วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ดร.โกร่ง บัญญัติศัพท์ วิกฤติโอลิมปิก จากวิกฤติหนี้ของกรีซ ชี้ ส่งผลกระทบรุนแรง และหนักกว่า วิกฤติซับไพร์ม และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หวั่นนำไปสู่การล้มละลายของเศรษฐกิจยูโรโซน...

นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) นักเศรษฐศาสตร์มหภาคคนสำคัญของประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ "ทีมเศรษฐกิจไทยรัฐ" เกี่ยวกับวิกฤติหนี้และการคลังของประเทศกรีซ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกรีซและประเทศที่ถือพันธบัตรของกรีซไว้เป็นจำนวนมาก เช่น สเปน โปรตุเกสและอิตาลี จะส่งผลกระทบรุนแรงและหนักกว่าวิกฤติซับไพร์มหรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งท้ายสุด อาจนำไปสู่การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนได้ หากชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในกลุ่มซึ่งแข็งแรงกว่าและมีพละกำลังมากพอจะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ได้ยังมัวแต่คิดถึงคะแนนเสียงเลือกตั้งของตนและตัดสินใจให้ความช่วยเหลือล่าช้าเกินไป

"เมื่อเกิดความตื่นตระหนก คนก็จะนำพันธบัตรของกรีซออกมาเทขาย ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรในขณะนี้พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 11% จากที่เคยให้ 2% ก็เท่ากับลดราคาจาก 100 ลงเหลือ 20 หรือลดลง 5 เท่า แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีใครซื้อ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ อีกสักพักธนาคารพาณิชย์ก็จะต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่บรรดากองทุนถืออยู่เพื่อให้เป็นมูลค่าตามราคาตลาดปัจจุบัน หรือราคาล่าสุดที่มีการซื้อขายกันจริง (Mark To Market)"

นายวีรพงษ์กล่าวด้วยว่า เมื่อมีการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิในรูปแบบต่างๆใหม่ ปัญหาก็จะลุกลามไปสู่ประเทศที่ลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หรือแม้แต่หุ้นเป็นจำนวนมาก และนี่คือสาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์กำลังเป็นห่วงสเปน โปรตุเกสและอิตาลี ซึ่งกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินในประเทศเหล่านี้เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ของกรีซไว้มาก เมื่อไหร่ ที่ถูก mark to market ผู้ถือตราสารหนี้ หรือพันธบัตรก็จะขาดทุนหมด

"คุณอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดเหล่านี้ เพราะนักเศรษฐศาสตร์ในสหภาพยุโรปดูเหมือนจะปิดปากกันเงียบเชียบ ในขณะที่ต่างรู้ดีว่าราคาของสินทรัพย์ หรือพันธบัตรในประเทศเหล่านี้กำลังลดลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อราคาสินทรัพย์ตกต่ำลง ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมก็จะขาดทุนกันชนิดที่เรียกว่าหูตูบ  และกลายเป็นโดมิโนแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับวิกฤติซับไพร์มและตราสารหนี้ ซีดีโอ"

นายวีรพงษ์   ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อเล่นว่า "ดร.โกร่ง" ยังบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อเรียกวิกฤติหนี้และการคลังของกรีซในครั้งนี้ด้วยว่า วิกฤติโอลิมปิก (Olympic Crysis) สาเหตุเพราะ กรีซเป็นประเทศต้นแบบของกีฬาโอลิมปิก ขณะที่หนี้สาธารณะซึ่งสูงถึง 112% ของจีดีพี (รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) หรือที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจบางแห่งให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของกรีซไว้สูงถึง 120% ของจีดีพีนั้น มีสาเหตุมาจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของกรีซในปี ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ที่ใช้ชื่อว่า ATHENS GAMES จากบันทึกการจัดการแข่งขันครั้งนั้นระบุว่า แม้รัฐบาลกรีซจะได้รับการชื่นชมว่าสามารถนำกีฬาโอลิมปิกกลับมาตุภูมิสำเร็จ และประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพนานัปการ แต่รัฐบาลกรีซกลับต้องพบกับปัญหาใหญ่หลวงของฐานะการคลังที่ทรุดลงอย่างรุนแรง เพราะใช้งบประมาณเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ไปเกินกว่าหลายเท่าตัว จากที่วางเป้าหมายไว้ว่าจะใช้เงินเพียง 4,600 ล้านยูโร แต่เอาเข้าจริง กรีซกลับต้องใช้งบประมาณไปสูงถึง 10,000 ล้านยูโร เนื่องจากต้องลงทุนระบบการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการก่อการร้ายสูงมาก  เพราะโลกเพิ่งเผชิญกับเหตุการณ์ ร้ายแรงจากการก่อการร้าย 911 มาหมาดๆ

เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวผสมโรงกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่เดิมจากการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประเทศที่ใช้เงินยูโร ตลอดจนถึงการต้องลงทุนในระบบสาธารณูปโภคใหม่เพื่อการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กรีซต้องขาดดุลงบประมาณสูงถึง 5.2% สูงกว่าข้อกำหนดที่สหภาพยุโรปตั้งไว้ว่าประเทศในกลุ่มยูโรโซนจะขาดดุลงบ ประมาณได้ไม่เกิน 3% ปัญหาของกรีซไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากแต่ยังมีปัญหาการเมืองที่ไม่โปร่งใสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการเลือกตั้งใหม่ ที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดเปิดการแข่งขันเอเธนส์ เกมส์ เพียงไม่ กี่เดือน รัฐบาลใหม่ที่เข้ามา มีรายจ่ายหลายด้านที่ไม่โปร่งใส โดยเฉพาะด้านการทหารที่ไม่ปรากฏในงบประมาณ ขณะที่การก่อหนี้สาธารณะยังทำกันอย่างลับๆ และปิดบังฐานะที่แท้จริงให้แก่คณะกรรมาธิการการเงินของสหภาพยุโรปทราบ กระทั่งปัญหาลุกลามบานปลายไปจนไม่สามารถปิดบังฐานะที่แท้จริงได้อีกต่อไป เพราะกรีซไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยวและส่งออกมากเพียงพอต่อรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยและไม่มีวินัย หนี้สาธารณะที่แท้จริงจึงปรากฏขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงถึง 112% ของจีดีพีเมื่อมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามา

"ถามว่า ปัญหานี้จะแก้ไขอย่างไร วิธีแก้ก็มีดังนี้ คือ 1.อียูต้องยอมให้เงินกู้แก่กรีซ ซึ่งผมคิดว่า น่าจะมากกว่าที่ประเมินกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเงินยูโรที่ระดับ 145,000 ล้านยูโร เท่าที่มีการประเมินกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ก็คือ มีความเป็นไปได้ว่า อียูอาจต้องใช้เงินกอบกู้วิกฤติโอลิมปิกครั้งนี้สูงถึง 1 ล้านล้านยูโร"

ข้อ 2.ยุติการดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่บีบให้รัฐบาลกรีซต้องปรับลดรายจ่ายในงบประมาณลง หรือบีบให้ลดเงินเดือนข้าราชการ เพราะข้อกำหนดนี้นำมาซึ่งเหตุการณ์จลาจล ที่ทำให้ผู้คนลุกฮือขึ้นมาเผาบ้านเผาเมืองอย่างที่เห็น  "สูตรเดียวกันนี้เคยนำมาใช้บังคับกับประเทศไทยในวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้วและก็ทำให้เราพัง เพราะฉะนั้น One Formular Fits All ของไอเอ็มเอฟนั้น ใช้ไม่ได้ผลแน่นอน"

ข้อ 3.ถ้าเป็นประเทศที่มีสกุลเงินของตัวเอง ไม่ได้ใช้สกุลเงินรวมอย่างในระบบยูโรโซน นายวีรพงษ์ให้ความเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์อาจใช้เครื่องมือสำคัญคือ  ลดค่าเงินลงได้ เพื่อให้การส่งออกนำรายได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้หนี้ที่มีอยู่และเพื่อการใช้จ่าย  หรือการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นเรื่องโชคร้ายที่กรีซใช้ระบบเงินรวม เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนตัว ประเทศในกลุ่มเดียวกันก็อ่อนตัวลงด้วย และประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าทั้งในเรื่องของการผลิต  การส่งออกและบริการ ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์ไปแทน

"ราคาสินค้าหรือบริการที่คิดว่าน่าจะต่ำจนดึงดูดคนซื้อได้ ก็กลับมีราคาเท่ากับประเทศอื่นๆ นี่จึงเป็นจุดอ่อนของการใช้เงินตราร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ท้าทายและน่าหวาดเสียวว่า อียูจะสามารถรักษาระบบเงินตราสกุลเดียวของตนไว้ได้หรือไม่เพียงไรเพื่อไม่ให้ล่มสลายไป ด้วยเหตุที่มีประเทศในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน ที่เรียกว่า Chiang Mai Initiative จะต้องจับตาดูบทเรียนที่กำลังเกิดขึ้นกับยูโรโซนนี้ให้ดีว่า เมื่อมีการรวมเงินเป็นสกุลเดียวกันแล้ว ก็จะไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อีก เช่นเดียวกับกรีซที่ไม่มีเครื่องมือแก้ปัญหานี้ กระทั่งอาจจะต้องล่มสลายไปในที่สุด" นายวีรพงษ์กล่าวในที่สุด.
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
vivitawin
Verified User
โพสต์: 1922
ผู้ติดตาม: 1

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 2

โพสต์

หนักกว่า ซัพไพม์ เลยเหรอ เหอๆ
ผมว่า มันคนละ size กันเลยนะ  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 3

โพสต์

[quote="vivitawin"]หนักกว่า ซัพไพม์ เลยเหรอ เหอๆ
ผมว่า มันคนละ size กันเลยนะ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
merman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 235
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 4

โพสต์

[quote="picklife"][quote="vivitawin"]หนักกว่า ซัพไพม์ เลยเหรอ เหอๆ
ผมว่า มันคนละ size กันเลยนะ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
Anti-Aircraft
Verified User
โพสต์: 807
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คนเราไม่ควรมีความสุขบนความทุกข์ของคนอื่นนะครับ

แต่ตอนนี้กระสุนผมเต็มแมกครับ

แกร๊ก ! (ขึ้นนก) :twisted:
อย่ายอมแพ้
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รัฐมนตรีคลังของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) มีมติจัดตั้งกองทุนทางการเงิน 600,000 ล้านยูโร (ประมาณ 30 ล้านล้านบาท) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อสกัดไม่ให้วิฤติการเงินของกรีซลุกลามทั่วภูมิภาค และกระทบเสถียรภาพเงินสกุลยูโร โดยมติดังกล่าว มีขึ้นหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ช่วยเหลือกรีซ กู้เงิน 30,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) ระยะเวลา 3 ปี เพื่อยับยั้งวิกฤตหนี้ของกรีซ ไม่ให้ลูกลามไปยังประเทศอื่นในกลุ่มอียู

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2553 09:21:56 น.
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้อนุมัติเงินกู้มูลค่า 3 หมื่นล้านยูโร หรือ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือกรีซในการแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านการคลัง ซึ่งนับเป็นวงเงินสูงสุดเท่าที่ไอเอ็มเอฟเคยปล่อยกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาด้านการเงิน

แถลงการณ์ของคณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟระบุว่า เงินกู้ 3 หมื่นล้านยุโรเป็นส่วนหนึ่งของวงเงินกู้รวมมูลค่า 1.10 แสนล้านดอลลาร์ตามข้อตกลงที่ไอเอ็มเอฟทำร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) โดยมีเป้าหมายที่จะยับยั้งวิกฤตหนี้สินของกรีซไม่ให้ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยุโรป

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2553 06:51:10 น.
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
nun08
Verified User
โพสต์: 558
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แผนการแก้วิกฤตของ Greece

ประเด็นร้อนช่วงนี้ ก็คงไม่พ้นจากเรื่องของความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของประเทศกรีซ ซึ่งวันนี้เราจะมาสรุปให้ฟังกันถึงรายละเอียดของแผนช่วยเหลือ นัยต่อยุโรป และสิ่งที่ต้องทำต่อไป

อยากให้สรุปว่าแผนช่วยเหลือที่ประกาศออกมาเป็นอย่างไร

หลังจากที่ได้ยื้อกันมานาน ในที่สุดแผนการช่วยเหลือกรีซก็ได้คลอดออกมาเป็นรูปร่าง เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ พันธบัตรรัฐบาลกรีซถูกปรับลดอันดับลงไปเป็น Junk bond  เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยแผนดังกล่าวมีรายละเอียดที่น่าสนใจหลายด้าน

หนึ่ง แผนนี้เป็นความตกลงร่วมกัน 4 ฝ่าย คือ EU IMF ECB กับกรีซ การต้องมีหลายคนเข้ามาร่วมกันเพราะว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่เกินกว่า IMF จะยืนมือเข้าไปช่วยเหลือคนเดียวได้ และต้องการความช่วยเหลือจากหลายคน

ยุโรปและจาก IMF เป็นคนให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินจำนวนวงเงิน 110 พันล้านยูโร โดยทาง IMF จะช่วยจ่ายให้เป็นจำนวน 30 พันล้านยูโร ส่วนที่เหลือจะมาจากประเทศสมาชิกในยูโร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากเยอรมันและฝรั่งเศส

เงินจำนวนดังกล่าวจะถูกแบ่งจ่ายออกในช่วง 3 ปี ที่จะถึงนี้ โดยในปีแรกกรีซจะได้เงินช่วยเหลือจำนวน 30 พันล้านดอลลาร์ยูโร และอีกสองปีถัดไปปีละ 35 พันล้านยูโร พร้อมกับเงินอีก 10 พันล้านยูโรเอาไว้ช่วยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน

IMF มีหน้าที่เพิ่มเติมในการให้คำปรึกษา สร้างความเชื่อมั่นในแผนการช่วยเหลือ และกำกับดูให้เป็นไปตามแผนที่ตกลงกันไว้

ส่วนของ ECB นั้นจะช่วยในส่วนของการให้สภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยอมผ่อนกฏเกณฑ์ให้สถาบันการเงินสามารถเอาพันธบัตรกรีซเป็นตราสารค้ำประกันเวลาที่ต้องการกู้ยืมเงินระยะสั้นจากทาง ECB แม้ว่าในปัจจุบันพันธบัตรกรีซจะเป็น Junk Bond แล้วก็ตาม

ส่วนกรีซ มีหน้าที่รัดเข็มขัด ปฏิรูปตนเองให้ได้

สอง ในส่วนของรายละเอียดของแผนนั้น ก็มีความน่าสนใจมาก โดยแผนนี้มีเป้าหมาย 2 ด้าน ก็คือ (1) แก้ไขปัญหาด้านการคลัง และหนี้ภาครัฐ ซึ่งกรีซมีหนี้อยู่สูงมากที่สุดในกลุ่มยูโรที่ 125% ของ GDP ในปีนี้ และ (2) การแก้ไขปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันของกรีซ เพื่อให้กรีซสามารถที่จะกลับมาเจริญเติบโตได้อีกครั้งหนึ่ง

งานด้านแรกที่กรีซต้องทำ ก็คือ จัดการปัญหาด้านการคลังให้จบลงไป จากเคยขาดดุลสูงถึง 13.6% ในปี 2009 ต้องลดให้เหลือ 2.6 % ใน 3 ปีข้างหน้า หรือลดลง 11% ของ GDP ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนที่ใหญ่มาก แต่ว่าต้องทำ

5.25% จะมาจากการลดการใช้จ่ายภาครัฐลงไป โดยจะไม่เพิ่มเงินเดือนข้าราชการและเงินบำนาญ เป็นเวลา 3 ปี และยกเลิกเงินที่จ่าย bonuses ให้ในช่วงคริสตมาส อีสเตอร์ วันปิดภาคฤดูร้อน ออกไป

อีก 4% มาจากการเพิ่มรายได้ จากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ยาสูบ เหล้า เป็นต้น

1.8% ที่เหลือจะมาจาก การปฏิรูประบบภาษีเพื่อกำจัดช่องโหว่ทางภาษีและเพิ่มฐานภาษี

นอกจากนี้ ในข้อตกลงกับ IMF กรีซจะมีการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม ประกันสังคม ประกันการว่างงาน รวมไปถึงการขยายเวลาการทำงานออกไปจนถึง 65 ปี และลดรายจ่ายด้านทหารลง

ตลาดขานรับดีหรือไม่ และนักวิเคราะห์นักเศรษฐศาสตร์คิดว่าอย่างไร

การขานรับไม่ดีเท่าที่คิดไว้ โดยในช่วงวันจันทร์อาจจะปรับตัวดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรกรีซที่ปรับตัวลดลงจากที่เพิ่มขึ้นไปมากเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของ CDS ของกรีซ โปรตุเกส และสเปน

ทำให้ในวันอังคารกับวันพุธคนเริ่มมีความกังวลใจว่า ปัญหาของประเทศกรีซจะกระจายตัวไปที่โปรตุเกส และสเปน ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงมาอย่างแรง โดยเฉพาะในยุโรป และในกลุ่มแบงก์ของยุโรป

ตรงนี้ ที่หลายคนกลัวและกังวลใจมีอยู่หลายประเด็น

หนึ่ง ตกลงว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวจะเพียงพอต่อความต้องการในการใช้เงินของกรีซในช่วง 3 ปีข้างหน้าหรือไม่ เพราะว่าหนี้ภาครัฐกรีซมีทั้งหมดประมาณ 3 แสนล้านยูโร

ที่คนกลัวก็คือ จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรของกรีซหรือไม่ เพราะว่าคนที่ถือพันธบัตรเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือแบงก์ในยุโรป ตรงนี้ไม่น่าแปลกใจว่าหุ้นแบงก์ตกลงมากในช่วง 2-3 วันที้ผ่านมา

ยิ่งไปกว่านั้น ขนาดของ package ที่ออกมานั้น ใหญ่กว่าที่ได้พูดไว้ และตอนนี้คนกำลังกังวลว่าถ้าโปรตุเกสเกิดปัญหา และสเปนเกิดปัญหา ยูโรจะมีเงินพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้หรือไม่

สอง  กรีซจะสามารถจัดการปัญหาการประท้วงและเดินขบวนในประเทศได้หรือไม่ เพราะสหภาพแรงงานของกรีซมีความเข้มแข็งมาก และการประทัวงเริ่มรุนแรง มีคนเสียชีวิต 3 คน เมื่อวาน ถ้าทำไม่ได้ แผนการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้อาจจะไม่เข้าเป้า

สาม ต่อให้ทำได้ การที่กรีซจะต้องลดการใช้จ่าย และเก็บภาษีเพิ่ม กรีซจะขยายตัวได้อย่างไร เพราะปกติแล้วในประเทศที่ IMF เข้าไปช่วยเหลือ จะสามารถที่จะลดค่าเงินประกอบด้วย ซึ่งจะช่วยให้ภาคส่งออกสามารถขยายตัวได้ และช่วยให้ต้นทุนการผลิตและค่าจ้างแรงงานของกรีซซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ ปรับลดลงมาและแข่งขันได้ แต่ในกรณีนี้ไม่มี แล้วถ้าเศรษฐกิจไม่โต จะเอาสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ลงมาได้อย่างไร

สี่ จะทำอย่างไรกับปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน และปัญหาการแห่ถอนเงินจากแบงก์ในกรีซ เพื่อป้องกันว่าหากเกิดปัญหาก็จะไม่ถูกกระทบ ตรงนี้ ในส่วนของหนี้เสียในแผนได้เตรียมเงินไว้เพิ่มทุนแบงก์แล้ว 10 พันล้านยูโร แต่ว่าปัญหาที่น่ากังวลใจไปกว่านั้นก็คือปัญหาการถอนเงินจากแบงก์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ยังเป็นเครื่องหมายคำถามที่สำคัญอยู่  ตรงนี้เป็นจุดอ่อนที่ต้องกังวลใจ

หลังจากนี้ จะเกิดอะไร

ชัดเจนว่ายุโรปไม่สามารถที่จะปล่อยให้กรีซเป็นอะไรไปได้ เพราะว่าจะมีนัยต่อประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาที่เหลือ และต่อกลุ่มยูโรเองโดยรวมด้วย

โดยทั้งหมดนี้ เป็นการซื้อเวลาให้กรีซ และยุโรปโดยรวม ประมาณ 2 ปี ซื้อเวลาให้กรีซในการที่จะสร้างวินัยทางการคลังให้เกิดขึ้น ก่อนที่จะกลับไประดมเงินจากตลาดทุนระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง และซื้อเวลาให้กับประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ควรจะได้รับบทเรียนว่า กรุณาสร้างวินัยการคลังให้เกิดขึ้น ไม่งั้นอาจจะเป็นเป้าหมายของการโจมตี

และเนื่องจากเงินที่ให้ไปมากพอ เทียบกับพันธบัตรที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้น กรีซคงไม่ default อย่างไรก็ตาม เงินที่ช่วยให้ไป แค่เป็นการแก้ไขปัญหาขั้นต้นเท่านั้น แต่ในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ที่ห้ามไม่ได้ก็คือ

การปรับลดอันดับ Credit rating ของประเทศต่างๆในยุโรป ที่จะเกิดเป็นระลอก ตรงนี้ตะส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร ก็จะมีคนหนีตายกลับไปที่สหรัฐหรือเยอรมันเป็นช่วงๆ ซึ่งเมื่อบางคนเอาเงินกลับไปที่สหรัฐ ค่าเงินยูโรเองก็จะผันผวน และจะอ่อนค่าลงอีกระยะหนึ่งจากที่ทำ New low ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

เศรษฐกิจของยุโรปโดยรวม การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในยุโรป ก็จะช้าลงอีก เพราะว่า spotlight กำลังอยู่ที่เรื่องวินัยการคลัง ประเทศต่างๆ ก็จะมีความกังวลใจในการที่จะใช้จ่ายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ และปัญหาสถาบันการเงินก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตรงนี้ก็จะมีนัยกับทุกคนเพราะประเทศในยุโรปค้าขายกันเองมาก

เงินฝืด ที่จะเกิดขึ้นในบางประเทศ โดยเฉพาะที่มีเงินเฟ้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยของยูโร โดยเฉพาะกรีซ สเปน โปรตุเกส ตรงนี้ก็จะเป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้น เพราะว่าพอค่าเงินปรับไม่ได้ ก็ต้องให้ต้นทุนปรับลดลง จากปัญหาการว่างงานที่อยู่ในระดับที่สูง จากเศรษฐกิจที่ถดถอย ตรงนี้ก็จะเป็นทางออกให้กับปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันของกรีซที่สูญหายไปในช่วงที่ผ่านมา

ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ เพราะสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่นิ่งและส่งผลกระทบกับตลาดทุนทั่วโลกอยู่อย่างต่อเนื่อง


ที่มา: Blog ดร. กอบ www.kobsak.com

          :roll:  :roll:    วิกฤต วิหารเทพ..........เทพ โพไซดอน จะไหวป่าวหนอ อิอิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jazzman
Verified User
โพสต์: 388
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมว่า แล้วแต่มุมมองคับ คนกลัวขาย คนกล้าถือ เดี๋ยวอีก 3-4 เดือน รู้กัน วิกฤติไม่ได้แก้กันวันเดียว งืมๆๆ

แกร๊ก ---- ตามพี่ anti aricraft ูู.
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
wisut
Verified User
โพสต์: 470
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 11

โพสต์

คลื่นทะเลใต้ เขียน:ผมว่า แล้วแต่มุมมองคับ คนกลัวขาย คนกล้าถือ เดี๋ยวอีก 3-4 เดือน รู้กัน วิกฤติไม่ได้แก้กันวันเดียว งืมๆๆ

แกร๊ก ---- ตามพี่ anti aricraft ูู.
ช่วงแรกๆ subprime,tomyumkung ก้แบบนี้แหละ

บอกว่าแก้ได้ ......สุดท้ายไม่มีใครหนีทัน
golfkinmon
Verified User
โพสต์: 281
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 12

โพสต์

EU creates $1 trillion package to save euro

BRUSSELS European foreign ministers and EU leaders are voicing optimism that the $1 trillion plan to prevent its debt crisis from undermining the euro and derailing the global economy was working as hoped.

EU foreign affairs chief Catherine Ashton says the plan is good both for Europe and the world economy.

Stock and bond markets in Asia and Europe are rising on the news of the EU move.

Under the three-year plan adopted early Monday, countries from the 16-nation eurozone would promise backing worth euro440 billion for troubled governments. The IMF would contribute about additional euro250 billion and the EU euro60 billion.

THIS IS A BREAKING NEWS UPDATE. Check back soon for further information. AP's earlier story is below.

BERLIN (AP) The German government will move swiftly to approve its share of the new rescue package for the eurozone, Chancellor Angela Merkel said Monday, calling the plan a necessary measure to protect her compatriots' money.

Merkel said her Cabinet will pass the package of loan guarantees in a special meeting Tuesday and it will then go to parliament for "quick but thorough" consideration.

Under the three-year plan, the European Commission the EU's governing body will make euro60 billion ($75 billion) available while countries from the 16-nation eurozone would promise backing for euro440 billion ($570 billion).

The IMF would contribute an additional sum; and the European Central Bank said it is ready to buy debt from the eurozone.

"We are convinced that everything was done to be able to secure the stability of our currency," Merkel said at a brief early morning news conference.

"I can say this to our citizens: we are protecting the money of people in Germany," she said. "This package is necessary and serves to guarantee and secure the future of the euro."

Germany's share of the loan guarantees is expected to be some euro123 billion.

Merkel stressed that budget consolidation in the 16 eurozone countries will have "extraordinary importance."

"Access to the guarantees we are setting up will be linked to consolidation programs being provided to the IMF and the European Union, which will then be regularly reviewed," Merkel stressed.

Rescuing Greece from its own financial irresponsibility was unpopular in Germany. The government on Friday pushed through parliament Germany's share of a separate rescue package for Greece.

Merkel said that "we don't need to approve this bill within two or three days but can complete deliberations with a little more time" because the European Commission's initial euro60 billion contribution doesn't require national approval.

"The eurozone's member states showed yesterday that we have a common political will to do everything for the stability of our common currency," she said. "This is a determined and united message to those who think that they can weaken Europe."

http://news.yahoo.com/s/ap/20100510/ap_ ... ial_crisis
Money is neutral
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sorgios
Verified User
โพสต์: 368
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หนักกว่าซับไพร์มรึเปล่า อันนี้ไม่รู้

แต่ต้องไม่ลืมว่าทุกๆประเทศในกลุ่มยูโร ไม่ปล่อยให้ลุกลามไปมากกว่านี้แน่

คงต้องอัดฉีดเงินช่วยเหลือเต็มที่เพื่อป้องกันไว้ก่อน
CHIN UP, Do not give up !!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jazzman
Verified User
โพสต์: 388
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 14

โพสต์

จริงๆ ผมว่ามีวิธีอยู่นะคับ ลงทุนบิน ไป ดูที่ประเทศกรีซเลย ว่าสภาพเป็นเช่นไร ^^" ในอีก 1-2  เดือนหลังจาภมาตการต่างๆ  คงอธิบายได้นั่งดูแทนข่าว  แบบตอนอเมกาช่วงนั้นบังเอิญได้ไปทำธุระ เห็นภาพชัดเจนมากช่วงปลายปี 51-ต้นปี 52 ไม่ว่าจะเป็นในร้านอาหาร ช็อบปิ้งมอล  คนดูบางตาสุดๆ สอดคร้อง กับดัชนีผู้บริโภคที่ตกต่ำ และการว่างงาน ในช่วงนั้น ได้เป็นอย่างดี.    ปล. แต่ครั้งนี้ไม่สามารถไปดูที่กรีซได้ คงต้องอาศัย การคาดเดา และ เช็คข่าวกรีซ บ่อยๆ ละคับ
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 15

โพสต์

k.อะไรดีล่ะมองเห็นการณ์ไกลจริงๆ    นับถือๆ


:8)  :8)  :8)  :8)  :8)
Thoto
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สหภาพยุโรปน่าเก็บเงินไว้ช่วย โปรตุเกส สเปน อิตาลี ดีกว่าครับ
กรีซคงฉุดไม่อยู่แล้ว
หนี้สาธารณะที่ 112% ถ้ากระจายหลายๆประเทศละ 2-3% คงไม่หนัก แต่ถ้าเจ้าหนี้รายใหญ่เป็นประเทศ  3 ประเทศข้างต้น อาการคงหนักน่าดู
ภาพประจำตัวสมาชิก
raiden
Verified User
โพสต์: 236
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 17

โพสต์

[quote="yoko"]k.อะไรดีล่ะมองเห็นการณ์ไกลจริงๆ
คนดี คนเก่ง คนรวย คนกล้าหาญ เป็นกันได้ โดยใช้คีย์บอร์ด
marble
Verified User
โพสต์: 430
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 18

โพสต์

[quote="yoko"]k.อะไรดีล่ะมองเห็นการณ์ไกลจริงๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amadeus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 1

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 19

โพสต์

รูปภาพ

ไม่รู้ใหญ่กว่าสับพราห์ม หรือป่าว  ใครรู้วานบอก

พอดีไปเจอในบล็อค รูปดาวห้าแจกแห่ง PIIGS  :lol:
เตือนตัวเอง
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale  5.ขาย บ.เน่าๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amadeus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 1

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 20

โพสต์

รูปใหญ่ จัง  ทำไงดี  :cry:
เตือนตัวเอง
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale  5.ขาย บ.เน่าๆ
linqinfa
Verified User
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ช่วยกรีซกันไปเยอะ เดี๋ยวกลุ่ม PIIGS ประเทศอื่นอาการหนักตามกันมาอีก แล้วมันจะเหลือเงินช่วยมั้ยเนี่ย
vivitawin
Verified User
โพสต์: 1922
ผู้ติดตาม: 1

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 22

โพสต์

[quote="Amadeus"]

ไม่รู้ใหญ่กว่าสับพราห์ม หรือป่าว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jazzman
Verified User
โพสต์: 388
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ผมว่า เหมือน มันเป็นสัญญาณ หนึ่งของวิกฤติ ที่ อาจจะสร้างๆ อีกหลายวิกฤติ ขึ้น ถ้ามันลาม ตอนนี้ แน่นอน มันยังอยู่ที่กรีซ  และเงิน เป็นล้านๆ เหรียญคงยังไม่ สามารถบอกอะไรได้มากใน 1 เดือน

ซึ่งผมไม่กลัวเท่าไหร่ เพราะ การค้ากับไทยจะกระทบก็แค่ปลายเล็บ  . แต่ถ้า  มีข่าว หน้าหนึ่ง เป็น หนึ่งในประเทศ PIGS เนี่ย    คงคลื่นลูกใหญ่อีกลูกละคับ   2008 ยังหลอกหลอน >_<
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
โพสต์โพสต์