วิธีหา Liquidation Cost

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
IWILLBEVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 363
ผู้ติดตาม: 1

วิธีหา Liquidation Cost

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ไม่ทราบท่านใดทราบวิธีหา Liquidation Cost ของบริษัทในกรณีเลิกกิจการบ้างครับ  ขอบคุณมากครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

วิธีหา Liquidation Cost

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มีหลายตำรานะครับ

ของผมใช้วิธีนี้ครับ

current asset - total liability ครับ

ส่วนที่เหลือ (ส่วนต่าง)ก็คือ มูลค่าเลิกกิจกาจครับ

ถ้าส่วนต่างตรงนี้มากกว่า market cap ได้ยิ่งดี



ผมเอาที่ผมคุยกับพี่ ih เรื่องนี้มาให้อ่านนะครับ

พอดีผมทำตัวอย่างงบของจริงคือ ap ไว้ด้วยน่ะครับ

อันนี้อยู่ในภาค 14 ครับ ข้อ 11

11.หุ้น property หลายตัวที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าเลิกกิจการ เช่น
ถ้าใช้งบ 3q08 ap เอา current asset total liability เหลือ 5668 แต่ market cap ที่ราคา 1.72 นั้นมีแค่ 4015 ซึ้งจะเรียกว่าต่ำกว่ามูลค่าเลิกกิจการก็คงจะได้(ไม่รู้ว่าเรียกว่าต่ำกว่ามูลค่าซากได้ป่าว)
ส่วน ps ใช้วิธีเดียวกันได้ส่วนต่างออกมา 7505 ซึ้งถ้าเทียบกับ market cap ที่ราคา 3.30 7582 ก็ถือว่าพอๆกับมูลค่าตลาด

ส่วนตัวมองว่าหุ้นสองตัวนี้มีผู้บริหารที่มี vision สูง และมีการทำกำไร
ในหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างดี มีฐานะเป็นผู้นำตลาด

แต่กลับซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าเลิกกิจการ

มันจะไม่ถูกเกินไปหน่อยหรือครับ

ไม่ทราบว่าแนวคิดนี้มีจุดอ่อนอะไรไหมครับ

- คงเป็นมุมมองได้ว่าหุ้นตัวนี้ ณ ราคาที่พูดถึงนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูกสำหรับการลงทุนในระยะยาวๆ เพียงแต่ในระยะสั้นๆ 1-2 ปีนี้ หากเราซื้อ AP ทั้งบริษัท หรือผู้บริหารมีความคิดที่จะเลิกกิจการด้วยการขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ในมือทั้งหมดและไปคืนหนี้ แล้วนำเงินที่เหลือทั้งหมดไปคืนผู้ถือหุ้นนั้น ก็ยากที่จะได้มูลค่า 5668 ล้านครับ เพราะราคาสินทรัพย์ในช่วงภาวะที่เศรษฐกิจแย่ๆ นั้นอาจจะขายได้ต่ำกว่ามูลค่าที่อยู่ใน book ได้ครับ ถ้าเป็นสินทรัพย์ประเภทอสังหาฯ ถ้าเป็นทำเลดีๆ ยังพอที่จะขายได้ราคาใกล้เคียงกับ book แต่ถ้าเป็นโรงงานหรือเครื่องจักร หรือสินทรัพย์ประเภทลูกหนี้การค้า สิ่งที่ได้กลับมาอาจจะต่ำกว่า book ได้ครับ

ผมยกตัวอย่าง มีบริษัทหนึ่งในกลุ่มเครื่องจักรกล ตอนนี้เหมือนว่าออกจากตลาดไปแล้วชื่อ TEM ( Thai engine manufacturing ) ทำเครื่องไถนายี่ห้อมิตซูบิชิ ที่เคยมีโฆษณาดังๆ ตอนก่อนถูก SP มี Bv 60 กว่าบาท และหุ้น ซื้อขายกันที่ 3-4 บาท โอ้โห้ p/bv 0.05 เท่าแน่ะครับ ปรากฎว่าสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้า ท้ายสุดแล้วตามเก็บหนี้ไม่ได้ สินทรัพย์หมุนเวียนเลยหายวับไปกับตา ในขณะที่หนี้สินยังคงอยู่ หุ้นจึงต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการไปเลยครับ

หุ้นอีกตัวที่เคยมี bv สูงมากๆ และ p/bv ต่ำมาก และ p/e ก็ต่ำมาก เป็นกับดักหุ้น value หรือ value trap อย่างแท้จริง คือ หุ้นในกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ รายการใหญ่ของสินทรัพย์หมุนเวียน คือ ลูกหนี้การค้า ซึ่งท้ายสุดแล้วผู้สอบบัญชีพบว่าลูกหนี้การค้าที่แจ้งไว้นั้นไม่ได้อยู่ตามที่บริษัทให้ข้อมูลไว้ จนท้ายสุดดูเหมือนจะต้องมีการตั้งสำรองทั้งจำนวน ซึ่งท้ายสุดทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบและเข้าแผนฟื้นฟูตามระเบียบครับ

หุ้น prop อีก 2 ตัว แต่ไม่ใช่ตัวที่คุณ Hong พูดถึงนะครับ อยู่ในตลาดมานานเหมือนกันและผู้บริหาร 2 บริษัทนี้ก็เป็นญาติกัน แต่มีที่ดินหลายแปลงอยู่ต่างจังหวัดและมีโครงการอยู่ชานเมืองที่ปีหนึ่งขายได้ไม่กี่หลังแต่เป็นโครงการขนาดใหญ่มากมีสนามกอล์ฟ ดังนั้นที่ดินเหล่านี้ถ้าขายออกไปน่าจะได้ราคาต่ำกว่า book ค่อนข้างจะมากแน่นอนครับ

และการปิดกิจการจริงๆ คงไม่ได้ทำง่ายๆ โดยเฉพาะธุรกิจประเภทโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานจำนวนมากๆ เราอาจจะเห็นตัวอย่างแล้วนะครับบางบริษัทเพียงแต่แค่จ่ายโบนัสลดลงจาก 4 เดือนเหลือไม่กี่พันบาท ยังประท้วงกันถึงปิดถนน ประสาอะไรกับถ้าหากมีการปิดกิจการแล้ว lay-off พนักงานออกในช่วงนี้จริงๆ เรื่องใหญ่แน่ๆ ครับ ดังนั้นวิธีการคำนวณนี้ไม่มีประโยชน์สำหรับธุรกิจที่เป็นโรงงานครับเพราะมูลค่าหากเลิกกิจการนั้นจะลดลงไปมากหากจะต้องไปเกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก


แนวคิดนี้เหมาะที่จะนำมาใช้กับบริษัทที่มีผู้บริหารดีใช้ได้ในระดับหนึ่ง และอาจจะไม่เหมาะกับหุ้นวัฎจักรนัก   เพราะหุ้นวัฎจักรนั้นในช่วงที่ธุรกิจแย่ๆ นั้นจะมีช่วงที่ขาดทุนค่อนข้างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้ book value ลดลงไปทำให้หากเดิมใช้วิธีที่แล้วหุ้นนั้นถูกแต่เมื่อเวลาผ่านไปหุ้นอาจจะไม่ถูกก็ได้ครับ และไม่ควรใช้กับหุ้นที่ผู้บริหารมีการบริหารแบบ destroy value บริษัทไปเรื่อยๆ เช่น มีการบริหารไม่โปร่งใส มีการรั่วไหล หรือขาดความสามารถในการบริหารโดยมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรใหม่ๆ ที่มีผลตอบแทนต่ำกว่าต้นทุนของเงินทุนไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินหรือ cost of equity ครับ

วิธีนี้น่าจะเหมาะกับธุรกิจที่มีสินทรัพย์ที่ซื้อขายได้ค่อนข้างง่ายในตลาดโลกครับ และมีผู้บริหารค่อนข้างใช้ได้ ที่เห็นจะใกล้เคียงน่าจะเป็นธุรกิจประเภทสำรวจขุดเจาะพลังงานหรือแร่ธาตุ ธุรกิจเดินเรือ ( ซึ่งอาจจะต้องอิงกับราคาตลาดของเรือที่มีอายุเท่าๆ กันในขณะนั้น ) อะไรทำนองนี้ครับ

ดังนั้น แนวคิดนี้ นำไปใช้ได้ครับ แต่ผู้นำไปใช้จะต้องมีความรู้ด้านการลงทุนในระดับหนึ่งและใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วยครับ จะดูแต่สัดส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

วิธีหา Liquidation Cost

โพสต์ที่ 3

โพสต์

บางคนที่ผมเคยเห็นใน research บางแห่ง

เขาจะใช้ตัวเลข

ของสินทรัพย์ที่เอามาคิดลดเช่น

เงินสด ให้มูลค่า 100%

ลูกหนี้ให้สมมุติ 50%

pp&e ให้ 70%

แล้วมาดูว่าก้อนนี้รวมกันเท่าไหร่ไปลบกับหนี้ทั้งหมด

ผมเคยอ่านเจอบางโบรกวิเคราห์วิธีนี้กับ tt&t ว่าว่าเลิกไป

เหลือเท่าไหร่
IWILLBEVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 363
ผู้ติดตาม: 1

วิธีหา Liquidation Cost

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับ คุณฮง ที่สละเวลามาตอบให้ ติดตามอ่านกะทู้มานานแล้วรวมถึงใน TempleBoxing ด้วย ได้ประโยชน์จริงๆ แต่ผมอ่านเองเออเองไม่ได้มีเพื่อนผู้รู้มาช่วยกันคิดและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น อันนี้ผมว่าอันตราย แต่พยายามศึกษาและตามถามผู้รู้อยู่  ไม่ทราบว่าหลักคิด ของ Replacement Cost แตกต่างจาก Liquidation Cost อย่างไร และจะใช้หลักการแบบไหนดู ในสถานะการณ์แบบไหนครับ  เช่น ผมใช้ Replacement Cost กับหุ้นโรงกลั่น TOP เหมาะสมไหมครับ   :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 275

วิธีหา Liquidation Cost

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="IWILLBEVI"]
โพสต์โพสต์