"กรีนสแปน" สารภาพบาป กลไกตลาดทุนแบบเสรี ทำศก.โลกถึ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

"กรีนสแปน" สารภาพบาป กลไกตลาดทุนแบบเสรี ทำศก.โลกถึ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

"กรีนสแปน" สารภาพบาป กลไกตลาดทุนแบบเสรี ทำศก.โลกถึงจุดหายนะ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 ตุลาคม 2551 12:27 น.

 "กรีนสแปน" เข้าสารภาพบาปต่อ "สภาคองเกรส" ยอมรับ มีส่วนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญคลื่นยักษ์ทางการเงินในรอบ 100 ปี โดยเป็นผลมาจากกฎระเบียบที่ผิดพลาดของกลไกตลาดเสรีของเขาเอง
     
      วันนี้ (24 ต.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (สภาคองเกรส) พร้อมให้การต่อกรรมาธิการตรวจสอบข้อผิดพลาดและปฏิรูปรัฐบาลของรัฐสภาเมื่อวานนี้ โดยยอมรับว่า วิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้น ได้เปิดเผยให้เห็นถึงความผิดพลาดของแนวคิดเรื่องระบบตลาดเสรี (ฟรีมาร์เก็ต) ของตนเอง และยอมรับว่า ขณะนี้ เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญอยู่กับคลื่นยักษ์ทางสินเชื่อและการเงิน เป็นเสมือนคลื่นสึนามิที่พัดถล่มในรอบ 100 ปี
     
      กรีนสแปน ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ของเฟดมาเป็นเวลานานกว่า 18 ปี จนกระทั่งถึงเดือนม.ค. 2549 ยอมรับว่า ตนเองพบข้อผิดพลาดในส่วนของกฎระเบียบเข้าแล้ว และรู้สึกตกใจ เพราะที่ผ่านมากฎเกณฑ์และระบบฟรีมาร์เก็ต (กลไกตลาดเสรี) ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีตลอด 40 ปีที่ผ่านมา
     
      พร้อมกันนี้ กรีนสแปนยังได้แสดงความรู้สึกผิดที่คัดค้านกฎระเบียบที่เกี่ยวกับเครื่องมือในการซื้อขาย โดยเฉพาะการทำสเปรด (ส่วนต่าง) ของสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ หรือ credit default swaps
     
      กรีนสแปน แนะนำว่า รัฐบาลสหรัฐควรใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้เข้มงวดขึ้น พร้อมกับแนะนำว่าสถาบันการเงินที่หย่อนยานในการปล่อยกู้และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในระบบการเงิน จะต้องมีส่วนรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
     
      "ตลาดการเงินไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะใช้มาตรการที่เข้มงวดในการควบคุม เพราะปัญหาในระบบการเงินส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ควบคุมดูแลอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์สินเชื่อเกิดจากตลาดปล่อยกู้จำนองให้กับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐฯ จากนั้นปัญหาก็ลุกลามเข้าไปสร้างความเสียหายต่อภาคส่วนอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐและทั่วโลก"
     
      "ดังนั้น เราต้องกลับมาแก้ไขที่จุดเริ่มต้น คือใช้มาตรการควบคุมการปล่อยกู้ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบการเงินทุกวันนี้ ทำให้บริษัทสหรัฐไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลดจำนวนพนักงาน ซึ่งทำให้อัตราว่างงานโดยรวมของประเทศพุ่งขึ้นอย่างน่าใจหาย"
     
      นอกจากนี้ การขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยังส่งผลกระทบต่อตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคและภาคเอกชน ซึ่งจะยิ่งฉุดรั้งเศรษฐกิจให้ถดถอยเร็วขึ้น
     
      ทั้งนี้ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐประจำเดือน ก.ย.ร่วงลงหนักสุดในรอบกว่า 5 ปีที่ 159,000 ตำแหน่ง ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ส่วนอัตราว่างงานอยู่ในระดับ 6.1% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขจ้างงานเดือน ก.ย.จะลดลงเพียง 100,000 ตำแหน่ง
     
      ก่อนหน้านี้ กรีนสแปนแนะนำว่าสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ให้สิทธิอำนาจมากขึ้นแก่รัฐบาล ในการจัดการกับบริษัทที่มีปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อลดผลกระทบของกลุ่มผู้เสียภาษีชาวอเมริกัน และกล่าวว่าคณะทำงานด้านการเงินควรได้รับสิทธิอำนาจมากขึ้นในการแก้ไขปัญหานี้ และหากพบว่าบริษัทที่ส่อเค้าล้มละลายกำลังส่งผลคุกคามเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ ก็ควรสั่งปิดบริษัทเหล่านั้นเสีย
     
      ก่อนที่วิกฤตซับไพรม์จะเกิดขึ้นในเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว กรีนสแปนได้รับการชื่นชมว่า เป็นประธานเฟดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์
     
      สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นยังก่อให้เกิดคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะหลักความเชื่อของกรีนสแปนที่ว่า การแทรกแซงของรัฐบาลในตลาดควรจะเป็นไปอย่างจำกัด และควรจะปล่อยให้ตลาดเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ในตลาดเองมากกว่า
     
      นอกจากนี้ กรีนสแปนยังแสดงความตกใจที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่ง ไม่สามารถปกป้องกลุ่มผู้ถือหุ้นขององค์กรไว้ได้
โพสต์โพสต์