สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
vilage
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 201
ผู้ติดตาม: 8

สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คือผมไม่ได้จบมาทางด้านนี้ พยายามหาหนังสือเศรษฐศาสตร์มาอ่านก็ไม่เห็นมีพูดเรื่องสงสัยกลไกการควบคุมโดยแบงค์ชาติ จึงอยากจะขอความกรุณาผูรู้ช่วยไขข้อสงสัยให้หน่อยครับ

ข้อสงสัยมดังนี้ครับ

1.อัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงค์ชาติคืออะไรทำไมจึงมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ครับ

2.อัตราดอกเบี้ยรับซื้อคืนพันธบัตรหนึ่งวันคืออะไรครับ

3.ได้ยินมาว่าเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ได้มาจะมีจำนวนหนึ่งต้องเอาไปฝากแบงค์ชาติจริงหรือเปล่าครับ ถ้าจริงเพื่ออะไรครับ

4.ธนบัตรใหม่ที่พิมพ์เข้ามาในระบบใช้ช่องทางไหนในการกระจายธนบัตรครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ สำหรับผู้ใจดีทุกคน
Livingman
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

Re: สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

vilage เขียน:คือผมไม่ได้จบมาทางด้านนี้ พยายามหาหนังสือเศรษฐศาสตร์มาอ่านก็ไม่เห็นมีพูดเรื่องสงสัยกลไกการควบคุมโดยแบงค์ชาติ จึงอยากจะขอความกรุณาผูรู้ช่วยไขข้อสงสัยให้หน่อยครับ

ข้อสงสัยมดังนี้ครับ

1.อัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงค์ชาติคืออะไรทำไมจึงมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ครับ

2.อัตราดอกเบี้ยรับซื้อคืนพันธบัตรหนึ่งวันคืออะไรครับ

3.ได้ยินมาว่าเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ได้มาจะมีจำนวนหนึ่งต้องเอาไปฝากแบงค์ชาติจริงหรือเปล่าครับ ถ้าจริงเพื่ออะไรครับ

4.ธนบัตรใหม่ที่พิมพ์เข้ามาในระบบใช้ช่องทางไหนในการกระจายธนบัตรครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ สำหรับผู้ใจดีทุกคน
ขอตอบ ข้อ 1 -2 มันคือ อันเดียวกันครับ นั่นคือดอกเบี้ย  RP 1 วัน ที่ใช้ตอนนี้ครับ  ซึ่ง ธปท ใช้เป็นตัวส่งสัญญาณต่อตลาดเงิน  เป็นปัจจัยหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ครับ คล้ายๆ ว่า เป็นต้นทุนขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์น่ะครับ   ข้อ 3-4 ไม่แน่ใจ
Livingman
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เพิ่มเติมให้ครับ    อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันบัตรระยะเวลา 1 วัน   เป็นแบบนี้ครับ  คือ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องเหลือก็จะนำเงินไปให้แบงค์ชาติกู้ยืมเป็นระยะเวลา 1 วัน ซึ่งแบงค์ชาติจะโอนพันธบัตรภาครัฐให้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกัน โดยแบงค์ชาติสัญญาว่าจะ รับซื้อคืนพันธบัตร ที่ใช้เป็นหลักประกัน กลับมาจากสถาบันการเงินพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลา 1 วันให้ โดยดอกเบี้ยนั้นก็คืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยนั่นเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
vilage
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 201
ผู้ติดตาม: 8

สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

[quote="Livingman"]เพิ่มเติมให้ครับ
ลงทุนได้ผล คนเป็นสุข
Verified User
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 0

Re: สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="vilage"]คือผมไม่ได้จบมาทางด้านนี้ พยายามหาหนังสือเศรษฐศาสตร์มาอ่านก็ไม่เห็นมีพูดเรื่องสงสัยกลไกการควบคุมโดยแบงค์ชาติ จึงอยากจะขอความกรุณาผูรู้ช่วยไขข้อสงสัยให้หน่อยครับ

ข้อสงสัยมดังนี้ครับ

1.อัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงค์ชาติคืออะไรทำไมจึงมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ครับ

2.อัตราดอกเบี้ยรับซื้อคืนพันธบัตรหนึ่งวันคืออะไรครับ

3.ได้ยินมาว่าเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ได้มาจะมีจำนวนหนึ่งต้องเอาไปฝากแบงค์ชาติจริงหรือเปล่าครับ ถ้าจริงเพื่ออะไรครับ

4.ธนบัตรใหม่ที่พิมพ์เข้ามาในระบบใช้ช่องทางไหนในการกระจายธนบัตรครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ สำหรับผู้ใจดีทุกคน[/quote]

เฉพาะข้อ3.ครับ
  โดยทั่วๆไป ทาง แบงค์ชาติจะควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเพื่อตอบสนองความต้องการเช่นกระตุ้นเศรษฐกิจหรือลดความร้อนแรงที่มากเกินไป ได้ 3 กระบวนการ
1.(ใช้บ่อยสุด) ออก/ซื้อคืน พันธบัตรต่างๆ เพื่อควบคุมปริมาณเงิรน ถ้าธนาคารกลางต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ทาง ธนาคารกลางก็จะออกตราสารหนี้ภาครัฐออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน ส่งผลให้ปริมาณเงินลดลง การไหลเวียนช้าลง คนมีเงินสดน้อยลง ซื้อขายสินค้ายากขึ้น เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ...กลับกันก็จะเป็นตรงกันข้าม
2.(ใช้น้อยลงหน่อย) เราคงได้ยินบ่อยๆคือ ธนาคารกลางปรับเพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อภาพรวม ต่อเศรษฐกิจโดยรวม ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันที่ทางธนาคารกลางของหลายๆประเทศกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ คิดง่ายๆก็เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนผลนอกเหนือจากนั้นคือ การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ เป็นการกดดันให้คนที่มีเงินออม จำเป็นต้องนำเงินออมไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น (ดีกว่าฝากเงินได้ดอกร้อยละ 0.5) ส่งผลให้มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ / หุ้น / และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆเช่นทองเป็นต้น
3.(ใช้น้อยสุด)(อันนี้คือคำตอบของข้อ 3 ที่ถาม) เป็นการควบคุมปริมาณการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยกำหนดวงเงินที่ทางธนาคารจะต้องเก็บไว้ เช่น กำหนดเป็นกี่บาท?ต่อเงิน 100 บาท ซึ่งปกติทางธนาคารกลางจะไม่ค่อยปรับเปลี่ยนระดับที่กำหนดนี้ เนื่องจากกระทบต่อโครงสร้างธนาคาร ยกเว้นแต่ต้องการควบคุมเฉพาะจุด ตัวอย่างเช่น ทาง ธนาคารจีนได้กำหนดอัตราเงินเก็บไว้ที่ร้อยละ 16.50 ต่อเงิน 100 บาท โดยปรับเพิ่ม 2 ครั้งนับจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ วงเงินการปล่อยสินเชื่อลดลง ลดการกู้ยืมเงินไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์จีนก็ปรับตัวลดลงทันทีที่มีนโยบายออกมา เป็นการแก้เฉพาะจุด
  ข้อ 1-2 ลองเข้า  google ครับคงน่าจะได้รับคำตอบที่ดี ส่วนข้อ 4 ผมเคยเห็นรายการกบนอกกะลานำมาออกแล้ว ลองเข้าไปหาดูครับ...
ลงทุนได้ผล คนเป็นสุข
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ข้อ 4 อันนี้ผ่านธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เปิดรับแลกธนบัตรและเหรียญ
อยู่เหมือนกัน สำหรับลูกค้าน่ะคร้าบ

ส่วนที่แลกเป็นกล่องอันนั้นต้องไปที่สาขาของธนาคารแห่งประเทศไทยและกรมธนารักษ์ ถึงได้มาขนาดนั้น

:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

พันธบัตรรัฐบาลเป็นตัวที่มีแค่ความเสี่ยงของเงินเฟ้อเท่านั้น
ส่วนความเสี่ยงด้านอื่นๆไม่มี

พันธบัตรรัฐบาลตัวนี้ใช้แทนผลตอบแทนไม่มีความเสี่ยง (Risk Free) แต่จริงมีความเสี่ยงของเงินเฟ้ออยู่ดี อย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เจอเงินเฟ้อหมด

พันธบัตรรัฐบาลเลยใช้เป็นตัวอ้างอิง มิใช่ใช้ตัวดอกเบี้ยของธนาคาร
เพราะธนาคาร กดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้รายรับเพิ่ม รายจ่ายลดลง

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
vilage
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 201
ผู้ติดตาม: 8

สงสัยกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ คุณ "miracle" และ คุณ "ลงทุนได้ผล คนเป็นสุข"
ได้ควางกระจ่างขึ้นมากครับจะพยายามศึกษาต่อไปครับ
โพสต์โพสต์