วีรพงษ์ เตือนภัยเศรษฐกิจเผชิญ"กับดักสภาพคล่อง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

วีรพงษ์ เตือนภัยเศรษฐกิจเผชิญ"กับดักสภาพคล่อง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วีรพงษ์ เตือนภัยเศรษฐกิจเผชิญ"กับดักสภาพคล่อง

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ให้ความเห็นในงานสัมมนา "ทางรอดเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโลก" เตือนภัยเศรษฐกิจต้องเผชิญกับดักสภาพคล่อง

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดสัมมนาวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 6 ประจำปี 2552 เมื่อวานนี้ โดยมีการเสวนาในหัวข้อ ทางรอดเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริษัท แอ๊ดวานซ์อะโกร จำกัด ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการ Sasin Institute for Global Affairs จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ดร.วีรพงษ์ เห็นว่า ไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอีกหลายปี ไม่ใช่ 5-6 เดือนอย่างที่หนังสือพิมพ์ของประเทศตะวันตกหลอกเรา ฉะนั้นรัฐบาลควรคาดการณ์ว่า เราจะอยู่ได้อย่างไร สิ่งที่อยากเห็นก็คือ การมองไปข้างหน้าของรัฐบาลว่ามีเป้าหมายอย่างไร โดยเป้าหมายนั้น จะต้องมีน้อยกว่าเครื่องมือ และถ้าเป้าหมายมีมากกว่าเครื่องมือ ต้องจัดลำดับความสำคัญหรือมียุทธวิธีที่จะแปลเป็นมาตรการเพื่อนำมาใช้

ยังไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะฟื้นตัวและพลิกกลับมาเป็นบวกได้ เนื่องจากยังไม่เห็นสัญญาณที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัว ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจดีหรือไม่ เพราะตอนนี้สถานการณ์เศรษฐกิจเป็นช่วงกับดักสภาพคล่อง และอย่าหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นเร็ว เพราะเศรษฐกิจจะกองกับพื้นไปอีกระยะ เพราะมี วัฏจักร ขึ้น 6 ปี ลง 6 ปี เขากล่าว

ดร.วีรพงษ์กล่าวว่า ไม่เห็นว่ารัฐบาลของสหรัฐอเมริกาจะมีมาตรการอะไร นอกจากการขอเงินจากรัฐสภาเพื่อนำมาใช้ ซึ่งก็เหมือนกับประเทศไทย ที่เป็นอย่างนี้ เพราะไม่มีทฤษฎีอะไรมาอธิบายว่า ควรใช้มาตรการอะไร สำหรับประเทศไทยนั้น ควรเน้นดูแลภาคการส่งออกและท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยประเด็นที่สำคัญ คือ การดูแลค่าเงินบาทให้เอื้อต่อภาคการส่งออก ซึ่งแบงก์ชาติ นอกจากไม่ทำหน้าที่นี้แล้ว ยังออกมาพูดว่า ค่าเงินบาทไม่เกี่ยวกับการส่งออกและท่องเที่ยว สำหรับเรื่องของการลงทุนเราคงหวังไม่ได้มาก เพียงแค่ประคองและอย่าหวังว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวเร็ว

นโยบายของเราควรหันไปทางจีนมากขึ้น ที่ทำได้เร็ว คือ เรื่องของการท่องเที่ยว แต่ก็ยังติดเรื่องปัญหาทางการเมือง และไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งจีนเขาตกใจมาก และไม่ให้นักท่องเที่ยวเขาเข้ามาไทย จุดนี้เราจะทำอย่างไร ก็อยากเห็นจุดมุ่งหมายของรัฐบาลที่แปรเป็นมาตรการที่ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราเอาจริง เขากล่าว

ดร.ศุภวุฒิ กล่าวแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ หลังจากที่ทุกประเทศใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณมาดูแลเศรษฐกิจตามคำเชิญชวนของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทุกประเทศก็จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ซึ่งกรณีของไทยนั้น มีแนวโน้มว่าระดับหนี้สาธารณะจะสูงถึง 60% ใน 4-5 ปีข้างหน้า หากประเทศใดบริหารจัดการได้ไม่ดี เมื่อเกิดปัญหาก็จะเป็นปัญหาในลักษณะเดียวกัน ฉะนั้นการปรับตัวของเศรษฐกิจอาจเป็นลักษณะขึ้นๆ ลงๆ หรือเป็นรูปตัว W จึงอยากให้รัฐบาลไทยบริหารจัดการหนี้สินให้ดี ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนให้แก่ระบบเศรษฐกิจในอนาคต

วิกฤติเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลจะหันมาถือหนี้แทนเอกชน มีการคำนวณคร่าวๆ จากไอเอ็มเอฟว่า หนี้ภาครัฐของประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกลุ่มจี 20 อยู่ในระดับเฉลี่ย 17-18% ของจีดีพี ในปีที่แล้วและปีนี้ แต่จะสูงขึ้นเป็น 100% ของจีดีพีในปี 2011-2012 ฉะนั้นทำให้อดห่วงไม่ได้ว่า มีความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจโลกจะขาดภูมิคุ้มกันเขากล่าวและประเมินว่า ความมั่งคั่งของผู้บริโภคจะลดลงเฉลี่ย 20-100% ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะเดียวกัน อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับเฉลี่ย 3.5-3.6% และจะไม่สูงเฉลี่ยที่ 4.9% เท่ากับปี 2004-2007 ฉะนั้น เราต้องรับสภาพว่า เศรษฐกิจโลกจะโตน้อยกว่าอดีต

ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในขั้นที่เรียกว่า น่าเป็นห่วง ไม่ถึงขั้นเรียกว่า วิกฤติเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวบ้างแล้ว แต่จะให้ฟื้นตัวมากกว่า รัฐบาลจะต้องเร่งรัดการเบิกจ่าย ซึ่งถือว่า เป็นเครื่องยนต์เดียวที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่จะขยายตัวเป็นบวกได้ แต่เป็นอัตราขยายตัวที่ไม่สูงมากหรือสูงในระดับ 4-5% สำหรับปัญหาของภาคการส่งออกนั้น เห็นว่า ค่าเงินบาทยังสามารถสนับสนุนการส่งออกได้ ซึ่งแบงก์ชาติก็จะต้องดูแลค่าเงินให้เป็นไปตามประเทศเพื่อนบ้านอยู่ไม่ให้เงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่าเกินไป

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องมองไปข้างหน้าในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนสู่โลกาภิวัตน์ที่มีพลวัตมากขึ้น ที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งมีการกระจายไปยังประเทศอื่นๆ จากขั้วเศรษฐกิจเดิมสู่เศรษฐกิจเอเชีย แต่เศรษฐกิจโลกก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน (Globalization of Risk) ดังนั้น ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ในระยะต่อไปจำเป็นเริ่มต้นจากการสร้างความสมานฉันท์ภายในประเทศก่อน โดยต้องคำนึงถึง 4 ปัจจัยสำคัญ คือ การมีระบบธรรมาภิบาลที่ดี การสร้างการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่ความสมานฉันท์ในสังคมที่ยั่งยืนสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย

กงกฤช หิรัญกิจ กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวไทย ซึ่งปัญหาที่ผ่านมา ถือว่า ทำให้ภาคการท่องเที่ยวตกต่ำสุดในรอบ 49 ปี ขณะเดียวกันยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ และการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ทำให้วงการท่องเที่ยวคาดว่าจะทำให้การท่องเที่ยวทั่วโลกลดลง 4% และจากปัจจัยเหล่านี้ จึงคาดว่าในปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าไทยจะลดลงจาก 14.1 ล้านคน เหลือ 10.8 ล้านคน หรือลดลง 22.8% โดยที่รายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่า จะลดลง 35% จากที่คาดว่าจะมีรายได้ 540,000 ล้านบาท เหลือเพียง 350,000 ล้านบาท

เชื่อว่าในไตรมาสสามของปีนี้ การท่องเที่ยวจะลดลงอีก เนื่องจากไข้หวัด 2009 เพิ่งเข้ามา ราคาค่าบริการของธุรกิจท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ 12% เนื่องจากการแข่งขันของแต่ละประเทศในภูมิภาค โดยเม็ดเงินท่องเที่ยวอาจหายไปถึง 1.9-2 แสนล้านบาท เขากล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... คล่อง.html
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

วีรพงษ์ เตือนภัยเศรษฐกิจเผชิญ"กับดักสภาพคล่อง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ก็มีเหตุผล  วิจารณ์ไปเรื่อยๆ  แต่ไม่เสนอทางออก...
ยังไม่ครบถ้วนดีนักครับ  
:roll:
โพสต์โพสต์