6 บทเรียนสู่ชัยชนะ จาก "เกมฟุตบอล" ถึง "เกมธุ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

6 บทเรียนสู่ชัยชนะ จาก "เกมฟุตบอล" ถึง "เกมธุ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4180  ประชาชาติธุรกิจ

6 บทเรียนสู่ชัยชนะ จาก "เกมฟุตบอล" ถึง "เกมธุรกิจ"

ไม่ว่าจะเป็นเกมกีฬา หรือเกมธุรกิจ ล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือชัยชนะ

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของเกมกีฬาและธุรกิจ ก็มีความคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล ซึ่งต้องเฟ้นหาผู้มีทักษะชั้นเยี่ยม และสร้างจิตวิญญาณความเป็นทีมเดียวกัน อันเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ชัยชนะ เช่นเดียวกับการสร้างความสำเร็จในสมรภูมิธุรกิจ

ดังจะเห็นได้จากการที่สโมสรฟุตบอล ชื่อดังอย่าง "เชลซี" ยอมควักเงิน 21 ล้าน ยูโร (ราว 31 ล้านดอลลาร์) เพื่อซื้อตัว กองกลางฝีมือดีชาวรัสเซีย "ยูริ เซอร์คอฟ" จากทีมซีเอสเคเอ มอสโก ส่วน "แมนเชสเตอร์ ซิตี้" ทุ่มเงิน 29 ล้านยูโร ซื้อกองหน้าฝีเท้าจัด "เอ็มมานูเอล อเดบายอร์" จากอาร์เซนอล ขณะที่ "แอสตัน วิลลา" เทกระเป๋า 14 ล้านดอลลาร์ คว้าตัวมิดฟิลด์แถวหน้า "สจ๊วต ดาวนิ่ง" จากอ้อมอกของมิดเดิลสโบรช์ ซึ่งเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ใช้ซื้อนักฟุตบอล 1 คน เท่า ๆ กับที่ใช้ซื้อกิจการของทั้งบริษัท

วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า การซื้อตัวนักเตะไม่ได้แตกต่างจากการซื้อกิจการในโลกแห่งธุรกิจ เพราะการขับเคลื่อนให้ เป้าหมายที่วางไว้เป็นจริง ย่อมต้องสรรหาสิ่งต่าง ๆ มาเติมเต็มพอร์ตที่มีอยู่ รวมถึงการยอมจ่ายในราคาที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วย

"ฮานส์ เวสเตอร์บีก" ศาสตราจารย์ ด้านการบริหารการกีฬา จากมหาวิทยาลัยลาโทรบในออสเตรเลีย ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง "ผู้นำธุรกิจและบทเรียนจากเกมกีฬา" มองว่า มืออาชีพด้านธุรกิจสามารถเรียนรู้จากสโมสรกีฬาที่อยู่แถวหน้าได้ เพราะทั้งคู่ต้องมีโฟกัสที่ชัดเจน มีการตัดสินใจที่ดี รวมถึงมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง แม้เพียงแค่ 0.001% ก็ยังดี

ทั้งนี้ปี 2010 กำลังจะเกิดมหกรรมฟุตบอลโลกที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน-11 กรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาทองของทั้งแฟนบอลและภาคธุรกิจที่เตรียมเก็บเกี่ยวกำไรจากกดวลแข้งที่มีผู้คนรอชมมากที่สุด

วอลล์สตรีตฯได้นำเสนอ 6 บทเรียนเพื่อชัยชนะที่ธุรกิจสามารถเรียนรู้จากขอบสนาม โดย บทเรียนแรก คือการโฟกัสที่ชัยชนะ ซึ่งถือเป็นความสำคัญอันดับแรก จากนั้นสิ่งต่าง ๆ ค่อยตามมาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่วางไว้

เวสเตอร์บีกกล่าวว่า ความอยากเป็น ผู้ชนะในธุรกิจ คือความต้องการเป็นผู้นำตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุน และทำกำไรให้ได้มากที่สุด ซึ่งบรรดาผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร เพื่อจะขยับเป็นอันดับ 1

ทุก ๆ คนอยากเป็นผู้ชนะ ไม่มีใครอยากพ่ายแพ้ แต่อะไรทำให้ผู้ชนะต่างจากคนอื่น นั่นคือ การมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นเหมือนโรดแมปสู่ความสำเร็จ และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำต่างจากผู้บริหารทั่ว ๆ ไป โดยผู้บริหารอาจมีขีดความสามารถและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้นำจะต้องนำพาทีมและบริษัทไปถึงเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้

ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่มีนวัตกรรม หรือสร้างสรรค์ ในระดับที่ไม่มีใครคาดถึง นั่นเพราะคนทั่วไปไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งผู้นำและโค้ชเก่ง ๆ สามารถเปลี่ยนทีมดาด ๆ ให้กลายเป็นผู้เล่นที่มีสไตล์และเก่งในระดับที่คนนึกไม่ถึง

บทเรียนที่ 2 ทรัพยากร ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง "เงิน" ดูจากที่ราชันชุดขาว "เรอัล มาดริด" ทุ่ม 45 ล้านยูโร ซื้อตัว "เดวิด เบ็กแฮม" จากทีมปีศาจแดงเมื่อปี 2546 แต่ตลอดสัญญา 4 ปี เบ็กแฮมทำเงินให้เรอัล มาดริด ได้ถึง 560 ล้านยูโร หากต้องการจะชนะ คุณจำเป็นต้องเดิมพันสูง เหมือนเรอัล มาดริด ผลตอบแทนจึงจะตามมา

แต่เงินอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีการสนับสนุนที่ดี มีโค้ชที่เก่ง เพื่อจะสร้างทีมที่ยอดเยี่ยม

บทเรียนที่ 3 จิตวิญญาณของทีม ซึ่งในโลกธุรกิจเรียกสิ่งนี้ว่า วัฒนธรรมองค์กร โดยจิตวิญญาณความเป็นทีมเป็นผล จากวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งสมาชิกทั้งหมดเข้าใจตรงกัน และต้องการไปถึง เป้าหมายนั้น

"เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน" กุนซือทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งมีส่วนสร้างความยิ่งใหญ่ให้ทีมเคยกล่าวว่า การเป็นทีมที่ดีที่สุดเป็นเพราะพวกเขารู้สึกถึงความเป็นทีม ซึ่งสมาชิกแต่ละคนสามารถทำงานโดยมีจิตวิญญาณเป็นหนึ่งเดียว

"โรลี มิลเลอร์" ผู้อำนวยการโครงการเอ็มบีเอของยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ลิเวอร์พูล แมเนจเมนต์ สกูล ระบุว่า ผู้ที่มาใหม่ต้องเตรียมปรับสู่วัฒนธรรมที่มีอยู่ ขณะที่โลกธุรกิจ บทเรียนนี้ไม่ใช่สำหรับซีอีโอที่มาจากภายนอก แต่ยังรวมถึงบริษัทที่มีการควบรวมกิจการ ไม่เช่นนั้นพนักงานจะได้รับผลกระทบ หากไม่ยอมปรับตัว

บทเรียนที่ 4 อย่าหลงทาง เพราะ ดรีมทีมไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่าง เรอัล มาดริด ในช่วงปี 2547-2549 ที่ไม่ประสบความสำเร็จแม้ยอมทุ่มเงินไปมากมาย เพราะแม้ดาวดังอาจทำ รายได้ แต่ไม่ได้การันตีผลงาน ซึ่งคล้ายกับธุรกิจที่เสี่ยงกับการจ่ายเงินแพงเกินไปเพื่อซื้อกิจการบริษัทอื่น แต่กลับไม่ได้ช่วยให้ ผลงานดีขึ้น

บทเรียนที่ 5 ประเมินทักษะ เพื่อหา ดาวเด่นก่อนที่จะฉายแสง ทั้งการเสาะหาจากสถาบันการศึกษา และลีกเยาวชน ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนต่ำลง เช่นเดียวกับธุรกิจ ซึ่งอาจรวมกลุ่มด้านนวัตกรรมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อริเริ่มโครงการที่จะประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

บทเรียนสุดท้าย มีคนเคียงบ่าเคียงไหล่กับทีมมาอย่างยาวนาน ยกตัวอย่าง ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และอาร์เซนอล ที่มีกุนซือ "เฟอร์กี้" และ "อาร์แซน เวนเกอร์" อุทิศเวลาในการสร้างทีมอย่างยาวนาน ซึ่งบทเรียนสำหรับธุรกิจคือ หากมีบางบริษัทที่ยอมเปลี่ยนธุรกิจ วิสัยทัศน์ หรือกลยุทธ์ที่มีมายาวนาน เพื่อความต้องการของผู้ถือหุ้น บริษัทนั้นก็จะเดินแบบสะเปะสะปะ ขณะที่ผู้ชนะจะต้องมีการวางแผน
โพสต์โพสต์