จงแสดงวิธีทำ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 1

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตอนที่กำลังจะเข้ามาเล่นหุ้น ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีความรู้ใดๆเกี่ยวกับหุ้นเลย
ตอนนั้นโจทย์ของผมคงจะเป็นว่า หุ้น คือ อะไร
และผมเดาว่า จะรวยด้วยหุ้นได้อย่างไร คงเป็นอีกโจทย์หนึ่งที่ทุกคนที่เล่นหุ้นอยากหาคำตอบ
ผมเริ่มเข้าตลาดหุ้นโดยไม่มีความรู้ใดๆ จริงๆ เริ่มโดยนั่งมองชื่อหุ้นและราคาในหนังสือพิมพ์และก็ซื้อขาย
ตอนนั้นคำตอบของผมคงเป็นว่า ซื้อหุ้น และขายให้แพงกว่าที่ซื้อมา ก็สำเร็จแล้ว
อ่าว ขาดทุน หรือว่า คำตอบผมผิด
แต่ด้วยยังคงพยายามอยู่ ก็ยังเล่นหุ้น ปนการหาความรู้ อ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ ฟังรายการโทรทัศน์
จึงได้รู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งดูยิ่งฟัง ยิ่งรู้สึกว่าเรากำลังเล่นหุ้นในลักษณะคล้ายคนส่วนใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นเมื่อเล่นไปนานๆเข้ามักบ่นว่า หุ้นน่ากลัว และส่วนใหญ่มักจะขาดทุนในที่สุด
เอ ฝั่งหนึ่งขาดทุน แล้วขาดทุนจะหายไปไหน หรือหายไปทั้งหมดเลยเหรอ ไม่น่าใช่ แปลว่าน่าจะมีฝ่ายที่กำไรด้วย
แล้วฝ่ายไหนล่ะที่กำไร และฝ่ายที่กำไรเค้าเล่นหุ้นกันยังไง
ด้วยการที่ผมมีโบรกเกอร์ที่แสนดี จึงถามเค้าว่า พี่ครับ คนที่เล่นหุ้นได้กำไรในระยะยาว เค้าเล่นกันยังไง
พี่เค้าก็ตอบว่า ที่เห็นนะ เค้าเล่นกันปีละครั้งถึงสองครั้งต่อปี นั่นแปลว่าเค้าไม่ได้ซื้อขายบ่อยมากนัก
แต่ตอนนั้นผมซื้อขายบ่อยมาก ซึ่งทำให้สงสัยว่าเล่นแค่ปีละครั้งสองครั้งมันดียังไง แต่ก็ยังหาคำตอบไม่ได้
จนอยู่ในตลาดหุ้นสัก 2 ปีเห็นจะได้ ก็ได้เห็นว่า ตลาดหุ้นมีการขึ้นลงรอบใหญ่ปีละ 1-2 ครั้ง

เอ ข้อมูลที่ผมเพิ่งเข้าใจนี้ เมื่อเอามาเทียบกับคำตอบที่พี่โบรกเกอร์เคยบอก หรือมันเกี่ยวพันกันไหมเนี่ย
นี่คือสิ่งที่ผมเพิ่งจะรู้ แต่ต้องมีคนที่มีประสบการณ์มากกว่าเคยรู้มาแล้ว

งั้นพอจะสรุปกับตัวเองได้บ้างว่า ตลาดหุ้น มีฝ่ายขาดทุน และฝ่ายที่กำไร ซึ่งตอนนั้นผมอยู่ในฝ่ายขาดทุน
และความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งส่งผลต่อการลงมือทำ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลแตกต่างขึ้นระหว่างกำไรและขาดทุน

เอาเป็นว่ามามองหาวิธีที่จะพาเราไปอยู่ฝ่ายกำไรดีกว่า ซึ่งบอกได้เลยว่าต้องเป็นวิธีที่ต้องพร้อมด้วยความรู้และความเข้าใจ
(ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจจะสำเร็จยาก หรือไม่สำเร็จเลย)
หลักของการที่จะทำกำไรได้ นั่นคือต้องทำในสิ่งที่มีโอกาสได้มากกว่าเสีย เป็นขั้นต่ำ แต่ถ้ายิ่งรู้และเข้าใจมากอย่างลึกซึ้งและทำในสิ่งที่ไม่มีโอกาสเสียก็จะยิ่งดีเยี่ยม (แต่ไม่ง่ายเลย 555)

วิธีแรกที่สนใจคือ ซื้อขายเพียงปีละ 1-2 ครั้ง แต่สิ่งที่ต้องรู้ และสนใจคือ ซื้อขายปีละ 1-2 ครั้ง จะทำให้เรากำไรได้ยังไง
ตามที่รู้กันตลาดหุ้นมีขึ้นและมีลงเป็นธรรมดามากๆ เมื่อมีแรงคนขายหุ้นมาก หุ้นก็ลง มีแรงคนซื้อหุ้นมากหุ้นก็ขึ้น
แล้วเราก็วางการลงทุนของเราเข้าไปในเวลาที่หุ้นลงมาแล้วนิ่งแล้ว จนเป็นเวลาที่หุ้นกำลังจะขึ้น ง่ายมั้ยครับ พูดเหมือนง่าย555
พูดถึงความแตกต่างก่อน ระหว่าง ปีละ1-2 ครั้ง หรือ การเล่นรายวัน หรือรายอาทิตย์ นั่นคือช่องว่าง หรือส่วนต่างด้านราคา สิ่งนี้จะมาเห็นภาพได้ง่ายขึ้นในหุ้นที่มีสภาพคล่องโดยการดูกราฟที่พ็อตจุดรายวันในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งการเล่นรายวัน รายอาทิตย์ มักจะเล่นแบบได้กำไรไม่กี่ช่วงราคา แล้วก็ขาย
แต่การซื้อปีละ 1-2 ครั้ง แล้วรอตลาดขึ้นจากปัจจัย หลายๆด้านทั้งแรงซื้อ หรือผลประกอบการ ซึ่งการที่นานๆซื้อทีนี่คงไม่ใช่เพื่อการหวังผงต่างราคาเพียงไม่กี่ช่วงราคาแน่ แต่ต้องมองผลตอบแทนที่ละ หลายสิบ% ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามการคาดการณ์

ใช่ครับ วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ยังอยู่ในระบบการคาดการณ์ของผู้ลงทุน บอกแล้วครับความรู้ความเข้าใจในตลาดหุ้นเป็นสิ่งสำคัญมาก

การเล่นรายวัน รายอาทิตย์ เสี่ยงบ่อยครั้ง และหวังกำไรบ่อยครั้งคราวละน้อยๆ
การเล่นปีละ 1-2 ครั้ง เสี่ยงน้อยครั้ง และหวังกำไรคราวละมากๆ
สำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประโยคที่ว่า แล้วเราก็วางการลงทุนของเราเข้าไปในเวลาที่หุ้นลงมาแล้วนิ่งแล้ว จนเป็นเวลาที่หุ้นกำลังจะขึ้น ง่ายมั้ยครับ และความรู้ความเข้าใจ แต่ถ้าคิดว่าประโยคนี้มันยากในการเล่นปีละ 1-2 ครั้งแล้ว การที่หวังจะได้กำไรจากการเล่นรายวันรายอาทิตย์จะยากขนาดไหน 555

วิธีต่อมา ถ้าการที่ได้กำไรจากหุ้น คือต้องได้ส่วนต่างราคา ทำไมเราไม่ ทำราคา ซะเองล่ะ 555 ถ้าทำได้รวยแน่ จริงป่ะ
นั่นอาจจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นโดยเริ่มจาก เคยมีช่วงเวลาหนึ่งที่อยากได้หุ้นตัวหนึ่งซึ่งเป็นหุ้นขนาดเล็ก และช่วงนั้นเป็นช่วงที่ตลาดคึกคัก ผมจึงอยากเข้าซื้อด้วยความรวดเร็ว เลยซื้อครั้งละ ทั้งหมดหรือยกล็อตของ offer แรกที่มีอยู่ พอเคาะซื้อได้ 1-2 ครั้ง ก็เกิดมีแรงซื้อเข้ามาแบบพอเห็นได้ชัด นั่นทำให้ราคานั่นเด้งขึ้นไปเล็กน้อย นั่นเลยทำให้คิดว่าเป็นไปได้มั้ยที่จะเป็นผู้ทำราคา และยังคงคิดต่อไป

ลองคิดดูสิครับ เป็นคนทำราคาเอง ในภาวะที่ตลาดคึกคัก มีเงินน้อยก็ทำหุ้นตัวเล็ก แล้วจะเอาที่ไหนไปขาดทุน
นี่นะเหรอที่เค้าเรียกว่า เจ้ามือหุ้น ถ้าวางแผนดีๆโอกาสได้มากกว่าเสียแน่ ถือได้ว่าอยู่ในฝ่ายของกำไร
ด้วยการที่ผมสงสัยว่า สิ่งที่ผมสนใจอยู่ แม้ว่าตอนนั้นยังไม่น่ามีความสามารถมากพอที่จะทำ คือคำตอบที่ถูกหรือผิด ผมเลยเริ่มมีคำถามต่อคนที่ใกล้และไกลตัว ว่า ถ้าทำราคาหุ้นได้ จะดีมั้ย

คำตอบแรกที่ผมได้คือ  มันเป็นสิ่งที่ไม่ดีมากเลยนะ (จริงๆคำมันรุนแรงกว่านี้นะครับ555)
พอได้ยิน อึ้ง อืม ได้คิดเลยครับ เรากำลังสนใจอะไรอยู่นี่

คำตอบที่สอง คือ โห๋ ถ้าทำนะจะมีแต่คนด่าว่าแบบลับหลัง (จริงๆคำมันรุนแรงกว่านี้นะครับ555)
พอได้ยิน อึ้ง อืม ได้คิดอีกแล้ว ถ้าทำราคาแล้วได้กำไร ก็แปลว่ามีคนขาดทุน แล้วคนขาดทุนก็ย่อมไม่พอใจ พอไม่พอใจก็ต้องมีแบบด่าว่าคนทำราคา ทั้งในใจหรือพูดออกมาแม้ไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ และคนทำราคาก็โดนด่าว่าแม้ไม่ได้ยิน แล้วการดำเนินชีวิต แบบมีผู้อื่นด่าว่าแม้เราไม่รู้จะดีเหรอ ไม่ดีแน่ๆจริงป่ะ

คำตอบที่สาม คือ ทำสิ ทำตัวไหนบอกด้วยนะ
อืม ไอ้นี่เห็นด้วยแฮะ เลยถามต่อว่า มันไม่เป็นการทำที่ไม่ดีเหรอ แล้วเค้าก็ตอบว่า ไม่ทำคนอื่นก็ทำ เลยถามต่อว่าแล้วไม่สงสารคนที่มาซื้อหุ้นต่อแล้วขาดทุนเหรอ แล้วเค้าก็ตอบว่า ก็เค้ามาซื้อต่อเองเราผิดอะไร
อืมก็จริงเนอะ

ผมก็เลยสรุปได้ว่า ยังไงก็จะไม่นำตัวเองไปอยู่ในตำแหน่งคนทำราคาโดยเด็ดขาด ผมอยากเป็นคนที่มีความสุข ซึ่งความสุขมักเกิดได้ง่ายกว่า ถ้าเราหนีห่างสิ่งที่ไม่ดี และลองคิดดูการทำราคานั้นเป็นการหากำไรจากคนอื่น ซึ่งนั่นทำให้คนอื่นขาดทุนโดยมาก ดังนั้นการที่จะมีเงินมากขึ้น บนความเดือดร้อนของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่ๆ

แล้วที่ได้คำตอบว่า ไม่ทำคนอื่นก็ทำ ก็ตัดสินใจได้ว่า ยังไงผมก็ไม่ทำ

ตัดสินใจอย่างนี้แล้วมีความสุขจัง 555

วิธีต่อมา อันที่ 3 วิธีนี้ดูช้า และช้ามากๆ น่าเบื่อ และน่าเบื่อมากๆ อารมณ์นั่งลุ้นราคาขึ้นลงลดลง หัวใจตื่นเต้นน้อยลงมาก ซึ่งจริงๆการนั่งลุ้น ความตื่นเต้น เป็นหนึ่งเสน่ห์ในตลาดหุ้น และเราจะเสียเสน่ห์อันนี้ไป
วิธีนี้ต้องเรียนรู้วิธี แยกความรู้สึกระหว่าง กิจการของบริษัทในตลาดหุ้น กับ ตลาดหุ้น ออกจากกัน
นั่นแปลว่า ตลาดหุ้น ไม่ใช่ หุ้น และ หุ้น ไม่ใช่ ตลาดหุ้น

วิธีนี้ คือ การเป็นเจ้าของกิจการ

ถ้าจะพูดถึงวิธีนี้ ถ้าไม่พูดถึงคุณ วอร์เรน คงจะไม่ได้ เพราะเค้าเป็นคนที่ทำให้ภาพวิธีนี้เกิดชัดเจนจริงๆ
คุณวอร์เรน เป็นเจ้าของธุรกิจจำนวนมากทั้ง ใหญ่นิดเดียว จนถึงใหญ่มาก ทั้งเป็นเจ้าของบางส่วนในบริษัท หรือเป็นเจ้าของทั้งหมด โดยที่เค้าไม่ได้เป็นผู้สร้างธุรกิจเหล่านั้นเลย

แต่คุณวอร์เรน ทำธุรกิจรวบรวมธุรกิจที่เขาต้องการ

การแยกแยะ ว่าอะไรคือหุ้น และอะไรคือตลาดหุ้น เป็นสิ่งที่จำเป็น  ซึ่งหน้าที่จริงๆของหุ้น และตลาดหุ้น ก็ต่างกันมากแล้ว
หุ้นเป็นสิ่งที่แสดงภาพของบริษัท ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่แสดงภาพการนำหุ้นบริษัทต่างๆมารวมกันเพื่อซื้อขาย

ดังนั้น วิธีที่จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ต้องตัดคำว่าตลาดหุ้นออกไปก่อน และมุ่งไปสนใจคำว่าหุ้นเพียงอย่างเดียวก่อน

และถ้าเข้าใจต่อได้ว่า หุ้นเกิดจากการแบ่งสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของบริษัทแล้ว นั่นแหละครับหัวใจ

หัวใจ ของวิธีนี้คือคำว่า บริษัทมหาชน

แปลว่าขณะนี้ จะมีเหลือแค่คำว่าบริษัทมหาชน ไม่มีคำว่าหุ้น หรือตลาดหุ้นนะครับ
ถ้าครอบครัวใคร มีบริษัท หรือกิจการของตัวเอง คงจะนึกภาพได้ง่ายขึ้น ว่า บริษัท หรือบริษัทมหาชนเค้ามีไว้ทำอะไร

ใช่ครับ บริษัท บริษัทมหาชน เค้าก็จัดตั้งเพื่อการทำธุรกิจและแสวงหากำไร

นั่นแปลว่าบริษัท หรือบริษัทมหาชนที่ธุรกิจที่ดี มักจะทำกำไรได้ แปลว่าตรงนี้มีคำว่า กำไร อยู่นะครับ

อีกสักครู่ ผมจะดึงภาพของ หุ้น และตลาดหุ้นกลับมาชั่วครู่นะครับ นั่นแปลว่าตอนนี้ มีเพียง บริษัทมหาชน ทำธุรกิจที่ดีแล้วกำไร
เมื่อเราเข้าใจบริษัทมหาชนที่เราสนใจ ได้อย่างดีแล้ว ความสามารถของธุรกิจ และการทำกำไร และผลตอบแทนที่เราหวังจะได้รับจากการลงทุนแล้ว รวมถึงการปันผล

เราก็กระชากภาพของตลาดหุ้น ซึ่งเป็นที่ซื้อขายหุ้นของบริษัทมหาชนที่เราต้องการ กลับมา
แล้วก็ดู รอคอย และเข้าซื้อ ในราคาที่ให้ผลตอบแทนที่เราพอใจ (ราคายิ่งถูกยิ่งดี) และเมื่อซื้อเสร็จ ได้สิทธิ์เป็นเจ้าของหุ้น บริษัทมหาชนที่เราต้องการแล้ว

เราก็ผลักภาพของตลาดหุ้น และหุ้น ทิ้งออกไปอีกที แปลว่าตอนนี้ไม่มีคำว่า ตลาดหุ้น และหุ้นเหลือแล้วนะครับ

จะเหลือเพียง บริษัทมหาชน และสิทธิ์ที่เราเป็นเจ้าของบริษัทมหาชนนี้อยู่ เหลือเท่านี้จริงๆ

แล้วเรื่องกำไรล่ะ

ในเมื่อไม่มีตลาดหุ้น หรือ หุ้น หลงเหลือแล้ว แปลว่ากำไรในกรณีนี้ไม่ได้มาจากตลาดหุ้น หรือหุ้นเลย

แต่ผมต้องการอยู่ในฝ่ายกำไรนะ

กำไร อยู่ใน ประโยคที่ว่า บริษัทมหาชน ทำธุรกิจที่ดีแล้วกำไร

ดังนั้นไม่ว่าตลาดหุ้นขึ้นหรือลง มันก็ไม่เกี่ยวกับกำไรเท่าไหร่

เพราะกำไรที่แท้จริงของวิธีนี้ อยู่กับ บริษัทมหาชน

ดังนั้นถ้าบริษัทยังคงมีธุรกิจที่ดี และสร้างกำไรได้สม่ำเสมอ นั่นก็แปลว่าได้กำไร

ถ้าจะดึงภาพของตลาดหุ้น และหุ้น เข้ามาอีกทีก็คงเป็นเวลาที่จะขาย แต่ก็คงคิดขายตอนที่ตลาดหุ้นมันดีๆ 555
ภาพประจำตัวสมาชิก
ducky
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

เข้ามาอ่านแล้ว ขอบคุณครับได้ความรู้ดีมากเลย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

:D  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4097
ผู้ติดตาม: 307

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อ่านบทความพี่หลายที มีความเห้นว่าพี่น่าจะเป็นนักเขียนนะครับ สนุกดี
Small Details Make a Big Difference
ภาพประจำตัวสมาชิก
xyuno
Verified User
โพสต์: 11
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เขียนได้เยี่ยมเลยครับ  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

กำไร อยู่ใน ประโยคที่ว่า บริษัทมหาชน ทำธุรกิจที่ดีแล้วกำไร

ดังนั้นไม่ว่าตลาดหุ้นขึ้นหรือลง มันก็ไม่เกี่ยวกับกำไรเท่าไหร่

เพราะกำไรที่แท้จริงของวิธีนี้ อยู่กับ บริษัทมหาชน

ดังนั้นถ้าบริษัทยังคงมีธุรกิจที่ดี และสร้างกำไรได้สม่ำเสมอ นั่นก็แปลว่าได้กำไร
ชอบตรงนี้มากครับ
:D  :D

ผมก็เคยคิดอยู่เหมือนกันครับ
สมมุติผมลงทุนในหุ้นด้วยวิธีแบบการร่วมทำธุรกิจ
ผมควรจะ้เปลี่ยนเทียบผลตอบแทนของผมอย่างไร

1. เปรียบเทียบจากราคาในกระดาน

หรือ

2.เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่แท้จริง

ถ้าเปรียบเทียบกับราคาในกระัดานแล้ว ปรากฎว่าเราขาดทุน
เราจะอ้างว่าวิธีที่เราเอามาประเมินผลตอบแทนนั้นไม่เหมาะสมได้หรือไม่ ?

ผมนั่งคิดๆดู ผมก็รู้สึกว่ามันเ้ป็นข้ออ้างที่สมเหตุสมผลมาก
แต่มันก็ยังคงเป็นข้ออ้างอยู่ดี

จนสุดท้ายผมก็ไดให้้คำตอบกับตัวเองว่า

การลงทุนของผมจะสำเร็จหรือไม่
ผลตอบแทนที่ผมได้จากการคิดทั้งสองวิธีจะต้องตอบสนองในทางบวก
นั่นก็คือ ต้องได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นในกระดานกับราคาต้นทุน
และบริษัทที่เราลงทุนต้องมีกำไรในระดับที่น่าพอใจ
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
แผ่วเบา
Verified User
โพสต์: 391
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มารออ่านต่อครับ อ่านสนุกดี
มีเหตุมีผล
หวังว่าคงยังไม่จบนะครับ

ถ้าจบแค่นี้ก็น่าเสียดายและคงจะตำหนิ จขกท.ด้วย(จริงๆคำมันรุนแรงกว่านี้นะครับ555)
ล้อเล่นน่า.......
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2500
ผู้ติดตาม: 9

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

น้อง kornjackrit เข้าถึงสองกฏแก่นแท้ของบัฟเฟตแล้วครับ :8)
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

sorawut เขียน: น้อง kornjackrit เข้าถึงสองกฏแก่นแท้ของบัฟเฟตแล้วครับ
:oops:

ผมยังห่างไกลอีกหลายพันไมล์ครับพี่ sorawut
หวังว่าพี่จะช่วยชี้แนะบ้างนะครับ
:D
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4097
ผู้ติดตาม: 307

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

kornjackrit เขียน: การลงทุนของผมจะสำเร็จหรือไม่
ผลตอบแทนที่ผมได้จากการคิดทั้งสองวิธีจะต้องตอบสนองในทางบวก
นั่นก็คือ ต้องได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นในกระดานกับราคาต้นทุน
และบริษัทที่เราลงทุนต้องมีกำไรในระดับที่น่าพอใจ
แต่แบบหลังเราจะให้เวลามันแค่ไหนครับ เพราะหลายคนบอกไว้ว่าระยะสั้นหุ้นอาจผันผวน แต่ระยะยาวตามผลกำไรของบริษัทอ่ะครับ
Small Details Make a Big Difference
ภาพประจำตัวสมาชิก
เอก
Verified User
โพสต์: 329
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

พอเจอวิกฤตครั้งนี้หุ้นลงไปมากกว่าครึ่งเลยผมก็เลยลองคิดดูว่าการเล่นสั้นกับเล่นยาวอย่างไหนดีกว่ากันๆแน่ (ทั้งๆที่บัฟเฟตพิสุตรแล้ว) เพราะว่าการซื้อขายระยะสั้นๆกำไรน้อยสัก 3-5% แต่เวลาที่ลงสัก 3-5%ก็ cut loss ทำให้ได้น้อยแล้วก็เสียน้อยเหมือนกัน แต่ประเด็นคือการเล่นสั้นๆเวลา cut loss แล้วเข้ามาเล่นรอบใหม่มันก็ลงอีก (ในภาวะแบบนี้ที่ผ่านมา) ก็ cut loss อีกมันก็มีโอกาสขาดทุนสะสมจนเสียพอๆกับเล่นระยะยาวๆได้ แต่ถ้าหันมาดูขากำไร (กรณีหุ้นกำลังขึ้นต่อเนื่อง) มีโอกาสกำไรหลายสิบ % ผมเคยลองนั่งคิดถ้าผมถูกบังคับให้ซื้อหรือขายไม่เกิน 2ครั้งต่อปีจะเป็นอย่างไร อาจจะดีกว่าซื้อขายบ่อยๆด้วยซ้ำเพราะในจังหวะที่หุ้นราคาลงมามากแบบนี้ถ้าผมซื้อทิ้งไว้แล้วอีก 2-3ปีกำไรเท่าตัว เม็ดเงินมันทำให้ผมไม่ต้องซื้อขายไปอีก 2-3ปีเลย การลงทุนในตลาดฯช่างเป็นงานที่ดีมากทำงานน้อยไม่เร่งรีบเหมือนงานปัจจุบันที่ทำอยู่เพราะถ้าซื้อแล้วธุรกิจที่เราเป็นเจ้าของมีกำไรดี ราคาขึ้นไปมากทำให้เราอยู่ได้เป็นปีๆโดยไม่ต้องรีบซื้อ-ขายใหม่ ชีวิตวิตของนักลงทุนระยะยาวน่าจะมีความสุขมากกว่า การเล่นเก(ร็)งกำไรรายวันที่เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวสุข นอนหลับบ้าง ไม่หลับบ้าง โชคดีที่มีแนวลงทุนระยะยาวให้เป็นทางเลือกในอาชีพ
เงินซื้อความสะดวกสบายได้ แต่ซื้อความสุขไม่ได้ ความสุขเราต้องสร้างมันขึ้นมาเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

sai เขียน:แต่แบบหลังเราจะให้เวลามันแค่ไหนครับ เพราะหลายคนบอกไว้ว่าระยะสั้นหุ้นอาจผันผวน แต่ระยะยาวตามผลกำไรของบริษัทอ่ะครับ
คุณ Sai ให้ความเห็นน่าคิดมากครับ

ในเรื่องระยะเวลาการเมินผมคิดว่ามันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง

ปัจจัยแรก ความนิยมในตัวหุ้น
ถ้าเกิดเป็นหุ้นดีราคาถูก แต่คนไม่นิยมลงทุน
เนื่องจากไม่มีสภาพคล่อง ระยะเวลาที่มันจะขึ้นไปสู่พื้นฐานคงต้องใช้เวลานาน
บางทีอาจจะเป็น 5-10 ปี ในขณะที่หุ้นบางตัว เป็นหุ้นที่คนนิยม
เ้วลาเพียง 1 อาทิตย์ก็อาจจะขึ้นไปถึงราคาพื้นฐานแล้วก็เป็นได้

ปัจจัยที่สอง
การที่หุ้นจะขึ้นไปถึงระดับราคาพื้นบานของมันได้ผมว่าบางที
อาจจะต้องขึ้นกับว่าเราซื้อมันในช่วงธุรกิจแบบไหน
ถ้าเราซื้อมันในช่วงขาลง(ในกรณีที่เป็นหุ้นวัฎจักร) เราอาจจะต้องใช้เวลา
นานมากในการที่มันจะกลับมาเป็นวัฎจักรขาขึ้น จนทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปถึงพื้นฐานที่มันควรจะเป็น
ในทางกลับกันถ้าเราซื้อมันในช่วงก่อนจะเป็นขาขึ้น เราอาจจะใช้เวลา
เพียงไม่กี่เดือนที่ราคาหุ้นจะวิ่งไปที่พื้นฐายนของมัน

ดังนั้น ผมจึงคิดว่า มันคงเป็นการยากถ้าจะบอกว่าระยะเวลานานเท่าไหร่
ที่หุ้นจะขึ้นไำปที่ระดับพื้นฐานที่มันควรจะเป็น

ทางเลือกที่ผมคิืดว่าเหมาะสมกว่า ก็คือ การพิจารณาปัจจัยต่างๆที่มีผล
ต่อการขึ้นลงของราคาหุ้นตัวนั้น แล้ว ประเมินด้วยตนเองว่า หุ้นลักษณะแบบนี้หรือธุรกิจแบบนี้ ระยะเวลาที่ควรจะได้กำไร
ตามที่เรามุ่งหวังเป็นเท่าไหร่ สมมุติเราได้ระยะเวลาที่จะลงทุนที่คิดว่าเหมาะสม 5 ปี



ถ้าสมมติุืครบ 5 ปีแล้ว หุ้นตัวนี้ยังไม่สามารถทำกำไรให้เราได้(จากส่วนต่างราคา)
ในกรณีที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง
ผมจะถือว่าผมวิเคราะห์และประเมินหุ้นตัวนี้ผิดพลาด
หรือ ล้มเหลวในการลงทุน
ถึงแม้ว่า่มันยังคงทำกำไรได้อย่างงดงามก็ตาม
[/b]
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2500
ผู้ติดตาม: 9

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ต่อให้หุ้นขาดสภาพคล่องยังไง

ถ้ามันดีจริงๆ แค่ปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็อิ่มแล้วครับ :wink:  

แต่จะว่าไป ถ้าปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราคาอยู่ที่เดิมได้ให้มันรู้ไปสิ :lol:

ถ้าบริษัทกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปันผลเท่าเดิมตลอด อาจหมายความว่ามันต้องใช้เงินทุนมากในการรักษาสถานภาพการดำเนินกิจการของบริษัท

หุ้นแบบนี้ ผมว่าไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร :roll:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

sorawut เขียน:ถ้าบริษัทกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปันผลเท่าเดิมตลอด อาจหมายความว่ามันต้องใช้เงินทุนมากในการรักษาสถานภาพ
การดำเนินกิจการของบริษัท
เป็นไปได้ไหมครับว่า การปันผลเท่าเดิม
ไม่ได้เป็นการรักษาสถานภาพของบริษัท
แต่เป็นเพราะบริษัทกำลังเติบโต(กำไรเพิ่มขึ้น) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่บริษัทอิ่มตัวแล้ว
เงินปันผลอาจจะเพิ่มขึ้นตามก็ได้ครับ

ผมขอลองสมมุตินะครับ

ปีที่1
บริษัท A กำไรสุทธิ 100 บาท
ปันผล 10 บาท
เหลือเงิน 90 บาท ไว้ใช้ในการดำเนินกิจการต่อปีหน้า

ปีที่2
บริษัท A กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 120 บาท
ปันผล 10 บาท
เหลือเงินเพิ่มเป็น 110 บาท

ถึุงแม้จะปันผลเท่าเดิมแต่กำไรของบริษัทโตขึ้น
ดังนั้น ก็อาจจะไม่ได้หมายความว่า บริษัทรักษาสถานภาำพ
การดำเนินงาน
แต่บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเติบโต ต้องการใช้เงินลงทุน
เพื่อขยายการเติบโต จึงจ่ายปันผลเท่าเดิม ทั้งๆที่กำไรเพิ่มขึ้น

sorawut เขียน:หุ้นแบบนี้ ผมว่าไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร
ขอเห็นแย้งนิดนะครับพี่ :roll:
ผมว่าหุ้นเติบโตแบบนี้น่าสนใจพอควรนะครับ
กิจการโตได้โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่ม (ไม่เสียดอกเบี้ย)
่กำไรเติบโตได้เรื่อยๆ โดยใช้สภาพคล่องจาการดำเนินงานปกติ
( ไม่ต้องปันผลเพิ่มขึ้น ก็ช่วยประหยัดภาษีให้บริษัทมากขึ้น
แถมสร้างการเติบโตในระยะยาวให้บริษัทด้วยอีกต่างหาก
แต่มีข้อควรระวัง คือ ผู้บริหารอาจจะใช้เงินที่ไม่ได้ปันผลไม่คุ้มค่า
หรือเอาไปเข้ากระเป๋าตัวเอง )
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
ตี๋ดอนเมือง
Verified User
โพสต์: 100
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

สำหรับผมนั้น เวลาสนใจหุ้นตัวไหน ไม่มีสูตรตายตัวครับ ที่จะมองคือ บริษัท ทำธุรกิจอะไร อนาคตธุรกิจเป็นอย่างไร , ที่ผ่านมาบริหารอย่างไร ส่งผลในด้านการบริหารในอนาคตอย่างไร, กำไรในอดีตไม่ได้หมายถึงกำไรในอนาคต ในขณะเดียวกันขาดทุนในอดีตก็ไม่ได้หมายถึงขาดทุนในอนาคต, ความแข็งแกร่งในธุรกิจคืออะไร กำแพงกีดกันการเข้ามาแข่งขันของรายอื่นมีหรือไม่อย่างไร ที่สำคัญ และสุดท้ายคือ กำไรที่แท้จริงที่เกิดจากการกำไรของธุรกิจ แบบปกติที่จะเกิดขึ้นคาดการในอนาคต / market capปัจจุบัน  เป็นการดูเบื้องต้นก่อนส่วนตัวของผม ส่วนรายละเอียดแล้วแต่ธุรกิจ ดังนั้นต้องเข้าใจระดับหนึ่งก่อนค่อยว่ากันเพราะแต่ละธุรกิจมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน  *** โดยสรุปคือ การคิดของผม 1+1 ไม่จำเป็นต้อง = 2 และ จำนวนนับ 1, 2 และตัวต่อไปอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นเลข 3 อยู่ที่นักลงทุนท่านใด ให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่ากัน และตัวแปรที่มากมายในอนาคตจะกระทบต่อหุ้นที่ท่านผู้ลงทุนสนใจอย่างไร เช่นเดียวกันกับเวลาจีบ ญ. บางคนอาจชอบ ญ. สวย บางคนชอบน่ารัก บางคนชอบนิสัยดี และบางคนชอบ ญ. ดุและโหดร้ายชอบบังคับ(เพื่อนผมชอบแบบนี้ยังเคยว่ามันแต่ ณ.ตอนนี้ เค้าก็ได้แต่งงานกันไปแล้ว)  :drink:
ตี๋ดอนเมือง
Verified User
โพสต์: 100
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ถ้าสมมติุืครบ 5 ปีแล้ว หุ้นตัวนี้ยังไม่สามารถทำกำไรให้เราได้(จากส่วนต่างราคา)
ในกรณีที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง
ผมจะถือว่าผมวิเคราะห์และประเมินหุ้นตัวนี้ผิดพลาด
หรือ ล้มเหลวในการลงทุน
ถึงแม้ว่า่มันยังคงทำกำไรได้อย่างงดงามก็ตาม
จากข้อความนี้ในข้างต้น ส่วนตัวพี่คิดว่า น้องอาจจะคิดในแง่ร้ายมากเกินไป ถ้าเป็นพี่ นั้นเป็นคนซื้อหุ้นแบบเน้นรับปันผล ถ้า ปันผลพี่โตขึ้นทุกปี และอนาคตก็ยังโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น พี่คิดว่าพี่คิดถูกที่ได้ซื้อหุ้นตัวนี้ไว้ แล้วยังจะซื้อเพิ่มด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

kornjackrit เขียน:ถ้าสมมติุืครบ 5 ปีแล้ว หุ้นตัวนี้ยังไม่สามารถทำกำไรให้เราได้(จากส่วนต่างราคา)
ในกรณีที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง
ผมจะถือว่าผมวิเคราะห์และประเมินหุ้นตัวนี้ผิดพลาด
หรือ ล้มเหลวในการลงทุน
ถึงแม้ว่า่มันยังคงทำกำไรได้อย่างงดงามก็ตาม
:cool:
ขอบคุณพี่ ตี๋ดอนเมือง ที่ช่วยแนะนำครับ
บางทีผมเองต้องยอมรับว่ายึดติดหลักการมากเกินไป

ตามที่ผมเข้าใจนะครับ สรุปว่าสุดท้ายแล้ว จะถือว่าล้มเหลว
หรือ ประสบความสำเร็จ
เราต้องกลับไปดูที่เป้าหมายตอนต้นใช่ไหมครับ
ว่าเราต้องการผลตอบแทบจากการลงทุนในรูปแบบใด

ถ้าเราต้องการผลตอบแทนแบบเงินปันผล
ราคาที่ไม่ขยับขึ้นนั้นก็ไม่เป็นปัญหา
ตราบเท่าที่ธุรกิจยังทำกำไร และจ่ายปันผลยังสม่ำเสมอ

แต่ถ้าเราตั้งเป้าไว้ว่าเราต้องการผลตอบแทนจากเงินปันผล
และส่วนต่างราคา โดยส่วนตัวผมก็ยังมองว่า
การที่เราตั้งใจจะลงทุน 5 ปี แล้วปรากฎ หุ้นไม่ขึ้นตามที่เราประเมินไว้
ผมก็ยังถือว่าผมวิเคราะห์ หรือ ประเมินผิลพลาดอยู่ดีครับ
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ถ้าใจเย็นเปนน้ำแข็ง

ไม่ดูราคาหุ้น แล้วเทรดหุ้น 10 ปีครัง (โดยประมาณ)

ซื้อหุ้นต่อเมื่อเกิดวิกฤติระดับโลก หรือระดับภูมิภาค หุ้นตกกระจาย

นักลงทุนจะได้ซื้อหุ้น ตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง IT Bubbles และ Subprime

แบบนี้จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหรือไม่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

Belffet เขียน: ถ้าใจเย็นเปนน้ำแข็ง

ไม่ดูราคาหุ้น แล้วเทรดหุ้น 10 ปีครัง (โดยประมาณ)

ซื้อหุ้นต่อเมื่อเกิดวิกฤติระดับโลก หรือระดับภูมิภาค หุ้นตกกระจาย

นักลงทุนจะได้ซื้อหุ้น ตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง IT Bubbles และ Subprime

แบบนี้จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหรือไม่ครับ
ผมว่ามีโอกาสสูงเลยครับ ที่จะได้ผลตอบแทนมหาศาล
แต่ต้องใจเย็นมากๆ และก็ต้องกล้่ามากๆที่จะซื้อสวนทางชาวบ้าน

:roll:  :roll:
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณคุณ kornjackrit

ผมกลับเริ่มมีความเห็นแย้งความคิดของตัวเองซะงั้นน่ะครับ

ถ้าวิกฤติเกิดแล้วราคาหุ้นลงไปต่ำกว่าต้นทุนที่เราเคยซื้อเมื่อวิกฤติครั้งที่แล้วเสียอีก แบบนี้แย่กว่า เพราะเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการขายออกไปเมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

Belffet เขียน:ถ้าวิกฤติเกิดแล้วราคาหุ้นลงไปต่ำกว่าต้นทุนที่เราเคยซื้อ
เมื่อวิกฤติครั้งที่แล้วเสียอีก แบบนี้แย่กว่า เพราะเราไม่ได้ใช้ประโยชน์
จากการขายออกไปเมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น
ผมว่าอันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับวิธี และ แนวทางการเลือกหุ้นลงทุนแล้วละครับ
ถ้าเลือกหุ้นเก็งกำไรแบบไม่มีปัจจัยพื้นฐาน ยังไงก็ราคาตกลงครับ
แต่ถ้าเลือกหุ้นลงทุน ประเมินแนวโน้มธุรกิจแล้วว่าอีก 10 ปีข้างหน้า
หุ้นตัวที่เราลงทุนก็ยังเจริญเติบโตต่อไป ผมว่ายากนะครับที่ราคาจะลดลง
ต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่เกิดวิกฤติ

นอกจากนั้น เราก็อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องขายนะครับ
ถ้าเราคิดจะลงทุนแบบเป็นเจ้่าของธุรกิจ และรับเงินปันผล
(ในกรณีที่บริษัทยังสามารถเติบโตได้นะครับ)
อย่างที่พี่ตี๋ดอนเมืองกล่าวไว้

อีกประการนะครับ
ผมว่า คุณ Belffet กล่าวถึงเฉพาะจังหวะเวลาซื้อ ไม่ใช่จังหวะเวลาขาย
ดังนั้นผมจึงคิดว่าคุณ Belffet คิดถูกแล้วละครับ ไม่ขัดแย้งหรอกครับ
:D  :D
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณครับคุณ Korn

ตามประสบการณ์อันน้อยนิดของผม ผมคิดว่า การไม่ซื้อขายบ่อยคือการไม่ซื้อขายเลยจนกว่าจะเกิดวิกฤติขั้นรุนแรงจริงๆเท่านั้น

1-2 ครั้งต่อปี ผมเคยคิดว่านานแล้ว แต่ตอนนี้ผมกลับคิดว่า "บ่อยเกินไป"

หุ้นลงติดต่อกันหลายๆวัน หรือเป็นสัปดาห์ เคยถือว่าวิกฤติแล้ว แต่ตอนนี้ผมกลับคิดว่า "นั่นยังไม่ใช่วิกฤติ"

ตอนนี้เลยคิดว่า การรอวิกฤติครั้งใหญ่จริงๆ ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ในรอบ 10 ปี
น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าในการลงทุนในตลาดหุ้น

คำถามคือช่วง 10 ปีที่ไม่มองตลาดหุ้นเลย เราจะพักเงินของเราไว้ที่ไหน คุ้มค่าหรือไม่ที่จะพักเอาไว้ตรงนั้น แทนที่จะลงทุนในตลาดไปเรื่อยๆ ซึ่งอย่างน้อยก็มีเงินปันผล
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

Belffet เขียน:คำถามคือช่วง 10 ปีที่ไม่มองตลาดหุ้นเลย เราจะพักเงินของเราไว้ที่ไหน คุ้มค่าหรือไม่ที่จะพักเอาไว้ตรงนั้น แทนที่จะลงทุนในตลาดไปเรื่อยๆ ซึ่งอย่างน้อยก็มีเงินปันผล
คำถามนี้น่าคิดครับ
ส่วนตัวผมคิดว่ากฏของ ท่านบัฟเฟ็ตข้อแรกที่กล่าวว่า " ห้ามขาดทุน "
สามารถใช้กับสถานการณ์นี้ได้ครับ กล่าวคือ การพักเงินไว้ถึง 10 ปี
ถ้าเอาไปลงทุนในพันธบัตร หรือ ตราสารหนี้ อาจจะได้ผลตอบแทน
ประมาณ 5-8 % ถ้าเราพอใจผมว่าก็เป็นตัวเลขที่ใช้ได้นะครับ

สาเหตุเพราะ พอถึงเวลาประมาณ 10 ปี หรือถึงรอบวิกฤติรอบต่อไป
เราจะมีเงิน + ดอกเบี้ย ที่พร้อมสำหรับการลงทุน
ที่มโอกาสสร้างผลตอบแทนเกินกว่า 100 % ด้วยระยะเวลาที่ไม่นาน
(เนื่องจากซื้อในช่วงที่ราคาลดต่ำลงมามาก)

ซึ่งผมคิดว่าเพียงพอที่จะชดเชย ผลตอบแทนในช่วง 10 ปีก่อนหน้า
ที่เราเอาเงินไปพักไว้


สรุปโดยรวมแล้วผมคิดว่าการซื้อหุ้นในลักษณะที่คุณ Belffet ว่าไว้
จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ 15-20 % เฉลี่ยทบต้น
(ผลตอบแทนที่มีความเป็นไปได้จริงสำหรับการลงทุนระยะยาวในหุ้น) ได้โดยความเสี่ยงน้อยกว่าการทยอยซื้อ
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

คุณ Korn อธิบายได้น่าสนใจครับ


ประเด็นคือพอเรารู้จักตลาดหุ้นและได้เริ่มลงทุนไปแล้ว มักจะอดใจไม่ได้ที่จะเปิดจอขึ้นมาดูแถมด้วยซื้อนิดๆหน่อยๆเก็บเอาไว้

เพราะฉะนั้นวิธีนี้แม้จะน่าสนใจ แต่ทว่าน่าเบื่อเกินไปสำหรับนักลงทุน จริงมั๊ยครับ

เราลองดู Buffett แล้วคิดว่าเขาทำแบบนี้รึเปล่า คือซื้อเฉพาะช่วงที่มันแย่แบบวิกฤติถึงขั้นสุด สุดๆเท่านั้น คลื่นลูกเล็กไม่สน
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

Belffet เขียน:เพราะฉะนั้นวิธีนี้แม้จะน่าสนใจ แต่ทว่าน่าเบื่อเกินไปสำหรับนักลงทุน จริงมั๊ยครับ

เราลองดู Buffett แล้วคิดว่าเขาทำแบบนี้รึเปล่า คือซื้อเฉพาะช่วงที่มันแย่แบบวิกฤติถึงขั้นสุด สุดๆเท่านั้น คลื่นลูกเล็กไม่สน
ถูกต้องเลยครับ
เป็นวิธีที่น่าเบื่อมาก
ผมจึงคิดว่า

kornjackrit เขียน:ต้องใจเย็นมากๆ และก็ต้องกล้่ามากๆที่จะซื้อสวนทางชาวบ้าน
แต่ผมคิดว่ายังไงก็ยังมีทางแก้อยู่ดีึครับ
เช่น เราอาจจะแบ่งเงิืนส่วนหนึ่งแล้วแต่ความเหมาะสม
ไว้ซื้อหุ้นเก็งกำไร แก้เซ็งไปพลางๆก็ได้ครับ
:wink:
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2500
ผู้ติดตาม: 9

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

kornjackrit เขียน: เป็นไปได้ไหมครับว่า การปันผลเท่าเดิม
ไม่ได้เป็นการรักษาสถานภาพของบริษัท
แต่เป็นเพราะบริษัทกำลังเติบโต(กำไรเพิ่มขึ้น) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่บริษัทอิ่มตัวแล้ว
เงินปันผลอาจจะเพิ่มขึ้นตามก็ได้ครับ
ผมถึงใช้คำว่า "อาจ" ไงล่ะครับ :lol:

คือเราต้องแยกแยะให้ดีว่าเป็นประเภทไหน ถ้าเป็นอย่างที่น้อง kornjackrit ว่าก็เข้าตำรา

ถ้าบริษัทเอาเงินกำไรสะสมไปทำประโยชน์ได้มากกว่าต้นทุนเงินทุนของเรา ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่เค้าจะเก็บมันไว้ :8)
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ตี๋ดอนเมือง
Verified User
โพสต์: 100
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

แนะนำเพิ่มเติมเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้นเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ ว่าหุ้นนั้น นอกจากจะประเมินมูลค่าหุ้น เชิงปริมาณ แล้วขอให้ประเมินมูลค่าหุ้นในเชิงคุณภาพด้วยนะครับ และจงอย่าโลภ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

sorawut เขียน: ผมถึงใช้คำว่า "อาจ" ไงล่ะครับ :lol:

คือเราต้องแยกแยะให้ดีว่าเป็นประเภทไหน  
ขอบคุณครับพี่
ผมอ่านไม่ดีเอง
:oops:
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2500
ผู้ติดตาม: 9

จงแสดงวิธีทำ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

kornjackrit เขียน: ขอบคุณครับพี่
ผมอ่านไม่ดีเอง
:oops:
ผมก็เขียนไม่ครอบคลุมด้วยแหละครับ :oops:

คำที่ดีกว่าสำหรับตัวอย่างที่ผมยก น่าจะเป็นที่อาจารย์เทพเรียกกว่า Value Destruction ยิ่งโตยิ่งทำลายมูลค่า :evil:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
โพสต์โพสต์