ปัญหาการค้าและค่าเงินระหว่างจีนและสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

ปัญหาการค้าและค่าเงินระหว่างจีนและสหรัฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

settrade web blog ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

Tuesday, 12 October 2010
US Currency Bill
? ปัญหาการค้าและค่าเงินระหว่างจีนและสหรัฐ | Main
US Currency Bill

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฏร์ของสหรัฐได้ผ่านร่างกฏหมายฉบับใหม่ เกี่ยวกับ การตอบโต้ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในกรณีของประเทศที่เข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของตนเองเพื่อให้ต่ำ กว่าปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยผู้ส่งออกของตนให้ได้เปรียบในการแข่งขันในการส่งออกสินค้าไปตีตลาด อื่นๆ (ตรงนี้หลายคนคงจะนึกถึงกรณีของจีน และการแทรกแซงค่าเงินหยวนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา)

ซึ่งร่างกฏหมายดังกล่าวได้เข้าสู่การลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนสหรัฐในวันพุธนี้ และได้ผ่านด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 348-79 จากทั้งสองพรรค นับเป็นครั้งแรกที่รัฐสภาสหรัฐออกร่างกฏหมายในลักษณะนี้ เพื่อจัดการกับประเทศที่ตนคิดว่า แข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม วันนี้จึงอยากจะมาเล่าและวิเคราะห์ให้ฟังถึงรายละเอียดของกฏหมาย และนัยต่อเอเชีย

ทำไมถึงต้องทำ ทำไมต้องมีกฏหมายฉบับนี้

ปัญหาสำคัญที่นำมาถึงจุดนี้มีอยู่ 2 ด้าน เศรษฐกิจ และ การเมือง

สำหรับด้านเศรษฐกิจ

มาจากปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐ โดยเฉพาะกับจีนที่ไม่ยอมปรับตัวดีขึ้นสักที โดยในปีนี้จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐถึง 1.45 แสนล้านดอลลาร์ในช่วง 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นจากเกินดุล 1.23 แสนล้านดอลลาร์ ช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

ปัญหาการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงความรู้สึกของคนอเมริกาว่ากำลังถูกซ้ำเติมจากสินค้าราคาถูกจากจีนเข้า มาตีตลาด โดยใช้ประโยชน์จากค่าเงินหยวน ทำให้บริษัทในสหรัฐที่สู้สินค้าราคาถูกเหล่านี้ไม่ได้ ต้องปิดกิจการลงไป ส่งผลกระทบต่อปัญหาการว่างงานที่แย่อยู่แล้ว ให้แย่ต่อไป

ส่วนด้านการเมือง

ความอดทนของคนสหรัฐที่กำลังจะหมดไป ความจริงสหรัฐได้พยายามกดดันจีนมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จนทำให้จีนมีการประกาศปล่อยให้ค่าเงินหยวนลอยตัวมากขึ้นจากเดิมในช่วงเดือน มิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้สหรัฐพอจะมีหวังมากขึ้น แต่ท้ายสุดเงินหยวนก็แข็งค่าขึ้นเพียง 2% เท่านั้น เรียกว่าน้อยกว่าที่คาดไว้มาก

ยิ่งเมื่อสหรัฐจะมีการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งสำคัญใน 2 เดือนข้างหน้า ที่จะกำหนดอนาคตของพรรค Democrat และ Republican ปัญหาจึงเริ่มสุกงอม และไม่น่าแปลกใจว่าผู้แทนราษฏร์ของสหรัฐจำนวนมากสนใจให้การสนับสนุนร่าง กฏหมายนี้กันอย่างท่วมท้น 348-79 จากทั้งสองพรรค

จึงนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ ที่กฏหมายอนุญาตให้ใช้เหตุผลจากการตรึงค่าเงินไว้อย่างไม่เป็นธรรมไปเป็น สาเหตุให้ทางการสหรัฐดำเนินการตอบโต้ทางการค้าได้ จากที่เดิมจะตอบโต้เฉพาะเมื่อมีมาตรการสนับสนุนเป็นราย sector เท่านั้น

จะวัดและตัดสินอย่างไรว่ามีการใช้ค่าเงินอ่อนเป็นเครื่องมือในการเอาเปรียบทางการค้า

เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าค่าเงินอ่อนกว่าที่ควรเป็นนั้นมีอยู่ 4 องค์ประกอบ

หนึ่ง - รัฐบาลของประเทศดังกล่าวมีการเข้าแทรกแซงการแข็งขึ้นของค่าเงิน ด้วยเงินจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

สอง - ค่าเงินที่แท้จริง อ่อนค่ากว่าความจริงอย่างน้อย 5% ระหว่าง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยวิธีการวัดหาระดับของค่าเงินที่แท้จริงนั้น ให้ใช้คู่มือของ IMF ในการคำนวณ

สาม - ประเทศนั้นๆ มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่มากอย่างต่อเนื่องในช่วง
18 เดือนที่ผ่านมา

สี่ มีเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่มากกว่าความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่นมากกว่าเงินที่ต้องจ่ายหนี้ต่างประเทศคืนใน 12 เดือนข้างหน้า มากกว่า 20 ของปริมาณเงินในระบบ และมากกว่ายอดสินค้านำเข้า 4 เดือน เป็นต้น

ซึ่งถ้าเงื่อนไขทั้ง 4 ด้านเป็นจริง ค่าเงินก็จะถูกจัดว่า fundamentally undervalued และสามารถนำไปเป็นเงื่อนไขในการฟ้องร้องได้ ซึ่งกรณีของจีนและค่าเงินหยวนก็ดูเหมือนกับว่ามีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อ

จะเกิดอะไรขึ้นในช่วงต่อไป

ก่อนจะออกมาเป็นกฏหมายที่มีผลบังคับใช้ ยังต้องมีอีก 2 ขั้นตอน (1) ต้องให้วุฒิสภาลงคะแนนเสียงในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งดูเหมือนว่าวุฒิสมาชิกน่าจะสนใจที่จะผลักดันร่างกฎหมายจะต้องรอให้การ เลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนจบและได้วุฒิสภาชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว จึงจะมีการนำร่างกฏหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณา แต่การที่สภาผู้แทนผ่านด้วยคะแนนที่มากเช่นนี้ ก็จะกดดันให้วุฒิสภาต้องผ่านร่างกฏหมายฉบับนี้ด้วย และ (2) ยังต้องให้ Obama เซ็นอนุมัติอีก

ซึ่งในประเด็นนี้ แม้ว่าดูทางรัฐบาลสหรัฐจะไม่ได้แสดงท่าทีอะไรเกี่ยวกับร่างกฏหมายฉบับนี้ ไม่รับ ไม่ค้าน เงียบ แต่ลึกๆ คงหวังให้ประเด็นนี้ช่วยเพิ่มแรงกดดันกับจีน ก่อนที่จะมีการประชุม G20 ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

หมายความว่า เพื่อไม่ให้เป็นประเด็น จีนอาจต้องปรับเรื่องความเร็วของการแข็งตัวของค่าเงินหยวน ที่สหรัฐคิดว่าอ่อนค่าเกินจริงอยู่ประมาณ 20-40%

เรื่องนี้จะมีนัยต่อค่าเงินในภูมิภาค เพราะถ้าเงินหยวนแข็งค่าเร็วขึ้น ค่าเงินในภูมิภาคก็คงต้องไปด้วย เพราะเงินหยวนได้เป็นสมอถ่วงให้ค่าเงินของเอเชียแข็งค่าได้ไม่ไกลนัก เพราะกลัวว่าจะแข่งกับจีนไม่ได้ แต่พอค่าเงินหยวนเริ่มแข็งค่าเร็วขึ้น ค่าเงินอื่นๆ ในเอเชียก็จะแข็งไปด้วยเช่นกันซ้ำเติมปัญหาค่าเงินแข็งที่มีอยู่ก่อนเดิม แล้ว

นักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์คิดอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้

สถาบันวิจัย Peterson ของสหรัฐออกมาประเมินว่า ถ้าสหรัฐกดดันสำเร็จ ก็อาจจะช่วยให้มีการจ้างงานเพิ่มในสหรัฐประมาณ 5 แสนคน เรียกว่าช่วยบ้าง แต่ยังไม่มากพอเทียบกับจำนวนคนว่างงานในสหรัฐที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

จีนเองก็ออกมาบอกตอบโต้ว่า ถ้าปล่อยให้ค่าเงินหยวนแข็งไปเร็ว ก็จะเสียหายมากต่อผู้ส่งออกในจีน ต้องระวังอย่างมาก

เรียกได้ว่าออกมาตัดรอนแต่ต้น นอกจากนี้ หลายคนยังตั้งคำถามว่าการไปกดดันจีนเช่นนี้ถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่ เพราะ

- จีนอาจจะมีการตอบโต้ทางการค้ากลับคืน
- ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญเช่นกันอีก เช่นการจัดการเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ข้อจำกัดในการลงทุนในจีน และมาตรการกีดกันต่างๆ อีกมาก ถ้าไปเน้นเรื่องค่าเงิน อาจจะไม่สำเร็จในประเด็นอื่นๆ เหล่านี้
- บางบริษัทที่ได้เข้าไปเจาะตลาดจีนเช่น Walmart CitiBank ก็กังวลว่าจะกระทบต่อการทำธุรกิจในจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
- นอกจากนี้ ยังต้องคิดถึงเรื่องผลกระทบต่อการถือพันธบัตรสหรัฐของจีน ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐ

คงต้องติดตามประเด็นนี้กันอย่างใกล้ชิดครับว่าจะเกิดอะไรต่อไป เพราะจะมีผลกระทบกับเราพอสมควร ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

หากท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ Settrade Blog หรือ Blog ดร กอบ ได้โดยตรงครับ หรือจะติดตามทาง http://twitter.com/Kobsak ครับ

:: ออกอากาศในรายการ Money Wake up ทาง ช่อง MONEY CHANNEL  (Monday, September 27, 2010 )
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
โพสต์โพสต์