Analysis:วิเคราะห์ธุรกิจ รุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Analysis:วิเคราะห์ธุรกิจ รุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ANALYSIS:วิเคราะห์ธุรกิจ รุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 89342.html
xBT> ANALYSIS:วิเคราะห์ธุรกิจรุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน
      ฮ่องกง--21 มิ.ย.--รอยเตอร์

      จีนส่งสัญญาณในวันเสาร์ที่ผ่านมาว่าจะปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้น  
ซึ่ง ส่งผลบวกต่อแนวโน้มของบริษัทกลุ่มอุปโภคบริโภค, สายการบิน และประกัน  
แต่ ส่งผลลบต่อกลุ่มผู้ส่งออกและผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ของจีน
      บริษัทจีนที่จะได้รับผลบวกในทันทีจากการปรับขึ้นค่าเงินหยวน คือบริษัท
ที่ ซื้อปัจจัยในการผลิตจำนวนมากจากต่างประเทศ เช่น สายการบิน
      ผู้ส่งออกของจีนมีแนวโน้มว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด  
โดย โพลล์รอยเตอร์ในเดือนเม.ย.คาดว่า การแข็งค่าราว 5 % ของหยวน/
ดอลลาร์จะ สร้างความสูญเสียต่อผู้ส่งออกจีน
      ต่อไปนี้เป็นรายชื่อกลุ่มธุรกิจซึ่งได้เปรียบและเสียเปรียบถ้าหากหยวน
แข็ง ค่าในอนาคต:-

      สายการบินจีน -- ได้เปรียบ
      สายการบินชั้นนำ 3 แห่งของจีนอาจได้รับประโยชน์มากที่สุด โดยสายการบิน  
3 แห่งนี้ได้แก่แอร์ ไชน่า, ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ และไชน่า เซาเธิร์น แอร์ไลน์  
ซึ่งกู้ยืมสกุลเงินต่างชาติเพื่อนำมาใช้ในการซื้อเครื่องบิน แต่มีรายได้อยู่ในรูปของหยวน  
โดยสายการบินต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการ ซื้อเชื้อเพลิงด้วย
      ดอยช์ แบงก์ประเมินว่า ถ้าหากหยวนแข็งค่าขึ้น 1 % กำไรสุทธิของแอร์  
ไชน่าก็อาจเพิ่มขึ้น 10.3 % ในปี 2010, ส่วนกำไรสุทธิของไชน่า อีสเทิร์นอาจ
เพิ่มขึ้น 15.0 % และของไชน่า เซาเธิร์นอาจทะยานขึ้น 20.6 %
     
      ผู้ผลิตรถยนต์ -- ได้เปรียบ
      บริษัทต่างชาติที่จำหน่ายรถยนต์ในจีนซึ่งถือเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุด
ใน โลกจะได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของหยวน โดยบริษัทกลุ่มนี้รวมถึง BMW  
ของ เยอรมนี, โฟลค์สวาเกนของเยอรมนี, เจเนอรัล มอเตอร์ (GM) ของสหรัฐ,  
เปอ โยต์ ซีตรองของฝรั่งเศส, กลุ่มพันธมิตรระหว่างเรโนลต์-นิสสัน และเฟียต
ของ อิตาลี
      BMW อาจเป็นบริษัทที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด ถ้าหากหยวนยังคงแข็งค่า
เทียบยูโร เนื่องจากบริษัทผลิตรถยนต์ที่เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่าง BMW  
กับ บริษัทบริลเลียนซ์ ไชน่านั้น นำเข้าส่วนประกอบรถราวครึ่งหนึ่งจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะจากเยอรมนี อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความแน่นอนว่าหยวนจะแข็งค่าเทียบ
ยูโรต่อไปหรือไม่
     
      บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค, เทคโนโลยี -- ได้เปรียบ
      การแข็งค่าของหยวนจะช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทสหรัฐ เช่น เจเนอรัล  
อิเล็ก ทริค (GE) และพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) เมื่อมีการแปลงผลกำไร
ใน จีนกลับมาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
      บริษัทเลอโนโวซึ่งเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) รายงานผลกำไร
ใน รูปของดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทแห่งนี้มียอดขาย 47 % ของปี 2009 มาจากจีน

      บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์หนักของต่างชาติ -- ได้เปรียบ
      บริษัทแคเทอร์พิลลาร์ อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ขุดดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก  
อาจได้รับประโยชน์ เป็นอย่างมาก โดยบริษัทสหรัฐแห่งนี้ขายอุปกรณ์ขุดดินและสินค้า
อื่นๆให้ แก่จีนเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี
      ประธานกลุ่มแคเทอร์พิลลาร์กล่าวในวันเสาร์ว่า ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้
ของ รัฐบาลจีนจะช่วยหนุนยอดส่งออกของสหรัฐ

      บริษัทสินค้าหรูหรา -- ได้เปรียบ
      ถ้าหากหยวนแข็งค่าขึ้น สกุลเงินอื่นๆในเอเชียก็จะไต่ขึ้นเช่นกัน เพราะ
นักลงทุนมองว่าการแข็ง ค่าของหยวนเป็นการแสดงความเชื่อมั่นในการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเอเชีย
      ปัจจัยนี้จะส่งผลดีต่อบริษัทผู้ผลิตสินค้าหรูหรา เพราะว่าสินค้านำเข้า
จะมีราคาถูกลงทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย
      บริษัทผู้ผลิตสินค้าหรูหราที่เน้นขายสินค้าในเอเชียรวมถึงทิฟฟานี แอนด์  
โค ของสหรัฐ, บุลการีของอิตาลี, แอร์เมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ของฝรั่งเศส และ
แอล วีเอ็มเอช โมเอต์ เฮนเนสซี หลุยส์ วิตตองของฝรั่งเศส

      บริษัทการเงินจีน -- ได้เปรียบ
      บริษัทประกันของจีนอย่างเช่น ไชน่า ไลฟ์และผิง อัน อินชัวรันส์ จะได้
รับประโยชน์ เนื่องจากเป็นที่คาดกันว่าการปรับขึ้นค่าเงินหยวนจะส่งผลบวกต่อหุ้น
กลุ่ม A ในตลาดหุ้นจีน ซึ่งครองส่วนแบ่งใหญ่ในพอร์ทลงทุนของบริษัทประกันจีน
      บริษัทประกันจีนสามารถนำ 25 % ของสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ทั้งหมด
มาใช้ในการลงทุนในหุ้น แต่บริษัทประกันจีนส่วนใหญ่รักษาสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไว้
ใต้ระดับนั้น

      บริษัทค้าปลีกต่างชาติ -- เสียเปรียบ
      บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ซื้อสินค้าจากเอเชีย เช่น บริษัทเฮนเนส แอนด์  
มอ ริทซ์ของสวีเดน, ทาร์เก็ตของสหรัฐ และวอล-มาร์ท สโตร์ส อิงค์ของสหรัฐ
อาจ ได้รับความเสียหายถ้าหากหยวนแข็งค่าขึ้น เพราะว่าต้นทุนการผลิตของบริษัท
กลุ่ม นี้จะเพิ่มสูงขึ้น
      การแข็งค่าของหยวนจะส่งผลกระทบต่อบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ โค  
เพราะวอลท์ ดิสนีย์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องการสร้างสวนสนุกใน
เซี่ยงไฮ้ และการแข็งค่าของหยวนจะส่งผลให้วอลท์ ดิสนีย์ต้องใช้เงิน
ดอลลาร์สหรัฐ จำนวนมากกว่าเดิมในการลงทุนสร้างสวนสนุก

      บริษัทสินค้าโภคภัณฑ์ -- เสียเปรียบ
      บริษัทผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ของจีนอาจได้รับความเสียหายมากที่สุด  
เพราะ ว่าบริษัทกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายอยู่ในรูปของหยวนแต่มีรายได้ในรูปของดอลลาร์  
โดย บริษัทกลุ่มนี้รวมถึงอะลูมิเนียม คอร์ป ออฟ ไชน่า,สีจิน ไมนิ่ง และปิโตรไชน่า
      ถ้าหากหยวนแข็งค่าขึ้น บริษัทกลุ่มนี้ก็จะมีรายได้ลดลงแต่ต้นทุนยังคงเดิม
--จบ--

      (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)    
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Analysis:วิเคราะห์ธุรกิจ รุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

จีนปรับค่าหยวนช้าๆลดผลกระทบราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
ธนาคารกลางของจีนได้แถลงเมื่อวันเสาร์ (19) ที่ผ่านมาว่า จีนจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้น หลังจากกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวอิงกับสกุลเงินของสหรัฐฯ ไว้ที่ระดับ 6.8 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์โดยผันผวนได้ไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ็นต์มาตั้งแต่กลางปี 2008 และว่าการปรับค่าหยวนจะค่อยเป็นค่อยไปไม่ปรับรวดเดียวดังเช่นที่เคยกระทำเมื่อ 5 ปีที่แล้ว          นักวิเคราะห์ชี้ว่า การที่จีนประกาศปรับค่าหยวนแบบค่อยเป็นค่อยไปก็เพราะมีบทเรียนจากผลกระทบ เมื่อปี 2005 ซึ่งจีนปรับค่าเงินหยวนขึ้นคราวเดียว 2.1 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเวลานานกว่า 1 ปี โดยในช่วงดังกล่าว ราคาทองแดงพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัว จนกระทั่งขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดซึ่งมีการบันทึกไว้ที่ราคาตันละ 8,790 ดอลลาร์ เมื่อปี 2006 ส่วนดัชนีรอยเตอร์ส-เจฟเฟอรีย์ส ซีอาร์บี ซึ่งอิงราคาโภคภัณฑ์ 19 ชนิดก็ได้ปรับตัวสูงขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ภายใน 6 สัปดาห์ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ หรือ 12 ดอลลาร์ต่อ 1 บาร์เรลในช่วงเวลาดังกล่าว
         ผลที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะจีนซึ่งมีอุปสงค์ต่อวัตถุดิบต่างๆ จำนวนมหาศาลเป็นหนึ่งในประเทศหลักที่ขับเคลื่อนราคาโภคภัณฑ์ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้บริโภคแร่เหล็ก ทองแดง และอลูมิเนียมมากที่สุดในโลก การที่จีนประกาศปรับเปลี่ยนค่าเงินอย่างค่อนเป็นค่อยไปจะไม่ทำให้ราคาโภคภัณฑ์ปรับตัวรุนแรงเหมือนครั้งที่ผ่านมา แต่จะค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น โดยจะผันแปรไปตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย
ใครได้ประโยชน์ลองเดากันดูนะครับ

:roll:

_________________________________________
การลงทุนที่เสี่ยงที่สุด คือ การลงทุนโดยปราศจากความรู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

Analysis:วิเคราะห์ธุรกิจ รุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ

:D
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Analysis:วิเคราะห์ธุรกิจ รุ่ง-ร่วงหากหยวนแข็งค่าตามนโยบายจีน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ราคายาง ....
เหล็ก น้ำมัน ถ่านหิน ...
เดินเรือ ...
ยานยนต์ ส่งออก (ไปจีน) ...
คู่แข่งจากจีน (ค่าแรงเพิ่ม+เงินแข็งค่า) ....
นิคม การย้ายฐานการผลิตจากจีน ? ... (ถ้าไม่ติดการเมืองนล้าๆๆ :twisted: )
เงินทุนไหลเข้า ..... :arrow:

รถไฟ ! ...

:wink:
โพสต์โพสต์