TYONG

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

TYONG

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หุ้นเก่า มาพร้อม Story บทใหม่ :)


Business Model ณ เดือน กันยายา 2552

ธุรกิจเก่า

1. รถไฟฟ้า BTS รายได้ มากกว่า 90% จากค่าโดยสาร


ธุรกิจใหม่

1. ธุรกิจบริหารงานโฆษณากลางแจ้ง (OHM) ภายใต้บริษัท วีจีที โกลบอล มีเดีย จะเข้ามาดูแลพื้นที่โฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมด

2 จัดตั้งบริษัทตั๋วโดยสารร่วม ร่วมกับบมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (รถไฟฟ้าใต้ดิน) บัตรโดยสารใหม่จะร่วมกับธุรกิจค้าปลีกเพื่อนำตั๋วอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จ่าย ซื้อสินค้าได้ รวมถึงได้เซ็นสัญญากับ กทม.ที่จะใช้บัตรโดยสารเดียวกับรถเมล์บีอาร์ที รายได้ในอนาคตจะเป็นในรูปแบบค่าธรรมเนียม

3. ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จะลงทุนผ่านสองบริษัทลูกคือ ยูนิคโฮลดิ้งและนูโวไลน์ ตั้งงบก่อสร้าง 3 โรงแรม ไว้ที่ 10,000 ล้านบาท บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท นานา และ สุรศักดิ์ นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาคอนโดมิเนียมบริเวณด้านหลังห้างโลตัสลาดพร้าวเป็นการ ซื้อโครงการเก่ามาบริหารใหม่ และยังมีที่ดินเปล่าอีก 15 ไร่ บริเวณสำนักงานใหญ่จตุจักรกำลังพิจารณาว่าจะพัฒนาในรูปแบบใด


ธุรกิจที่เคยทำ

1. ทำบ้านเอื้ออาทรในปี 2551


*********


Turnaround จริงหรือไม่ เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

ผ่าเส้นทาง BTS-มังกรคีรี วันนี้เขากำลังจะรีเทิร์น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 กันยายน 2552


นับเวลาถอยหลังการกลับมาของ 'คีรี กาญจนพาสน์' หนึ่งในมังกรที่ติดไข้หวัด'ต้มยำกุ้ง'จนปางตาย วันนี้ BTS แข็งแกร่งและประกาศก้องจะกลับมายิ่งใหญ่

หลังลอยตัวค่าเงินบาท ปี 2540 คีรี กาญจนพาสน์ ผู้ก่อตั้ง "รถไฟฟ้า BTS" และ "ธนายง" ต้องเก็บตัวจำศีลนาน 12 ปี เขาเปิดศึกกับเจ้าหนี้มานับครั้งไม่ถ้วนเพื่อรักษาทรัพย์สองชิ้นสำคัญ จนวันนี้บีทีเอสสามารถ "เคลียร์หนี้" ก้อนมหึมาสำเร็จและรอวันที่มังกรฮ่องกงใกล้จะกลับมาผงาดในตลาดหุ้นอีกครั้ง

คีรีกำลังวางแผนนำหุ้น BTS เข้ามาโลดแล่นในตลาดหุ้นเร็วๆ นี้ พร้อมกับฟื้นคืนชีพหุ้น TYONG ที่ระหว่างนี้ถ้าใครจับสังเกตจาก "ข่าว" ทั้ง 2 บริษัท (บีทีเอส-ธนายง) มีการเคลื่อนไหวภายในอย่างเอิกเกริก โดยมังกรผู้พ่อ (คีรี) คุมทัพหลวง "บีทีเอส" และวางตัวลูกชาย กวิน กาญจนพาสน์ เป็นแม่ทัพใหญ่ "ธนายง" และผูกเงื่อนอนาคตธนายงพ่วงไปกับยุครุ่งโรจน์ของบีทีเอส
เร็วๆ นี้ คีรีพาผู้สื่อข่าวบินลัดฟ้าไปนครเซี่ยงไฮ้ ไปเซ็นสัญญาแต่งตั้งเครือแลงแฮมโฮเต็ล อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นที่ปรึกษาและบริหารโรงแรม 5 ดาวที่บีทีเอสเตรียมก่อสร้าง 2 แห่ง (นานา-พญาไท) มูลค่าเงินลงทุนรวม 7 พันล้านบาท คีรีแถลงเสียงหนักแน่นว่า ตอนนี้บีทีเอสพร้อมลุยเต็มที่ แต่ละปีจะมี EBITDA ไม่ต่ำกว่า 2-3 พันล้านบาท สภาพคล่องดี ใช้หนี้เกือบหมดแล้ว

"บทเรียนเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว ผมยอมรับว่า ผมเป็นคนใจร้อน ทำอะไรก็ขาดความรอบคอบไม่คิดหน้าคิดหลังทำให้เราได้รับบาดเจ็บ ไม่สบาย ต้องเข้าห้องไอซียูนานหลายปี แต่ตอนนี้ผมรู้แล้วครับว่า คนไข้ที่โดนหมอฉีดยา มันเจ็บยังไง" คีรีพูดที่นครเซี่ยงไฮ้

ก่อนหน้าไม่นานบีทีเอสเพิ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 1,800 ล้านบาทจากธนาคารกรุงเทพ เพื่อใช้ก่อสร้างโรงแรมโฟร์ พ้อยท์ บาย เชอราตัน โรงแรม 4 ดาว ขนาด 437 ห้อง ใกล้สถานีสุรศักดิ์ ภายใต้การบริหารงานโดยกลุ่มสตาร์วูด พร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2554



สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ทำหน้าที่ถ่ายทอดแผนธุรกิจของบริษัทแทนคีรี กาญจนพาสน์ ให้กับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า ตอนนี้สถานะทางการเงินของบริษัทถือได้ว่าเข้มแข็งมาก เราสามารถล้างขาดทุนสะสมได้ทั้งหมดแล้วและเมื่อปีบัญชีที่ผ่านมา (สิ้นสุดมีนาคม 2552) สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 1,300 ล้านบาท โดยมูลหนี้ทั้งหมดที่ยังเหลือ 10,000 ล้านบาท (ดอยช์แบงก์, บสก., ธนชาต) บริษัทจะนำเงินสดที่ได้จากการออกหุ้นกู้วงเงิน 12,000 ล้านบาทไปชำระหนี้ ส่วนเงินที่เหลือ 2,000 ล้านบาทจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

"เดิมอัตราดอกเบี้ยเราจ่ายเอ็มแอลอาร์ 6.5% แต่หุ้นกู้ชุดใหม่จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ 1% สถานะทางการเงินล่าสุด เรามีหนี้สินต่อทุนเพียง 0.3 เท่า และมีกระแสเงินสดปีละ 3,000 ล้านบาท หลังการออกหุ้นกู้หนี้ระยะยาวก็จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ"

มือขวาคีรี บอกว่า บีทีเอสมีแผนจะเสนอขายหุ้นไอพีโอจำนวน 4,800 ล้านหุ้น มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยมี บล.ภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน คาดว่าภายใน "ไตรมาสสี่" ปีนี้ ความพร้อมตอนนี้พร้อมหมดแล้วรอเพียงภาวะตลาดหุ้นเท่านั้น

สำหรับความน่าสนใจของหุ้นบีทีเอส สุรพงษ์ ชี้ว่า นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 รายได้มีการเติบโตขึ้นทุกปี (ในรอบปีบัญชีสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2552 จำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 135,939,800 เที่ยว มีจำนวนผู้โดยสารในวันทำงานอยู่ที่ 429,004 เที่ยว/วัน บริษัทรายงานรายได้ค่าโดยสารอยู่ที่ 3,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1% จากปีบัญชี 2551) ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองมีผลกระทบต่อการใช้งานของผู้โดยสารเพียงเล็กน้อย เท่านั้น

ส่วนแนวโน้มรายได้ในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตได้ 5-10% และมี EBITDA ประมาณ 2,500 ล้านบาท (ปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 3,900 ล้านบาท EBITDA 2,200 ล้านบาท) เพราะจะมีส่วนต่อขยายสองสถานีของสายสีลมจากสะพานตากสิน-แยกตากสินเพิ่มเข้า มา ปัจจุบันมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 3.6 แสนคนต่อวัน คาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 3.9-4 แสนคนต่อวัน ส่วนต้นทุนดำเนินการไม่รวมภาระเงินกู้อยู่ที่ 40-50% ของรายได้รวม คาดว่าจะรักษาระดับอัตรากำไรไว้ได้แม้ว่าจะมีการลงทุนเพิ่มในอนาคต

"ปีหน้ารายได้อาจจะไม่โตมากนักแต่ปีต่อไป (2554) น่าจะโตขึ้นเพราะรับรู้รายได้จากสายสุขุมวิทจากอ่อนนุช-ซอยแบริ่งเพิ่มเข้ามา"



อนาคตของบีทีเอสกำลังเดินหน้า สุรพงษ์ ชี้ว่า บริษัทกำลังขยายการลงทุนไปยังสามธุรกิจใหม่รวมถึงมีแผนที่จะเข้าไปบริหาร รถไฟฟ้าแห่งแรกน่าจะเป็นที่เวียดนาม ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา โดยปัจจุบันสัดส่วนรายได้หลัก 90% ยังมาจากค่าโดยสาร แต่ในอนาคตรายได้ส่วนนี้น่าจะลดลงเหลือ 60-70% ของรายได้รวม

สำหรับสามธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือ

หนึ่ง. ธุรกิจบริหารงานโฆษณากลางแจ้ง (OHM) ภายใต้บริษัท วีจีที โกลบอล มีเดีย จะเข้ามาดูแลพื้นที่โฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมด

สอง. จัดตั้งบริษัทตั๋วโดยสารร่วม ร่วมกับบมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (รถไฟฟ้าใต้ดิน) บัตรโดยสารใหม่จะร่วมกับธุรกิจค้าปลีกเพื่อนำตั๋วอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จ่าย ซื้อสินค้าได้ รวมถึงได้เซ็นสัญญากับ กทม.ที่จะใช้บัตรโดยสารเดียวกับรถเมล์บีอาร์ที รายได้ในอนาคตจะเป็นในรูปแบบค่าธรรมเนียม

สาม. ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จะลงทุนผ่านสองบริษัทลูกคือ ยูนิคโฮลดิ้งและนูโวไลน์ ตั้งงบก่อสร้าง 3 โรงแรม ไว้ที่ 10,000 ล้านบาท บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท นานา และ สุรศักดิ์ นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาคอนโดมิเนียมบริเวณด้านหลังห้างโลตัสลาดพร้าวเป็นการ ซื้อโครงการเก่ามาบริหารใหม่ และยังมีที่ดินเปล่าอีก 15 ไร่ บริเวณสำนักงานใหญ่จตุจักรกำลังพิจารณาว่าจะพัฒนาในรูปแบบใด


"ธุรกิจโรงแรมน่าจะคืนทุนได้ภายในสิบปี ส่วนคอนโดมิเนียมถ้าขายหมดก็กำไรเลยผลตอบแทนน่าจะอยู่ที่ 30% เชื่อว่าการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะช่วยให้เราได้ เปรียบคู่แข่ง"

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บีทีเอสจะไม่ลงทุนเองทั้งหมด แต่จะลงทุนในส่วนของการซื้อที่ดิน จากนั้นก็จะหาผู้ร่วมทุนเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ส่วนที่ผู้ถือหุ้นใหญ่มีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ธนายง) อยู่แล้วเป็นไปได้ว่าอาจจะร่วมงานกันในอนาคต

“ในแง่การบริหารเราไม่เกี่ยวข้องกับบางกอกแลนด์ แต่กับธนายงยอมรับว่าคงมีความเกี่ยวข้องกัน อนาคตเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการร่วมงานกัน”

นอกจากนี้ บีทีเอสยังมีความสนใจจะร่วมมือกับทาง กทม.ลงทุนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากหมอชิตถึงสะพานใหม่คาดว่าจะใช้เงินลง ทุน 50,000 ล้านบาท โดยบีทีเอสจะขอสัญญาสัมปทาน 60 ปี ขอเงินค่าก่อสร้างปีละ 5,000 ล้านบาทเป็นเวลา 10 ปี ก่อนจ่ายคืนเป็นค่าสัมปทานปีละ 2,500 ล้านบาท ภายในเวลา 20 ปี ที่เหลืออีก 30 ปีเป็นช่วงการแบ่งรายได้


มือขวามังกรฮ่องกง กล่าวปิดท้ายว่า ถ้าระบบขนส่งมวลชนเสร็จทั้งระบบรายได้ของบีทีเอสจะมีการเติบโตอย่างต่อ เนื่องและมั่นคงอย่างมาก ทั้งยังสร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ...ยุครุ่งเรืองของบีทีเอส ธนายง และคีรี กาญจนพาสน์ ใกล้จะกลับมาแล้ว โดยมีตลาดหุ้นเป็น "ขุมทรัพย์" รออยู่เบื้องหน้า
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ศิษย์เซียน007
Verified User
โพสต์: 1252
ผู้ติดตาม: 0

TYONG

โพสต์ที่ 3

โพสต์

tyong-w1 ตั้งแต่ผมลงทุนมาพึ่งเคยเจอวอร์ที่อายุแปปเดียว จุดประสงค์เกิดออกชัดเจน คล้ายการพิมพ์แบงค์ :lol:
Tlk
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 406
ผู้ติดตาม: 9

TYONG

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ข่าวเก่าครับ

7 สิงหาคม พ.ศ. 2551 00:00:00

'มังกรฮ่องกง' ทวงคืนความยิ่งใหญ่..คีรี กาญจนพาสน์



คีรี กาญจนพาสน์:ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนายง และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร11 ปีที่ต้องสูญเสีย 'สมบัติ' ชิ้นสำคัญ จากวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่วันนี้..มังกรฮ่องกง 'คีรี กาญจนพาสน์' พร้อมแล้วที่จะทวงคืน 'รถไฟฟ้าบีทีเอส' สู่อ้อมกอด

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ก่อนจับผนึกกำลังกับ 'ธนายง' ทวงคืนความยิ่งใหญ่อีกคำรบ บนเครื่องหมายคำถาม (?) เกมนี้อาจไม่ "วิน-วิน" สำหรับทุกคน

ยุครุ่งเรืองสุดขีด บมจ.ธนายง ของ "มังกรฮ่องกง" คีรี กาญจนพาสน์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2534 ยุคฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และเป็นปีแรกที่หุ้น TYONG เข้ามาโลดแล่นในตลาดหุ้น ราคาหุ้นเคยขึ้นไป 500-600 บาท แต่เป็นเพียงแค่ "แว้บเดียว" เท่านั้น ถัดมาถึงวันนี้ 18 ปีแล้วที่หุ้นธนายง เป็น "ขาลง" มาตลอด และไม่เคยโงหัวไปไหนได้ไกลเลย

หลังจากย่ำแย่มานานกว่า 1 ทศวรรษ มังกรฮ่องกงก็เริ่มมี "มูฟเมนท์" ครั้งสำคัญออกมา นับตั้งแต่ผลักดันให้บุตรชาย กวิน กาญจนพาสน์ ขึ้นมามีบทบาทในดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

และนำโครงการ "ธนาซิตี้" อาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ "หลายหมื่นล้านบาท" บนถนนบางนา-ตราด กม.14 วันนี้เริ่มถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่ โครงการนูเวล คอนโดมิเนียม และธนาเพลส กิ่งแก้ว คอนโดมิเนียม ลดราคาขายแบบสุดๆ เริ่มต้นที่ 7.9 แสนบาท

เหตุการณ์ล่าสุด คีรี ประกาศจับมือกับหุ้นส่วนใหม่ กลุ่มดูไบ อินเวสเม้นท์ และ กลุ่มนิวเวิลด์ จากฮ่องกง เตรียมเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท จ่ายคืนเจ้าหนี้ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อถอด รถไฟฟ้า BTS (บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ และประกาศผนึกกำลังกับ บมจ.ธนายง รุกใหญ่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในทำเลรถไฟฟ้า และเตรียมลงทุนใหญ่ทั้งโรงแรม คอนโดมิเนียม และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

แต่วิธีการของมังกรฮ่องกง ยังคงไม่เปลี่ยน คือ ใช้แม่ไม้เดิม "เพิ่มทุนก้อนโต" โดยเตรียมหุ้นไว้ขายผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 968.88 ล้านหุ้น ในอัตรา 6 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาไม่ต่ำกว่า 0.60 บาท และเตรียมหุ้นอีก 1,274.70 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ในราคาไม่ต่ำกว่า 0.60 บาท เช่นเดียวกัน

หลังเพิ่มทุนรอบนี้ ธนายงจะมีหุ้นจำนวนมหาศาล ถึง 8,056.92 ล้านหุ้น (จากปัจจุบัน 5,813.33 ล้านหุ้น) กับเงินสดในกระเป๋าอีกไม่ต่ำกว่า 1,346 ล้านบาท เพราะฉะนั้นลึกๆ แล้ว เกมนี้อาจไม่ "วิน-วิน" สำหรับทุกคน

ผู้ถือหุ้นเดิมที่ "ติดหุ้น" ราคาแพงต้นทุนเฉลี่ยจะไม่ได้ลดต่ำลง ขณะที่พันธมิตรใหม่ (PP) ได้หุ้นในราคาต่ำที่ไม่มีต้นทุนเดิม(ที่ขาดทุน)อยู่ในกระเป๋า อีกทั้งมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นมาแชร์กำไรอีก 38% นอกจากนี้ หุ้นในพอร์ต บริษัท เค ทู เจ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ ธนายง ในสัดส่วน 34.40% ก็ได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้

นอกจากนั้นแล้ว เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ธนายงเคยออกหุ้น PP จำนวน 2,266.66 ล้านหุ้น หรือ 42.50% ขายให้กับ Crossventure Holdings Limited (ฮ่องกง) ในราคาหุ้นละ 0.50 บาท หลังจากนั้น Crossventure Holdings ก็โอนขายหุ้นออกไปหลายครั้ง จนกระทั่งล่าสุดเหลืออยู่เพียง 35.39 ล้านหุ้น หรือ 0.61% เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ ค่อนข้างแน่ชัดว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่มีหุ้นราคาถูก 0.50 บาท อยู่ในมือค่อนข้างมาก และที่กำลังจะออก PP ล็อตใหม่ที่ราคา 0.60 บาท อีก 1,274.70 ล้านหุ้น เท่ากับว่าต้นทุนเฉลี่ยจะต่ำเพียง 0.50-0.60 บาท (ต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนี้) ด้วยเหตุนี้ การรุกครั้งใหญ่ของ คีรี ถ้าเป้าหมายอยู่ที่ "ราคาหุ้น TYONG" ในท้ายที่สุดแล้วคนที่ "วิน" คือ ใคร..? น่าจะเดาได้ไม่ยาก

การที่ คีรี กำลังจะจับ "ธนายง" มาผนึกกำลังกับ "บีทีเอส" เป้าหมายแท้จริงของเขา คือ อะไร..?

จุดเริ่มต้นของ BTS มาจากผู้เป็นแม่ คือ ธนายง และอีกไม่นานสองบริษัทนี้ก็จะกลับมารวมกันอีกครั้งหนึ่ง คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนายง และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เปิดเผยในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

โดยขั้นตอนการทวงสมบัติคืน คาดว่าจะเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ ตามแผนที่วางไว้ คีรี จะดึง ผู้ถือหุ้น รายใหม่เข้ามาเพื่อชำระหนี้ก้อนสุดท้าย จำนวน 2.4 หมื่นล้านบาท และจะกระจายหุ้นไอพีโอ เพื่อนำรถไฟฟ้า BTS เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้เร็วที่สุด

เดิมธนายงเคยเป็นผู้ถือหุ้น BTS ทั้ง 100% แต่ปัจจุบันเหลือหุ้นเพียง 1.86% เท่านั้น คีรี บอกว่า ถ้าจะเข้าซื้อหุ้นบีทีเอสอีกครั้ง ก็จะใช้ชื่อของธนายงไม่ซื้อในชื่อส่วนตัว ขอยืนยันว่าที่ผ่านมาผมและครอบครัวไม่มีหุ้น BTS เลยสักหุ้นเดียว ถือผ่านนอมินีก็ไม่มี เพราะตอนนั้นผมลงทุนโดยใช้ชื่อของธนายง ไม่ได้ใช้ชื่อตัวเอง

มังกรฮ่องกง บอกต่อว่า อยากให้ธนายง ถือหุ้นบีทีเอสให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทุนจะเพียงพอ และเจ้าหนี้จะเป็นผู้ตัดสินใจ (ธ.กรุงเทพ, ธ.ไทยพาณิชย์, บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย, ดอยช์แบงก์ ฯลฯ) แต่ถ้าจะมีบทบาทในการบริหารคงจะต้องมีหุ้นขั้นต่ำ 25% ขึ้นไป

สำหรับอนาคตของธนายง คีรี วางแผนในระยะ 5 ปีข้างหน้านี้ไว้ว่า จะลงทุน 2.3 หมื่นล้านบาท ผ่าน 4 โปรเจคใหญ่ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร ได้ร่วมทุนกับ บริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด (ถือหุ้น 50%) เพื่อบริหารเชนโรงแรม ยู โฮเทล ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ และเตรียมแผนลงทุนอีกสามแห่งที่จังหวัดกาญจนบุรี ชะอำ และ เขาใหญ่

โปรเจคที่สอง คือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ โครงการธนาซิตี้ ปัจจุบันสามารถขายโครงการไปได้กว่า 80% แล้ว ส่วนโปรเจครับบริหารอสังหาริมทรัพย์

ประกอบด้วย โรงแรมติดสถานี BTS สุรศักดิ์ 1 แห่ง และกำลังเจรจากับเชนโรงแรมแห่งหนึ่งอยู่ รวมถึง การรับงานก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร 4 ทำเล ที่จอมเทียน และหัวหินได้ดำเนินการสร้างไปแล้ว 70-80% มีกำหนดส่งมอบให้กับการเคหะแห่งชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2552 ส่วนที่บางบ่อ และโคกแย้ม กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินงาน

ในส่วนของแผนลงทุนที่เชื่อมโยงกันระหว่างบีทีเอส และธนายง คีรี บอกว่า ความพร้อมล่าสุดมีที่ดินทำเลดีที่ติดกับเส้นทางรถไฟฟ้า อยู่ 6 ทำเลด้วยกัน รวมกว่า 20 ไร่ ในจำนวนนี้ มีติดกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหลัก 4 แห่ง ซึ่งพร้อมนำมาพัฒนาเพิ่มมูลค่า ปัจจุบันราคาเฉพาะที่ดินเปล่าอยู่ที่ 1.5-2.5 แสนบาท/ตารางวา ส่วนแผนพัฒนาเบื้องต้น จะมีทั้งคอนโดมิเนียมพักอาศัย โรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

"บางแห่งเริ่มพัฒนาไปบ้างแล้ว ลงเข็มทยอยสร้างไปบ้าง แต่ยังเปิดเผยรายละเอียดไม่ได้ ต้องรอสรุปการประชุมกับผู้ถือหุ้นก่อน" สำหรับข่าวที่ว่า ธนายง กำลังจับมือกับ บลจ.แห่งหนึ่งเพื่อจัดตั้ง Property Fund คีรีนิ่งไปพักหนึ่ง ก่อนตอบว่า "เรื่องนี้อย่าเพิ่งพูดดีกว่า"

แม้ว่าตอนนี้ ธนายงกับบีทีเอส จะเป็นคนละบริษัทซึ่งแยกจากกันอย่างสิ้นเชิง แต่คีรี และผู้ถือหุ้นต่างมองว่า บีทีเอส คือ Asset หลักของธนายงมาตลอด 11 ปีที่ผ่านมา

คำกล่าวนั้นไม่ผิด แต่อาจไม่ถูกทั้งหมด เพราะธนายงทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แต่บีทีเอสทำรถไฟฟ้า ซึ่งมันก็เกี่ยวเนื่องกันได้ คีรี ตอบ

พร้อมระบุว่า ในอนาคตถ้า ธนายงกับบีทีเอส ได้ทำงานร่วมกัน เรามีสิทธิได้เปรียบ Developer รายอื่นที่ทำโครงการอยู่รอบรถไฟฟ้าซะอีก แต่ยุทธศาสตร์(สตอรี่)จากนี้จะเป็นเช่นไร "ผมจะ(ค่อยๆ)เปิดเผยในภายหลัง

คีรี ย้ำว่า แม้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตนเองต้องถอยออกจากบทบาท เจ้าของ มาเป็นเพียง ผู้บริหาร แต่เจ้าหนี้ทั้งหมดยังให้ความไว้วางใจบริหารบีทีเอสจนประสบความสำเร็จมีผู้โดยสาร 4-5 แสนเที่ยวต่อวัน ส่วนหลังออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ ตนเองอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด แต่ก็เป็นผู้บริหารรถไฟฟ้าได้ดีที่สุด

ผมพูดได้เต็มปากว่าบีทีเอสเป็นของผม และเจ้าของตัวจริงเสียงจริงกำลังจะกลับมาแล้ว มังกรฮ่องกง ทิ้งลายไว้ให้ติดตามตอนต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

TYONG

โพสต์ที่ 5

โพสต์

น่าติดตามครับ :D

ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์ได้ศึกษาหุ้น  Turnaround เลย
หวังว่าตัวนี้จะเป็นบทเรียนให้ศึกษาได้อย่างดี
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
Tlk
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 406
ผู้ติดตาม: 9

TYONG

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Turnaround stock most are not turn

Peter lynch
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

TYONG

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เดิมที ผมสนใจ TYONG เพราะ BTSC กำลังจะเข้าตลาดช่วงปลายปีนี้ (2552)


เลยเริ่มศึกษาดู TYONG เห็นว่า Market Cap 3.75 - 4 พันล้านบาท ที่ราคาตลาด 0.55-0.59  


และคาดว่าจะกลับมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่  BTSC ( ซึ่งปัจจุบันนั้นยังไม่แน่ :)) ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการ Turnaround (สัมปทานยังเหลือ อีก 20 ปี)


โดยตอนนี้ BTSC มีการ Funding จากหุ้นกู้มาใช้หนี้ น่าจะทำให้ส่วนของเจ้าหนี้ลดลงได้บ้าง


สุดท้าย จริง ๆ คือ ว่า TYONG จะมีสัดส่วนในการถือหุ้นและบริหาร BTSC แค่ไหน น่าจะเป็นคำตอบครับ ?


*********
หมายเหต

ถ้าดูในงบการเงินจะเห็นว่า TYONG มีสัดส่วนถือหุ้น BTSC น้อยมาก แถมยังมีการเอาไปจำนำซะอีก  :wall:
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

TYONG

โพสต์ที่ 8

โพสต์

06:56  08/09/2009  
สรุปข่าวเศรษฐกิจ การเงิน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


    8 ก.ย.--กรุงเทพธุรกิจ

    Distributor - Bisnews AFE

2 หุ้นไอพีโอขายกลางเดือนก.ย.นี้ 'บีทีเอส' ต้นปี53
    มุ่งพัฒนาเตรียมเคาะไอพีโอ 21 ก.ย.นี้ เปิดจอง 23-24 ก.ย.ก่อนเทรด 1 ต.ค. ด้านสตาร์ส
ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ วางกรอบราคาขาย 4.75-4.95 บาท ชูจุดเด่นราคาไอพีโอลด 25-30% จากราคา
ประเมิน ขณะที่บีทีเอสเลื่อนเข้าตลาดจากไตรมาส 4/52 เป็นไตรมาส 1/53


************
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 3

TYONG

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เห็นพี่ BeSmile ในห้อง JAS ด้วย..

ท่าทางจะชอบหุ้น Turn around มาก....

ทำไมถึงชอบหุ้นลักษณะนี้ครับ มีประสบการณ์เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

TYONG

โพสต์ที่ 10

โพสต์

SEHJU เขียน:เห็นพี่ BeSmile ในห้อง JAS ด้วย..

ท่าทางจะชอบหุ้น Turn around มาก....

ทำไมถึงชอบหุ้นลักษณะนี้ครับ มีประสบการณ์เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

ที่ผม มองหุ้น TurnAround เพราะว่าทุกธุรกิจ มีขึ้นแ้ล้วมีลงเป็นวัฎจักร

และ มี 2 ปัจจัยที่ผมคิดว่า ทำให้หุ้น TurnAround ได้ คือ

1. มี Business Model ดีขึ้น หรือ เปลี่ยนจากเดิม ซึ่งกระทบกับรายได้ในอนาคต

เช่น
  1. JAS น่าจะใช้ ต้องรอดูงบ Q3,Q4 ปันผล
  2. TYONG รอดู BTSC

  3. BLAND asset play, Business Model ยังไม่เปลี่ยน
  4. SVI money game ของผู้บริหาร, Business Model ยังไม่เปลี่ยน
  etc.

2. มีผู้บริหารที่เก่ง (ดี หรือ ไม่ดี ต้องดูยาว ๆ)

ซึ่งทั้งสองแบบ ผมพอจะมีความสามารถดูได้บ้าง  :D

ส่วนเรื่องความรู้ทางด้านงบการเงินนั้นแบบลึกซึ้ง นั้นต้องไปเข้า Course ก่อนล่ะครับ  :lol:


แล้วเอามาคำนวณหา มูลค่าเทียบกับ ปัจจุบัน (เรียนรู้มาจากกระทู้ คุณลูกอิสาณ)


แล้วเอามาเฝ้าดูครับ รอจังหวะ ซื้อ ตามที่คิดไว้ครับ


************

จริง ๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ ผมเป็นพวกเก็งกำไร จากราคาหุ้น ครับ  

ผมเป็นพวก Technical และใช้ Model Trade แบบ DSM ในการสะสมหุ้นครับ

ตอนนี้การลงทุน แบบ VI นั้นผมยังไม่เข้าใจลึกซึ้งเหมือน ดร. หรือ พี่ ๆ เพื่อน ๆ

ดังนั้น ตอนผม post อาจจะมีแนวคิดแบบพวก เก็งกำไรบ้าง

ต้องขออภัยด้วยครับ

:D
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
โพสต์โพสต์