อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
GROUPCP
Verified User
โพสต์: 174
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จะกระทบมาถึงไทยเมื่อไหร่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Packky
Verified User
โพสต์: 856
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ลองอ่านบทความของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ดูนะครับ
ปัญหาที่กำลังจะเป็นวิกฤตของกรีซ

14 ธันวาคม 2552

รายการ Money Wakeup ครั้งที่ 19

ในช่วงสัปดาห์ที่หยุดไป มีเรื่องสำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก หนึ่งในนั้น ก็คือ การประกาศลดอันดับ Rating ในกรณีของประเทศ Greece ลงเหลือ BBB+




ซึ่งเมื่อผนวกกับปัญหาการกู้ยืมหนี้สินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากของดูไบ จนไม่สามารถชำระคืนได้ ทุกคนจึงเริ่มกลับมาจับตาและทบทวนเรื่อง ความเสี่ยงจากการกู้ยืมของภาครัฐในประเทศต่างๆ หรือที่เรียกว่าปัญหา Sovereign Debt อีกรอบหนึ่งอย่างละเอียด

วันนี้ก็เลยถือโอกาสเลือกเอาเรื่องนี้มาวิเคราะห์ให้ฟังครับ เพราะคิดว่า ประเด็นนี้จะเป็นประเด็นร้อนที่มีผู้กล่าวถึงอีกหลายรอบในช่วง 1 ปี ข้างหน้า

เกิดอะไรขึ้นที่ Greece

ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่มาจากการขาดดุลภาครัฐของรัฐบาลกรีซ ส่วนหนึ่งมาจากการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งในปีนี้คาดว่าระดับการขาดดุลการคลังของกรีซจะอยู่ที่ 12% กว่าๆ และจะอยู่ในระดับนี้อีก 3 ปีจนกระทั่งปี 2011 (มากกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ทีระดับ 3% ถึง 4 เท่าตัว)

การขาดดุลเช่นนี้ จะส่งผลให้หนี้ภาครัฐของกรีซเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าจะอยู่ในระดับประมาณ 125% ของ GDP ในปี 2010 ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม Eurozone ที่มีหนี้ภาครัฐต่อ GDP เฉลี่ยอยู่ที่ 84% และจะเพิ่มสูงต่อไปในอนาคต

ไม่น่าแปลกในว่าทำไม กรีซจึงถูกถูกลด Rating ลงเหลือ BBB+ เพราะจากยอดหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น โอกาสที่รัฐบาลกรีซจะไม่ชำระคืนหนี้มีมากขึ้น
นอกจากนี้ กรีซก็ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกที่ต้องแก้ไข ก็คือ ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งจากการประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 14% ของ GDP สะท้อนถึงความเปราะบางที่มีอยู่แล้วในตัวของเศรษฐกิจของกรีซ ซึ่งส่งออกไม่ได้ และรัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว

ต้องกังวลใจเปล่า และต้องกังวลใจเรื่องนี้กับประเทศอื่นๆ อีกหรือเปล่า

ที่คนกังวลใจกันก็คือว่า จะกระจายเปล่า น่ากังวลใจหรือไม่ มีประเทศอื่นๆ เหมือนกรีซ อีกหรือไม่ และ กรีซเหมือนกับกรณีของดูไบหรือไม่ ขอตอบไปทีละประเด็น

(1) เทียบกรีซกับดูไบ หนี้ที่กรีซกู้ยืมมาเป็นหนี้ภาครัฐโดยตรง ไม่ใช่หนี้ภาคเอกชนที่อาศัยชื่อของรัฐบาลเป็นคนรับประกันกลายๆ อย่างเช่นในกรณีของดูไบ ปัญหาของกรีซยังไม่ได้หนักหน่วงกับดูไบ และกรีซยังมีอีกช่วงหนึ่งก่อนที่จะดูแลแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะลุกลามขึ้นเป็นวิกฤต

(2) มีประเทศอื่นเหมือนกรีซเปล่า ตอบว่า มี แต่ว่ารู้กันมานานแล้ว ว่าจะมีปัญหานี้เกิดขึ้น เพราะว่าเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ กำลังขาดดุลกันเป็นจำนวนมากเพื่อต่อสู้กับวิกฤตครั้งสำคัญ และทุกคนรู้ว่าพอรอดจากวิกฤตมาได้ ก็ต้องตามมาแก้ไขเรื่องปัญหาเรื่องหนี้ภาครัฐที่กู้มาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ตรงนี้คำถามสำคัญก็คือ มีหนี้มาก แล้วจะมีกำลังจ่ายคืนหรือไม่ เพราะดูเหมือนกับว่าจะ Max วงเงินเรียบร้อยแล้ว เช่นกรณีของไอส์แลนด์ (Iceland) ไปอุ้มแบงก์มากจนต้องถูกลด downgrade ลงกลายเป็น Junk bond ไปเรียบร้อยแล้ว

บางประเทศ เช่น อิตาลี โปรตุเกส หรือ ไอร์แลนด์ ซึ่งมีหนี้มาก สเปน อังกฤษ ซึ่งวิกฤตหนักหน่วงเป็นพิเศษ ก็เลยถูกจับตามองว่าจะถูกลดอันดับหรือไม่

(3) ต้องกังวลใจหรือไม่ ณ ปัจจุบัน ก็กังวลใจบ้าง แต่รู้ว่าหนี้เหล่านี้มาจากไหน และเท่าไร แต่ที่น่ากังวลใจจริงๆ ก็คือ ตอนนี้หนี้มาก แต่กระตุ้นเศรษฐกิจ ใช้จ่ายเงินไปแล้ว แต่เศรษฐกิจไม่ได้ดีมากอย่างที่คิด และจะต้องใช้จ่ายกันอีก

ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนในช่วงต่อไป ขึ้นกับคุณภาพของการฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ออกมา ก็คงต้องบอกว่าน่ากังวลใจเหมือนกัน เพราะที่เคยคิดกันว่า ไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวดีนั้น ก็ไม่ได้ดีอย่างที่คิด ญี่ปุ่น สหรัฐ ต้องปรับประมาณการไตรมาส 3 ลง โดยญี่ปุ่นลดลงจาก 4.8% เหลือเพียง 1.3% และสหรัฐลดจาก 3.5% เหลือ 2.8% โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ

ตรงนี้เลยมีการพูดถึงมาตรการกระตุ้นรอบใหม่ แต่คำถามก็คือ มี Room มีเงินเหลือแค่ไหนที่จะกู้ได้ และกระตุ้นไปแล้วจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ถ้าภาคสถาบันการเงินยังไม่ทำงาน

ตรงนี้บทเรียนที่เป็นฝันร้ายที่ทุกประเทศอยากหลีกเลี่ยงก็คือ กรณีของญี่ปุ่นที่กระตุ้นไประหว่างปี 1990-2005 ประมาณ 13 แผน ทำให้หนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก 60% ของ GDP เป็น 180% แต่เศรษฐกิจก็ไม่ไปไหน

(4) จะกระจาย ต้องระวังหรือเปล่า คำตอบ ก็คือ ไม่น่า เพราะว่ามีคนที่มีปัญหาหนี้ภาครัฐรอบนี้ เช่น สเปน อังกฤษ สหรัฐ อิตาลี ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมี Rating ที่ดีมากแต่ต้นอยู่แล้ว ต่อให้ถูก downgrade แต่ก็ยังสูงอยู่  (สูงกว่าไทยด้วยซ้ำไป) ในส่วนของกรีซที่ทุกคนจับตามอง ก็เพราะ กรีซเป็นประเทศที่อ่อนแอที่สุดในกลุ่ม ก็เลยออกอาการก่อน แต่ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วยังดีอยู่

ที่ต้องกังวลใจจริงๆ ว่าจะเกิดปัญหา ก็คือ ประเทศในกลุ่ม Eastern Europe ที่มีทั้งความเปราะบางของเศรษฐกิจ และมีหนี้มาก

ผลกระทบคืออะไร ต้องจับตามองอะไร

ผลกระทบมี 2 ส่วน ระยะสั้นกับระยะยาว โดยเกณฑ์ที่ทุกคนจับตามองก็คือ หนี้ภาครัฐที่ 60% ของ GDP ซึ่ง World Bank บอกว่าเป็นเกณฑ์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ว่ามีหนี้สูงแล้วหรือยัง ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจจะมีหนี้เกินกว่า 60% ก็ได้ เช่น ญี่ปุ่นอยู่ที่ 220% ของ GDP เพราะประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความสามารถในการจ่ายคืนมากกว่า

แต่ในกลุ่มสหภาพยุโรป ก็ใช้เกณฑ์ 60% เช่นเดียวกัน ในการบังคับว่าประเทศสมาชิกจะต้องมีหนี้ภาครัฐไม่เกินเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งสำหรับกรีซ จะเกินไปเป็น 2 เท่าตัวของที่กำหนดไว้

1. ระยะสั้น การปรับลด Rating ในช่วงต้นๆ จะส่งผลกระทบต่อ ราคาของพันธบัตรและดอกเบี้ยที่ประเทศเหล่านี้ต้องจ่าย จะเห็นว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พันธบัตร 2 ปีของกรีซต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 2% หมายความว่า ต้นทุนในการกู้ยืมของกรีซ จะเพิ่มขึ้น

ในช่วงต่อไป ประเด็นที่ต้องจับตามองก็คือ การปรับลดลงระหว่างที่เป็น investment grade และ non investment grade เพราะว่าถ้าพอปรับลดลงอีก เป็น non investment grade ตรงนี้จะส่งผลกระทบมากต่อกรีซ เพราะว่า

นักลงทุนสถาบันมีกฎเกณฑ์ว่า ไม่สามารถลงทุนในพันธบัตรที่เป็น non investment grade ตรงนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อเงินที่กรีซเคยกู้ยืมมา และจะกู้ยืมใหม่
ผลกระทบต่อคุณค่าของพันธบัตรรัฐบาลกรีซ จากที่สถาบันการเงินจะไม่สามารถใช่เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน เพื่อกู้ยืมจากธนาคารกลางของยุโรป คือ ECB
แม้กระทั่งบริษัทเอกชนของกรีซ ก็จะถูกกระทบเพราะว่า Rating ของบริษัทเหล่านั้น จะสูงเกินกว่า Rating ของประเทศไม่ได้ ก็หมายความว่าบริษัทในกรีซจะกลายเป็น non investment grade ไปด้วย
ทั้งหมดนี้จะกระทบกับ เงินทุนที่จะไหลเข้าออก ทำให้เงินไม่ไหลเข้า ในขณะที่ประเทศต้องการเงินมาชดเชยปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และจะกระทบกับการลงทุนในประเทศอีกรอบ

2. ระยะยาว ปัญหา คือ ability to pay ว่าจะสามารถจ่ายคืนได้หรือไม่ และปัญหาเงินเฟ้อที่จะตามมา ถ้าควบคุมการใช่จ่ายไม่ได้ และจ่ายคืนโดยใช้เงินภาษีไม่ได้

ทางออกคืออะไร

การกลับไปมีวินัยการคลัง หรือ (Fiscal Discipline) นี่คือสิ่งที่ยุโรปบอก กรีซ ตรงนี้หลายคนมองว่า กรีซไม่เด็ดเดี่ยวพอที่จะควบคุมการใช้จ่ายของตนเองได้ ในขณะที่ประเทศที่หลายคนจับตามองอีประเทศคือ ไอร์แลนด์ ตอนนี้ได้ตัดสินใจลดเงินเดือนข้าราชการลง 5-15% ลดเงินเดือนนายกลง 20% ลดสวัสดิการเรื่องของบุตรลง ขณะที่กรีซแทบจะไม่ได้ลดอะไรลงเลย

ไม่น่าแปลกใจว่า ช่วงหลังนักลงทุน ตอบสนองอย่างดีต่อนโยบายของไอร์แลนด์ แต่ไม่ดีกับนโยบายของกรีซ ทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของกรีซเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ต้นทุนของไอร์แลนด์เริ่มอยู่ตัว

ตรงนี้ก็เป็นบทเรียนให้กรีซและประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้ภาครัฐสูงเกินไป จะเรียนรู้ และนำมาทบทวนและเป็นทางออกจากปัญหานี้ในอนาคต

ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ อย่างที่บอกไว้แล้ว ประเด็นเรื่อง Sovereign debt นี้จะเป็นประเด็นร้อนที่ Set Trend ของปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วง 1 ปี ข้างหน้า
:8)  :8)  :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Packky
Verified User
โพสต์: 856
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ที่มาครับ http://www.kobsak.com/?p=2319
ภาพประจำตัวสมาชิก
Packky
Verified User
โพสต์: 856
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หรือ ลองเข้าไป ห้องเศรษฐศาสตร์ข้างถนน=>หัวข้อระวังค่าเงินยูโร ดูก็ได้ครับ...มีพี่ๆ หลายท่านคุยกันที่นั่นครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... sc&start=0
:8)  :8)  :8)
golfkinmon
Verified User
โพสต์: 281
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Friday, 7 May 2010
แผนการแก้วิกฤตของ Greece


แผนการแก้วิกฤตของ Greece


ประเด็นร้อนช่วงนี้ ก็คงไม่พ้นจากเรื่องของความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของประเทศกรีซ ซึ่งวันนี้เราจะมาสรุปให้ฟังกันถึงรายละเอียดของแผนช่วยเหลือ นัยต่อยุโรป และสิ่งที่ต้องทำต่อไป

อยากให้สรุปว่าแผนช่วยเหลือที่ประกาศออกมาเป็นอย่างไร

หลังจากที่ได้ยื้อกันมานาน ในที่สุดแผนการช่วยเหลือกรีซก็ได้คลอดออกมาเป็นรูปร่าง เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ พันธบัตรรัฐบาลกรีซถูกปรับลดอันดับลงไปเป็น Junk bond  เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยแผนดังกล่าวมีรายละเอียดที่น่าสนใจหลายด้าน

หนึ่ง แผนนี้เป็นความตกลงร่วมกัน 4 ฝ่าย คือ EU IMF ECB กับกรีซ การต้องมีหลายคนเข้ามาร่วมกันเพราะว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่เกินกว่า IMF จะยืนมือเข้าไปช่วยเหลือคนเดียวได้ และต้องการความช่วยเหลือจากหลายคน

ยุโรปและจาก IMF
เป็นคนให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินจำนวนวงเงิน 110 พันล้านยูโร โดยทาง IMF จะช่วยจ่ายให้เป็นจำนวน 30 พันล้านยูโร ส่วนที่เหลือจะมาจากประเทศสมาชิกในยูโร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากเยอรมันและฝรั่งเศส

เงินจำนวนดังกล่าวจะถูกแบ่งจ่ายออกในช่วง 3 ปี ที่จะถึงนี้ โดยในปีแรกกรีซจะได้เงินช่วยเหลือจำนวน 30 พันล้านดอลลาร์ยูโร และอีกสองปีถัดไปปีละ 35 พันล้านยูโร พร้อมกับเงินอีก 10 พันล้านยูโรเอาไว้ช่วยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน

IMF มีหน้าที่เพิ่มเติมในการให้คำปรึกษา สร้างความเชื่อมั่นในแผนการช่วยเหลือ และกำกับดูให้เป็นไปตามแผนที่ตกลงกันไว้

ส่วนของ ECB นั้นจะช่วยในส่วนของการให้สภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยอมผ่อนกฏเกณฑ์ให้สถาบันการเงินสามารถเอาพันธบัตรกรีซเป็นตราสารค้ำประกันเวลาที่ต้องการกู้ยืมเงินระยะสั้นจากทาง ECB แม้ว่าในปัจจุบันพันธบัตรกรีซจะเป็น Junk Bond แล้วก็ตาม

ส่วนกรีซ มีหน้าที่รัดเข็มขัด ปฏิรูปตนเองให้ได้

สอง ในส่วนของรายละเอียดของแผนนั้น ก็มีความน่าสนใจมาก โดยแผนนี้มีเป้าหมาย 2 ด้าน ก็คือ (1) แก้ไขปัญหาด้านการคลัง และหนี้ภาครัฐ ซึ่งกรีซมีหนี้อยู่สูงมากที่สุดในกลุ่มยูโรที่ 125% ของ GDP ในปีนี้ และ (2) การแก้ไขปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันของกรีซ เพื่อให้กรีซสามารถที่จะกลับมาเจริญเติบโตได้อีกครั้งหนึ่ง

งานด้านแรกที่กรีซต้องทำ ก็คือ จัดการปัญหาด้านการคลังให้จบลงไป จากเคยขาดดุลสูงถึง 13.6% ในปี 2009 ต้องลดให้เหลือ 2.6 % ใน 3 ปีข้างหน้า หรือลดลง 11% ของ GDP ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนที่ใหญ่มาก แต่ว่าต้องทำ

5.25% จะมาจากการลดการใช้จ่ายภาครัฐลงไป โดยจะไม่เพิ่มเงินเดือนข้าราชการและเงินบำนาญ เป็นเวลา 3 ปี และยกเลิกเงินที่จ่าย bonuses ให้ในช่วงคริสตมาส อีสเตอร์ วันปิดภาคฤดูร้อน ออกไป

อีก 4% มาจากการเพิ่มรายได้ จากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ยาสูบ เหล้า เป็นต้น

1.8% ที่เหลือจะมาจาก การปฏิรูประบบภาษีเพื่อกำจัดช่องโหว่ทางภาษีและเพิ่มฐานภาษี

นอกจากนี้ ในข้อตกลงกับ IMF กรีซจะมีการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม ประกันสังคม ประกันการว่างงาน รวมไปถึงการขยายเวลาการทำงานออกไปจนถึง 65 ปี และลดรายจ่ายด้านทหารลง

ตลาดขานรับดีหรือไม่ และนักวิเคราะห์นักเศรษฐศาสตร์คิดว่าอย่างไร


การขานรับไม่ดีเท่าที่คิดไว้ โดยในช่วงวันจันทร์อาจจะปรับตัวดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรกรีซที่ปรับตัวลดลงจากที่เพิ่มขึ้นไปมากเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของ CDS ของกรีซ โปรตุเกส และสเปน

ทำให้ในวันอังคารกับวันพุธคนเริ่มมีความกังวลใจว่า ปัญหาของประเทศกรีซจะกระจายตัวไปที่โปรตุเกส และสเปน ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงมาอย่างแรง โดยเฉพาะในยุโรป และในกลุ่มแบงก์ของยุโรป

ตรงนี้ ที่หลายคนกลัวและกังวลใจมีอยู่หลายประเด็น

หนึ่ง ตกลงว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวจะเพียงพอต่อความต้องการในการใช้เงินของกรีซในช่วง 3 ปีข้างหน้าหรือไม่ เพราะว่าหนี้ภาครัฐกรีซมีทั้งหมดประมาณ 3 แสนล้านยูโร

ที่คนกลัวก็คือ จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรของกรีซหรือไม่ เพราะว่าคนที่ถือพันธบัตรเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือแบงก์ในยุโรป ตรงนี้ไม่น่าแปลกใจว่าหุ้นแบงก์ตกลงมากในช่วง 2-3 วันที้ผ่านมา

ยิ่งไปกว่านั้น ขนาดของ package ที่ออกมานั้น ใหญ่กว่าที่ได้พูดไว้ และตอนนี้คนกำลังกังวลว่าถ้าโปรตุเกสเกิดปัญหา และสเปนเกิดปัญหา ยูโรจะมีเงินพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้หรือไม่

สอง  กรีซจะสามารถจัดการปัญหาการประท้วงและเดินขบวนในประเทศได้หรือไม่ เพราะสหภาพแรงงานของกรีซมีความเข้มแข็งมาก และการประทัวงเริ่มรุนแรง มีคนเสียชีวิต 3 คน เมื่อวาน ถ้าทำไม่ได้ แผนการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้อาจจะไม่เข้าเป้า

สาม ต่อให้ทำได้ การที่กรีซจะต้องลดการใช้จ่าย และเก็บภาษีเพิ่ม กรีซจะขยายตัวได้อย่างไร เพราะปกติแล้วในประเทศที่ IMF เข้าไปช่วยเหลือ จะสามารถที่จะลดค่าเงินประกอบด้วย ซึ่งจะช่วยให้ภาคส่งออกสามารถขยายตัวได้ และช่วยให้ต้นทุนการผลิตและค่าจ้างแรงงานของกรีซซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ ปรับลดลงมาและแข่งขันได้ แต่ในกรณีนี้ไม่มี แล้วถ้าเศรษฐกิจไม่โต จะเอาสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ลงมาได้อย่างไร

สี่ จะทำอย่างไรกับปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน และปัญหาการแห่ถอนเงินจากแบงก์ในกรีซ เพื่อป้องกันว่าหากเกิดปัญหาก็จะไม่ถูกกระทบ ตรงนี้ ในส่วนของหนี้เสียในแผนได้เตรียมเงินไว้เพิ่มทุนแบงก์แล้ว 10 พันล้านยูโร แต่ว่าปัญหาที่น่ากังวลใจไปกว่านั้นก็คือปัญหาการถอนเงินจากแบงก์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ยังเป็นเครื่องหมายคำถามที่สำคัญอยู่  ตรงนี้เป็นจุดอ่อนที่ต้องกังวลใจ

หลังจากนี้ จะเกิดอะไร

ชัดเจนว่ายุโรปไม่สามารถที่จะปล่อยให้กรีซเป็นอะไรไปได้ เพราะว่าจะมีนัยต่อประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาที่เหลือ และต่อกลุ่มยูโรเองโดยรวมด้วย

โดยทั้งหมดนี้ เป็นการซื้อเวลาให้กรีซ และยุโรปโดยรวม ประมาณ 2 ปี ซื้อเวลาให้กรีซในการที่จะสร้างวินัยทางการคลังให้เกิดขึ้น ก่อนที่จะกลับไประดมเงินจากตลาดทุนระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง และซื้อเวลาให้กับประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ควรจะได้รับบทเรียนว่า กรุณาสร้างวินัยการคลังให้เกิดขึ้น ไม่งั้นอาจจะเป็นเป้าหมายของการโจมตี

และเนื่องจากเงินที่ให้ไปมากพอ เทียบกับพันธบัตรที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้น กรีซคงไม่ default อย่างไรก็ตาม เงินที่ช่วยให้ไป แค่เป็นการแก้ไขปัญหาขั้นต้นเท่านั้น แต่ในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ที่ห้ามไม่ได้ก็คือ

การปรับลดอันดับ Credit rating ของประเทศต่างๆในยุโรป ที่จะเกิดเป็นระลอก ตรงนี้ตะส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร ก็จะมีคนหนีตายกลับไปที่สหรัฐหรือเยอรมันเป็นช่วงๆ ซึ่งเมื่อบางคนเอาเงินกลับไปที่สหรัฐ ค่าเงินยูโรเองก็จะผันผวน และจะอ่อนค่าลงอีกระยะหนึ่งจากที่ทำ New low ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

เศรษฐกิจของยุโรปโดยรวม การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในยุโรป ก็จะช้าลงอีก เพราะว่า spotlight กำลังอยู่ที่เรื่องวินัยการคลัง ประเทศต่างๆ ก็จะมีความกังวลใจในการที่จะใช้จ่ายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ และปัญหาสถาบันการเงินก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตรงนี้ก็จะมีนัยกับทุกคนเพราะประเทศในยุโรปค้าขายกันเองมาก

เงินฝืด ที่จะเกิดขึ้นในบางประเทศ โดยเฉพาะที่มีเงินเฟ้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยของยูโร โดยเฉพาะกรีซ สเปน โปรตุเกส ตรงนี้ก็จะเป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้น เพราะว่าพอค่าเงินปรับไม่ได้ ก็ต้องให้ต้นทุนปรับลดลง จากปัญหาการว่างงานที่อยู่ในระดับที่สูง จากเศรษฐกิจที่ถดถอย ตรงนี้ก็จะเป็นทางออกให้กับปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันของกรีซที่สูญหายไปในช่วงที่ผ่านมา

ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ เพราะสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่นิ่งและส่งผลกระทบกับตลาดทุนทั่วโลกอยู่อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: Blog ดร. กอบ www.kobsak.com

http://portal.settrade.com/blog/kobsak/2010/05/07/844
Money is neutral
ภาพประจำตัวสมาชิก
minkyman
Verified User
โพสต์: 176
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
อุ อา กะ สะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Juninho
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1054
ผู้ติดตาม: 17

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ยังไม่น่าย้ายมาห้องนี้เลย  :cry:

เผื่อว่า คนเห็นกันมาก ๆ จะได้มีคนเก่ง ๆ
ช่วยกันให้ความรู้กันเยอะ ๆ
มาห้องนี้ อาจจะเงียบ ๆ ได้
You Can Get It If You Really Want
But you must try, try and try
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ข่าวเพิ่มเติม  ใครคิดจะช้อนหุ้นให้คิดให้ดีก่อนน่ะครับ
ปัญหาไม่น่าจบง่ายๆครับ
ยังมีปัญหาอีกเยอะ


 นักเศรษฐศาสตร์โลกเตือนวิกฤตหนี้สาธารณะกรีซ จะกระทบถึงอังกฤษ ไอร์แลนด์-อเมริกาอย่างเลี่ยงไม่ได้

โพลชี้ชาวกรีกยอมรัดเข็มขัดมากกว่าเห็นประเทศล้มละลาย นักเศรษฐศาสตร์โลก จี้ ปท.พัฒนาแล้วตั้งงบฯขาดดุล-เพิ่มอายุคนเกษียณ จีนหวั่นลามต่อสเปน-อิตาลี ขณะที่โอบามารับกังวล ชี้เสถียรภาพยุโรปมีผลต่ออเมริกา


เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ขณะที่ยุโรปกำลังประสบภาวะชะงักงันจากความโกลาหลของตลาดหุ้นที่เป็นผลมาจากปัญหาหนี้สินของกรีซ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลหลายรายได้เตือนว่าวิกฤตครั้งรุนแรงจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นกับจำนวนประชากรสูงอายุในประเทศพัฒนาแล้ว กำลังกลายเป็นปัญหาพอกพูน ซึ่งไม่เพียงแต่กรีซและประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ที่สถานะทางการเงินเปราะบางเท่านั้นที่จะประสบปัญหา แต่ประเทศอย่างอังกฤษและสหรัฐเองก็มีความเสี่ยง หากไม่มีมาตรการเร่งด่วนมาป้องกันการตึงตัวครั้งใหญ่ของภาคการเงินสาธารณะ


ในรายงานของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่าประเทศพัฒนาแล้วกำลังประสบปัญหา
ภาพประจำตัวสมาชิก
thalucoz
Verified User
โพสต์: 658
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

น่าจะเป็นข่าวดี สำหรับเราชาว  VI ทุกคนนะครับ พี่ matee

     ขอถามพี่อีกนิดนึง นะครับ ถ้าเกิดวิกฤตเกิดขึ้นจริง Sector ไหนจะโดนก่อนครับพี่ (เพราะผมเองยังนึกไม่ออกว่าจะกระทบกับไทยยังไงครับ :oops: )

ขอบคุณล่วงหน้าครับผม
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
ภาพประจำตัวสมาชิก
Magneto
Verified User
โพสต์: 276
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เคยไปกรีกครั้งนึง มีโอกาสไปหลายเมือง ได้เห็นวิวทิวทัศน์ระหว่างนั่งรถทัวร์ ดูบ้านเมืองเค้าเต็มไปด้วยเนินเขาที่ไม่เห็นค่อยปลูกอะไรได้ แต่ปลูกมะกอกได้ (นึกภาพเขาหัวโล้นบ้านเราสิ มีต้นไม้หร็อมแหร็มมาก) ยังกะจะอยู่กันได้ด้วยการท่องเที่ยวน่ะ (พูดจากความรู้สึกนะ ไม่มีข้อมูลวิจัย)

แต่จะว่าเรื่องท่องเที่ยว หลายๆ คนที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องศิลปยุคต้นๆ ที่ไม่ค่อยจะเหลือความงามเท่าไหร่คงไม่ชอบเท่าไปออสเตรีย ฝรั่งเศส ฯลฯ ดูอย่างทัวร์ที่ไปด้วยกันกะผม คุณป้าก็พากันบ่นว่า อะไรเนี่ย พามาดูก้อนหิน (จริงๆ เป็นพวก Stadium ต่างๆ สมัยโน้น) แล้วก็บ่นว่ากินกันได้ยังไงเนี่ย ผักกะน้ำมันมะกอก (ก็เค้ากินกันอย่างนั้นจริงๆ เค้าปลูกมะกอกกัน) ผมได้ไปดูหัวเมดูซ่าด้วย ป้าๆ ก็ผิดหวังกันตามเคย แกไม่คึกคักเท่าไปประเทศอื่น

ก็เลยคิดเอาเองว่า โห...ถ้าการท่องเที่ยวกระทบแรง ถ้าคนเลือกไปที่สวยๆ ได้ ถ้าที่อื่นมันไม่เต็ม เค้าจะไปกรีกกันมั๊ยเนี่ย แล้วพอมาได้ยินตัวเลขหนี้ของกรีกอีก ก็คิดไปด้วยประสบการณ์ที่ได้ไปพบเห็น ว่า โหย..จะเอาเงินที่ไหนมาใช้คืนกันนะเนี่ย ปวดหัว  :(
Charls is a friend. My greatest regret is that he had to die for our dream to live. ถึงแม้จะเดินคนละทาง แต่ผมกับชาร์ลก็มีเป้าหมายเดียวกัน..คือ มีที่ให้พวกเรายืนบนโลกใบนี้ยังไงล่ะ
golfkinmon
Verified User
โพสต์: 281
ผู้ติดตาม: 0

อยากรู้เรื่องวิกฤติการเงิน "กรีซ" ครับ เป็นมาอย่าง

โพสต์ที่ 11

โพสต์


EU finance ministers support tougher scrutiny rules


Page last updated at 08:28 GMT, Tuesday, 8 June 2010 09:28 UK

   

European Economic and Monetary Affairs Commissioner Olli Rehn Mr Rehn said the EU had proven its determination to act

EU finance ministers have moved closer to agreeing to allow other governments to study their annual budgets before they're seen by national parliaments.

The move had been strongly opposed by the UK, but officials said a compromise had been worked out.

It comes as the finance ministers are meeting to establish further ways to tackle excessive government debt.

A rescue scheme for debt-ridden eurozone states has been agreed and will be in place by the end of June.

This 440bn-euro ($536bn; £363bn) fund - officially called the Special Purpose Vehicle - will enable the 16 nations that use the single currency to access cheap emergency loans and loan guarantees should they find themselves unable to raise money on the open market to pay their debts.

Member states hope it will never need to be used, but that its existence will convince markets that default fears are unfounded.

It has been set up in response to the financial crisis in Greece, with fears that the Greek government would default on its loan payments, and that the debt crisis could spread to other countries such as Spain, Portugal, and the Republic of Ireland.

The two meeting of EU finance ministers in Luxembourg is also expected to agree to support sanctions for countries whose debt levels and budget deficits are growing too quickly.

http://news.bbc.co.uk/2/hi/business/10262444.stm
Money is neutral
โพสต์โพสต์