หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
comma
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ถ้าหุ้น 2 ตัวทุกอย่างเหมือนกันหมด ยกเว้นตัวที่ 1 กำไรจ่ายปันผลทั้งหมด กับตัวที่ 2 จ่ายปันผลครึ่งนึง อีกครึ่งนึงขยายกิจการ ท่านคิดว่าจะเลือกตัวไหนครับ หรือเห็นว่า 2 ตัวนี้ดีเหมือนกัน
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 1

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แล้วตัวที่ 1 จะขยายกิจการต่อไหมครับ

ถ้าไม่ขยายผมคงเอาตัวที่ 2

แต่ถ้าตัวที่ 1 ขยายได้ก็แสดงว่าเงินเหลือเยอะมาก น่าสนใจไปอีกแบบ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
comma
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตัวที่ 1 ธุรกิจอิ่มตัวแล้วอ่ะครับ

คือผมคิดว่า หากกำไรเท่ากันแล้ว การที่เราเอาเงินปันผลมาซื้อหุ้นเพิ่มกับการที่บริษัทเติบโตเองมันมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันยังไงบ้างน่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Diablo
Verified User
โพสต์: 822
ผู้ติดตาม: 1

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แตกต่างตรงที่ถ้าบริษัทนำเงินไปลงทุนขยายงานต่อนั้นจะให้กำไรต่อผู้ถือหุ้นโดยรวมมากกว่าการจ่ายปันผลหรือไม่น่ะครับ
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2502
ผู้ติดตาม: 9

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ต้องดู ROE ของกิจการที่ 2 ด้วยครับ

ถ้ามันน้อยกว่าต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น แล้วดันทะลึงขยายกิจการไปเรื่อยๆ ก็เหมือนเอาเงินไปละลายน้ำครับ :wink:

เหมือนที่อาจารย์เทพเคยบอกไว้ "ยิ่งโต ยิ่งทำลายมูลค่า" :twisted:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าอะไรดีกว่ากัน   แม้ว่าการที่ บมจ.ที่2 กันเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อขยายการลงทุน  มักจะดูดี ในทัศนคติของนักลงทุน  แต่ถ้า Timing ไม่เหมาะต่อการลงทุน  ก็ประสบปัญหาได้  ดู AH นั่นปะไร  ลงทุนขยายกิจการก่อน วิกฤตมาเยือน  ตอนนี้กำลังการผลิตเพียบ  แต่ยอดสั่งซื้อบางเต็มที  จมอยู่กับดอกเบี้ย  ค่าเสื่อม และ ค่าใช้จ่ายพนักงานที่จ้างมารันงานส่วนที่ขยายไป    ส่วน บมจ.ที่จ่ายปันผลหมด  นักลงทุนได้แน่ๆคือปันผล  แต่ความเชื่อเดิมของนักลงทุนคือ บมจ.นี้ อิ่มตัวแล้ว  ไม่มี Growth แล้ว ฉะนั้นก็ไม่มี Capital Gain ด้วย  จึงไม่เป็นที่น่าสนใจ  แต่สำหรับผม ถ้ามันเป็นธุรกิจที่มีรายได้อย่างแน่นอน  และคาดการณ์ปันผลได้แน่นอน  และถ้าผลตอบแทนมันคุ้มค่า  ก็น่าสนใจครับ
ความรู้คู่เปรียบด้วย
comma
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณทุกความเห็นครับ :D

ช่วงนี้กำลังมอง ๆ หุ้นที่เล่นเซฟ ๆ เพราะปีที่แล้วหัวใจจะวาย เห็นหุ้นอิ่มตัวอย่าง sauce ราคาแข็งแกร่งท้าพายุฝนดูน่าสนใจ แต่ราคาก็แพงพอดูเหมือนกัน  :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2502
ผู้ติดตาม: 9

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 8

โพสต์

comma เขียน:ช่วงนี้กำลังมอง ๆ หุ้นที่เล่นเซฟ ๆ เพราะปีที่แล้วหัวใจจะวาย เห็นหุ้นอิ่มตัวอย่าง sauce ราคาแข็งแกร่งท้าพายุฝนดูน่าสนใจ แต่ราคาก็แพงพอดูเหมือนกัน  :oops:
หาไม่ได้แล้วล่ะครับ SAFE delist ไปแล้วครับ :rofl:

SAUCE อีกสักพักคงเลิกอิ่มตัวแล้วมั๊งครับ
ตอนนี้กำลังเพิ่ม line ไปผลิตซีอิ๊วญี่ปุ่น ตรา “ยามาซ่า” อยู่ :8)
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
golfkinmon
Verified User
โพสต์: 281
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นจ่ายปันผล VS หุ้นเติบโต

โพสต์ที่ 9

โพสต์

หุ้น 6 ประเภท ...ของปิเตอร์ ลินซ์

       เมื่อผมรู้ขนาดของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งแล้ว ต่อไปผมก็จะจัดมันให้เข้าเป็นหนึ่งในหกกลุ่มคือ กลุ่มโตช้า กลุ่มแข็งแกร่ง กลุ่มโตเร็ว กลุ่มวัฏจักร กลุ่มฟื้นตัว และกลุ่มทรัพย์สินมาก มีวิธีการในการจัดกลุ่มหุ้นมากมายเท่าๆ กับจำนวนโบรกเกอร์ แต่ผมพบว่า 6 กลุ่มนี้ครอบคลุมความแตกต่างของหุ้นทั้งหมดอย่างเพียงพอและมีประโยชน์ต่อนักลงทุนในการวิเคราะห์หุ้น

           ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโต(GNP) อุตสาหกรรมมีอัตราการเจิรญเติบโต และเช่นเดียวกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอะไร "การเจริญเติบโต" หมายความว่ามันทำในสิ่งที่ทำอยู่ในปีนี้ (ผลิตรถ ขัดรองเท้า ขายแฮมเบอร์เกอร์) มากกว่าปีที่แล้ว ครั้งหนึ่งประธานาธิบดีไอเซนฮาวพูดว่า "ของในปัจจุบัน มีมากกว่าอย่างที่มันเคยเป็น" นั่นเป็นคำจำกัดความของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี

           การติดตามอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมก็เป็นอุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง มีแผนภูมิตารางและการเปรียบเทียบต่างๆ นับไม่ถ้วน ถ้าพูดถึงการเจริญเติบโตของยอดขาย การเติบโตของกำไร การเติบโตของกำไรต่อหุ้น ฯลฯ แต่เมื่อคุณได้ยินเกี่ยวกับ "เจริญเติบโตของบริษัท" คุณสามารถสรุปได้ว่ามันกำลังขยายตัว มียอดขายมากขึ้น การผลิตมากขึ้น และกำไรมากขึ้นในแต่ละปีต่อเนี่องกันมา

           การเจริญเติบโตของบริษัทถูกวัดโดยการเปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโดยทั่วไป บริษัทที่โตช้าก็อย่างที่คุณเดาได้โตช้ามาก คือโตไปตามรายได้ประชาชาติหรือ GNP ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละประมาณ 3% บริษัทที่โตเร็ว โตเร็วมากบางทีโต 20-30% ต่อปี หรือมากกว่านั้น นั่นคือที่ซึ่งคุณจะเจอหุ้นที่วิ่งระเบิด

           สามในหกกลุ่มของผมเกี่ยวข้องกับหุ้นโต ผมแยกหุ้นโตออกเป็นหุ้นโตช้า(เงื่องหงอย) หุ้นโตปานกลาง(แข็งแกร่ง) และหุ้นโตเร็วหรือซุปเปอร์สต๊อก ซึ่งสมควรที่จะได้รับความสนใจมากที่สุด

หุ้นโตช้า ( Slow Growers )

           โดยปกติบริษัทขนาดใหญ่และเก่าแก่เหล่านี้มักจะโตเร็วกว่ารายได้ประชาชาติเล็กน้อย หุ้นโตช้าไม่ได้เริ่มเป็นแบบนี้เลย มันเริ่มจากการเป็นบริษัทที่โตเร็วและในที่สุดก็หมดแรง อาจจะเป็นเพราะมันมาไกลสุดแล้วหรือเหนื่อยเกินไปที่จะไปต่อ เมื่ออุตสาหกรรมโดยส่วนรวมชะลอตัวลง (อย่างที่มักจะเป็นเสมอ) บริษัทส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมก็มักจะหมดแรงส่งเหมือนกัน

           บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าคือหุ้นโตช้ายอดนิยมในวันนี้ แต่ในช่วงตลอดทศวรรษที่ 1950-1960 บริษัทเหล่านี้คือหุ้นโตเร็วและเติบโตเป็น 2 เท่าของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กิจการเหล่านี้เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จและเป็นหุ้นที่ดีเยี่ยม เมื่อประชาชนติดแอร์คอนดิชั่น ซื้อตู้เย็นขนาดใหญ่และใช้ไฟมากขึ้นไฟฟ้าก็กลายเป็นอุตสาหกรรมโตเร็ว และบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะในตอนกลางของประเทศก็ขยายตัวในอัตรา 2 หลัก ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในขณะที่ต้นทุนของไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนก็เรียนรู้ที่จะประหยัดไฟ การเจริญเติบโตของบริษัทก็ชะลอตัวลง

           ไม่ช้าก็เร็วอุนสาหกรรมโตเร็วยอดนิยมทุกประเภทก็จะต้องกลายเป็นอุตสาหกรรมโตช้า นักวิเคราะห์และโหรจำนวนมากก็จะถูกหลอก มีแนวโน้มที่คนจะคิดว่าสิ่งต่างๆ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงเสมอแต่ในที่สุดมันก็ต้องเปลี่ยน ครั้งหนึ่ง Alcoa ก็มีลักษณะและชื่อเสียงแบบอะโกโก้อย่างเช่นบริษัท Apple Computer ในปัจจุบัน เพราะอะลูมิเนียมเป็นอุตสาหกรรมที่โตเร็วในตอนนั้น ในช่วงทศวรรษที่ 1920 รถไฟเป้นบริษัทโตเร็วที่ยิ่งใหญ่ และเมื่อ วอลเตอรื ไคร์สเลอร์ ลาออกจากบริษัทรถไฟเพื่อมาทำโรงงานรถยนต์เขาต้องลดเงินเดือนลง เขาถูกบอกว่า "นี่ไม่ใช่รถไฟนะครับคุณ ไคร์สเลอร์"

           และแล้วรถยนต์ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมโตเร็ว และอีกระยะหนึ่งมันก็เป็นเหล็กกล้า แล้วก็เคมี แล้วก็ไฟฟ้า แล้วก็คอมพิวเตอร์ IBM และ Digital อาจจะเป็นบริษัทโตช้าของวันพรุ่งนี้

           มันง่ายพอที่จะบอกว่าเป็นหุ้นโตช้าในหนังสือแผนภูมิหุ้นที่โบรกเกอร์สามารถหาให้ได้หรือคุณอาจจะหาได้จากห้องสมุด แผนภูมิของหุ้นโตช้าเช่น Houston Industries จะดูคล้ายกับแผนที่ภูมิประเทศของรัฐเดลาแวร์ ซึ่งอย่างที่คุณน่าจะรู้ก้คือไม่มีภูเขา เปรียบเทียบกับ Wall-Mart ซึ่งดูเหมือนการปล่อยจรวดและคุณจะเห็นว่า Wall-Mart นั้นไม่ใช่หุ้นโตช้าแน่นอน

          เครื่องหมายแน่นอนอีกอย่างหนึ่งของหุ้นโตช้าก็คือ มันจ่ายปันผลดีและสม่ำเสมอ ซึ่งผมจะพูดอย่างละเอียดในบทที่ 13 บริษัทจ่ายปันผลดีเมื่อมันไม่สามารถฝันถึงวิธีใหม่ๆ ที่จะใช้เงินในการขยายธุรกิจ ผู้จัดการมักชอบที่จะขยายธุรกิจมากกว่า เพราะจะทำให้พวกเขาดูมีศักดิ์ศรีดีขึ้น มากกว่าที่จะจ่ายปันผลซึ่งไม่ต้องคิดฝันอะไรเลย

           นี่ไม่ได้หมายความว่าการจ่ายปันผลเป็นสิ่งที่ผิด ในกรณีจำนวนมากแล้วมันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการใช้เงินกำไรของบริษัท

           คุณจะไม่พบหุ้นที่โตปีละ 2-4% มากนักในพอร์ตของผม เพราะถ้าบริษัทไม่ไปไหนเร็วราคาหุ้นก็เหมือนกัน ถ้าการเติบโตของกำไรต่อหุ้นคือสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งให้กับบริษัทแล้วจะมีเหตุอะไรที่จะต้องเสียเวลากับหุ้นเงื่องหงอย

หุ้นแข็งแกร่ง (The Stalwarts)

           หุ้นแข็งแกร่งคือบริษัทเช่น Coca-Cola, Bristol-Myers, Procter and Gamble, Colgate-Palmolive และ บริษัทระดับล้านๆ เหรียญ เหล่านี้ไม่ใช่นักปีนเขาที่ว่องไวนักแต่มันก็เร็วกว่าพวกโตช้า ก็อย่างที่คุณสามารถเห็นได้ในแผนภูมิราคาหุ้นของ Procter and Gamble มันไม่ราบเรียบเหมือนแผนี่ของรัฐเดลาแวร์แต่ก็ไม่ใช่ยอดเขาเอฟเวอเรสต์เหมือนกัน เมื่อคุณเดินทางในหมู่หุ้นแข็งแกร่งคุณกำลังเดินทางในเนินเขาเตี้ยๆ กำไรต่อหุ้นเติบโตปีละ 10-20%

           ขึ้นอยู่กับว่าคุณซื้อเมื่อไรและในราคาเท่าไร คุณสามารถทำกำไรได้ดีพอสมควรในหุ้นแข็งแกร่ง อย่างเช่นที่คุณสามารถเห็นจากแผนภูมิของ Procter and Gamble หุ้นมีผลงานดีตลอดทศวรรษที่ 1980 อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณซื้อหุ้นย้อนหลังไปในปี 1963 คุณก็ทำเงินเพิ่มขึ้นเพียง 4 เท่า การถือหุ้นตัวหนึ่งเป็นเวลา 25 ปี สำหรับผลตอบแทนแบบนั้นไม่ใช่เรื่องน่าตี่นเต้นอะไร เพราะคุณไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อพันธบัตร หรือเก็บเงินไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น

           ที่จริงเมื่อมีคนคุยโม้เกี่ยวกับบการทำเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า จากหุ้นแข็งแกร่ง (หรือจากหุ้นบริษัทอะไรก็ตาม) ถ้าถามต่อไปควรจะเป็นว่า "แล้วคุณถือไว้กี่ปี" ในหลายๆ กรณีความเสี่ยงในการถือหุ้นไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเท่ากับว่าเขาเสี่ยงโดยไม่ได้อะไรตอบแทนเลย

           ตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 1980 นั้น หุ้นแข็งแกร่งทำผลงานได้ดีแต่ก็ไม่ใช่ดารา ส่วนใหญ่หุ้นเหล่านี้จะเป็นบริษัทขนาดยักษ์และมันเป็นเรื่องผิดปกติที่จะได้หุ้น 10 เด้ง จากหุ้น Bristol-Myers หรือ Coca-Cola ดังนั้นถ้าคุณถือหุ้นแข็งแกร่งอย่าง Bristol-Myers และราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 50% ใน 1 หรือ 2 ปีคุณจะต้องคิดว่าเพียงพอหรือยังที่จะเริ่มคิดเกี่ยวกับการขายมัน คุณสามารถรีดเงินได้เท่าไรจาก Colgate-Palmolive คุณไม่สามารถที่จะเป็นเศรษฐีเงินล้านจากมันแบบเดียวกับที่คุณสามารถทำได้จาก Subaru ยกเว้นจะมีพัฒนาการใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นบางอย่างซึ่งคุณคงจะต้องได้ยินมาแล้วในขณะนี้

           ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ใน 2 ปี เป็นส่งที่รุณจะรู้สึกดีใจที่จะได้จาก Colgate-Palmolive ในกรณีปกติส่วนใหญ่ ด้วยหุ้นแข็งแกร่งคุณจะต้องพิจารณาที่จะทำกำไรอยู่เสมอเมื่อเทียบกับหุ้น Shoney's หรือ Service Corporation International หุ้นแข็งแกร่งคือหุ้นที่ผมมักซื้อเพื่อหวังผลตอบแทน 30-50% และจะขายและเริ่มกระบวนการกับหุ้นตัวใหม่ที่คล้ายกันแต่ราคายังไม่ขึ้น

           ผมมักจะเก็บหุ้นแข็งแกร่งในพอร์ตเสมอเพราะมันช่วยเป้นตัวป้องกันในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยและเวลาที่ยากลำบาก  คุณสามารถเห็นได้ในช่วงปี 1981-82 เมื่อประเทศดูเหมือนว่าจะแตกเป็นเสี่ยงๆ และตลาดหุ้นล่มสลายไปพร้อมกับมัน หุ้น Bristol-Myers ขึ้นๆ ลงๆ(ดูแผนภูมิ) มันไม่ค่อยดีในช่วงเลวร้ายของปี 1973-74 อย่างที่เราได้เห็นแล้ว แต่ไม่มีหุ้นตัวไหนพ้นจากความเจ็บปวดไปได้ และอย่างไรก็ตามหุ้นในช่วงนั้นราคาสูงเกินพื้นฐานไปมาก โดยทั่วไป Bristol-Myers และ Kellegg, Coca-Cola และ 3M, Ralston Purina และ Procter and Gamble เป็นเพื่อนที่ดีในช่วงวิกฤติ คุณรู้ว่ามันจะไม่ล้มละลายและในไม่ช้ามันจะถูกทบทวนใหม่จากนักลงทุน และมูลค่าของมันก็จะกลับมา

           Bristol-Myers เคยขาดทุนเพียงไตรมาสเดียวในช่วง 20 ปี และ Kellogg ไม่เคยขาดทุนเลยในช่วง 30 ปี ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ Kellogg สามารถเอาตัวรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ไม่ว่าจะเลวร้ายอย่างไรคนก็ยังต้องกินคอร์นเฟลก พวกเขาอาจจะท่องเที่ยวน้อยลง เลื่อนการซื้อรถใหม่ออกไป ซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับแพงๆ น้อยลง และสั่งกุ้งล็อบสเตอร์น้อยลงเวลารับประทานอาหารในภัตตาคารแต่เขาจะกินคอรืนเฟลกมากเท่าๆ กับที่เคยกิน บางที่เขาอาจจะกินมากขึ้นเพื่อชดเชยกับการที่ไม่ได้กินกุ้งล็อบสเตอร์

           คนไม่ซื้ออาหารสุนัขน้อยลงเหมือนกันนั่นเป็นเหตุว่าทำไม Ralston Purina จึงเป็นหุ้นที่ค่อนข้างปลอดภัย ที่จริงขณะที่ผมกำลังเขียนนี้เพื่อนร่วมงานของผมกำลังแย่งซื้อหุ้น Kellogg และ Ralston Purina เพราะพวกเขากำลังกลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยกันในขณะนี้
Money is neutral
โพสต์โพสต์