ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

บทความดีๆ จากพันทิพครับ Credit คุณ Crazy Rabbit

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 70988.html
(กดไปดู ตามลิ้งนี้จะมีภาพประกอบนะครับ)
ถ้าจะถามว่าประเด็นใดเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ร้อนที่สุด ในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นหนี้สาธารณะ หรือ Sovereign Debt ซึ่งกำลังมีโอกาสเกิดเป็นวิกฤตการณ์หนี้ (Debt Crisis) ได้ทุกเมื่อ  ผมเลยขอ share ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ซักเล็กน้อย เพื่อให้เห็นภาพรวม  

คำ ว่า Sovereign Debt หรือหนี้ในตราสารที่รัฐบาลเป็นประกันซึ่งส่วนใหญ่ก็คือพันธบัตร และเงินกู้โดยตรงนั่นเอง กลายเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในข่าวของสำนักต่างประเทศทุกวัน  กำลังเป็นระเบิดลูกใหม่ของเศรษฐกิจโลก แต่เป็นระเบิดที่มีการคาดการณ์กันมาก่อนแล้วเนื่องจากรัฐบาลก่อหนี้ต่างๆ ก่อนหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายประจำและกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก


นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา รัฐบาลต่างประเทศต่างๆ มีหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก  ส่วนใหญ่รัฐบาลจะหาเงินมาใช้ด้วยการออกพันธบัตรซึ่งมีการครบกำหนดอายุใน ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น 2 ปี 5 ปี 10 ปี 30 ปี พอถึงกำหนดหากยังไม่มีเงินมาจ่ายเงินต้น ก็หาเงินเพิ่มโดยการออกพันธบัตรขึ้นมาทดแทนและนำเงินไปจ่ายของเก่าที่หมด อายุ หรือเราอาจจะเรียกว่าการ Refinance ก็ได้  

ถ้าเศรษฐกิจดีเก็บ ภาษีได้มาก เค้าก็จะทยอยๆคืนเงินซึ่งก็มักจะไม่เร็วนัก [ของไทยที่ใช้หนี้ IMF หมดเร็วเพราะเราไม่ได้เบิกเงินจริงๆมามากเท่าไหร่ครับ อย่ามาคุยว่ารัฐบาลสมัยนั้นหาเงินเก่ง] เศรษฐกิจไม่ดี เงินไม่พอใช้ หรือขาดดุลงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ก็ต้องกู้โดยการออกพันธบัตรเพิ่ม  ทำให้หนี้เพิ่มขึ้นอีก วงจรอุบาทว์นี้ทำให้หนี้ของประเทศต่างๆพอกพูนขึ้นอย่างมากจนอยู่ในระดับใกล้ เคียงกับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ลองดูรูปหนี้ของกลุ่มประเทศ G7
ในบางกรณี ที่น่าเป็นห่วงมาก IMF ก็เข้ามาช่วยเหลือเพราะถ้าปล่อยให้ไปออกพันธบัตรเองคงจะสู้ดอกเบี้ยไม่ไหว เพราะในสถานการณ์อย่างนั้น ประเทศใกล้ล้มละลายแล้ว ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะสูงมากเพราะถ้าไม่ให้สูงใครจะยอมซื้อพันธบัตร ช่วงสองสามปีมานี้ IMF ช่วยประเทศต่างๆไปเยอะมาจนปลายปีก่อนประเทศยักษ์ใหญ่ต้องลงขันกันเพิ่มอีก นอกจากนี้ IMF เองยังขายทรัพย์สินของตนเองบางส่วน เช่นทอง เพื่อเตรียมเงินไว้ใช้ ตอนนี้คงได้ใช้ไปแล้ว

การที่ประเทศล้มละลาย นั้นจริงๆไม่มี มีแต่คำว่า Default หมายถึงการผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้จะไปฟ้องร้องที่ไหนให้จ่าย หรือให้เอาทรัพย์สินของประเทศไปขายชำระหนี้ก็ไม่ได้  ทางสหประชาชาติก็ไม่มีศาลประเภทนี้   เพราะเป็นที่ยอมรับว่า การที่ประเทศเป็นหนี้อาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการดำเนินนโยบาลของนักการ เมืองไม่กี่คน จะให้คนทั้งประเทศต้องรับผิดชอบนั้นไม่ถูกต้อง


ดอกเบี้ย ที่ต้องจ่ายนี้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ ซึ่งในโลกก็มีอยู่ 2-3 บริษัทที่ผูกขาด[จากผลงาน] ในการจัดอันดับ ก็คือ S&P  , Moodys [ของป๋า Buffet นี่แหละ] และ Fitch    การจัดคะแนนความน่าเชื่อถือของประเทศหรือ Sovereign Credit Rating ก็คือการประเมินโอกาสที่ประเทศต่างๆจะผิดนัดชำระหนี้นั่นเอง

มาดู กันว่า ถ้า rating ไม่ดีต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงกว่า ประเทศความเชื่อถือได้สูง AAA อย่างสหรัฐ เท่าไร  เป็นการศึกษาพฤติกรรมตลาดจริงๆนะครับ ไม่ใช่ Moodys หรือ S&P กำหนด

ทาง IMF ได้ทำให้ดูว่า หนี้ในช่วง วิกฤติเพิ่มขึ้นมากเกิดจากอะไร หลายท่านก็เดาว่า มันอาจจะเกิดจากกระตุ้นเศรษฐกิจ (ด้วยนโยบายการคลัง) แต่ถ้าดูตามรายงานนี้   ในช่วงปี 2008-2015  หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ (19.2%) เกิดจากรายได้ของรัฐลดลง ส่วนที่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีเพียง 4.5% เท่านั้น

จุดนี้ทำให้ Krugman วิจารณ์รายงานนี้พอสมควร ว่ามันส่งสัญญาณที่ผิด หาก IMF บอกว่า หนี้ที่พุ่งขึ้นหลังวิกฤตส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการอัดฉีดของรัฐ  ดังนั้นนี่น่าจะเป็นปัญหาที่รัฐบาลประเทศต่างๆมีรายได้ลดลงเนื่องจาก เศรษฐกิจตกต่ำ  มี GDP Gap เกิดขึ้น หากไม่แก้ไข วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้จะทำให้ความมั่งคั่งของชาวโลกลดลงกว่าที่ควรจะเป็น เป็นการถาวร


ความคิดเห็นที่ 7 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]  

ปัญหาหนี้สาธารณะนี้มีความรุนแรงเพียงใด เมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆในโลก ดูได้จากราฟในรายงาน  Global Risk 2010 ของ World Economic Forum นะครับ ออกมาตั้งแต่เดือนมกราแล้ว  มากถึงตอนนี้ถ้าทำใหม่อาจไม่เหมือนเดิม  ในกราฟบอกว่าปัญหา 3 ด้านของเศรษฐกิจนี้มีโอกาสเกิดขึ้นสูงพอสมควร (~20%) และสร้างความเสียหายได้มาก

1. Asset Price Collapse หรือการลดค่าของทรัพย์สินอย่างรวดเร็ว  เช่น หุ้นตกอย่างมาก
2. เศรษฐกิจจีนขยายตัวไม่ถึง 6%
3. Fiscal Crisis วิกฤติการคลัง หรือปัญหาหนี้สาธารณะที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่เอง

หมายเหตุ : เศรษฐกิจจีนอยู่ในรายการ top list มาหลายปีแล้วครับ  ยังไม่จริงซักปี แต่คงใกล้แล้ว

นั่นคือการพยากรณ์ของ WEF แน่นอนว่า ตลาดไปไกลกว่านั้นแล้ว โดยมี S&P Moodys นักลงทุน และล่าสุดนักเก็งกำไรค่าเงินเป็นตัวเร่ง

สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP  นั้น IMF ได้ทำนายไว้ตามกราฟนี้นะครับ จะเห็นได้ว่า สำหรับประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าทั้งหลายหนี้จะยังเพิ่มขึ้นต่อไป  ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนากลับมีหนี้อยู่ในระดับต่ำ เช่นของไทยอยู่ที่ราวๆ 40% ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติของประเทศเหล่านี้

มีเรื่องนึงที่ควรทำความเข้าใจ คือ Primary Deficit  หรือการขาดดุลงบประในส่วนที่เป็นการใช้จ่ายปกติไม่ใช่ภาระหนี้  ในส่วนของ Greece ผมเห็นตัวเลขหนึ่งคือ 8.5% ซึ่งนับว่าสูงมาก ดังนั้นถึงแม้ Greece จะได้รับการให้ยืมเงินมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ตราสาร ต่างๆ แต่ตัว Primary Deficit นี้ก็ยังอยู่ และการหั่นงบประมาณเพื่อให้หนี้ลดลงมาให้อยู่ในข้อกำหนดของ Eurozone มีแต่ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก  

ทีนี่ทำไงต่อดี  ก็ต้องทำให้เศรษฐกิจฟื้น วิธีการที่เร็วที่สุดคือ ลดค่าเงินเพื่อให้ส่งออกได้  มิฉะนั้น Greece Spain Portugal นี่ไม่มีทางสู้  German ได้เลย  แต่มันลดไม่ได้ถ้าไม่ออกจาก Euro วิธีการอื่นคือลดค่าจ้าง ที่เค้ากำลังทำอยู่

แต่ Krugman บอกว่า ประเทศเหล่านี้ต้องลดค่าจ้างถึง 20-30% จึงจะสู้เค้าได้ ซึ่งการลดขนาดนี้เป็นไปได้ยากมากที่จะทำโดยไม่เกิดความวุ่นวายทางสังคมและ การเมือง

วิธีการดูว่าวิกฤตหนี้สาธารณะตอนนี้ตลาดรู้สึกอย่าง ไร  ง่ายสุดคือดูผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Treasury  Yield)  ผมก็ไม่ติดตามเรื่องนี้ในตอนแรกเหมือนกัน ถ้าตามก็จะเห็นได้ว่า Greece นั้นส่อแววร่อแร่มาตั้งแต่เดือน 11 ปีก่อนแล้ว  หากต้องการดู 10yr Bond Yield ของ Greece วันต่อวัน ให้เข้าไปที่ link ข้างล่างนี้นะครับ  (CDS Spread ก็เป็นอีกตัวนึง แต่หาข้อมูลยาก)

จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ Yield อยู่ที่ต่ำกว่า 8% ยังสูงมากอยู่ แต่ดีกว่าก่อนหน้านี้มาก ผมจึงเชื่อว่า Greece จะไม่ default หนี้งวดแรกในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้  (เขียนตั้งแต่สัปดาห์ก่อนแล้วครับ แต่บ้านเมืองวุ่นวายเลยไม่ได้ลง)

แล้วโลกจะแตกหรือ คนที่เล่นทองอาจจะสนใจ   ผมไม่ได้เขียนว่ารัฐบาลจะล้มละลายกันเป็นแถบๆ ทั้งโลก (http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 450.html#3)  แต่ผมให้ข้อมูลเพื่อติดตามต่อเท่านั้นจริงๆผมชอบโลกที่ไม่แตกมากกว่านะครับ  

ในส่วนของ IMF ได้ forecast ว่า มีโอกาสที่หนี้สาธารณะจะขึ้นไป peak ราวๆ ปี 2017 ก่อนจะลดลงในที่สุด   ผมจึงได้เตือนไว้ในนี้ว่า หากทองพุ่งกระฉูดจากปัญหาหนี้สาธารณะจริงๆ  ระวังท่านจะติดดอยตลอดชีวิต  อีก 20 ปี ลูกหลานอาจจะบ่นว่า ท่านเอาก้อนอะไรไม่รู้เหลืองๆ มาให้เป็นมรดก  (http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 450.html#5)

คนที่เล่นทองในระยะยาว โปรดจำกราฟนี้ไว้ในใจ และคอยพิสูจน์ว่า จริงๆแล้ว มันดีกว่า หรือแยกว่านี้

สนใจเรื่อง Sovereign Default ต้องอ่าน This time is Different หรือ คราวนี้ไม่เหมือนกันหรอกน่า ซึ่งผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตนักเศรษฐศาสตร์ IMF ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจในรอบ 700-800 ปี ได้ข้อสรุปว่า ครั้งนี้ก็เหมือนเดิมแหละ

ขอบคุณข้อมูลจาก IMF WEF Bloomberg S&P และ Moody's ครับ

บางท่านอาจจะงงๆ ว่า ผมไม่สนใจการเมืองเลยหรือ ผมไม่ค่อยมีหุ้นหรอกครับ
คนเราต้องชั่งน้ำหนัก ให้ได้ว่า ความโลภกับความเสี่ยง อะไรเป็นคุณแก่ชีวิตมากกว่ากัน ในบางช่วงเวลา อยู่เฉยๆดีกว่าครับ

บ้านเมืองเรามาถึงจุดนี้ได้ก็ ช่วยๆ กันพามาแหละครับ
ผมไม่เคย Forward Email หรือ Post กระทู้อะไรให้ใครเกลียดใครเลย

อยากให้มันจบอย่างเสียหายน้อยสุด แต่คงจะไม่แล้ว
ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองทุกท่าน

เงินน่ะ ไม่ตายก็หาใหม่ได้
ปล. ไม่รู้ว่าแปะภาพยังไง แต่แนะนำว่าถ้าอยากดูฉบับเต็ม (มีกราฟประกอบ ดูเข้าใจง่าย ชัดเจน) แนะนำให้ดูตามลิ้งที่ต้นฉบับนะครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 70988.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ภาคต่อครับ

Debt vs. GDP Growth{แตกประเด็นจาก I9270988}
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 03151.html
ในบทดังกล่าวผมให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมหนี้สาธารณะ ของโลกไปแล้วนะครับ คงจะมีคนได้อ่านไม่มากเพราะว่าช่วงนั้น ของเค้าแรง แต่ว่าควรอ่านก่อนจะดูบทความ update นี้

หลังจากเราทราบสถานการณ์ แล้วคงจะมีข้อสงสัยว่า หนี้เยอะแล้วเป็นยังไง เห็นญี่ปุ่นมีเกือบ 200% ของ GDP ไม่เป็นอะไรนอกจากไม่โต แต่ไม่ crash (จริงๆ crash ไปแล้วยังกลับมาไม่ได้ แต่ crash ไปตั้งแต่หนี้ยังไม่เยอะ) ในกรณีของญี่ปุ่นนั้นหนี้ของรัฐบาลคือพันธบัตรที่ออกมาขายระดมทุน จำนวนมากถูกซื้อไปโดยประชาชนในประเทศเอง เพราะว่าประเทศนี้เค้าออมเก่งมาก ดังนั้นแรงกดดันจากต่างประเทศจะน้อย ญี่ปุ่นเป็นประเทศเจ้าหนี้ของโลก แต่รัฐบาลเป็นหนี้ประชาชน แต่ตอนนี้มีเค้าว่า หลังจากนี้อีกไม่กี่ปีประชาชนเริ่มจะรับไม่ไหว เพราะมูลค่า Japanese Government Bond (JGB) ในมือประชาชนกำลังจะแซงหน้า Financial Asset อื่นๆทั้งหมด


ความคิดเห็นที่ 1 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]  

[เดินออกนอกเส้นทางไปไกล]
หากเรามองในแง่ของธุรกิจ บริษัทที่มีหนี้มากและขยายตัวในช่วงกิจการกำลังไปได้ดีย่อมเป็นการบ่งชี้ อนาคตของกิจการน่าจะเติบโตไปได้อีก ในกรณีของประเทศก็คล้ายๆกัน แต่คิดว่าตอนนี้หนี้เยอะในขณะที่กิจการของแต่ละประเทศกำลังเป็นไปได้ดีหรือ ปล่าว ผมว่าไม่ใช่

Reinhart และ Rogoff ซึ่งศึกษา Sovereign Default ในรอบ 800 ปี เขียนออกมาเป็นหนังสือ This time is different นั้น ได้ทำการศึกษาต่อไปว่า หนี้มากหรือหรือน้อยมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อหรือปล่าว ได้ผลดังรูปนะครับ

เนื่องจากกราฟค่อนข้างชัดเจนจึงไม่ต้องอธิบาย อะไร

ผลการศึกษาออกมาไม่ต่างกัน ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็น Advanced หรือ Emerging Economy ในส่วนของ GDP Growth แต่ในส่วนของ Inflation นั้น Emerging Economy ที่มีหนี้มาก มีโอกาสจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อได้มากกว่า (แต่ตอนนี้ประเทศเหล่านั้นมีหนี้ไม่มากนัก)

ดังนั้นรัฐบาลประเทศ ต่างๆโดยเฉพาะ Advanced Economy ต้องเร่งลดหนี้ ซึ่งอันนี้ก็เป็น Topic of the Year อย่างชัดเจนอยู่แล้ว


ความคิดเห็นที่ 5 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]  

มันบอกอะไรเรา?

ผู้ที่ฝันไว้ว่าเศรษฐกิจหลังจาก นี้ไปจะสวยหรู อาจจะต้องตื่นแล้วนะครับ ถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆยังดีอยู่ แต่นั้นมันเป็นผลจากการที่แต่ละประเทศทำอะไรมาในช่วง 2-3 ปี หลังจากนี้ไปอาจจะมุดลงไปอีกก็เป็นได้

Krugman ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปดังกล่าว ที่ว่า Debt สัมพันธ์กับ Growth บอกว่า

What I think Im seeing, although I havent tested this carefully, is that the causal relationship largely runs from growth to debt rather than the other way around. That is, its not so much that bad things happen to growth when debt is high, its that bad things happen to debt when growth is low.

GDP Growth ไม่ได้ถูกกระทบนักหรอกหากหนี้เยอะ (ดังนั้น Obama อย่าเพิ่งรัดเข็มขัดตอนนี้)  
แต่หนี้ต่างหากที่จะส่งผล ร้ายแรงหาก GDP Growth ต่ำ กล่าวคือ Casual Relationship เป็นไปในทิศทางเดียว

ปลายปีนึ้คงรู้ว่าใครถูก  

(เย็นนี้อาจ จะมีอีกเรื่องนึงครับ เพราะวันนี้อยู่บ้านเฉยๆอยากหาอะไรทำ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มองดูยุโรป แล้วมองย้อนดูเรา
และรอบๆตัวเรา

ดูอย่างเพื่อนบ้านเรา

มาเลย์เตรียมตัดเงินอุดหนุน หวั่นปัญหาหนี้บานปลาย
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 16:49:15 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1274953833
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเผย มาเลเซียอาจเริ่มตัดลดเงินอุดหนุนภาคพลังงานและเซ็คชั่นอื่นๆ ภายใต้แผนตัดลดงบประมาณ 5 ปี ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลประหยัดเงินได้ถึง 31 พันล้านดอลลาร์ และช่วยป้องกันวิกฤตหนี้

 
ไอดริส จาลา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกมาเลเซียระบุว่า เมื่อปีที่แล้วกฎหมายเงินอุดหนุนผลาญเงินงบประมาณไป 74 พันล้านริงกิต (22 พันล้านดอลลาร์) หรือ 12,900 ริงกิต (3,890 ดอลลาร์)ต่อครัวเรือน คิดเป็น 15%ของงบประมาณทั้งหมด ผลักดันให้การขาดดุลเพิ่มขึ้นถึง 7% ของจีดีพี ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในรอบ 20 ปี


ระหว่างการโรดโชว์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนเรื่องการตัดลดเงินช่วยเหลือ จาลายังได้เตือนว่า หนี้สินของมาเลเซียซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 362 พันล้านริงกิต (109 พันล้านดอลลาร์) หรือ 54% ของเศรษฐกิจอาจพุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่าไปที่ระดับ 100% ภายในปี 2562 ถ้าไม่ดำเนินการตัดลดงบประมาณรายจ่ายโดยเร็ว
เขาสำทับว่า "เราไม่อยากลงเอยเหมือนกรีซ ดังนั้นจึงต้องรีบหาทางออกจากนโยบายเงินอุดหนุนนี้ ไม่เช่นนั้นก็เหมือนกำระเบิดเวลาไว้ในมือ"
ที่ผ่านมานั้นการอุดหนุนของรัฐบาลส่งผลให้ราคาอาหารในแดนเสือเหลืองต่ำที่สุดในภูมิภาค ส่วนเชื้อเพลิงก็มีราคาถูกที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง


ตามข้อเสนอที่ร่างโดยกลุ่มมันสมองรัฐบาลซึ่งมีจาลาเป็นผู้นำนั้น รัฐบาลจะค่อยๆ ลดการอุดหนุนในเชื่อเพลิง น้ำมัน ไฟฟ้าและค่าผ่านทาง แต่ไม่ลดเงินสนับสนุนการศึกษา การเกษตร ประมงตลอดจนสาธารณสุข เพื่อไม่ให้กระทบต่อคนยากจนมากนัก โดยเงินช่วยเหลือค่าเชื้อเพลิงและโครงสร้างพื้นฐานมีสัดส่วน 38% ของเงินอุดหนุนทั้งหมด
แต่แผนการดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก เพราะเกรงว่าอาจเกิดผลกระทบด้านลบต่อการลงเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในปี 2556


การยกเลิกเงินอุดหนุนจะกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเพิ่มราคาน้ำมันลิตรละ 15 เซ็น (0.05 ดอลลาร์) จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.80 ริงกิต (0.54 ดอลลาร์) จากนั้นค่อยเพิ่มราคาอีก  10 เซ็น (0.03 ดอลลาร์) ทุกๆ  6 เดือนจนถึงปี 2555 จากนั้นการเพิ่มขึ้นจะลดลงจนราคาน้ำมันแตะระดับ 2.60 ริงกิต (0.78 ดอลลาร์)/ลิตร ในปี 2558


จาลาย้ำว่า "เราไม่สามารถให้เงินอุดหนุนได้ตลอดไปหรอก" ซึ่ง 97% ของเงินอุดหนุนนั้นจ่ายให้กับประชาชนเท่ากันทุกคนโดยไม่ได้คำนึงว่าแต่ละคนมีรายได้เท่าไร 71% ของเงินอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงตกอยู่ในมือของกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จากเงินอุดหนุนก๊าซแอลพีจีกลับเป็นกลุ่มธุรกิจไม่ใช่ครัวเรือน
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คล้ายบ้านเราตอนนี้เลย

เริ่มกู้ ๆๆ เพื่อเอาเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ กู้เยอะมาก

ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเป็นเหมือนกลุ่ม PIGS ไหม
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เอามาเปรียบเทียบกับหุ้น น่าจะคล้ายๆกันนะครับ

อย่างบริษัท A มีหนี้สูง D/E 3-4 เท่า
บริษัท B หนี้น้อย D/E 0.5 เท่า


โอกาสการเติบโต ของเติบโตของ A ก็จะน้อยกว่า B เพราะภาระดอกเบี้ยสูงกว่า
จะขยายกิจการก็คงจะยากกว่า B เพราะไม่สามารถ ก่อหนี้ได้

คล้ายๆ กับบริษัทอสังหาในอดีตหลายๆตัว ตัวที่หนี้เยอะๆ พอเจอวิกฤติ กว่าจะฟื้นตัวได้
เกือบ 10 ปี ส่วนพวกที่หนี้น้อยๆ 2-3 ปีก็ฟื้นแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
[v]
Verified User
โพสต์: 1402
ผู้ติดตาม: 0

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ถ้ายังใช้นโยบาย ขาดดุลบัญชี เพื่อบริหารประเทศ อยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเหตุผลอะไรที่เอามาอ้าง แล้วหวังน้ำบ่อหน้าจนมากเกินไป  เจอตอแน่ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 7

โพสต์

Exit Strategy ครับ

แต่อาจจะเร็วไปสำหรับไทย

ตอนนี้ยุโรป น่าจะเป็น W Shape แล้ว ส่วนเมกา จะเป็น V หรือ W คงต้องมาลุ้นกัน

ส่วนเอเชีย V Shape ชัดเจนครับ
ยกเว้น ...land  หวังว่าจะเป็น V แบบชัดเจนนะครับ กลัวว่าจะเป็น W
ไม่อยากติด W  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 8

โพสต์

อันนี้ขึ้นกระทู้แนะนำในพันทิพเลยครับ

การเปลี่ยนแปลง Credit Rating และผลกระทบต่อตลาดหุ้น
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 03927.html
หากมีการจัดลำดับบริษัททรงอิทธิพลที่สุดในโลก ควรจะมี S&P และ Moodys อยู่ในอันดับต้นๆ เพราะการประกาศเปลี่ยนแปลง Credit Rating แต่ละครั้งกระทบต่อตลาดที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและยาวนาน

ควรสังเกตที่คำว่ายาวนาน เพราะตลาดจะไม่ได้มีปฏิกิริยาจบในวันเดียว ถ้าวันไหนสองเทพนี้ลด rating บ้านเรา ตลาดจะลงแรง อย่าอุตริไปรับ เพราะมันไม่เคยจบในวันสองวัน

อิทธิพลของ S&P กับ Moodys นั้นล้นฟ้าจริงๆ ดูอย่างกรณีของ Greece ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆร้อน  ทั้งนี้ก็เป็นเพราะความน่าเชื่อถือที่เค้าสร้างไว้นาน วิธีการที่ทั้งสองประเมิน โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ ของประเทศต่างๆนั้นเป็นความลับหรือบอกได้แต่เพียงคร่าวๆ  แต่มีนักเศรษฐศาสตร์บางท่านทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่คาด ว่าจะมีความสำคัญ กับค่า Rating ที่ทั้งสองบริษัทจัดทำ ได้ออกมาดังตาราง จะเห็นได้ว่า ระดับของการพัฒนาประเทศ และประวัติการผิดนัดชำระหนี้ในอดีตมีผลค่อนข้างมาก  ในขณะที่ GDP Growth ,Fiscal Balance และ External Debt กลับมีผลน้อยกว่า Inflation เสียอีก  

ปัจจัย ที่น่าจะสำคัญเช่น เสถียรภาพทางการเมือง ไม่ได้อยู่ในตารางนี้ อาจจะเป็นไปได้ว่าทำเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่ S&P และ Moodys ก็อ้างการเมืองเวลาจะปรับมุมมอง  

ตารางนี้ยังบอกความจริงข้อหนึ่ง ว่า ประเทศรวยๆถึงแม้ผลงานในปัจจุบันจะไม่ดีแต่ก็จะไม่ถูกลดความน่าเชื่อถือได้ ง่ายๆ ดูได้จากค่าสัมประสิทธิ์ของ Per Capita Income ที่สูงถึง 1.242 ลองคิดถึงสหรัฐ อังกฤษ และญี่ปุ่น

ถ้าใครอยากทำนายการปรับ credite rating ของไทย ลองเอาตารางนี้ไปทำต่อดู

การดำเนินการของ S&P และ Moodys เป็นความลับ ตลาดมักจะเดาการกระทำของพวกนี้ไม่ออก  ไม่เหมือนกับการให้น้ำหนัก Index ของ MSCI  ซึ่งเพิ่งประกาศว่าไม่เอา LH DTAC แต่หุ้นหล่นล่วงหน้าไปก่อนแล้ว  ในปี 2007-2008 S&P และ Moodys  ถูกประณามมากเพราะไม่มีการปรับ credit ของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับ subprime อย่างทันเวลา ทำให้เสียหายมาก ดังนั้นปีนี้เค้าจึงเล่นแรงและเร็ว ลองดูกรณี Greece ที่มีแต่คนบ่นว่าเล่นแรงเกินไป

Credit Rating ไม่ดี แล้วมีผลยังไง ทุกคนคงตอบได้ว่า ทำให้ต้นทุนในการกู้สูงขึ้น แต่สูงเท่าไหร่ดูกราฟนี้ก็ได้ครับ จะเห็นได้ว่าประเทศ BBB+ อย่างเรา จะออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นเงินสกุลต่างประเทศต้องเสียดอกมากกว่าประเทศ AAA ประมาณ 1% กว่าๆ เป็นค่าของกรณีทั่วไปนะครับ ในกรณีที่ท่านไปดู Bond Yield Spread แล้วไม่ได้ตามนี้  

กราฟมันดูเหมือนจะเป็น Exponential นะครับ  ประเทศ BB+ อย่าง Greece เสียมากกว่า  AAA 2% กว่าๆ หลังจากนี้ยังชันขึ้นไปอีก

สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ 26 สิงหาคม 2547 เป็นต้นมา S&P ให้ระดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศในระยะยาวที่ออกโดย รัฐบาลอยู่ที่ BBB+ ซึ่งถือว่า มีความสามารถในการชำระหนี้อย่างเพียงพอ ลงไปจากนี้เพียงสามขั้นจะหล่นจาก Investment Grade เป็น Speculative Grade จะเสียหายอย่างร้ายแรง

แต่มันไม่ลงง่ายๆนะครับ ดูเหมือนเราน่าจะอยู่ที่ BBB+/Negative ไปอีกนานทีเดียว  

นอกจาก นั้นแล้วหลายคนคงอยากจะทราบว่า เวลาเค้าปรับระดับ rating ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร ตอบด้วยวาจา ตลาดหุ้นตอบสนองในแนวทางเดียวกับทิศทางของ rating เช่น ขึ้น rating จะทำให้หุ้นขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง

ผมก็จะให้ดูการเปลี่ยนแปลงของ SET Index ก่อนการประกาศ rating/outlook  1 เดือน (21 วันทำการ) และหลังจากนั้น 2 เดือน จะเริ่มจากการประกาศครั้งที่สองของ S&P หลังวิกฤตปี 2540 นะครับ เพื่อให้ตลาดนิ่งพอสมควร

5 พฤษภาคม 2542
ดูเหมือนตลาดในเวลานั้น จะคาดการณ์ว่า Credit Rating ของไทยน่าจะถึงเวลาเลื่อนชั้นได้แล้ว ตลาดมีการขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผลออกมาที่เปลี่ยนจากมุมมองที่เป็นลบ กลายเป็นมีเสถียรภาพเท่านั้น rating ยังคงไว้ที่ BBB- ตลาดจึงผิดหวังและลงไป 10% ภายในสองสัปดาห์ ก่อนที่จะกลับมาเป็นบวกในที่สุดภายในสองเดือนหลังจากนั้น

(ผมจำ อารมณ์ตลาดในตอนนั้นไม่ได้ เพราะหยุดเล่นอยู่ในช่วงนั้น)

8 ตุลาคม 2546 S&P เพิ่มระดับความน่าเชื่อถือจาก BBB- เป็น BBB แถมยังคงมุมมองที่เป็นบวกไว้ด้วย นับว่าดีมากๆ ตลาดตอบรับด้วยการขึ้นแรงสองวัน ตามด้วยลงสองวัน ทำให้รายย่อยคิดว่าถูกลากขึ้นไปเชือด จริงๆการปรับในลักษณะนี้มีผลบวกแรงและนาน ภายใน 1 เดือนหุ้นขึ้นไปถึง 20% (หรือ 150 จุดถ้าคิดว่าเป็นดัชนีปัจจุบัน)

ถ้าวันใดอนาคต S&P เพิ่ม rating เราเป็น A- ผมจะขายบ้านมา Long ทันที ^^

26 สิงหาคม 2547
S&P เพิ่มความน่าเชื่อถือของเราเป็น BBB+ แต่เปลี่ยนมุมมองเป็นมีเสถียรภาพ หมายถึง rating น่าจะอยู่ที่ระดับนี้อีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ขึ้นไม่ลง  หุ้นไทยขึ้นไปอีก 10% ภายในเวลาเดือนเศษๆ

หลังจาก Credit Rating ของไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลย มีเพียง จับตาดูพิเศษ ตอนปฏิวัติปี 2549  แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม 2551 หุ้นขึ้นอยู่ดีๆแท้ๆ S&P เปลี่ยนมุมมองเป็นเชิงลบ หุ้นไทยดำดิ่งทันทีติดต่อกันสองเดือน  สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจะเป็นเพราะตลาด shock เนื่องจากความน่าเชื่อถือของไทยต้องดีขึ้นเรื่อยๆไม่ใช่หรือทำไมกลายเป็น เชิงลบได้

ข้อสรุป
จริงๆข้อมูลน้อยเกินไป อยากเอาประเทศอื่นๆมาเทียบด้วย แต่ว่า ผมไม่ได้มีอาชีพนี้ครับ  ถ้าสรุปจากตรงนี้จะได้ว่า

1. การปรับ Credit Rating ขึ้นหรือลง มีผลต่อตลาดหุ้นอย่างมาก และกินเวลานาน  ห้ามไปดูถูกมันเด็ดขาด   ดังนั้น ถ้าหุ้นขึ้นแรงจากการปรับขึ้น rating ซื้อช้าไป 2-3 วันก็ยังทัน ในทางกลับกัน ถ้าปรับ credit rating ลง แล้วหุ้นลงแรง อย่าเพิ่งรับ มันยังมีหลายวัน
2. การปรับมุมมองส่งผลมากน้อยขึ้นกับสภาวะตลาดในขณะนั้นด้วย แต่มักจะส่งผลน้อยหรือไม่มีผล

ก็ขอให้ทุกท่านรวยจาก S&P และ Moodys กันทั่วหน้านะครับ  ไม่ว่าเค้าจะทำอะไรกับเรา
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เวทีเศรษฐกิจโลกเวทีประเทศไทยหวังอะไรจาก WEF
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, May 31, 2012


ระหว่างวันที่ 31พฤษภาคม-1 มิถุนายนนี้ ประเทศไทยจะเป็นที่จับตาของทั่วโลกอีกครั้งในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่เวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออก หรือ World Economic Forum on East Asia 2012 (WEF)

ที่การประชุมครั้งนี้คาดว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน โดยมีผู้นำประเทศเข้าร่วมประชุม อาทิ เจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัลคอลิฟะห์ นายกรัฐมนตรีบาห์เรน นายซูซิโล บับบัง ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และนายทองสิง ทัมมะวง นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว

แม้กระแสล่าสุดระบุว่านายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า จะปฏิเสธเข้าร่วมประชุม แต่เวทีสัมมนาครั้งนี้ก็ยิ่งน่าสนใจเพราะนางออง ซาน ซู จี ผู้นำทางการเมืองของพม่าได้ยืนยันเข้าร่วมการประชุม WEF ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ด้วย นอกจากนี้ผู้ร่วมประชุมเป็นระดับรัฐมนตรี จาก 26 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บรูไน อินเดีย สิงคโปร์ ฯลฯ และตัวแทนจากองค์กรเอกชน อาทิ ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก เลขาธิการอังค์ถัด (UNCTAD) ผู้บริหารจากธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) และผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) และซีอีโอบริษัทเอกชนชั้นนำจำนวนมาก เช่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP ) ฟูจิตสึ บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยที่เป็นสมาชิกอีกถึง 16 บริษัท

ความเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างไรแก่ประเทศไทย นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลเรื่องสื่อและสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชน ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ"ฐานเศรษฐกิจ"

++ประชาสัมพันธ์เมืองไทย

การประชุมครั้งนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความคาดหวังที่จะใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผนึกกำลังสร้างความเจริญในภูมิภาคและประชาสัมพันธ์ไทยผ่านสื่อต่างชาติ ทั้งนี้ได้กำหนดการประชุมในวันที่ 30 พฤษภาคม หรือเป็นPrivate Session จะจัดให้มีกิจกรรมเสวนาแบบแบ่งกลุ่มย่อยใน 5 สาขา คือการท่องเที่ยว สารสนเทศและการสื่อสาร สาธารณสุข การเกษตร และพลังงาน เป็นการนัดพบกันระหว่างกลุ่มนักลงทุน แต่ละกลุ่มธุรกิจจะมีหน่วยงานรับผิดชอบ อาทิ ด้านพลังงาน ทางปตท. เป็นแกนนำ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มไอซีที กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดูแลกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และบีโอไอเชิญกลุ่มอุตสาหกรรม โดยอาจจะมีการหารือเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งการประชุมลักษณะนี้จะเป็นโอกาสให้นักธุรกิจไทยอย่างมากสำหรับการสร้างเครือข่ายในอนาคต การจัดงานครั้งนี้เพราะเห็นว่าจะเป็นเครื่องแสดงถึงความเชื่อมั่นของประชาคมธุรกิจโลก ต่อการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองไทย ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือก

++เครือข่ายเชื่อมโยงภูมิภาค

การประชุม World Economic Forum on East Asia ครั้งนี้อย่างที่ทราบกันว่าจัดภายใต้หัวข้อ "Shaping the Region’s Future through Connectivity" เป็นการกำหนดอนาคตต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยการเชื่อมโยง เพื่อเป็นแนวทางการสร้างความเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจโลกผ่านมิติด้านการพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียมกัน และการประชุมจะแทรกซึมเรื่องศิลปวัฒนธรรมของไทยเข้าไปด้วย และสิ่งสำคัญที่สุดของงานคือ "Network หรือการสร้างเครือข่าย" หัวข้อการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน จึงจัดเป็น 3 หัวข้อย่อย

เรื่องแรกคือ การทบทวนรูปแบบของภูมิภาคสำหรับโลกยุคใหม่( Rethinking Regional Models for a New Global Context ) ว่าด้วยรูปแบบการพัฒนาในอาเซียนที่จะเป็นโฉมใหม่ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งบางครั้งการรวมตัวของอาเซียนอาจจะเป็นโอกาสในการลงทุนแต่อาจเป็นการคุกคาม (threat) ของการลงทุนเช่นกัน เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในอาเซียนอย่างมาก

"สำหรับประเทศไทยแล้วลึกๆ เราต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนให้มีการลงทุนที่นี่ และมีการขยายตัว ไม่ใช่เป็นเพียงทางผ่านไปลงทุนในประเทศอื่น รัฐบาลจึงเตรียมที่จะก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการเชื่อมโยงกับภูมิภาค เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมจากจีนต่อลงไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ โครงการถนนเรามี East-West Corridors และ North-South Corridors เป็นต้น เพื่อให้มองไทยเป็นศูนย์กลาง เป็นโอกาสที่เราต้องแสดงศักยภาพ ในสิ่งที่ไทยมี อย่างเช่นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ความน่าสนใจที่จะดึงการลงทุนเช่น ความปลอดภัย อย่างปัญหาน้ำท่วม ซึ่งรัฐบาลมีStory ที่จะคุยได้ สามารถบอกกล่าวถึงแผนการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ เรื่องนิสัยใจคอของคนไทยที่จะทำให้ต่างชาติต้องการเข้ามาอยู่ในไทยมาก และต้องการลงทุนด้วย เพราะชอบในนิสัยคนไทย ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงาน เรื่องอื่นๆที่ต้องปรับปรุงจะเป็นการสนับสนุนการลงทุน อาจจะต้องปรับปรุงเรื่องกฎหมาย ทางบีโอไอก็ต้องไปพิจารณาทบทวน Rethinking เช่นกัน คุยกับคนยากจนเรื่องบทบาทสตรี ความมั่นคงของมนุษย์เราต้องอยู่ในมาตรฐานด้วย"

++สร้างความเชื่อมั่น

หัวข้อที่จะหารือเรื่องที่สอง การรับมือกับความเสี่ยงในภูมิภาค Responding to a Region@Risk เช่นความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนอาหารของโลกเมื่อเราเป็นครัวของโลก แม้จะมีจีน อินเดีย ที่เป็นประเทศขนาดใหญ่ที่จะเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสด้วย เรื่องของภัยพิบัติ ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เรื่องพลังงาน ระบบการเงินในภูมิภาค เป็นต้น จะมีการหารือพูดคุยกันแล้วมาดูว่าไทยเด่นเรื่องอะไรและเสี่ยงเรื่องอะไร ซึ่งถือเป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างมาก

ส่วนเรื่องที่สามคือ การบรรลุความเชื่อมโยงในภูมิภาค( Realizing Regional Connectivity ) ที่จะเป็นการเชื่อมโยงเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชน เทคโนโลยี วัฒนธรรมจนถึงเรื่องอุตสาหกรรม เรื่องของประชาชนคือการไหลของคน จะเป็นการเปิดประตูอาเซียนที่จะกลายเป็นแหล่งผลิต ถ้ามองให้เป็นโอกาสมากกว่าความเสี่ยงเราก็จะขายได้มากขึ้น

"การจัดงานนี้เจ้าของประเทศจะได้ประโยชน์มากเมื่อมีนักธุรกิจเข้ามาพูดคุย ทำความเข้าใจ ทางท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ จะSpeech ในงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะเรื่องปัญหาน้ำท่วมเป็นโอกาสของประเทศ แม้จะไม่ง่ายในการบริหารจัดการน้ำให้เป็นรูปธรรม เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้ต้องมีการสร้างเขื่อนหรือไม่ สร้างอ่างเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ที่ใช้เงินประมาณ 3.5-4 แสนล้านบาท และโอกาสที่จะได้งบประมาณแบบนี้ก็ยาก แต่จะทำให้ประเทศไทยมีการบริหารจัดการน้ำ คน โครงการ ระบบที่จะสมบูรณ์ ซึ่งตอนนี้เรื่องนี้ก็คืบหน้าไปมาก บางโครงการอาจจะต้องใช้เวลา โดยสรุปก็คือโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมปีนี้ไม่สามารถทำได้ครบ 100% ถ้าจะให้ครบคงต้องใช้เวลา 2-3 ปี"

ปีนี้ถ้าน้ำจะมาทางพื้นที่ตอนบนต้นน้ำช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม มีแผนเตรียมที่จะทำ เช่น ทำฝาย ปลูกหญ้าแฝก เรื่องปลูกป่าไม้คงยังไม่ได้ทำ แก้มลิง อ่างเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ที่ต้องเสร็จในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และพื้นที่ด้านบนต้องทำพื้นที่เก็บน้ำเพิ่ม ตอนกลาง ที่น้ำอาจจะท่วมอีกตามแผนช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โครงการต่างๆต้องเสร็จ โครงการหลักๆก็จะมีอ่างเก็บน้ำ บึงทั้งหลาย คูคลอง แม่น้ำ ต้องมีการดูแลและจัดการ ช่วงแรกต้องเสร็จเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนปลายน้ำ อยุธยา โครงการเรื่องอ่างเก็บน้ำ ต้องเสร็จในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม อย่างช้าเดือนกันยายน นิคมอุตสาหกรรมการทำเขื่อนรอบนิคมต้องมีขุดลอกคูคลอง ทำคันกั้นน้ำ การสร้างประตูระบายน้ำต้องมี ประตูน้ำบางโฉมศรี คาดว่าจะเสร็จเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม การขุดลอกคูคลองในกทม.ก็เริ่มทำไปมากว่า 50%แล้ว

"ต้องเข้าใจว่ากว่าที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วม หรือกว่าที่ พ.ร.ก.ได้รับอนุมัติ แต่เป็นสัญญาว่าเดือนสิงหาคมต้องเสร็จ ต้องกันน้ำให้อยู่ โครงการแก้มลิงแม้จะมีปัญหามาก อยู่ในช่วงกระทรวงมหาดไทยเริ่มเจรจาในวงที่มีความจำเป็น คือต้องการพื้นที่ 2 ล้านไร่ที่จะรับน้ำ 5,000 ลบ.ม. ซึ่งรัฐบาลประเมินสถานการณ์เชื่อว่าโครงการส่วนใหญ่จะแล้วเสร็จถ้าน้ำเท่ากับปี 2554 จะท่วมน้อยกว่าปี 2554 ซึ่งถ้าแผนชัดเจนน่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้บ้าง และน้ำต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติทำให้เป็นองค์กรที่ถาวร"

++หวังนักลงทุนสร้างรายได้

ต่อข้อถามถึงความคาดหวังการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม WEF ครั้งนี้ นายนิวัฒน์ธำรงตอบว่า รัฐบาลหวังใน 5 ประเด็นคือ 1.ให้ต่างประเทศเห็นศักยภาพและเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการเมืองของไทยและจูงใจให้เข้ามาลงทุนด้านการค้า ท่องเที่ยว จึงจะใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ หลังสถานการณ์อุทกภัย โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว เพราะหลังจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมาทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศลดลง ซึ่งจะเป็นเป้าหมายหลักให้นักลงทุนเห็นกับตาว่าไทยพร้อมทุกด้าน

2. การจัดประชุมระดับโลกเช่นนี้จะมีสื่อชั้นนำคาดว่ามีกว่า 200 คน ไม่รวมกับผู้เข้าร่วมประชุม 700 คน ที่จะได้มาเห็นและจะช่วยถ่ายทอดความรู้สึกและเผยแพร่ไทยไปทั่วโลก ในบางหัวข้อจะมีการถ่ายทอดCNBC ซึ่งน่าจะเป็นที่น่าสนใจกับนักลงทุน

3. ผลพลอยได้ต่อไปคือเรื่องรายได้ จากการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวของผู้ที่มาร่วมประชุมในไทยเพราะผู้ที่มาก็มักมีผู้ติดตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวและทีมงาน 4.หวังผลพวงจากการประชุมจะมีการลงทุนการค้า ท่องเที่ยวตามมา อย่างเช่นปี 2554 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดงานระบุว่าหลังการจัดงานประชุมมีนักลงทุนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้ จะเข้าไปลงทุนในประเทศนั้นประมาณ 6.2 แสนล้านบาท หรือ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และ 5. การถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการและด้านต่างๆเป็นการสร้างเครือข่ายของภูมิภาค

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,744

31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เวิลด์อีโคโนมิควันแรกระบบป่วน
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, May 31, 2012 04:01

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 30 พ.ค. ที่โรงแรมแชงกรี-ลา บรรยากาศทั่วไปของการจัดงานเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ออน อีสต์เอเชีย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเป็นวันแรกนั้น ตั้งแต่ช่วงเช้ามีบรรดาผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงเจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน เดินทางเข้าร่วมงานมากกว่า 400-500 คน ทำให้ในช่วงเวลาประมาณ 09.50 น.ระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้ลงทะเบียนเกิดล่มขึ้น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของโรงแรมได้เร่งแก้ไขและสามารถกลับมาเปิดใช้ได้อีกครั้ง ทำให้ผู้ที่จะเข้ามาขอรับบัตรเข้างานต้องใช้เวลารอนานกว่าชั่วโมงครึ่ง ทั้งนี้ในช่วงเช้ายังได้มีการหารือแบบกลุ่มย่อยเกี่ยวกับความร่วมมือด้านไอที และด้านพลังงาน ซึ่งนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานจัดงานร่วมได้คอยต้อนรับผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน , น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที

ต่อมาช่วงบ่ายในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และนายมารี เอลก้า ปังคัสตู รมว.ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอินโดนีเซีย ร่วมหารือถึงความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่งานเวิลด์อีโคโนมิคฯได้เริ่มขึ้นเป็นวันแรกแล้ว ในวันที่ 31 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันเปิดงานอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งผู้นำของประเทศบาห์เรน อินโดนีเซีย ลาว พม่า และเวียดนาม นักธุรกิจชั้นนำของโลกกว่า 450 คน โดยในช่วงเวลา 15.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดและร่วมแสดงทรรศนะเกี่ยวกับการสร้างความเชื่อมโยงของภูมิภาคในด้านต่าง ๆ รวมทั้งจะเข้าร่วมหารือกับกลุ่มผู้นำของประเทศที่สำคัญ เกี่ยวกับแนวทางการเข้าร่วมลงทุนการค้า อุตสาหกรรม และการพัฒนาประเทศระหว่างกันด้วย

ด้านนายเธียร์รี่ เกเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการร่วมประจำศูนย์การแข่งขันระดับโลกและประสิทธิภาพการทำงาน ของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ได้เสนอรายงานประจำปี 54-55 เรื่องศักยภาพการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยนายเกเกอร์ ประเมินไว้ว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ 39 ของโลก ได้รับคะแนนรวมที่ 4.5 คะแนน คิดเป็นอันดับ 4 จากภูมิภาคอาเซียน ตามหลัง สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ตามลำดับ ซึ่งจุดอ่อนของไทยคือปัญหาการเมือง คอร์รัปชั่น และการขาดความน่าเชื่อถือของนโยบาย ทั้งนี้อันดับที่ 39 เป็นอัตราเดิมของปี 54 ซึ่งเป็นการประเมินก่อนเกิดเหตุการณ์วิกฤติน้ำท่วมเมื่อปลายปี โดยจะมีการจัดอันดับใหม่ทั่วโลก รวมถึงไทย ประมาณเดือน ต.ค. นี้.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 11

โพสต์

วันที่ 11 สิงหาคม 2555 07:04
รัฐบาลญี่ปุ่นหนี้พุ่งกว่า900 ล้านล้านเยน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

หนี้รัฐบาลญี่ปุ่นพุ่งสูงสุดทำสถิติใหม่ทะลุ 976 ล้านล้านเยนในไตรมาส 2 ปี 2555

กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า หนี้รัฐบาลญี่ปุ่นพุ่งสูงสุดทำสถิติใหม่ที่ระดับ 976.19 ล้านล้านเยน (12.4 ล้านล้านดอลลาร์) ตั้งแต่สิ้นเดือนมี.ค. - สิ้นเดือนมิ.ย. บ่งชี้ว่าญี่ปุ่นประสบความลำบากในการหนุนสถานะการคลังของประเทศ ซึ่งถือว่ารุนแรงสุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วรายอื่น

หนี้ของรัฐบาลกลาง เพิ่มขึ้นอย่างมาก 1.7% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการใช้จ่ายด้านการปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง ภายหลังเกิดภัยภิบัติสึนามิและแผ่นเดือนไหวเมื่อ 11 มี.ค. 2554 ซึ่งหนี้สินทั้งหมดของรัฐบาล ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาล 797.08 ล้านล้านเยน การกู้ยืม 54.25 ล้านล้านซึ่งส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ และค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับการระดมทุนระยะสั้น 124.86 ล้านล้านเยน

ทั้งนี้ จะมีการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลัง ทุกสามเดือน ตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

http://bit.ly/PacZf5
แนบไฟล์
news_img_465682_1.jpg

// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: ภาพรวมปัญหาหนี้สาธารณะของโลก

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Treasury

Coupon

Maturity

Price/Yield

Price/Yield Change

Time



U.S. Government Bonds



12 Month

0.0000

2013-07-25

0.1650 / 0.1675

0.0000 / -0.0000

02:11:18



3 YEAR

0.2500

2015-08-15

99-21¼ / 0.3627

+0.0156 / -0.0053

02:11:04



5 YEAR

0.5000

2017-07-31

99-02¼ / 0.6909

+0.0781 / -0.0160

02:10:48



U.K. Government Bonds



12 Month

4.5000

2013-03-07

102.4500 / 0.1442

0.0000 / -0.0203

08/10/2012



3 YEAR

2.7500

2015-01-22

106.3130 / 0.1494

0.0000 / -0.0028

08/10/2012



5 YEAR

1.7500

2017-01-22

105.3900 / 0.5164

0.0000 / -0.0007

08/10/2012



Japan Government Bonds



12 Month

0.2000

2013-08-15

100.1090 / 0.0850

+0.0030 / -0.0030

00:20:53



3 YEAR

1.2000

2015-06-20

103.1690 / 0.0790

+0.0020 / -0.0020

01:57:31



5 YEAR

0.2000

2017-06-20

100.0860 / 0.1770

+0.0480 / -0.0100

01:59:58
ลงทุนเพื่อชีวิต
โพสต์โพสต์