9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
kakathi
Verified User
โพสต์: 186
ผู้ติดตาม: 0

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 1

โพสต์

9 เหตุผล..ฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET Index ถึง 'ไม่ลง' มาก
วันที่ 14 มิถุนายน 2553 01:00
โดย : บรรยง วิทยวีรศักดิ์ สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
        วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ผ่านไปแล้วประมาณ 1 ปีเศษ แต่ใครเลยจะคิดว่า  เมื่อเวลาผ่านไปเพียงแค่ 1 ปี  จะทำให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลับมาทำกำไรกันอย่างอู้ฟู่  หลายบริษัทสามารถสร้างสถิติทำกำไรสูงสุดในรอบหลายปี  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
หากเราคิดอย่างคนทั่วไป  บริษัทเหล่านี้น่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว  ค่อยๆ มีกำไรขึ้นมา  แล้วค่อยกลับมาทำกำไรอยู่ในระดับเดิมเหมือนช่วงก่อนเกิดวิกฤติ  แต่ภาพที่ปรากฏ  กลับกลายเป็นว่าแต่ละบริษัทสามารถทำกำไรกันอย่างถล่มทลายพลิกความคาดหมาย  เราลองวิเคราะห์กันดูว่า  อะไรเป็นเหตุผลให้บริษัทเหล่านั้นกลับมามีกำไรกันยกแผงทั้งกระดานหุ้น
1. คำสั่งซื้อล้นทะลัก
     วันที่บริษัทเลแมน บราเดอร์สประกาศล้มละลาย  เป็นเสมือนวันที่ประเทศสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณว่าฟองสบู่ของประเทศตนแตกแล้ว  บริษัทต่างๆ ทั่วโลกได้ถือวันนั้นเป็นสัญญาณรีบรัดเข็มขัด  ด้วยการหยุดซื้อวัตถุดิบชั่วคราว  บริษัทที่เคยสต็อกวัตถุดิบเพื่อการผลิตไว้ 6 เดือน  อาจจะหยุดซื้อวัตถุดิบไปเลยทันที  รอให้วัตถุดิบเหลือเพียง 3 เดือนแล้วค่อยสั่งซื้อเพิ่ม
เพราะเขารู้ว่า  ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ  ราคาวัตถุดิบมักจะถูกลงเสมอ  หลายบริษัทจึงพยายามลดการสำรองวัตถุดิบให้น้อยที่สุด  เพราะแน่ใจว่ายอดจำหน่ายของบริษัทต้องลดลงไปตามภาวะตลาดด้วย
ทุกบริษัทจะรอถึงวันที่เศรษฐกิจฟื้น  เมื่อตลาดฟื้น  บริษัทเหล่านี้จะกลับมาสำรองวัตถุดิบในระดับ 6 เดือนเช่นเดิม  การที่จู่ๆ จะสั่งเพิ่มวัตถุดิบจากที่มีอยู่ 3 เดือนเป็น 5-6 เดือน  ทำให้คำสั่งซื้อล้นทะลัก  ไม่ว่าบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบหรือสินค้าทั่วไปจะปรับราคาขึ้นได้หรือไม่  แต่เมื่อสามารถใช้กำลังผลิตได้เต็ม 100%  ผลกำไรจากการผลิตจำนวนมาก (economy of scale) ทำให้กำไรไหลมาเทมา
2. คู่แข่งเหลือน้อยลง
เวลาเศรษฐกิจดี  คู่แข่งใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา  แต่พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ  บริษัทเล็กๆ มักล้มหายตายจากไปก่อน เมื่อเศรษฐกิจฟื้นอีกครั้ง  ไม่เพียงแต่ยอดสั่งซื้อของลูกค้าเดิมของบริษัทจะกลับคืนมา  ลูกค้าของบริษัทคู่แข่งที่ล้มไป  ก็มารุมสั่งซื้อสินค้าของบริษัทด้วย
ตามปกติอัตราการใช้กำลังผลิตของโรงงานอาจจะเคยอยู่ที่ 80%  เมื่อเกิดวิกฤติอาจลดลงมาที่ 50%  ครั้นเศรษฐกิจฟื้นจะพุ่งมาเป็น 100% แล้วอย่างนี้กำไรจะหายไปไหน
3. มาตรการลดต้นทุน แสดงผล
เวลาเศรษฐกิจไม่ดี  บริษัทห้างร้านต่างๆ ล้วนมีความตื่นตัวที่จะลดต้นทุนการดำเนินงาน  เช่นการลดบุคลากรที่ไม่จำเป็น  การประหยัดน้ำ-ไฟ  หรือการลดความสูญเสียวัตถุดิบในขบวนการผลิต  ในขณะที่พนักงานก็มีความกระตือรือร้นที่จะให้ความร่วมมือ เพื่อความอยู่รอดของบริษัทและตนเอง
ความร่วมมือร่วมใจนี้  ช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้มาก  ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นแล้ว  ผลของมาตรการนี้ยังดำรงอยู่  ต้นทุนลดต่ำลงในขณะที่ราคาขายของสินค้ากลับมาดีดังเดิม  ส่วนต่างที่สูงขึ้น  จะแปรรูปมาเป็นกำไรที่งดงามนั่นเอง
4. ราคาขายปรับขึ้นแล้ว แต่ราคาวัตถุดิบยังต่ำอยู่
เวลาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ  ทุกบริษัทพยายามจะขายสินค้าออกไปให้ได้มากที่สุดเพื่อรักษาสภาพคล่อง  ในขณะที่กำลังซื้อมีน้อย  จึงต้องใช้วิธีลดราคาสินค้า  บางครั้งต้องยอมขายขาดทุน  เพราะมีต้นทุนวัตถุดิบราคาสูงที่ซื้อไว้ก่อนหน้าในช่วงที่เศรษฐกิจยังดีอยู่
ในทางกลับกัน  เมื่อตลาดฟื้นตัว  ผู้บริโภคต่างออกมาจับจ่ายซื้อของ  ราคาสินค้าค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น  ในขณะที่ต้นทุนการผลิตกลับต่ำลง  เพราะวัตถุดิบที่ซื้อไว้ระยะหลัง ตอนที่เศรษฐกิจซบเซามีราคาถูก  (เหมือนกินบุญเก่า  จากนโยบายการลงบัญชีแบบ FIFO / first in-first out) จนกระทั่งเมื่อวัตถุดิบราคาถูกหมดไป  ราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้นทยอยเข้ามาทดแทน  อาจจะทำให้กำไรลดลง  จนกลับสู่สมดุลของกำไรปกติ
นี่จึงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของบริษัทที่มีการตุนวัตถุดิบไว้หลายๆ เดือน  เมื่อถึงคราวเศรษฐกิจตกต่ำจะแสดงผลขาดทุนจนน่าตกใจ  แต่พอตลาดฟื้น ก็จะแสดงผลกำไรอย่างน่าอัศจรรย์  เข้าลักษณะบุญทำกรรมเก่านั่นเอง
5. ต้นทุนทางการเงินยังไม่ปรับขึ้น
หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจสักระยะหนึ่ง  ดอกเบี้ยในตลาดการเงินมักจะลดต่ำลง  ตามอุปสงค์การใช้เงินที่ลดน้อยลง  ไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคาร  หรืออัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่บริษัทเสนอขายให้ประชาชน  
แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว  บางครั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นจริง  จึงชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปก่อน  ในระหว่างนี้บริษัทจึงได้รับอานิสงส์จากต้นทุนทางการเงินที่ยังต่ำ  ทั้งที่ปรับราคาสินค้าขึ้นไปแล้ว  ยิ่งถ้าบริษัทไหนได้ออกหุ้นกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวเอาไว้มาก  เท่ากับได้เงินทุนต้นทุนต่ำไว้ใช้หลายปีทีเดียว
6. อานิสงส์จากมาตรการช่วยเหลือของรัฐ
ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ  รัฐมักออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการระดับต่างๆ  บางครั้งเมื่อเศรษฐกิจฟื้นแล้ว  แต่มาตรการของรัฐยังไม่หมดอายุ  เช่นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ  การลดหย่อนภาษี หรือการลดเงินสมทบประกันสังคม  ทำให้บริษัทเหล่านี้ยังคงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำ  ขณะที่รายได้กลับเข้าสู่ระดับปกติแล้ว  ทำให้กำไรสุทธิที่ได้ ขยับสูงขึ้น
7. ได้เวลานำผลวิจัยมาใช้
บริษัทส่วนใหญ่มีแผนกวิจัยและพัฒนา   บางครั้งได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาแล้ว  แต่ตลาดไม่เอื้ออำนวยต่อการวางสินค้า เพราะเศรษฐกิจซบเซา   จึงต้องรอเศรษฐกิจฟื้น
ครั้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้น  บริษัทเหล่านี้ก็จะทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่กันอย่างเอิกเกริก  สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ  เนื่องจากผลิตภัณฑ์ใหม่มักมีกำไร (มาร์จิน) มากกว่าปกติ  เพราะยังไม่มีคู่แข่ง  จึงสามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ
8. เศรษฐกิจฟื้น  ลูกหนี้กลับมาใช้หนี้
ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี  มักมีปัญหาสภาพคล่อง  ลูกหนี้ของบริษัทโดยเฉพาะรายย่อยอาจจะหมุนเงินไม่ทัน  ทำให้ขาดการชำระหนี้  หรืออาจจะขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป  บางรายยืดเวลาออกไปนานมาก  จนบริษัทต้องลงบัญชี ตั้งสำรองเป็นหนี้สูญ  เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไร  เขาจะมีเงินมาจ่ายหนี้
วันดีคืนดี  เมื่อเศรษฐกิจฟื้น  ลูกหนี้ที่ไม่ได้มีเจตนาคดโกง  ก็จะกลับมาใช้หนี้  หรือขอประนอมหนี้  ทำให้บริษัทได้รับเงินสินเชื่อที่ปล่อยให้ลูกค้ากลับคืนมา  เงินที่คิดว่าสูญไปแล้ว  กลับกลายมาเป็นรายได้  ทำให้กำไรของบริษัทพุ่งทะยานได้
9. มีประสบการณ์ รับมือวิกฤติ

ข้อสุดท้าย  แต่ว่าสำคัญที่สุด  คือ  บริษัทใหญ่ๆ ของไทย ส่วนใหญ่เคยผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้ว  โดยเฉพาะวิกฤติต้มยำกุ้ง  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงและรุนแรง  ผู้บริหารบริษัทล้วนยังเข็ดหลาบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนว่า  กำลังจะเกิดวิกฤติครั้งใหม่ในสหรัฐ หรือแม้แต่ในยุโรป  บริษัทเหล่านี้จะหยุดความเสี่ยงทันที ด้วยการหยุดสต็อกสินค้า  ทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน หาตลาดใหม่ๆ มาทดแทน หรือแม้แต่ตัดวงเงินเครดิตของลูกค้าที่มีความเสี่ยงแบบฉับพลัน
ผลที่ปรากฏออกมา จึงเป็นว่า บริษัทใหญ่ๆ ของไทยแทบไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดขึ้นเลย  และพร้อมที่จะผงาดขึ้นทันทีที่ตลาดโลกฟื้นตัว
         จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา  แต่ละบริษัทคงไม่สามารถที่จะมีปัจจัยบวกเหล่านี้ครบทุกข้อ  บางบริษัทมีปัจจัยบวกมากถึง 5 ข้อ ขณะที่บางบริษัทอาจมีปัจจัยบวกเพียงข้อเดียว  แต่มันก็เพียงพอที่ทำให้กำไรของบริษัทพุ่งพรวดจนสะดุดตาได้
หวังว่ามันจะให้คำตอบแก่เราได้ว่า  ทำไม!  กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1/2553 ที่ผ่านมา จึงเติบโตถึง 85% ผลักดันให้ GDP ไตรมาสแรกของไทยพุ่งทะยาน 12% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 15 ปี

ในเวลาเดียวกันก็เป็นคำตอบว่า  ฝรั่งเทขายหุ้นไปแล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาทในพฤษภาคมเดือนเดียว  ทำไม!หุ้นไทยถึงลงไม่มาก  คนที่ยิ้มแก้มปริคงเป็นรัฐมนตรีคลัง กรณ์ จาติกวณิช  ไม่รู้ว่าอย่างนี้  จะเรียกว่ามี "ฝีมือ" หรือ "ส้มหล่น" ดี เอาเป็นว่า "เก่ง" ด้วย "เฮง" ด้วย ก็แล้วกัน

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ไม่ลง.html
" "
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ ก็ยังสงสัยอยู่ว่าขายขนาดนี้ถ้าเป็นช่วงอื่นไม่ต้องนับศะแล้วครับ 555+ แต่ครั้งนี้ทำให้ยอมรับในหุ้นไทยขึ้นเยอะเลยครับ อิอิ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
apisit_da
Verified User
โพสต์: 277
ผู้ติดตาม: 0

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมว่า web thaivi มีผลช่วยระดับนึงเหมือนกันนะครับ สมาิชิกเยอะ พอร์ทใหญ่ ทำให้เปลี่ยนจากซื้อขายเก็งกำไรไปวัน ๆ เป็นถือลงทุน ราคาลงซื้อเพิ่มตามพื้นฐานบริษัท ทำให้ index ไม่เหวี่ยงมาก และมีหลายคนหันมาลงทุนในหุ้น ทำให้ ฝรั่งขาย พี่รายย่อยซื้อเก็บ   :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
โว้กว้าก
Verified User
โพสต์: 430
ผู้ติดตาม: 0

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ปัจจัยพื้นฐานบ้านเรายังดีอยู่

แต่ยังไงตอนนี้ผมก็ยังรอพี่หรั่งกลับมาอยู่นะครับ

นานเท่าไหร่ก็จะรอ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 23

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มีอีกอย่างนึงครับ
ตลาดบ้านเราจ่ายปันผลประมาณ 2 แสนล้านนะครับ
เป็นของรายย่อยประมาณ 30% ก็ 60000 ล้านแล้ว

ถ้าเกิดการ re-investment ....
หุ้นที่ฝรั่งขายไป 50000 ล้าน ผมว่าไม่ระคายเลย
ยิ่งช่วงที่ฝรั่งขายหุ้นทิ้ง เป็นช่วงที่เงินปันผลเข้าด้วย  :D

ได้เก็บของถูก ช็อปกระจายๆๆๆ  :roll:
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มีหตุผลครับ :wink:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
<< New >>
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 17

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="leaderinshadow"]มีอีกอย่างนึงครับ
ตลาดบ้านเราจ่ายปันผลประมาณ 2 แสนล้านนะครับ
เป็นของรายย่อยประมาณ 30% ก็ 60000 ล้านแล้ว

ถ้าเกิดการ re-investment ....
หุ้นที่ฝรั่งขายไป 50000 ล้าน ผมว่าไม่ระคายเลย
ยิ่งช่วงที่ฝรั่งขายหุ้นทิ้ง เป็นช่วงที่เงินปันผลเข้าด้วย
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
maiaowna
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

9 เหตุผลฝรั่งทิ้งหุ้นกว่า 5 หมื่นล้าน ทำไม! SET ถึง'ไม่ลง'

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ  :D
โพสต์โพสต์