าคาดการณ์ จะทำให้ดัชนีปรับตัวแผ่วลง แต่เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยคงปรับตัวลงไม่ลึกมากนัก

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ มีความเห็นว่า เงินลงทุนต่างชาติที่มีบางส่วนทยอยขายออกจากตลาดหุ้นและพันธบัตรนั้น เชื่อว่าจะเป็นผลระยะสั้นเท่านั้น แต่หลังจากสหรัฐประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐออกมาในรอบนี้ (คืนวันที่ 3 พ.ย.นี้) คงต้องจับตาดูมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยรวมถึงประเทศต่างในเอเชียต่อการสกัดกั้นเงินไหลเข้าอีกหรือไม่ แต่คาดว่ามาตรการไม่น่าจะรุนแรงมากนัก และเชื่อว่าในระยะยาวจะยังมีเม็ดเงินไหลเข้ามาทั้งในเอเชียและไทยต่อเนื่อง ส่งผลต่อทิศทางค่าเงินบาทแข็งขึ้นไปถึงปีหน้าในระดับต่ำกว่า 30

นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการฝ่ายบริหาร (บล.) ทรีนิตี้ กล่าวว่า แม้ว่าช่วงนี้นักลงทุนต่างชาติจะปรับลดพอร์ตการลงทุนและขายทำกำไรออกมาบ้าง เนื่องจากได้กำไรจากตลาดหุ้นไทยมาค่อนข้างมาก รวมทั้งประเด็นการจัดเก็บภาษี 15% จากกำไรและดอกเบี้ยในพันธบัตร แต่สัญญาณในตลาดฟิวเจอร์สยังไม่มีการขายทำกำไรที่หนัก ๆ ขณะที่สภาพคล่องในประเทศยังเหลืออยู่มาก เช่น เงินออม, เม็ดเงินในพันธบัตร ฯลฯ ทำให้ตลาดหุ้นไทยจึงมีเสถียรภาพและดัชนีสามารถยืนอยู่ระดับ 1,000 จุดได้ โดยค่าพี/อีอยู่ที่ประมาณ 14 เท่า

ขณะที่การออกมาตรการการเสริมสภาพคล่องของสหรัฐ(QE) นั้น ประเด็นหลังจากนี้ที่ควรติดตามคือปฏิกิริยาของธนาคารกลางของประเทศอังกฤษ, ญี่ปุ่น, ยุโรป ฯลฯ จะมีการออกนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายออกมาเพื่อตอบโต้อีกหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ตลาดผันผวน และอาจมีการปรับฐานเพื่อขึ้นต่อได้ แต่ดัชนีคงไม่ลงต่ำกว่า 980 จุด
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-11-04
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

qe

โพสต์ที่ 10

โพสต์

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 15:31:51 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ปท.ตลาดเกิดใหม่สวดยับนโยบายเฟด หวั่นซ้ำเติมค่าเงิน

บรรดาผู้กำหนดนโยบายในประเทศตลาดเกิดใหม่พากันวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมะกันของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดอย่างหนัก ด้วยวิตกว่าจะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์เงินทุนไหลเข้าให้เลวร้ายลงอีก

นิวยอร์ก ไทม์สรายงานว่า ทางการบราซิลและไทยขู่จะออกมาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อรับมือภาวะเงินทุนไหลบ่าซึ่งจะส่งผลให้สกุลเงินของตนแข็งค่าขึ้นและอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ได้

ปฏิกิริยาแง่ลบที่แข็งกร้าวกว่าปรกติต่อการตัดสินใจของเฟดครั้งนี้ยิ่งเน้นถึงความขัดแย้งเรื่องนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสมในหมู่ชาติมหาอำนาจ และคาดว่าจะกลายเป็นประเด็นหลักในการประชุมจี20 ที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้า ณ กรุงโซล

เวลเบอร์ บาร์แรล รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศของบราซิลกล่าวว่า "นโยบายของเฟดรังแต่จะทำให้ประเทศแวดล้อมสหรัฐยากจนสิ่งขึ้นและลงเอยด้วยการหามาตรการมาตอบโต้" ด้านกระทรวงการคลังของแดนกิมจิก็ออกมาประกาศว่าจะหาทางจำกัดกระแสเงินทุนไหลเข้า

ทั้งนี้ ธนาคารดีบีเอสในสิงคโปร์ประเมินว่า ปริมาณเงินทุนที่ท่วมท้นเข้ามาในตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตรและตลาดอสังหาริมทรัพย์ของชาติตลาดเกิดใหม่นั้นมีมากถึง 2 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน

ส่วนไทยนั้น กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีคลังกล่าวว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้นัดประชุมกับธนาคารกลางประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้มาตรการรับมือร่วมกันถ้าจำเป็น เพื่อสกัดเงินที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคเพื่อเก็งกำไร

นักวิเคราะห์และผู้กำหนดนโยบายต่างเกรงว่าการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่เศรษฐกิจสหรัฐโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 600 พันล้านดอลลาร์ของเฟดนั้น ยิ่งกระตุ้นให้นักลงทุนขนเงินเข้ามาในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูง

ริชาร์ด เยตเส็งและพลาโบ โกลด์เบิร์ก นักวิเคราะห์จากเอชเอสบีซีให้ความเห็นว่า "สำหรับตลาดเกิดใหม่แล้ว นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง  (Quantitative easing : QE2) ของเฟดนั้น เป็นสิ่งรับประกันว่าการเติบโตจะตกต่ำยาวนานกว่าที่คาดในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า และการไหลเข้าของเงินทุนจะดำเนินต่อไปถ้าไม่มากขึ้น การไหลบ่าที่เกิดจากสภาพคล่องส่วนเกินในต่างประเทศนั้นมีมหาศาลเกินกว่าที่ประเทศตลาดเกิดใหม่จะสามารถสร้างกำแพงต้านทานได้"

ด้านคริสตีน ลาการ์ด รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของผรั่งเศสกล่าวว่า ปฏิกริยารุนแรงที่บรรดาตลาดเกิดใหม่มีต่อการใช้นโยบาย QE2 ของเฟดชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องมีการบูรณาการระบบการเงินโลกเสียใหม่
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
Broadway Capital
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 625
ผู้ติดตาม: 15

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 11

โพสต์

รบกวนถามผู้รู้ครับ

ไม่ว่าประเทศไหนก้อทำ QE ได้ใช่ไหมครับ Criteria ก่อนทำ QE คืออะไรครับ

แล้วเคยมีเคสที่ QE ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจคลี่คลายบ้างหรือยังครับ
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

qe

โพสต์ที่ 12

โพสต์

QE2 กดดันบรรยากาศการประชุม G-20

ผู้บริหารฝ่ายกำหนดนโยบายของประเทศกลุ่ม G-20 ประชุมร่วมกันที่กรุงโซลในเมื่อวานนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาค หลังจากที่สหรัฐประกาศใช้มาตรการ QE2 ผ่านการอัดฉีดเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ ได้จุดกระแสความกังวลต่อสงครามค่าเงิน-การค้า

เพราะมาตรการ QE2 นั้น นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่าเป็นเหมือน "เฮลิคอปเตอร์ที่โปรยเงินดอลลาร์" และคาดกันว่าจะช่วยให้สหรัฐคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าโลก

นายจู กวงเหยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของจีนกล่าวว่า จีนรู้สึกกังวลและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการ QE2 ของสหรัฐ และจีนจะหารือเรื่องนี้กับสหรัฐอย่างตรงไปตรงมาในที่ประชุมสุดยอด G-20

ไรเนอร์ บรูเอเดอร์ รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีกล่าวว่า "กังวลใจกับมาตรการ QE2 เพราะปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นมากเกินไปถือเป็นการปั่นค่าเงินดอลลาร์ทางอ้อม

นายวูล์ฟกัง ชูเบิล รมว.คลังเยอรมนีกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไปกันไม่ได้เลยเมื่อสหรัฐกล่าวหาจีนว่าปั่นค่าเงินหยวน และหลังจากนั้นสหรัฐก็ฉุดค่าเงินดอลลาร์ด้วยการพิมพ์เงินเพิ่ม ชูเบิลเชื่อว่า สหรัฐมีแต่เสียกับเสีย และเตือนว่า QE2 จะสร้างปัญหาให้กับทั่วโลกในระยะยาว"

ส่วนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้ออกมาแสดงความวิตกกังวลว่า กระแสเงินสดของนักลงทุนที่มีปริมาณมากจนไม่สามารถควบคุมได้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศ

ดมิทรี แพนคิน รมช.คลังรัสเซียกล่าวว่า QE2 เป็นสิ่งที่อันตรายอาจนำไปสู่ฟองสบู่ด้านการเงินและทำให้อัตราแลกเปลี่ยนไม่สมดุล ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับเงินเยนของญี่ปุ่น

นายพราวิน กอร์ฮาน รมว.คลังแอฟริกาใต้กล่าวว่า การตัดสินใจใช้มาตรการ QE2 ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของที่ประชุมรมว.คลังและผู้ว่าการธ.กลางกลุ่ม G20 ที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

แม้เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดอ้างว่า "มาตรการ QE2" จะช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาและสร้างงานในสหรัฐ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ข่าว

โพสต์ที่ 13

โพสต์

คาดเฟดเริ่มอัดฉีด QE2 ล็อตแรก 1 แสนล้านดอลลาร์พรุ่งนี้

Posted on Thursday, November 11, 2010
นาย จอห์น บริกส์ นักกลยุทธ์ตลาดพันธบัตร รอยัลแบงก์ออฟสก็อตแลนด์ บอกว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เตรียมซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 105,000 ล้านดอลลาร์ ตามนโยบายผ่อนปรนเชิงปริมาณ (QE2) วงเงิน 600,000 ล้านดอลลาร์ โดยเฟดจะเปิดประมูลซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 12 พ.ย. - 9 ธ.ค. 53 โดยตารางการซื้อคืนพันธบัตรที่ประกาศออกทำให้ทราบว่า เฟดจะคอยเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบทุกๆ วัน

นายเบ็น โรดส์ที่ รองที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ บอกว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาเตรียมพบหารือกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีน ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำจี 20 ในช่วงบ่ายวันนี้ โดยคาดว่าจะมีการหารือถึงประเด็นอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวน และการสร้างความสมดุลของการค้าโลก ซึ่งการพบกันดังกล่าวนับเป็นครั้งที่ 7 ที่ผู้นำทั้งสองหารือกัน นับแต่ประธานาธิบดีโอบามาดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ข่าว

โพสต์ที่ 14

โพสต์

G-20 พุ่งเป้าบรรเทาภาวะไร้สมดุล-สร้างเสถียรภาพในตลาดเงิน

ที่ประชุม G20 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ พุ่งเป้าไปที่ประเด็นเรื่องการแก้ปัญหาภาวะไร้สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นไปอย่างยั่งยืน และตลาดเงินตรามีเสถียรภาพ

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ประเทศสมาชิก G-20 มีแนวโน้มที่จะหารือในเรื่องความกังวลเกี่ยวกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงมากขึ้น รวมทั้งสภาพคล่องจำนวนมหาศาลที่ไหลบ่ามายังเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเพิ่มเติม

สำหรับญี่ปุ่นนั้น นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรี และนายโยชิฮิโกะ โนดะ รัฐมนตรีคลังจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ขณะที่ผู้นำประเทศต่างๆคาดว่า จะได้หารือถึงแนวทางการกำกับดูแลที่มีความเข้มงวดในภาคธุรกิจการเงินมากขึ้น ตลอดจนการปฏิรูปกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และประเด็นด้านการพัฒนา

ที่ประชุม G-20 คาดว่า จะได้ตกลงกันในเรื่องนโยบายเพื่อสร้างสมดุลในกลุ่มประเทศผู้ส่งออก เช่น จีน ในเรื่องของยอดเกินดึลการค้า และประเทศที่ผู้บริโภคต้องรับภาระหนี้ ซึ่งรวมถึงสหรัฐ

นโยบายดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับขบวนการการประเมินร่วมกันกับไอเอ็มเอฟ ในฐานะคนกลาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า นโยบายภายในประเทศของประเทศสมาชิกจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเสถียรภาพทางการเงิน แต่หลายประเทศก็อาจจะมองว่า การกำหนดเป้าหมายที่เป็นตัวเลขแน่นอนเพื่อควบคุมยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและยอดขาดดุลอาจจะทำได้ยาก

จีนและบางประเทศไม่สนใจข้อเสนอของสหรัฐที่เสนอให้มีการกำหนดให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและยอดขาดดุลอยู่ที่ระดับ 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภายในปี 2558

กุย เทียนไก รัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่า เราเชื่อว่าการหารือเรื่องเป้าหมายของภาวะไร้สมดุลในปัจจุบันนั้นจะทำให้เราไม่ได้พิจารณาภาพรวม หากเราดูที่เศรษฐกิจโลก เราก็อาจจะได้เห็นว่ามีอีกหลายประเด็นที่ควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน


ธนาคารโลกชี้ตลาดตื่นตระหนกกับกระแสเงินร้อนมากเกินไป

นายโรเบิร์ต ซอลลิก ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า ความกลัวต่อมาตรการ QE2 ของสหรัฐฯ ที่จะทำให้เกิดกระแสเงินจำนวนมหาศาลหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่เป็นความกังวลที่มากจนเกินไป

ประธานธนาคารโลกกล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กในสิงคโปร์เมื่อวานนี้ว่า บางความกังวลก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มากเกินไป

ซอลลิกเปรียบเทียบให้เห็นว่า ถึงแม้จะไม่มีการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE แต่ถ้าอัตราการขยายตัวในแต่ละภูมิภาคยังมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คุณก็จะได้เห็นเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่อยู่ดี

ทั้งนี้สัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมูลค่า 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯให้ฟื้นตัวขึ้น

อย่างไรก็ดีผู้กำหนดนโยบายในเอเชียและแอฟริกาได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์มาตรการดังกล่าวกันอย่างมากเพราะเกรงว่าจะมีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่เอเชีย

ซอลลิก กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบขณะนี้ คือ การที่จีนได้ตรึงค่าเงินหยวนของตัวเองเอาไว้ มันจึงเป็นการยากสำหรับประเทศอื่นๆ หากจีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางดังกล่าว

ณ ขณะนี้ ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนถูกถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และโลกกำลังมุ่งหน้าสู่ระบบใหม่ ที่คุณซอลลิกเรียกว่า ระบบ Bretton Woods III ระบบที่ ดอลลาร์ ยูโร เยน ปอนด์ และ หยวนจะมีบทบาทสำคัญ โดยเงินหยวนจำเป็นต้องปรับให้มีความเป็นสากลมากกว่าที่เป็นอยู่

นอกจากนี้ บทบาทของผู้กำหนดนโยบายและแบงก์ชาติ นั้น ก็ควระจะมีทิศทางที่สอดคล้องกันในการดำเนินบทบาทที่เหมาะสม โดยที่ IMF จะก้าวเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อดูการดำเนินการของผู้กำหนดนโยบายและแบงก์ชาติเหล่านี้


จีนหั่นเครดิตสหรัฐ หลังเฟดใช้มาตรการ QE2

ต้ากง โกลบอล เครดิต เรทติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของจีน ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินดอลลาร์และสกุลเงินต่างประเทศของสหรัฐลง 1 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A+ จากเดิมที่ระดับ AA โดยให้แนวโน้มเป็นลบ หลังจากสหรัฐประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบสอง หรือ QE2

ต้ากงระบุว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ลดน้อยลงของสหรัฐ นอกจากนี้ ภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐอาจนำไปสู่ภาวะถดถอยในระยะยาว และจะยิ่งทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดน้อยลงไปอีก

รายงานของต้ากงกล่าวว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจใช้มาตรการ QE2 จะยิ่งฉุดรั้งสกุลเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงอีก และจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้

ต้ากงกล่าวเตือนในรายงานว่า "วิกฤตสินเชื่อในสหรัฐขยายวงกว้างจนยากที่จะควบคุม และเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะยาว นอกจากนี้ ความอ่อนแอของสกุลเงินดอลลาร์จะยิ่งทำให้ความสามารถในการดึงดูดเงินทุนของสหรัฐลดน้อยลงไปด้วย"

ต้ากงกล่าวว่า มาตรการ QE2 ของเฟดไม่ได้ช่วยให้ยอดขาดดุลการคลังของรัฐบาลให้ปรับตัวลงได้ และไม่ได้ช่วยลดภาระการชำระคืนหนี้ในระยะยาวด้วย แต่กลับจะทำให้มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ลดน้อยลง

นอกจากนี้ ต้ากงระบุว่า วิกฤตการณ์การเงินทั่วโลกที่เป็นผลมาจากความอ่อนแอของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะยิ่งทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐตกอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอนมากขึ้น และอาจทำให้สหรัฐเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 15

โพสต์

เฟดสาขาริชมอนด์ชี้ QE2 เพิ่มความเสี่ยงให้กับสหรัฐฯ

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบต่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ

นายเจฟฟรีย์ แล็กเกอร์ ผู้ว่าการเฟดสาขา ริชมอนด์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า โดยส่วนตัวเค้าไม่เห็นด้วยกับนโยบายผ่อนปรนเชิงปริมาณผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระยะยาว หรือ มาตรการ QE2 ของสหรัฐฯ มูลค่า 6 แสนล้าน ที่เพิ่งประกาศใช้ไปในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เพราะเจฟฟรีย์ มองว่าเป็นนโยบายที่สร้างความเสี่ยงให้กับตลาดการเงินและไม่มีประสิทธิภาพ

เจฟฟรีย์ แล็กเกอร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า การตัดสินใจต่างๆ ได้ถูกตัดสินใจไปแล้ว แต่ตัวเข้าเป็นหนึ่งคนที่มองว่าการตัดสินใจใช้มาตรการดังกล่าวมีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ โดยผู้ว่าการเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวว่า นโยบายการเงินนั้นสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น

นอกจากนี้ เจฟฟรีย์ แล็กเกอร์ ยังได้กล่าวอีกว่า การที่ผู้นำจากหลากหลายประเทศออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรการ QE2 ของเฟด และกล่าวหาว่าสหรัฐฯ จงใจที่จะใช้นโยบายดังกล่าวในการกดค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนเพื่อสนับสนุนการส่งออก ถือว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่ยุติธรรมต่อสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี ผู้ว่าเฟดสาขาริชมอนด์ท่านนี้ยังไดบอกอีกว่า เฟดได้มีเครื่องมือที่จำเป็นในการถอนสภาพคล่องออกจากระบบเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ขณะที่ อาวัง อาเดค ฮัสซิน รมช.กระทรวงคลังมาเลเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลมาเลเซียจะจับตาดูผลกระทบของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง หรือ QE2 ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศใช้เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมกับแนะนำว่า ทุกฝ่ายไม่ควรที่จะตื่นเต้นกับมาตรการ QE มากจนเกินไป

อาวัง อาเดค กล่าวว่า มาตรการ QE2 อาจจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าไปยังประเทศอื่นๆ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดทุน และตลาดการนำเข้าและส่งออก

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่มาเลเซียจะส่งผลให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพหรือไม่ นายอาวัง อาเดคกล่าวว่า เศรษฐกิจมาเลเซียมีเสถียรภาพแข็งแกร่งพอที่จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 16

โพสต์

คาด QE2 อาจฉุดดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าสุดในปี 2554

Posted on Thursday, November 18, 2010
นายโทห์รุ ซาซากิ หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของเจพีมอร์แกนเชสแอนด์โค บอกว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่าลงมากที่สุดในโลกในปีหน้า โดยเจพีมอร์แกนคาดว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงแตะระดับ 75 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ FED จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำต่อไป เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ คาดว่า FED จะมีมาตรการเพิ่มเติม แม้จะได้ออกมาตรการซื้อคืนพันธบัตรวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐแล้วก็ตามเพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราเงินฝืด และกระตุ้นการจ้างงานภายในประเทศ

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"เฟด" คาดเศรษฐกิจมะกันยังอ่อนแรงอีกหลายปี

ซีเอ็นเอ็น มันนี่ รายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้า พร้อมระบุว่าอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐจะกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง

บันทึกการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ระบุว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางมากกว่าครึ่งหนึ่งมองว่าน่าจะใช้เวลาอีก 5-6 ปี กว่าที่จะทำให้ภาวะการว่างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ กลับสู่ระดับปกติ ขณะที่สมาชิกบางส่วนมองว่าอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่านั้นกว่าที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเต็มที่

มุมมองว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอลงอีกเป็นเหตุผลหนักที่ทำให้เฟดตัดสินใจประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่ออัดฉีดเงินซื้อพันธบัตรระยะยาวเพิ่มอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางในหลายประเทศ

ล่าสุดเฟดประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะโตระหว่าง 2.4-2.5% ในปีนี้ จากที่เคยประเมินก่อนหน้านี้ว่าจะโตระหว่าง 3.0-3.5%

ด้านกระทรวงพาณิชย์เผยว่า เศรษฐกิจมะกันเติบโต 2.5% ในไตรมาส 3 เพิ่มจาก 1.7% ในไตรมาส 2 แต่ยังต่ำกว่าระดับ 3.7% ในไตรมาสแรกของปีนี้

เฟดยังหั่นประมาณการเศรษฐกิจในปี 2554 ว่าน่าจะเติบโตระหว่าง 3.0-3.6% จากเดิมที่เคยประเมินไว้ที่ระดับ 3.5-4.2%

ส่วนอัตราว่างงานในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 9.5-9.7% พร้อมกับปรับคาดการณ์อัตราว่างงานในปีหน้าว่าน่าจะลดลงอยู่ที่ 8.9-9.1% จากที่เคยตั้งไว้ที่ 8.3-8.7% และจะลดลงอยู่ที่ 6.9-7.4% ในปี 2556

เฟดยังคงมองว่าภาวะเงินเฟ้อจะไม่เป็นปัญหา เพราะแม้ราคาสินค้าจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่น่าจะยังต่ำกว่า 2% ไปจนถึงปี 2555
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 18

โพสต์

FED:เฟดเผยพร้อมปรับโครงการ QE2 หากจำเป็นตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ
วอชิงตัน--3 ธ.ค.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 2 รายกล่าวว่า โครงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 6.00 แสนล้านดอลลาร์ของเฟดต้องมีการทบทวนเป็นประจำ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าจำเป็น นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียกล่าวว่า เขายังไม่แน่ใจว่า โครงการซื้อพันธบัตรดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ แต่เฟดอาจจะต้องยุติการซื้อพันธบัตรทั้ง 6 แสนล้านดอลลาร์ ถ้าเศรษฐกิจขยายตัวสูงเกินคาด
ด้านนายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์มีความเห็นในแง่บวกมากกว่า โดยกล่าวว่าโครงการนี้มีประสิทธิภาพ และเขาไม่สนับสนุนให้กำหนดตัวเลขการซื้อพันธบัตรในวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ไว้ล่วงหน้า เขาระบุว่าตัวเลขดังกล่าวเป็น "การคาดการณ์ล่วงหน้า" ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนได้โดยอิงตามข้อมูลเศรษฐกิจ และเขาต้องการให้เฟดกำหนดขนาดของการซื้อพันธบัตรในการประชุมแต่ละครั้ง นายพลอสเซอร์กล่าวอีกว่า ถ้าการซื้อพันธบัตรไม่ได้ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตามที่หวังไว้ เฟดก็จะต้องทบทวนการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของโครงการ
"ถ้าเศรษฐกิจโตเร็วกว่าที่คาดไว้ ก็จะต้องมีการทบทวนโครงการและอาจจะลดโครงการลงก่อนที่จะซื้อพันธบัตรครบ 6 แสนล้านดอลลาร์"นายพลอสเซอร์กล่าว
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; กัลยาณี ชีวะพานิช เรียบเรียง)
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เฟดอาจซื้อพันธบัตรมากกว่าที่ประกาศไว้หากเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้อง
นายเบน เบอร์นันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เผยว่า เฟดอาจเข้าซื้อพันธบัตรมากกว่าที่ประกาศไว้ว่าจะซื้อ 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 18 ล้านล้านบาท) หากเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องหรืออัตราว่างงานยังคงสูงอยู่

นายเบอร์นันกี้ ให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 มินิทส์ ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสว่า มาตรการของเฟดเป็นไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างที่ถูกวิจารณ์ เฟดพยายามลดอัตราดอกเบี้ยด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรหวังว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น เขาคาดว่าต้องใช้เวลา 4-5 ปี กว่าอัตราว่างงานที่สูงถึงร้อยละ 9.8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน จะลดลงถึงระดับปกติกว่านี้ คือราวร้อยละ 5-6
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 3&catid=00
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 20

โพสต์

UN แนะเอเชียกำหนดนโยบายคุมกระแสเงินทุน

เอเชียควรร่วมกันหามาตรการควบคุมเงินทุน เนื่องจากการที่เอเชียเป็นทวีปที่มีการขยายตัวเร็วที่สุดในโลกนั้นได้ดึงดูดให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามามากขึ้น จนอาจส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่ด้านสินทรัพย์ และกระตุ้นแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ กล่าวในรายงานที่เปิดเผยว่า "มาตรการดังกล่าวควรมีการนำไปใช้ในระดับภูมิภาค เนื่องจากไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถดำเนินมาตรการดังกล่าวได้เพียงลำพังโดยไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ผลกระทบจากการหลั่งไหลของกระแสเงินทุนต่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในทันทีกับหลายประเทศในเอเชีย คือ การแข็งค่าของสกุลเงิน"

สกุลเงินสำคัญของเอเชียต่างปรับตัวแข็งค่าขึ้นในปีนี้ทุกสกุลเงิน ยกเว้นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ผูกติดกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นให้หลายประเทศในเอเชีย รวมถึงไทยและอินโดนีเซีย ต้องเร่งควบคุมการหลั่งไหลของเงินทุน เนื่องจากสกุลเงินที่แข็งค่าอาจสร้างความเสียหายต่อภาคการส่งออกของเอเชีย เนื่องจาก กระแสเงินทุนไหลเข้าเหล่านี้จะเปิดช่องให้เกิดการเก็งกำไร

ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียระบุว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีนควรหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนในระดับภูมิภาค เพื่อควบคุมกระแสเงินทุนไหลเข้าอย่างมีประสิทธิภาพและปรับสมดุลด้านปัจจัยที่หนุนการขยายตัวให้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซียจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 7% ในปี 2554 จากที่คาดการณ์ไว้ 8.3% ในปีนี้ เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแรงในยุโรปและเอเชียส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ด้านการส่งออก

รายงานของยูเอ็นระบุว่า "เพื่อเป็นการชดเชยในสิ่งที่อาจสูญเสียไป เราจำเป็นต้องเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคเพื่อกำหนดมาตรการนี้ขึ้น เพื่อให้ภาคการส่งออกได้ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีอุปสงค์ขยายตัวแข็งแกร่ง"

ติดตาม Money Wake up ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ออกอากาศซ้ำเวลา 11.00 น. ทาง Money Channel

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 21

โพสต์

มองโลกในรอบปี 2010 : เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวไม่เสถียร

สหรัฐประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก ก้าวเข้าสู่ปี 2553 ด้วยการฟื้นตัวต่อเนื่องจากเมื่อช่วงครึ่งหลังของปี 2552 และเมื่อถึงไตรมาสที่สามของปีนี้การขยายตัวของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ก็เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ห้าติดต่อกัน โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่าในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองจีดีพีเพิ่มขึ้น 3.7% และ 1.7% ส่วนในไตรมาสที่สามนั้นสามารถขยายตัวได้ 2.5%

นอกจากนี้หากดูที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆจะเห็นได้ว่าสัญญาณของการฟื้นตัวเริ่มเด่นชัดมากขึ้น ประการแรกคือการบริโภคของภาคเอกชนที่คิดเป็น 70% ของจีดีพี กำลังกลับมาเป็นตัวนำการฟื้นตัวเศรษฐกิจในปี 2553 เปลี่ยนจากปี 2552 ที่การฟื้นตัวเป็นผลมาจากการซื้อสินค้าคงคลังของภาคธุรกิจ ในด้านมูลค่าการค้าปีนี้สหรัฐมีการนำเข้า 1.73 แสนล้านดอลลาร์ และส่งออก 1.35 แสนล้านดอลลาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 18% พร้อมๆกับแผนของประธานาธิบดีบารัค โอบามาที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มการส่งออกเป็นสองเท่าภายใน 5 ปี

ส่วนในตลาดหุ้น เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คสามารถกลับไปอยู่ในระดับก่อนที่จะเกิดวิกฤติขึ้น ในขณะเดียวกับที่เจเนอรัล มอเตอรส์ที่ต้องขอให้รัฐบาลอุ้มไว้เมื่อปี 2552 ก็สามารถกลับไปเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นได้อีกครั้ง เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐกำลังฟื้นตัว

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะส่งสัญญาณการฟื้นตัว แต่กลับเป็นการฟื้นตัวที่อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆในประเทศได้ โดยเฉพาะอัตราการว่างงานที่ธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) คาดว่าในปีนี้จะอยู่ที่ 9.5 – 9.7% จนหลายคนเรียกว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลัง “ฟื้นตัวแบบว่างงาน” (Jobless recovery) และเฟดก็ประเมินเอาไว้ว่าหากจะแก้ปัญหาการว่างงานให้ลดลงได้ การขยายตัวของจีดีพีต้องไม่ต่ำกว่า 3.5% แต่จากการคาดการณ์ของหลายๆฝ่ายก็คาดกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐคงโตไม่ถึงระดับนั้น อย่างเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่คาดว่าปีนี้จีดีพีสหรัฐคงขยายได้ 2.6%

ส่วนในตลาดบ้านและที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการเงินครั้งนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาวะที่ซบเซา โดยยอดขายบ้านมือสองในเดือนตุลาคมลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.2% และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 25.9% เช่นเดียวกับเฟรดดี้ แมคและแฟนนี่ เม สองยักษ์ใหญ่ด้านสินเชื่อบ้านที่ยังคงต้องขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลต่อไป ขณะที่บริษัทวิจัยด้านที่อยู่อาศัยชั้นนำของประเทศ Realtrack.com ก็คาดว่าปี 2553 จะมีการฟ้องคดียึดบ้านถึง 2.5 ล้านคดี

นอกจากนั้นจากการรายงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะยังพบว่าระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐนั้นอยู่ที่ระดับอัตราส่วน 84% ของจีดีพี โดยมีหนี้รวมทั้งสิ้น 12.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนายพอล ไรอัน คณะกรรมาธิการด้านงบประมาณจากรีพับลิกันได้กล่าวไว้ว่า “ปัญหาหนี้และเศรษฐกิจของเรามีการสะสมมานานกว่าทศวรรษ วิกฤติที่เกิดขึ้นก็ทำให้ช่วงสองปีที่ผ่านมาทุกอย่างเลวร้ายลงไปอีก และมันคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการดึงเอาเรา (สหรัฐ) พ้นออกมาจากหลุม”

สำหรับปี 2554 ไอเอมเอฟคาดเอาไว้ว่าสหรัฐน่าจะขยายตัวได้ 2.3% ขณะที่เฟดคาดไว้ที่ระดับ 3.0 – 3.6% ซึ่งจากสภาพปัจจัยต่างๆ ทำให้นายธิโมที ไกท์เนอร์ออกมากล่าวว่าความเสี่ยงอันดับแรกของสหรัฐคือ “การขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยังเร็วไม่เพียงพอ” โดยเป้าหมายในปี 2554 สหรัฐจะต้องเน้นไปที่การสร้างงานและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ

โดยประธานาธิบดีโอบามาได้ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะพยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลงต่างๆให้เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องการปฏิรูประบบภาษี การเน้นความสำคัญของการค้าเสรีและผลักดันเรื่องการค้ารอบโดฮา ในด้านพลังงานก็หันมาให้การสนับสนุนรถยนต์พลังไฟฟ้าให้มากขึ้น การบังคับใช้กฎหมายควบคุมสถาบันการเงิน การปฏิรูปแฟรดดี้แมค แฟนนี่เม เป็นต้น

ส่วนปัจจัยเสี่ยงในปี 2554 สามปัจจัยที่นักวิเคราะห์ประเมินเอาไว้ว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจคือ
1.เรื่องการออกบทบัญญัติควบคุมสถาบันการเงินและบทบัญญัติเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่ากฎหมายที่จะออกมานั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการลงทุนได้

2.มาตรการของเฟดที่อาจมีการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing) อีกครั้งถ้าหากเฟดเห็นว่าการเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ที่ประกาศไว้เมื่อเดือนพฟศจิกายนยังทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เพียงพอ และ
3.ผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านซึ่งทำให้ไม่มีฝ่ายใดในรัฐสภามีเสียงข้างมากและจะทำให้การบริหารงานและออกนโยบายของรัฐยากลำบากขึ้นไปอีก
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 22

โพสต์

IMF ยันหาแนวทางควบคุมกระแสเงินทุนไหลเข้า

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารของ IMF ได้เห็นตรงกันถึงเรื่องความจำเป็นในการเสริมสร้างบทบาทของ IMF ในเรื่องการควบคุมกระแสเงินทุนไหลเข้าระหว่างประเทศให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ

ผู้บริหารของ IMF ยังได้เรียกร้องให้มีการร่วมงานกันมากขึ้น เพื่อยกระดับเรื่องการกำกับดูแลในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งการให้คำแนะนำด้านนโยบายให้กับประเทศสมาชิก รวมทั้งพิจารณาเรื่องสถานการณ์แวดล้อมของบางประเทศ

การตัดสินใจของ IMF เกิดขึ้น ท่ามกลาง (1) ความผันผวนของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตการเงินในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับ (2) การประชุมสุดยอด G-20 ที่กรุงโซล เมื่อเดือนพ.ย. 2553 นั้น กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดแนวทางในการควบคุมความผันผวนของกระแสเงินทุน พร้อมกับยืนยันว่า (3) การใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐทำให้เม็ดเงินทุนส่วนเกินทะลักเข้ามาในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 23

โพสต์

รองประธานเฟด ชี้ QE 1 และ 2 จะสร้างงานได้ 3 ล้านคนในปี 2555

นางเจเน็ท เยลเลน รองประธานเฟด กล่าวว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงการเงินรอบที่ 1 และ 2 ซึ่งมีเม็ดเงินรวมกันประมาณ 2.3 ล้านดอลลาร์ ที่เฟดประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมานั้นจะช่วยสร้างงานให้คนอเมริกัน 3 ล้านตำแหน่งในปี 2555

ทั้งนี้ นางเจนเน็ทยังกล่าวอีกว่า QE2 ที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ย้อนกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง ซึ่งรองประธานเฟดก็ยังมั่นใจว่าจะช่วยกระตุ้นการจ้างงานและช่วยสร้างเสถียรภาพทางราคาด้วย

โดยการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวเปรียบเสมือนการตอบโต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์ ของนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศจีน เยอรมัน และ บราซิล รวมทั้งสมาชิกพรรครีพับรีกันบางคน ที่ออกมาพูดว่าการใช้มาตรการ QE2 นั้น ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และ อาจจะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์

แต่รองประธานเฟดได้กล่าวเสริมว่าการอัดฉีดสภาพคล่องนั้นจะไม่สงผลกระทบต่อขยายตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ แต่อาจจะส่งผลต่อเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์บ้างในระดับปานกลาง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หนี้สาธารณะมะกันใกล้ชนเพดาน ทะลุ 14 ล้านล้าน

หนี้สาธารณะของสหรัฐพุ่งแตะระดับ 14 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ซีเอ็นเอ็นมันนี่รายงานว่า จากแถลงการณ์รายวันของกระทรวงการคลังมะกันระบุว่าหนี้สินของประเทศอยู่ที่ 14.001 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นสุดการซื้อขายเมื่อวันพุธ (19 ม.ค.) ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลกลางจะก่อหนี้ได้อีกไม่ถึง 3 ร้อยล้านดอลลาร์ ก่อนที่จะทะลุเพดานเงินกู้ตามกฎหมายที่ 14.294 ล้านล้านดอลลาร์

ทิมโมธี ไกธ์เนอร์ เจ้ากระทรวงการคลังกล่าวต่อสภาครองเกรสเมื่อช่วงต้นเดือนว่า หนี้สาธารณะจะชนเพดานภายใน 31 มีนาคม- 16 พฤษภาคมนี้ และกระตุ้นให้สมาชิกสภาแก้ไขเพดานเงินกู้ให้สูงขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเกิดหายนะต่อทั้งเศรษฐกิจและคนอเมริกันทั้งประเทศ

โดยหากหนี้ชนเพดานก่อนที่ทางสภาจะปรับให้สูงขึ้น กระทรวงการคลังจะกู้ยืมเพิ่มอีกไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลหรือให้เงินสนับสนุนโครงการต่างๆ อีกทั้งรายได้จากภาษีอากรก็ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมรายจ่ายทั้งหมดของรัฐบาล
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
โพสต์โพสต์