ผู้นำกลุ่มจี 20 ตกลงอะไรกันบ้าง เพื่อรับมือวิกฤตการเงิน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 1

ผู้นำกลุ่มจี 20 ตกลงอะไรกันบ้าง เพื่อรับมือวิกฤตการเงิน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2551 08:38 น.

      เอเจนซี บรรดาผู้นำกลุ่มจี20 ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี7), ชาติอุตสาหกรรมอื่นๆ, ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และชาติกำลังพัฒนารายใหญ่ๆ อาทิ รัสเซีย, จีน, อินเดีย จัดการประชุมซัมมิตขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันศุกร์และวันเสาร์(14-15)ที่ผ่านมา เพื่อหารือกันถึงวิธีรับมือกับวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
     
      นอกจากเห็นพ้องกันว่าจะต้องดำเนินมาตรการต่างๆ โดยเร็ว ซึ่งรวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ฟื้นเสถียรภาพการเงิน ฟื้นการเติบโตเศรษฐกิจโลกแล้ว ผู้นำจี20 ยังประกาศสนับสนุน:
     
      - มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นดีมานด์อย่างรวดเร็ว
     
      - ขั้นตอนทางนโยบายทางการเงินที่เหมาะสม
     
      - เงินสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับไอเอ็มเอฟเพื่อไว้ใช้ช่วยเหลือพวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่
     
      - การผลักดันให้การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) สามารถผ่าทางตันที่ติดแหง็กอยู่ให้ได้ภายในปีนี้
     
      - การปฏิรูปสถาบัน เบรตตันวูดส์ (เช่น ไอเอ็มเอฟ, ธนาคารโลก) เพื่อให้ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่มีบทบาทมากขึ้นตามพลังทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นของพวกเขา
     
      - การมีคณะผู้ตรวจสอบเพื่อตรวจตราธนาคารสำคัญๆ ทั่วโลก
     
      - การทบทวนมาตรฐานการบัญชี ผลตอบแทนของซีอีโอ กฎเกณฑ์ด้านการล้มละลาย บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และการหาทางนำเอาตราสารจำพวก เครดิต ดีฟอลต์ สวอป (CDS) เข้าสู่ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้
     
      ทั้งนี้ บรรดาผู้นำจี 20 มีมติสั่งการให้พวกรัฐมนตรีคลังจี20 ไปจัดทำรายละเอียดของมาตรการเหล่านี้ให้เส็จสิ้นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2009 เพื่อเสนอต่อการประชุมระดับผู้นำครั้งต่อไป
     
       **เนื้อหาสำคัญของแถลงการณ์ซัมมิตจี20**
     
      สำหรับเนื้อหาของแถลงการณ์ร่วมที่ออกมาภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมระดับผู้นำกลุ่ม จี20 คราวนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
     
       ****มาตรการทางเศรษฐกิจ:****
     
      มีหลายสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อทำให้ตลาดการเงินมีเสถียรภาพ และส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ โมเมนตัมทางเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจสำคัญๆ เริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นชัด และทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกก็อ่อนแอลง
     
      ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยลงนี้ เราเห็นพ้องกันว่ าจำเป็นต้องมีการตอบสนองด้านนโยบายที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยมาตรการเร่งด่วนมีดังต่อไปนี้:
     
      - ดำเนินมาตรการใดๆ ก็ตามที่จำเป็นเพื่อฟื้นระบบการเงิน
     
      - ตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนนโยบายการเงินที่เหมาะสม
     
      - ใช้มาตรการทางคลังที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นดีมานด์ภายในประเทศให้เกิดผลโดยเร็ว
     
      - ช่วยเหลือประเทศตลาดเกิดใหม่ให้เข้าถึงแหล่งเงิน
     
       ****สถาบันการเงินโลก****
     
      เรามุ่งมั่นในการผลักดันการปฏิรูปสถาบันเบรตตันวูดส์ เพื่อสะท้อนดุลอำนาจในเศรษฐกิจโลกอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในประเด็นนี้ ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศที่ยากจนที่สุด ควรมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น
     
      ในระยะสั้น:
     
      - เร่งขยายสมาชิกของที่ประชุมเสถียรภาพทางการเงิน (เอฟเอสเอฟ) โดยครอบคลุมถึงพวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่
     
      - ไอเอ็มเอฟและเอฟเอสเอฟควรร่วมมือกัน โดยที่ไอเอ็มเอฟมุ่งเน้นการควบคุมและตรวจสอบ และเอฟเอสเอฟเน้นมาตรฐานด้านกฎระเบียบ
     
      - ช่วยประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงแหล่งทุน และให้ความมั่นใจว่าไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคีอื่นๆ มีเงินทุนเพียงพอ
     
      ในระยะกลาง:
     
      - ปฏิรูปไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกอย่างครอบคลุม
     
      - เพิ่มบทบาทของประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา
     
      - ส่งเสริมบทบาทการตรวจตราเฝ้าระวังของไอเอ็มเอฟให้เข็งแกร่งยิ่งขึ้น ด้วยการให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจมหภาคและเสถียรภาพทางการเงินแก่ประเทศต่างๆ
     
       ****การเจรจาการค้า****
     
      เราเน้นย้ำความสำคัญในการคัดค้านลัทธิกีดกันการค้าและไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนในห้วงยามแห่งความไม่แน่นอนทางการเงินนี้
     
      - ไม่เพิ่มอุปสรรคการค้าในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
     
      - พยายามฟื้นการเจรจาการค้าโลกภายในสิ้นปีนี้
     
      เราควรพยายามเพื่อบรรลุข้อตกลงภายในปีนี้ อันจะนำไปสู่ข้อสรุปสำหรับวาระการพัฒนาแห่งโดฮาของดับเบิลยูทีโอพร้อมทั้งผลลัพธ์อันน่ายินดี เราจะสั่งการให้รัฐมนตรีพาณิชย์ไปผลักดันเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จ
     
       ****กฎระเบียบดูแลภาคการเงิน:****
     
      เราจะดำเนินการปฏิรูป ซึ่งจะทำให้ทั้งตลาดการเงินและระบบกฎระเบียบกำกับดูแล ต่างมีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตในอนาคต
     
      แต่แถลงการณ์ร่วมก็ย้ำว่า กฎระเบียบดูแลภาคการเงินนั้น ต้องให้ประเทศต่างๆ เป็นผู้มีความรับผิดชอบเป็นลำดับแรกสุด แม้จะต้องมีการร่วมมือระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นขึ้น
     
      ในระยะสั้น:
     
      - แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบสำหรับดูแลสถาบันการเงินข้ามชาติที่สำคัญๆ ทั้งหมด โดยที่บรรดาธนาคารชั้นนำระดับโลก ควรประชุมกับคณะผู้ตรวจสอบเป็นประจำ
     
      - ตรวจสอบว่าการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารส่งผลให้มีการใช้ความเสี่ยงมากขึ้นหรือไม่
     
      - สร้างความมั่นใจว่าบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือปฏิบัติตามมาตรฐานกฎระเบียบโลก หลีกเลี่ยงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และเปิดเผยข้อมูลโปร่งใสยิ่งขึ้น
     
      - ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี
     
      - กองทุนเฮดจ์ฟันด์และกองทุนเพื่อการลงทุนในภาคเอกชน ควรเร่งทำข้อตกลงด้านแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน
     
      - เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเงินที่ซับซ้อนให้มากขึ้น และสร้างความมั่นใจว่าบริษัทต่างๆ เปิดเผยฐานะการเงินอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
โพสต์โพสต์