ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 3

ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เห็นโรงงานของผมเองและละแวกใกล้เคียงกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานกัน มีทั้งการประกาศรับสมัครกันอย่างมาก ถึงขั้นแย่ง ผมว่านี่เป็นปัญหาอันน่ากังวลของภาคการผลิตในขณะนี้ ผมจึงอยากบันทึกเหตุการณ์ไว้ในเว็บบอร์ดครับ...

แรงงานขาดแคลนเปิดศึกแย่งตัวดุ ผู้ประกอบการดิ้นขึ้นเงินเดือน-จ้างลูกน้องหาคน  
 

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายงานแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นส่วนใหญ่และมีแนวโน้มปี"53 จะเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากแรงงานทั่วไปรวมไปถึงระดับช่างฝีมือภาพรวมจะขาดไม่ต่ำกว่า 4-5 แสนคน จากภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวส่งผลให้คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) จากต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามา ดังนั้น โรงงานจะเริ่มมีการรับแรงงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเกิดการแย่งตัวแรงงานแล้วในบางประเภทอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

"การจ้างแรงงานที่ผ่านมาของไทยส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามกลไกตลาดหากแรงงานส่วนไหนที่ต้องการมากแล้วขาดแคลนก็จ่ายแพงกว่าอยู่แล้ว และภาพรวมมีน้อยที่จ่ายต่ำกว่าแรงงานขั้นต่ำ และภาวะที่เริ่มมีการขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรม เพราะส่วนหนึ่งย้ายกลับไปทำภาคเกษตรแทนเนื่องจากพืชผลการเกษตรราคาดี ทำให้ภาคเกษตรก็เริ่มขาดเช่นกัน บางกิจการให้ค่าตอบแทนสูงขึ้น บางรายถึงขั้นใช้วิธีจ้างลูกน้องที่ทำอยู่ว่า หากหาแรงงานมาได้และอยู่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนก็จะจ่ายค่าตอบแทนให้" นายทวีกิจกล่าว

ทั้งนี้ ปี"53 นักศึกษาจบใหม่ในระดับอุดมศึกษามีแนวโน้มจะตกงานสูง เนื่องจากแรงงานภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานในระดับอาชีวะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาภาคเอกชนได้เรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงโครงสร้างการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานจริง ซึ่งเอกชนได้เสนอไปเกือบทุกรัฐบาลล่าสุดก็ได้เสนอให้หยุดการเกิดมหาวิทยาลัยโดยควรจะเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และหันมาส่งเสริมระดับอาชีวะให้มากขึ้น เป็นต้น

รายงานข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็ก ทรอนิกส์ (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ยอดคำสั่งซื้ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีการฟื้นตัวในไตรมาส 4 และต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ของปี"53 ส่งผลให้เริ่มมีการขาดแคลนแรงงานในระดับกว่า 2 หมื่นคน และจะเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจาก สต๊อกสินค้าเริ่มลดลงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

"หน้าโรงงานบางแห่งติดป้ายรับสมัครแรงงานเพิ่มแล้ว จากที่แทบไม่เห็นเลยแถมจูงใจด้วยการเสนออัตราค่าตอบแทนที่สูง และช่วงสิ้นปีมีการเพิ่มค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) การทำงานของแรงงานเก่าที่มีอยู่เพื่อเร่งผลิตให้ทันตามความต้องการ ดังนั้น เชื่อว่าในปี"53 การรับคนเพิ่มจะทยอยเกิดขึ้นแน่นอน" รายงานข่าวระบุ

นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงสถานการณ์การเลิกจ้างงานในปี"53 ว่า น่าจะมีปัญหาข้อพิพาทแรงงานมากขึ้น เนื่องจากลูกจ้างมองว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว จึงเรียกร้องขอปรับโบนัสหรือค่าจ้างเพิ่ม แต่นายจ้างมองว่าเป็นช่วงที่เพิ่งลืมตาอ้าปาก การมองต่างมุมเช่นนี้ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ดังนั้น ปีนี้มีความเป็นไปได้สูงที่ปัญหาการยื่นข้อเรียกร้องจะมีมากขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจที่ต้องจับตาก็คืออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือนม.ค.-พ.ย.52 พบว่ามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นในโรงงานทั่วประเทศจำนวน 70 แห่ง 85 ครั้ง เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี"51

หน้านี้ถูกเปิดอ่านแล้ว  10 ครั้ง
ขอบคุณเนื้อหาจาก  
 
     


มองอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฟื้นตัวแล้ว แต่รูปแบบการจ้างงานยังไม่มั่นคงเหมือนเดิม
Posted Tue, 12/29/2009 - 21:16 by nontlc
การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์


ภาคอิเล็กทรอนิกส์ไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจระลอกล่าสุด ทำให้ยอดการส่งออกลดลงในช่วงปลายปี 2551 สืบเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งถือเป็นยอดการส่งออกที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี

โดยสาเหตุที่ทำให้การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยเริ่มหดตัวลงช่วงไตรมาสที่ 4/2551 นั้นมีสาเหตุมาจากทั้งการปิดสนามบินและการที่ไทยเริ่มได้ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก โดยแม้ว่าปัญหาการเมืองจะคลี่คลายลงหลังมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ แต่ผลของความถดถอยของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 หดตัวสูงถึงร้อยละ 32.5 โดยในช่วงเวลาตกต่ำสุด คือ เดือนมกราคม 2552 นั้น มูลค่าส่งออกลดลงถึงร้อยละ 40.4


ด้านการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนของ BOI สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่เดือน ม.ค. พ.ย. 2552 มีการอนุมัติไปทั้งสิ้น 123 โครงการ มูลค่า 23.9 พันล้านบาท

สำหรับปี 2553 นั้น มีการคาดการณ์กันว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญอันดับต้นๆ ของไทยน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มรถยนต์และชิ้นส่วน เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งมีผลของฐานเปรียบเทียบที่ต่ำมากในปี 2552

แรงงานขาด ล่อใจแรงงานเหมาช่วง



จากที่ได้กล่าวไปว่า ตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 จนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมนี้เผชิญกับวิกฤตนั้น มีประเมินว่ามีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวน 30,000-40,000 คน (รวมพนักงานชั่วคราว) หรือประมาณร้อยละ 8-11 จากจำนวนแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมประมาณ 3.5 แสนคน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการหดตัวของการส่งออกที่ลดลงกว่าร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ประกอบการปรับตัวโดยการงดโอที ลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน และลดวันทำงานลง

แต่ผู้ประกอบการกลับพยายามรักษาบุคลากรด้านเทคนิคชั้นสูง เช่น วิศวกรที่เป็นพนักงานประจำไว้เนื่องจากงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นงานที่ต้องการทักษะเฉพาะ ซึ่งการสร้างบุคลากรใหม่ขึ้นมามีต้นทุนและต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรม ต่างจากแรงงานฝ่ายผลิตที่ใช้ทักษะต่ำ โดยจริตของอุตสาหกรรมนี้จะพยายามทำให้การจ้างงานฝ่ายผลิตยืดหยุ่นที่สุด และมีการใช้แรงงานเหมาช่วงเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้หลังเริ่มเข้าไตรมาส 2/2552 พบว่าอุตสาหกรรมนี้เริ่มฟื้นตัว มีการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิต ซึ่งการเร่งขึ้นของการใช้กำลังการผลิตก็ทำให้โรงงานมีความต้องการคนงานกลับมาทำงานเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากที่ผ่านมาสถานประกอบการหลายแห่งได้มีการเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ อีกครั้ง

จากการลงพื้นที่สำรวจพร้อมกับองค์กร sudwind, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, และกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตปริมณฑลและภาคตะวันออก ช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน พบว่าในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายแห่งขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานฝ่ายผลิต โดยบริษัทซับคอนแทร็คมีการล่อใจด้วยสวัสดิการต่างๆ ที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อนแต่

สอดคล้องกับผลสำรวจของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีการจ้างงานในส่วนของพนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2552 ร้อยละ 62 หลังคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนยังคงระดับการจ้างงานไว้ในระดับเดิม ทั้งนี้แม้ว่าในระยะสั้นผู้ประกอบการอาจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือแรงงานของภาครัฐ แต่คาดว่าไม่น่าจะเกิดภาวะตลาดแรงงานตึงตัวหรือค่าจ้างปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอีกส่วนหนึ่งยังคงลังเลที่จะจ้างงานเพิ่มและขยายการผลิต เช่น การเปิดโรงงานที่ได้ปิดไปชั่วคราวในช่วงที่คำสั่งซื้อหดตัวรุนแรง เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของออเดอร์สินค้า เนื่องจากออเดอร์ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นผลมาจากการลดสินค้าคงคลังในช่วงก่อน ทำให้การกลับมาของออเดอร์เป็นผลชั่วคราว

โดยจากการคาดการโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2552 จะมีจำนวนผู้ที่มีงานทำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วงประมาณ 320,000 - 326,000 คน ซึ่งลดลงจากปี 2551 ที่เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 333,000 คน ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 4

ส่วนสภาพการจ้างของแรงงานในอุตสาหกรรม ยังคงพบว่าส่วนใหญ่ใช้แรงงานที่มีความยืดหยุ่น เช่นลูกจ้างรายวัน แรงงานเหมาช่วงจากบริษัทอื่น ทั้งนี้ก็พบว่าลูกจ้างยังไม่มีความมั่นคงในการทำงาน โดยมีประเด็นดังเช่น

*ระยะเวลาการทดลองงานอาจยืดออกไปเรื่อยๆ
*ไม่สามารถบรรจุเป็นพนักงานรายเดือนได้
*สวัสดิการต่างๆ น้อยกว่าพนักงานรายเดือน
*รายได้ไม่แน่นอน โดยรายได้มากกว่า 50% ขึ้นกับการทำงานล่วงเวลา
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้แรงงานภาคนี้ขาดแคลนก็คือการขาดความมั่นคง เพราะอุตสาหกรรมนี้มักจะใช้แรงงานชั่วคราว เหมาช่วง และแรงงานงานที่ไม่ใช่พนักงานรายเดือน โดยเฉพาะในฝ่ายผลิต ทำให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างไปในระลอกแรกเมื่อต้นปี 2552 ไม่กลับเข้ามาทนกับสภาพการจ้างที่ไม่มั่นคงเช่นเดิมอีก
ที่มา: ประชาไท    http://www.thailabour.org/en/node/324




สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สรุปประเด็นข่าวสำคัญ : ประจำวันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2553
ข่าวในประเทศ
1. แรงงานขาดแคลนเปิดศึกแย่งตัวดุ ผู้ประกอบการดิ้นขึ้นเงินเดือน : นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายงานแรงงานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นส่วนใหญ่และมีแนวโน้มปี53 จะเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากแรงงานทั่วไปรวมไปถึงระดับช่างฝีมือภาพรวมจะขาดไม่ต่ำกว่า 4-5 แสนคน จากภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวส่งผลให้คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) จากต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามา ดังนั้น โรงงานจะเริ่มมีการรับแรงงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเกิดการแย่งตัวแรงงานแล้วในบางประเภทอุตสาหกรรม  เช่น สิ่งทอ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

(หนังสือพิมพ์ข่าวสด , ประจำวันที่ 4  มกราคม 2553)


ติคตามสถานการณ์กันต่อไป..........
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ที่ขาดคือคนงานในโรงงานเท่านั้นนะครับ
ถ้าเลือกได้ไม่มีใครอยากไปทำงานโรงงาน
จะไปเที่ยวไหนก็ลำบาก หากมีบริการรถส่งห้าง สถานีรถไฟฟ้า ฟรีทุกเสาร์ อาทิตย์ อาจะมีคนไปทำมากขึ้น
โพสต์โพสต์